กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

กระทู้ถูกปิด
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 25-08-2010, 00:28
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,451
ได้ให้อนุโมทนา: 151,086
ได้รับอนุโมทนา 4,400,042 ครั้ง ใน 34,040 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐานวันอาทิตย์ที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๓

ขยับนั่งในท่าที่สบายของเรา ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติเอาไว้เฉพาะหน้า กำหนดความรู้สึกทั้งหมดของเรา ให้ไหลตามลมหายใจเข้าไปพร้อมกับคำภาวนา ไหลตามลมหายใจออกมาพร้อมกับคำภาวนา เพื่อสร้างสมาธิของเราให้มั่นคง

วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓ เป็นการปฏิบัติกรรมฐานประจำต้นเดือนของเราในวันสุดท้าย สองวันก่อนได้กล่าวถึงสังโยชน์ข้อที่ ๑ - ๕ มาแล้ว วันนี้ก็จะมาขอต่อให้ครบ ๑๐

แต่ก่อนที่จะครบ ๑๐ ก็ขอให้ทุกท่านทบทวนตนเองดูว่า สังโยชน์อย่างน้อย ๓ ข้อ ก็คือข้อที่ ๑ สักกายทิฐิ ความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นเราเป็นตัวเรานั้น เรายังยึดถือแน่นแฟ้นอยู่ หรือว่าปล่อยวางได้บ้างแล้ว ? ข้อที่ ๒ วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัยในคุณพระรัตนตรัยก็ดี ความลังเลสงสัยในการปฏิบัติธรรมว่าจะเกิดผลจริงก็ดี มีอยู่ในจิตใจในเราหรือไม่ ?

ข้อที่ ๓ สีลัพพตปรามาส คือ การรักษาศีลแบบลูบ ๆ คลำ ๆ ไม่จริงจัง ปล่อยให้ศีลขาด ศีลด่าง ศีลทะลุ ยังมีอยู่กับเราหรือไม่ ? ถ้าหากว่ายังมีอยู่ก็ให้ตั้งใจเสียตั้งแต่บัดนี้ว่า เราจะตั้งหน้าปฏิบัติในการละสังโยชน์สามให้ได้

โดยเฉพาะในส่วนของการเคารพในคุณพระรัตนตรัย ไม่ล่วงเกินด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง และการทำความรู้สึกให้รู้อยู่เสมอว่า เราจะต้องตายแน่นอน ถ้าตายแล้วเราขอไปพระนิพพานแห่งเดียว

ถ้าในสองส่วนนี้ เราตั้งใจ ตัดใจทำเสียให้เด็ดขาดตั้งแต่วันนี้ เราก็เหลือแค่การไปประคับประคองศีลให้บริสุทธิ์ตามสภาพของตน ก็คือ ฆราวาสทั่วไปก็รักษาศีล ๕ อุบาสกอุบาสิกาก็รักษาศีล ๘ สามเณรก็รักษาศีล ๑๐ พระภิกษุก็รักษาศีล ๒๒๗

ให้ทบทวนศีลไว้ทุกวัน ว่าเรามีศีลทุกสิกขาบทบริสุทธิ์บริบูรณ์หรือไม่ ? เราล่วงศีลด้วยตัวเองหรือเปล่า ? เรายุยงส่งเสริมให้คนอื่นล่วงศีลหรือเปล่า ? และเรายินดีเมื่อเห็นคนอื่นล่วงศีลบ้างหรือเปล่า ?

ถ้าหากเราไม่ได้ละเมิดศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้คนอื่นกระทำ และไม่ยินดีเมื่อเห็นคนอื่นกระทำ ก็แสดงว่ากำลังใจของเรานั้น มีสิทธิ์ที่จะก้าวเข้าสู่ความเป็นพระอริยเจ้าตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-08-2010 เมื่อ 02:08
สมาชิก 56 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 26-08-2010, 11:37
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,451
ได้ให้อนุโมทนา: 151,086
ได้รับอนุโมทนา 4,400,042 ครั้ง ใน 34,040 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ส่วนเมื่อวานเรามากล่าวถึงว่า ในความเป็นพระโสดาบันใช้แค่กำลังของปฐมฌานก็พอแล้ว สามารถตัดกิเลสในระดับพระโสดาบันได้ โดยการละสังโยชน์สามข้อแรก แต่ว่าในความเป็นพระสกทาคามีนั้น กำลังของเราจะต้องถึงระดับฌานสี่ จึงสามารถระงับยับยั้งไม่ให้กามราคะและโทสะเกิดขึ้นได้ทันท่วงที ในส่วนของพระอนาคามีนั้น ฌานสี่ต้องคล่องตัวจริง ๆ เราจึงจะตัดกามราคะสังโยชน์ และปฏิฆะสังโยชน์ได้โดยเด็ดขาด

สำหรับวันนี้เรามากล่าวถึงสังโยชน์ เครื่องร้อยรัดให้เราติดข้องอยู่ในวัฏสงสารนี้ ในข้อที่ ๖ ก็คือรูปราคะ ความยินดีในรูป และอรูปราคะ ความยินดีในความไม่มีรูป

ความยินดีในรูป ก็คือ รูปที่เห็นด้วยตา ไม่ว่าจะเป็นรูปคน รูปสัตว์ รูปสิ่งของ เห็นแล้วยินดี อยากมี อยากได้ จัดเป็นรูปราคะทั้งสิ้น และที่สำคัญที่สุดก็คือ ความสุข ความสงบในรูปฌานสมาบัติของเรา ไม่ว่าจะเป็นปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานก็ตาม

ฌานทั้งหลายเหล่านี้จะกดกิเลสให้ดับลงชั่วคราว ทำให้เกิดความสุขเยือกเย็นแก่เราอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน แล้วเราก็ไปยึดในความสุขทั้งหลายเหล่านั้น ถ้าเรายึดอยู่ก็แปลว่าเราติดในรูปราคะ ก็คือสังโยชน์ตัวที่ ๖ นี่เอง

ส่วนสังโยชน์ตัวที่ ๗ นั้น ก็คือ อรูปราคะ ความยินดีในความไม่มีรูป ความยินดีในความไม่มีรูปนั้น ในส่วนที่จะเห็นได้ชัดก็คือ ความยินดีในอรูปฌานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอากาสานัญจายตนะฌาน นอกจากจะสามารถทรงกำลังฌานสี่ได้แล้ว ยังเพิกรูปกสิณที่เราทำได้ไปเสีย จิตจับเอาความว่างของอากาศเข้าไปแทน แล้วไปยินดีในความว่างที่ไม่มีอะไรอยู่นั้น

หรือว่าวิญญาณัญจายตนะฌาน การที่เราละรูปเสีย ไปจับเอาความเวิ้งว้างไร้ขอบเขตของวิญญาณแทน แล้วไปยินดีอยู่ในจุดนั้น หรือว่าอากิญจัญญายตนะฌาน เราสามารถกำหนดพิจารณาเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่าง ในที่สุดก็สลายตายพังไปทั้งสิ้น แม้ในที่สุดก็ไม่มีอะไรเหลือ แล้วไปยินดีในสิ่งที่ไม่มีอะไรเหลือนั้น

หรือว่าข้อสุดท้าย เนวสัญญานาสัญญายตนะฌาน สามารถใช้กำลังสมาธิของเรา กดจนกระทั่งความรู้สึกมีก็เหมือนไม่มี หนาวก็เหมือนทำกับไม่หนาว ร้อนก็ทำเหมือนกับไม่ร้อน หิวก็เหมือนกับไม่หิว กระหายก็เหมือนกับไม่กระหาย เป็นต้น

แล้วเราไปยินดีอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนะฌานนี้ ก็แปลว่าเรายึดติดในอรูปราคะ คือ ความไม่มีรูปไปด้วย ทั้งสองข้อนี้ก็เป็นสองข้อใหญ่ ข้อที่ ๖ และข้อที่ ๗ ที่จะร้อยรัดเราให้ติดอยู่ในวัฏสงสารได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-08-2010 เมื่อ 14:06
สมาชิก 49 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 26-08-2010, 21:41
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,451
ได้ให้อนุโมทนา: 151,086
ได้รับอนุโมทนา 4,400,042 ครั้ง ใน 34,040 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

วิธีแก้ไขที่ง่ายที่สุด ก็คือ เอากำลังของฌาน ไม่ว่าจะเป็นรูปฌานหรืออรูปฌานก็ตาม เกาะพระนิพพานแทน แทนที่เราจะเกาะในฌานสมาบัติ ก็เอากำลังของฌานสมาบัติไปเกาะในพระนิพพานแทน ก็แปลว่าเราเกาะสถานที่ที่ถูกต้องแล้ว จึงไม่ถือว่าเป็นการติดในรูปราคะและอรูปราคะ

ส่วนในสังโยชน์ข้อที่ ๘ นั้น ก็คือ มานะสังโยชน์ ได้แก่ ความถือตัวถือตน ส่วนใหญ่ก็ถือว่าเราดีกว่าเขา มีบางส่วนที่จิตละเอียดกว่าก็คิดว่าเราเลวกว่าเขาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการถือว่าเราดีกว่าเขา เราเสมอเขา หรือว่าเราเลวกว่าเขาก็ตาม ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดการยึดติดทั้งสิ้น

ถ้าเราต้องการที่จะละ ก็ต้องพิจารณาให้เห็นชัดว่า ไม่ว่าเขาและเราก็มีความทุกข์เสมอกัน คือ ทุกข์ของการเกิด ทุกข์ของการแก่ ทุกข์ของการเจ็บ ทุกข์ของการตาย ทุกข์ของการพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ทุกข์จากการพบในสิ่งที่ไม่รักไม่ชอบใจ ทุกข์ของการปรารถนาไม่สมหวัง ทุกข์ของการกระทบกระทั่งสิ่งที่ไม่ชอบใจ ไม่ปรารถนา เป็นต้น

หรือว่าเราและเขาล้วนแล้วแต่มีสภาพสักแต่ว่าเป็นรูป สักแต่ว่าเป็นธาตุเช่นกัน ในเมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว จะมีใครดีกว่า จะมีใครเลวกว่า จะมีใครเสมอกันก็หาไม่ มีแต่บุคคลที่กำลังเป็นไปตามกรรมเท่านั้น ถ้าเราพิจารณาตามนี้ได้ เราก็จะวางมานะสังโยชน์ คือ สังโยชน์ข้อที่ ๘ นี้ได้

ข้อที่ ๙ นั้น อุทธัจจะ ก็คือ ความฟุ้งซ่าน ข้อนี้สามารถแก้ไขได้ง่ายมาก คือ ให้เราใช้กำลังสมาธิในการทรงฌานเอาไว้ ก็จะดับความฟุ้งซ่านได้ แล้วอาศัยกำลังของฌาน จะเป็นรูปฌานก็ดี อรูปฌานก็ดี ในการเกาะพระนิพพานแทน

จิตที่ทรงฌานจะตัดความฟุ้งซ่านไปโดยอัตโนมัติ แล้วเราไปเกาะพระนิพพานเอาไว้ ชื่อว่าเกาะในสิ่งที่ถูกต้อง ตัวอุทธัจจะสังโยชน์ก็ไม่สามารถที่จะร้อยรัดเราให้ติดอยู่กับวัฏฏสงสารได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-08-2010 เมื่อ 02:56
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 27-08-2010, 13:48
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,451
ได้ให้อนุโมทนา: 151,086
ได้รับอนุโมทนา 4,400,042 ครั้ง ใน 34,040 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เราก็เหลือเพียงตัวอวิชชาสังโยชน์ ตัวสุดท้ายเท่านั้น ซึ่งเป็นตัวที่ละเอียดอ่อนและลึกซึ้ง ขุดถอนได้ยาก อวิชชาคือความไม่รู้นั้น อรรถกถาจารย์ท่านแบ่งออกเป็นสองอย่างด้วยกัน ก็คือ ฉันทะ ความยินดี ความพอใจ ๑ ราคะ ความยินดี อยากมี อยากได้ ๑

ทั้งสองอย่างนี้รวมกันกลายเป็นอวิชชา คือ ความไม่รู้ หรือรู้ไม่ทั่ว รู้ไม่หมด จึงทำให้เกิดการยึดติดขึ้นมาได้ อย่างเช่นว่า ตาเห็นรูปแล้วยินดี ก็คือ เกิดฉันทะ พอใจขึ้นมา ก็ทำให้เกิดราคะ คือ อยากมีอยากได้ในรูปนั้น ไม่ว่าอยากให้ตัวเราเป็นอย่างนั้น หรือว่าอยากได้คนอื่น สัตว์อื่นที่เป็นเจ้าของรูปนั้นก็ตาม ล้วนแล้วแต่เป็นราคะทั้งสิ้น

หรือว่าหูได้ยินเสียงเกิดความพอใจในเสียงนั้น ก็มีความยินดีอยากจะฟังอีก จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส ใจครุ่นคิดก็เช่นเดียวกัน เมื่อเกิดฉันทะพอใจในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นขึ้น ตัวราคะ คืออยากมีอยากได้ก็จะปรากฏขึ้นไปด้วย

ดังนั้น..ในการที่จะตัดอวิชชาสังโยชน์ตัวสุดท้ายนั้น สติ สมาธิและปัญญาของเราต้องว่องไวและแหลมคมมาก เห็นโทษตั้งแต่สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นกระทบอายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเรา แล้วระงับได้ทันท่วงที ไม่ไปนึกคิดปรุงแต่ง ยินดีหรือไม่ยินดีในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น มีอารมณ์เป็นกลาง วางเฉย สักแต่ว่ารับรู้

ถ้าทำดังนี้ได้ ตัวอวิชชาสังโยชน์ก็จะไม่สามารถร้อยรัดเราอยู่ได้ ในเมื่อสังโยชน์ใหญ่ไม่สามารถจะร้อยรัดเราได้ ตัวเราก็จะหลุดพ้นไปสู่พระนิพพาน

เมื่อมาถึงตอนนี้ก็ขอให้ทุกท่านกำหนดลมหายใจและคำภาวนาของเรา ถ้ายังมีลมหายใจอยู่..ตามดูลมหายใจ ถ้ายังมีคำภาวนาอยู่..ใช้คำภาวนาของเราไป ถ้าลมหายใจหรือคำภาวนาหายไป ก็กำหนดรู้อยู่แค่นั้น

โดยใช้ความรู้สึกทั้งหมดเกาะภาพพระหรือเกาะพระนิพพานเอาไว้ ตั้งใจว่า ถ้าเราตายลงไปเมื่อไร เราขอมาอยู่ที่พระนิพพานนี้แห่งเดียว แล้วกำหนดภาวนาหรือพิจารณาของเราไปตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา


พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านอนุสาวรีย์
วันอาทิตย์ที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๓
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-08-2010 เมื่อ 14:07
สมาชิก 40 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
กระทู้ถูกปิด


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 21:12



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว