กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 18-02-2015, 12:41
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,194 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันเสาร์ที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

ขอให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติคือความรู้สึกทั้งหมดของเราไว้ที่ลมหายใจเข้าออกเฉพาะหน้า หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ที่เรามีความถนัดมาแต่เดิม ถ้าเผลอสติไปคิดถึงเรื่องอื่นที่ไม่ใช่ลมหายใจเข้าออกและคำภาวนา เมื่อรู้ตัวก็ให้รีบดึงกลับมาอยู่ที่ลมหายใจและคำภาวนาเสียใหม่

วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๗ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๘ มีผู้สอบถามปัญหาว่า ถ้าตั้งใจจะเป็นพระอนาคามีปฏิสัมภิทาญาณ จะต้องปฏิบัติกสิณทั้ง ๑๐ กองแล้วทำให้ได้อรูปฌาน ๔ จากนั้นเป็นการละสังโยชน์ ๕ ใช่หรือไม่ ? อาตมาก็สงสัยว่าทำไมถึงไปอาลัยอาวรณ์อยู่ที่พระอนาคามี ในเมื่อทำต่อไปอีกนิดเดียวก็เป็นพระอรหันต์แล้ว ?

ในส่วนของการจะเป็นบุคคลที่ทรงปฏิสัมภิทาญาณนั้น อันดับแรกต้องฝึกกสิณกองใดกองหนึ่งในจำนวนทั้ง ๙ กอง ซึ่งเว้นอากาสกสิณ เหตุที่ต้องเว้นอากาสกสิณเพราะว่า อากาสกสิณมีสภาพว่างเปล่าเหมือนอรูปฌาน จะทำให้เกิดการสับสนปนเปกัน เมื่อถึงเวลาจะฝึกในอรูปฌาน ไม่รู้ว่าจะเพิกภาพที่ไหนทิ้งได้ จึงต้องเว้นเอาไว้กองหนึ่ง

ส่วนอีก ๙ กองที่เหลือ เราจับกสิณกองใดกองหนึ่งขึ้นมาพร้อมกับคำภาวนา จนกระทั่งในที่สุดกสิณกองนั้นติดตาติดใจ ลืมตาก็เห็นได้ หลับตาก็เห็นได้ ก็ให้ประคับประคองรักษากองกสิณพร้อมกับลมหายใจเข้าออกของเราไว้ จะมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ท้ายสุดก็จะกลายเป็นสีเหลืองอ่อน สีขาว สีใส และใสเหมือนแก้วสะท้อนแสง ถึงเวลานั้นให้ทดลองอธิษฐานดูว่า ภาพกสิณนั้นขยายใหญ่ได้ เล็กได้ มาได้ หายไปได้ ถ้าทำได้คล่องตัว ก็อธิษฐานขอใช้ผลของกสิณกองนั้นได้

เมื่อทำโดยคล่องตัวแล้ว ถึงเวลาก็ให้ตั้งภาพกสิณขึ้นมาก่อน แล้วกำหนดเพิก ก็คือลืมหรือทิ้งภาพกสิณนั้นไปเสีย ไปจับความว่างไม่มีขอบเขตของอากาศแทน เมื่อจับความว่างของอากาศ ถ้ารู้สึกว่าขาดคำภาวนาจะใช้คำภาวนาว่า "อากาสา อนันตา..อากาสา อนันตา" ก็ได้ จนกระทั่งสมาธิจิตของเราทรงกำลังเท่ากับฌาน ๔ เต็มระดับ ก็แปลว่าเราได้อรูปฌานกองที่ ๑
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 19-02-2015 เมื่อ 02:14
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 75 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 20-02-2015, 18:10
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,194 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

จากนั้นก็ให้กำหนดภาพกสิณขึ้นมาใหม่ เมื่อละจากภาพกสิณนั้นแล้ว ก็ให้ทำความรู้สึกว่า แม้ว่าอากาศจะว่างก็จริง แต่ยังสามารถกำหนดได้ด้วยความรู้สึกคือวิญญาณของเรา ดังนั้น..จึงปล่อยวางความว่างของอากาศไปจับความไม่มีขอบเขตของวิญญาณแทน ถ้าจะใช้คำภาวนาก็ภาวนาว่า "วิญญาณัง อนันตัง..วิญญาณัง อนันตัง" กำหนดใจอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกำลังทรงเท่ากับฌาน ๔ เต็มระดับ ก็จะสำเร็จในอรูปฌานที่ ๒

แล้วก็กลับมากำหนดภาพกสิณขึ้นมาใหม่ เมื่อละหรือเพิกจากภาพกสิณนั้นแล้ว ก็ให้กำหนดใจคิดว่า สรรพสิ่งทั้งหลาย ในที่สุดก็เสื่อมสลายตายพังไปทั้งหมด ไม่มีอะไรทรงตัวอยู่ได้ แม้แต่นิดหนึ่งก็ไม่มี ไม่ว่าจะตัวเรา ตัวเขา คน สัตว์ วัตถุธาตุ สิ่งของใด ๆ ก็ตาม ท้ายที่สุดก็เสื่อมสลายตายพังไปหมด ไม่มีอะไรเหลืออยู่แม้แต่น้อย ถ้าจะใช้คำภาวนาก็ใช้คำภาวนาว่า "นัตถิ กิญจิ..นัตถิ กิญจิ" จนกระทั่งอารมณ์ใจของเราทรงตัวเท่ากับรูปฌาน ๔ เต็มกำลัง ก็จะสำเร็จในอรูปฌานที่ ๓ คืออากิญจัญญายตนฌาน

หลังจากนั้นก็ให้กำหนดภาพกสิณขึ้นมาใหม่ เมื่อละหรือเพิกจากภาพกสิณนั้นแล้ว อะไรเกิดขึ้นกับสภาพร่างกายก็ทำเป็นไม่สนใจ ไม่รับรู้..ไม่ว่าจะหนาว ร้อน หิว กระหาย สักแต่ว่ารู้ไว้เฉย ๆ ไม่ได้เอาใจใส่กับสภาพที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เรียกง่าย ๆ ว่า รู้ก็ทำเป็นไม่รู้ เห็นก็ทำเป็นไม่เห็น กำหนดใจอยู่กับคำภาวนา ถ้าหากว่าจะใช้คำภาวนา ตรงจุดนี้จะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ เมื่อกำหนดกำลังใจจนกระทั่งทรงตัวเทียบเท่ากับฌาน ๔ เต็มระดับ ก็จะสำเร็จอรูปฌานที่ ๔ หรือสมาบัติที่ ๘ ซึ่งถ้าหากว่าในการปฏิบัตินั้น สมาบัติที่ ๘ จะค่อนข้างยุ่งยากนิดหนึ่ง เพราะว่าเผลอเมื่อไรเราก็จะไปยึด ไปเกาะในร่างกาย ซึ่งจะต้องปลดจิตออกมา ไม่ไปใส่ใจกับสภาพต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้จริง ๆ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 21-02-2015 เมื่อ 03:18
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 57 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 22-02-2015, 13:31
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,194 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เมื่อท่านทั้งหลายทรงสภาพของฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ แล้ว ก็ให้ดูที่สังโยชน์ ๕ พยายามละในส่วนของสักกายทิฐิ คือ ความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นตัวเราของเรา วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัยในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ได้เคารพยึดมั่นจริง ๆ สีลัพพตปรามาส คือ ละเว้นจากการรักษาศีลแบบไม่จริงไม่จัง หันมารักษาศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ไม่ละเมิดศีลด้วยตนเอง ไม่ยุให้ผู้อื่นละเมิดศีล และไม่ยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นละเมิดศีล

หลังจากนั้นก็ปล่อยวางในส่วนของรูปและส่วนที่ไม่ใช่รูป โดยเฉพาะส่วนที่ละเอียดที่สุดก็คือรูปฌานและอรูปฌาน ให้เห็นว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ เป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยให้เราก้าวล่วงพ้นจากกองทุกข์เท่านั้น ยังไม่ใช่ที่พึ่งที่ระลึกอย่างแท้จริง ถ้าท่านสามารถวางกำลังใจมาถึงระดับนี้ได้ ความเป็นพระอนาคามีก็จะเข้ามาถึง ถ้าความเป็นพระอนาคามีเข้ามาถึงเมื่อไร ท่านก็สามารถที่จะใช้กำลังของปฏิสัมภิทาญาณ ๔ ได้เมื่อนั้น

เนื่องจากว่ากำลังของปฏิสัมภิทาญาณทั้ง ๔ นั้นสูงมาก จะทำอะไรเพียงแค่คิดก็สัมฤทธิ์ผลตามที่ต้องการแล้ว จึงต้องกำหนดไว้ว่า ให้กำลังใจเราเข้าถึงความเป็นพระอนาคามีเป็นอย่างน้อย เพื่อที่จะตัดในเรื่องของรัก โลภ โกรธ ให้ได้อย่างแท้จริง ความหลงก็เหลือไม่มากแล้ว จะได้ไม่ไปละเมิดสิ่งที่เป็นการฝืนกฎเกณฑ์ธรรมชาติหรือกฎของกรรม

ถ้าท่านทั้งหลายพิจารณาต่ออีกเพียงเล็กน้อย ก็จะสามารถก้าวล่วงพ้นจากกองทุกข์ได้ โดยเฉพาะในการที่เราไปยึดในสิ่งที่มาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ว่าจะพอใจหรือไม่พอใจ ก็ล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดกิเลสทั้งสิ้น นั่นคือส่วนของอวิชชา ความเขลาไม่รู้จริง การชอบใจเป็นราคะ การไม่ชอบใจเป็นโทสะ ดังนั้น..เมื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระทบตา เห็นก็ต้องทำเป็นไม่เห็น กระทบหู ได้ยินก็ต้องทำเป็นไม่ได้ยิน กระทบจมูก ได้กลิ่นก็ต้องทำเป็นไม่ได้กลิ่น กระทบลิ้น ได้รสก็ต้องทำเป็นไม่ได้รส กระทบกาย ก็ต้องทำเป็นไม่รู้สึกถึงสัมผัส กระทบใจ ก็หยุดการครุ่นคิดให้ได้

ถ้าท่านทั้งหลายสามารถสกัดกั้นกิเลสเหล่านี้เอาไว้ได้ ไม่ให้เข้ามาถึงใจของเรา ความผ่องใสของดวงจิตก็จะมีมากขึ้น ๆ เมื่อปล่อยละความปรารถนาในร่างกายนี้ ในโลกนี้ ตลอดจนความปรารถนาในการเกิดได้อย่างสิ้นเชิง ท่านทั้งหลายก็สามารถล่วงพ้นจากกองทุกข์เข้าสู่พระนิพพานได้ ไม่จำเป็นที่จะต้องไปฝึกกสิณทั้ง ๑๐ กองอย่างที่ผู้ถามมีความเข้าใจมา

ลำดับต่อไป ขอให้ท่านทั้งหลายตั้งใจภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
วันเสาร์ที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

(ถอดจากเสียงเป็นอักษรโดยคะน้าอ่อน)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 22-02-2015 เมื่อ 19:42
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 49 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 22:13



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว