กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 30-12-2018, 21:18
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,034 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๖๑

ขอให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติคือความรู้สึกของเราไว้ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเรา ไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเรา ไหลตามลมหายใจออกมา ถ้าเผลอสติไปคิดถึงเรื่องอื่น เมื่อรู้ตัวให้กลับมาอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกเสียใหม่ จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ ที่เรามีความถนัด มีความชำนาญมาแต่เดิม

วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๒ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๑ จะขอกล่าวถึงหน้าตาของฌาน ซึ่งก็คืออัปปนาสมาธิ โดยเฉพาะปฐมฌาน ให้พวกเราได้รู้จักกันไว้ เพราะว่าเป็นสิ่งที่นักปฏิบัติทั้งหลาย ทำอย่างไรก็ต้องเข้าให้ถึง ถ้าเข้าไม่ถึง เราก็ไม่มีกำลังที่จะสู้กิเลส ที่จะละกิเลส ที่จะตัดกิเลสได้

ปฐมฌานนั้นประกอบด้วยองค์ ๕ ก็คือมีอาการ ๕ อย่าง ได้แก่ วิตก คือนึกว่าเราจะภาวนา วิจาร คือการที่กำหนดรู้ว่า ตอนนี้เราหายใจเข้า ตอนนี้เราหายใจออก ลมหายใจแรงหรือเบา ยาวหรือสั้น คำภาวนาว่าอย่างไร รู้อยู่ วิจารนี้จัดเป็นส่วนของอุปจารสมาธิ คำว่า อุปจาระ แปลว่า ใกล้ขอบเขต ใกล้ขอบเขตของสมาธิ

ลำดับต่อไปก็จะเป็นปีติ ปีตินี้ประกอบไปด้วยอาการ ๕ อย่าง ขุททกาปีติ มีอาการขนลุก บางคนขนลุกเกรียวทั้งตัว เป็นเม็ด ๆ หรือเป็นหนามขนุนเลย บางคนก็มีอาการขนลุกเป็นระยะ ๆ บางคนก็รู้สึกว่าคันตรงโน้น คันตรงนี้ เหมือนอย่างกับว่าขนของเราขยับทีละเส้น เป็นต้น

ขณิกาปีติ จะมีอาการหนึ่งที่หลายคนรู้สึกอับอาย ก็คือน้ำตาไหล ถึงเวลาน้ำตาจะไหลออกมาเอง นึกถึงความดีของพระพุทธ ของพระธรรม ของพระสงฆ์ ความดีของการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา อย่างไรก็ตาม น้ำตาจะไหลออกมาทันที

ลำดับต่อไปคือ โอกกันติกาปีติ ตัวจะโยกไปโยกมา ซ้ายขวา แกว่งหน้าแกว่งหลัง บางคนก็รุนแรงถึงขนาดหกคะเมนตีลังกา ดิ้นตึงดังโครมครามเหมือนผีเจ้าเข้าสิงไปเลย ลำดับต่อไปเรียกว่า อุพเพงคาปีติ จะลอยขึ้นจากพื้น สูงบ้างต่ำบ้างแล้วแต่ตนเอง บางทีก็ลอยไปไกล ๆ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 02-01-2019 เมื่อ 10:00
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 01-01-2019, 21:33
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,034 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

อย่างสุดท้ายเรียกว่า ผรณาปีติ รู้สึกซาบซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย ตัวพองตัวใหญ่ รู้สึกว่าหน้าใหญ่เท่าจานเท่ากระด้งก็มี บางคนรู้สึกว่าตัวรั่วเป็นรู มีอะไรไหลออกจากตัวซู่ซ่าไปหมด บางคนก็เห็นแสงเห็นสีต่าง ๆ บางคนก็รู้สึกว่าตัวแตกตัวระเบิดเป็นจุณไปเลย

อาการทั้ง ๕ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นกับเรา ขอให้เรารู้ว่าเราก้าวเข้าถึงอุปจารสมาธิเต็มตัวแล้ว ถ้าถามว่าจะก้าวข้ามอาการเหล่านี้ได้อย่างไร ? มีทางเดียวคือปล่อยให้ขึ้นเต็มที่ อายไม่ได้ กลัวไม่ได้ ถ้าปล่อยให้ขึ้นเต็มที่เมื่อไรก็จะก้าวพ้นไป ถ้าขึ้นไม่เต็มที่ ทำสมาธิถึงตรงนี้เมื่อไรก็จะเป็นอีก

ถามว่าในเมื่อเรียกว่าปีติ แปลว่าความยินดีไม่ใช่หรือ แล้วทำไมถึงมีอาการแปลก ๆ ? อย่างเช่นว่าร้องไห้หรือว่าเต้นตึงตังโครมคราม อรรถกถาจารย์ท่านเปรียบเอาไว้ว่า เหมือนอย่างกับพ่อแม่ทิ้งลูกให้อยู่บ้านตามลำพัง ถึงเวลาตนเองก็ไปทำงานกลางทุ่งกลางท่าในป่าในเขา หรือไม่ก็เดินทางไปในบ้านในเมือง ในตลาดไกล ๆ บ้าง หายไปเป็นวันเป็นคืน กลับมาถึงลูกเห็นหน้าพ่อแม่ดีอกดีใจร้องไห้โฮเลย บางคนก็วิ่งตะโกนลั่น พ่อมาแล้ว..แม่มาแล้ว เป็นต้น

สภาพจิตของเราก็เป็นลูกที่ห่างพ่อห่างแม่ คือฟุ้งซ่านไป พอย้อนทวนกลับเข้ามาหาความสงบที่ตนเองคุ้นเคย ก็เลยเกิดอาการปีติต่าง ๆ อย่างที่ว่ามา จำไว้ว่ากลัวก็ไม่ได้ อายก็ไม่ได้ ถ้าอายแล้วไปยับยั้งก็จะหยุดได้ แต่ถ้าจิตเริ่มเป็นสมาธิแม้แต่นิดเดียวก็จะเป็นอีก ขนาดนอนเฉย ๆ แค่นึกถึงคำภาวนาก็ดิ้นตึง ๆ อยู่บนเตียงแล้ว นอกจากปล่อยให้ขึ้นเต็มที่แล้ว ไม่มีวิธีอื่นที่จะไปจัดการ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-01-2019 เมื่อ 13:23
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 01-01-2019, 21:37
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,034 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ลำดับต่อไปก็จะเกิดอาการที่เรียกว่า สุข ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ฌานทั้ง ๕ เป็นลำดับที่ ๔ คือมีอาการสงบเยือกเย็น มีความสุขมากอย่างชนิดที่ไม่สามารถที่จะพูดเป็นภาษามนุษย์ได้ เพราะว่าสมาธิจิตตอนนี้เริ่มก้าวเข้าสู่ความเป็นฌาน หลวงพ่อวัดท่าซุงท่านใช้คำว่า อุปจารฌาน ใกล้ความเป็นฌานแล้ว กำลังสูงมากพอสามารถกดกิเลส คือ รัก โลภ โกรธ หลง ให้ดับลงได้ชั่วคราว

ไฟรัก ไฟโลภ ไฟโกรธ ไฟหลง ที่เผาผลาญเราอยู่ตลอดเวลา โดนกดดับไปได้ด้วยอำนาจของอุปจารฌานนี้ คนที่โดนไฟเผาอยู่ตลอดเวลา อยู่ ๆ ไฟดับลงไป มีความสุขอย่างไรพูดเป็นภาษามนุษย์ไม่ได้ บาลีใช้คำว่า ปัจจัตตัง เป็นเรื่องที่รู้เฉพาะตัว จนกว่าเราจะเข้าใจเองถึงจะเข้าใจอย่างแท้จริง สิ่งที่อธิบายด้วยคำพูดและตัวหนังสือเป็นเพียงแค่ของหยาบ ๆ เท่านั้น

เมื่อก้าวข้ามตรงจุดนี้ไป สภาพจิตก็จะปักมั่น เป็นเอกัคตารมณ์ องค์ประกอบสุดท้ายขององค์ฌาน ตอนนี้สภาพจิตของเราจะถึงพร้อมด้วยองค์ ๕ คือ คิดนึกอยู่ว่าจะภาวนา ได้แก่ วิตก ลมหายใจแรงหรือเบา ยาวหรือสั้น ใช้คำภาวนาว่าอย่างไรก็รู้อยู่ คือมีวิจาร เกิดอาการ ๕ อย่างอย่างใดอย่างหนึ่งในปีติขึ้นมา มีความสุข เยือกเย็นซาบซ่านอย่างไม่เคยปรากฏในชีวิตมาก่อน ท้ายที่สุดอารมณ์ปักมั่นเป็นหนึ่งเดียวอยู่กับลมหายใจและคำภาวนาตรงหน้า ไม่ไปไหน

ความจริงอาการทั้ง ๕ อย่างนี้เกิดขึ้นตามลำดับไป เพียงแต่เกิดจะเร็วจนเหมือนกับเกิดขึ้นพร้อมกันก็มี บุคคลที่สภาพจิตหยาบอาจจะแยกไม่ออก คิดว่าเกิดพร้อมกัน แต่บุคคลที่สภาพจิตละเอียดจะแยกออกได้ว่าเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ทีละลำดับไป เมื่อถึงตรงนี้ สภาพจิตของเราจะทรงตัว มีกำลังเพียงพอในการกดกิเลสให้ดับลงชั่วคราว ถ้าเราอาศัยกำลังตรงนี้ในการพิจารณาตัดละ รัก โลภโกรธ หลง เราก็สามารถที่จะเข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าในระดับของพระโสดาบันหรือสกทาคามี

ดังนั้น..อัปปนาสมาธิเบื้องต้นคือปฐมฌาน เป็นสิ่งที่นักปฏิบัติทุกคนต้องหวังและเข้าถึงให้ได้ หลังจากนั้นเราจะใช้สมาธิในลักษณะอย่างไร หรือกำหนดตัดละกิเลสอย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องศึกษากันต่อไป


ลำดับต่อไปขอให้ทุกท่านภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านเติมบุญ
วันอาทิตย์ที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๖๑

(ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย รัตนาวุธ)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-01-2019 เมื่อ 13:27
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 27 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 04:59



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว