กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 27-06-2017, 18:32
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๖๐

ให้ทุกคนนั่งในท่าที่สบายของตน ตั้งกายให้ตรง กำหนดความรู้สึกของเราทั้งหมดไว้ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเราไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเราไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ที่เรามีความถนัดมาแต่เดิม

วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ สำหรับวันนี้ในส่วนของการปฏิบัติของพวกเรานั้น สิ่งหนึ่งที่อยากจะบอกกล่าวถึง ซึ่งจะว่าไปแล้วก็เป็นพื้นฐานเลย คือลมหายใจเข้าออกของเรานี่เอง

ลมหายใจเข้าออกเป็นพื้นฐานใหญ่ในการปฏิบัติธรรมทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นกรรมฐานกองใดก็ตาม ถ้าไม่มีลมหายใจเข้าออกควบไปด้วย เราจะไม่สามารถที่จะทำให้ถึงที่สุดของกองกรรมฐานนั้น ๆ ได้ สมาธิทุกระดับของเราต้องอาศัยลมหายใจเข้าออกเป็นบาทฐาน ถ้าไม่สามารถจับลมหายใจเข้าออกได้ เราก็ไม่สามารถทรงอัปปนาสมาธิได้อย่างที่ต้องการ

ดังนั้น...เราจะเห็นว่าอานาปานสติ คือลมหายใจเข้าออกของเรานั้น สำคัญอย่างยิ่ง สำคัญชนิดที่จะละทิ้งไม่ได้เลย เพียงแต่ว่าการจับลมหายใจเข้าออกของเรานั้น ให้เป็นไปโดยธรรมชาติ ลมหายใจจะแรง จะเบา จะยาว จะสั้น ปล่อยให้เป็นไปตามปกติ

เราแค่เอาสติคือความรู้สึก เข้าไปรับรู้การหายใจนั้น ๆ ว่าตอนนี้ลมหายใจของเราแรง ตอนนี้ลมหายใจของเราเบา ตอนนี้ลมหายใจของเรายาว ตอนนี้ลมหายใจของเราสั้น อรรถกถาจารย์ท่านบอกว่า “เหมือนอย่างกับลูกมือของนายช่างกลึงผู้ฉลาด เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ว่าตนเองชักเชือกกลึงยาว เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ว่าตนเองชักเชือกกลึงสั้น” นั่นคือเอาสติจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจเข้าออก แต่ไม่ใช่การบังคับลม

ยกเว้นบางท่านที่สามารถทรงสมาธิระดับใดระดับหนึ่งได้แล้ว จนเกิดความเคยชิน เกิดความชำนาญ ทันทีที่ตั้งใจจะภาวนาจับลมหายใจเข้าออก สมาธิก็จะกระโดดข้ามไประดับที่ตนเองมีความชำนาญเลย จะมีการเปลี่ยนแปลงของลมหายใจอย่างเห็นได้ชัด อย่างเช่นว่าลมหายใจจะเบาลงหรือหายไปเลย เป็นต้น เราก็อาจจะคิดว่าเป็นการบังคับลมหายใจ ถ้าเกิดอาการอย่างนี้ให้รู้ว่า เป็นความชำนาญในการเข้าสมาธิ ไม่ใช่การบังคับลมหายใจเข้าออก
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-06-2017 เมื่อ 21:17
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 51 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 28-06-2017, 17:07
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เราจะใช้การดูลมหายใจเข้าออกอย่างเดียวโดยไม่มีคำภาวนาก็ได้ ไม่ว่าจะจับลมหายใจฐานเดียว ๓ ฐาน ๗ ฐาน หรือรู้ตลอดกองลมก็ได้ แต่ถ้าหากรู้สึกว่าสติของเราน้อยไป ต้องการให้จิตมีการทำงานมากขึ้น ก็เพิ่มคำภาวนาเข้าไปด้วย

คำภาวนานั้นเราถนัดแบบไหนให้ใช้แบบนั้น จะเป็น พุทโธ ก็ดี สัมมา อะระหัง ก็ดี พองหนอ ยุบหนอ ก็ดี แล้วแต่เรามีความถนัดมาแต่เดิม ไม่ว่าจะใช้คำภาวนาอะไรก็ตาม ผลที่เราต้องการก็คือให้มีสติ รู้ระมัดระวังอยู่กับลมหายใจมากขึ้น ทำให้จิตของเราเป็นสมาธิได้ง่ายขึ้น

แต่ถ้าเราเปลี่ยนคำภาวนาบ่อย ๆ สภาพจิตที่ไม่คุ้นชิน ก็จะวิ่งไปหาของเก่าอยู่เสมอ ถ้าของเก่าเรายังทำไม่ได้ ของใหม่เราก็ยังทำไม่ดี ก็แปลว่าเราจะหาความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมไม่ได้

เมื่อสามารถทรงสมาธิระดับใดระดับหนึ่งได้แล้ว ให้ซักซ้อมบ่อย ๆ จนสามารถเข้าถึงสมาธินั้นได้ ทุกเวลาทุกนาทีที่เราต้องการ เพราะว่ากิเลสนั้นกินเราอยู่ตลอดเวลา ไม่เลือกว่าจะหลับ จะตื่น จะยืน จะนั่ง ทันทีที่รู้ตัว เราต้องวิ่งเข้าหาสมาธิทันที เพื่อให้มีเกราะป้องกัน ไม่ให้ รัก โลภ โกรธ หลง กินใจเราก่อน ถ้าไม่สามารถเข้าสมาธิได้อย่างที่ต้องการทันท่วงที สภาพของกิเลสใหญ่คือ รัก โลภ โกรธ หลง ก็จะทำให้เราฟุ้งซ่าน และอาจจะเสียผลการปฏิบัติไปหลาย ๆ วัน บางคนถึงกับพังไปเป็นเดือน ๆ ก็มี
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-06-2017 เมื่อ 17:10
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 28-06-2017, 17:09
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ดังนั้น...ในเรื่องของการซักซ้อมการปฏิบัติให้คล่องตัว จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก ทำได้แล้วอย่าปล่อยให้สนิมกิน แล้วในขณะเดียวกัน ท่านที่เคยทำได้ก็อย่าเที่ยวไปจดจ่อเพ่งพิศอยู่ว่า เราจะต้องทำให้ได้เหมือนเดิม เพราะถ้ากำลังใจของเราเป็นเช่นนั้น เท่ากับว่าเรากำลังฟุ้งซ่าน สภาพจิตที่ฟุ้งซ่านย่อมเข้าสู่สมาธิระดับสูงไม่ได้

ในเรื่องของการปฏิบัติธรรมนั้น อานาปานสติจึงเป็นพื้นฐานใหญ่ เปรียบเหมือนแผ่นดิน ฉันทะคือความพอใจในการปฏิบัติ เปรียบเหมือนกับเมล็ดพันธุ์ เมื่อเราเพาะเมล็ดพันธุ์ลงในแผ่นดินแล้ว ก็ต้องตั้งหน้าตั้งตาดูแล รดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย คอยระมัดระวังหนอนแมลง ไม่ให้มาทำลายต้นกรรมฐานของเรา

วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือ เอาสติจดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้าออก โดยเฉพาะท่านที่ภาวนาไป จนกระทั่งกำลังใจเข้าถึงปฐมฌานแล้ว ต้อง พยายามประคับประคองรักษาให้อารมณ์ใจของเรา จนเข้าถึงระดับปฐมฌานละเอียดให้ได้

ถ้าถามว่าปฐมฌานละเอียดหน้าตาเป็นอย่างไร ? บุคคลที่เข้าถึงปฐมฌานละเอียด จะรู้ลมหายใจเข้าออกโดยอัตโนมัติ รู้ลมกระทบ ๓ ฐานโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องบังคับก็ภาวนาเอง ไม่ต้องบังคับก็รู้ลมได้เอง เมื่อถึงระดับนั้นแล้ว ก็ให้เอาสติของเราประคับประคองไว้ อย่าให้เคลื่อนคลายไปที่ไหน ถ้าหากว่ากำลังใจจะเคลื่อนออกมาเมื่อไร แปลว่าไปถึงที่สุด เราไม่สามารถที่จะก้าวต่อไปได้แล้ว ก็ให้คลายออกมาพินิจพิจารณาในวิปัสสนาญาณ

ถ้าจะเอาวิปัสสนาญาณอย่างง่ายก็คือ ดูทุกอย่างให้เห็นว่าไม่เที่ยง ดูให้เห็นว่าเป็นทุกข์ ดูให้เห็นว่าไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา จนกระทั่งสภาพจิตของเรายอมรับว่า ร่างกายของเราก็ดี ของคนอื่นก็ดี ของสัตว์อื่นก็ดี มีสภาพอย่างนี้เป็นปกติ

เมื่อพิจารณาไปจนอารมณ์ใจทรงตัวแล้ว ก็จะกลับไปภาวนาโดยอัตโนมัติเอง เมื่อภาวนาไปจนเต็มที่แล้ว กำลังใจเริ่มคลายออกมา ก็รีบหาวิปัสสนาให้พิจารณาใหม่ ทำสลับไปสลับมาอย่างนี้ ถึงจะมีความก้าวหน้าอย่างที่เราต้องการ

ลำดับต่อไปก็ให้ทุกท่านตั้งใจภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา

พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านเติมบุญ
วันอาทิตย์ที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๖๐

(ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย รัตนาวุธ)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-06-2017 เมื่อ 17:14
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 40 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 21:52



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว