กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องบูรพาจารย์ > ประวัติและปฏิปทาของพระสุปฏิปันโน

Notices

ประวัติและปฏิปทาของพระสุปฏิปันโน รวมประวัติ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์อันเป็นที่เคารพจากทั่วเมืองไทย

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 25-02-2009, 19:40
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 260
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,192 ครั้ง ใน 1,278 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต (ธมฺมวิตกฺโกภิกขุ)



พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต (ธมฺมวิตกฺโกภิกขุ)
วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร

ย่อมเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปมาแต่แรกแล้วว่า อันพระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต (ธมมฺวิตกฺโกภิกขุ) หรือที่เราท่านทั้งหลายรู้จักกันเป็นอย่างดียิ่งในนาม ของท่าน “เจ้าคุณนรรัตน์ฯ” แห่งวัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานครองค์นี้ ท่านเป็นอัจฉริยบุคคลผู้หาได้ยากยิ่งในโลก ด้วยท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ นั้น ท่าน “ถึงพร้อม” ด้วยองค์คุณอันเลิศ ประเสริฐถึงขีดสุด ด้วยลักษณะทุกสถาน อีกทั้งยังเป็นพระสงฆ์สาวกแห่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบอย่างยวดยิ่ง ยากที่จะหาใครมาเสมอเหมือนหรือแม้แต่เพียงใกล้เคียงได้

ปฏิปทาและวัตรปฏิบัติของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ นั้น มีความมั่นคงและเด็ดเดี่ยวเป็นยิ่งนัก ท่านเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนาที่เคร่งครัดต่อศีลาจารวัตรเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้สะอาดบริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา ใจ ทั้งภายใจและภายนอก ปราศจากมลทิลด่างพร้อยด้วยประการทั้งปวง เป็นพระสุปฏิปันโนผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติชอบ และเป็นเนื้อนาบุญชั้นเลิศในโลก เป็นผู้ควรค่าแก่การเคารพนบไหว้ของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย จนเป็นที่เชื่อมั่นและยอมรับจากบรรดา “ท่านผู้รู้” และ “ผู้ทรงคุณ” ทั้งหลาย อย่างสนิทใจว่า ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ องค์นี้ ท่านได้สำเร็จโลกุตรธรรมขั้นสูงสุด ถึงระดับ “พระอรหันตขีณาสพ” แน่แท้แล้ว

เป็นการยากอย่างที่สุดแล้ว ที่จะหาพระภิกษุรูปใด ไม่ว่าจะเป็นในอดีต ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นในพุทธจักรไทย หรือวงการสงฆ์ในนานาประเทศ ที่จะประพฤติดีปฏิบัติชอบอย่างครบถ้วน ตามพระวินัยบัญญัติ อย่างเคร่งครัดเด็ดเดี่ยว และเสมอต้นเสมอปลายเทียบเท่ากับท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ ได้

วัตรปฏิปทาทั้งหลายทั้งปวงของท่านนั้น ล้วนเป็นไปเพื่อความหลุดพ้นจาก “โลกียะ” และมุ่งตรงต่อ “โลกุตระ”อย่างแน่วแน่แท้จริงโดยส่วนเดียว ซึ่งแตกต่างห่างไกลจากการประพฤติปฏิบัติของ “สามัญภิกษุ” จำนวนมากในยุคนี้ที่มุ่งเน้นแต่ “โลกียะ” เป็นสรณะอันสูงสุดอย่างสิ้นเชิง นับว่าท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ เป็นพระบริสุทธิสงฆ์องค์ประเสริฐสุด ที่จะหาใดมาเสมอให้เทียมสองได้

มีท่านผู้ใหญ่ท่านหนึ่งซึ่งเคยบวชอยู่ที่วัดเทพศิรินทราวาส และได้เคยอยู่ใกล้ชิดกับท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ มาพอสมควร ถึงกับกล่าวไว้เลยทีเดียวว่า ถ้าหากพระพุทธองค์ยังคงทรงพระชนม์ชีพอยู่มาถึงบัดเดี๋ยวนี้ พระพุทธองค์ก็คงจะต้องทรงประทานประกาศนียบัตรในการประพฤติปฏิบัติเป็นเอก ให้แก่ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ อย่างแน่แท้

อาจที่จะกล่าวได้ว่า อันท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ นั้น ท่านเป็นพระอัจฉริยสงฆ์ ผู้ทรงไว้ซึ่งอัจฉริยภาพอย่างยิ่งยวดในทุก ๆ ด้าน นอกเหนือไปจากการประพฤติปฏิบัติที่มั่นคงเด็ดเดี่ยวอย่างเหลือเชื่อแล้ว ท่านก็ยังมีดวงจิตที่ทรงอานุภาพอย่างมหาศาลอีกด้วย ดังจะเห็นได้จากการที่ท่านใช้อำนาจจิตต่อสู้กับอสรพิษและโรคร้าย โดยที่มิต้องใช้หยูกยาเยี่ยงคนทั้งหลาย จนปรากฏผลเป็นที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่งอีกด้วย

ประกอบกับในช่วงท้าย ๆ แห่ง ชนมชีพแห่งท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ ท่านเมตตาอธิษฐานจิตพระเครื่องและวัตถุมงคลต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก และก็ได้ก่อให้เกิดอิทธิปาฏิหาริย์นานัปประการ เป็นที่ลือเลื่องไปทั่วทุกสารทิศ จึงเป็นเหตุให้ชื่อเสียงเกียรติคุณแห่งท่านยิ่งขจรขจายและบันลือลั่นไปไกลอย่างไม่มีประมาณ จนนามแห่ง “พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต” หรือ “ธมฺมวิตกฺโกภิกขุ” แห่งวัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร ได้กลายเป็นอีกหนึ่งในรัตนะภาคีแห่ง “พระอมตะเถระ” องค์สำคัญที่สุดของสยามประเทศไปเรียบร้อยแล้ว

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ตราบเท่าที่บวรพระพุทธศาสนายังคงสถิตสถาพรคู่แผ่นดินไทยอยู่ตราบใด ตราบนั้นนาม “เจ้าคุณนรรัตน์ฯ” หรือ “ธมฺมวิตกฺโกภิกขุ” อันเป็นมหามงคลนาม ก็จักยังคงความศักดิ์สิทธิ์ ที่จะคงติดตราตรึงอยู่ในท่ามกลางดวงใจแห่งศรัทธาปวงเหล่าพุทธศาสนิกชนทั่ว ทั้งหล้าตลอดไปตราบชั่วจิรัฏฐิติกาลเที่ยงแท้เลยเทียว



ที่มา : บอร์ดอกาลิโก
รูป
ชนิดของไฟล์: jpg MSG-1.jpg (27.6 KB, 320 views)

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-01-2019 เมื่อ 02:50
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 27 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 25-02-2009, 19:41
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 260
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,192 ครั้ง ใน 1,278 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

“มงคล”แห่งปฐมอุบัติ

ท่านธมฺมวิตกฺโกภิกขุ หรือพระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต มีนามเดิมว่า ตรึก จินตยานนท์ ท่านเกิดเมื่อวันมาฆบูชา ที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๐ ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีระกา เวลา ๗.๔๐ น. เป็นบุตรคนแรกของพระนรรราชภักดี (ตรอง จินตยานนท์) และนางนรราชภักดี (พุก จินตยานนท์) ที่บ้านใกล้กับวัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพมหานคร

ตั้งแต่เล็กแต่น้อย ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯได้ฉายแววแห่งความเป็นอัจฉริยบุคคลให้เป็นที่แจ้งใจแก่ คนทั้งหลายมาโดยตลอด ด้วยท่านนั้น มีครบทั้งรูปร่าง หน้าตา กริยามารยาทอันงดงามยิ่ง ตลอดจนสติปัญญาก็เฉลียวฉลาดอย่างยิ่ง นอกจากนี้ ท่านยัง จิตใจที่สูงส่งและขาวสะอาดในทุกส่วน อีกทั้งยังมีความขยันหมั่นเพียร มัธยัสถ์ และเปี่ยมปรี่ไปด้วยความกตัญญูกตเวทิตคุณต่อผู้มีพระคุณอย่างเหลือล้นในทุกประการ เป็นที่ชื่นชมโสมนัสแก่ทุกผู้ที่ได้รู้จักมักคุ้นอยู่โดยถ้วนหน้า จนถึงแก่บางคนได้ไปซักถามกับโยมบิดาของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ (พระนรราชภักดี) ว่า ประพฤติตนเช่นไร สวดมนต์อย่างไร หรือท่องคาถาบทไหนฯลฯ จึงได้มีบุตรที่ดีเยี่ยงท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯเห็นปานนี้ ?? ซึ่งพระนรราชภักดีก็ได้ตอบไปว่าเห็นจะเป็นด้วยเหตุที่ท่านได้ใส่ใจภาวนา สวดพระคาถา”มงคลสูตร” (อเสวนา จ พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวนา ฯลฯ)อยู่เป็นนิตย์นั่นเอง

อันพระคาถามงคลสูตรนี้ องค์ของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ ก็นิยมท่องบ่นภาวนาอยู่เสมอเช่นกัน ทั้งยังได้แนะนำบุคคลใกล้ชิดให้หมั่นสวดภาวนา ทั้งเช้าและค่ำของทุกวันด้วย โดยท่านได้ให้อรรถาธิบายไว้ว่า
“มงคลคาถานี้ เป็นพระสูตรที่คัดมาจากพระไตรปิฏก ผู้ใดท่องบ่นสาธยายและปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเป็นสิริมงคลอย่างประเสริฐ จึงเรียกว่าคาถามงคลสูตร” ซึ่งมีเนื้อความเต็มดังนี้ฯ

อะเสวะนา จะ พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา

ปูชา จะ ปูชะนียานัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง

ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ ปุพฺเพ จะ กะตะปุญฺญะตา

อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง

พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ วินะโย จะ สุสิกขิโต

สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัมมังคะละมุตตะมัง

มาตาปิตุอุปัฏฐานัง ปุตตะทารัสสะ สังคะโห

อะนากุลา จะ กัมมันตา เอตัมมังคะละมุตตะมัง

ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ ญาตะกานัญจะ สังคะโห

อะนะวัชชานิ กัมมานิ เอตัมมังคะละมุตตะมัง

อาระตี วิระตี ปาปา มัชชะปานา จะ สัญญะโม

อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ เอตัมมังคะละมุตตะมัง

คาระโว จะ นิวาโต จะ สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตา

กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง

ขันตี จะ โสวะจัสสะตา สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง

กาเลนะ ธัมมัสสากัจฉา เอตัมมังคะละมุตตะมัง

ตะโป จะ พรัหมะจะริยัญจะ อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง

นิพพานะสัจฉิกะริยา จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง

ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ

อะโสกัง วิระชัง เขมัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง

เอตาทิสานิ กัตวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา

สัพพัตถะ โสตฺถิง คัจฉันติ ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ชินเชาวน์ : 15-07-2009 เมื่อ 11:42
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 20 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 25-02-2009, 19:42
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 260
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,192 ครั้ง ใน 1,278 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

born To Be Number ๑
(เกิดมาเพื่อเป็น”ที่หนึ่ง”เป็นการเฉพาะ)


อาจที่จะกล่าวได้ว่า ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯนั้น ท่านเกิดมาเพื่อเป็น “ที่หนึ่ง” โดยแท้ เพราะนับตั้งแต่แรกเกิดมา ท่านก็เป็นบุตรคน “ที่หนึ่ง” คนแรก คนหัวปีของครอบครัว “จินตยานนท์” เมื่อโตขึ้นตอนจะจบชั้นมัธยม ท่านก็สอบได้เป็น “ที่ ๑” ของประเทศ แม้ต่อมา เมื่อท่านเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนข้าราชการพลเรือน(จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) สาขารัฐประศาสนศาสตร์ ท่านก็จบเป็นบัณฑิตจุฬารุ่นที่ ๑ (รุ่นแรก) จบแล้วไม่จบเปล่า เพราะท่านก็ยังครองความเป็น “นัมเบอร์วัน” ด้วยคะแนนสอบที่เป็น “ที่หนึ่ง”ของรุ่นอีกต่างหากด้วย

ต่อมา เมื่อมีวาสนาได้สนองพระเดชพระคุณในล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๖ ด้วยผลการปฏิบัติงานดีเด่น ท่านจึงได้รับพระมหากรุณาฯแต่งตั้งเป็น “พระยาพานทอง”คนแรกของประเทศไทยที่มีอายุน้อยที่สุด คือได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระยานรรัตนราชมานิต” เมื่อมีอายุได้เพียง ๒๕ ปี เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๖๕
ต่อมาอีก ๒ ปี คือปีพ.ศ. ๒๔๖๗ ท่านก็ได้รับพระมหากรุณาฯให้เป็น “องคมนตรี”คนแรกของประเทศไทยที่มีอายุน้อยที่สุดอีกตำแหน่งหนึ่ง เมื่อมีอายุได้เพียง ๒๗ ปีเท่านั้น

และครั้นเมื่อรัชกาลที่ ๖ เสด็จสวรรคต และท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯได้อุปสมบทถวายพระราชกุศลแล้ว แต่กิติศัพท์แห่งความเป็นยอดคนของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯก็เลื่องลือไปต้องพระเนตรพระกรรณแห่งล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๗ ถึงกับทรงแต่งตั้งให้ท่านเป็นองคมนตรีในพระองค์ซ้ำอีกวาระ เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๖๙ ทั้งๆ ที่ท่านยังครองผ้ากาสาวพัตร์อยู่เลยทีเดียว ทำให้ท่านกลายเป็น “ที่หนึ่ง” ในสองสถาน กล่าวคือ เป็น “องคมนตรี ๒ รัชกาล” คนแรกที่มีอายุน้อยที่สุดในประเทศไทย และเป็น “องคมนตรี” คนแรก ที่ได้รับการโปรดเกล้าฯขณะที่ยังอยู่ใน “สมณเพศ” อีกด้วย

และแม้เมื่อท่านได้บวชเป็นพระ “ความเป็นที่หนึ่ง” ก็ยังหาได้ละจากองค์ท่านไม่ เพราะท่านเจ้าคุนรรัตน์ฯนั้น ก็ได้รับการยอมรับว่า เป็นพระสุปฏิปันโน ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบและเคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นเอก เป็นที่หนึ่งอย่างยากที่จะหาใครในยุคนี้หรือยุคไหนๆ มาเทียบได้ ตลอดระยะเวลา ๔๕ พรรษา หรือคิดเป็นวัน ก็ได้กว่า ๑๕,๐๐๐ วันที่ท่านอุปสมบถเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ก็ปรากฏว่า ไม่มีวันใดเลยที่ท่านจะว่างเว้นการกรวดน้ำ อุทิศถวายเป็นพระราชกุศลถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตนั้น ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ จะงดเว้นฉันภัตตาหาร ๑ วัน และนั่งกระทำสมาธิถวายพระราชกุศลตั้งแต่หัวค่ำจนรุ่งเช้ามิได้ขาดทุกปีไป อันนับเป็นยอดกตัญญูอย่างที่หนึ่ง อย่างที่ไม่เคยจะพบเห็นจากที่แห่งหนใดได้มาก่อนเลยตลอดชั่วชีวิตนี้ ที่สุด เมื่อท่านมรณภาพลง ท่านก็ยังคงเป็น ”ที่หนึ่ง” อีกจนได้ ด้วยในตอนนั้น คุณละมูน มีนะนันท์เพิ่งสร้างศาลา ”ละมูนนิรมิต” เสร็จพอดี ศพของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ จึงได้เป็น ”ศพที่หนึ่ง” ที่ได้นำมาบำเพ็ญกุศลที่ ศาลาแห่งนี้จนได้อีกนั่นแล้ว

และเกี่ยวกับความเป็น ”ที่หนึ่ง” นี้ ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ ได้เคยปรารภเอาไว้เองเช่นกันว่า “โลกไม่นิยมคนแพ้ โลกชอบคนชนะ ฉะนั้น เมื่ออยู่ในโลก ต้องเป็นคนชนะ ต้องเป็นที่หนึ่ง เหมือนนักมวย คนแพ้ไม่มีใครรู้จัก ไม่มีใครสงสาร หรือในนิยาย คนที่เป็นพระเอกก็ต้องชนะ..” และ “ชีวิตของคนเรา ถ้าทำอะไรให้เป็นที่หนึ่งแล้ว มักจะต้องดีเสมอ เมื่อจะทำการงานหรือทำสิ่งใด ก็ต้องทำใจให้เป็นหนึ่ง มุ่งอยู่ในงานนั้นจนสำเร็จ แม้การทำสมาธิ ก็คือการทำใจให้เป็นหนึ่ง คือเป็นเอกัคคตานั่นเอง...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ชินเชาวน์ : 15-07-2009 เมื่อ 11:28
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 21 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 25-02-2009, 19:43
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 260
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,192 ครั้ง ใน 1,278 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

ของดี ”หนึ่งเดียว” ของเจ้าคุณนรรัตน์ฯ

เคยมีผู้สนใจได้กราบเรียนถามท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ ว่า เมื่อสมัยครั้งที่ท่านยังเป็นฆราวาสอยู่นั้น ท่านมีพระเครื่องรางของขลังอันใดประจำตัวบ้างหรือไม่ ? ซึ่งท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ ก็เมตตาตอบว่า “มีอยู่องค์หนึ่ง เป็นพระของสมเด็จท่านเจ้ามา วัดสามปลื้ม กรุงเทพเรานี่แหละ...”

หมายเหตุ. ท่านพระนรราชภักดี บิดาของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ แต่เดิมนั้นท่านเป็นศิษย์ของสมเด็จท่านเจ้ามา วัดสามปลื้ม และเคยประสพเหตุอภินิหารถูกคนร้ายจ่อยิงซึ่งหน้าแต่ปืนไม่ลั่นมาแล้ว ด้วยเหตุดังกล่าว พระสมเด็จท่านเจ้ามา วัดสามปลื้ม ที่ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ มีไว้บูชาติดตัวนั้น ก็น่าที่จะได้มาจากบิดาท่านนั่นเอง แต่น่าเสียดายนักที่เมื่อคราวที่ตามเสด็จไปยังพระราชวังบางปะอิน ตอนขากลับท่านได้ลืมไว้ที่ห้องพักและหายไป จากนั้นมาท่านก็ไม่เคยมีพระเครื่องรางอันใดติดตัวอีกเลย โดยท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ ได้เล่าต่อไปอีกด้วยว่า “แต่ก่อนนี้ ไม่ค่อยมีใครเลี่ยมพระ ส่วนมากใช้ลวดหรือด้ายถัก แล้วใช้เข็มกลัดติดกระเป๋า แม้อาตมาก็ทำเช่นนั้น จึงได้ลืมเมื่อเอาออกจากกระเป๋าเสื้อ และบังเอิญต้องตามเสด็จกลับโดยกระทันหัน”

ต่อมาเมื่อท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนา และได้เจริญธรรมและจิตจนมีปาฏิหาริย์ยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะกับบรรดาพระเครื่องทั้งปวงที่ท่านได้อธิษฐานจิต จนเป็นที่บันลือลั่นไปทั่วทุกทิศานุทิศ เลยมีบางท่านสนใจใคร่รู้กราบเรียนถามว่า ท่านธมฺมวิตกฺโกนี้ ใช้พระคาถาบทใดปลุกเสกพระเครื่องกัน จึงมีอภินิหารมากมายนัก ซึ่งท่านก็ได้เมตตาวิสัชนาอย่างสิ้นข้อกังขาในที่สุดว่า


“พระชินบัญชรคาถาของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต วัดระฆัง นั้น ดีที่สุด อาตมาใช้สวดอธิษฐานจิตพระเครื่องทั้งหลายอยู่เป็นประจำ...”

ทราบเป็นการภายในอย่างลับที่สุด ก็ได้ความสอดคล้องต้องกันว่า ในการอธิษฐานจิต ”พระพ่อแม่ธรณีปฐวีธาตุ” สุดยอดสิ่งมงคลสักการะอันดับหนึ่งของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ ที่ท่านถึงกับกล่าวว่า “กันนิวเคลียร์ได้จริงๆนะ” นั้น พระคาถาที่ผู้อยู่ในเหตุการณ์ได้ยินท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ ใช้อธิษฐาน ก็ไม่พ้นไปจาก ”ชินบัญชรคาถา” อีกนั่นแล้ว..... สาธุ..........................

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-01-2019 เมื่อ 02:54
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 23 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 25-02-2009, 19:46
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 260
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,192 ครั้ง ใน 1,278 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

หนทางสู่ ”จิตหนึ่ง” ของเจ้าคุณนรรัตน์ฯ


ท่านธมฺมวิตกฺโกภิกขุ ได้เคยเล่าไว้ให้คุณการุณ เหมวนิช ฟังไว้อย่างน่าสนใจยิ่งว่า เรื่องของการทำสมาธินั้น ท่านได้ทำมาตั้งแต่สมัยยังเป็นฆราวาส ซึ่งโดยปกตินั้น ท่านมีนิสัยชอบความสงบเงียบ และชอบคนตาย โดยได้ให้เหตุผลว่า “คนตายให้แต่ความดีงาม ทำใจให้สงบ เพราะเมื่อเห็นแล้วก็เป็นเครื่องเตือนสติว่า ตัวเราก็ต้องตายไม่ช้าก็เร็ว นอกจากนี้ คนตายยังให้ความรู้ เป็นอาจารย์ใหญ่ทางการแพทย์ได้อีกด้วย ไม่เหมือนคนเป็น ซึ่งอาจมีทั้งคุณและโทษ ถ้าพบคนเลวก็มีแต่โทษ มีแต่ความลำบากใจไม่รู้จักหยุดหย่อน....”

ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ ทุกครั้งที่ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ ตามเสด็จไปยังพระราชวังบางปะอิน ในเวลาว่างราชการ ท่านก็มักจะปลีกตนไปปลีกวิเวกในป่าช้าใกล้ๆอยู่เสมอ โดยเมื่อล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๖ หากทรงต้องการให้หา ก็จะทรงให้คนไปตามตัวท่านที่ป่าช้าได้ทุกเวลา

ต่อมา แม้เมื่อท่านออกบวช ท่านก็ยังฝึกกรรมฐานต่อโดยตัดกระดาษเป็นรูปวงกลม ติดไว้ที่ฝาห้องแล้วนั่งเพ่งจนเห็นภาพนี้ชัด ไม่ว่าจะหลับตาหรือลืมตา เป็นภาพอุคคหนิมิตที่ติดอยู่ที่จิต และสามารถขยายหรือย่อภาพนิมิตนี้ให้เล็กหรือใหญ่ได้ตามความประสงค์ หรือจะให้แตกขยายออกเป็นรูปวงกลมมากมายนับจำนวนไม่ถ้วนก็ได้ ซึ่งสำหรับเหตุที่ท่านธมฺมวิตกฺโก เลือกรูปวงกลมนี้เป็นที่เพ่งจิตแทนพระพุทธรูปหรืองค์ภาวนาอย่างอื่นนั้น ท่านให้เหตุผลว่า ท่านเห็นรูปวงกลมนี้เป็นเหมือนกับสังสารวัฏที่หมุนเวียนอยู่เสมอ

ต่อมา เมื่อท่านธมฺมวิตกฺโกพิจารณาเห็นว่า ท่านมีกำลังอำนาจจิตแก่กล้าถึงระดับหนึ่งแล้ว ท่านจึ่งได้เปลี่ยนมาใช้หัวกะโหลกของมนุษย์มาตั้งเรียงไว้ถึง ๔ หัวข้างที่นอนของท่าน จากนั้นท่านก็ได้นั่งสมาธิเพ่งหัวกะโหลกเหล่านั้นเป็นอารมณ์กรรมฐาน โดยเมื่อนั่งใหม่ๆ ได้ปรากฏภาพนิมิตแปลกประหลาดพิศดาร โดยปรากฏเป็นภาพหัวกะโหลกได้ลอยมาหลอกหลอนท่านในอาการต่างๆ ทั้งลอยเข้ามาใกล้บ้าง ลอยถอยห่างออกไปบ้าง ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง แต่ภายหลังเมื่อท่านได้กำหนดภาพนี้ให้ผ่านเลยไปแล้ว ท่านก็ได้เห็นหัวกะโหลกเหล่านี้ตามความเป็นจริง ไม่มาหลอกหลอนท่านอีกต่อไป ซึ่งก็ยังความยินดีให้แก่ท่านมากขึ้น และท่านก็ได้ใช้จิตที่ทรงกำลังแก่กล้าเป็นพื้นฐานเช่นนี้ มาเจริญวิปัสนากรรมฐานจนบรรลุอริยมรรค อริยผลจนถึงขั้นสูงสุดในเวลาต่อมาได้เป็นผลสำเร็จในที่สุดฯ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ชินเชาวน์ : 15-07-2009 เมื่อ 11:29
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #6  
เก่า 25-02-2009, 19:48
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 260
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,192 ครั้ง ใน 1,278 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

แจ้งใจในสัจธรรม

แม้ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯท่านจะมีจิต ฝักใฝ่ในธรรมและสนใจในการปฏิบัติพระกรรมฐานมาตั้งแต่ต้นแล้วก็ตาม แต่สำหรับสาเหตุที่ทำให้ท่านตัดสินใจบวชไม่สึกจนตลอดชีวิต ทั้งๆที่แต่แรก ท่านหาได้คิดที่จะบวชจนตลอดไม่ ด้วยมีโครงการจะบวชถวายพระราชกุศลเพียงหนึ่งพรรษา แล้วหลังจากนั้น ท่านก็คิดจะแต่งงานและไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วกลับมารับใช้ชาติต่อไปนั้น ท่านธมฺมวิตกฺโกได้ปรารภถึงเรื่องนี้ไว้เองว่า เป็นเพราะท่านได้กัลยาณมิตรในทางธรรมแล้ว ซึ่งก็คือสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(เจริญ ญาณวรมหาเถระ) สมเด็จพระอุปัชฌาย์ของท่านนั่นเอง ที่ได้สอนเรื่องอริยสัจ ๔ แก่ท่าน จนท่านเห็นความทุกข์ที่แทรกอยู่ในความสุข จนกล่าวได้ว่า “ไม่มีความสุขใดในชีวิตฆราวาส ที่ไม่มีมีความทุกข์ซ้อนซ่อนอยู่เลย” และเมื่อท่านได้นำมาเปรียบกับชีวิตของท่านเองที่ผ่านมา ท่านก็ได้แลเห็นว่า ชีวิตนี้เป็นทุกข์อย่างแท้จริง และอยากจะหาทางพ้นทุกข์ จนกระทั่งปีที่ ๖ แห่งการอุปสมบท ท่านจึงเกิดความเบื่อหน่ายทุกสิ่งทุกอย่าง มีแต่ความบันเทิงในธรรมแต่เพียงอย่างเดียว และยิ่งเมื่อท่านเห็นความเป็นอนิจจังของบ้านเมืองและชีวิต จึงทำให้ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯได้แจ้งใจอย่างถ่องแท้ว่า ท่านไม่อาจที่จะกลับไปใช้ชีวิตฆราวาสได้อีกแน่นอนแล้ว แม้ล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๗ จะได้ทรงพระมหากรุณาแต่งตั้งท่านเป็นองคมนตรีรอท่าไว้ ทั้งๆที่ท่านยังครองสมณเพศอยู่ก็ตาม แต่ท่านจึงตัดสินใจอย่างเด็ดขาดที่จะบวชไม่สึกอย่างแน่นอน โดยท่านได้ให้เหตุผลที่ลึกซึ้งและกินใจเป็นที่สุดว่า
“ชีวิตฆราวาส เป็นชีวิตที่ต้องต่อสู้ โดยไม่รู้ว่าจะต่อสู้ไปทำไม และเพื่ออะไร ในเมื่อชีวิตนี้เป็นทุกข์ ก็ควรที่จะต่อสู้เพื่อให้พ้นทุกข์มิดีกว่าหรือ...???”


ทำเมืองให้เป็นป่า

ครั้งหนึ่ง มีนายแพทย์ท่านหนึ่ง(นายแพทย์สุพจน์ ศิริรัตน์) ได้กราบเรียนถามท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯว่า
“พระเดชพระคุณขอรับ พระอริยบุคคลในปัจจุบันนี้ ยังพอมีอยู่บ้างไหม.??”
เมื่อได้ฟัง ท่านธมฺมวิตกฺโกก็ตอบในทันทีทีเดียวว่า “มี....”ท่านวิสัชนา”แต่ท่านไม่ค่อยเข้ามาอยู่ในเมือง ชอบอยู่ตามป่าตามเขากัน เพราะท่านเหล่านั้นไม่ชอบความวุ่นวาย” จากคำตอบดังกล่าว จึงเป็นการยืนยันว่า แม้ในยุคปัจจุบันนี้ ซึ่งเป็นยุคที่โลกของเราเต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวายร้อยแปดพันประการ พระอริยเจ้าตั้งแต่พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ขีณาสพ ก็ยังคงมีอยู่มิขาดสาย สมดังที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงเคยตรัสเอาไว้ว่า “ตราบเท่าที่ยังมีการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์แปดอยู่โดยชอบแล้ว ตราบนั้นโลกย่อมไม่ว่างจากพระอรหันต์”

แต่ด้วยเหตุดังว่า จึงเป็นเรื่องที่น่าคิดอย่างยิ่งว่า ทำไมกรณีของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯนั้น ทั้งๆที่ที่ท่านพำนักอยู่ คือวัดเทพศิรินทราวาสนั้น ตั้งอยู่ที่ใจกลางเมืองหลวงอยู่ใกล้กับสถานที่ราชการและธุรกิจมากมาย อีกทั้งยังแวดล้อมไปด้วยความอึกทึกวุ่นวายนานับประการ แต่ทำไมท่านจึงสามารถบำเพ็ญเพียรจนบรรลุธรรมขั้นสูงได้ ซึ่งคำตอบที่ได้มาก็คือ ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯนั้น ท่านทำเมืองให้เป็นป่าสำหรับองค์ของท่านนั่นเอง โดยการตัดโลกแยกตัวท่านออกมาจากสังคม ไม่ยอมยุ่งเกี่ยวสมาคมกับโลกภายนอกอย่างเด็ดขาด ถึงขนาดโยมบิดามารดาถึงแก่กรรม ท่านก็ยังไม่ยอมไปเผา ได้แต่สั่งการให้น้องๆดำเนินการแทน ทั้งๆที่ท่านมีความเคารพและกตัญญูต่อบุพการีและผู้มีพระคุณอย่างยวดยิ่ง ท่านไม่ยอมออกไปนอกเขตวัดเลยนานถึงกว่า ๔๐ ปีเต็มๆ ท่านไม่เคยไปยังกุฏิใคร และก็ไม่ยอมให้ใครมายังกุฏิของท่าน หากจะต้องออกจากกุฏิ ก็จะตรงมาโบสถ์เพื่อทำวัตรเช้าและค่ำ วันละ ๒ เวลาเท่านั้น ท่านอยู่ลำพังของท่านอย่างโดดเดี่ยวเอกา ที่สุด แม้แต่ไฟฟ้า พัดลม ทีวี ตู้เย็น โทรทัศน์ วิทยุ หรือเครื่องอำนวยความสะดวกอันใด ท่านก็ไม่มีกับเขาทั้งสิ้น ซึ่งก็แปลว่า ท่านปลีกวิเวกอย่างไร้สิ่งปรุงแต่งอย่างสิ้นเชิงเหมือนกับอยู่ในป่าดงจริงๆ ใครคนไหนมีธุระต้องการพบท่าน ก็พบได้แต่เฉพาะเวลาที่ท่านลงโบสถ์เท่านั้น ไม่ว่าคนสามัญ หรือเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน โดยท่านเคยกล่าวไว้ว่า “คนทั้งหลายที่มาพบนี่ เมื่ออาตมากลับกุฏิแล้ว อาตมาทิ้งหมด ไม่ได้นึกถึงเลย ผีทั้งนั้น...” ด้วยปฏิปทาอันแน่วแน่และเฉียบขาดเป็นที่สุดเยี่ยงนี้เอง จึงทำให้ท่านสามารถบำเพ็ญเพียรจนบรรลุธรรมชั้นสูงได้อย่างน่าอนุโมทนา สาธุการเป็นที่ยิ่งอย่างนี้ สมดังที่ท่าน ธมฺมวิตกฺโกได้ปรารภเป็นการส่วนตัวกับพระภิกษุนวกะรูปหนึ่งไว้คว่า
“อาตมาไม่ต้องการเกิดอีกแล้ว อาตมามั่นใจว่า ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของอาตมาแล้ว”
และท่านก็ยังได้พูดยืนยันเป็นภาษาอังกฤษไว้อีกด้วยว่า “This Life Is The Last”

อีกครั้งหนึ่ง ท่านได้ถูกคางคกไฟกัดเอาที่เท้า ขณะกลับจากทำวัตรค่ำ พิษนั้นได้สร้างความเจ็บปวดเสียดแทงเข้าถึงหัวใจ ได้รับทุกขเวทนาเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเรื่องก็ได้ทราบถึงพระภิกษุผู้จำพรรษาใกล้ๆกันและได้มาเยี่ยมเยียนแสดง ความเห็นอกเห็นใจ แต่ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯกลับตอบขอบใจเป็นคติที่น่าคิดอย่างยิ่งว่า “ไม่เป็นไร คางคกมันกัดเราได้ชาติเดียว แต่เสียงหวานๆนั้น มันกัดพวกคุณหลายชาติ..!!!!”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ชินเชาวน์ : 15-07-2009 เมื่อ 11:29
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 24 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #7  
เก่า 25-02-2009, 19:49
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 260
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,192 ครั้ง ใน 1,278 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

ญาณแห่งพระอริยะ ไม่มีใดเทียม

ด้วยผลแห่งความเคร่งครัดและเอาจริงเอาจังในการปฏิบัติกรรมฐานตามแนวทางพระพุทธวจนะอย่างบริสุทธิ์ หมดจดด้วยลักษณาการสิ้นเชิง ตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษในสมณเพศ จึงทำให้ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯได้บรรลุฤทธิ์อภิญญาอย่างยิ่งยวด สามารถแสดงสภาวะและความหยั่งรู้ในสรรพสิ่งอันเหนือโลกได้เป็นอเนกประการ ซึ่งก็ได้สร้างความอัศจรรย์ใจให้แก่หลายๆคนที่ได้ประสพพบพานอยู่เสมอๆ

ครั้งหนึ่ง ขณะที่ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯกำลังสนทนาอยู่กับศรัทธาญาติโยมภายในพระอุโบสถ วัดเทพศิรินทร์อยู่นั้น บัดเดี๋ยวนั้นเอง ท่านก็พลันออกปากมาในทันทีเลยว่า “ขณะนี้ ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่เขตๆนั้น....บ้านเลขที่นั้นๆ.....อยู่” ด้วย ความแปลกประหลาดใจและระคนใคร่รู้ ว่าสิ่งที่ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯกล่าวขึ้นมาสดๆร้อนๆนั้น จะเป็นเรื่องจริงแท้แต่ไหนหรือไม่ จึงมีผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ต่างไปสืบเสาะหาข่าวนั้นกันอย่างจ้าละหวั่น และก็แทบจะต้องตกตะลึง เมื่อหนังสือพิมพ์ในวันรุ่งขึ้น ได้ลงข่างเพลิงไหม้ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยสถานที่เกิดเหตุเพลิงไหม้นั้น ตรงกับที่ท่านได้กล่าวล่วงหน้าไว้ทุกประการ!!!
นี้ย่อมแสดงว่า ท่านเจ้าคุณธมฺมวิตกฺโกนี้ ได้บรรลุแล้วซึ่งอภิญญาขั้นสูงสุด สามารถหยั่งรู้เหตุการณ์ในทุกสิ่ง ทั้งไกลและใกล้ ตลอดทุกมุมโลก ทั้งๆที่ยังมิต้องนั่งสมาธิตรวจสอบเลยแม้แต่น้อย
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 19 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #8  
เก่า 25-02-2009, 19:51
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 260
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,192 ครั้ง ใน 1,278 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

“เจโตปริยญาณ” รู้ใจสมเด็จพระอุปัชฌาย์

และเป็นที่กล่าวขวัญกันในหมู่ศิษยานุศิษย์ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(เจริญ ญาณวรมหาเถระ) วัดเทพศิรินทร์ฯ สมเด็จพระอุปัชฌาย์ของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ มาช้านานแล้วว่า อันเจโตปริยญาณความหยั่งรู้เหตุการณ์และจิตใจของสิทธิวิหาริกของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ องค์นี้ มีความยอดเยี่ยมเป็นยิ่งนัก โดยมีเรื่องเล่าว่า ในทุกครั้งที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์อาพาธ ได้รับทุกข์ทรมานเบียดเบียนแรงกล้า และท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ นึกต้องการจะให้พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิตมาถวายพระธรรมเทศนา เพื่อเป็นอุบายบรรเทาทุกขเวทนาจากอาการอาพาธนั้น โดยที่ยังไม่ทันได้ใช้ใครให้ไปตาม ท่านเจ้าคุณธมฺมวิตกฺโก ก็จะมาปรากฏกายที่กุฏิสมเด็จฯ โดยที่ไม่ต้องมีใครไปตาม และถวายพระธรรมเทศนาตามที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านต้องประสงค์ทุกคราวไป เป็นที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่งเลยทีเดียว

กายไม่เหนือใจ ไยจะทำไม่ได้???

ในวันมาฆบูชา วิสาขบูชา หรือวันอาสาฬหบูชา ซึ่งที่วัดเทพศิรินทร์ฯ จะมีการสวดมนต์ฟังเทศน์กันตลอดรุ่งนั้น ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ จะเป็นเพียงผู้เดียวเท่านั้น ที่นั่งพับเพียบไหว้พระ ฟังธรรมอยู่ได้ตลอดเวลาอย่างน้อย “๑๐” ชั่วโมงรวด โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนท่า และไม่ได้ลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบถ ตลอดจนเข้าห้องน้ำห้องท่าเฉกเช่นพระเณรหรือญาติโยมท่านอื่นเลย เป็นที่น่าอัศจรรย์ใจแก่ผู้ที่ได้พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง

เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ก็เคยมีผู้กราบเรียนถามท่านธมฺมวิตกฺโกว่า เหตุใดท่านจึงสามารถนั่งทนอยู่ได้นานเห็นปานนี้ ท่านก็ตอบสั้นๆแต่เพียงว่า “ร่างกายของอาตมาอยู่ในบังคับของจิตใจ ดังนั้น เมื่ออาตมาไม่ต้องการที่จะลุกหรือเปลี่ยนอิริยาบถ ก็ย่อมสามารถที่จะนั่งได้นานตามที่ปรารถนา...” นี้คือตัวอย่างของผู้ที่ฝึกฝนตนเองมาอย่างดีเยี่ยม อย่าง
จริงแท้แน่นอนที่สุดแล้ว

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-01-2019 เมื่อ 02:57
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 23 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #9  
เก่า 25-02-2009, 19:51
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 260
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,192 ครั้ง ใน 1,278 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

“ ดี”ก็รู้ “ไม่ดี”ก็รู้

นอกจากเรื่องที่เป็น”ธรรม”ที่ท่านเจ้า คุณนรรัตน์ฯใส่ใจมาตลอดชีวิตแล้ว แม้เรื่องของ”อธรรม” ของบุคคลผู้อื่นท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯท่านก็สามารถหยั่งรู้ได้อย่างไม่มีใด ปิดกั้น และไม่รีรอที่จะตักเตือนสั่งสอนให้ผู้ประพฤติผิด คิดมิชอบเหล่านั้นได้เร่งแก้ไข หรือปรับปรุงตัวให้ดีขึ้นอย่าง”ตรงไปตรงมา” ไม่มีการอ้อมค้อมวกวนให้เสียเวลาในทันที ตามนิสสัยแห่งความเป็น”คนตรง”ของท่านได้ อย่างที่ท่านเองก็เคยกล่าวอยู่เสมอๆว่า “อาตมาคนวันเสาร์ พูดอะไรพูดตรงๆ เป็นคนขวานผ่าซาก ขี้ก็บอกว่าขี้ พูดอย่างอื่นไปเป็น...” ด้วยเหตุนี้ จึงมีทั้งพระและโยมที่มีพฤติการณ์ทางกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมที่ไม่ค่อยจะแลดูโสภาเท่าไร โดนท่านธมฺมวิตกฺโก “เคาะ”ให้ จน”สนิม”ร่วงกราวไปตามๆกัน....

ครั้งหนึ่ง มีพระภิกษุในวัดเทพศิรินทราวาสรูปหนึ่ง(ขอสงวนนามเด็ดขาด) บังเอิญได้คุยกับผู้คุ้นเคยคนหนึ่ง อย่างเป็นกันเอง พอไปๆมาๆ ก็วกเข้ามาถึงเรื่องของพระเครื่อง พระรูปนั้นก็พูดทีเล่นเชิงตลกว่า
“เอ๊ะ เราไปตั้งร้านพุทธพาณิชย์ คงจะร่ำรวยกันเป็นแน่ เพราะคนในสมัยนี้นิยมเช่าพระกันมากเหลือเกิน..” แล้วก็หัวเราะกันอย่างสบายใจ และไม่ได้คิดอะไรมาก โดยไม่ได้รู้อิโหน่อิเหน่เลยสักนิดว่า “ฟ้า”กำลังใกล้จะ”ผ่า”ลงกลางกระหม่อมอยู่อีกไม่กี่อึดใจข้างหน้านี้ แล้ว.....
ครั้นวันรุ่ง พระรูปที่พูดเล่นเรื่อง”พุทธพาณิชย์”นั้นก็ไปลงโบสถ์ทำวัตรเช้า เมื่อประจันหน้ากับท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯที่มาทำวัตรเช้าเช่นกันเข้า ก็โดนท่านเจ้าคุณธมฺมวิตกฺโกชี้หน้าต่อว่าเลยทีเดียวว่า
“คุณน่ะ ปากร้าย... ควรที่จะหัดสังวรระวังปากของคุณเสียบ้างนะ ที่พูดถึงเรื่องพุทธพาณิชย์ขึ้นมาเมื่อวันก่อนนั้น ไม่ดีเลย...”

และเมื่อต่อว่าจบลง ท่านธมฺมวิตกฺโกก็เดินจากไปอย่างไม่ไยดีแม้แต่นิดเดียว สร้างความตื่นตะลึงพรึงเพริดราวกับไก่ตาแตกให้บังเกิดแก่ภิกษุปากร้ายรูปนั้นอย่างเหลือที่จะกล่าวได้ เรื่องของเรื่อง ก็เป็นที่สงสัยกันไม่เลิกว่า ท่านธมฺมวิตกฺโกรู้เรื่องของที่ทั้งสองคนได้พูดกันได้อย่างไร ทั้งๆ ที่กุฏิก็อยู่ไกลกันมาก และท่านธมฺมวิตกฺโกก็ไม่เคยไปยังกุฏิพระรูปที่ว่านี้เลย ตลอดแม้คนที่คุยกับพระรูปดังกล่าว ก็ยังไม่ได้ไปพูดกับใครคนไหน เรื่องพุทธพาณิชย์เลยแม้แต่เพียงคำเดียว??? คงต้องยกให้เป็นเรื่องของ”ญาณหยั่งรู้” อันไร้ขอบเขตที่จำกัดของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ แต่เพียงสถานเดียวเท่านั้นแน่นอนแล้ว

“ญาณรู้” ต่างภพชาติ


ไม่เพียงแต่ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯจะมี ญาณหยั่งรู้เหตุการณ์ทั้งภายในและภายนอกอย่างดียิ่งตามธรรมดาเท่านั้น แม้แต่เรื่องราวต่างภพต่างมิติ ท่านก็ตามไปรู้ไปเห็นอย่างไม่มีใดกั้น อย่างทะลุปรุโปร่งอีกต่างหากด้วย

คราวหนึ่ง ในขณะที่มีการประกวดนางงามในงานวชิราวุธานุสรณ์ และนางงามผู้ชนะเลิศการประกวดเรียกกันว่า “นางงามวชิราวุธ” ซึ่งต่อไปได้เปลี่ยนเป็น”นางสาวไทย” นั้น ได้มีญาติโยมบางท่านเอาเรื่องนี้มาพูดคุยวิพากษ์วิจารณ์กันภายในพระอุโบสถ วัดเทพศิรินทร์ ต่อหน้าท่านเจ้าคุณนรรัตน์เสียอีกต่างหากด้วย
ทันใดนั้นเอง ท่านธมฺมวิตกฺโก ก็กล่าวขึ้นในบัดเดี๋ยวนั้นนั่นเองว่า
“พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงพอพระราชหฤทัยที่เอาพระปรมาภิไธยของพระองค์ไปใช้เรียกชื่อนางงาม ที่นุ่งน้อยห่มน้อย เป็นเชิงประกวดขาอ่อนกันเช่นนั้น..!!!!”
ทุกคนที่ได้ฟัง ต่างพากันตกตะลึงและงงงันเป็นที่สุด หนึ่งในจำนวนนั้นถึงกับโพล่งขึ้นมาเลยทีเดียวว่า
“พระเดชพระคุณได้ติดต่อกับพระองค์อยู่เสมอหรืออย่างไร จึงทราบว่า การดังนี้ไม่เป็นที่ทรงพอพระราชหฤทัย..???”
“โธ่” ท่านธมฺมวิตกฺโกพยักหน้าตอบ
คำตอบของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯนี้ เป็นคำตอบอย่างจนมุม สุดที่จะหลีกเลี่ยงตอบให้เป็นอื่นไปได้ เพราะตามปกติแล้ว ท่านธมฺมวิตกฺโกมักจะหลีกเลี่ยงในอันที่จะไม่แสดงญาณหยั่งรู้และคุณวิเศษอันใดให้เป็นที่ปรากฏทั้งสิ้น นอกจากจะเป็นการบังเอิญ ดังเช่นกรณีนี้เท่านั้น

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ชินเชาวน์ : 26-02-2009 เมื่อ 14:21
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 19 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #10  
เก่า 25-02-2009, 19:52
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 260
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,192 ครั้ง ใน 1,278 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

อภินิหารพระเครื่องในทัศนะของท่านธมฺมวิตกฺโก

ในช่วงปีท้าย ๆ ก่อนที่ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ จะมรณภาพนั้น รู้สึกว่าท่านจะได้ตั้งใจอธิษฐานจิต และแผ่เมตตาลงในพระเครื่องมากมายเป็นกรณีพิเศษ โดยครั้งหลังสุดนั้น เมื่อ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ นั้น พระเครื่องและวัตถุมงคลมีมาก ถึงกับล้นออกมานอกพระอุโบสถวัดเทพศิรินทร์O โดยมีผู้คะเนว่า มีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า ๓ ตันเลยทีเดียว ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้แก่หลายคนหลายท่านเป็นอย่างยิ่ง
เชื่อกันว่า การที่ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ ยินยอมอธิษฐานจิตพระเครื่องวัตถุมงคลให้เป็นพิเศษในช่างหลัง ๆ นั้น แสดงว่าท่านจะต้องสำเร็จธรรมชั้นสูงอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วอย่างไม่ต้องสงสัย ดังจะเห็นได้จากการที่ท่านได้ทุ่มเทศึกษา ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจจิต จนสามารถใช้ผจญกับโรคร้าย ความเจ็บไข้ และอสรพิษได้ผลอย่างน่าทึ่งมาแล้ว


และไม่ต้องสงสัย ท่านธมฺมวิตกฺโกก็มั่นใจในพลังและอำนาจจิตของท่าน ที่ได้บรรจุพุทธานุภาพลงในสิ่งมงคลสักการะทั้งหลาย ว่ามีอิทธิปาฏิหาริย์จริง สามารถช่วยให้บุคคลทั้งหลายแคล้วคลาดจากอุปัทวันตราย และส่งเสริมให้ประสพกับความสุขสมหวังและความสำเร็จต่าง ๆ ในชีวิตได้จริง โดยท่านได้ให้อรรถาธิบายไว้อย่างชัดเจนว่า “ในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่องนั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปได้จริงในเรื่องของอำนาจจิต แต่ต้องเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างผู้สร้าง (เสก) กับผู้นับถือ


ขั้นแรกนั้น ผู้สร้างคือผู้ที่ถ่ายทอดอำนาจจิตลงในพระเครื่องนั้นจะต้องเป็นผู้มีอำนาจจิตสูง มีศีลบริสุทธิ์ และถ่ายทอดพลังอำนาจปราณลงไปอย่างไม่เห็นแก่อามิสสินจ้างใด ๆ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ส่วนผู้นับถือก็จะต้องมีความศรัทธาอย่างจริงใจ มีจิตเพ่งอยู่กับวัตถุศักดิ์สิทธิ์ จนเกิดเป็นพลังจิตของตนเองขึ้นด้วย จนกลายเป็นความเชื่อมั่น นี้จึงจะเป็นเหตุให้เกิดอำนาจและบุญฤทธิ์...”


ด้วยเหตุดังกล่าวมา ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ จึงได้เมตตาสั่งกับนายสุวัฒน์ เด็กหนุ่มเชื้อจีนแถวสี่แยกวัดตึก ซึ่งเคยฝันเห็นท่านระหว่างที่ตนเองเจ็บป่วยมาก่อน ต่อเมื่อหายแล้วจึงได้เพียรมากราบองค์จริงถึงที่วัด และเกิดความศรัทธามั่นในองค์ท่านเป็นอย่างยิ่งว่า “คุณ พระนี่ช่วยได้นะ ไม่จำเป็นอย่าไปปล่อย...” นี้ย่อมเป็นเครื่องยืนยันได้อย่างสิ้นสงสัยว่า ท่านธมฺมวิตกฺโกมีความเชื่อมั่นและมั่นใจในพลานุภาพของพระเครื่อง ที่ประจุด้วยอำนาจจิตที่ฝึกมาดีแล้วเพียงไร??

“จะเอาอะไรกับรูปสมมุติคนหัวโล้น ???”

ในช่วงหลัง ๆ ที่ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯได้เริ่ม ”เปิด” โดยการอธิษฐานจิด ”สิ่งมงคลสักการะ” คือพระเครื่องรางตลอดจนวัตถุมงคลทั้งหลาย เป็นอนุสสติแก่พุทธศาสนิกชนนั้น เป็นที่น่าสังเกตว่า ในการขออนุญาตสร้างพระแต่ละรายนั้น จะเป็นรูปของพระพุทธทั้งสิ้น จะไม่มีรูปเหมือนของท่านเข้ามาปะปนเลย และหากแม้ว่าจะมี ส่วนใหญ่มักจะ ”ลักทำ” รูปเหมือนท่านมาก่อน และ ”ซุก” ในหีบห่อพระพุทธให้ท่านปลุกเสกไปพร้อมกัน ซึ่งท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ ท่านมักจะบ่นอยู่เสมอว่า ไม่เป็นการที่สมควรว่า “จะเอาอะไรกับรูปสมมุติคนหัวโล้น ไม่สวยไม่งาม เอาไปกราบไหว้บูชาทำไมกัน.?? เหตุที่เป็นนี้ ก็หาได้เกิดจากการที่ท่านถือโชคถือลางอันใดว่าจะเป็นเหตุให้ท่านต้อง ”อายุสั้น” ทั้งสิ้นแต่อย่างไรไม่ สมดังที่ท่านได้เคยกล่าวกับอดีตท่านเจ้าคุณอุดมฯ ไว้คราวหนึ่งว่า “เขาถือ เขาไม่ทำกัน ในเมื่อคนยังไม่ตาย แต่ฉันไม่ถือหรอก”

ก็การที่ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ ไม่นิยมให้สร้างรูปเหมือนของท่านเองนั้น ก็เป็นด้วยท่านเห็นว่าเป็นการอวดตัวหรือการโฆษณาตัวเองมากกว่า ซึ่งท่านไม่ชอบ พูดอย่างง่าย ๆ ก็คือ ท่านไม่อยาก “ดัง” นั่นเอง ด้วยเหตุดังนี้ เมื่อมีผู้นำพระรูปเหมือนของท่านไปขอให้ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ อธิษฐานจิต ท่านจึงมักจะทักท้วงโดยประการต่าง ๆ พร้อมกับให้ ”ไอเดีย” ใหม่ ๆ อยู่เสมอ ๆ ว่า “ทำไมไม่ทำพระนาคปรกบ้างเล่า..?” “พระแก้วทำไมไม่ทำบ้าง เพราะเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง..??” “นี่คุณ ทำไมไม่สร้างพระสมเด็จบ้างเล่า ทำแต่รูปอาตมาหัวโกร๋น คนชอบเขาก็ว่าดี เอาไปไหว้บูชา คนไม่ชอบก็ว่ารูปคนแก่หัวโกร๋น..???” โดยเหตุดังพรรณนามานี้ พระพิมพ์นาคปรก พระพิมพ์สมเด็จ พระพิมพ์พระแก้วมรกต ฯลฯ จึงได้บังเกิดขึ้นมาในรูปแบบต่าง ๆ ให้บรรดานักนิยมพระเครื่องได้สะสมบูชากันเป็นที่สนุกสนานสำราญบานใจ และเจริญความเลื่อมใสศรัทธากันอย่างเหลือล้นมาจนถึงทุกวันนี้

และเกี่ยวกับเรื่องของการสร้าง ”รูปเหมือน” นั้น ท่านธมฺมวิตกฺโก ได้เคยกล่าวเป็นคติไว้อย่างน่าฟังยิ่งว่า


“พระสงฆ์สมัยนี้เป็นอันมาก ชอบสร้างรูปตัวเองให้คนอื่นเอาไปกราบไหว้บูชา เป็นการโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณและอภินิหารของตัวเอง เป็นการกระทำที่เสี่ยงอันตรายเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะเป็นการอาบัติ ด้วยเป็นการอวดอ้างคุณวิเศษของตัว....”

แต่... “ถ้าหากพระรูปนั้นมีคุณวิเศษเก่งแท้แน่จริงก็ไม่เป็นไร...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-01-2019 เมื่อ 03:05
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 18 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #11  
เก่า 25-02-2009, 19:53
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 260
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,192 ครั้ง ใน 1,278 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

วิธีการอาราธนาพระเครื่องของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ

ขั้นต้น ให้ตั้ง นะโม ๓ จบก่อน
จากนั้น จึงระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระอริยสังฆคุณ โดยมีท่านธมฺมวิตกฺโกเป็นที่สุด แล้วจึงอธิษฐานขอให้เกิดอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ดังต่อไปนี้ คือ ” พระเมตตา มหาเสน่ห์ มหานิยม อุดมลาภ มหาลาภ มหาอุด อยู่ยงคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดอุปัทวันตราย หายตัวได้ (นิพพาน)”


ส่วนคาถาที่ใช้อธิษฐานก็คือ
“สิทฺธะมัตถุ สิทธะมัตถุ สิทธะมัตถุ อิทัง ผะลัง
เอตัสสะมิง รัตตะนัตตะยัสสะมิง สัมปะสาทะนะ เจตะโส”


ซึ่งมีความหมายว่า
“ด้วยอานุภาพแห่งความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยนี้ ขอจงเป็นผลสำเร็จ ขอจงเป็นผลสำเร็จ ขอจงเป็นผลสำเร็จ”


“อภินิหาร”ไม่เหนือ”กฏแห่งกรรม”

แต่ไม่ว่าท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ จะเป็นพระผู้ทรงจิตตานุภาพสูง และมีฤทธิ์อภิญญามากมาย จนสามารถถ่ายทอดอำนาจปราณลงในสิ่งมงคลสักการะ จนมีกฤษฏาภินิหารยิ่งใหญ่ในสถานใด แต่นั่นก็มิได้หมายความว่า ท่านธมฺมวิตกฺโกจะสั่งสอนให้ผู้คนหลงใหลงมงายอยู่กับเรื่องของพระเครื่องและอิทธิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ อยู่ดี สมดังที่ท่านได้เคยกล่าวกับคุณอธึก สวัสดิมงคล นายกยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี พร้อมกับชี้ไปยังหีบห่อวัตถุมงคลที่ท่านเพิ่งอธิษฐานจิตเสร็จมาสด ๆ ว่า “ทั้งหมดนี้ สู้ธรรมะไม่ได้..”

นอกจากนี้ ท่านธมฺมวิตกฺโกก็ยังได้กล่าวถึงเรื่องนี้กับบุคคลใกล้ชิดบางท่านไว้อีกด้วยว่า


“จริง ๆ แล้ว อาตมาไม่อยากที่จะอธิษฐานจิตพระเครื่องนัก เพราะหากใครที่ได้พระเครื่องของอาตมาไป และทำไม่ดีแล้ว ในขั้นต้นพระเครื่องอาจจะเป็นกำลังให้มีกำลังกล้าแข็งขึ้นในเบื้องต้น ซึ่งเป็นเรื่องขออำนาจจิต แต่เขาก็จะต้องประสพกับความวิบัติในบั้นปลายตามผลกรรมที่ได้ทำไว้เอง...” และแม้ที่สุด ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ก็ยังได้เคย ”กำราบ” นายแพทย์สุพจน์ ศิริรัตน์ ผู้มีความเคารพนับถือท่านอย่างแน่นแฟ้นท่านหนึ่งว่า ”เรียนมาเสียเปล่า มาหลงงมงายอะไรกับเรื่องพรรค์นี้” ที่มาโต้แย้งเรื่องของอภินิหารพระเครื่องกับท่าน ซึ่งนายแพทย์สุพจน์นั้น มีความเชื่อมั่นอย่างสุดใจ เพราะทดลองยิงพระมามาก และมีหลายองค์ที่ยิงไม่ออกอย่างสนิท ให้เป็นที่ประจักษ์แจ้งแก่สายตาว่า “หมอเคยเห็นหรือเคยได้ยินข่างเรื่องโจรผู้ร้ายที่แขวนพระไว้เต็มคอ แต่แล้วก็กลับถูกตำรวจยิงตาย หรือไม่ก็ถูกจับได้ ต้องไปติดคุกบ้างไหม? ถึงแม้จะมีพระอยู่เต็มคอ ก็ช่วยอะไรไม่ได้ใช่ไหม??”


ว่าแล้ว ท่านธมฺมวิตกฺโก ก็สำทับในที่สุดว่า “อภินิหารนั้นหนีกฏแห่งกรรมไม่พ้น”

ดังที่กล่าวมาทั้งหมด จะเป็นที่แจ้งใจทั่วกันแล้วว่า แม้ท่านธมฺมวิตกฺโกจะตั้งใจอธิษฐานจิตลงในพระเครื่อง ด้วยความเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมว่ามีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ สามารถปกป้องคุ้มครองผู้สักการะบูชาได้จริง แต่ผู้มีพระเครื่อง ก็จะต้องประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดา เจ้าของที่มาแห่งองค์พระปฏิมานั้น ๆ ด้วย จึงจะสามารถประสบกับอิทธิปาฏิหาริย์อันสูงสุดในพระพุทธศาสนานี้ อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล จนถึงที่สุดได้อย่างไม่มีสิ่งมงคลใดจักดลบันดาลให้เสมอเหมือนได้เลย


ทำดี ดีกว่าขอพร” และ “จงเลือกทำแต่กรรมที่ดี ๆ นะ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-01-2019 เมื่อ 03:09
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 17 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #12  
เก่า 25-02-2009, 19:54
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 260
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,192 ครั้ง ใน 1,278 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

จิตตานุภาพ

จิตตานุภาพ คืออานุภาพของจิต แบ่งเป็น ๓ ประเภทคือ
๑. จิตตานุภาพบังคับตนเอง
๒. จิตตานุภาพบังคับผู้อื่น
๓. จิตตานุภาพบังคับเคราะห์กรรม

จิตตานุภาพบังคับตนเอง
“ตนของตนย่อมเป็นที่พึ่งแก่ตนเอง”


เหตุนี้จึงต้องหัดบังคับตนเอง ผู้อื่นถึงจะเป็นศัตรู ก็ไม่เท่าตนเป็นศัตรูต่อตนของตนเอง ถ้ายังไม่สามารถบังคับตนของตนเองให้ดีได้แล้ว ก็อย่าหวังเลยว่าจะบังคับผู้อื่นให้ดีได้
จิตตานุภาพบังคับตนเองมี ๗ ประการ
๑. บังคับความหลับและความตื่น
๒. ทำความคิดให้ปลอดโปร่งว่องไวในเวลาตื่นขึ้นแล้ว
๓. เปลี่ยนความคิดได้ตามต้องการ
๔. สงบใจแม้เมื่อตกในอันตราย
๕. เปลี่ยนนิสัยความเคยชินของตัวจากร้ายเข้ามาหาดี
๖. ตรวจตราตัวของตัวเป็นครั้งคราวโดยสม่ำเสมอ
๗. ป้องกันรักษาด้วยจิตตานุภาพ

๑. บังคับความหลับและตื่น การหัดนอนให้หลับสนิทเป็นกำลังสำคัญยิ่งนัก เหตุที่ทำให้นอนไม่หลับมี ๒ ประการคือ
๑.๑ ร่างกายไม่สบายพอ
๑.๒ ความคิดฟุ้งซ่าน

อาหารที่ย่อยยากก็เป็นเหตุให้ร่างกายไม่สบายพอ ควรนอนตะแคงข้างขวา ถ้านอนหงายก็ควรให้เอียงขวานิดหน่อย ถ้าต้องการพลิก ก็ควรพลิกจากขวานิดหน่อยแล้วกลับตะแคงขวาตามเดิม นอนย่อมให้อวัยวะทุกส่วนผ่อนพัก อย่าให้เกร็งตึง และไม่ควรตะแคงซ้าย

เวลานอน ถ้าจิตฟุ้งซ่าน ควรคิดถึงอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งแต่สิ่งเดียว ครั้นแล้วก็เลิกละ ไม่คิดสิ่งนั้นและไม่คิดอะไรอื่นต่อไปอีก กระทำใจให้หมดจด เหมือนน้ำที่ใสสะอาด

ควรบังคับตัวให้ตื่นตรงตามเวลาที่ต้องการ ก่อนนอนต้องคิดให้แน่แน่ว สั่งตนเองให้ตื่นเวลาเท่านั้น นึกแน่วอยู่อย่างเดียวว่าจะต้องตื่นเวลาเท่านั้น เมื่อถึงเวลาก็จะตื่นได้เองตามประสงค์


๒. ทำความคิดให้ปลอดโปร่งว่องไวในเวลา ตื่นขึ้น อย่าให้เซื่องซึม “ต้องเอาความคิดในเวลาตื่นเช้า ไปประสานติดต่อกับความคิดที่เราทิ้งไว้เมื่อวันวานก่อนที่จะนอนหลับ” ก่อนนอนควรจดบันทึกกิจการที่เราจะต้องทำในวันรุ่งขึ้นนั้นไว้ในกระดาษแผ่นหนึ่งเสมอ พอตื่นขึ้นก็หยิบดู เพื่อปลุกความคิดให้ตื่น


๓. เปลี่ยนความคิดได้ตามต้องการ คือเมื่อต้องการคิดอย่างใด ก็ให้คิดได้อย่างนั้น ทิ้งความคิดอื่น ๆ หมด และเมื่อไม่ต้องการคิดอีกต่อไป จะคิดเรื่องอื่น ก็ให้เปลี่ยนได้ทันที และทิ้งเรื่องเก่าโดยไม่เอาเข้ามาพัวพัน คือทำใจให้เป็นสมาธิอยู่ที่กิจเฉพาะหน้า การเปลี่ยนความคิดเป็นเหตุให้ห้องสมองมีเวลาพักชั่วคราว ทำให้สมองมีกำลังแข็งแรงขึ้น


๔. สงบใจได้แม้เมื่อตกอยู่ในอันตราย หรือประสพทุกข์ อย่าให้เสียใจ หมดสติ สะดุ้งดิ้นรนจนสิ้นปัญญาแก้ไข เกิดความท้อถอยไม่ทำอะไรต่อไป ความสงบไม่ตื่นเต้นเป็นเหตุให้เกิดปัญญาประกอบกิจให้สำเร็จได้สมหวัง เราจะแก้ไขเหตุร้ายที่เกิดขึ้นแก่เราได้นั้น ก็มีทางจะทำได้อยู่ ๒ ขั้น


๔.๑ ต้องสงบใจมิให้ตื่นเต้น
๔.๒ ต้องมีความมานะพยายาม
วิธีที่สงบใจที่ดีที่สุด คือหายใจยาวและลึก


๕. เปลี่ยนนิสัยความเคยชินของตัวจาก ร้ายเข้ามาหาดี การขืนใจตัวเองชั่วขณะหนึ่ง อาจเป็นผลดีแก่ตัวเองตลอดชีวิต แต่การทำตามใจตัวขณะเดียว ก็อาจเป็นผลถึงกับทำลายชีวิตของเราได้เหมือนกัน


๖. ตรวจตราตัวของตัวเป็นครั้งคราวโดย สม่ำเสมอ ให้ทราบว่ากำลังใจมั่นคงขึ้นหรือไม่ ฝ่ายกุศลเจริญขึ้นหรือไม่ ฝ่ายอกุศลลดน้อยเบาบางลงหมดสิ้นไปหรือไม่ ใจยังสะดุ้งดิ้นรนหวั่นไหวอยู่หรือไม่


๗. ป้องกันรักษาตัวด้วยจิตตานุภาพ การสะดุ้งตกใจหรือเสียใจ ความกลัว เป็นเหตุให้เกิดโรคและโรคกำเริบ และเป็นเหตุให้คนดี ๆ ตายได้ คนไข้ถ้าใจดีหายเร็ว ความไม่กลัวตายรอดอันตรายได้มากกว่ากลัวตาย ความพยายามและอดทนเป็นเหตุให้สำเร็จสมประสงค์

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-01-2019 เมื่อ 03:12
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 17 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #13  
เก่า 25-02-2009, 19:55
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 260
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,192 ครั้ง ใน 1,278 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

จิตตานุภาพบังคับผู้อื่น

จิตตานุภาพอย่างอ่อน สามารถใช้สายตา น้ำเสียง และด้วยกระแสจิตประกอบคำพูด ซึ่งจะเป็นเครื่องจูงใจคนให้เชื่อฟัง ลักษณะไม่หวาดหวั่นครั่นคร้ามต่อใครๆนั้น ไม่ใช้ชีวิตหัวดื้อบึกบึน ซึ่งไม่นับว่าเป็นจิตตานุภาพ ต้องเป็นคนสุภาพสงบเสงี่ยมเคารพนบนอบต่อบุคคลที่ควรเคารพ แต่ทว่าหัวใจของคนชนิดนั้น ไม่หวาดหวั่นเกรงกลัวใคร และสามารถแสดงให้เห็นว่า ตัวเป็นมนุษย์คนหนึ่งอยู่ในโลก และเป็นมนุษย์ที่รู้จักคิด รู้จักพูด รู้จักทำ

คนที่สามารถเป็นนาย ตนเอง ไม่ตกเป็นทาสของหัวใจคนอื่น และสามารถดูดดึงหัวใจคนเข้ามาเชื่อฟังเกรงกลัวนั้น ถ้าสังเกตให้ดีแล้ว จะเห็นได้ว่ามี ๔ ประการ
๑. สายตาแข็ง มีอำนาจในตัว
๒. เสียงชัดแจ่มใส
๓. ท่าทางสงบเสงี่ยมและเป็นสง่า
๔. รู้จักวิธีชักจูงหัวใจคนให้หันเข้ามาอยู่ในคลองความคิดของตัว
พยายามอ่านหนังสือหน้าหนึ่งโดยไม่กะพริบตาเลย ทำให้สายตาแข็งได้
อ่านหนังสืออย่างช้าๆ ให้ชัดถ้อยคำทุกๆตัว และให้ได้ระยะเสมอกัน ทำให้เสียงชัดแจ่มใส
เวลาพูด พยายามพูดให้เป็นจังหวะ อย่าให้ช้าบ้างเร็วบ้างและให้ชัดถ้อยคำเสมอ ไม่ให้อ้อมแอ้มหรือกลืนคำเสียครึ่งหนึ่ง เป็นการฝึกหัดให้เสียงชัดเจนแจ่มใส
บุคคลที่มีสง่า คือคนที่บังคับร่างกายให้อยู่ในอำนาจหัวใจได้เสมอ มีท่าทางสงบเสงี่ยมเป็นสง่า ไม่แสดงอาการโกรธ เกลียด กลัว รัก เกลียด ขมขื่น ตกใจ สะดุ้ง เศร้าโศก ถ้าปรากฏไม่ทำอิริยาบถเคลื่อนไหวอันใดโดยไม่จำเป็น และโดยบอกความกำกับของใจ มีหน้าตาแจ่มใส อิริยาบถสงบเสงี่ยมเป็นสง่าอยู่ทุกขณะ การเคลื่อนไหวทุกอย่างทำด้วยความหนักแน่นมั่นคง อย่าให้รวดเร็วจนเป็นการหลุกหลิกหรือผึ่งผายจนเป็นการเย่อหยิ่ง หรืออ่อนเปียกจนเป็นการเกียจคร้าน ในเวลายืน ให้น้ำหนักถ่วงตัวอยู่ทั่วตัวเสมอ ไม่ให้ถ่วงแต่ส่วนใดส่วนหนึ่ง

รู้จักใช้วิธีชักจูงหัวใจคนให้หันเข้ามาในคลองความคิดของเรา
๑. หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดมีสิ่งที่จะชักจูงให้เขาละทิ้งข้อแนะนำของเรา
๒. จูงใจเขาให้หันเข้ามาในทางที่เราต้องการทุกที

วิธีป้องกันตัวไม่ให้จิตตานุภาพของคนอื่นบังคับเราได้
ให้ทำมโนคติให้เห็นประหนึ่งว่า กระแสดวงจิตของเราแผ่ซ่านป้องกันอยู่รอบตัวเรา จิตตานุภาพของผู้อื่นไม่สามารถจะเข้าถึงตัวเราได้ ให้ทำเวลาเข้านอนครั้งหนึ่ง และขณะที่อยู่ใกล้กับบุคคลที่เราระแวงว่า เขาจะให้จิตตานุภาพบังคับเรา

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ชินเชาวน์ : 15-07-2009 เมื่อ 11:35
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 17 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #14  
เก่า 25-02-2009, 19:56
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 260
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,192 ครั้ง ใน 1,278 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

พลังจิตเหนือเคราะห์กรรม

เป็นธรรมดาของสัตว์โลกทั้งหลายย่อมมี กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นพวกพ้อง มีกรรมเป็นที่พึ่งพาอาศัยและมีกรรมเป็นของๆตน ด้วยเหตุนี้ คนสัตว์ทั้งหลายย่อมต้องประสพสุขบ้าง ทุกข์บ้างสลับกันไปตามวาระกรรมที่ตนเองได้เคยกระทำไว้เองแต่ในกาลก่อน ไม่ว่าจะเป็นชาตินี้ หรือชาติไหนๆก็ตาม
แต่ก็เป็นธรรมดาของสัตว์โลกทั้งหลาย อีกนั่นแหละ ที่มักจะไม่ค่อยจะยอมรับความจริงในเรื่องของ”กฏแห่งกรรม” โดยเกือบร้อยละ ๙๙.๙๙ มักจะนิยมชมชอบในการที่จะแหกกฏโดยการไปให้เกจิอาจารย์ ตลอดจนร่างทรงทั้งหลายพ่นน้ำหมาก ขากน้ำมนต์ ปัดรังควาน สะเดาะเคราะห์ แก้กรรมในเชิงไสยศาสตร์อะไรต่อมิอะไรให้วุ่นวายไปหมด ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการหนีความจริงแต่เพียงชั่วคราว (ซึ่งจริงๆในที่สุดแล้ว ก็หนีไม่พ้น แถมยังจะต้องเสีย”ดอกเบี้ย”จากการที่อุตริไป”ยืดเวลา”การ”ใช้กรรม” จนหนี้กรรม”ทบต้น”อย่างไม่รู้จะกี่เท่าต่อกี่เท่าจนงอมพระรามไปตามๆกันใน ภายหลังอีกด้วย
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านธมฺมวิตกฺโก ท่านก็หาได้เคยสอนวิธี”ตัดกรรม”หรือ”สะเดาะเคราะห์”นอกลู่นอกทางพระพุทธ ศาสนาอันบริสุทธิ์แต่อย่างไรไม่แม้แต่เพียงครั้งเดียว แต่ท่านกลับมีวิธีที่”ตรง”และ”ชาญฉลาด”ยิ่งกว่าในการเผชิญและเอาชนะเคราะห์ กรรมที่จำต้องประสพไว้อย่างพร้อมมูล โดยท่านได้รจนาเอาไว้ด้วยองค์เองในเรื่อง”จิตตานุภาพบังคับเคราะห์กรรม” ซึ่งมีรายละเอียดที่น่าสนใจอย่างยิ่งดังนี้

“จิตตานุภาพบังคับเคราะห์กรรม”


เครื่องมือที่จะชักนำเคราะห์ดีเข้ามา คือ ความพยายามเข้มแข็ง ไม่ท้อถอย หนักแน่น ระมัดระวัง เชื่อแน่ในความพากเพียรบากบั่นของตัว มักจะเป็นคนเคราะห์ดีอยู่เสมอ และมีคุณสมบัติอื่นอีกคือความมุ่งหมาย และอย่าให้นึกถึงเคราะห์ร้าย ตั้งความมุ่งหมายถึงผลอันใดในชีวิตไว้เท่านั้น เพื่อให้ก้าวหน้ามุ่งตรงไปจนบรรลุสมประสงค์
ความมุ่งหมายจำต้องให้สูงไว้เสมอ เพื่อจะได้มีความพยายามอย่างสูงด้วย แต่การก้าวไปสู่ที่มุ่งหมายนั้น ต้องก้าวอย่างระมัดระวัง ไม่ก้าวผิด “ควรมีความปรารถนาให้สูงอยู่เสมอ แต่จะต้องระมัดระวังมิให้เดินพลาด”
การไม่ยอมแพ้เคราะห์ร้าย เป็นเหตุให้เคราะห์ร้ายพ่ายแพ้ไปเองเมื่อประสพเคราะห์
๑. จะต้องไม่ใจเสีย เชื่อมั่นในความรู้ความสามารถของตัว รวบรวมกำลังให้พรั่งพร้อม
๒. ตั้งความมุ่งหมายให้ดี และตกลงแน่ว่าจะมุ่งไปทางไหน
๓. ใช้ความระมัดระวังให้มากขึ้น กุมสติให้มั่น อย่างไรก็ดี จะปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรมทำการต่อสู้ดังกล่าวแล้วนั้นไม่ได้เป็นอันขาด

การต่อสู้กับเคราะห์
๑. จะต้องสงบใจ ไม่ตื่นเต้น ไว้ใจตัวและเชื่อแน่ว่า เรามีจิตตานุภาพเป็นเครื่องมือรวบรวมกำลังสติปัญญาของเราให้พรั่งพร้อม เช่นเดียวกับนายเรือที่ไม่รู้จักเสียใจ รวบรวมกำลังเรือและกำลังคนให้บริบูรณ์
๒. ต้องยึดที่หมายให้แน่น กล่าวคือระลึกถึงผลที่เราต้องการบรรลุนั้นให้แน่วแน่ยิ่งขึ้น เปรียบเสมือนนายเรือที่ตั้งเข็มทิศให้ตรงและให้รู้แน่ว่าจะต้องการให้เรือ บ่ายเบี่ยงไปทางไหน
๓. ใช้ความระมัดระวังให้มากยิ่งกว่าเมื่อก่อนจะเกิดเหตุร้ายอีกหลายเท่า และความวินิจฉัยที่ถูกต้อง ทำทางปฏิบัติของเราเหมือนอย่างหางเสือเรือที่จะช่วยให้เรือบ่ายเบี่ยงไปทาง ทิศที่ต้องการจะไป
๔. ไม่สามารถจะก้าวไปข้างหน้าได้ ก็อย่าถอยหลัง ให้หยุดอยู่กับที่
๕. ให้รู้สึกว่า เคราะห์นั้นทำให้เราดีขึ้น เป็นครูของเรา เป็นผู้เตือนเรา เป็นผู้ลวงใจเรา อย่าเห็นว่าเคราะห์กรรมเป็นของเลว ไม่น่าปรารถนา ควรคิดว่าเป็นของดีที่ชอบ ทำให้เราเข้มแข็งมั่นคงขึ้น ให้รู้สึกเสมอว่าเราเกิดมาเรียนทั้งเคราะห์ร้ายและเคราะห์ดี เคราะห์เป็นบทเรียนของเรา ที่จะทำให้เราแจ้งโลก แล้วจะได้พ้นโลก ดังนี้ จะไม่รู้จักเคราะห์ร้ายเลยในชีวิต

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ชินเชาวน์ : 15-07-2009 เมื่อ 11:35
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 15 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #15  
เก่า 25-02-2009, 19:57
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 260
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,192 ครั้ง ใน 1,278 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

การให้พรของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ
ภายหลังจากที่ท่านเจ้าคุณ ธมฺมวิตกฺโกได้สนทนาธรรมกับศรัทธาญาติโยมทั้งหลายที่มากราบนมัสการเสร็จสิ้นลง ท่านก็มักจะให้พรด้วยประโยคสำคัญที่ว่า
“ขอให้มีความสุขความเจริญ เจริญยิ่งๆขึ้นไป...” และ “ให้ทำแต่กรรมที่ดีนะ จะได้มีความสุข"

“ตาย”ง่ายกว่า”อยู่”
ครั้งหนึ่ง ท่านธมฺมวิตกฺโกได้ปรารภกับคุณโกศล ปัทมสุนทร หลานชายของท่านว่า
“โกศล...ตายแล้วก็สามารถช่วยคนได้ดีกว่าอยู่อีกนะ ขอเพียงแต่เราอธิษฐานจิตถึงกันและกันได้เท่านั้น...!!!”
และ
“กระแสจิตเปรียบเหมือนเครื่องส่งวิทยุนะ ถ้าจูนเครื่องตรงกัน ก็สามารถติดต่อกันได้....”
แต่....
“ถ้าเครื่องส่งมีกำลังส่งมากเพียงไร แต่เครื่องรับจูนเครื่องไม่ตรงกัน ก็ไม่สามารถรับได้....”
นี้ก็ย่อมหมายความว่า แม้ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ จะละสังขารอันเป็นของกลางโลกอันเป็นภาระหนักที่จะ ต้องมีการแก่ การเจ็บ การตายเป็นธรรมดาไปแล้วแม้เพียงไร แต่หากผู้ที่เคารพเลื่อมใสในองค์ท่านตั้งจิตอธิษฐานต่อจิตแห่งท่าน ธมฺมวิตกฺโกอย่างแน่วแน่มั่นคงแล้วไซร้ ท่าน ธมฺมวิตกฺโกก็ย่อมจะสามารถรับรู้และแผ่บารมีมาให้ความสงเคราะห์อนุเคราะห์ได้อยู่เสมอในที่ทุกสถาน ตลอดกาลทุกเมื่อ หาระหว่างมิได้เลย


ผ้าขี้ริ้วห่อทอง

เกี่ยวกับการวางตัวในสังคม ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ ก็เคยสอนคุณโกศล ปัทมสุนทร หลานชายของท่าน(บุตรชายของน้องสาวท่านธมฺมวิตกฺโก)ไว้คราวหนึ่งว่า
“ โกศล....ให้ทำตัวเหมือนผ้าขี้ริ้วห่อทองนะ ไม่โอ่อ่า ให้อ่อนน้อมถ่อมตนนะ แต่งกายให้สะอาดเรียบร้อย ไม่ต้องประดับประดาอะไรมากมาย มีกายวาจาสงบเรียบร้อย.......”

หมายเหตุ., คำสอนของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ ในตอนนี้ ช่างเป็นการที่ ”ดีงาม” และ ”ผู้ดี” มากๆ โดยแท้ ซึ่งสอดคล้องกับสุภาษิตบทหนึ่งของท่านที่ว่า “ของจริงนิ่งเป็นใบ้ ของพูดได้นั้นไม่จริง” ซึ่งตรงกันข้ามกับคนเป็นอันมากในสมัยนี้ ที่มักนิยมบำเพ็ญตนเป็นแบบ ”ผ้าขี้ริ้วปิดทอง” ซ่อนความสกปรก ร้ายกาจไว้ภายหลังฉากหน้าอันแสนจะหรูหรา สวยสดงดงามชวนฝันกันเกลื่อนบ้านเกลื่อนเมืองไปหมด ซึ่งมักมีเลศนัยและอันตรายแฝงอยู่ภายในอย่างเหลือล้น ฉะนั้น ขอให้ทุกท่านจงระมัดระวังตนของตนให้พ้นจากพวก ”ผ้าขี้ริ้วปิดทอง” ทั้งหลาย ให้จงดีเถิด

“มธุรสวาจา”
เมื่อโกศล หลานชายของท่านแต่งงานกับจำเนียร ปัทมสุนทรแล้ว ในยามใดที่คุณโกศลพาภรรยามากราบท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ ก็มักจะเรียกหา”หลานสะใภ้” ของท่านว่า “คุณ...” ทุกคำ จนหลานสะใภ้รู้สึกเกรงใจท่านมาก เลยกราบเรียนไปว่า ให้ท่านธมฺมวิตกฺโกเรียกชื่อของนางเฉยๆ ก็ได้ฯ
แต่ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯกลับตอบว่า “การพูดจาไพเราะเพราะพริ้งนั้น เป็นสง่าราศีแก่ตัวเราเอง และเป็นการยกย่องผู้ถูกเรียกด้วย.....”

หมายเหตุ สำหรับผู้ที่นิยมการพูดคำด่าคำ หรือก่อนที่จะอ้าปากเปล่งวาจาอะไรได้ จะต้องมี ”อินโทร” เป็น ”ตัวเงินตัวทอง” หรือ ”สารพัดสัตว์สิ่งเดียรัจฉาน ๑๐๘” มาอารัมภบทเสียก่อน ก็น่าที่จะได้คิดและตริตรองให้จงหนักทีเดียว ว่ายังจะ ”ทำลายราศี” ของตนด้วยความคะนองปากของตัวเองอยู่อีกหรือไม่...???

“ของสาธารณะ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น”

อีกครั้งที่ท่าน ธมฺมวิตกฺโกได้สอนเรื่องของ ”โลก” ให้กับหลานชายของท่านไว้อย่างลึกซึ้งและ เจ็บๆ ไม่น้อยเลยทีเดียวว่า “โกศล....ของสาธารณะ ๔ อย่าง มีศาลา(ที่พักคนเดินทาง) ,นารี (ผู้หญิง),วิถี(ทางเดิน),คงคา(แม่น้ำลำคลอง) อย่าไปจริงจังมากนะ อย่าไปปักใจมากนะ อย่าไปหลงใหลมาก เราไม่ใช้ คนอื่นก็ใช้ได้ เราไม่เอา คนอื่นก็เอาได้นะ ผิดหวังจะได้ไม่เสียใจ..........” วาจาสุภาษิตของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯบทนี้ ทั้ง “เจ็บ” และ ”แสบ” สะใจพระเดชพระคุณดีไหมเล่าขอรับ ท่านผู้ชม(อ่าน)ที่รักทั้งหลาย...????

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ชินเชาวน์ : 15-07-2009 เมื่อ 11:36
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 16 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #16  
เก่า 25-02-2009, 19:58
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 260
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,192 ครั้ง ใน 1,278 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

“เจ้าคุณนรรัตน์ฯ”กับ”เจ้าคุณอุดมฯ”

เมื่อเอ่ยถึงชื่อพระภิกษุที่ใกล้ชิด กับท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯมานานปีและสร้างพระเครื่องของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ไว้ มากที่สุด ก็เห็นจะไม่มีใครอีกแล้วที่จะเทียบเท่ากับอดีตท่านเจ้าคุณอุดมสารโสภณ(ผาสุก ขาวผ่อง) ที่ถูกจับสึกออกไปเมื่อสิบกว่าปีก่อนในคดี”เครื่องราช”อันอื้อฉาวนั่นเอง

“อดีตเจ้าคุณอุดมฯ”จะทำเองหรือไม่ทำเองอย่างไร จะผิดจริงหรือไม่จริงหรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่ใคร ๆ จะทราบให้ถ่องแท้ได้ แต่ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯท่านคงรู้การทั้งปวงมาล่วงหน้าอย่างแจ้งชัดและเคยปรารภไว้กับคนใกล้ชิดของท่านมาก่อนหน้านี้แล้วว่า
“ ท่านเจ้าคุณอุดมสารโสภณ มีบารมีมาก สร้างวัด สร้างโบสถ์ สร้างโรงเรียน ก็ทำสำเร็จได้ด้วยดี แต่ท่านจะเสียเพราะบริวารนะ....!??!”

โอวาท “๙” คำของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ

คุณประสิทธิ์ การุณยวานิช ได้ยินกิตติศัพท์ความเป็นพระสุปฏิปันโนแห่งท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯธมฺมวิตกฺโก จึงมีความศรัทธาเลื่อมใสและปรารถนาจะได้ทำบุญกับท่านด้วยเป็นอย่างยิ่ง จึงสู้อุตส่าห์ไปหาผ้าไตรมาถวายด้วยความยากเย็นนัก และเมื่อท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯรับแล้ว คุณประสิทธิ์จึงได้กราบขอธรรมะจากท่าน ซึ่งท่านธมฺมวิตกฺโกก็กรุณาอนุศาสน์สั่งสอนให้โอวาทว่า “ทุกสิ่งไม่เที่ยง อย่ายึดมั่นถือมั่น” ซึ่งท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯก็ได้ให้อรรถาธิบายสืบต่อไปอีกด้วยว่า
“๙ คำนี้เป็นหัวใจของธรรม ขอให้ท่องจำไว้ แล้วพิจารณาอยู่เสมอ ก็จะเห็นความจริง แลเมื่อปฏิบัติตามแล้ว จะเกิดความสุข ไม่เดือนร้อนต่อไปตลอดชีวิต.....”

เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ ท่านหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี พระอรหันต์เจ้าผู้นำแห่งโครงการ”ช่วยชาติ”ที่ลือเลื่องที่สุดในยุคนี้ ได้เล่าไว้ด้วยองค์เอง เมื่อมีผู้มาพูดกับท่านว่า
“ผมไม่เชื่อหรอกว่า ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เพราะท่านไม่ได้อยู่ป่า ไม่ได้เที่ยวธุดงค์ ไม่ได้ไปวิเวกตามป่าเขาลำเนาไพร และท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯก็ไม่เคยออกจากวัดไปไหนเลยด้วย....”

เมื่อได้ฟัง หลวงตามหาบัวจึงตอบกลับไปว่า
“คนที่มีความรู้แค่ ป.๓ จะไปมีความรู้เทียบเท่าชั้น ป.๗ ไม่ได้ คนที่มีความรู้ ป.๗ จะมีความรู้เทียบเท่าคนที่จบปริญญาตรีไม่ได้ ฉะนั้น จะไปด่วนสรุปอย่างนั้นไม่ได้นะ...!!!!”
และท่านหลวงตามหาบัวก็ยังได้ย้อนรำลึก ถึงเหตุการณ์ครั้งอดีตให้ฟังอีกด้วยว่า ในสมัยก่อน เมื่อกว่า ๓๐ กว่าปีที่แล้ว เมื่อหลวงตาได้เดินทางลงมายังกรุงเทพมหานคร และได้ไปพักที่วัดเทพศิรินทร์ หลวงตามหาบัวในฐานะเป็นพระอาคันตุกะก็ได้ลงโบสถ์ทำวัตรเช้าวัตรค่ำที่พระ อุโบสถ วัดเทพศิรินทร์เช่นเดียวกับพระวัดเทพศิริทร์ด้วย

เพราะด้วยเหตุที่ท่านได้ยินกิตติศัพท์ของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯมาก่อนหน้านี้แล้ว หลวงตามหาบัวจึงได้ ”คิด” ว่า จะไปสนทนาธรรมด้วยท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯสักครา และในขณะที่ลงทำวัตรนั่นเอง เหมือนจะรู้ใจของหลวงตามหาบัวอย่างถ่องแท้มาก่อนล่วงหน้าแล้ว ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯก็ได้หันมา ”ยิ้ม” ให้กับหลวงตามหาบัวด้วย แต่ยังไม่มีโอกาสได้พูดสนทนาสิ่งใดกัน

ครั้นเมื่อทำวัตรเสร็จ ก็เหมือนมีกรรมมาบัง เพราะบรรดาลูกศิษย์ลูกหาของหลวงตามหาบัวก็เข้ามา
กราบนมัสการหลวงตามหาบัวมากมายจนมืดค่ำถึงกว่า ๓ ทุ่มเศษ และท่านธมฺมวิตกฺโกก็กลับกุฏิไปแล้ว ทำให้หลวงตามหาบัวท่านไม่มีโอกาสได้สนทนาธรรมกับท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ เลย

ต่อมาวันรุ่งขึ้น หลวงตามหาบัวก็มีเหตุให้ต้องกลับจังหวัดอุดรธานีโดยเร่งด่วน ทำให้ไม่ได้พบกับท่านเจ้าคุณธมฺมวิตกฺโกอีกจนแล้วจนรอด แต่สิ่งที่น่าอัศจรรย์ใจก็พลันบังเกิดขึ้น เมื่อท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯได้ถามหาหลวงตามหาบัวกับพระภิกษุที่หลวงตามหาบัวไปพักด้วยว่า “ไหนว่าท่านมหาบัวจะมาสนทนากับผม ผมรอท่านตั้งนานไม่เห็นมา..????”

แม้นี้ ย่อมเป็นเครื่องแสดงให้แจ้งชัดอย่างไม่มีที่เหลือให้สงสัยว่า อันญาณรู้แห่งท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯนั้น สามารถล่วงรู้ความรู้สึกนึกคิดจิตใจของทุกผู้คน ไม่เว้นแม้แต่ ”จิตพระอรหันต์” ของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน จนหลวงตาท่านเองยังต้องปรารภไว้ในกาลต่อมาว่า “ใครจะมารู้วาระจิตของเราได้ นอกจากจะต้องเป็นผู้มีภูมิธรรม ปัญญาธรรมเสมอกับเรา..??” นั่นก็ย่อมหมายความอย่างตรงไปตรงมาที่สุดว่า ท่านหลวงตามหาบัว ก็ยอมรับว่า ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต(ธมฺมวิตกฺโกภิกขุ) แห่งวัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานครองค์นี้ ก็คือ ”พระอรหันตเจ้า” ด้วยเช่นกัน จึงสามารถ ”อ่านใจ” และ ”รู้วาระจิต” ของท่านอย่างทะลุปรุโปร่งได้เห็นปานนี้ และอย่างชัดเจนที่สุด หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนก็ได้เคยพูดถึงท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯกับท่านพระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสสโก แห่งวัดป่านาคำน้อยในเวลาต่อมาว่า
“ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯเป็นอรหันต์กลางกรุง และเป็นพระที่สันโดษมาก....” จากการทั้งหลายทั้งปวงดังที่ได้ยกขึ้นมาเล่าแจ้งทั่วกันดังกล่าวนี้ ย่อมแสดงให้เห็นชัดอย่างที่สุดถึงประโยคที่ว่า “อรหันต์ย่อมรู้ในอรหันต์” มีความ”สมจริง”และ”จริงจัง”อย่างที่สุดเห็นปานใด????

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ชินเชาวน์ : 15-07-2009 เมื่อ 11:38
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 16 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #17  
เก่า 25-02-2009, 19:59
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 260
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,192 ครั้ง ใน 1,278 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

“พระอรหันต์กลางกรุง”

ในฐานะที่คุณโกศล ปัทมสุนทร เป็นหลานที่สนิทและปรนนิบัติรับใช้ใกล้ชิดที่สุดของท่านธมฺมวิตกฺโก (คุณโกศลเป็นบุตรของคุณเลื่อน ปัทมสุนทร น้องสาวของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ) โดยคุณโกศลสมัยที่ยังเป็นเด็ก ก็จะมีหน้าที่นำภัตตาหารที่ทางบ้านทำมาถวายเป็นประจำทุกวัน ท่านธมฺมวิตกฺโกซึ่งเป็น”เจ้าคุณลุง”จึงเมตตาโปรดปรานหลานชายคนนี้ของท่าน เป็นกรณีพิเศษ โดยมักจะ”เปิด”เรื่องราวดีๆและเป็นพิเศษๆให้ฟังอยู่ไม่น้อย

ครั้งหนึ่ง ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯได้”แย้ม”ถึง”มรรคผล”ที่ท่านได้บรรลุแล้วเป็นการส่วนตัวอย่างตรงไปตรงมาที่สุดกับคุณโกศลว่า

“โกศล.... ลุงไม่เกิดอีกแล้วนะ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย..!!!!”
นี่ก็หมายความอย่างชัดแจ้งที่สุดว่า พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต (ธมฺมวิตกฺโกภิกขุ)ท่านรู้ชัดด้วยญาณปัญญาของท่านเป็นที่แน่นอนแล้วว่า บัดนี้ การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารแห่งท่าน ได้มาถึงยังจุดอันเป็นที่สุดแล้ว การเกิดครั้งใหม่ต่อไปมิได้มีอีกแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของท่านแล้ว

และท่าน ก็ได้บรรลุธรรมขั้นสูงสุดถึงระดับ”พระอรหันต์”เป็นที่แน่นอนเรียบร้อยแล้วเช่นกัน

สาธุ.............................................
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 19 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #18  
เก่า 26-02-2009, 23:10
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 260
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,192 ครั้ง ใน 1,278 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default


เสียงสวดคาถาชินบัญชรโดยท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ
ดาวน์โหลดที่นี่
รูป
ชนิดของไฟล์: jpg 00599_0-1.jpg (35.0 KB, 290 views)

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ชินเชาวน์ : 02-03-2009 เมื่อ 12:38
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 20 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 03:49



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว