กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

กระทู้ถูกปิด
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 31-10-2010, 20:19
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,194 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๓

ให้ทุกคนนั่งตัวตรง กำหนดสติทั้งหมดอยู่เฉพาะหน้า อยู่กับลมหายใจเข้าออกของเรา หายใจเข้ากำหนดรู้ตามเข้าไป หายใจออกกำหนดรู้ตามออกมา

หายใจเข้าผ่านจมูก..ผ่านกึ่งกลางอก..ลงไปสุดที่ท้อง หายใจออกจากท้อง.. ผ่านกึ่งกลางอก..มาสุดที่ปลายจมูก จะใช้คำภาวนาอย่างไรก็ได้ตามแต่เราชอบใจ

วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓ เป็นการเจริญกรรมฐานวันสุดท้ายของต้นเดือนตุลาคม วันนี้อยากจะกล่าวถึงกรรมฐานที่ปฏิบัติได้ง่าย คำว่าง่ายในที่นี้ หมายถึงว่า ง่ายกว่าหมวดอื่น ๆ

ในการปฏิบัติกรรมฐานของเรานั้น ถ้าว่าไปตามหลักสมถกรรมฐานแล้ว มีอยู่ ๔๐ อย่างด้วยกัน คือ กสิณ ๑๐ อนุสติ ๑๐ อสุภกรรมฐาน ๑๐ ว่าไป ๓๐ อย่างแล้ว พรหมวิหาร ๔ อรูปฌาน ๔ รวมเป็น ๓๘ อาหารเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑ รวมเป็น ๔๐ ด้วยกัน

ทั้ง ๔๐ อย่างนี้ หมวดของอนุสติ ๑๐ คือการตามระลึกถึงความดี ๑๐ อย่าง เป็นกรรมฐานที่ปฏิบัติได้ค่อนข้างจะง่ายกว่าหมวดอื่น ๆ เพราะว่าในอนุสติ ๑๐ นั้น ถ้ายกอานาปานุสติ การระลึกถึงลมหายใจเข้าออกเสีย ที่เหลืออีก ๙ กอง ทำเต็มที่ก็ไม่เกินอารมณ์ปฐมฌาน

เพียงแต่ว่าครูบาอาจารย์ท่านมีความฉลาด เมื่อถึงเวลาก็จับอานาปานุสติควบเข้าไปด้วย จึงทำให้อนุสติอีก ๙ กอง สามารถทำได้ถึงฌาน ๔ หรือสมาบัติ ๘ ก็ได้

ในเมื่อกรรมฐานทั้ง ๑๐ กองนี้ทำได้ง่าย และเป็นหลักยึดที่สำคัญของจิตใจของเรา โดยเฉพาะอานาปานุสติที่ป้องกันความฟุ้งซ่านทุกประเภทได้ จึงเป็นสิ่งที่พวกเราทุกคนควรจะศึกษาและปฏิบัติไว้ เพราะกระทำได้ง่ายและเห็นผลเร็ว
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 01-11-2010 เมื่อ 02:37
สมาชิก 57 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 31-10-2010, 21:20
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,194 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

อนุสติ คือการตามระลึกถึงความดี ๑๐ อย่าง ด้วยกัน ได้แก่

พุทธานุสติ การนึกถึงความดีของพระพุทธเจ้า ว่าพระองค์ท่านประกอบไปด้วยพระปัญญาคุณอันล้ำเลิศ สามารถตรัสรู้ธรรมที่ไม่มีผู้ใดตรัสรู้ได้ ทรงพระบริสุทธิคุณเป็นอย่างยิ่ง ชำระจิตใจให้ผ่องใสจากกิเลสได้ ชนิดที่ไม่มีใครทำได้ยิ่งไปกว่า มีพระกรุณาคุณอย่างยิ่ง สงสารสั่งสอนเพื่อให้สัตว์โลกทั้งหลายพ้นทุกข์ โดยตรากตรำพระวรกายอยู่ถึง ๔๕ ปีเต็ม ๆ นี่เป็นคุณความดีส่วนหนึ่งขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่เราพึงระลึกถึง

ลำดับถัดไปคือ ธัมมานุสติ การระลึกถึงความดีของพระธรรม ว่าพระธรรมทั้งหลายที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วนั้น ช่วยรักษาผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกไปในทางที่ชั่ว คือไม่ให้ตกไปสู่อบายภูมิ

ลำดับถัดไปคือ สังฆานุสติ การระลึกถึงความดีของพระสงฆ์ ว่าพระสงฆ์ทั้งหลายเหล่านั้นเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติตามธรรม และปฏิบัติชอบแล้วตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เป็นผู้ที่ศึกษาเรียนรู้ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วนำมาสั่งสอนต่อเราทั้งหลาย เป็นการสืบต่ออายุพระศาสนา และเป็นการอนุเคราะห์ สงเคราะห์ให้พวกเราล่วงพ้นจากกิเลสด้วย

ข้อต่อไปคือ สีลานุสติ การระลึกถึงคุณของศีล ว่าศีลนั้นเป็นเบื้องต้นของความดีทั้งปวง นำมาซึ่งโภคทรัพย์ และเป็นบันไดให้เราก้าวไปสู่พระนิพพาน เป็นต้น

ลำดับถัดมา จาคานุสติ ความดีของการบริจาคให้ทาน ก็คือ ความดีในการที่เราสละออกเพื่อตัดความโลภ ไม่ว่าจะเป็นการสละทรัพย์สินสิ่งของก็ดี หรือการสละละทิ้งวางเสียซึ่งอารมณ์ภายในที่ไม่ดี อย่างเช่นอารมณ์โกรธ เป็นต้น ก็นับว่าเป็นการสละออกเช่นเดียวกัน

ลำดับต่อไปเป็นการระลึกถึงความดีของเทวดา ว่าอย่างน้อยท่านต้องมีหิริโอตัปปะ ซึ่งเรียกว่า เทวธรรม คือละอายต่อความชั่ว ไม่กล้ากระทำความชั่ว เพราะเกรงกลัวผลของบาปนั้นจะส่งผลถึงตน เป็นต้น

หรือว่าเทวดาทั้งหลายต้องมีศีลอย่างน้อยศีล ๕ บริสุทธิ์ผุดผ่อง หรือว่าถ้าเป็นเทวดาที่สูงขึ้นไป ที่เราเรียกว่า พรหม จะต้องทรงฌานสมาบัติในปฐมฌานเป็นอย่างน้อย ถ้าเป็นพรหมชั้นสุทธาวาสพรหม ที่เราเรียกง่าย ๆ ว่าพรหมอนาคามี จะต้องเห็นสภาพที่น่าเบื่อหน่ายของร่างกายของโลกนี้ แล้วถอนจิตออกไปได้ส่วนหนึ่ง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 01-11-2010 เมื่อ 02:38
สมาชิก 53 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 01-11-2010, 16:47
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,194 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ลำดับถัดไปคือการระลึกถึงความตาย ไม่ว่าตัวเราหรือตัวเขา หรือสรรพสัตว์ทั้งหลาย มีการก้าวเข้าไปหาความตายเป็นปกติ ชีวิตนี้เป็นของไม่เที่ยง ไม่ทราบว่าความตายจะมาถึงเมื่อไร แต่ทุกคนต้องตายอย่างแน่นอน

ลำดับต่อไปก็คือ การรำลึกถึงสภาพความเป็นจริงของร่างกาย ว่าประกอบขึ้นจากธาตุ ๔ มีดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นต้น

ร่างกายนี้เต็มไปด้วยอวัยวะภายในใหญ่น้อยทั้งปวง อย่างเช่น ปอด ตับ ม้าม หัวใจ ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะอาหาร กระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น ให้เห็นสภาพความเป็นจริงของร่างกายนี้ไม่ใช่แท่งทึบ เต็มไปด้วยเครื่องจักรกล เป็นสิ่งที่น่าเกลียด ไม่น่ารัก ไม่น่าใคร่ ตัวเราก็เป็นเช่นนี้ คนอื่นก็เป็นเช่นนี้ สัตว์อื่นก็เป็นเช่นนี้

และท้ายสุด ก็คือการรำลึกถึงพระนิพพาน ว่าเป็นสถานที่สงบ สว่าง เยือกเย็น ปราศจากรัก โลภ โกรธ หลง โดยสิ้นเชิง เป็นเป้าหมายที่เราทุกคนพึงจะไปให้ถึง

การระลึกถึงความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความดีของการบริจาคให้ทาน ความดีของศีล ความดีของเทวดา การระลึกถึงความตายเพื่อไม่ให้ประมาท การระลึกรู้ตามความเป็นจริงถึงสภาพร่างกายของเรา และกระทั่งท้ายสุดคือการระลึกถึงลมหายใจเข้าออก เราจะเลือกทำข้อใดข้อหนึ่งก็ได้ โดยควบกับลมหายใจเข้าออกไปด้วย ให้จิตใจตั้งมั่นทรงตัว

เมื่อจิตใจตั้งมั่นแล้ว เราค่อยถอนกำลังใจออกมาเพื่อพิจารณาในวิปัสสนาญาณ คือเห็นความไม่เที่ยงของร่างกายนี้ ว่ามีการเกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลาง และสลายตัวไปในที่สุด ระหว่างดำรงชีวิตอยู่ เต็มไปด้วยความทุกข์ของการเกิด แก่ เจ็บตาย เป็นต้น และท้ายสุดก็ไม่มีอะไรเหลือดำรงอยู่ให้เป็นตัวตนเราเขาได้

ในเมื่อร่างกายเต็มไปด้วยความหลอกลวงเช่นนี้ โลกเราเต็มไปด้วยความหลอกลวงเช่นนี้ ขึ้นชื่อว่าการเกิดมามีร่างกาย และอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยความหลอกลวงเช่นนี้ จะไม่มีสำหรับเราอีก เราต้องการที่เดียวคือพระนิพพาน

เมื่อมาถึงจุดนี้ ให้ทุกท่านส่งกำลังใจเกาะพระนิพพานไว้ ถ้าหากว่ายังกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกอยู่ ก็ให้กำหนดรู้ไปตามปกติ ถ้าหากว่ายังมีคำภาวนาอยู่ ก็ให้กำหนดรู้คำก็ภาวนาไปตามปกติ

ถ้าไม่มีลมหายใจ ไม่มีคำภาวนา ก็สักแต่ว่ากำหนดรู้ไว้เฉย ๆ ให้กระทำดังนี้จนสภาพจิตใจมีการดำรงตนมั่นคงอยู่ในสมาธิภาวนา แล้วเราก็รักษาอารมณ์นี้เอาไว้จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา


พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านอนุสาวรีย์
วันอาทิตย์ที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๓
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 01-11-2010 เมื่อ 16:57
สมาชิก 47 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
กระทู้ถูกปิด


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 22:38



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว