กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

กระทู้ถูกปิด
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 14-07-2010, 13:27
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,166 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันศุกร์ที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓

ขยับนั่งในท่าที่สบายของตน โดยเฉพาะตั้งกายให้ตรง การตั้งกายให้ตรงคือขยับร่างกายให้ตรงเฉย ๆ ไม่ใช่นั่งเกร็งจนกระทั่งแข็ง ให้สติความรู้สึกของเราทั้งหมดอยู่เฉพาะตรงหน้า คืออยู่กับลมหายใจเข้าออก

หายใจเข้า กำหนดความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก กำหนดความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา หายใจเข้า..จะแรง..จะเบา..จะยาว..จะสั้น ให้กำหนดรู้อยู่ หายใจออก..จะแรง..จะยาว..จะสั้น ให้กำหนดรู้อยู่

เคยใช้คำภาวนาอย่างไร ที่เรามีความถนัด ให้ใช้คำภาวนาตามแบบเดิมของเรา การเปลี่ยนคำภาวนาบ่อย ๆ บางทีจะทำให้กำลังใจของเราไม่ทรงตัว เพราะสภาพจิตไม่คุ้นชินกับของใหม่

สำหรับวันนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ ๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓ เป็นวันแรกในการเจริญกรรมฐานของเดือนกรกฎาคมของเรา

ก่อนอื่นก็ต้องขอบคุณคณะของ ดร.ณัฐพัชร จันทรสูตร หรือคุณตั้ม พร้อมกับคณะญาติโยมทั้งที่เป็นชาวเว็บพลังจิตก็ดี ชาวเว็บวัดท่าขนุนก็ดี ที่ได้ช่วยกันบริจาคปัจจัยเพื่อซื้อเครื่องปรับอากาศใหม่ทั้งสองเครื่อง ซึ่งใช้งานอยู่ในขณะนี้ แล้วยังมีปัจจัยส่วนหนึ่งเหลืออยู่ ซึ่งทางคณะได้ตั้งใจมอบให้เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับเว็บไซต์วัดท่าขนุน ตลอดจนการซื้อเซิร์ฟเวอร์ใหม่ ก็ต้องขอเจริญพรอนุโมทนาต่อทุกท่านมา ณ ที่นี้ด้วย

สำหรับพวกเราทุกคนนั้น จากการที่เดือนอื่น ๆ เราร้อนมาก เพราะเครื่องปรับอากาศเสีย เมื่อมาถึงเดือนนี้เย็นสบายเพราะมีเครื่องปรับอากาศใหม่ ให้ทุกคนดูจิตดูใจของตัวเองด้วยว่า เรามีความยินดียินร้ายเพียงไร ?

การกำหนดรู้ใจตนเองนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ถ้าเราไม่สามารถรู้เท่าทันสภาพจิตใจของตน ก็ไม่สามารถที่จะแก้ไขเมื่อธรรมารมณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นในใจของเราได้ การแก้ไขในที่นี้ก็คือ ยกเอากรรมฐานคู่ศึกขึ้นมาต่อต้านอารมณ์ไม่ดีต่าง ๆ ทั้งหลายเหล่านั้นให้ทันการณ์

ดังนั้น..ไม่ว่าจะเป็นความยินดีก็ตาม ความยินร้ายก็ตาม ส่งผลไม่ดีแก่เราทั้งคู่ ยินดีคือจิตที่ย้อมไปด้วยสภาพของราคะ ยินร้ายคือจิตที่ย้อมไปด้วยสภาพของโทสะ ก็แปลว่าเราโดนทั้งขึ้นทั้งล่อง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 14-07-2010 เมื่อ 15:17
สมาชิก 58 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 14-07-2010, 13:33
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,166 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ในส่วนของการยินร้ายนั้น เป็นส่วนที่สามารถมองได้ชัด แก้ไขได้ง่าย เพราะว่าเป็นอารมณ์ที่เราไม่ปรารถนา เราก็มักจะผลักไสไล่ส่งอยู่แล้ว

แต่ในส่วนของความยินดีนั้น เป็นอารมณ์ใจที่แก้ไขได้ยาก เพราะเราชอบ ในเมื่อเราชอบก็ไม่คิดจะผลักไส ไม่คิดจะหนีห่างไป ดังนั้น..นักปฏิบัติส่วนใหญ่ แก้อารมณ์ยินร้ายได้ ก็มักจะมาตกม้าตายกับอารมณ์ยินดี เพราะไม่คิดว่าจะเป็นอารมณ์ที่เกิดโทษแก่ตน

เมื่อทุกคนสังเกตเห็นความยินดียินร้ายในอารมณ์แล้ว ทำอย่างไรที่เราจะวางอารมณ์ใจให้เป็นกลาง ไม่ไปยินดียินร้ายให้เกิดโทษแก่เราทั้งคู่ได้ นั่นก็แปลว่า สติและสมาธิของเราทั้งหมด จะต้องทรงตัวจดจ่ออยู่เฉพาะหน้า คืออยู่กับลมหายใจเข้าออก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อยู่กับปัจจุบันธรรม ก็คืออยู่กับปัจจุบัน ตอนนี้ เดี๋ยวนี้ ไม่ไปคิดถึงอดีต ไม่ไปฟุ้งซ่านถึงอนาคต

ถ้าสามารถทำดังนี้ได้ ความยินดียินร้ายก็ไม่สามารถที่จะเกาะกินใจของเราได้ แต่ก็เป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น พวกเราทั้งหลายจึงต้องทำบ่อย ๆ ย้ำบ่อย ๆ โดยเฉพาะในอานาปานสติกรรมฐาน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นแก่จิตของเรา เมื่อความเข้มแข็งเกิดขึ้นจนถึงระดับที่เพียงพอ สภาพจิตของเราก็จะหนักแน่นมั่นคง ไม่ยินดียินร้าย ไม่หวั่นไหวไปกับอารมณ์กระทบต่าง ๆ

ดังนั้น..พวกเราทั้งหลายที่ปฏิบัติกันมา บางท่านก็เป็นระยะเวลาหลายสิบปี บางท่านอย่างไม่มี ๆ ก็ปีสองปีขึ้นไป การปฏิบัติของเราจะก้าวหน้าหรือไม่ก้าวหน้า เราจำเป็นต้องรู้เท่าทันอารมณ์ใจตนเอง การจะรู้เท่าทันอารมณ์ใจตนเองนั้น สติ สมาธิ และปัญญาจะต้องเฉียบคม ว่องไว

การที่สติ สมาธิ ปัญญาจะเฉียบคม ว่องไวนั้น ก็ขึ้นอยู่กับ ศีลสมาธิ และปัญญา ของเรา ว่าสั่งสมมามากเท่าไร ถ้าศีลทรงตัว สมาธิของเราตั้งมั่น ปัญญาก็จะเกิดได้ง่าย สติเป็นผลของการที่ศีลและสมาธิทรงตัว ทำให้รู้จักระงับยับยั้งไม่ไปนึกคิดตามอารมณ์ต่าง ๆ จนเกิดโทษแก่พวกเรา
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 14-07-2010 เมื่อ 15:20
สมาชิก 58 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 15-07-2010, 00:14
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,166 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เมื่อกล่าวมาถึงตรงนี้แล้ว ก็ขอสรุปลงตรงที่ว่า อานาปานสติ คือ ลมหายใจเข้าออกของเรานั้น เป็นตัวระงับความฟุ้งซ่านที่ดีที่สุด

เมื่อจิตเริ่มทรงตัวเป็นอัปปนาสมาธิ ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป ความแหลมคมว่องไวของสติปัญญานั้นจะมีมาก ทำให้สามารถกำหนดอยู่กับลมหายใจเข้าออกอันเป็นปัจจุบัน โดยไม่ไปนึกคิดปรุงแต่งในอารมณ์อื่น ๆ ที่ไปในอดีตและไปในอนาคต ซึ่งมีแต่จะสร้างโทษให้แก่เรา

เมื่ออานาปานสติ คือ ลมหายใจเข้าออก มีคุณถึงปานนี้ ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่พวกเราต้องปฏิบัติ อย่าได้ละทิ้ง การปฏิบัติก็อย่าได้มีเวลามานั่งเป็นการเฉพาะ ถ้ายังต้องรอเวลาการนั่งโดยเฉพาะ เราก็ยังเอาดีได้ยาก

เราต้องฝึกปฏิบัติให้ถึงระดับที่ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถไหนก็ตาม ไม่ว่าจะทำการทำงานใด ๆ ก็ตาม ต้องสามารถรู้ลมหรือรู้คำภาวนาไปพร้อม ๆ กันด้วย ถ้าทำได้ดังนั้น ท่านทั้งหลายก็จะมีความมั่นคงของสภาพจิตที่เพียงพอแก่การใช้งาน เพราะกิเลสไม่ได้กินเราเฉพาะตอนนั่งกรรมฐาน กิเลสนั้นกินเราอยู่ตลอดเวลา

ไม่ว่าจะยืน เดิน นอน นั่ง ดื่ม กิน คิด พูด ทำ ก็ตาม กิเลสจะฉวยโอกาสสอดแทรกเข้ามาเพื่อที่จะกินเราอยู่ เราจึงจำเป็นที่จะต้องกำหนดรู้ในลมหายใจเข้าออกให้แน่วแน่และมั่นคง ในอิริยาบถอื่น ๆ ก็จำเป็นที่จะต้องทรงตัวให้ได้ ไม่อย่างนั้นแล้วเราก็ไม่สามารถที่จะรบราต่อสู้กับกิเลส ไม่สามารถที่จะระงับยับยั้ง ไม่สามารถที่จะห้ำหั่นตัดทิ้งไปได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 15-07-2010 เมื่อ 02:39
สมาชิก 46 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 15-07-2010, 10:18
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,166 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เรื่องของการรู้ลมหายใจเข้าออก นอกจากจะทำให้มีกำลังในการสู้กิเลสแล้ว ถ้าหากลมหายใจทรงตัว คือ สมาธิตั้งมั่น ศีลทุกสิกขาบทเราก็จะระมัดระวังให้บริสุทธิ์ได้โดยง่าย ขณะเดียวกันสภาพจิตที่มั่นคง ตั้งมั่น แน่วนิ่ง ไม่หวั่นไหว ปัญญาก็จะเกิดขึ้นได้ง่าย

เมื่อมีศีล มีสมาธิ มีปัญญาที่ทรงตัวแล้ว ถ้าหากสภาพจิตยอมรับในร่างกายที่เป็นทุกข์นี้ ยอมรับว่าโลกนี้มีแต่ความทุกข์เช่นกัน ไม่ว่าตัวเรา คนอื่น ตลอดจนกระทั่งสัตว์ทั้งหลาย ล้วนแล้วแต่เวียนว่ายตายเกิดในกองทุกข์ทั้งสิ้น

ถ้าหากว่ามีปัญญารู้เห็นดังนี้ได้ จิตใจก็จะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หมดความอยากที่จะเกิดมาเพื่อทุกข์อีก ถ้าอย่างนั้นเราก็ต้องแสวงหาทางหลุดพ้น คือทำอย่างไรจะไปนิพพานได้

ก็ต้องมาตรวจสอบศีลทุกสิกขาบทของเรา ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ไม่ล่วงศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงให้คนอื่นล่วงในศีล และไม่ยินดีเมื่อเห็นคนอื่นทำศีลให้ตกล่วงไป ต้องทำความเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างแน่นแฟ้น เพราะเห็นคุณพระรัตนตรัยจริง ๆ เคารพด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจจริง ๆ ไม่ล่วงเกินทั้งต่อหน้าและลับหลัง และท้ายสุดมีปัญญาเห็นว่าสภาพร่างกายนี้ต้องเสื่อมสลายตายพังไปเป็นธรรมดา ถ้าตายเมื่อไร เราขอไปที่เดียวคือพระนิพพาน

เมื่อสรุปจบลงตรงนี้แล้ว ก็ขอให้ทุกคนเอากำลังใจเกาะพระนิพพานไว้ให้แน่นแน่วแน่มั่นคง ถ้าหากไม่ชินกับการเกาะพระนิพพาน ก็เกาะภาพพระคือพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง ที่เรารักที่เราชอบ ให้ตั้งความรู้สึกไว้ว่า นั่นคือตัวแทนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่ได้อยู่ที่ไหนนอกจากพระนิพพาน เราเห็นท่านคือเรากำลังอยู่กับพระองค์ท่าน เรากำลังอยู่กับพระองค์ท่านคือเราอยู่บนพระนิพพาน

ให้เอากำลังใจที่จดจ่อภาพพระนั้น หรืออยู่กับพระนิพพานนั้นให้แน่วแน่มั่นคง จนกว่าจะได้ยินเสียงสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านอนุสาวรีย์
วันศุกร์ที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 15-07-2010 เมื่อ 10:35
สมาชิก 50 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
กระทู้ถูกปิด


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 15:17



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว