กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > กระทู้ธรรม > ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 27-09-2011, 11:04
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,833 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default วิธีออกจากทุกข์

วิธีออกจากทุกข์
คือการปฏิบัติตัดกิเลสตามสังโยชน์

สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ มีความสำคัญดังนี้

๑. “การตัดสังโยชน์ ๑๐ หรือกิเลสที่ร้อยรัดจิตใจเราไว้ ๑๐ ประการ ก็คือการใช้ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งย่อมาจากอริยมรรค ๘ ประการนั่นเอง ในการปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์ก็ออกจากง่ายไปหายาก คือเพียรปฏิบัติให้เกิดอธิศีลก่อน แล้วจึงมุ่งหาอธิจิตและอธิปัญญาตามลำดับ โดยใช้อริยสัจเป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหา เห็นทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และในที่สุดก็อนัตตา ล้วนเป็นไตรลักษณ์ทั้งสิ้น แล้ววกเข้าหาอริยสัจ ทุกสิ่งล้วนเป็นทุกข์ เป็นทุกขัง จิตยอมรับกฎของธรรมดาหรือกฎของกรรมเสียอย่างเดียว จิตก็สงบเป็นสุข จึงมีอุบายอยู่มากมายในการพิจารณา”

๒. เช่น ก) พิจารณาการสัมผัสอากาศร้อนหรือหนาวเกินไป ให้เห็นตัวไม่เที่ยงของธรรมภายนอกและธรรมภายใน อากาศก็ไม่เที่ยง ขันธ์ ๕ ก็ไม่เที่ยง ยึดถืออันใดมิได้ เพราะธรรมทุกอย่างเข้าสู่ไตรลักษณญาณทั้งสิ้น เกิดแล้วก็เสื่อม เสื่อมแล้วก็สลายไปเป็นธรรมดา อย่าเอาจิตไปปรุงแต่ง รู้สักเพียงแต่ว่ารู้ อย่าสร้างอารมณ์ให้จิตเป็นทุกข์ยิ่งกว่านี้ แค่หนาวทุกข์เพียงร่างกายก็พอแล้ว อย่าได้มีอารมณ์พอใจหรือไม่พอใจ ให้เกิดอารมณ์ขุ่นข้องหมองใจอยู่ในจิต

ข) “ขณะนี้ในช่วงเย็น ทางวัดได้เปิดเทปคำสอนเก่า ๆ ของท่านฤๅษี ให้ได้ฟังเพื่อทบทวนกันอีกที ก็ให้ตั้งใจฟังแล้วพิจารณาคำสอนเหล่านั้นให้ละเอียดยิ่งขึ้น เป็นการเสริมการปฏิบัติให้ได้ผลยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพราะเทปคำสอนสายตรงอย่างนี้ ยิ่งฟังก็ยิ่งได้กำไร ฟังแล้วพิจารณาแล้วนำมาปฏิบัติยิ่งได้กำไรหลายเท่าตัว

ค) หลวงพ่อสอนมีความว่า “เรามีร่างกายจะห้ามไม่ให้มันหิวก็ไม่ได้ ห้ามตาไม่ให้เห็นรูป ห้ามหูไม่ให้ได้ยินเสียง ย่อมไม่ได้ ทางที่ถูกเราต้องห้ามใจ วิธีออกจากทุกข์ก็คือการปฏิบัติตัดสังโยชน์ ให้พิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างในโลกไม่เที่ยง และตัวไม่เที่ยงสำคัญที่สุด คือร่างกายที่ยังทรงชีวิตอยู่นี่ เห็นธรรมภายนอกแล้วย้อนเข้ามาหาธรรมภายใน เพื่อตัดสักกายทิฏฐิคลายความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายนี้ลงเสีย เพราะคนก็ดี สัตว์ก็ดีล้วนเป็นธาตุ ๔ มีอาการ ๓๒ มาประชุมกัน มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเสื่อมไปในท่ามกลาง มีความสลายตัวไปในที่สุดเหมือนกัน พิจารณาจุดนี้อยู่เนือง ๆ แล้วจักตัดราคะและปฏิฆะลงได้

ง) “เรื่องทานบริจาค บุคคลใดเข้าถึงความไม่เบียดเบียนตนเองและไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น ผู้นั้นได้ชื่อว่าทำทานบริสุทธิ์ เรื่องนี้ผู้ที่ยังไม่เข้าใจจักต้องศึกษากันอีกนาน และแม้แต่จักพูด ก็พูดได้แต่เฉพาะบางบุคคล สำหรับพวกที่มีทิฏฐิแรงพูดไม่ได้ เขายังไม่เข้าใจเรื่องเมตตา-กรุณาตนเองก่อนในพรหมวิหาร ๔ จึงทำทานเกินพอดี ทำทานจนตนเองเดือดร้อนก็ยังไม่เห็น แล้วยังเที่ยวหยิบยืมเงินผู้อื่นมาทำทานเป็นต้น นี่แหละคนล่ะ จงทำใจของเราให้ได้ว่าธรรมดาของคน ซึ่งแปลว่ายุ่ง มันก็เป็นอย่างนี้ จักได้ไม่ต้องกลับมาเกิดพบคนเจอคนอย่างนี้อีก”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-09-2011 เมื่อ 14:07
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 65 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 28-09-2011, 10:56
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,833 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๓. “อย่าหนีความโกรธ เพราะเป็นเรื่องของจิตที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของกิเลส จงตั้งใจละความโกรธด้วยอำนาจของสมถะและวิปัสสนา (กสิณ ๔ และพรหมวิหาร ๔) จงอย่าท้อถอย คิดว่ากิเลสที่จรเข้ามาคือครูทดสอบอารมณ์ของจิต จึงต้องแก้ที่จิตตน อย่าไปแก้ที่บุคคลอื่น พยายามเจริญวิปัสสนาให้มาก (เจริญพรหมวิหาร ๔) จักเห็นโทษของความโกรธได้ชัด แล้วจึงจักละซึ่งความโกรธได้”

๔. “การรับฟังคำสอนของหลวงปู่ไวยก็ดี ของท่านฤๅษีก็ดี จากเสียงตามสายก็ดี ให้นำมาคิดพิจารณาไตร่ตรองให้มาก ๆ จักมีผลให้จิตเจริญในธรรมปฏิบัติยิ่ง ๆ ขึ้นไป

อนึ่ง เหตุผ่านไปแล้ว อย่าเอาจิตไปเกาะให้เศร้าหมอง ยกเหตุขึ้นมาพิจารณาเป็นบทเรียนสอนจิตได้ แต่อย่าเกาะ พยายามอยู่ในธรรมปัจจุบันให้มาก พยายามหลีกเลี่ยงการปะทะคารมกับผู้อื่นเข้าไว้ เพราะขึ้นชื่อว่าไฟไม่มีใครอยากเอามาเผากาย เผาใจตน หรือขี้ก็ไม่มีใครอยากเข้าใกล้ พยายามอย่าใส่ใจกับอารมณ์โกรธที่มาจากภายนอก พยายามใส่ใจและควบคุมระงับความโกรธที่อยู่ภายในให้มาก อย่าแก้บุคคลอื่น ให้มุ่งแก้ไขอารมณ์จิตของตนเองเป็นสำคัญ

๕. “พุทธานุสติอย่าทิ้งไปจากจิต ในเมื่อรู้ตัวว่าอารมณ์โทสะจริตยังเด่นอยู่ (อย่าทิ้งพระ อย่าไปไหนคนเดียว อย่าอยู่คนเดียว ให้อยู่กับพระ) และพยายามรู้ลมหายใจให้มาก รู้ภาพพระไปด้วย จักได้ช่วยระงับอารมณ์โทสะได้ และอย่าคิดว่าทำยาก ให้พยายามทำเข้าไว้ ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จย่อมอยู่ที่นั่น อย่าลืม จักไปพระนิพพานได้ ก็อยู่ที่จิตของเรานั้นต้องพยายามชนะความโกรธ-โลภ-หลง เตือนตนเองเอาไว้เสมอ ด้วยความไม่ประมาท เพราะชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายนั้นเที่ยงอาจเกิดกับเราได้ทุกขณะจิต พิจารณาจุดนี้ให้จิตยอมรับ จักได้ไม่มีความประมาทในชีวิต


ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๙
รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 28-09-2011 เมื่อ 16:36
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 02:09



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว