กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > กระทู้ธรรม > ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 30-11-2011, 11:13
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default กำลังใจไม่ดี

กำลังใจไม่ดี
ทำให้การเจริญพระกรรมฐานไม่ดีด้วย

สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอนธรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ มีความสำคัญดังนี้

๑. “เมื่อกำลังใจไม่ดี ก็ทำให้การเจริญพระกรรมฐานไม่ดีไปด้วย ให้ถือว่าเป็นของธรรมดา ภาระหน้าที่อันมีต่อร่างกายก็เป็นภาระหนักอยู่แล้ว (ภาราหะเว ปัญจักขันธา) หากขาดปัญญาในจุดนี้ ก็จักเพิ่มปัญหา หรือเพิ่มทุกข์ให้กับกายและจิตยิ่งขึ้น งานทางโลกอันเป็นภาระหน้าที่ที่จักต้องทำ เราสามารถวางได้ชั่วคราว หากจิตมีกังวลกับมันเกินพอดี จิตก็เป็นทุกข์ มีผลเสียทั้งทางโลกและทางธรรม ให้เอาเหตุการณ์ที่ประสบอยู่นี้ศึกษาให้ดี เหตุการณ์เหล่านี้ จักเป็นครูสอนอารมณ์ของจิตได้อย่างดีที่สุด” (สาเหตุเพราะเพื่อนของผม ท่านเอาจิตไปยึดติดกับการเจ็บป่วยของพระที่ท่านเคารพ และนับถือจนเกินพอดี ไปเกาะกายท่าน มิได้เกาะความดีหรือพระธรรมที่ท่านมีอยู่ เหมือนกับตอนขันธ์ ๕ ของหลวงพ่อฤๅษีท่านป่วย และที่สุดก็ทิ้งขันธ์ ๕ ไปสู่พระนิพพาน แต่จิตที่ยังมากอยู่ด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม มันก็ย่อมวุ่นวายอยู่เป็นธรรมดา ขออธิบายสั้น ๆ ว่า ล้วนเป็นอารมณ์ตัณหา ๓ หรือสมุทัยทั้งสิ้น)

๒. “เรื่องเวทนาของปุถุชนกับเวทนาของพระอริยเจ้าต่างกันมาก ปุถุชนยังคิดว่ากายเป็นเรา เป็นของเรา ดังนั้น เมื่อเวทนาเกิดก็ยึดเวทนานั้นเป็นของตน แต่พระอริยะ ท่านเห็นกายท่านเกิดดับ ๆ เป็นสันตติ เวทนาที่เกิดก็เกิดดับ ๆ ตามกายเป็นสันตติตามกาย หากจิตไปยึดเวทนาเข้า อัตตาตัวตนก็เกิด ทุกข์เกิดที่จุดนั้น เพราะสัญญาหรือความจำเป็นพิษเป็นภัย คือจำไม่ยอมลืม จิตฝืนความจริงของกาย ซึ่งประกอบด้วยรูป ๑ นาม ๔ คือ เวทนา-สัญญา-สังขารและวิญญาณ

ทั้ง ๕ อาการหรือขันธ์ ๕ นี้ โดยปกติธรรมจะเกิดดับ ๆ อยู่ตลอดเวลา นาม ๔ อาศัยรูปอยู่... เมื่อรูปเกิดดับ ๆ เป็นสันตติ นาม ๔ ที่อาศัยรูปอยู่ย่อมเกิดดับ ๆ ตามรูปกายอยู่เป็นธรรมดา แต่จิตไปฝืนความจริง ไม่ยอมให้มันเกิดดับ ๆ ไปตามรูป เวทนาและสัญญาจึงเป็นพิษเป็นภัยกลับมาทำร้ายจิตตนเอง อุปาทานหรือสังขารคืออารมณ์ปรุงแต่งธรรม ก็เป็นพิษตาม ผลทำให้เวทนาไม่ดับ เพราะสัญญาหรือความจำเป็นพิษ ยึดว่าเป็นเราเป็นของเรา ทุก ๆ ครั้งที่เวทนาเกิดก็ยึดไว้หมดไม่ยอมให้ดับ เวทนาเก่าก็ยังอยู่ เวทนาใหม่ก็เพิ่มเข้ามา ทุกข์ก็ยิ่งเพิ่มขึ้นทุก ๆ ครั้งที่เวทนาเกิด เป็นเวทนาซ้อนเวทนา เป็นเวทนากำลัง ๒-๓-๔ ตามลำดับ เหตุจากความหลงของจิตที่ไม่ยอมวางสัญญาเดิม บุคคลใดที่เข้าใจพระกรรมฐานในจุดนี้แล้ว เมื่อยกเอากายคตา ฯ บวกอสุภกรรมฐานขึ้นมาพิจารณาใหม่ ก็จะเห็นความจริงว่า ร่างกายนี้มันไม่เที่ยง เกิดดับ ๆ อยู่ตลอดเวลา เพราะความไม่เที่ยงนี่แหละ จึงทำให้ทุกข์ และเห็นความจริงว่ามันแสนสกปรก จิตที่หลงยึดกายว่าเป็นตัวเป็นตน จึงเท่ากับหลงอยู่ในดงของกิเลส มีผลทำให้จิตที่ยังหลงยึดเกาะกายไว้ ต้องเกิดมามีร่างกาย วนเวียนอยู่ในวัฏสงสารอย่างไม่รู้จบ

๓. “เมื่อเข้าใจเรื่องเวทนาของพระอริยเจ้าแล้ว ก็จงอย่าไปกังวลกับร่างกายของพระอริยเจ้าท่าน ควรจักต้องหันมาสำรวจจิตและกำลังใจของตนเองเข้าไว้ ให้มีอินทรีย์สังวรณ์ คือ สำรวมอายตนะทั้ง ๖ ทั้งภายนอก ๖ และภายใน ๖ กระทบกันอยู่เป็นปกติธรรม ห้ามไม่ได้ กระทบแล้วให้อยู่ในอารมณ์สักเพียงแต่ว่า โดยเฉพาะโลกธรรม ๘ ซึ่งไม่มีใครหนีพ้น แล้วให้เห็นเป็นธรรมดาของโลก อะไรมันจักเกิดมันก็ต้องเกิดขึ้นด้วยกฎของกรรม อย่าไปกังวลใจให้มากนัก ดูแต่ความถูกต้องและความพอดี หรือทางสายกลางของจิตเข้าไว้ โดยอย่าทิ้งพรหมวิหาร ๔ เป็นหลักตัดสินปัญหาทุกชนิด ใครจักคิดอย่างไร พูดอย่างไร เราห้ามเขาไม่ได้หรอก มีแต่เราพึงสำรวมความคิด สำรวมวาจา พูดเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ไม่พึงปล่อยตัว อย่าตามใจกิเลสอีกต่อไป ให้มีสติ-สัมปชัญญะกำหนดรู้เข้าไว้ โดยให้ยึดหลักรักษาผลประโยชน์ของจิตให้มาก อย่าให้เห็นสิ่งอื่นสิ่งใดสำคัญกว่าจิต

๔. “ให้รักษาจิตอย่าให้ตกเป็นทาสของกระแสเงินตรา เรื่องโลกธรรม ๘ นั้นไม่มีใครหนีพ้นอยู่แล้ว พึงระวังจิตให้ดี ๆ เพราะการหลงติดอยู่ในเงินตรา หรือลาภสักการะฆ่าคนให้ต้องลงนรกมามากแล้ว จงอย่าประมาทในทุกกรณี โดยเฉพาะในความตาย ในความไม่เที่ยงของร่างกาย แต่ความตายเป็นของเที่ยง จุดนี้จักต้องเตือนจิตของตนเองเข้าไว้อยู่เสมอ อย่าไปเห็นกายผู้อื่นไม่เที่ยงเป็นสำคัญ ให้เห็นกายเราไม่เที่ยงเป็นสำคัญ เพราะความตายอาจเกิดขึ้นได้ทุก ๆ ขณะจิต และจงอย่าไปยินดี-ยินร้ายกับความชั่วของผู้อื่น นั่นเป็นการวางอารมณ์ไม่ถูก เรื่องของเขาก็เป็นเรื่องของเขา จงอย่าไปเสียเวลาปฏิบัติธรรมของเรา เวลาทุก ๆ ขณะจิตมีค่ามากสำหรับนักปฏิบัติธรรม การที่จิตเราไปนึกตำหนิกรรมชั่วของผู้อื่น ทำให้เกิดอารมณ์ไม่พอใจ-รังเกียจเขา ทำให้เกิดปฏิฆะขึ้นกับจิตเรา เป็นการเบียดเบียนจิตตนเองก่อนทั้งสิ้น เพราะขาดพรหมวิหาร ๔ สู้มีจิตเมตตา-อ่อนโยน-สงสารเขาแทน จักมิดีกว่าหรือ เพราะบุคคลที่ไม่มีศีลเหล่านี้ ยังแสวงหาภพชาติในการเกิด ต้องเวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสารอีกชั่วกาลนาน จักไปขุ่นข้องขัดเคืองกับเขา ยังจักไปเกิดตายกับเขาอีกทำไมกัน สู้อยู่รักษาจิต สำรวมอารมณ์ให้สงบมิดีกว่าหรือ ให้กลับใจเสียใหม่นะ”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 30-11-2011 เมื่อ 15:57
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 63 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 01-12-2011, 11:16
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๕. “ให้ตรวจสอบสภาวะจิตของตนเองว่า ทำไมต้องไปทุกข์กับขันธ์ ๕ ของผู้อื่น ให้ศึกษาสัทธรรม ๕ ให้ละเอียด พิจารณาบ่อย ๆ จะทำให้จิตยอมรับความจริงในสัทธรรมทั้ง ๕ นี้อย่างจริงใจ มิใช่รู้แค่สัญญาอันเป็นอนิจจาอยู่เสมอ ต้องพิจารณาเนือง ๆ จนจิตเกิดปัญญายอมรับ ไม่ฝืนความจริงของกาย ว่าทุกคน ทุกภพ ทุกชาติที่เกิดมามีร่างกาย ก็จักต้องพบความจริงอันเป็นอริยสัจอยู่อย่างนี้ ไม่สามารถเป็นอย่างอื่นไปได้ คือเกิดมาแล้วต้องแก่ ต้องป่วย ต้องตาย ระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ก็ต้องพบกับอารมณ์พอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง มีความปรารถนาไม่สมหวังอยู่เป็นธรรมดา จักต้องพบกับการพลัดพรากจากของรักของชอบใจอยู่เป็นธรรมดา ธรรมทั้ง ๕ ประการนี้ล้วนทำให้จิตเป็นทุกข์ แม้เราไม่ต้องการมัน แต่ก็หนีมันไม่พ้นทุกคน จุดนี้จึงต้องอาศัยปัญญาพิจารณา ให้จิตยอมรับความจริงหรืออริยสัจทั้ง ๕ นี้ให้ได้อย่างจริงใจ จึงจักเป็นการรู้ด้วยปัญญาอย่างแท้จริง สัญญาก็หมดไปโดยอัตโนมัติ”

๖. “อุบายในการพิจารณาเพื่อละ ปล่อยวางขันธ์ ๕ หรือสักกายทิฏฐิ ซึ่งแปลว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับร่างกาย หรือขันธ์ ๕ มีอยู่มากมายหลายวิธี แต่ทุกอุบายก็หนีไม่พ้นกายคตานุสติ ซึ่งเป็นมหาสมุทรแห่งธรรม ซึ่งทุกคนที่เกิดมาก็มีอยู่แล้วทุกคน เพราะ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ก็ทรงตรัสสอนอยู่แค่กายกับจิต หากเข้าใจแล้วก็จักไม่ต้องไปหาธรรมนอกตัวเรา ไม่ต้องไปยุ่งกับจริยาของผู้อื่นอีกต่อไป เสียเวลาไปโดยใช่เหตุ การส่งจิตออกนอกตัวเป็นการหาทุกข์ เพิ่มทุกข์ให้กับจิต การเอาจิตอยู่กับตัว.. เป็นการหาทางพ้นทุกข์ได้อย่างประเสริฐสุด เช่น พิจารณาว่าร่างกายที่เห็นกันอยู่นี้ เป็นของใครก็ไม่ทราบ เพราะมันเป็นสมบัติของโลก ซึ่งไม่มีใครสามารถเอาไปได้ หรือร่างกายที่เห็นอยู่นี้ไม่ว่าของเราหรือของใคร ก็ประกอบขึ้นมาด้วยธาตุ ๔ มีอาการ ๓๒ มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเสื่อมไปในท่ามกลาง มีความสลายตัวไปในที่สุด ให้มองและพิจารณาจุดนี้อยู่เสมอ เพื่อให้จิตทรงตัว จักได้คลายความเกาะติดร่างกายของตนเองและผู้อื่น รวมทั้งสัตว์และวัตถุธาตุด้วย แล้วให้พิจารณาจุดละเอียดลงไปอีกให้ยิ่งกว่านี้ คือเรื่องอารมณ์ของจิต ให้ดูกรรมที่เกิดอกุศล-กุศลหรือไม่เป็นกุศล-ไม่เป็นอกุศล ใช้สติ-สัมปชัญญะกำหนดรู้อยู่อย่าให้ขาด พยายามรู้เข้าไว้แล้วสักวันหนึ่ง การตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานก็จักเป็นของพวกเจ้าได้ แล้วจงอย่าทิ้งอานาปานุสติ เพราะจุดนี้เป็นตัวโยงให้เกิดกิเลส-สัมปชัญญะได้สมบูรณ์ ที่พวกเจ้ายังร้อนไปด้วยไฟปฏิฆะอยู่ทุกวันนี้ ก็เพราะขาดอานาปาฯ”
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 36 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 02-12-2011, 11:17
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๗. “อย่าเพิ่งตีตนไปก่อนไข้ อย่ากังวลใจกับอนาคตให้มากนัก ให้จิตอยู่ในธรรมปัจจุบันให้มาก เรื่องที่ยังมาไม่ถึงก็ปล่อยให้เป็นไป เป็นเรื่องของเบื้องหน้า เรื่องของธรรมอนาคตนั้นไม่เที่ยง จักไปยึดถืออันใดเป็นแก่นสาร รังแต่จักทำให้จิตมีความทุกข์ไปล่วงหน้าเสียเปล่า พยายามทำทุกอย่างตามหน้าที่ให้ดีที่สุด ด้วยความใจเย็น ๆ ไม่คิดจักต่อกรกับใครทั้งสิ้น โดยเฉพาะข่าวลือทั้งหลายอันเป็นโลกธรรม ๘ ซึ่งทุกคนในโลกหนีมันไม่พ้น ก็จงเห็นเป็นของธรรมดา โดยเฉพาะบุคคลที่ยังไม่มีศีล ไม่มีกรรมบถ ๑๐ หมวดวาจา ๔ ยิ่งต้องเห็นเป็นของธรรมดาของบุคคลผู้นั้น รักษาอารมณ์ของเรา อย่าให้มีโทสะกับเขา เอาการกระทำของเขานั่นแหละมาเป็นครูสอนเรา จักได้ประโยชน์มาก หากยังทำไม่ได้ สังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ก็ผ่านไม่ได้ อธิจิตก็เกิดไม่ได้ พระนิพพานก็ไม่สามารถจักเข้าถึง ดังนั้นที่เจ้าคิดได้ว่า ควรให้อภัยทานกับพวกเขาที่ชอบใส่ร้ายป้ายสี ก็เป็นของดีที่ไม่แสดงอาการโต้ตอบ ยอมแพ้ความชั่วของผู้อื่นเพื่อที่จักชนะความชั่วของใจเราเอง บุตรของตถาคตทุกคนจงจำไว้ คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก ให้ยอมรับนับถือความเป็นจริงตามนี้ ให้เห็นเป็นเรื่องธรรมดา

๘. “อย่าฝืนธรรมจิตจักไม่ทุกข์ ขันธ์ ๕ มันจักตาย จิตจักฝืนให้มันอยู่ย่อมเป็นไปไม่ได้ เรื่องของขันธ์ ๕ เป็นเรื่องกฎของกรรม ซึ่งเที่ยงเสมอและให้ผลไม่มีผิดตัวด้วย ที่เจ้าไปเป็นทุกข์ เป็นกังวลเรื่องการเจ็บป่วยของพระที่เจ้าเคารพนับถือจนเกินพอดีในขณะนี้ เป็นการไม่ถูกต้อง เพราะไปเกาะเปลือกของท่าน ซึ่งไม่เที่ยง สกปรก หาสาระอันใดมิได้ แทนที่จะเกาะพระธรรมหรือความดีของท่าน ซึ่งเที่ยง.. นำไปสู่ความพ้นทุกข์ได้ตามลำดับ เรื่องนี้จักต้องเร่งการพิจารณากายคตาฯ และอสุภกรรมฐานให้มาก ก็จักพบความจริง เกี่ยวกับกายกับจิตได้ตามความเป็นจริงละเอียดขึ้น ๆ ตามลำดับ และมีจุดหมายปลายทางที่แน่นอน คือพระนิพพานเป็นที่ไป และจงอย่าทิ้งอานาปานุสติ ซึ่งเป็นตัวโยงให้เกิดสติ-สัมปชัญญะให้สมบูรณ์ได้ รู้ลม-รู้ตาย-รู้นิพพาน ก็จงอย่าลืม


ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๙
รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 42 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 16:21



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว