กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 19-05-2016, 11:37
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,443
ได้ให้อนุโมทนา: 151,071
ได้รับอนุโมทนา 4,399,699 ครั้ง ใน 34,032 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันเสาร์ที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๙

ให้ทุกคนขยับนั่งในท่าที่สบายของตน ตั้งกายให้ตรง กำหนดความรู้สึกของเราไว้ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ที่เราถนัดหรือเราชอบมาแต่เดิม ถ้าเผลอสติหลุดจากลมหายใจเข้าออกไปคิดเรื่องอื่น รู้ตัวเมื่อไรก็ให้รีบดึงกลับมาหาลมหายใจเข้าออกเสียใหม่ แรก ๆ ก็จะมีการยื้อแย่งกันอย่างนี้อยู่พักหนึ่ง จนกระทั่งสมาธิเริ่มทรงตัว สภาพจิตจึงยอมผูกอยู่กับลมหายใจเข้าออก ไม่ดิ้นรนไปไหน

วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๓๐ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ จะขอกล่าวถึงอานิสงส์ของการปฏิบัติภาวนาของเรา การปฏิบัติภาวนานั้นจะว่าไปแล้วความจริงมีพื้นฐานมาจากศีล คือการที่เราตั้งสติระมัดระวังไม่ให้ล่วงสิกขาบทต่าง ๆ ก่อให้เกิดสมาธิขึ้นมาได้ คราวนี้สมาธิที่เราทำนั้น เป้าหมายก็คือความอยู่เย็นเป็นสุขในปัจจุบัน ความเป็นสุขในอนาคต และประโยชน์สุขสูงสุดคือพ้นจากกองทุกข์เข้าสู่พระนิพพาน

ประโยชน์สุขในปัจจุบันของเราก็คือการที่จิตใจของเราสงบระงับจาก รัก โลภ โกรธ หลง ด้วยอำนาจของสมาธิ ประโยชน์สุขในอนาคต ก็คือ บุคคลที่สมาธิตั้งมั่นทรงตัวเป็นปกติ ย่อมไปเกิดในสุคติโดยเฉพาะเกิดเป็นพรหม ประโยชน์สูงสุดก็คืออาศัยกำลังสมาธิหนุนเสริมปัญญา ให้มีกำลังในการตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานเข้าสู่พระนิพพานได้

คราวนี้การที่เราบำเพ็ญภาวนาไปเรื่อยจนกำลังใจทรงตัวได้ ย่อมมีอานิสงส์ส่งไปเกิดในเขตแดนของตนตามลำดับดังนี้คือ ถ้าหากว่าได้ปฐมฌานขั้นหยาบจะไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๑ ที่เรียกว่า ปาริสัชชาพรหม ถ้าปฐมฌานขั้นกลางจะได้ไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๒ ที่เรียกว่า ปโรหิตาพรหม ถ้าได้ปฐมฌานขั้นละเอียดจะไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๓ ที่เรียกว่า มหาพรหม

ถ้าได้ฌานที่สองอย่างหยาบจะไปเกิดเป็น ปริตตาภาพรหม ถ้าได้ฌานที่สองอย่างกลางจะไปเกิดเป็น อัปปมาณาภาพรหม ถ้าได้ฌานที่สองอย่างละเอียดจะไปเกิดเป็น อาภัสราพรหม

ถ้าได้ฌานที่สามอย่างหยาบจะไปเกิดเป็น ปริตตสุภาพรหม ถ้าได้ฌานที่สามอย่างกลางจะไปเกิดเป็น อัปปมาณสุภาพรหม ถ้าได้ฌานที่สามอย่างละเอียดจะไปเกิดเป็น สุภกิณหาพรหม

ถ้าหากว่าได้ฌานที่สี่อย่างหยาบจะไปเกิดเป็น เวหัปผลาพรหม ถ้าได้ฌานสี่อย่างละเอียดจะไปเกิดเป็น อสัญญีสัตตาพรหม ซึ่งพรหมชั้นนี้จะไม่รับรู้อาการภายนอก เพราะว่าสภาพจิตดิ่งลึกอยู่ภายใน บางคนก็เรียกว่า พรหมลูกฟัก ซึ่งในส่วนของฌานสี่นั้น ท่านแบ่งเป็นสองคือหยาบกับละเอียดเท่านั้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 19-05-2016 เมื่อ 12:33
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 51 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 25-05-2016, 11:57
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,443
ได้ให้อนุโมทนา: 151,071
ได้รับอนุโมทนา 4,399,699 ครั้ง ใน 34,032 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ลำดับที่สูงขึ้นไปกว่านั้น ถ้าหากว่าจะเกิดเป็นสุทธาวาสพรหม ท่านทั้งหลายต้องเข้าถึงความเป็นพระอนาคามี ก็คือสามารถตัดโลภ ตัดโกรธได้อย่างแน่นอน พระอนาคามีก็ประกอบไปด้วยสุทธาวาสพรหม ๕ ชั้นคือ อวิหาพรหม ๑ อตัปปาพรหม ๑ สุทัสสาพรหม ๑ สุทัสสีพรหม ๑ และ อกนิฏฐพรหม ๑ ซึ่งสุทธาวาสพรหมทั้ง ๕ ชั้นนั้น การเข้าถึงและการทรงอยู่มีความแตกต่างกันไป

ประกอบไปด้วยอันตราปรินิพพายี ท่านทั้งหลายเหล่านี้จะก้าวล่วงกองทุกข์เข้าสู่พระนิพพานในระหว่างอายุ อย่างเช่น ถ้าหากว่าต้องเกิดอยู่ ๑๐,๐๐๐ มหากัป ในช่วงระหว่างนี้ก็อาจจะไปตั้งแต่ หนึ่งพัน สองพัน สามพัน สี่พัน ห้าพัน ก็ได้ แล้วแต่ว่ากำลังใจของตนเข้าถึงมรรคผลตอนระดับอายุช่วงไหน

อีกประเภทหนึ่งเรียกว่า อุปหัจจปรินิพพายี เป็นสุทธาวาสพรหมที่จะเข้าสู่พระนิพพานในกึ่งหนึ่งของอายุ สมมติว่ามีอายุ ๒๐,๐๐๐ มหากัป ก็ต้องอยู่อย่างน้อย ๑๐,๐๐๐ มหากัป ปฏิบัติไปจนกระทั่งสภาพจิตหลุดพ้นเข้าสู่พระนิพพานได้ ประเภทที่สามเรียกว่า สสังขาราปรินิพพายี ประเภทนี้ท่านบอกว่าต้องใช้ความเพียรพยายามอย่างมากในการก้าวล่วงกองทุกข์เข้าสู่พระนิพพาน บางท่านบอกว่ามากด้วยวิริยินทรีย์ คือมีความเพียรเป็นใหญ่

ประเภทที่สี่เรียกว่า อสังขาราปรินิพพายี ก็คือไม่ต้องใช้ความเพียรมากเหมือนประเภทที่สามที่ผ่านมา ส่วนประเภทสุดท้ายท่านเรียก อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ท่านทั้งหลายเหล่านี้ต้องไปตามลำดับจิตของตนทีละขั้น ๆ จนกระทั่งล่วงพ้นจากกองทุกข์เข้าสู่พระนิพพาน ซึ่งท่านอื่น ๆ อาจจะกระโดดข้ามได้ แต่อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีจะไม่มีการรวบรัดตัดตอนแบบคนอื่นเขา
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-05-2016 เมื่อ 14:41
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 25-05-2016, 12:00
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,443
ได้ให้อนุโมทนา: 151,071
ได้รับอนุโมทนา 4,399,699 ครั้ง ใน 34,032 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ดังนั้นเราจะเห็นว่าในส่วนของสมาธิภาวนานั้น แม้ได้เพียงปฐมฌานขั้นหยาบ ถ้าอารมณ์ใจทรงตัวจริง ๆ เราก็เกิดเป็นพรหมได้แล้ว คำว่าพรหมก็ต้องประพฤติพรหมจรรย์ คำว่า พรหมจรรย์ หรือ พรหมจริยา ก็คือ แบบอย่างของพรหม คือ การอยู่คนเดียว ปราศจากคู่ เพราะว่าถ้าอารมณ์สมาธิทรงตัว รัก โลภ โกรธ หลง โดนกดดับลงชั่วคราว ความต้องการมีคู่ก็ไม่เกิดขึ้น ดังนั้น...จึงใช้คำว่าพรหมจรรย์คือประพฤติอย่างพรหม อยู่องค์เดียว วิมานหนึ่งมีพรหมองค์เดียว ไม่มีบริวารเหมือนเทวดาต่าง ๆ

แล้วถ้าหากว่ากำลังสมาธิของเราทรงตัวตั้งมั่นได้มากกว่านั้น สามารถนำไปเสริมปัญญาในการตัดกิเลสเป็นสมุทเฉทปหานเพื่อเข้าสู่พระนิพพาน เพราะว่าส่วนของสมาธิภาวนาเป็นการเพาะสร้างกำลัง เมื่อจิตมีกำลังก็ช่วยปัญญาที่แหลมคมตัดฟันกิเลสให้เด็ดขาดลงไปได้ เพราะว่าสมาธิเป็นกำลัง ปัญญาเป็นอาวุธ กำลังไม่พอ ยกอาวุธไม่ขึ้น ก็ตัดฟันอะไรไม่ได้ มีแต่อาวุธ ไม่มีกำลัง ก็ไม่สามารถจะใช้งานได้เช่นกัน

ดังนั้น...สมาธิจึงทำให้เราเกิดประโยชน์สุขในปัจจุบันคือจิตใจสงบระงับจาก รัก โลภ โกรธ หลง เกิดประโยชน์สุขในอนาคต คือถ้าอารมณ์ใจทรงตัวปักมั่น สามารถไปเกิดเป็นพรหมชั้นต่าง ๆ ได้ และประโยชน์สูงสุด คือ สามารถตัดกิเลสเป็นสมุทเฉทปหานเข้าสู่พระนิพพานได้ การทำสมาธิของเราถึงเรียกว่าไม่เป็นหมัน แม้ว่าเบื้องต้นเพียงเล็กน้อยก็ยังหนุนเสริมให้เกิดอานิสงส์ดังที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น

ลำดับต่อไปให้ทุกท่านตั้งใจภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
วันเสาร์ที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๙

(ถอดจากเสียงเป็นอักษรโดยคะน้าอ่อน)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-05-2016 เมื่อ 14:43
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 13:32



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว