กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 30-09-2013, 20:08
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,500
ได้ให้อนุโมทนา: 151,215
ได้รับอนุโมทนา 4,405,773 ครั้ง ใน 34,089 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันเสาร์ที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๖

ให้ทุกคนตั้งใจนึกถึงลมหายใจเข้าออกของเราเป็นหลัก เพราะว่าการปฏิบัติกรรมฐานนั้น ลมหายใจเข้าออกเป็นพื้นฐานใหญ่ที่สำคัญที่สุด เวลาหายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเรา ไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเรา ไหลตามลมหายใจออกมา จะกำหนดเป็นฐานเดียว สามฐาน เจ็ดฐานอย่างไรก็แล้วแต่ที่เราเคยมีความถนัด ใช้คำภาวนาตามที่เราเคยชินมาก่อน สภาพจิตจะได้ยอมรับได้ง่าย

วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นการปฏิบัติกรรมฐานของเดือนกันยายน ซึ่งต่อเนื่องกับปลายเดือนสิงหาคม เป็นวันที่สอง วันนี้มีผู้ถามปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติในเบื้องแรก ๆ ที่จะพบกับอุปสรรค ก็คือนิวรณ์ทั้ง ๕ อย่าง

นิวรณ์ เป็นกิเลสหยาบที่มาขวางกั้นกำลังใจของเรา ไม่ให้เข้าถึงความดี คือ เข้าไม่ถึงสมาธิที่จะทรงตัวแนบแน่น จนมีกำลังเพียงพอตัดกิเลสได้ นิวรณ์ทั้ง ๕ ประกอบไปด้วย ข้อที่หนึ่ง..กามฉันทะ คือความยินดีในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย ตลอดจนกระทั่งสัมผัสระหว่างเพศ ข้อที่สอง..พยาบาท คือความโกรธเกลียดอาฆาตแค้นผู้อื่น ข้อที่สาม...ถีนมิทธะ คือความง่วงเหงาหาวนอน ชวนให้ขี้เกียจปฏิบัติ ข้อที่สี่..อุทธัจจกุกกุจจะ ความหงุดหงิด ฟุ้งซ่าน รำคาญใจ ข้อสุดท้าย...วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลการปฏิบัติว่าจะมีผลจริงหรือไม่

ขณะที่ท่านภาวนา สภาพจิตจะโดนรบกวนด้วยนิวรณ์ทั้งห้าอย่างนี้เป็นปกติ ถ้าเราโดนนิวรณ์รบกวน แปลว่าความรู้สึกของเราไม่ได้มั่นคงอยู่กับลมหายใจจริง ๆ เผลอหลุดไปคิดเรื่องอื่นแล้ว เมื่อรู้ตัวก็ให้ดึงกลับมาอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกเสียใหม่ พอหลุดไปอีก รู้ตัวเมื่อไรก็ดึงกลับมาอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกอีก แรก ๆ ต้องต่อสู้กันอย่างนี้ค่อนข้างจะหนักหน่วงรุนแรง

ครูบาอาจารย์หลายท่านแนะนำว่า ถ้ารู้ตัวว่าสู้ไม่ไหว ให้ตามดูความคิดของตนเองไป เหมือนกับเราขี่ม้าพยศ อย่างไรเสียม้าก็ไม่ยอมให้เราขี่แต่โดยดี ต้องดิ้นรนสะบัดเหวี่ยงเพื่อให้เราหล่นจากหลังม้า ท่านแนะนำว่าให้ตามดูไปเหมือนกับเรากอดคอม้าไว้ แล้วปล่อยให้ม้าวิ่งเตลิดไปตามแรงของมัน ถ้าเราตามดูตามรู้จริง ๆ การฟุ้งซ่าน ความคิดต่าง ๆ ที่พาไปให้เกิดนิวรณ์นั้น จะอยู่ได้ไม่เกิน ๓๐ นาที แล้วเราจะเห็นว่าเขาจะเริ่มต้นคิดใหม่ เหมือนกับนับ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ พอครบสิบก็เริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ วนเวียนไปมาอย่างนี้ ถ้าเราตามดูไปเรื่อย ๆ พอสภาพจิตคิดจนเหนื่อย ก็จะยอมให้เราดึงกลับมาที่การภาวนาได้ง่ายขึ้น

หรือไม่ก็ท่านทั้งหลายต้องมีวิธีการจัดการกับนิวรณ์แต่ละอย่าง อย่างเช่นในเรื่องของกามฉันทะ เน้นเอาว่าเราพอใจใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ให้เราพิจารณาดูว่า การที่เราเกิดมาทุกข์ยากอยู่ทุกวันนี้ ก็เกิดจากเรื่องของกามฉันทะ คือความยินดีและพอใจในกามนี้เอง ทำให้เราตัด สลัด ละ ไม่หลุด แล้วก็ต้องมาเดือดร้อน เกิดมาทุกข์อย่างนี้ชาติแล้วชาติเล่า ถ้าการเกิดมาแล้วต้องทุกข์อย่างนี้ เราก็ไม่ควรที่จะไปข้องเกี่ยวกับกามทั้งหลาย ก็ต้องตั้งใจอย่างเด็ดขาดในการละเว้น ถ้าเราเห็นโทษจริง ๆ สภาพจิตจะเกิดความเข็ด กลัว เบื่อหน่าย ในที่สุดก็ถอนความปรารถนาในกามออกได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 01-10-2013 เมื่อ 02:24
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 61 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 02-10-2013, 20:32
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,500
ได้ให้อนุโมทนา: 151,215
ได้รับอนุโมทนา 4,405,773 ครั้ง ใน 34,089 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ส่วนความพยาบาทโกรธเกลียดอาฆาตแค้นผู้อื่นนั้น โดยทั่ว ๆ ไปแล้วความโกรธสามารถมีได้ แต่อย่าให้เกิดเป็นความอาฆาตฝังลึกอยู่ในใจของเรา เพราะจะมีแต่เผาลนเราด้วยไฟโทสะ ทำให้เราต้องเดือดร้อนอยู่ฝ่ายเดียว ท่านให้แก้ด้วยพรหมวิหาร ๔ โดยเฉพาะความเมตตา รักสงสารเขาว่า บุคคลที่ไม่รู้ว่ากาย วาจา ใจ ที่เขาทำ เป็นทุกข์เป็นโทษแก่คนอื่นอย่างไร เขาถึงได้ทำ ในเมื่อเขาทำแล้วเขาไม่รู้ เขาไม่ได้เก็บมาคิด ตัวเราเองมาคิดโกรธ เกลียด อาฆาตแค้นเขาอยู่ กลายเป็นตัวเราเอาไฟมาเผาตัวเองแท้ ๆ ถ้าเราพิจารณาเห็นอย่างนี้ จิตใจก็จะเริ่มผ่อนคลาย ปล่อยวาง ในที่สุดโกรธได้แต่ไม่ผูกโกรธ หรือว่าสามารถละความโกรธไปได้เลยก็ยิ่งดี

ข้อที่สามตัวถีนมิทธะนั้น เคยเกิดขึ้นกับพระโมคคัลลานะเถระ อัครสาวกเบื้องซ้ายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อเริ่มปฏิบัติความง่วงก็ปรากฏ ทำให้ไม่สามารถที่จะตั้งสติเพื่อที่จะปฏิบัติธรรมต่อไปได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเสด็จไปแนะนำวิธีแก้ความง่วง ว่าให้ "จ้องดาว..บิดคอ" ก็คือลักษณะของการเงยหน้าแล้วก็บิดคอตัวเอง เพื่อเรียกสติของเรากลับคืนมา ถ้าเป็นไม่มากนักก็จะทำให้หายง่วงได้

ถ้ายังแก้ไม่ได้ท่านบอกว่าให้ "ยอนหู..ถูตัว" คำว่ายอนหู ก็คือปั่นหูตัวเอง สมัยนี้สบายเพราะว่ามีไม้แคะหู มีที่ปั่นหูอยู่ทำให้เราได้สติ หายง่วงได้ หรือไม่ก็ถูตามร่างกายของตัวเอง ลูบตามร่างกายตัวเองเพื่อเรียกสติคืนมาจากความง่วง ถ้าแก้ไม่ได้อีก ท่านบอกว่าให้ "สวดสาธยายมนต์" บทที่เราจำได้ ถ้าเราสวดมนต์ ความรู้สึกของเราต้องจดจ่อเพราะกลัวจะสวดผิด ก็ทำให้ความง่วงนั้นคลายลง หรือถ้ายังแก้ไม่ได้ ท่านก็ให้ "เดินจงกรม" เมื่อเราเดิน ความง่วงก็จะลดลงหรือว่าคลายตัวหายไป

ถ้ายังแก้ไม่ได้อีก ท่านบอกว่าให้ "ยกเอาข้อธรรมข้อใดข้อหนึ่งขึ้นมา แล้วขบคิดพิจารณา" กำลังใจที่พิจารณาในธรรม จะทำให้ความง่วงนั้นถอยไป ถ้ายังแก้ไม่ได้อีก ท่านบอกว่าให้ "เจริญในอาโลกสัญญา" คือกำหนดอาโลกสิณ นึกถึงแสงสว่าง เมื่อความสว่างเจิดจ้าปรากฏขึ้น ความง่วงก็จะหายไป ถ้ายังแก้ไขไม่ได้อีก พระองค์ท่านบอกว่าให้ "นอนสีหไสยาสน์" คือ นอนเสียให้หายง่วง แต่ให้ตั้งใจกำหนดว่าเวลาไหนที่เราจะตื่น เมื่อถึงเวลาแล้วให้ตื่นตามนั้น

ถ้าเป็นสมัยนี้เรามีนาฬิกาปลุก ก็ตั้งนาฬิกาปลุกเอาไว้ ถึงเวลาก็ตื่นขึ้นมาปฏิบัติต่อไป นี่คือวิธีแก้ไขกิเลสหยาบข้อที่สามก็คือถีนมิทธะ ความง่วงนอนตลอดจนความขี้เกียจในการปฏิบัติ

ข้อที่สี่คืออุทธัจจะกุกกุจจะ ท่านบอกว่าคือความหงุดหงิดฟุ้งซ่านรำคาญ ทำให้สมาธิไม่ทรงตัว การแก้สิ่งนี้ก็ต้องเอาใจจดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้าออก โดยเฉพาะการกำหนดฐานภาวนา เพื่อให้จิตมีงานทำมากขึ้น จะกำหนดเป็นสามฐานก็ได้ เจ็ดฐานก็ได้ สภาพจิตที่นอกจากรู้ลมหายใจเข้าออก รู้คำภาวนาแล้ว ยังต้องรู้เมื่อลมผ่านฐานต่าง ๆ ของร่างกายด้วย กำลังใจที่จดจ่ออยู่ก็จะทำให้เราหายจากอาการหงุดหงิด กลุ้มใจ รำคาญใจได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-10-2013 เมื่อ 01:57
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 45 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 04-10-2013, 05:32
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,500
ได้ให้อนุโมทนา: 151,215
ได้รับอนุโมทนา 4,405,773 ครั้ง ใน 34,089 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ท้ายสุดตัววิจิกิจฉา ซึ่งไม่มีปัญหาสำหรับพวกเรา เพราะว่าถ้าเราลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ เราก็จะไม่มาเริ่มต้นนับหนึ่งกันอย่างนี้ ถ้าเรามาเริ่มต้นปฏิบัติภาวนาเช่นนี้ ก็แปลว่าความสงสัยของเรามีน้อยแล้ว ก็ให้ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติไป จนเกิดผลในระดับใดระดับหนึ่งขึ้นมา ความสงสัยของเราก็จะหายไปเอง นี่คือวิธีการแก้ไขเมื่อสภาพจิตของเราเผชิญกับกิเลสหยาบคือนิวรณ์ ๕

หลังจากนั้นเมื่อเราก้าวข้ามนิวรณ์ได้แล้ว สมาธิก็จะเริ่มทรงตัว ถ้ามีลมหายใจเข้าออกอยู่ เราก็กำหนดดูลมหายใจเข้าออก ถ้ายังมีคำภาวนาอยู่เราก็กำหนดคำภาวนาไป ถ้าลมหายใจเบาลง ก็ให้กำหนดรู้ว่าลมหายใจเบาลง ถ้าคำภาวนาหายไป ก็ให้กำหนดรู้ว่าคำภาวนาหายไป เอาใจจดจ่อแน่วแน่อยู่กับความรู้สึกเช่นนั้น หรือท่านใดจะกำหนดภาพพระ เอาใจจดจ่อกับพระ หรือว่ายกจิตขึ้นไปกราบพระบนพระนิพพานก็ได้ แล้วรักษาอารมณ์ภาวนาของเรา ให้ยาวนานที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ ถ้าอย่างนี้เราก็มีสิทธิ์ที่จะก้าวพ้นอำนาจของนิวรณ์ทั้งห้าได้ในระยะเวลาที่ไม่นาน

ลำดับต่อไปให้ทุกท่านตั้งใจภาวนาหรือพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
วันเสาร์ที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๖

(ถอดจากเสียงเป็นอักษรโดยคะน้า)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-10-2013 เมื่อ 06:09
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 21:10



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว