กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ในวาระสำคัญต่าง ๆ

Notices

กระทู้ถูกปิด
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 24-03-2009, 13:44
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,016 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศนาในวันมาฆบูชา ๒๕๕๒

....อุดมการณ์ของพระพุทธศาสนาได้ประกาศไว้อย่างชัดเจนแล้ว ว่าบุคคลที่ตั้งใจประพฤติปฏิบัติด้วยความแกล้วกล้ามั่นคง ย่อมมีพระนิพพานเป็นที่ไปอย่างแน่นอน ส่วนหลักการปฏิบัติในพระพุทธศาสนานั้น พระพุทธองค์ท่านกล่าวเอาไว้ว่า อะนูปะวาโท เราต้องเป็นผู้ไม่ว่าร้ายใคร ดังนั้นในส่วนของวาจาไม่ว่าจะเป็นคำพูดโกหก คำพูดส่อเสียดยุยงให้เขาแตกร้าวกัน คำพูดที่เป็นคำหยาบ ตลอดจนคำพูดที่เป็นสิ่งเพ้อเจ้อเหลวไหล เป็นสิ่งที่ไม่สมควรที่จะกล่าวในพระพุทธศาสนา พระองค์ตรัสว่าให้กล่าวคำพูดโดยธรรมเท่านั้น

อะนูปะฆาโต แปลว่า ให้เว้นจากการฆ่าหรือทำร้ายผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นคนหรือเป็นสัตว์ เล็กหรือว่าใหญ่เพียงใดก็ตาม ทุกรูป ทุกนาม ทุกชีวิต มีความรักสุขเกลียดทุกข์เหมือนกัน รักชีวิตของตนเหมือนกัน ถ้าหากว่าเรายังเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ ก็ไม่ได้ชื่อว่าเป็นผู้รักสงบ ไม่ได้ชื่อว่าเป็นพุทธศาสนิกชน

ปาฏิโมกเข จะ สังวะโร พระองค์ท่านตรัสเอาไว้ว่า ให้เราสำรวมในศีลของตนเอาไว้ ฆราวาสทั่ว ๆ ไปพยายามรักษาศีลให้ได้ ๕ ข้อ ถ้าเป็นอุบาสก อุบาสิกาก็รักษาศีล ๘ ข้อ ถ้าหากเป็นสามเณร สามเณรีก็รักษาศีล ๑๐ ข้อ ถ้าหากว่าเป็นพระภิกษุก็รักษาศีล ๒๒๗ ข้อ ถ้าเป็นภิกษุณีก็รักษาศีล ๓๑๑ ข้อด้วยกัน
ท่านบอกว่าให้สำรวมระวังในศีล คำว่าสำรวมระวังในศีลนั้นก็คือ
๑. ต้องไม่ทำให้ศีลขาดด้วยตนเอง แปลว่า เราต้องไม่ละเมิดศีลด้วยกาย วาจา ใจของตน
๒. ต้องไม่ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นละเมิดศีล ตรงนี้ถ้าเราคิดว่าเรารักษาศีลแล้ว เราไม่ควรทำให้ศีลขาด แต่ยุให้ผู้อื่นกระทำแทน ถือว่าใช้การไม่ได้เช่นกัน
๓. เมื่อไม่ทำให้ศีลขาดด้วยตนเอง ไม่ยุให้คนอื่นทำแล้ว เห็นบุคคลอื่นทำให้ศีลขาดก็ไม่ยินดีด้วย


ถ้าหากท่านทำได้อย่างนี้ก็ชื่อว่าเป็นผู้มีความสำรวมในศีลของตนนั่นเอง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย โอรส : 30-07-2009 เมื่อ 00:40 เหตุผล: แก้ ไม้.ๆ
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 24-03-2009, 13:49
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,016 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ข้อต่อไปท่านบอกเอาไว้ว่า มัตตัญญุตา จะภัตตัสมิง แปลว่า เป็นผู้รับประทานอาหารพอสมควร ก็คือ ยังอัตภาพร่างกายนี้ให้อยู่เท่านั้น ไม่ใช่อิ่มล้น อิ่มเกิน อิ่มเพื่อบำรุงร่างกายของตัวเองมากจนเกินไป แม้ในแต่แพทย์แผนปัจจุบันก็สามารถพิสูจน์ได้แล้วว่า บุคคลที่กินล้น กินเกินนั้น อายุขัยจะสั้น เพราะว่าสภาพร่างกายต้องขับหรือย่อยสลายบรรดาอาหารต่าง ๆ ที่เรากินเข้าไปมากจนเกินเหตุ สูญสิ้นพลังงานไปมาก และเมื่อย่อยสลายมาแล้วสั่งสมเอาไว้มากก็เกิดโรคภัยต่าง ๆ ได้

องค์สมเด็จพระจอมไตรศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ท่านสอนให้เรารับประทานอาหารแต่พอสมควร ถ้าเป็นนักปฏิบัติท่านบอกว่า เพื่อยังธาตุขันธ์ของตนให้ดำรงอยู่ได้ พอที่จะมีกำลังในการปฏิบัติธรรมเท่านั้น ดังนั้น ถ้าใครปฏิบัติตามหลักการข้อนี้ จะเกิดประโยชน์
อันดับแรกก็คือ ไม่ต้องกังวลในเรื่องอาหารการกินมากจนเกินไป
ข้อต่อไปก็คือ มีอย่างไรก็สามารถจะกินอย่างนั้น ใช้อย่างนั้นได้ โดยไม่ไปดิ้นรนให้ตัวเองลำบากจนเกินไปนั่นเอง ดังนั้นว่าในข้อนี้ท่านใดก็ตาม สามารถปฏิบัติตามหลักการนี้ได้ ก็แปลว่าท่านสามารถที่จะห้ามปากของตนเอาไว้ได้ บุคคลที่สามารถห้ามปากของตนเอาไว้ได้นั้น เรื่องการรักษาศีลต่าง ๆ เป็นเรื่องง่าย เนื่องจากว่ากำลังใจในการห้ามตัวไม่ให้ละเมิดศีลกับกำลังใจห้ามปากตัวเองไม่ให้กินของอร่อยนั้นใช้กำลังใจเท่ากัน ถ้าท่านทั้งหลายสามารถปฏิบัติตามหลักการข้อนี้ก็แปลว่าท่านทั้งหลายเป็นผู้ที่สามารถทรงศีลได้ง่ายนั่นเอง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 24-12-2009 เมื่อ 18:33
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 24-03-2009, 13:53
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,016 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ข้อต่อไปท่านบอกว่า ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง ให้อาศัยอยู่ในที่อาศัยอันสงัด ก็แปลว่าไม่เกลื่อนกล่นไปด้วยบุคคล เพราะว่าการที่บุคคลต่าง ๆ ไปมาหาสู่เป็นปกตินั้น ทำให้ไม่มีเวลาที่จะควบคุมกำลังใจของตนเองให้สงบ ไม่มีเวลาที่จะรักษากำลังใจของตนเองให้มั่นคง

ในระยะแรก ๆ ของการปฏิบัติท่านจึงให้หลีกออกจากหมู่ หรือที่เราเรียกกันง่าย ๆ ว่า ปลีกวิเวก แปลว่าพยายามคบหาสมาคมหรือคลุกคลีกับหมู่คณะให้น้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้จนกว่ากำลังใจของเราจะทรงตัวมั่นคง ถ้ากำลังใจทรงตัวมั่นคงแล้วจะคลุกคลีอยู่กับหมู่คณะก็สามารถกระทำได้ เพราะว่ากำลังใจไม่ได้หวั่นไหว ไม่ได้ขึ้นลงไปตามสภาพบุคคลต่าง ๆ และสภาพสังคมทั่วไป

ดังนั้นใครก็ตามที่ปฏิบัติตามหลักการในพระพุทธศาสนาข้อนี้ ถ้าสามารถทำได้แล้ว ท่านจะเป็นบุคคลที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์มั่นคงมาก ๆ จะเป็นผู้ใหญ่ที่น่าเคารพ น่านับถือ เนื่องจากว่าเป็นผู้มีกำลังใจทรงตัว ไม่ขึ้น ๆ ลง ๆ ไม่ผีเข้าผีออก เป็นต้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 24-12-2009 เมื่อ 18:33
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 24-03-2009, 17:06
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,016 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ข้อสุดท้ายท่านบอกว่า อะธิจิตเต จะ อาโค แปลว่าต้องรักษากำลังใจของเราให้ทรงตัวอยู่เสมอ อย่างน้อย ๆ ต้องทรงฌานสมาบัติให้ได้ จริง ๆ แล้วการปฏิบัติภาวนาให้ได้ฌานสมาบัตินั้น ไม่ใช่ของยาก เพียงแต่ว่าระยะแรกเริ่มอาจจะต้องทนกับความฟุ้งซ่านรำคาญอยู่ระยะหนึ่ง พอกำลังใจทรงตัวสามารถเข้าออกสมาธิอย่างที่ใจตนเองต้องการ ก็สามารถรักษากำลังใจตนเองให้ตั้งมั่นได้ทุกเวลาที่ปรารถนา กำลังใจที่ตั้งมั่นจะไม่หวั่นไหวไปตามรักโลภโกรธหลงที่ประดังเข้ามารอบข้าง สิ่งต่าง ๆ ที่โหมโฆษณาเข้ามาให้เราได้เห็น ได้ยิน เราก็จะไม่ไปให้ความสำคัญกับสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น จะเป็นผู้ที่มีกำลังใจมั่นคง ถ้าหากว่าเป็นดังนี้ ท่านทั้งหลายก็มีโอกาสที่จะหลุดพ้นไปได้

นี่คือหลักการในพระพุทธศาสนาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประกาศเอาไว้ในวันมาฆบูชา ว่าเราทั้งหลายจะต้องเข้าถึงอุดมการณ์ คือ พระนิพพานให้ได้ อุดมการณ์ คือ เป้าหมายสูงสุด ในพระพุทธศาสนานั้นต้องหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงเข้าสู่พระนิพพาน จึงจะเรียกว่าบรรลุซึ่งอุดมการณ์ ส่วนหลักการต่าง ๆ ก็ได้แก่ การไม่ว่าร้ายใคร ไม่ทำร้ายใคร เป็นผู้มีความสำรวมในศีลของตน รู้จักประมาณในการกิน และระมัดระวังอยู่ในที่นั่ง ที่นอนอันสงัด เพื่อรักษาสภาพจิตของตนให้มั่นคง

ส่วนวิธีการปฏิบัติในพระพุทธศาสนานั้น พระองค์กล่าวเอาไว้ซึ่งอาตมภาพได้ยกขึ้นเป็นอุเทสในเบื้องต้นว่า สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง ให้เว้นจากการทำชั่วทั้งปวง ความชั่วที่เราทำนั้น คือ ทำด้วยกาย ทำด้วยวาจา ทำด้วยใจ ก็แปลว่าให้เราเว้นจากความทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจนั่นเอง

ทุจริตทางกายเรียกว่า กายทุจริต ประกอบไปด้วยการฆ่าสัตว์ การลักขโมย การล่วงละเมิดลูกเขาเมียใคร เป็นต้น
ในเรื่องของวาจานั้น ท่านเรียกว่า วจีทุจริต ได้แก่ การพูดโกหก การพูดส่อเสียด การพูดวาจาเหลวไหลไร้ประโยชน์ และการพูดคำหยาบ ท่านให้เว้นจากวจีทุจริตเหล่านี้

ส่วนทางใจเรียกว่า มโนทุจริต ได้แก่ ข้อแรกโลภอยากได้ของเขาจนเกินไป ตรงนี้ท่านให้ละเว้น ถ้าหากว่าสิ่งใด หามาได้ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ได้มาโดยน้ำพักน้ำแรงของตน ท่านเรียกว่า สัมมาอาชีวะ ไม่ถือว่าเป็นความโลภ ข้อที่สอง ท่านบอกว่ามีความพยาบาท อาฆาตแค้นผู้อื่น ผูกโกรธเอาไว้นาน ๆ ตรงนี้จะทำให้กำลังใจเศร้าหมอง ถ้าตายตอนนั้นจะตกสู่อบายภูมิ พระพุทธเจ้าจึงให้เราเว้น ส่วนข้อสุดท้ายนั้นท่านตรัสไว้ว่า มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม พระพุทธเจ้าจึงให้เราเว้น ตรงกันข้ามกับทิฏฐชุกรรม เป็นสัมมาทิฏฐิ เห็นในสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนว่าดีแล้วเราจะทำตาม

ถ้าท่านทั้งหลายสามารถละเว้นในเรื่องของกายทุจริต คือ ความผิดทางกาย ๔ อย่าง วจีทุจริต ความผิดทางวาจา ๓ อย่าง และมโนทุจริต ความผิดทางใจ ๓ อย่างได้ ก็ขึ้นชื่อว่าท่านปฏิบัติตามวิธีการของพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง คือ การเว้นจากความชั่วทั้งปวง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 24-12-2009 เมื่อ 18:34
สมาชิก 29 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 25-03-2009, 09:49
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,016 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

หลักธรรมต่อไป ท่านกล่าวว่า กุสะลัสสูปะสัมปะทา ขอให้ท่านทั้งหลายกระทำความดีให้ถึงพร้อม การกระทำความดีนั้นก็คือตรงข้ามกับความชั่วนั่นเอง ได้แก่ การประกอบกายสุจริต เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักขโมยของเขา เว้นจากการผิดลูกผิดเมียเขา เป็นผู้ประกอบไปด้วยวจีสุจริต คือ ไม่พูดโกหก ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดวาจาเหลวไหลไร้ประโยชน์ และเป็นผู้ที่เว้นจากมโนทุจริต คือ ไม่คิดโลภอยากได้ของคนอื่นเขา ไม่อาฆาตพยาบาทคนอื่น และมีสัมมาทิฏฐิ เห็นว่าทานศีลภาวนาเป็นสิ่งที่ดี เราสมควรที่จะกระทำ ถ้าหากว่าท่านกระทำดังนี้ได้ ก็ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ที่ทำความดีให้ถึงพร้อม

ข้อสุดท้ายนั้นพระองค์ตรัสเอาไว้ว่า สะจิตตะปะริโยทะปะนัง แปลว่า ต้องชำระจิตใจของตนให้ผ่องใสอยู่เสมอ ก็คือการที่เรารักษากำลังใจให้ตั้งมั่นด้วยอำนาจของสมาธิ แล้วใช้สติและปัญญาควบคุมสมาธิไม่ให้เคลื่อนคลายหายไป

ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นเด็กหญิงเด็กชาย หนุ่มสาวหรือว่าเฒ่าชราก็ตาม พวกเราทั้งหลายได้ปฏิบัติสมาธิกันมาแล้วไม่มากก็น้อย แต่ที่ไม่เห็นผลนั้นเพราะว่าท่านทั้งหลายรักษาสภาพเอาไว้ไม่เป็น เมื่อถึงเวลาเราก็ปฏิบัติ ปฏิบัติเสร็จแล้วเราก็ทิ้งไปเลย การที่เราทำเช่นนั้น จะทำให้เราหาความก้าวหน้าไม่ได้ เพราะการปฏิบัติสมาธิภาวนาเปรียบเหมือนกับการว่ายทวนน้ำ ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายไม่พยายามว่ายเอาไว้ก็จะลอยตามน้ำไป วันหนึ่งเราอาจจะนั่งสมาธิสักครึ่งชั่วโมง ก็แปลว่าเราว่ายทวนน้ำอยู่ครึ่งชั่วโมง เมื่อเลิกจากการว่ายแล้วเราปล่อยก็แปลว่าเราไหลตามน้ำไปอีกยี่สิบสามชั่วโมงครึ่ง มีแต่การขาดทุนอยู่ตลอดเวลา จึงไม่อาจจะหาความเจริญก้าวหน้าจากการฏิบัติได้

ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายปฏิบัติแล้วอารมณ์ใจทรงตัวได้เท่าไหร่ ถึงเวลาเราพยายามรักษาประคับประคองอารมณ์ใจเหล่านั้นให้ทรงตัวอยู่กับเราให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ แรก ๆ ก็อาจได้แค่ ๕ นาที ๑๐ นาที บางคนได้น้อยกว่านั้น แค่ขยับลุกขึ้นก็หลุดหายไปแล้ว เป็นต้น ถ้าท่านทั้งหลายพยายามประคับประคองเอาไว้ ก็จะได้จากนาทีเป็นชั่วโมง จากชั่วโมงก็ได้เป็นสองชั่วโมง สามชั่วโมงจากได้ครึ่งวันเป็นวันหนึ่ง สองวัน สามวัน ห้าวัน เจ็ดวัน ครึ่งเดือน เดือนหนึ่ง เป็นต้น

ยิ่งเรารักษาสภาพสมาธิให้ได้มากเท่าใด สภาพจิตใของเราก็มีความผ่องใสมากขึ้นเท่านั้น สภาพจิตใจที่ผ่องใสนี้เราจะสามารถไปใช้งานทางโลก ก็สามารถใช้งานได้ เนื่องจากจะมีปัญญา รู้แจ้งแทงตลอดว่าอุปสรรคในการดำเนินชีวิต มีมาจากสาเหตุอะไร เราก็ค่อย ๆ แก้ไขบรรเทาไปทีละอย่าง ส่วนในทางธรรมนั้น ความก้าวหน้าในการปฏิบัติมีอย่างไร อุปสรรคต่าง ๆ มีอย่างไร เราก็จะมีปัญญาที่จะรู้เห็นและก้าวล่วงอุปสรรคทั้งหลายเหล่านั้นไปได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 25-12-2009 เมื่อ 09:08
สมาชิก 28 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #6  
เก่า 25-03-2009, 09:56
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,016 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ดังที่ได้กล่าวมาตั้งแต่ต้นแล้วว่า วันมาฆบูชานี้เป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประกาศอุดมการณ์สูงสุดของพระพุทธศาสนา คือ การล่วงพ้นจากความทุกข์เข้าสู่พระนิพพาน สิ่งทั้งหลายเหล่านี้จะเข้าถึงได้ก็ด้วยการปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญา และความอดกลั้นอดทน ประกาศหลักการในพุทธศาสนาว่าเราต้องไม่ว่าร้ายใคร ต้องไม่ทำร้ายใคร เป็นผู้สำรวมในศีลตามเพศภาวะของตน เป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในที่นั่งที่นอนอันสงัด เป็นผู้รู้จักประมาณในการกิน และรักษาสภาพจิตของเราให้มั่นคงอยู่เสมอ และวิธีการในพุทธศาสนาก็คือ ละเว้นจากความชั่วทั้งปวง กระทำความดีให้ถึงพร้อม และพยายามชำระจิตใจของตนเองให้ผ่องใสจากกิเลส

ญาติโยมที่ตั้งใจมาบำเพ็ญบุญกุศลในวัดท่าขนุนเนื่องในวันมาฆบูชานี้ ชื่อว่าท่านทั้งหลายพยายามกระทำตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วทรงสรรเสริญว่า ท่านทั้งหลายที่พยายามเสริมสร้างคุณความดี ในทาน ในศีล ในภาวนานี้ จะเป็นกัลยาณชน คือ บุคคลที่พยายามเสริมสร้างความดี ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายก้าวเข้าสู่ความเป็นพระโสดาบันเมื่อไหร่ก็จะกลายเป็นอริยชน คือผู้ที่มีแต่เจริญขึ้นโดยไม่ตกต่ำ

การที่จะเป็นพระโสดาบัน เป็นผู้เจริญขึ้นโดยไม่ตกต่ำนั้น ท่านบอกว่าต้องเป็นผู้มีความเคารพในพระพุทธเจ้าจริงๆ มีความเคารพในพระธรรมจริงๆ มีความเคารพในพระสงฆ์จริง ๆ ไม่ล่วงล้ำก้ำเกินด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ เป็นต้น เป็นผู้ที่รักษาศีลทุกสิกขาบทได้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ไม่ล่วงศีลด้วยตัวเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้คนอื่นกระทำ ไม่ยินดีเมื่อคนอื่นกระทำ และข้อสุดท้าย เป็นผู้มีปัญญารู้แจ้งเห็นจริงว่า เรามีความตายเป็นปกติ ต้องก้าวไปหาความตายอยู่เสมอ เป็นผู้ไม่หวั่นไหวต่อความตาย รู้ว่าการตายนั้นจะต้องมาถึงเรา ตั้งเป้าเอาไว้ว่า ถ้าตายเมื่อไรเราขอไปให้ไกลที่สุด คือ เข้าสู่พระนิพพาน แล้วหลังจากนั้นก็ค่อย ๆ ชำระ ความรัก โลภ โกรธ หลงในใจ ของเราให้ลุล่วงไปทีละน้อย ๆ เพื่อก้าวสู่ภพภูมิที่ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ก็ชื่อว่าท่านทั้งหลายได้ปฏิบัติตามหลักการ อุดมการณ์และวิธีการทางพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์บริบูรณ์

อาตมภาพรับหน้าที่วิสัชชนาในมาฆบูชากถาก็พอสมควรแก่เวลา ท้ายสุดแห่งพระธรรมเทศนา อาตมภาพขอตั้งสัตยาธิษฐานอ้างคุณพระศรีรัตนตรัย มีพระพุทธะรัตนะ ธัมมะรัตนะ และสังฆะรัตนะเป็นประธาน มีบารมีธรรมของหลวงปู่สาย อคฺควํโส แห่งวัดท่าขนุนเป็นที่สุด ได้โปรดดลบันดาลให้ญาติโยมทั้งหลายที่พร้อมใจกันมาบำเพ็ญบุญกุศลในวันนี้ เป็นผู้มีความเป็นอยู่คล่องตัว มีความปรารถนาที่สมหวังทุกประการ ประสบแต่ความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูลผล แลเจริญไปด้วยจตุรพิธพรชัยทั้ง ๔ ประการ มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ แลปฏิภาณ ตลอดจนธนสาร คุณสาร และธรรมสารสมบัติอันเป็นที่สุขใจทั้งปวง อาตมภาพทำหน้าที่วิสัชชนามาก็พอสมควรแก่เวลา จึงขอสมมติยุติพระธรรมเทศนาลงคงไว้แต่เพียงเท่านี้ เอวัง ก็มีด้วยประการละฉะนี้

พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เทศน์บนศาลาวัดท่าขนุน
วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๒
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 14-10-2011 เมื่อ 02:34
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
กระทู้ถูกปิด


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 00:44



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว