กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 25-06-2014, 08:27
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,495
ได้ให้อนุโมทนา: 151,165
ได้รับอนุโมทนา 4,405,420 ครั้ง ใน 34,084 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันศุกร์ที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๗

ให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติไว้เฉพาะหน้า เอาความรู้สึกทั้งหมดของเราผูกไว้กับลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ที่เรามีความถนัดมาแต่เดิม

วันนี้เป็นวันศุกร์ที่ ๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ วันนี้มีญาติโยมหลายท่าน ถามถึงเรื่องของการทรงฌานแต่ละขั้น ว่าในเมื่อฌาน ๑, ๒, ๓ ยังมีสุขอยู่เหมือนกันทั้งหมด แล้วจะแยกแยะได้อย่างไรว่าเป็นฌานไหน ? ซึ่งความจริงถ้าตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติ ก็จะได้คำตอบเอง แต่นี่มาถามเสียก่อน

ดังนั้น..วันนี้จึงขอกล่าวถึงการทรงฌานของพวกเรา เมื่อตามดูตามรู้ลมหายใจเข้าออกไปสักระยะหนึ่ง เราก็จะเกิดอาการที่รู้ลมเองโดยอัตโนมัติ ในลำดับแรกคิดจะภาวนาอย่างไร ตามดูตามรู้ว่าจะภาวนาอย่างไร เกิดอาการปีติต่าง ๆ ๕ อย่างขึ้น เช่น ขนลุก น้ำตาไหล ร่างกายโยกโคลง ลอยขึ้นทั้งตัว หรือว่าตัวพองตัวใหญ่ ตัวแตกระเบิด เป็นต้น แล้วปรากฏความสุขเยือกเย็นอย่างไม่เคยเจอมาก่อนในชีวิต พร้อม ๆ กับอารมณ์ใจที่ปักมั่นอยู่กับการภาวนา ไม่คลอนแคลนไปไหน

ถ้าอารมณ์นี้เกิดขึ้นครบถ้วนสมบูรณ์ แปลว่าเราอยู่ในส่วนของปฐมฌาน คือฌานที่ ๑ ถ้าเราไม่ไปสนใจมาก หรือว่าไม่ไปบังคับลมหายใจ คอยตามดูตามรู้ลมหายใจอย่างเดียวไป อาการที่คิดว่าเราจะภาวนา หรืออาการที่ตามดูลมหายใจเข้าออกพร้อมกับคำภาวนา ก็จะค่อย ๆ หมดไปเอง ถ้าเป็นดังนี้ ก็แปลว่าเราก้าวเข้าสู่ฌานที่ ๒ คือทุติยฌาน

ก็ต่างกันที่ว่า ฌานที่ ๑ อาการทั้ง ๕ อย่างมีครบถ้วนสมบูรณ์ ฌานที่ ๒ จะก้าวข้ามความคิดความนึกว่า เราจะตั้งใจภาวนา ว่าจะภาวนาอย่างโน้นอย่างนี้

บางคนรู้สึกว่าลมหายใจเบาลง หรือไม่มีไปเลย ถ้าความรู้สึกของเราก้าวข้ามปีติหรือสุขไปด้วย ก็แปลว่าเราก้าวเข้าถึงฌานที่ ๓ คือตติยฌาน แต่การที่เราก้าวเข้าไปแต่ละลำดับนั้น ไม่ใช่เราไปบังคับให้เป็น หากแต่เรามีหน้าที่ภาวนา ส่วนจะเป็นหรือไม่เป็นนั้น อย่าไปใส่ใจ หลาย ๆ ท่านติดอยู่ ไม่สามารถจะก้าวขึ้นสู่อัปปนาสมาธิ คือทรงฌานได้เสียที เพราะว่าเมื่อรู้ขั้นตอนแล้วก็ไปตามดูตามจี้อยู่ตลอด ถ้าลักษณะนั้นจิตของเราจะฟุ้งซ่าน ไม่สามารถรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-06-2014 เมื่อ 10:45
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 56 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 27-06-2014, 07:26
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,495
ได้ให้อนุโมทนา: 151,165
ได้รับอนุโมทนา 4,405,420 ครั้ง ใน 34,084 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เมื่อก้าวเข้ามาถึงจุดนี้ บางท่านจะรู้สึกว่าริมฝีปาก คาง หรือจมูกของเราเหมือนกับแข็งเป็นหิน อ้าปากไม่ขึ้น พูดไม่ได้ บางท่านก็จะรู้สึกว่ามือเท้าเย็นรวบเข้ามา ๆ จนรู้สึกว่าตัวเองกลายเป็นหิน แข็งทื่ออยู่อย่างนั้น นั่นคืออาการของฌานที่ ๓ มาถึงระดับนี้ ลมหายใจเข้าออกไม่มีแล้ว คำภาวนาไม่มีแล้ว เรามีหน้าที่ตามดูตามรู้อาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกายเท่านั้น อย่าไปบังคับให้เป็น และอย่าหลีกเลี่ยงจากอาการที่กำลังเป็น

บางท่านไม่เคยเจอ กลัวว่าตัวเองจะตาย เลิกภาวนาไปก็มี เมื่อถึงเวลา หากเรามีหน้าที่ตามดูตามรู้อย่างเดียว สภาพจิตก็จะดิ่งลึกเข้าไปเรื่อย ๆ แล้วในที่สุดก็จะสว่างโพลงอยู่จุดใดจุดหนึ่งของร่างกาย ไม่ว่าจะอยู่ในระดับสายตา หรือบริเวณปลายจมูก หรืออยู่ในอกของตน จะรู้สึกสว่างไสวเยือกเย็นอย่างไม่เคยรู้สึกมาก่อน ตอนนั้นหูจะไม่ได้ยินเสียง ใครมาสะกิดก็ไม่รู้ พูดด้วยก็ไม่ได้ยิน ถ้าเป็นดังนั้นแปลว่าท่านเข้าถึงจตุตถฌาน คือฌานที่ ๔ แล้ว

ดังนั้น..ในเรื่องขั้นตอนของฌานต่าง ๆ นั้น ถ้าเราซักซ้อมในการภาวนาจนมีความคล่องตัว ก็จะสามารถแยกแยะออกได้ ว่าแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง แต่สำคัญตรงจุดที่ว่า เมื่อภาวนาอารมณ์ใจทรงตัวแล้ว เรารักษาอาการทรงตัวนั้นได้นานเท่าไร ทันทีที่กำลังใจทรงตัวตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป รัก โลภ โกรธ หลง ต่าง ๆ จะโดนกำลังฌานกดดับลงชั่วคราว จิตใจเราจะผ่องใสจากกิเลส จะไม่โดน รัก โลภ โกรธ หลง ชักจูงไป

ถ้าเราสามารถประคับประคองให้กำลังฌาน กำลังสมาธินั้น อยู่กับเราได้นานเท่าไร ความผ่องใสของใจก็จะมีแก่เรานานเท่านั้น ยิ่งความผ่องใสมีมากขึ้นเท่าไร เราก็จะมีปัญญารู้เห็นว่าจะทำอย่างไร จึงประคับประคองอารมณ์ใจเช่นนั้นอยู่กับเราได้ และพิจารณาอย่างไร จึงจะไม่ไปยึดมั่นถือมั่นในร่างกายนี้และโลกนี้ แล้วท้ายที่สุดก็ส่งกำลังใจไปเกาะพระนิพพานเป็นปกติ

ดังนั้น..การภาวนาเพื่อให้ทรงฌานว่ายากแล้ว การทรงฌานแล้วรักษาอารมณ์ฌานนั้นยากยิ่งกว่า ทุกท่านจึงพึงสังวรเอาไว้ว่า สิ่งที่ดีมาถึงเราได้ยาก เมื่อมาแล้วก็อย่าปล่อยให้หลุดไป พยายามประคับประคองรักษาเอาไว้ให้นานที่สุด เพื่อให้จิตใจของเราผ่องใสให้มากที่สุด จะได้ห่างไกลจากกิเลส แล้วก็เกิดปัญญาญาณ สามารถพิจารณาเห็นทุกข์เห็นโทษของร่างกายนี้ ของโลกนี้ ไม่มีความปรารถนาในการเกิด ต้องการพระนิพพานแห่งเดียวก็ยิ่งดี ลำดับต่อไปขอให้ทุกท่านภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
วันศุกร์ที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๗

(ถอดจากเสียงเป็นอักษรโดยทาริกา)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย นายกระรอก : 05-03-2019 เมื่อ 00:52
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 44 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 02:19



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว