กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 14-07-2015, 13:43
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,103 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันศุกร์ที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘

ให้ทุกคนนั่งในท่าที่สบายของตน ตั้งกายให้ตรง กำหนดความรู้สึกทั้งหมดอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกของตน หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ ที่เรามีความถนัดหรือเคยชินมาแต่เดิม

วันนี้เป็นวันศุกร์ที่ ๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘ วันนี้มีญาติโยมบางท่านตั้งคำถาม ต้องบอกว่าอยู่ในลักษณะของธรรมขั้นสูง อาตมาฟังแล้วมีความรู้สึก ๒ ประการด้วยกัน ประการแรกคือ ชื่นชมที่เขาขยันหมั่นเพียร ศึกษาพระไตรปิฎกจนแตกฉาน สามารถตั้งข้อสงสัยในสิ่งต่าง ๆ ที่ตนเองพบเห็นในพระไตรปิฎกได้

อีกข้อหนึ่งก็คือ เกิดความไม่ค่อยสบายใจว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ จะเป็นสิ่งที่ขวางการปฏิบัติของเขาหรือไม่ ? เนื่องเพราะในการปฏิบัตินั้น ปริยัติคือการศึกษาเล่าเรียนจากตำราหรือจากคำสอนของครูบาอาจารย์ เป็นเพียงแนวทางเท่านั้น การที่เราจะเข้าถึงมรรคถึงผลจริง ๆ นั้นอยู่ที่การทุ่มเทให้กับการปฏิบัติ ไม่เช่นนั้นแล้วการศึกษาตำราเพื่อเอาไปถกเถียงกัน ก็มีแต่จะสร้าง รัก โลภ โกรธ หลง ขึ้นมาในใจของเรามากยิ่งขึ้น กลายเป็นฉันรู้มากกว่า ฉันศึกษามามากกว่า ถ้าเป็นอย่างนั้นก็เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง

เหมือนข้อความที่ปรากฏอยู่ในอลคัททูปมสูตร ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงการศึกษาในพระไตรปิฎก เหมือนกับการจับงูข้างหาง มีแต่จะเกิดอันตรายแก่ตนเอง เพราะฉะนั้น..ท่านทั้งหลายเมื่อศึกษาพระไตรปิฎก ตำรา หรือคำสอนครูบาอาจารย์ ได้แนวทางที่พอเหมาะพอควรแก่ตน ก็ให้ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติไป ไม่เช่นนั้นจะอยู่ในลักษณะของเถรใบลานเปล่า ก็คือมีความรู้เฉพาะที่อยู่ในตำรา แต่ไม่มีความรู้จากการปฏิบัติของตนอย่างแท้จริง ถ้าลักษณะอย่างนั้นครูบาอาจารย์บางท่านก็ว่า เป็นพวกมอด พวกปลวก คอยแทะคัมภีร์อย่างเดียว หาได้ประโยชน์จากคัมภีร์มากไปกว่านั้นไม่
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 14-07-2015 เมื่อ 13:47
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 54 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 15-07-2015, 11:14
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,103 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ในเมื่อเป็นเช่นนั้น เราก็นำมาเป็นตัวอย่าง ถ้าเราศึกษาจนเกิดความเข้าใจ เกิดความเลื่อมใสในคุณพระรัตนตรัย ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติธรรมไป โอกาสที่เราจะเข้าถึงมรรคถึงผลก็มี ไม่เช่นนั้นก็เหมือนกับทัพพี ต่อให้คาอยู่ในหม้อแกงที่มีรสชาติเอร็ดอร่อยขนาดไหนก็ตาม ก็หาได้มีโอกาสลิ้มลองซึ่งรสแกงนั้นไม่ ในพระไตรปิฎกเปรียบเหมือนลูกจ้างเลี้ยงโค ไม่มีโอกาสที่จะได้รับรู้รสชาติของปัญจโครส ก็คือ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น และน้ำมันเปรียงเลย เนื่องจากตนเองเป็นเพียงลูกจ้างเลี้ยงวัว ไม่ใช่เจ้าของวัว

การปฏิบัติธรรมของเรา ต้องปฏิบัติในลักษณะของเจ้าของวัว ก็คือลงมือลิ้มลองในส่วนของธรรมะที่ปรากฏอยู่ ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง ๆ ไม่อย่างนั้นเราก็ได้แต่ศึกษาตำราไปคุยอวดกัน กลายเป็นติรัจฉานกถา คือคำพูดที่ขวางแนวทางการปฏิบัติ เพราะการไปถกเถียงกันเป็นเหตุให้ฟุ้งซ่าน ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตักเตือนเอาไว้ว่า อย่าได้กล่าววาจาอันเป็นเหตุให้เถียงกัน เพราะวาจาเป็นเหตุให้เถียงกัน ทำให้จำเป็นต้องพูดมาก บุคคลที่พูดมากจิตใจย่อมฟุ้งซ่าน บุคคลที่ฟุ้งซ่านย่อมห่างจากสมาธิ ดังนี้เป็นต้น

สำหรับพวกเราทั้งหลายนั้น การปฏิบัติธรรมขอให้เข้าใจว่า สิ่งที่เราจะทิ้งไม่ได้เลยก็คือลมหายใจเข้าออก เพราะว่าเป็นพื้นฐานใหญ่ของกรรมฐานทั้งปวง เมื่อภาวนาจนอารมณ์ใจทรงตัวแล้ว ให้ตั้งใจแผ่เมตตาไปสู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย เมื่อแผ่เมตตาจนเต็มที่แล้ว ให้ถอนกำลังใจออกมาพิจารณาในวิปัสสนาญาณ ไม่ว่าจะเป็นการดูไตรลักษณ์ คือการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป การดำรงอยู่ท่ามกลางกองทุกข์ การไม่มีอะไรยึดถือมั่นหมายเป็นตัวตนเราเขาได้ หรือว่าจะดูในอริยสัจ มองทุกข์ให้เห็น หาสาเหตุของทุกข์ให้เจอ ระมัดระวังอย่าไปสร้างสาเหตุของทุกข์ ความทุกข์ก็ไม่เกิดขึ้นกับเรา

หรือว่าจะดูตามนัยของวิปัสสนาญาณ ๙ คือ ดูการเกิด การดับก็ได้ ดูว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแล้วแต่ดับไปก็ได้ ดูว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแล้วแต่เป็นโทษ ล้วนแล้วแต่เป็นภัย เป็นของน่ากลัว เป็นของน่าเบื่อหน่าย เป็นของที่ควรจะไปเสียให้พ้น เป็นของที่ควรจะหลีกหนี หาทางหนีให้พ้น จนกระทั่งสภาพจิตไม่ยึดเกาะสิ่งใด ๆ กลายเป็นสังขารุเปกขาญาณ ถ้าทำอย่างนั้นจนสภาพจิตทรงตัวจริง ๆ ท่านทั้งหลายก็สามารถที่จะก้าวล่วงจากกองทุกข์ เข้าสู่พระนิพพานได้

ลำดับต่อไปขอให้ทุกท่านตั้งใจภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
วันศุกร์ที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘

(ถอดจากเสียงเป็นอักษรโดยทาริกา)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 15-07-2015 เมื่อ 15:15
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 42 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 07:54



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว