กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > กระทู้ธรรม > ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 28-10-2011, 11:27
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default การทอดอาลัยในชีวิตเป็นสักกายทิฏฐิ

การทอดอาลัยในชีวิตเป็นสักกายทิฏฐิ
จิตยังห่วงใยขันธ์ ๕ อยู่

สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญดังนี้

๑. “ที่เข้าใจว่าการทอดอาลัยในชีวิตคือ หมดกำลังใจที่จะต่อสู้กับกิเลสนั้น ถูกต้อง จุดนั้นแหละคือสักกายทิฏฐิ ยังมีความห่วงใยในชีวิต ซึ่งก็เป็นธรรมดาของผู้ที่ยังไม่เข้าถึงพระอรหันต์ แต่ก็มีความจำเป็นที่จักต้องซักซ้อมอารมณ์นี้เข้าไว้เหมือนกัน พระอรหันต์ท่านทรงเอาไว้ได้ตลอดเวลา อย่างพวกเจ้าก็พยายามวางทอดอาลัยในชีวิตชั่วคราว หรือชั่วขณะหนึ่ง ๆ ในขณะที่ระลึกขึ้นมาได้”

๒. “งานทางโลกทุกอย่างทำแล้วก็เป็นอย่างนี้แหละ คือทำแล้วมันก้าวไปหาความเสื่อมอยู่เสมอ ไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน ชีวิตยังคงอยู่ก็แก้ไขปรับปรุงซ่อมแซมกันไป เหมือนกับการมีร่างกายก็ก้าวเข้าไปสู่ความเสื่อมตลอดเวลา ก็จักต้องหาอาหารและยารักษาโรคประทังชีวิตให้เป็นไปฉันใดก็ฉันนั้น อย่าทำจิตให้เศร้าหมองให้เห็นเป็นเรื่องธรรมดา แม้สิ่งที่ทำไปแล้วมันพังลงมาอีกสักกี่ครั้ง ก็ต้องเห็นเป็นเรื่องธรรมดา”

๓. “เมื่อมีอารมณ์จิตเฉื่อยชาก็ให้คอยดูแต่อารมณ์ อย่าให้กรรมอกุศลเกิดขึ้นกับจิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวหงุดหงิด ที่ไม่สามารถบังคับจิตให้เจริญพระกรรมฐานตามที่ต้องการได้ ต้องควบคุมดูอารมณ์จิตเข้าไว้ให้ดี บางครั้งก็ไม่พึงบังคับจิตให้มากจนเกินไป ปล่อยจิตให้เป็นอิสระบ้าง เพียงแต่ตามคอยดู อย่าให้จิตคิดชั่วก็แล้วกัน”
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 69 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 31-10-2011, 11:01
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๔. “อย่าสนใจว่าใครเจริญพระกรรมฐานอย่างไร แล้วเป็นอย่างไร ถ้าจักเอามาตรฐานก็เอาพระสูตรเป็นหลักในการปฏิบัติ ในนั้นไม่มีการผิดพลาด หากจิตฝืดให้ฟังเทปหรืออ่านหนังสือธรรมะช่วยแก้ไขจิตได้ เพราะการฟังธรรมะหรืออ่านหนังสือ พึงทำจิตให้สบาย ๆ มีอารมณ์เบา ๆ วางกังวลในร่างกายลงเสีย สุขภาพไม่ดีมันก็เป็นเรื่องของกาย เราห้ามมันไม่ได้ ได้แต่ให้ยารักษาโรคบรรเทาทุกขเวทนาไปตามแต่ที่จักทำได้ ถ้าหากวางกังวลนี้ลงไปได้ จิตจักเป็นสุขมาก”

๕. “วันนี้การปฏิบัติธรรมของเจ้า ยิ่งทำยิ่งแย่ลง ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก นักปฏิบัติจักต้องประสบกับสภาวะอย่างนี้มีอยู่เป็นเรื่องธรรมดา ทุกคนปฏิบัติไปสักระยะหนึ่งก็เจอสภาพขันธมาร (ทุกข์ของกายหรือเวทนาของกาย) เข้ามาสอบจิต แล้วก็ต้องสอบตกก่อนทุกคน จึงจักสอบผ่านไปได้ในภายหลัง อดทนเข้าไว้ รักษาอารมณ์ใจอย่าให้ท้อถอย พยายามใจเย็นสงบจิตสงบใจ ดูโอกาสเมื่อขันธมารเบาลง จิตโปร่งก็ค่อยเริ่มปฏิบัติอย่างตั้งใจเอาจริงต่อไป ในขณะที่ร่างกายมันไม่สบายอยู่นี่ ให้ปล่อยวางอารมณ์ตามอัธยาศัย ดูการเคลื่อนไหวของจิตไปตามใจของจิตบ้าง จิตจักได้เบา ระวังอย่าให้มันคิดชั่วก็แล้วกัน โดยเฉพาะเรื่องอารมณ์ห่วงงาน ทำได้แค่ไหนให้พอใจแค่นั้น กรรมฐานก็เช่นกัน ทำได้แค่ไหนให้พอใจแค่นั้น อย่าให้ขาดทุน จักได้ไม่กังวลเช่นกัน อย่าทำอะไรให้มันเกินพอดี จักเหนื่อยเปล่า เพราะเป็นการเบียดเบียนกายกับจิตตนเองเกินไป ต้องพิจารณาให้รอบคอบแล้วหมั่นปรับปรุงตัวเองด้วย

๖. “ปฏิปทาใดพระอริยเจ้าปฏิบัติแล้วพ้นทุกข์ ก็ให้ทำตามปฏิปทานั้น ตรวจสอบจากพระไตรปิฎกดีที่สุด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ทุกข้อสอนให้พ้นทุกข์หมด อย่าไปติงว่าพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรมบทไหนไม่ดี เพราะทุกหมวดทุกบทสอนให้พ้นทุกข์หมด ถ้าไปติงว่าไม่ดีเข้า แสดงว่าจิตได้เอากิเลสเข้าไปปรุงแต่งแล้ว ตนเองศึกษาไม่พอ มีความเข้าใจไม่ถ่องแท้ แล้วตีความเอาตามความเข้าใจอันเป็นกิเลสส่วนตน นั่นแหละเป็นการปรามาสพระธรรมโดยตรง โดยไม่รู้สึกตัวก็เป็นโทษทั้งสิ้น

(ขอยกตัวอย่างสัก ๒ เรื่อง เรื่องแรกพระดังสำนักหนึ่งซึ่งความจริงยังไม่ใช่พระ เพราะศีลของท่านไม่ครบ แต่ศีล ๕ ยังไม่มี แล้วศีล ๒๒๗ ข้อจะมีได้อย่างไร เกือบทุกคนที่ไปเยี่ยมสำนักสงฆ์ที่เป็นมิจฉาทิฏฐินั้น จะเห็นว่าท่านเลี้ยงปลาตู้ กักขังสัตว์เบียดเบียนสัตว์โดยตรง แล้วยังช้อนลูกน้ำให้ปลากินทุกวันด้วยตนเอง แสดงว่าเห็นลูกน้ำไม่มีชีวิต เป็นสัตว์ที่ไม่มีประโยชน์ จึงได้ทำกรรมชั่วเช่นนั้น หรือตัดพระวินัยทิ้งไป ไม่สนใจในเรื่องศีลหรือไม่เชื่อเอาเลย เพราะสำนักนี้สอนว่าคนตายแล้วสูญ ไม่เชื่อว่ากฎของกรรมมีจริง พระนิพพานไม่มี นิพพานก็สูญ และที่สุดก็ว่า นรก-สวรรค์-พรหมไม่มี พรหม-เทวดา-นางฟ้ามีที่ไหน ล้วนเป็นเรื่องเหลวไหลทั้งสิ้น ขณะนี้ท่านตายไปแล้ว ท่านไม่เชื่อว่านรกมี จึงต้องตกนรกตามกรรมที่ตนทำไว้ตรงไปตรงมาตามกฎของกรรม ซึ่งเที่ยงเสมอและให้ผลไม่ผิดตัวด้วย

เรื่องที่ ๒ สมมุติสงฆ์ซึ่งทางโลกสมมุติตั้งให้เป็นเจ้าคุณชั้นเทพ แล้วอาศัยอยู่ในวัดดังในกรุงเทพ พูด-คุยเก่งมากในทางโลก วันหนึ่งท่านออกทีวีได้อัดเทปไว้เป็นหลักฐาน ท่านคุยว่าท่านเป็นคณะกรรมการที่จะทำสังคายนาพระไตรปิฎก ท่านได้ศึกษาพระไตรปิฎกหมดแล้ว เห็นว่าหมวดฤทธิ์ทั้งหลายที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้ว นำมาจาร (เขียน) ไว้ในพระไตรปิฎกนั้นเหลือเชื่อ ต้องตัดออกทิ้งไปให้หมด แล้วอธิบายยืดยาวโดยเอาตนเองเป็นมาตรฐานว่า ในเมื่อตนเองทำไม่ได้ คนอื่นก็ต้องทำไม่ได้เช่นกัน ก็น่าสงสารท่าน ตรงนี้ที่หลงตัวหลงตนขนาดนั้น เพราะปริยัติที่ท่านเรียนมาได้ถึง ป.ธ. ๙ เป็นพิษ คือเรียนแล้วไม่ได้นำมาปฏิบัติให้เกิดผล ปฏิเวธจึงไม่เกิดกับท่าน ขณะนี้ยังไม่ตายก็ต้องให้อภัยไว้ก่อน เพราะก่อนตายท่านอาจกลับใจได้แบบพระเทวทัต ซึ่งแม้จะกลับใจได้ขอขมาพระรัตนตรัย ขอขมาต่อพระพุทธองค์แล้วก็ตาม ก็ยังต้องลงอเวจีมหานรก (ขุม ๘) อยู่ดี แต่อยู่ไม่นานครบถึง ๑ กัปในรายนี้ก็เหมือนกัน

ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๙
รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 31-10-2011 เมื่อ 14:32
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 43 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 04:20



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว