กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 18-01-2013, 20:52
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,126 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันเสาร์ที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๖

ให้ทุกคนขยับตัวนั่งในท่าที่ตนเองถนัด เอาความรู้สึกของเราผูกติดอยู่กับลมหายใจ หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเราไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ที่เราถนัดมาแต่เดิม

วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๖ เป็นการปฏิบัติกรรมฐานรับปีใหม่วันที่สองของพวกเรา

เมื่อครู่ก่อนกรรมฐานได้กล่าวถึงพระเมตตาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่อยู่ในลักษณะของอัปปมัญญาคือไม่มีประมาณ สงเคราะห์ทุกคนโดยเสมอหน้ากัน พูดง่าย ๆ ก็คือในความรู้สึกของพระองค์ท่านนั้น ไม่มีการแบ่งสี ไม่มีการแบ่งฝ่าย ไม่มีการแบ่งเชื้อชาติ ไม่มีการแบ่งศาสนา ทุกคนก็คือพสกนิกรที่พระองค์ท่านต้องปกครองดูแล ช่วยให้พวกเราได้อยู่ดีกินดี มีความร่มเย็นเป็นสุขโดยเสมอหน้ากัน สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับพวกเรา ในการที่จะปฏิบัติในพรหมวิหาร ๔

พรหมวิหาร ๔ นั้นเป็นกรรมฐานใหญ่มาก ในกรรมฐาน ๔๐ แยกพรหมวิหาร ๔ ออกเป็น ๔ กองด้วยกัน ทั้ง ๆ ที่น่าจะนับเป็นกองเดียว ก็เพราะความยิ่งใหญ่ละเอียดลออของกรรมฐานทั้งหลายเหล่านี้ พรหมวิหาร ๔ นั้นประกอบไปด้วย เมตตาคือความรักผู้อื่นเสมอด้วยตนเอง กรุณาคือความสงสาร อยากเห็นผู้อื่นเขาพ้นจากความทุกข์ มุทิตาคือความพลอยยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นอยู่ดีมีสุข อุเบกขา ในเมื่อช่วยเหลือจนสุดความสามารถแล้วไม่สามารถที่จะช่วยได้ ก็ต้องปล่อยวาง ยอมรับว่าเป็นกฎของกรรม แต่การปล่อยวางนั้น ก็ยังอยู่ในลักษณะที่พร้อมจะให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ถ้ามีโอกาสเมื่อไร ก็จะทำการช่วยเหลือใหม่

พรหมวิหาร ๔ นั้นเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงจิตใจให้แช่มชื่นเบิกบาน มีความอยากจะปฏิบัติธรรม เพราะเห็นว่าธรรมะนั้นเป็นสิ่งที่ดีเลิศ เป็นสิ่งที่ประเสริฐยิ่ง เรายิ่งทำมากเท่าไร ยิ่งอนุเคราะห์สงเคราะห์บุคคลอื่นได้มากเท่านั้น จิตใจที่แช่มชื่นเยือกเย็นก็จะทำให้กรรมฐานต่าง ๆ ทรงตัวได้ง่าย และพรหมวิหาร ๔ ยังเป็นตัวประคับประคองศีลให้บริสุทธิ์ไปโดยปริยาย

ในเมื่อเรารักเขาสงสารเขา เราก็ไม่คิดที่จะเข่นฆ่าทำร้ายใคร ในเมื่อเรารักเขาสงสารเขา เราก็ไม่คิดที่จะไปลักขโมยผู้ใด ในเมื่อเรารักเขาสงสารเขา เราก็ไม่ไปแย่งชิงสิ่งที่เขารัก คนที่เขารัก ในเมื่อเรารักเขาเราสงสารเขา เราก็ไม่ไปโกหกหลอกลวงผู้อื่น ในเมื่อเรารักคนรอบข้างและตนเอง เราก็ไม่ไปกินเหล้าเมายาซึ่งทำลายทั้งสุขภาพของตนเอง และทำให้คนรอบข้างเขาเดือดร้อนเพราะการกระทำของเรา
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 19-01-2013 เมื่อ 03:42
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 80 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 19-01-2013, 21:03
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,126 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เมื่อเป็นเช่นนี้จะเห็นได้ว่า ในส่วนของพรหมวิหาร ๔ นั้น เป็นตัวควบคุมศีลอย่างแท้จริง บุคคลที่ทรงพรหมวิหาร ๔ จะมีศีลบริสุทธิ์โดยอัตโนมัติ การที่เราจะบำเพ็ญในพรหมวิหาร ๔ นั้น ก็คือการที่เรากำหนดใจที่เต็มไปด้วยหวังดีปรารถนาดีต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทุกภพทุกภูมิทุกหมู่ทุกเหล่า ตั้งใจว่าเราไม่เป็นศัตรูกับใคร เรายินดีเป็นมิตรต่อคนและสัตว์ทั่วโลก กำหนดความรู้สึกนี้ให้แผ่ออกไปสู่เขาทั้งหลายเหล่านั้น

เมื่อกระทำจนกระทั่งกำลังใจสงบเยือกเย็น เต็มเปี่ยมไปด้วยความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาแล้ว ก็ให้จับลมหายใจเข้าออกภาวนาต่อไป จึงจะทำพรหมวิหาร ๔ นี้ให้เป็นฌานได้ ไม่เช่นนั้นแล้วพรหมวิหาร ๔ ของเรา อย่างเก่งที่สุดก็ไม่ได้เกินอุปจารสมาธิ เพราะว่าเป็นอารมณ์ในการคิดเสียมาก ดังนั้น..พรหมวิหาร ๔ จะทรงตัวหรือไม่ทรงตัว ขึ้นอยู่กับพื้นฐานคืออานาปานสติ คือลมหายใจเข้าออกของเรา

ถ้าเราจะกระทำตัวเมตตาพรหมวิหารในอีกลักษณะหนึ่ง คือการกำหนดภาพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นมา ให้พระองค์ท่านสว่างไสวอยู่ทั่วจักรวาล กำหนดให้พระรัศมีอันสว่างไสวของพระองค์ท่านนั้น คือพระเมตตาซึ่งแผ่ปรกไปสู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ทุกภพทุกภูมิทุกหมู่ทุกเหล่าโดยเสมอหน้ากัน

หายใจเข้า..ให้พระรัศมีของพระองค์ท่าน แผ่กว้างออกไปสู่เขาทั้งหลายเหล่านั้น หายใจออก..ให้พระรัศมีทั้งหลายเหล่านั้น หดกลับเข้ามาสว่างไสวอยู่ที่องค์พระท่าน หายใจเข้า..ให้รัศมีแผ่กว้างสว่างไสวออกไป หายใจออก..ให้พระรัศมีหดกลับเข้ามาสว่างอยู่ที่องค์พระ การซักซ้อมดังนี้นอกจากจะเป็นการแผ่เมตตา ที่เราจะรู้สึกว่าเป็นรูปธรรมแล้ว ยังเป็นการซักซ้อมในพุทธานุสติ ในกสิณ และในกรรมฐานกองอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึงอีกด้วย

สิ่งทั้งหลายเหล่านี้สามารถที่จะทำได้ จัดเป็นกีฬาสมาธิ เพื่อทำให้สภาพจิตของเราได้มีสิ่งที่แปลกใหม่เอาไว้กระทำ แทนที่จะดูแต่ลมหายใจอย่างเดียว หรือแทนที่จะแผ่เมตตาอย่างเดียว เมื่อสภาพจิตมีสิ่งที่แปลก ๆ ใหม่ ๆ เข้ามารับรู้ ก็จะไม่ฟุ้งซ่านไปที่อื่น ดังนั้น..การที่เราจะกำหนดภาพพระให้พระองค์ท่านแผ่พระรัศมีออกไป แทนพระเมตตาคุณต่อที่มีต่อสรรพสัตว์ทั้งหลายก็ดี สิ่งที่จะลืมไม่ได้คือต้องควบกับลมหายใจเข้าออก เพื่อความมั่นคงในสภาพจิตใจของเรา
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 20-01-2013 เมื่อ 02:14
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 62 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 20-01-2013, 20:04
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,126 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้าสามารถทำได้ถึงที่สุด เราจะสามารถกำหนดความสว่างไสวนั้น เบื้องบนไปจรดพรหมชั้น ๑๖ เบื้องล่างถึงอเวจีมหานรก เบื้องขวาง (รอบข้างของเรา) ก็คือโลกธาตุต่าง ๆ ที่ประกอบไปด้วยสรรพสัตว์ทั้งหลายเป็นอนันตจักรวาล ไม่สามารถที่จะนับได้ทั่วถ้วน

ถ้าสามารถกระทำได้อย่างนี้ทุกวัน กำลังจิตของเราที่ประกอบไปด้วยความเมตตา ก็จะมีความแจ่มใสเยือกเย็น ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ถึงอานิสงส์ว่า บุคคลที่เจริญเมตตานั้น ๑.หลับก็เป็นสุข ๒.ตื่นก็เป็นสุข ๓.ไม่ฝันร้าย ๔.เป็นที่รักของมนุษย์ ๕.เป็นที่รักของอมนุษย์ ๖.เทวดาจะช่วยรักษา ๗.ไม่ว่าอาวุธ ยาพิษ หรือเปลวไฟไม่สามารถที่จะทำร้ายได้ ๘.สามารถยังสมาธิให้ทรงตัวมั่นคงได้ ๙.เป็นผู้ที่มีใบหน้าอันผ่องใส ๑๐.เป็นผู้ที่ตายแล้วไม่หลง คือมีสติมั่นคง ๑๑.เมื่อตายแล้วมีพรหมโลกเป็นที่ไป เป็นต้น

สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ถ้าเรากระทำในตัวของพรหมวิหาร ๔ แล้ว ก็หวังเพียง ๒ อย่างเท่านั้น คือความเป็นพระอนาคามีและความเป็นพระอรหันต์ เมื่อเราเห็นว่าพรหมวิหาร ๔ นี้มีคุณค่าใหญ่ขนาดนี้ ก็ขอให้ทุกคนตั้งใจซักซ้อมเอาไว้เป็นปกติ เพื่อความอยู่สุขอยู่เย็นของเราเอง เพื่อความก้าวหน้าในการปฏิบัติของเรา และเพื่อมรรคผลพระนิพพานของเราในภายหน้า

ลำดับต่อไปก็ให้ทุกท่านตั้งใจกำหนดใจภาวนา แผ่เมตตาสู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย และเอาจิตใจจดจ่ออยู่ที่ภาพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นจุดสุดท้าย ตั้งใจว่าพระองค์ท่านอยู่ที่พระนิพพาน เราเห็นพระองค์ท่านก็คือเราอยู่กับพระองค์ท่าน เราอยู่กับพระองค์ท่านก็คือเราอยู่บนพระนิพพาน ให้ทุกคนตั้งใจปฏิบัติในพรหมวิหาร ๔ ของตน จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
วันเสาร์ที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๖

(ถอดจากเสียงเป็นอักษรโดยคะน้าและเถรี)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 21-01-2013 เมื่อ 01:53
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 56 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 16:20



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว