กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 14-07-2015, 13:43
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,459
ได้ให้อนุโมทนา: 151,110
ได้รับอนุโมทนา 4,400,199 ครั้ง ใน 34,048 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันศุกร์ที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘

ให้ทุกคนนั่งในท่าที่สบายของตน ตั้งกายให้ตรง กำหนดความรู้สึกทั้งหมดอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกของตน หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ ที่เรามีความถนัดหรือเคยชินมาแต่เดิม

วันนี้เป็นวันศุกร์ที่ ๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘ วันนี้มีญาติโยมบางท่านตั้งคำถาม ต้องบอกว่าอยู่ในลักษณะของธรรมขั้นสูง อาตมาฟังแล้วมีความรู้สึก ๒ ประการด้วยกัน ประการแรกคือ ชื่นชมที่เขาขยันหมั่นเพียร ศึกษาพระไตรปิฎกจนแตกฉาน สามารถตั้งข้อสงสัยในสิ่งต่าง ๆ ที่ตนเองพบเห็นในพระไตรปิฎกได้

อีกข้อหนึ่งก็คือ เกิดความไม่ค่อยสบายใจว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ จะเป็นสิ่งที่ขวางการปฏิบัติของเขาหรือไม่ ? เนื่องเพราะในการปฏิบัตินั้น ปริยัติคือการศึกษาเล่าเรียนจากตำราหรือจากคำสอนของครูบาอาจารย์ เป็นเพียงแนวทางเท่านั้น การที่เราจะเข้าถึงมรรคถึงผลจริง ๆ นั้นอยู่ที่การทุ่มเทให้กับการปฏิบัติ ไม่เช่นนั้นแล้วการศึกษาตำราเพื่อเอาไปถกเถียงกัน ก็มีแต่จะสร้าง รัก โลภ โกรธ หลง ขึ้นมาในใจของเรามากยิ่งขึ้น กลายเป็นฉันรู้มากกว่า ฉันศึกษามามากกว่า ถ้าเป็นอย่างนั้นก็เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง

เหมือนข้อความที่ปรากฏอยู่ในอลคัททูปมสูตร ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงการศึกษาในพระไตรปิฎก เหมือนกับการจับงูข้างหาง มีแต่จะเกิดอันตรายแก่ตนเอง เพราะฉะนั้น..ท่านทั้งหลายเมื่อศึกษาพระไตรปิฎก ตำรา หรือคำสอนครูบาอาจารย์ ได้แนวทางที่พอเหมาะพอควรแก่ตน ก็ให้ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติไป ไม่เช่นนั้นจะอยู่ในลักษณะของเถรใบลานเปล่า ก็คือมีความรู้เฉพาะที่อยู่ในตำรา แต่ไม่มีความรู้จากการปฏิบัติของตนอย่างแท้จริง ถ้าลักษณะอย่างนั้นครูบาอาจารย์บางท่านก็ว่า เป็นพวกมอด พวกปลวก คอยแทะคัมภีร์อย่างเดียว หาได้ประโยชน์จากคัมภีร์มากไปกว่านั้นไม่
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 14-07-2015 เมื่อ 13:47
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 54 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 15-07-2015, 11:14
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,459
ได้ให้อนุโมทนา: 151,110
ได้รับอนุโมทนา 4,400,199 ครั้ง ใน 34,048 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ในเมื่อเป็นเช่นนั้น เราก็นำมาเป็นตัวอย่าง ถ้าเราศึกษาจนเกิดความเข้าใจ เกิดความเลื่อมใสในคุณพระรัตนตรัย ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติธรรมไป โอกาสที่เราจะเข้าถึงมรรคถึงผลก็มี ไม่เช่นนั้นก็เหมือนกับทัพพี ต่อให้คาอยู่ในหม้อแกงที่มีรสชาติเอร็ดอร่อยขนาดไหนก็ตาม ก็หาได้มีโอกาสลิ้มลองซึ่งรสแกงนั้นไม่ ในพระไตรปิฎกเปรียบเหมือนลูกจ้างเลี้ยงโค ไม่มีโอกาสที่จะได้รับรู้รสชาติของปัญจโครส ก็คือ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น และน้ำมันเปรียงเลย เนื่องจากตนเองเป็นเพียงลูกจ้างเลี้ยงวัว ไม่ใช่เจ้าของวัว

การปฏิบัติธรรมของเรา ต้องปฏิบัติในลักษณะของเจ้าของวัว ก็คือลงมือลิ้มลองในส่วนของธรรมะที่ปรากฏอยู่ ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง ๆ ไม่อย่างนั้นเราก็ได้แต่ศึกษาตำราไปคุยอวดกัน กลายเป็นติรัจฉานกถา คือคำพูดที่ขวางแนวทางการปฏิบัติ เพราะการไปถกเถียงกันเป็นเหตุให้ฟุ้งซ่าน ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตักเตือนเอาไว้ว่า อย่าได้กล่าววาจาอันเป็นเหตุให้เถียงกัน เพราะวาจาเป็นเหตุให้เถียงกัน ทำให้จำเป็นต้องพูดมาก บุคคลที่พูดมากจิตใจย่อมฟุ้งซ่าน บุคคลที่ฟุ้งซ่านย่อมห่างจากสมาธิ ดังนี้เป็นต้น

สำหรับพวกเราทั้งหลายนั้น การปฏิบัติธรรมขอให้เข้าใจว่า สิ่งที่เราจะทิ้งไม่ได้เลยก็คือลมหายใจเข้าออก เพราะว่าเป็นพื้นฐานใหญ่ของกรรมฐานทั้งปวง เมื่อภาวนาจนอารมณ์ใจทรงตัวแล้ว ให้ตั้งใจแผ่เมตตาไปสู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย เมื่อแผ่เมตตาจนเต็มที่แล้ว ให้ถอนกำลังใจออกมาพิจารณาในวิปัสสนาญาณ ไม่ว่าจะเป็นการดูไตรลักษณ์ คือการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป การดำรงอยู่ท่ามกลางกองทุกข์ การไม่มีอะไรยึดถือมั่นหมายเป็นตัวตนเราเขาได้ หรือว่าจะดูในอริยสัจ มองทุกข์ให้เห็น หาสาเหตุของทุกข์ให้เจอ ระมัดระวังอย่าไปสร้างสาเหตุของทุกข์ ความทุกข์ก็ไม่เกิดขึ้นกับเรา

หรือว่าจะดูตามนัยของวิปัสสนาญาณ ๙ คือ ดูการเกิด การดับก็ได้ ดูว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแล้วแต่ดับไปก็ได้ ดูว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแล้วแต่เป็นโทษ ล้วนแล้วแต่เป็นภัย เป็นของน่ากลัว เป็นของน่าเบื่อหน่าย เป็นของที่ควรจะไปเสียให้พ้น เป็นของที่ควรจะหลีกหนี หาทางหนีให้พ้น จนกระทั่งสภาพจิตไม่ยึดเกาะสิ่งใด ๆ กลายเป็นสังขารุเปกขาญาณ ถ้าทำอย่างนั้นจนสภาพจิตทรงตัวจริง ๆ ท่านทั้งหลายก็สามารถที่จะก้าวล่วงจากกองทุกข์ เข้าสู่พระนิพพานได้

ลำดับต่อไปขอให้ทุกท่านตั้งใจภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
วันศุกร์ที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘

(ถอดจากเสียงเป็นอักษรโดยทาริกา)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 15-07-2015 เมื่อ 15:15
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 42 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 00:35



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว