กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 16-01-2018, 21:24
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,030 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันศุกร์ที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๑

ให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติคือความรู้สึกทั้งหมดของเราไว้ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเราไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ ที่เรามีความถนัด มีความชำนาญมาแต่เดิม

วันนี้เป็นวันศุกร์ที่ ๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๑ เป็นการปฏิบัติธรรมวันแรกของปีใหม่ เมื่อครู่ที่ได้กล่าวถึงว่า พวกเราทั้งหลายปฏิบัติธรรมไปแล้วไม่ประสบความสำเร็จ เพราะว่าเราทำไปแล้วก็ปล่อยให้กำลังของเรารั่วไหลไปหมด

สาเหตุที่เราปล่อยให้กำลังของเรารั่วไหลไปหมด ก็เพราะว่าเราขาดการสำรวมอินทรีย์ คือ ไม่รู้จักระมัดระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเรา ในเมื่อเราไม่ระมัดระวัง กำลังที่เราปฏิบัติได้ต่อให้เป็นสมาธิระดับอภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ ก็จะรั่วไหลจนหมด

ให้เราสังเกตดู สมมติว่าเราดูหนังเรื่องยาว ๆ สัก ๓ ชั่วโมง บางคนพอหนังจบก็เพลีย เหนื่อย หมดสภาพ แปลว่าเราใช้กำลังในการดูด้วยสายตาไปมากมายมหาศาล บางคนฟังเพลงไอพ็อดกรอกหูอยู่ตลอดเวลา ถ้าสักแต่ว่าให้เสียงเพลงเข้าหูก็ยังไม่กระไร แต่ถ้ามีความเข้าใจเนื้อเพลง กำหนดใจตามทำนองของเพลง เหมือนอย่างกับเราร้องคลอตามไปในใจด้วย พอผ่านไปสัก ๒-๓ ชั่วโมง เราก็จะเหนื่อยหมดสภาพเช่นกัน

เรื่องของจมูก ของลิ้น ของกาย ของใจ ก็ลักษณะเดียวกัน ไม่ว่าเราจะใช้ในการดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัส หรือว่าครุ่นคิดก็ตาม จะเป็นการใช้กำลังสมาธิอย่างมาก ในเมื่อเราใช้มากแล้วปฏิบัติน้อย ก็เหมือนกับบุคคลทั่ว ๆ ไปที่ทำงานแล้วได้เงินน้อยแต่ใช้จ่ายมาก นาน ๆ ไปก็เป็นหนี้สินล้นพ้นตัว หลายรายก็ถึงระดับล้มละลายไปเลย
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-01-2018 เมื่อ 02:24
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 45 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 16-01-2018, 21:30
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,030 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสในอปัณณกปฏิปทา ก็คือแนวทางในการปฏิบัติที่ไม่ผิด พระองค์ท่านกล่าวว่าอปัณณกปฏิปทามี ๓ ประการ คือ ๑. อินทรียสังวร รู้จักสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ปล่อยให้สติเผลอหลุดออกไปในการดูรูป ได้ยินเสียง ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส เพราะว่าระมัดระวังใจของเราเอาไว้เสมอ

พระองค์ท่านเปรียบว่า เหมือนกับเด็กชาวนาจะจับเหี้ยที่อาศัยในจอมปลวก ซึ่งมีช่องอยู่ ๖ ช่อง ก็จำเป็นที่จะต้องอุดช่องอื่นเสีย ๕ ช่อง แล้วก็เฝ้าจ้องอยู่เพียงช่องเดียว ในเมื่อเหี้ยไม่มีทางออกไปทางอื่น ท้ายสุดก็ต้องโผล่มาในช่องที่เราเปิดไว้ ก็จะโดนจับได้โดยง่าย ลักษณะเดียวกับเราที่สำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เอาไว้ ระมัดระวังแต่ในเรื่องใจอย่างเดียวว่า จะไม่ให้ไหลไปในอายตนะทั้ง ๕

ในเมื่อเราระวังใจอย่างเดียว ก็แปลว่าเราต้องมีสมาธิที่ตั้งมั่น ไม่อย่างนั้นแล้วเราจะไม่สามารถระวังรักษาใจของเราได้ เราจะมีสมาธิมีความตั้งมั่นได้ ก็ต้องมีอานาปานสติ ก็คือสติที่ไปในลมหายใจเข้าออก ซึ่งจะสามารถสร้างได้ตั้งแต่ขณิกสมาธิ คือกำลังสมาธิที่ทรงตัวเพียงเล็กน้อย อุปจารสมาธิ กำลังสมาธิที่ทรงตัวเฉียดฌาน และอัปปนาสมาธิ สมาธิที่ทรงตัวแนบแน่นตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-01-2018 เมื่อ 02:26
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 47 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 18-01-2018, 21:20
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,030 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ก็แปลว่าในการปฏิบัติธรรมของทุกท่าน จะทิ้งลมหายใจเข้าออกไม่ได้เลย เพียงแต่ว่าลมหายใจเข้าออกต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ใช่ไปบังคับ ร่างกายต้องการหายใจแรงหรือเบา ยาวหรือสั้น เราต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ แค่เอาสติกำหนดดู กำหนดรู้ตามไปเท่านั้น

ยกเว้นบางท่านที่ปฏิบัติมานาน สมาธิเริ่มมีความคล่องตัว สามารถทรงตัวในระดับที่ตนเองต้องการได้ ถ้าอย่างนั้นก็จะเหมือนกับท่านบังคับลมหายใจ แต่ความจริงแล้วไม่ได้บังคับ แต่ว่าทันทีที่ท่านคิดจะทรงสมาธิ สภาพจิตก็จะวิ่งเข้าไปสู่สมาธิในระดับที่เราเคยทำได้ เมื่อสมาธิทรงตัว สภาพของลมหายใจก็จะมีความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด สมาธิยิ่งทรงตัวสูง ลมหายใจก็ยิ่งเบาลง ถ้าหากว่าทรงตัวในระดับปฐมฌานหยาบอาจจะไม่รู้ถึงลมหายใจไปเลยก็มี

เรื่องคำภาวนา เราจะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ เพียงแต่ขอให้เป็นคนรักเดียวใจเดียว อย่าเปลี่ยนคำภาวนาบ่อย เพราะว่าจิตของเรามีสภาพจำ เมื่อจิตของเรามีสภาพจำ เมื่อถึงเวลาถ้าเราเปลี่ยนคำภาวนา สภาพจิตจะไปจำของเก่า เราต้องเอาสติบังคับให้มาจดจำของใหม่ ก็จะเกิดการยื้อแย่งกันขึ้น บางครั้งทำให้ฟุ้งซ่านเสียการเสียงานไปเลยก็มี

ฉะนั้น...เรื่องของคำภาวนาอย่าถือเป็นสาระ ให้ใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ที่เรามีความถนัด มีความชำนาญมาแต่เดิม ยกเว้นการปฏิบัติตามกองกรรมฐานต่าง ๆ เราค่อยเปลี่ยนไปใช้คำภาวนาประจำกองกรรมฐานนั้น ๆ ส่วนการกำหนดลมหายใจนั้น จะกระทบแค่ฐานเดียว ๓ ฐาน ๗ ฐาน หรือว่ารู้ตลอดกองลม ก็แล้วแต่ท่านจะมีความสะดวก
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 19-01-2018 เมื่อ 01:44
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 18-01-2018, 21:24
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,030 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

อปัณณกปฏิปทาข้อที่ ๒ นั้น ท่านว่า โภชเนมัตตัญญุตา คือ รู้ประมาณในการบริโภค นักปฏิบัติธรรมจริง ๆ จะไม่มาห่วงใยกังวลกับเรื่องของอาหารการกิน โดยเฉพาะถ้าสมาธิทรงตัวแล้ว ความรู้สึกหิวแทบจะไม่มี ยิ่งถ้ามีปีติค้ำอยู่ บางทีอยู่ไป ๗ วัน ๑๕ วันโดยไม่รู้สึกถึงความหิวเลย

ฉะนั้น...ถ้าสมาธิของท่านทรงตัวจริง ๆ การกินอาหารเพียงมื้อเดียวหรือ ๒ มื้อก็มากเกินพอแล้ว ถ้าร่างกายไม่หนักด้วยอาหาร เลือดลมปลอดโปร่ง การภาวนาก็จะทรงตัวเป็นสมาธิได้ง่าย ถ้าร่างกายหนักด้วยอาหาร เลือดลมไม่โปร่ง การภาวนาก็จะมีแต่ความหนัก ความง่วงเหงาหาวนอนเป็นปกติ ทำให้เสียการปฏิบัติได้

อปัณณกปฏิปทาข้อสุดท้ายคือ ชาคริยานุโยค การปฏิบัติธรรมของผู้ตื่นอยู่ คำว่า ผู้ตื่น ในที่นี้คือ สติของเราสมบูรณ์ จะหลับ จะตื่น จะยืน จะนั่ง มีสติรู้สึกเท่ากัน บุคคลที่มีสติรู้เท่ากันทั้งหลับและตื่น จึงจะระมัดระวังใจไม่ให้ถูกกิเลสกินได้

เพราะว่าบางท่านในช่วงกลางวันเราระมัดระวังรักษาใจสุด ๆ ไม่ยอมละเมิดศีลไม่ว่าจะข้อใดก็ตาม กระทั่งมดแดงแมลงน้อยก็ไม่กล้าแตะ กลัวว่าจะเป็นการฆ่าสัตว์ แต่พอกลางคืนฝันว่าไล่ฆ่าเขาไปหลายคน บางท่านก็สำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เต็มที่ ไม่กล้าพูด ไม่กล้ามองเพศตรงข้าม แต่กลางคืนกลับกลายเป็นว่า ฝันไปมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลนั้นบุคคลนี้ นี่คือลักษณะของกิเลสที่กินเราในยามหลับ

ถ้าหากว่าสติของเราสมบูรณ์พร้อมทั้งตื่นและหลับ เราจึงจะสามารถเอาชนะกิเลสเหล่านี้ได้ หรือสามารถป้องกันระวังไม่ให้กิเลสกินใจของเราได้ บุคคลที่จะทำถึงระดับนี้ก็ต้องทรงสมาธิ มีความคล่องตัวมาก อย่างน้อยก็สามารถเข้าออกในระดับปฐมฌานละเอียดได้ จึงจะรักษากำลังของผู้ตื่นอยู่ในแบบนี้ได้ตลอดเวลา

ถ้าท่านทั้งหลายสามารถทำตามทั้ง ๓ ข้อที่ว่ามา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า การปฏิบัติธรรมของท่านทั้งหลายมาถูกทาง ไม่ผิดไปจากที่พระองค์ตรัสไว้ เราจึงจะสามารถสะสมกำลังเอาไว้จนเอาชนะกิเลสได้

ลำดับต่อไปก็ให้ทุกท่านภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านเติมบุญ
วันศุกร์ที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๑

(ถอดจากเสียงเป็นอักษรโดยทาริกา)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 19-01-2018 เมื่อ 01:48
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 02:02



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว