กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > กระทู้ธรรม > ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 19-08-2011, 09:21
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default บารมี ๑๐ คือหลักใหญ่ของการปฏิบัติ

บารมี ๑๐ คือหลักใหญ่ของการปฏิบัติ

สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญดังนี้

๑. “จงพยายามทำความเพียรเข้าไว้อย่าท้อแท้ ให้ดูบารมี ๑๐ เข้าไว้ให้ตั้งมั่น จุดนั้นเป็นหลักใหญ่ของการปฏิบัติเพราะหากบกพร่องในบารมี ๑๐ ทุกอย่างก็บกพร่องหมด ให้ตรวจสอบเข้าไว้ หาอุบายที่จักทรงบารมี ๑๐ เข้าไว้ให้ได้ ไล่ดูให้ดี ๆ นี่เป็นการบ้าน”

๒. “มีบารมี ๑๐ เป็นอย่างไร กาย-วาจา-ใจเป็นอย่างไร ไม่มีบารมี ๑๐ เป็นอย่างไร กาย-วาจา-ใจเป็นอย่างไร ให้พิจารณาดูกันให้ชัด ๆ”

๓. “การพิจารณาบารมี ๑๐ นั้น ให้พิจารณาแยกกันไปทีละข้อ ๆ เพื่อความละเอียดของจิตให้ทำตามนี้ อาทิเช่น การมีทานบารมี จุดนี้มิใช่ว่าจักมุ่งแต่วัตถุทานอย่างเดียวให้รวมไปถึงอภัยทาน-ธรรมทานด้วย พิจารณาให้ลึกซึ้งว่า คนที่ให้ทานได้ จิตเขาคิดอย่างไร กาย-วาจาเขาปฏิบัติอย่างไร จึงให้ทานได้ ถ้าไม่ให้ทานจิตมีสภาพอย่างไร กาย-วาจามีสภาพอย่างไร จุดนี้ให้พิจารณาให้เห็นโทษของบุคคลที่ตระหนี่ในทาน” (ก็คิดว่า การไม่พอใจที่จะให้ มีอารมณ์ตระหนี่-ขี้เหนียว กิริยาออกมาทางกาย-วาจา เมื่อไม่ให้จิตก็กระด้างไม่อ่อนโยนนะ)

๔. “กระด้างแน่ ถ้าหากจิตมีอารมณ์ไม่พอใจ จะสิ้นสุดแม้แต่อภัยทานและธรรมทาน แต่ถ้าหากเป็นวัตถุทาน ถ้าหากเกิดขัดสน มีไม่พอที่จักให้แก่บุคคลอื่น เพราะให้แล้วจักเบียดเบียนตนเอง ก็ให้มีอารมณ์ทรงตัวในอุเบกขาเข้าไว้

๕. “แต่สำหรับทานภายใน อภัยทานก็ดี ธรรมทานก็ดี ถ้าหากสร้างให้มีไว้กับจิต คำว่าจนหรือขัดสนในทานนี้ย่อมไม่มี ทานภายในนี้มีค่ายิ่งกว่าทานภายนอก เพราะบุคคลใดมีแล้วยังอารมณ์จิตให้เยือกเย็น-ผ่องใส-ไม่เร่าร้อน จิตมีพรหมวิหารเป็นอัปปมัญญาได้ เหตุการณ์ใด ๆ มากระทบให้ลงตัวธรรมดาจนหมดสิ้น พยายามรักษาอารมณ์จิตให้กว้างขวางอยู่เสมอ

๖. “อภัย คือ ละจากการเกาะยึดอารมณ์ที่เป็นกิเลสเข้ามากระทบจิต ไม่เกาะโกรธ ไม่เกาะโลภ ไม่เกาะหลง ธรรมภายใน-ธรรมภายนอกจรเข้ามาก็ให้อภัยหมด จิตก็เป็นสุข ความสงบของจิตที่ปราศจากกิเลสนั่นคือความสุขที่แท้จริง

๗. “ต่างกับบุคคลที่มีความโลภ อะไรมากระทบก็เก็บหมด ยึดมั่นถือมั่นเอาไว้จนหมด จิตก็รุ่มร้อนหาความสุขสงบไม่ได้ ดังนี้เป็นต้น ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ พิจารณา บารมี ๑๐ จักทำให้พรหมวิหาร ๔ ทรงตัว และทำให้ศีล-สมาธิ-ปัญญาตั้งมั่น ขอให้ศึกษาทบทวนจนกระทั่งอารมณ์ของจิตยอมรับในผลของการปฏิบัติบารมี ๑๐ ในที่สุด


ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๘
รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 44 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 13:46



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว