กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > เรื่องธรรมะ และการปฏิบัติ > ฝากคำถามถึงหลวงพ่อ

Notices

ฝากคำถามถึงหลวงพ่อ คุณสามารถตั้งคำถาม และทีมงานจะรวบรวม และคัดกรองเพื่อนำไปถามหลวงพ่อในตอนเย็นวันอาทิตย์ที่หลวงพ่อมารับสังฆทาน

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 30-10-2018, 23:14
ตัวเล็ก's Avatar
ตัวเล็ก ตัวเล็ก is offline
กรรมการเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 10,598
ได้ให้อนุโมทนา: 216,275
ได้รับอนุโมทนา 739,967 ครั้ง ใน 36,062 โพสต์
ตัวเล็ก is on a distinguished road
Default มีหลักทางธรรมใดใช้รักษาการเหล่านี้ได้บ้าง

กระผมรบกวนถามหลวงพ่อครับ จากอาการเหล่านี้ มีหลักทางธรรมหรือหลักปฏิบัติใด สามารถใช้รักษาเยียวยาอาการเหล่านี้ได้บ้างครับ

๘ สัญญาณเตือนของ"โรคจิต"

เมื่อพูดถึงคำว่า"โรคจิต" ในความหมายของคนทั่วไป เรามักใช้กับคนที่มีพฤติกรรมที่ดูแปลก ๆ คนที่ชอบทำอะไรไม่เหมาะสม หรืออาจใช้กับคนที่มีความหมกมุ่นทางเพศแบบแปลก ๆ แต่ในทางจิตเวชและทางการแพทย์แล้ว "โรคจิต" เป็นคำเรียกสั้น ๆ ของ "โรคจิตเภท" (Schizophrenia) หรือย่อมาจากชื่อของ "กลุ่มโรคจิต" (Psychotic Disorders) ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชกลุ่มหนึ่ง ที่มีอาการหลักคือการสูญเสียการรับรู้ความเป็นจริง (Impaired Reality Testing) รวมทั้งมีอาการต่าง ๆ เช่น อาการหูแว่ว ประสาทหลอน หลงผิด แสดงพฤติกรรมหรือคำพูดไม่เหมาะสม หรือมีพฤติกรรมด้านลบ เช่น เก็บตัว ขี้เกียจ ไม่ดูแลตนเอง ไม่ทำอาชีพใด ๆ


๘ สัญญาณเตือนที่ต้องเฝ้าระวังภาวะโรคจิต

๑. มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงหรือแปลกไป (Unusual behavior) เช่น เริ่มมีการสะสมของบางอย่าง มีลักษณะการแต่งกายแปลก ๆ ไป หรือ การดูแลตนเองลดลงไปเรื่อย ๆ

๒. มีปัญหาในการสื่อสาร/มีความยากลำบากในการเข้าใจความหมายของคนอื่นหรือสังคม (Problems with communication and perception)

๓. มีความคิดแปลก ๆ ไม่เหมือนเดิม เริ่มเชื่อในสิ่งที่ไม่เป็นจริง (Unusual thoughts)

๔. หูแว่ว เห็นภาพหลอน (Hallucinations)

๕. มีความยากลำบากในการคิด/ตัดสินใจ (Difficulty making choices)

๖. หลงลืม/สนใจอะไรได้ไม่นาน/ไม่มีสมาธิ (Problems with concentration and attention)

๗. แยกตัว เก็บตัวมากขึ้น (Social withdrawal)

๘. เริ่มมีความถดถอยในการดำเนินชีวิตประจำวัน/การเรียน/การทำงาน
__________________
มารใช้ คนทุกคน ของทุกชิ้น สัตว์ทุกตัว เป็นเครื่องมือในการขวางเรา โดยเฉพาะคนที่เรารักมากที่สุด
(-/\-) (-/\-) (-/\-)

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 31-10-2018 เมื่อ 03:10
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 28 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ตัวเล็ก ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 05-01-2019, 08:31
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,459
ได้ให้อนุโมทนา: 151,110
ได้รับอนุโมทนา 4,400,234 ครั้ง ใน 34,048 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : คนที่มีอาการโรคจิต เช่น อาการหูแว่ว ประสาทหลอน หลงผิด แสดงพฤติกรรมหรือคำพูดไม่เหมาะสม หรือมีพฤติกรรมด้านลบ เช่น เก็บตัว ขี้เกียจ ไม่ดูแลตนเอง ไม่ทำอาชีพใด ๆ มีหลักทางธรรมหรือหลักปฏิบัติใด สามารถใช้รักษาเยียวยาอาการเหล่านี้ได้บ้างครับ ?
ตอบ : บังคับให้ปฏิบัติภาวนาจนทรงฌานให้ได้ ถ้าทรงฌานได้อาการเหล่านี้หายหมด ลักษณะอย่างนั้นเขาเรียกว่าสภาพจิตฟุ้งซ่านเลื่อนลอย หาจุดยึดเกาะไม่ได้ จำเป็นต้องใช้สมาธิเข้ามาช่วย ไม่เช่นนั้นก็จะฟุ้งซ่านไปเรื่อยเปื่อย โดยเฉพาะคิดอะไรเกี่ยวกับการสงสารตัวเองหรืออยากได้โน่น อยากเป็นนี่ แต่เป็นได้แค่ความคิด โดยไม่ได้พยายามทำให้เป็นจริง เพราะว่ากำลังใจไม่เพียงพอ จึงต้องบังคับให้ภาวนาจนกว่าจะทรงฌานได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 16 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 06:26



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว