กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

กระทู้ถูกปิด
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 09-04-2010, 15:34
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,034 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันศุกร์ที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๓

วันนี้เป็นวันที่ ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๓ ตรงกับวันศุกร์ วันนี้จริง ๆ แล้ว ก็คือ วันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ปีที่ ๕๕ แล้ว ถ้าพูดกันอย่างชาวบ้านก็คือ ๕๕ เต็มย่างเข้า ๕๖ แล้ว

สมเด็จพระเทพฯ ของเรา ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อไพร่ฟ้าประชากร ประชาชนทุกคน อย่างไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก สิ่งต่าง ๆ ที่พระองค์ท่านทรงทำไป เพื่อประเทศชาติและประชาชนนั้น มากมายเหลือจะคณานับ ในวาระที่สำคัญเช่นนี้ พวกเราทุกคนส่วนใหญ่ ก็มักจะสร้างบุญกุศลเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล มุ่งหวังให้พระองค์ท่านทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน นี่ถือว่าเป็นเรื่องปกติของพสกนิกรที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

อันว่าประเทศไทยของเรานั้น ประกอบไปด้วย ๓ สถาบันหลัก คือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ สถาบันชาติเป็นแค่นามธรรมเท่านั้น ไม่มีลักษณะที่จับต้องได้ มีแต่สถาบันศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีรูปให้จับต้องได้

สถาบันศาสนานั้นมีทั้งศาสนวัตถุ อย่างโบสถ์ วิหาร เจดีย์ มณฑป เป็นต้น มีศาสนบุคคล อย่างเช่น พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา มีศาสนพิธี อย่างเช่น การทำบุญใส่บาตร การเวียนเทียน และท้ายสุดมีศาสนธรรม คือ คำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎก เราจะเห็นได้ว่าสถาบันศาสนาของเรานั้น ถือว่าเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้อย่างชัดเจนแน่นอน

ในส่วนของสถาบันพระมหากษัตริย์ก็เช่นเดียวกัน ประกอบไปด้วย ในหลวง พระราชินี ตลอดจนกระทั่งพระบรมวงศานุวงศ์ แต่ละพระองค์ล้วนบำเพ็ญพระกรณียกิจแก่พสกนิกร โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก ทั้งสถาบันศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น ถ้าหากว่าเรายึดมั่นคงแน่นแฟ้น ก็จะทำให้สถาบันชาติปรากฏเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้ ถ้าไม่มีสถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว สถาบันชาติจะไม่มีเป็นรูปร่างขึ้นมาได้เลย จะเป็นเพียงส่วนของนามธรรมเฉย ๆ ว่านี่คือ ชาติไทย..ชาติไทย เท่านั้น

ดังนั้น..ในวันสำคัญ อย่างเช่นว่า วันพระราชสมภพของแต่ละพระองค์ พวกเราส่วนใหญ่ก็บำเพ็ญกุศล อุทิศถวายเป็นพระราชกุศล ในวันนี้การปฏิบัติธรรมของเราก็ให้ถือว่า ส่วนหนึ่งนั้นขอถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน เช่นเดียวกับที่ทุกดวงใจของชาวไทย ได้มุ่งมั่นประกอบไปด้วยความปรารถนาเดียวกัน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 09-04-2010 เมื่อ 17:45
สมาชิก 76 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 09-04-2010, 15:45
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,034 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

คราวนี้ การที่เราจะประกอบความดีนั้น ต้องดูหลักในบุญกิริยาวัตถุ

บุญกิริยาวัตถุ คือ สิ่งที่เรากระทำแล้วเป็นบุญ มีอยู่ ๑๐ อย่างด้วยกัน ได้แก่
๑)ทานมัย การบริจาคให้ทาน

๒)ศีลมัย การรักษาศีลให้บริสุทธิ์

๓)ภาวนามัย การปฏิบัติสมาธิภาวนา จนเกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริง

๔)อปจายนมัย การอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้อื่น เราอาจจะสงสัยว่าการอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้อื่น เป็นบุญได้อย่างไร ? การที่เราเป็นผู้มีปกติอ่อนน้อมนั้น ผู้ที่พบเห็นก็เกิดความเย็นตา เย็นใจ เกิดความรักใคร่ปรานีต่อเรา เราสร้างความดีเกิดขึ้นในจิตใจของผู้อื่น ผลของการทำความดีส่วนนี้ จึงส่งผลให้แก่เราผู้สร้างความดีนั้น กลายเป็นบุญขึ้นมา

๕)เวยยาวัจจมัย เป็นบุญที่เกิดจากการขวนขวายช่วยให้งานบุญของบุคคลอื่นได้สำเร็จลง อย่างเช่นว่า เขาจะเลี้ยงพระ เราก็ไปช่วยจัดอาหาร จัดสถานที่ ช่วยประเคนของพระ เป็นต้น

๖)ปัตติทานมัย ผลบุญที่เกิดจากการอุทิศส่วนกุศลแก่คนอื่นเขา ปกติสิ่งใดก็ตามที่เราหามาได้โดยยาก จะสละให้แก่ผู้อื่นเขานั้น ต้องใช้กำลังใจที่สูงมาก

ผลบุญที่เราสร้างมาโดยยาก เรายังสละอุทิศให้แก่ผู้อื่นเขาได้ จิตใจที่ประกอบด้วยความสละออกก็ดี ประกอบไปด้วยเมตตากรุณาก็ดี ทำให้บุญส่วนนี้ของเราเพิ่มขึ้นอีกมาก กลายเป็นบุญในปัตติทานมัย คือ การอุทิศส่วนกุศลให้แก่บุคคลที่ต้องการ

๗)ปัตตานุโมทนามัย พลอยยินดีในผลบุญที่คนอื่นเขาทำ เรายังไม่มีโอกาสที่จะได้ทำบุญนั้น ๆ เห็นคนอื่นทำแล้ว เราพลอยมีความยินดีเข้าไปด้วย

ปกติแล้วการที่คนอื่นดีกว่าเรา โดยธรรมชาติของปุถุชน จะเกิดความริษยาขึ้น แต่บุคคลที่สามารถขจัดความริษยาออกจากจิตใจไปได้ พลอยยินดีในความดีของบุคคลอื่น ดวงจิตดวงใจที่ประกอบด้วยความดีขณะนี้ จึงเกิดเป็นบุญกุศลใหญ่ กลายเป็นปัตตานุโมทนามัย คือ บุญที่เกิดจากความยินดีที่คนอื่นเขาทำ

๘)ธัมมัสสวนมัย การฟังธรรมแล้วน้อมนำไปปฏิบัติ

๙)ธัมมเทสนามัย เมื่อปฏิบัติได้ผลอย่างแท้จริงแล้ว ก็นำไปเทศนาสั่งสอนผู้อื่นเขาต่อ การที่พ่อแม่สั่งสอนลูกหลานก็ดี ครูบาอาจารย์สั่งสอนศิษย์ก็ดี หรือพระภิกษุสามเณรสั่งสอนชาวบ้านเขาก็ดี จัดเป็นธรรมเทศนามัยทั้งนั้น เพียงแต่ว่า ถ้าเป็นหลักธรรมที่แท้จริง ก็เป็นธัมมเทสนามัยที่แท้จริงกว่า

๑๐)ทิฏฐุชุกัมม์ การมีความเห็นเป็นสัมมาทิฏฐิ คือ เห็นถูกตามที่พระพุทธเจ้าท่านสอน ท่านบอกว่า ทานดี ศีลดี ภาวนาดี เราก็ตั้งใจทำตาม เป็นต้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 09-04-2010 เมื่อ 17:44
สมาชิก 71 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 11-04-2010, 12:41
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,034 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ในบุญกิริยาวัตถุนั้น ส่วนที่เป็นบุญใหญ่จริง ๆ เรียกว่า เป็นประธานของบุญ มีอยู่ ๓ อย่างก็คือ เรื่องของทาน ของศีล ของภาวนา

การให้ทานของเรานั้น จะว่าไปแล้วจริง ๆ ก็ให้ครบด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ แต่ท่านแยกเอาไว้ว่า ทานนั้นเราให้ด้วยกายอย่างเดียวก็ได้ มีการกล่าวถึงอานิสงส์ของทานว่า ถ้าทำหนึ่งจะได้ประมาณร้อย เป็นการสละออกซึ่งทรัพย์สินสิ่งของเรา ตัดความโลภในใจของเรา

ในส่วนของสีลมัยนั้น เป็นการควบคุมทั้งกาย ทั้งวาจา ของเรา ให้อยู่ในกรอบของความดี คือ กายไม่ไปฆ่าสัตว์ ไม่ไปลักขโมย ไม่ไปประพฤติผิดลูกเขาเมียใคร ไม่ไปดื่มสุราเมรัย วาจานั้นก็ไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดวาจาเพ้อเจ้อไร้ประโยชน์ ท่านบอกว่าสีลมัยนั้นทำหนึ่งได้หมื่น เพราะว่าต้องควบคุมทั้งกายและวาจา

ในส่วนของภาวนามัย คือ การปฏิบัติสมาธิภาวนานั้น ทำหนึ่งได้ล้าน เพราะว่าต้องควบคุมทั้งกาย ทั้งวาจา ทั้งใจของเราให้สงบระงับ จนเกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริง แล้วถอนความพอใจในร่างกายนี้ ในโลกนี้ออกไปได้

ดังนั้น..ในการที่เราจะบำเพ็ญกุศลเพื่อถวายพระราชกุศลต่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพปีที่ ๕๕ นี้ ก็ให้ทุกคนลองทบทวนดูว่า ภายในวันนี้เราได้ปฏิบัติในทาน ในศีล ในภาวนา ครบถ้วนแล้วหรือยัง ?

ทาน..เชื่อว่าทุกท่านได้ทำอย่างแน่นอน เพราะว่าเมื่อมาถึงตรงนี้ทุกท่านก็ได้ถวายสังฆทานแล้ว ในเรื่องของศีล เมื่อครู่นี้ก่อนที่จะปฏิบัติภาวนา เราก็สมาทานศีลแล้ว ตอนนี้ศีลทุกสิกขาบทของเราบริสุทธิ์บริบูรณ์ ไม่มีบกพร่อง ก็เหลือแต่ตัวสมาธิภาวนา คือ การกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เพื่อชำระจิตใจของเราให้ผ่องใสจากกิเลส คือ รัก โลภ โกรธ หลง ให้ห่างจากความฟุ้งซ่านต่าง ๆ ของนิวรณ์
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-04-2010 เมื่อ 15:22
สมาชิก 56 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 11-04-2010, 12:46
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,034 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เมื่อทานเราได้ทำแล้วเพื่อเป็นการตัดความโลภ ศีลเราได้ทำแล้วเพื่อเป็นการตัดความโกรธ ภาวนาที่เราจะทำนั้นเป็นการตัดความหลง ความหลงใหญ่ก็คือ หลงในสภาพร่างกายของเรา หลงว่าไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย เป็นต้น หรือว่ามีความหลงในสภาพของโลกนี้ เห็นว่ามีความเที่ยง ทุกอย่างดี ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงแล้ว ทุกอย่างไม่เที่ยง มีความเสื่อมสลายไปเป็นปกติ สิ่งที่เราเห็นว่าดี ก็ดีแค่ชั่วคราวเท่านั้น ไม่ได้ดีตลอดกาลตลอดสมัย เป็นต้น

ในเมื่อทานเราได้ทำแล้ว ศีลเราได้ทำแล้ว เหลือแต่ภาวนาในบัดนี้ ดังนั้น..พวกท่านทั้งหลายจึงจำเป็นที่จะต้องกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกของตนเอง เพื่อให้สมาธิทรงตัวตั้งมั่นที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ สร้างกุศลให้เกิดแก่ใจอย่างสูงสุด เพื่อจะได้อุทิศถวายเป็นพระราชกุศลในวันนี้

การกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกนั้น เป็นพื้นฐานใหญ่ของกรรมฐานทุกกอง ไม่ว่าท่านจะปฏิบัติกรรมฐานกองใดในกรรมฐานสี่สิบ หรือมหาสติปัฏฐาน ๔ ก็ตาม ท่านจะทิ้งลมหายใจเข้าออกไม่ได้

การกำหนดรู้ลมนั้น ถือว่าเป็นภาระจำเป็นที่ทุกท่านต้องมีอยู่ เพื่อให้จิตใจของเรามีที่ยึด ที่เกาะ จะไม่ได้ส่งส่ายวุ่นวาย ปราศจากคุณภาพ เมื่อจิตใจของเราสงบ ผ่องใส ก็นำเอากำลังตรงนั้นมาพิจารณาให้เห็นจริงว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราอย่างไร โลกนี้ประกอบไปด้วยความทุกข์อย่างไร แล้วถอนความพอใจในร่างกายนี้ ในโลกนี้ออกเสีย กำหนดจิตใจของเราให้แน่วแน่ว่า ถ้าหากเราสิ้นชีวิตลงไป เราปรารถนาที่เดียวคือพระนิพพาน

ให้ทุกคนกำหนดคำภาวนา หรือว่าภาพพระ พร้อมกับลมหายใจเข้าออก ถ้ายังมีคำภาวนาอยู่กำหนดรู้คำภาวนาไป ถ้ายังมีลมหายใจเข้าออกอยู่ กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกด้วย ถ้าไม่มีคำภาวนา ไม่มีลมหายใจเข้าออก ก็กำหนดรู้ไว้เฉย ๆ ว่าไม่มีลมหายใจเข้าออก ไม่มีคำภาวนา ให้ทำอย่างนี้ไปเรื่อย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา


พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านอนุสาวรีย์
วันศุกร์ที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๓
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-04-2010 เมื่อ 15:25
สมาชิก 55 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
กระทู้ถูกปิด


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 03:26



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว