กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > กระทู้ธรรม > ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 29-09-2010, 10:43
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,833 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default พระใบลานเปล่า

พระใบลานเปล่า
กับสันตติภายนอกและสันตติภายใน


เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๓ ต.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐมทรงพระเมตตาตรัสสอนไว้ ดังนี้

๑. “เรื่องท่านพระใบลานเปล่า ท่านละมานะกิเลสได้ก่อน จึงจะบรรลุมรรคผล เพราะมานะกิเลสคือตัวยึดมั่นถือมั่น คิดหลงผิดว่าตนเองดีแล้ว รอบรู้ในพระไตรปิฏก อารมณ์นี้คือสักกายทิฏฐิ คิดทะนงตนว่ารู้มาก จึงเสมือนหนึ่งจิตที่ลืมตัวลืมตน คิดว่าตนเองดีแล้ว จุดนี้แหละที่บดบังความดีให้สูญหาย เป็นเหตุให้บรรลุมรรคผลมิได้

๒. “บุคคลผู้ติดในสัญญา คือ ความจำอันเป็นปัญญาทางโลก มีความประมาทหลงคิดว่ามีปัญญาเป็นเลิศ สัญญาจึงบดบังปัญญา แต่เมื่อสมเด็จองค์ปัจจุบันทรงสะกิดให้ ท่านทราบว่าความดีของท่านนั้นเป็นเพียงแค่สัญญา ความจำในพระไตรปิฏก หาใช่ความดีอันเป็นปัญญาในธรรมวินัยไม่ อาศัยท่านมีสัมมาทิฏฐิอยู่บ้าง กล่าวคือ ไม่ดัดแปลงพระไตรปิฏก จึงฉุกคิดถึงข้อเสียแห่งตนได้ เมื่อจิตมุ่งดีตั้งใจหาผู้ช่วยชี้แนะให้ทำลายกิเลสคือ ความยึดมั่นถือมั่นว่าตนเองดีแล้วนั้น จนสักกายทิฏฐิผ่อนคลายลงแล้วคือ ตัวถือดีหายไป จิตมีกำลังแล้ว เณรผู้เป็นพระมหาเถระจึงเทศน์โดยอรรถอุปมาอุปไมย (สอนวิธีจับเหี้ยให้ว่า เหี้ยมันเข้าออกรูอยู่ ๖ รู ถ้าจะจับมันให้อุดรูเสีย ๕ รู เหลือไว้แค่รูเดียวก็จะจับเหี้ยได้ ท่านเคยเก่งปริยัติ ก็เข้าใจในความหมายเจริญกรรมฐานที่ทวารใจอย่างเดียว พระพุทธเจ้าก็ทรงสงเคราะห์โดยส่งฉัพพรรณรังสีมาปรากฏตรงหน้า สอนว่าปิดอายตนะ ๕ เสีย เหลือแต่ทวารใจ แล้วพิจารณากายคตานุสติ ท่านก็ปฏิบัติตาม จึงบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ในที่สุด) พระใบลานเปล่าท่านเก่งปริยัติอยู่แล้ว ก็เข้าใจในอรรถนั้น จึงพิจารณาเป็นปัญญาเข้าถึงธรรมวิมุติได้”

๓. “จุดนี้แหละเจ้า จงอย่าลืมตน หากผู้ปฏิบัติธรรมยังไม่ถึงที่สุดของความดี คือ พระนิพพาน จงอย่าคิดว่าตนเองมีความดี จักเป็นมานะกิเลสคือ จิตเต็มไปด้วยการยึดในสักกายทิฏฐินั่นเอง

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-09-2010 เมื่อ 12:40
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 46 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 01-10-2010, 10:23
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,833 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๔. “สำหรับปัญหาของคุณหมอนั้น คำว่าสันตติมี ๒ อย่าง ใช่ไหม? ตถาคตจักตอบว่า ใช่ คือ สันตติภายนอกกับสันตติภายใน ขันธ์ ๕ ไม่ว่าของตน ของบุคคล ของสัตว์ วัตถุธาตุใด ๆ นี่จัดว่าเป็นสันตติภายนอก ซึ่งทำงานสืบเนื่องกันอยู่มิได้ขาดสาย เป็นปกติของธรรมสันตติภายนอกนี้ สำหรับสันตติภายในคือ อารมณ์ของจิต ซึ่งเกิดดับอยู่ตลอดเวลา

เนื่องด้วยปุถุชนคนหนาแน่นไปด้วยกิเลส ไม่รู้การเกิดดับของอารมณ์ เนื่องด้วยประมาทในอารมณ์ ขาดสติ-สัมปชัญญะ กำหนดรู้อารมณ์ที่เกิด ๆ ดับ ๆ นั้น โดยมีความหลงเป็นปัจจัยเกี่ยวเนื่องมาจากความประมาทในชีวิต คิดว่าตนเองจักไม่ตาย

คำว่าตายในที่นี้หมายถึงความยึดมั่นถือมั่นว่า ร่างกายนี้มีในตน ตนมีในร่างกาย จึงแยกจิตกับร่างกายให้ออกจากกันมิได้ มีความใฝ่ฝันว่าร่างกายนั้นไม่ตาย และไม่เชื่อในกฎของกรรมจึงถูกกิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรมเข้าบงการอยู่ในอารมณ์ของจิต ยังอารมณ์ของจิตให้เกิด ๆ ดับ ๆ อยู่ในอาการของโมหะ โทสะ ราคะนั้น ประดุจหนึ่งบุคคลผู้มีร่างกายพลัดตกอยู่ในกระแสน้ำวนนั้น”

๕. “สันตติภายนอกนั้นแก้ไขไม่ได้ เป็นธรรมปกติของโลก แต่สันตติภายในนั้น แก้ไขได้ด้วยการกำหนดรู้ตามหลักพระธรรมคำสั่งสอนของตถาคต หรือพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ที่สืบพระพุทธศาสนาต่อ ๆ กันมา โดยการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ให้จิตมีสติ สัมปชัญญะระลึกได้อยู่ถึงมรณสัญญาอยู่เสมอ รู้ถึงทุกข์อันเกิดเนื่องมาจากสันตติภายนอก รู้ทุกข์อันจิตเสวยอารมณ์ อันเป็นสันตติภายใน เห็นอารมณ์ในขณะจิตนั้น ๆ ด้วยฐานอันมีสติ-สัมปชัญญะ ที่เกิดจากอานาปานั้น และรู้ด้วยมีสติ-สัมปชัญญะ ที่เกิดจากการพิจารณาสันตติภายนอกนั้น ปัญญาเกิดจากจุดนี้”

๖. “ที่ว่า ปัญญาเกิดจากจุดนี้ กล่าวคือ รู้แยกร่างกายที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลาว่าไม่ใช่มีในตน ตนไม่มีในร่างกาย ความทุกข์จากสันตติภายนอกไม่มีผู้ใดบังคับได้ สันตตินั้นเที่ยงอยู่เยี่ยงนั้นเป็นปกติ เมื่อรู้ว่าร่างกายไม่ใช่ตน ไม่มีในตน ตนไม่มีในร่างกาย ก็สามารถแยกจิตออกมาโดยปัญญานั้น”

๗. “จิตนี่แหละที่เป็นตน มีในตน จึงสามารถแยกเวทนาที่เกิดกับจิต หรือสันตติภายในได้โดยแยบยล เป็นทางลัดตัดตรงชำระอารมณ์ของจิตให้ผ่องใส นำให้หลุดจากอาสวะกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน เข้าถึงมรรคผลนิพพานได้ในที่สุด”
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 04-10-2010, 10:11
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,833 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๘. “สันตติภายนอกก็ดี สันตติภายในก็ดี จักต้องอาศัยจิตมีสติ-สัมปชัญญะ กำหนดรู้ว่าเหตุใดเป็นปัจจัยให้เกิด เหตุใดเป็นปัจจัยให้ดับ มิฉะนั้นก็จักตัดสันตติเหล่านั้นมิได้ อย่างเช่น การเคลื่อนไหวในอิริยาบถ ๔ เจ้าก็พึงกำหนดรู้ว่า การเคลื่อนไหวนั้น ๆ จักต้องมีเป็นปกติของอิริยาบถทั้ง ๔ จักยืน เดิน นั่ง นอนด้วยอิริยาบถเดียวมิได้ ร่างกายหรือสันตติภายนอก จักต้องทำงานตามสันตติของโลก หรือเมื่อขันธ์ ๕ คน สัตว์ วัตถุธาตุเกิดขึ้นมาแล้ว จักห้ามไม่ให้เสื่อม-ดับตามสันตติก็ห้ามไม่ได้ ฉันนี้ฉันใด สันตติภายในก็เช่นกัน”

๙. “หากจิตยังมีการเสวยอารมณ์อยู่ จักต้องรู้เหตุที่ทำให้เสวยอารมณ์นั้น โมหะ โทสะ ราคะจรเข้ามาในจิต จักต้องกำหนดรู้ และอารมณ์เหล่านั้นย่อมเกิด ๆ ดับ ๆ หากไม่กำหนดรู้จิตก็จักทำงานต่อเนื่องกันไปไม่ขาดสาย ความคิดที่จักหยุดยั้งอารมณ์ที่เบียดเบียนจิตอยู่นั้นก็ไม่มี เพราะไม่รู้เท่าทันกิเลส คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดอารมณ์ จิตจึงทำร้ายตนเองไปในสันตติภายในนั้นอย่างไม่รู้เท่าทัน”

๑๐. “การเจริญอานาปานุสติ ทำให้จิตมีกำลัง การกำหนดรู้สภาวะของร่างกายให้อยู่ในมรณะสัญญา กายคตาธาตุ ๔ หรืออสุภสัญญา จึงยังให้สติ-สัมปชัญญะสมบูรณ์ เท่ากับสร้างความไม่ประมาทให้เกิดแก่จิต เพราะทราบชัดว่าร่างกายนี้ตายแน่ จึงเท่ากับเห็นสันตติภายนอก และจากการศึกษาโทษของการละเมิดศีล กรรมบถ ๑๐ ประการ เห็นโทษของกฎของกรรม อันเมื่อร่างกายตายแล้วกฎของกรรมเหล่านั้น จักส่งผลให้จิตที่เสวยอารมณ์โมหะ โทสะ ราคะนั้นไปไหน จุดนี้ตถาคตจักไม่แยกกรรมดีหรือกรรมชั่ว เพราะอารมณ์ติดดีหรือติดเลว ก็ล้วนแต่ส่งผลให้จิตต้องโคจรไปตามภพภูมิที่ต้องจุติอยู่เสมอ กล่าวคือไตรภูมินั้นไม่เที่ยง ยังตกอยู่ในสันตติ คือ เคลื่อนไปมิได้ขาดสาย จึงจักขอกล่าวรวมเป็นอาการของความไม่รู้เท่าทันในสันตติภายใน คือ จิตไม่รู้เท่าทันในอารมณ์โมหะ โทสะ ราคะ ที่เกิดดับอยู่ในจิตนี้”
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 23 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 05-10-2010, 12:00
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,833 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๑๑. “เมื่อบุคคลใดรู้สันตติภายในแล้ว ก็ย่อมจักกำหนดรู้เหตุที่เกิดและที่ดับแห่งอารมณ์นั้น ความประมาทย่อมไม่มี หรือมีก็น้อยเต็มที บุคคลผู้นั้นก็จักทำการระงับ หรือตัดข้อต่อแห่งรากเหง้าโมหะ โทสะ ราคะทิ้งไป จึงจักทำจิตให้บริสุทธิ์หมดจดปราศจากกิเลสได้

๑๒. “การเพียรละอารมณ์โมหะ โทสะ ราคะ ให้ออกไปจากอารมณ์ของจิต โดยกำหนดรู้อารมณ์ของจิตในขณะหนึ่ง ๆ นั้น จัดได้ว่าเป็นการทำสันตติทางธรรมให้เกิดขึ้น สืบเนื่องให้จิตมีกำลังศีล สมาธิ ปัญญา ก็ร้อยรัดเป็นลูกโซ่ที่ประติดประต่อกันเข้ามาในอารมณ์ของจิตแทน จิตนั้นจึงจัดได้ว่าเข้าถึงปัญญาวิมุติทางพุทธศาสนาอย่างแท้จริง กล่าวคือ บุคคลนั้นถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา เป็นพระอริยบุคคลขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา คือ เป็นพระอรหันต์ขีณาสพนั่นเอง

๑๓. “เพราะฉะนั้น การที่ยังมีร่างกายอยู่ก็จักต้องมีสติกำหนดรู้กายว่า ปกติของร่างกายนั้นเป็นอย่างไร? เห็นคน สัตว์ วัตถุธาตุก็ต้องมีสติกำหนดรู้ แม้แต่จิตจักสัมผัสหรือเห็นพรหม เทวดา นางฟ้า ก็ต้องมีสติกำหนดรู้ความปกติของสิ่งนั้น ๆ ยอมรับนับถือในสันตติภายนอก อันมีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นปกติตามสภาวะธรรมนั้น ๆ แต่จิตไม่ปรุงแต่ง กล่าวคือ ไม่ให้อกุศลกรรมหรือกุศลกรรม เกิดขึ้นในอารมณ์ในขณะสัมผัสธรรมนั้น ๆ กล่าวคือรู้สักเพียงแต่ว่ารู้ เห็นเพียงสักแต่ว่าเห็น ไม่เกาะติดในสภาวะธรรมนั้น ๆ เห็นเป็นปกติ จึงตัดโมหะ โทสะ ราคะ ไม่ให้เกิดขึ้นในจิต นี่คือจิตในจิต จุดแรกคือ รู้ธรรมในธรรม การรู้เท่าทันในสภาวะของโลกก็คือ รู้เวทนาภายนอกหรือสันตติภายนอก การรู้เท่าทันสภาวะของจิต คือ รู้เวทนาภายในหรือสันตติภายใน”

๑๔. “ที่สุดของธรรมก็คือ รู้แยกจิต แยกกาย แยกเวทนา แยกธรรม สรุปรวมเป็นหลักใหญ่ได้ ๒ ประการ คือ รู้เท่าทันกองสังขารของกายและจิต ถ้าทำได้เท่านี้ พวกเจ้าก็จบกิจพระพุทธศาสนา ตัดสันตติทางโลก (ภายนอก) ทิ้งเสียได้ สันตติทางธรรมก็เกิดขึ้นเองเป็นอกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ เป็นวิญญูชนผู้เจริญเต็มที่แล้วในพระพุทธศาสนานั่นเอง รู้แล้วต้องจำและนำไปปฏิบัติให้ได้ด้วย”

ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๖
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 05-10-2010 เมื่อ 15:35
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 18 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 11:19



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว