กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > กระทู้ธรรม > ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 20-10-2011, 11:06
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default สมุทัยหรือต้นเหตุแห่งความทุกข์นั้น

สมุทัยหรือต้นเหตุแห่งความทุกข์นั้น
เป็นอันเดียวกับตัณหา ๓

๑. “การฟังคำสอนของท่านฤๅษีเมื่อเย็นวานนี้ มีประโยชน์มาก เพราะชี้ให้เห็นชัดว่าสมุทัยหรือเหตุแห่งความทุกข์นั้น เป็นอันเดียวกับตัณหา ๓ ประการ

กามตัณหา ความทะยานอยากในสิ่งที่ยังไม่มี อยากให้มีขึ้น
ภวตัณหา เมื่อมีแล้ว ก็อยากให้สภาวะนั้นทรงตัวอยู่อย่างนั้น
วิภวตัณหา ทุกสิ่งทุกอย่างที่สุดก็เป็นอนัตตา จิตไม่ยอมรับความจริง มีความอยากดึงสภาวะนั้น ๆ ให้ทรงตัวกลับคืนมา

สิ่งเหล่านี้อาศัยอายตนะสัมผัส ทำให้เกิดเป็นเหตุของความทุกข์

๒. “จุดนี้เมื่อพวกเจ้าได้ฟังแล้ว ให้มีสติ-สัมปชัญญะกำหนดรู้ ตรวจสอบอารมณ์ของจิตดู จักได้ประโยชน์จากการปฏิบัติมาก แม้แต่คุณหมอเองวันที่ไปเมืองนอก ก็จักมีอารมณ์ตัณหาเหล่านี้กระทบมาก ให้ลองสำรวจดูอารมณ์ของจิตเอาไว้ด้วย ดูความทะยานอยาก ๓ ประการ ว่ามีความสิ้นสุดลงหรือยัง ถ้ายังมี ก็จัดว่ายังตกเป็นทาสของตัณหา”

๓. “นักปฏิบัติจักต้องศึกษาความรู้สึกของจิตอย่างละเอียดลึกซึ้ง การมีขันธ์ ๕ อย่างผู้รู้-ผู้ตื่น-ผู้เบิกบาน ทุกอย่างทำเพื่อยังอัตภาพให้เป็นไปเท่านั้น อะไรที่จักเกินเลยกว่าที่มีความจำเป็นนั้น ไม่มี ดูจุดนี้ไว้ให้ดี ถ้ามีความเพียรปฏิบัติอย่างเอาจริง การตัดกิเลสก็เป็นของไม่ยาก เมื่อเข้าใจในอารมณ์จิตว่าตกอยู่ภายใต้อำนาจของตัณหา ๓ ประการอย่างไรบ้าง ก็จงเพียรตรวจสอบจิต เพราะเพียงแค่เข้าใจเท่านั้น ยังไม่ใช่หนทางตัดกิเลส จักต้องนำมาปฏิบัติให้เกิดมรรคผลของจิตอีกด้วย”

๔. “อย่างกามตัณหา อยากมีในสิ่งที่เกินความเป็นจริงของชีวิต นี่จักต้องถามจิตอยู่เสมอในทุก ๆ ขณะจิตที่มีอารมณ์ทะยานอยากขึ้นมาว่า สิ่งที่อยากได้นั้นเกินพอดีหรือเปล่า มีความจำเป็นต่อชีวิตหรือเปล่า อย่าเข้าข้างความต้องการของจิตตนเอง ต้องตรวจสอบให้ถึงที่สุด จิตก็จักยอมรับและมีเพียงแค่ประทังชีวิตให้เป็นไปโดยไม่เดือดร้อนทั้งตนเองและผู้อื่น ไม่เดือดร้อนทั้งกาย วาจา ใจ”
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 46 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 21-10-2011, 11:34
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๕. “แล้วตัวภวตัณหาก็เช่นกัน ให้ตรวจสอบจิตดู อารมณ์เรายังฝืนกฎของกรรมหรือเปล่า ก็รู้ ๆ อยู่ว่าทุกสิ่งทุกอย่าง แม้แต่ร่างกายของเราก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของไตรลักษณญาณ ไม่มีอะไรที่เกิดขึ้นแล้วไม่เสื่อม จิตมีบ้างไหมที่จักไม่ยอมรับความเสื่อม คนแก่ไม่ยอมรับว่าแก่ คนป่วยไม่ยอมรับว่าป่วย ของวัตถุธาตุ ทรัพย์สิน บ้าน โรงเรียน มันจำเป็นต้องเก่า ก็ไม่อยากให้มันเก่า นี่คืออารมณ์ที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของภวตัณหา จักต้องดูให้รู้หน้าตาของมันด้วย”

๖. “มาวิภวตัณหามีบ้างไหมที่จิตยังมีความทะยานอยาก อยากให้สิ่งที่สลายตัวไปแล้ว กลับคืนมา มีแน่ ๆ อย่างพวกเจ้าอยากให้ท่านฤๅษีที่ทิ้งขันธ์ ๕ ไปแล้ว ให้กลับคืนมา จุดนั้นยังเห็นได้ชัดมาก แล้วในบางครั้งคนที่รักหรือรู้จักก็ดี สัตว์ที่เคยเลี้ยงก็ดีตายไป จิตยังมีกังวล มีความกังขา เขาตายแล้วไปไหน คอยห่วงสอบสวนดู นี่ก็เป็นอารมณ์ของวิภวตัณหานะ ให้รู้ไว้ด้วย แม้กระทั่งจิตข้องอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสอย่างนั้นดี อย่างนี้ไม่ดี ทั้ง ๆ ที่สภาวะเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้วดับไป แต่จิตที่จดจำสภาวะนั้น ๆ มาฝังอยู่ในอารมณ์ ไม่รู้จักปล่อยวาง อย่างกามสัญญาเป็นต้น ก็เรียกว่าจิตตกอยู่ในวิภวตัณหา ทะยานอยากกลับไปสู่สภาวะนั้น ๆ อย่างเปรียบเทียบง่าย ๆ ติดในรสอร่อย ก็อยากจะกลับไปให้ได้บริโภคในรสอย่างนั้นอีก นี่เรียกว่าวิภวตัณหา เป็นเหตุทำให้เกิดต่อภพต่อชาติไปอีก

๗. “ให้สอบอารมณ์ตามนี้อย่างรู้เท่าทันกิเลส แล้วจึงจักเข้าถึงจุดรู้เหตุของการเกิด คือสมุทัยหรือจิตที่วนติดอยู่ในตัณหา ๓ ประการนี้

แต่ในการที่บางครั้งเจ้าซื้อของบริโภคมามากเกินไป อย่างของกิน ซื้อด้วยความโลภ ว่าถูกดี ซื้อมามากก็บริโภคไม่ทัน ของเหล่านั้นอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ มันก็เสื่อมไปทุกขณะ มากเกินไปกินไม่ทันก็เกิดทุกข์ ของจักเสียไม่อยากทิ้ง จำใจกินเพราะเสียดาย ของเหล่านั้นก็เป็นพิษแก่ร่างกาย อารมณ์นั้นก็คืออยากมี อยากได้เกินพอดี เกินความจำเป็นของร่างกาย เป็นกามตัณหา เป็นอารมณ์โลภเกินพอดีเป็นความทุกข์ นี่ก็ยกให้เห็นอีกจุดหนึ่ง แล้วจงหมั่นตรวจสอบจิตของตนอย่างนี้ จักมีผลให้ตัดกิเลสได้คือ ดับที่ต้นเหตุหรือสมุทัยที่ทำให้เกิดทุกข์อย่างแท้จริง


ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๙
รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 21-10-2011 เมื่อ 13:52
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 06:10



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว