กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

กระทู้ถูกปิด
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 22-04-2011, 23:09
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,495
ได้ให้อนุโมทนา: 151,163
ได้รับอนุโมทนา 4,405,533 ครั้ง ใน 34,084 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๔

ให้ทุกคนนั่งในท่าที่สบายของเรานะจ๊ะ การมาปฏิบัติธรรมที่บ้านวิริยบารมีนี้ รู้สึกว่าความสะดวกมีมากขึ้น แม้ว่าจะลำบากในการเดินทางสักนิดหนึ่ง แต่ก็ได้รับความอนุเคราะห์จากคณะของคุณชยาคมน์ ธรรมปรีชา และคุณณญาดา ศราภัยวณิช ช่วยกันจัดรถตู้ ต้องเรียกว่านั่งฟรีก็ได้

ถ้าหากว่าท่านใดจะจ่ายค่ารถก็เพียงแค่คนละ ๓๕ บาทเท่านั้น แต่พวกเราส่วนใหญ่เกิน ๘๐ เปอร์เซ็นต์ มาด้วยตัวเอง ต้องขออนุโมทนากับท่านผู้มีจิตเป็นกุศล ตั้งใจอนุเคราะห์ สงเคราะห์สร้างความสะดวกให้แก่ผู้มาทำบุญและปฏิบัติธรรม อานิสงส์ตรงส่วนนี้ก็คงจะส่งผลให้ในกาลต่อไปข้างหน้า ไม่ว่าจะกระทำสิ่งใด ก็จะมีแต่ความสะดวกคล่องตัวทุกอย่าง

สำหรับวันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๔ เป็นการปฏิบัติธรรมของต้นเดือนเมษายนวันสุดท้ายของพวกเรา ก็ต้องเรียกว่าเป็นการปฏิบัติธรรมในสถานที่ใหม่

คำว่า "ใหม่" เป็นคำที่มีความสำคัญมาก เพราะว่าพวกเราทั้งหลายส่วนใหญ่มีพื้นฐานการปฏิบัติมาคนละหลาย ๆ ปี น้อยคนนักที่จะเริ่มปฏิบัติใหม่จริง ๆ การที่เรามีพื้นฐานการปฏิบัติมานานนี่แหละ จะทำให้เรากลายเป็นผู้ประมาท เพราะว่าเราไม่ได้ทำตนเป็นคนใหม่

การที่เราทำตนเป็นคนใหม่ เหมือนอย่างกับบุคคลที่เพิ่งเข้ามาปฏิบัติ เราก็ต้องขวนขวายใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ แต่พอนาน ๆ ไป เริ่มรู้สึกว่าเป็นคนเก่า ก็เริ่มรามือ ไม่ได้ทุ่มเทเหมือนอย่างการที่เป็นคนใหม่อยู่ จึงทำให้ผลที่จะพึงมีพึงได้ของเรานั้น ต้องล่าช้าไปอย่างน่าเสียดาย เพราะว่าการปฏิบัติเท่ากับว่าขาดช่วงลง ถึงจะไม่ขาดช่วง ก็กลายเป็นช้าลงโดยใช่เหตุ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-04-2011 เมื่อ 03:00
สมาชิก 58 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 23-04-2011, 20:01
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,495
ได้ให้อนุโมทนา: 151,163
ได้รับอนุโมทนา 4,405,533 ครั้ง ใน 34,084 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ต้องดูองค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ของเราที่ทรงตรัสกับปิปผลิมาณพ ซึ่งภายหลังก็คือพระมหากัสสปะเถระว่า "ดูก่อน..กัสสปะ เธอจงเข้าไปตั้งอยู่ในความละอายต่อภิกษุทั้งที่เป็นผู้เถระ เป็นผู้ปานกลาง และเป็นผู้ใหม่อย่างแรงกล้า"

พระมหากัสสปะเถระนั้นบวชด้วยพิธีกรรมที่ไม่เหมือนผู้อื่น ก็คือบวชด้วยการรับโอวาท ๓ ข้อ นี่เป็น ๑ ในโอวาท ๓ ข้อนั้น ซึ่งพระมหากัสสปะเถระรับมาแล้วปฏิบัติตลอดชีวิต ก็คือ การทำตัวเหมือนกับเป็นผู้ใหม่อยู่เสมอ ให้ความเกรงใจทั้งผู้ที่อยู่เก่า ผู้ที่ปานกลาง และผู้ที่ใหม่อยู่ตลอดเวลา ให้ความสนิทสนมคุ้นเคย แต่ไม่ให้ความใกล้ชิด

เรื่องเหล่านี้เราต้องตระหนักเองว่า เรายังใช้ความพยายามทุ่มเทเหมือนครั้งแรก ๆ ที่เราปฏิบัติหรือไม่ ? การทำตัวเป็นผู้ใหม่ ทำให้เรารู้จักเกรงใจคน รู้จักกาลเทศะ และรู้จักขวนขวายเพื่อตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จึงเป็นเรื่องที่พวกเราต้องพึงสังวรระวังกันเอาไว้

โดยเฉพาะหลักของการปฏิบัตินั้น อันดับแรกที่ลืมไม่ได้เลยคืออานาปานสติ ลมหายใจเข้าออกนี้เป็นพื้นฐานใหญ่ของกรรมฐานทุกกอง ไม่ว่าจะเป็นกรรมฐานกองใดก็ตาม ถ้าทิ้งอานาปานสติแล้ว ไม่สามารถที่จะสำเร็จประโยชน์ลงได้

ลำดับถัดไป กรรมฐานที่จำเป็นต้องยึดถือคือ พุทธานุสติ แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ตรัสว่า พุทธานุสตินั้นช่วยให้เข้าถึงพระนิพพานได้ง่ายที่สุด

อย่างที่อาตมาเคยสรุปอยู่เสมอว่า กำหนดภาพขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอาไว้ เราเห็นท่านคือเราอยู่กับท่าน เราอยู่กับท่านคือเราอยู่บนพระนิพพาน ถ้าสามารถทำกำลังใจอย่างนี้ได้ เราจะมีจิตเกาะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีจิตเกาะพระนิพพานอยู่เป็นปกติ ทำให้เราเข้าสู่พระนิพพานได้ง่ายกว่ากรรมฐานกองอื่น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-04-2011 เมื่อ 02:34
สมาชิก 50 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 24-04-2011, 11:55
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,495
ได้ให้อนุโมทนา: 151,163
ได้รับอนุโมทนา 4,405,533 ครั้ง ใน 34,084 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

นอกจากกองกรรมฐานก็คืออานาปานุสติและพุทธานุสติที่เราจะทิ้งไม่ได้แล้ว ในระหว่างที่เราปฏิบัติสมาธิภาวนา ก็ยังต้องทบทวนอยู่เสมอว่า ศีลทุกสิกขาบทของเราบริสุทธิ์บริบูรณ์หรือไม่ ?

เรายังละเมิดศีลด้วยตัวเองหรือไม่ ? ถ้าเราไม่ละเมิดศีลด้วยตนเองแล้ว เรายุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเขาละเมิดศีลหรือไม่ ? ถ้าเราไม่ละเมิดศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นละเมิดศีลแล้ว เห็นผู้อื่นละเมิดศีลเรามีความยินดีด้วยหรือไม่ ?

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วในวันก่อนว่า ในเรื่องของศีลนั้น ต้องปฏิบัติอยู่ในลักษณะที่ว่า ตัวตายดีกว่าศีลขาด นั่นเป็นความเด็ดขาดที่จะทำให้เกิดผลขึ้นมาได้ ในขณะเดียวกัน การปฏิบัติในศีลของพวกเรา นอกจากต้องระมัดระวังแล้ว เรายังต้องรู้ด้วยว่า แรก ๆ นั้นเราเป็นผู้รักษาศีล แต่เมื่อสติสมาธิและปัญญา เริ่มสมบูรณ์บริบูรณ์ เราขยับตัวเมื่อไร ก็รู้ว่าศีลจะขาดหรือไม่ ถ้าเป็นอย่างนั้น ศีลก็จะเริ่มรักษาเรา

คุณของศีล จะช่วยคุ้มครองป้องกันไม่ให้เราตกไปสู่อบายภูมิ ดังนั้น..การที่เรารักษาศีล เพื่อท้ายสุดศีลก็กลับมารักษาเรา การที่เราใช้สติสมาธิระมัดระวังในศีล ไม่ให้สิกขาบทบกพร่องก็ทำให้เกิดสมาธิ ดังนั้น..บุคคลที่เจริญสมาธิทุกคน ถ้าพยายามรักษาศีลพร้อมกับการเจริญสมาธิ สมาธิก็จะทรงตัวได้ง่าย

เมื่อสมาธิทรงตัวตั้งมั่น สภาพจิตมีความนิ่ง มีความสงบ การรู้เห็นต่าง ๆ ก็จะเริ่มปรากฏขึ้น ขอบอกว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นเป็นของแถมของนักปฏิบัติ ถ้ามีพื้นฐานเก่าอยู่ เราจะต้องการหรือไม่ต้องการก็ตาม เมื่อจิตสงบได้ระดับ การรู้เห็นจะปรากฏขึ้นทันที แต่ว่านั่นไม่ใช่จุดมุ่งหมายของเรา

เพราะว่าจิตที่สงบนั้น นอกจากเราจะเข้าถึงความดับกิเลส รัก โลภ โกรธ หลง ชั่วคราวแล้ว เรายังต้องอาศัยกำลังสมาธินั้น ในการขุดรากถอนโคน รัก โลภ โกรธ หลง ที่เป็นกิเลสใหญ่ให้หมดไปจากใจของเราด้วย ถ้ายังไม่สามารถที่จะทำหน้าที่การงานนี้ได้สำเร็จ ก็แปลว่าการปฏิบัติในศีล สมาธิของเราที่ผ่านมายังไม่เพียงพอที่จะใช้งาน จำเป็นที่เราจะต้องขวนขวายให้มากขึ้น

สรุปว่า การที่เราเป็นผู้ปฏิบัตินั้นต้องทำตัวเป็นผู้ใหม่อยู่เสมอ ไม่ใช่ว่าใหม่แต่สถานที่ ใหม่แต่ตัวบุคคล การเป็นผู้ใหม่อยู่เสมอนั้นก็คือ พยายามสร้างสภาพจิตของเราให้มีความกระตือรือร้น มีความตื่นรู้ มีความใฝ่ดี แสวงหาความก้าวหน้า แล้วก็ขวนขวายปฏิบัติเพื่อก้าวไปสู่จุดหมายที่เราตั้งเอาไว้คือพระนิพพาน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-04-2011 เมื่อ 14:22
สมาชิก 47 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 25-04-2011, 01:57
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,495
ได้ให้อนุโมทนา: 151,163
ได้รับอนุโมทนา 4,405,533 ครั้ง ใน 34,084 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้าเมื่อใดที่ท่านเริ่มทำตัวเป็นกันเองกับศีล ขอให้รู้ว่าตอนนั้นแย่แล้ว เพราะว่าทันทีที่เราทำตัวเป็นกันเองกับศีล เดี๋ยวเราก็ต้องล่วงศีล ในเมื่อเราล่วงศีล ทำให้ศีลขาดตกบกพร่องไป ครั้งหน้าต่อไปถ้ามีโอกาสก็จะขาดอีก เพราะจะมีข้ออ้างเข้ามาว่า คราวที่แล้วยังไม่เป็นไร คราวนี้ขาดอีกสักหน่อยก็ได้ แล้วเราก็จะห่างความดีไปเรื่อย

ดังนั้น..ในเรื่องของการปฏิบัติ จึงจำเป็นที่จะต้องทำตัวเป็นผู้ใหม่ จิตของเราต้องมีความตื่นรู้อยู่เสมอ ต้องแสวงหาความก้าวหน้า ขวนขวายปฏิบัติใน ศีล สมาธิ ปัญญา ของเราให้เต็มที่เต็มกำลังของเรา เมื่อทำได้เต็มที่เต็มกำลังแล้ว ผลดีย่อมจะเกิดขึ้นเอง

สำหรับตอนนี้ก็ขอให้ทุกคนกำหนดในกองกรรมฐาน คืออานาปานุสติ ได้แก่ ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า..กำหนดความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..กำหนดความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา

หายใจเข้าพร้อมกับคำภาวนาที่เราชอบ จะเป็นพุทโธก็ได้ นะมะพะธะก็ได้ พองหนอ-ยุบหนอก็ได้ สัมมาอะระหังก็ได้ แล้วแต่ว่าเราถนัดอย่างไหน

สาระสำคัญก็คือเอาสติกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ให้ทัน ๆ กันไป ก็คือว่าหายใจเข้าไปถึงจุดไหน ให้กำหนดรู้ติดตามไป หายใจออกมาจุดไหน ให้กำหนดรู้ติดตามไป ถ้าหากว่าลมหายใจเบาลง ให้รู้ว่าเบาลง ถ้าคำภาวนาและลมหายใจหายไป ให้รู้ว่าคำภาวนาและลมหายใจหายไป

ถ้ากำหนดภาพพระอยู่ หรือกำหนดพระนิพพานอยู่ ก็เอาจิตจดจ่ออยู่กับภาพพระหรือพระนิพพานนั้น ถ้าท่านใดสามารถยกจิตขึ้นไปกราบพระบนพระนิพพานได้ ก็ให้ยกจิตขึ้นไปกราบพระข้างบน เอาใจจดจ่อตั้งมั่นอยู่อย่างนั้น จนกว่าจะได้รับสัญญานบอกว่าหมดเวลา

พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
วันอาทิตย์ที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๔
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-04-2011 เมื่อ 02:02
สมาชิก 43 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
กระทู้ถูกปิด


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 20:40



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว