กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > กระทู้ธรรม > ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 25-07-2011, 09:22
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default ให้ระวังการนินทา-กรรมบถ ๑๐

ให้ระวังการนินทา-กรรมบถ ๑๐ หมวดวาจา ๔

สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญดังนี้

๑. “การสนทนาธรรมวันนี้ ให้หลีกเลี่ยงการนินทา ควบคุมกรรมบถ ๑๐ ทางด้านวาจาเอาไว้บ้างเป็นดี เพราะในจุดนี้ยังสอบตกกันมาก ให้พิจารณาเสียก่อนจึงพูด พยายามจับผิดในวจีกรรมหมวดวาจา ๔ แล้วแก้ไขเสีย ฟังให้มาก พูดให้น้อย ก็จักดีขึ้นเอง”

๒. (ก็คิดว่า การควบคุมกรรมบถ ๑๐ นั้นยาก) ทรงตรัสว่า “ไม่ยากหรอก ถ้าหากมีความตั้งใจ กำหนดรู้กันจริง ๆ ให้ศึกษาจริยาของพระที่จิตถึงระดับนี้แล้ว ท่านไม่มีความอนาทรร้อนใจในเรื่องของขันธ์ ๕ อยู่ก็อยู่ ตายก็ตาย แต่ถ้ายังไม่ตายหน้าที่การงานทางพุทธศาสนาซึ่งรับผิดชอบมีเท่าใด ท่านไปได้ก็จักไปทำตามนั้น” (หลวงปู่ไวยท่านป่วยแต่ท่านก็ยังไปโปรดชาวเขาตามปกติ)

๓. “ให้ดูท่านฤๅษีก็เช่นกัน แม้กระทั่งป่วยในวันสุดท้ายนั้น ท่านก็ยังลงรับแขกตามหน้าที่ และยืนยันแม้กระทั่งจักเข้ามาสอนพระกรรมฐานที่สายลม ให้พวกเจ้าศึกษากำลังใจจุดนี้ของพระอริยเจ้าเบื้องสูง ท่านเป็นอย่างนี้จงดูและศึกษาให้มาก ๆ “

๔. “หมั่นดูกรรมบถ ๑๐ ให้มากด้วย อย่าเพ้อเจ้อเหลวไหล การพูดอย่างมีสติกับการพูดอย่างไม่มีสตินั้น ต่างกันตรงที่จักต้องคิดไว้ก่อนแล้วจึงพูด พูดอย่างนี้มีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ เป็นกุศลหรืออกุศล เป็นบุญหรือบาป เป็นคุณหรือเป็นโทษ เป็นสุขหรือเกิดทุกข์ หากใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงพูด (นิสัมมะ กรณังเสยโย) ก็จักเพิ่มกุศลให้กับตนเองและผู้รับฟังธรรม

๕. “การทำหน้าที่เพื่อส่วนรวมนั้น ย่อมต้องเสียสละหมดทุกอย่าง แม้แต่สละร่างกายก็ยอม ด้วยเห็นผลในการทำหน้าที่เพื่อส่วนรวมนั้น ๆ เป็นวิสัยของพุทธสาวกพึงมีมาแล้วในทุก ๆ พุทธันดร(แต่จงดูบารมีหรือกำลังใจของตนเองด้วยว่ามีระดับไหน อย่าเห็นช้างขี้แล้วจะขี้ตามช้างโดยขาดปัญญา จะทำอะไรให้อยู่ในขอบเขตของบารมีของตน)

๖.”ที่ตรัสนี้เป็นปฏิปทาของพระอรหันต์ส่วนใหญ่ แต่ไม่ใช่ทุกองค์หรอกนะ เพราะทุกองค์เมื่อจบกิจแล้ว ก็จักรู้หน้าที่แห่งตน และรู้หน้าที่ควรและไม่ควรในกิจที่ต้องกระทำหรือไม่กระทำแห่งตนอีกด้วย องค์ไหนรับหน้าที่อย่างไร ก็พึงเป็นไปตามนั้น”


๗. “ชาติ-ศาสนา-พระมหากษัตริย์ ๓ สถาบันนี้ขาดกันไม่ได้ ต้องพึ่งพากันอยู่ตลอด และจงอย่าลืม พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย เพราะสมเด็จองค์ปัจจุบันทรงตรัสไว้ชัดว่า พระพุทธศาสนาจักเจริญอยู่กับประเทศไทยจนครบ ๕,๐๐๐ ปี ท่านฤๅษีก็ดี-หลวงปู่ไวยก็ดี ตอนมีชีวิตอยู่ ปฏิปทาของท่านช่วยคน ช่วยชาติอย่างไร พวกเจ้าจึงพึงศึกษากันไว้” (ให้ทุกคนศึกษาได้ในธรรมะเล่ม ๒ รำลึกถึงความดีของหลวงพ่อในอดีต หลวงพ่อฤๅษีวัดท่าซุงหรือพระราชพรหมยานมหาเถระ)

๘. “มีคนประพฤติไม่ดีอยู่เพียงคนเดียว ก็ทำให้คนทั้งวัดเดือดร้อนไปได้เหมือนกัน มันเป็นไปตามวาระของกรรม คนเห็นแก่ตัว คือ คนที่เห็นแก่ร่างกายมากเกินไป จนทิ้งหน้าที่ของตน ขาดเทวธรรม(หิริ - โอตตัปปะ) จงอย่าอยากเลวตามเขา อย่าอยากสบายตามเขา ซึ่งเป็นการตามใจกิเลส ปล่อยให้กิเลสจูงจมูกไป จงอย่าสนใจ กรรมใครกรรมมัน เสียเวลาปฏิบัติธรรมโดยใช่เหตุ อยู่กับคนหมู่มากพึงจักใจเย็น ๆ เข้าไว้

๙.“อย่าเอาแต่อารมณ์ของตนเองเป็นใหญ่ อะไรที่ผ่านแล้วให้ผ่านเลย เพราะเป็นอดีตไปแล้ว ให้ตั้งต้นปรับอารมณ์เสียใหม่ ที่ผ่านไปแล้วให้ถือว่าเป็นครู ทำอะไรอย่าให้ขาดทุน ดูอารมณ์ของตนเองเข้าไว้ให้ดี ๆ


ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๘
รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 79 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 15:32



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว