กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

กระทู้ถูกปิด
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 08-08-2010, 19:01
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,126 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐานวันเสาร์ที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓

วันนี้คนแน่นมากไปหน่อย ทุกคนพยายามนั่งในท่าที่สบายเท่าที่ทำได้ก็แล้วกัน โดยเฉพาะตั้งตัวให้ตรงไว้ เพื่อให้ลมหายใจเดินได้สะดวก กำหนดสติความรู้สึกอยู่เฉพาะหน้าของเรา คือ อยู่กับลมหายใจเข้า ลมหายใจออก

หายใจเข้าพร้อมกับคำภาวนาที่เราถนัด กำหนดความรู้สึกไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออกพร้อมกับคำภาวนาที่เราถนัด กำหนดความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจของเราออกมา

วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๓๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓ ตรงกับวันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๘ หลัง จะว่าไปวันนี้ก็เป็นวันเสาร์ห้าเหมือนกัน แต่เป็นเสาร์ห้าข้างแรม ถือเป็นฤกษ์อมฤตโชค สำหรับคนเกิดปีจอ เป็นวันลาภของคนเกิดปีจอด้วยและตรงกับวันอมฤตโชคด้วย เด็ก ๆ สมัยนี้ไม่ค่อยจะจำขึ้นจำแรมกันแล้ว แม้กระทั่งพระเณรก็ไม่ค่อยจะจดจำกัน น้อยคนนักที่เราถามแล้วจะบอกได้ว่า วันนี้ขึ้นแรมเท่าไร

สำหรับวันนี้ก็เป็นวันปฏิบัติกรรมฐานวันที่สองของเดือนสิงหาคม แต่เนื่องจากมาปลายเดือนกรกฎาคม จึงเป็นการปฏิบัติที่คาบเกี่ยวเนื่องกันกับเดือนสิงหาคม

เมื่อวานที่ผ่านมาได้กล่าวถึงสังโยชน์ เครื่องร้อยรัดเราให้ติดอยู่ในวัฏสงสาร ได้ว่าไปถึงสังโยชน์เบื้องต้นสามข้อ แต่ถ้าหากแบ่งตามโบราณาจารย์ท่าน บางทีท่านแบ่งว่าสังโยชน์เบื้องต้นเป็น ๕ ข้อด้วยกัน เรียกว่า โอรัมภาคิยสังโยชน์ ก็คือสังโยชน์เบื้องต่ำ ส่วนข้อที่ ๖-๑๐ ท่านเรียกว่า อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ก็คือ สังโยชน์เบื้องสูงนั่นเอง

เมื่อวานได้กล่าวแล้วว่า การจะเป็นพระโสดาบันนั้น สังโยชน์เบื้องต่ำสามข้อเราต้องละวางให้ได้ แม้ว่าจะไม่เด็ดขาดหมดสิ้นไปเสียทีเดียว แต่ก็ต้องละวางให้ได้ในระดับที่ว่า เราต้องมีความเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างจริงจัง ไม่ล่วงเกินด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

เราต้องเป็นบุคคลที่มีศีลบริสุทธิ์ ไม่ละเมิดศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นละเมิดศีล และไม่ยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นละเมิดศีล และท้ายสุดต้องมีปัญญารู้ว่า เราจะต้องตายอย่างแน่นอน ถ้าหากตายแล้วกำลังใจเรามุ่งตรงที่เดียวคือพระนิพพาน

โดยกำลังสมาธิที่จะหนุนเสริมความเป็นพระโสดาบันนั้น ต่ำสุดต้องได้ระดับปฐมฌานขึ้นไป ยิ่งเป็นปฐมฌานละเอียดยิ่งดี ในส่วนของพระสกทาคามีนั้น ท่านละสังโยชน์เบื้องต่ำได้สามข้อ และทำให้ราคะ โทสะเบาบางลงได้

การที่จะทำราคะ โทสะให้เบาบางลงได้ ก็แปลว่าสติ สมาธิ และปัญญา จะต้องเข้มข้นกว่าพระโสดาบันมาก โดยเฉพาะกำลังที่จะกดราคะและโทสะลงได้นั้น จะต้องเป็นกำลังของฌานสี่เท่านั้น ฌานอื่นต่ำกว่านั้นจะเอาไม่อยู่

เมื่อเป็นดังนั้นก็แสดงว่า บุคคลที่เป็นพระโสดาบันแล้ว ถ้าจะพัฒนาขึ้นมาเป็นพระสกทาคามี สมาธิจะต้องทรงตัวมากขึ้น จากปฐมฌานจะต้องเป็นฌานสอง ฌานสาม จนเข้าถึงฌานสี่ โอกาสที่จะเข้าถึงความเป็นพระสกทาคามีจึงจะมีได้ แม้กติกาในการปฏิบัติจะมีเท่ากับพระโสดาบัน แต่ว่า ราคะ โทสะ ลดลงไปได้มาก ถ้าหากว่าเป็นพระสกิทาคามีจริง ๆ ก็แทบจะไม่มีราคะและโทสะเหลืออยู่แล้ว
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 09-08-2010 เมื่อ 03:51
สมาชิก 65 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 09-08-2010, 09:38
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,126 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เราจึงจะเห็นได้ว่า ในเรื่องของการปฏิบัตินั้น จริง ๆ แล้วคำตอบแทบทุกอย่างอยู่ที่สมาธิภาวนาทั้งสิ้น ยกเว้นปัญญาที่จะตัดละในช่วงท้ายเท่านั้น แต่ว่าปัญญานั้นก็มีพื้นฐานจากสมาธินั่นเอง

พวกเราจึงจำเป็นที่จะต้องมาฝึกทบทวนในเรื่องของสมาธิกันเอาไว้ แต่สิ่งที่อยากจะเตือนก็คือว่า อย่ารอให้ถึงเวลาปฏิบัติกรรมฐานต้นเดือนแล้วเราถึงได้ทำ ถ้ารอเวลาปฏิบัติกรรมฐานต้นเดือนแล้วถึงทำ ต้องเรียกว่า ไม่พอกิน

เนื่องจากว่าเรามีเวลาปฏิบัติแค่เดือนละสามวัน และเกินกว่า ๕๐ เปอร์เซ็นต์ก็มาได้ไม่ครบสามวัน การปฏิบัตินั้นเราจำเป็นที่จะต้องทำทุกวัน ในแต่ละวันนั้นต้องให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

คำว่า"มากที่สุด" ไม่ใช่เรานั่งสมาธิทั้งวัน หากแต่ว่านั่งสมาธิแล้วอารมณ์ใจทรงตัวได้เท่าไร เมื่อเราไปทำการงานอื่น ๆ หรือเปลี่ยนอิริยาบถจากนั่งไปเป็นยืน เป็นเดิน เป็นนอนก็ตาม ให้เราประคับประคองรักษาอารมณ์ใจของเราให้หนักแน่น ให้มั่นคง เทียบเท่ากับตอนที่เรานั่งอยู่ โดยเฉพาะวัดเอาจากสังโยชน์หรือวัดเอาจากนิวรณ์ ๕ ประการ

การวัดจากสังโยชน์นั้น ถ้าหากเราเข้าไม่ถึงจริง ๆ โอกาสที่จะเข้าใจรู้เห็นได้ชัดเจนก็จะมีน้อย จึงให้วัดจากกิเลสหยาบ คือ นิวรณ์ ๕ ก็แล้วกัน คือ เราวัดว่าในขณะที่เราเลิกจากการนั่งสมาธิแล้ว จิตของเรายังทรงตัวหนักแน่นเหมือนเดิม ไม่หวั่นไหวต่อนิวรณ์ทั้ง ๕ คือ ยินดีในรูปสวย รสอร่อย กลิ่นหอม เสียงไพเราะ สัมผัสระหว่างเพศหรือไม่ ?

เรายังโกรธเกลียดอาฆาตพยาบาทผู้อื่นอยู่ในจิตในใจหรือไม่ ? เรามีความง่วงเหงาหาวนอนหรือขี้เกียจปฏิบัติอยู่ในใจตอนนั้นหรือไม่ ? เรามีความฟุ้งซ่านเดือดร้อนรำคาญใจหรือไม่ ? และท้ายสุดเรามีความสงสัยลังเลต่อผลการปฏิบัติหรือไม่ ? ว่าจะมีจริงหรือไม่มีจริงตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสั่งสอนเอาไว้

ถ้าหากสภาพจิตของเราไม่มีนิวรณ์ทั้ง ๕ ประการนี้ ก็แปลว่าสมาธิของเรายังทรงตัวอยู่ อย่างน้อย ๆ ก็อยู่ในระดับของปฐมฌาน แปลว่าเราสามารถระมัดระวังป้องกันกิเลสได้ในส่วนหนึ่ง

แต่ถ้าหากจิตใจเรามีนิวรณ์ตัวใดตัวหนึ่งอยู่ก็ตาม ให้รู้ว่าตอนนั้นสภาพจิตของเราแย่แล้ว ข้าศึกเข้ามายึดบ้านยึดเมืองของเราได้แล้ว ถ้าไม่รีบขับไล่ข้าศึกออกไป เดี๋ยวก็งอกรากฝังลึก ทำให้เราไม่สามารถที่จะทรงสมาธิได้อย่างที่ต้องการ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 09-08-2010 เมื่อ 12:54
สมาชิก 57 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 10-08-2010, 14:12
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,126 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

สำหรับวันนี้ก็ขอกล่าวถึงสังโยชน์อีก ๒ ข้อต่อไป ก็คือ กามราคะและปฏิฆะ ในตัวกามราคะนั้น ดังที่กล่าวแล้วว่าเป็นตัวเดียวกับกามฉันทะของนิวรณ์ ๕ นั่นเอง แต่ในที่นี้เราหมายเอาชัดเจนว่าเป็นอารมณ์ทางเพศ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่มีขึ้น ที่เกิดขึ้นกับตัวเรา

เพราะว่าราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เป็นสมบัติของร่างกาย ตราบใดที่เรายังอาศัยร่างกายนี้อยู่ ก็จะมีพวกนี้เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยเป็นปกติ เพียงแต่ว่าในเบื้องต้นนั้น เราต้องใช้กำลังของสมาธิกดราคะ กดโลภะ กดโทสะ กดโมหะให้สงบลงชั่วคราว แล้วเราจะเห็นหนทางว่า ทำอย่างไรที่จะทำให้จิตของเราผ่องใส ปราศจากสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้

อย่างเช่นถ้าปัญญาเกิด มองเห็นแล้ว ไม่ไปนึกคิดปรุงแต่งต่อ เห็นก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน ได้กลิ่นก็สักแต่ว่าได้กลิ่น ได้รสสักแต่ว่าได้รส สัมผัสสักแต่ว่าสัมผัส ไม่เอาใจไปครุ่นคิด รัก โลภ โกรธ หลง ก็ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้

ดังนั้น ในการที่เราจะละตัวกามราคะ อันดับแรก สมาธิต้องทรงตัว อย่างน้อยต้องทรงตัวในระดับปฐมฌานละเอียด เพื่อที่จะได้กดสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ให้ดับลงชั่วคราว แล้วหลังจากนั้นค่อยมาพิจารณาให้เห็นทุกข์เห็นโทษในเรื่องของกามราคะ เกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด ถอนความยินดีและพอใจออกเสีย

เพราะว่าตัวกามราคะนั้นเป็นตัวก่อให้เกิดขึ้นมา การเกิดขึ้นมาไม่ว่าจะเกิดในลักษณะใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นคน เป็นสัตว์ จะเป็นหญิงเป็นชายก็ตาม ล้วนแล้วแต่เกิดมาบนกองทุกข์ทั้งสิ้น เมื่อเราเห็นโทษ ตั้งใจจะละ จะวาง ก็ต้องพยายามสร้างกำลังใจของเราให้เข้มแข็งยิ่่งขึ้น ให้สมาธิทรงตัวยิ่งขึ้น เพื่อจะได้ระงับยับยั้งกำลังของราคะได้ทันท่วงที

หาไม่แล้วราคะที่มีกำลังมากกว่า ก็จะท่วมทับจิตใจของเรา จนกระทั่งไม่สามารถที่จะปฏิบัติภาวนาอย่างที่้้ต้องการได้

เคยมีพระเณรถามอาตมาว่า ทำไมต้องรีบตื่นขึ้นมาภาวนาตั้งแต่ตีสองตีสาม ก็บอกกับท่านว่าให้เราตื่นก่อนกิเลส ถ้ากิเลสตื่นก่อนเราจะเดือดร้อนทั้งวัน คำว่ากิเลสในที่นี้แทบจะหมายเอากามราคะเป็นใหญ่

ถ้าเราสามารถลุกขึ้นมาภาวนาจนอารมณ์ใจทรงตัวเสียก่อน ตัวกามราคะก็จะโดนอำนาจของสมาธิกด..ยับยั้ง..ให้โทรม..ให้ดับลงไปชั่วคราว เราก็จะมีความสุขเยือกเย็นได้ทั้งวัน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 10-08-2010 เมื่อ 16:51
สมาชิก 56 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 17-08-2010, 09:45
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,126 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ดังนั้น ท่านทั้งหลายถ้าหากยังไม่สามารถจะทรงปฐมฌานได้ เราก็ยังเดือดร้อนกับกามราคะตลอดเวลา ถ้าทรงปฐมฌานได้ เราสามารถที่จะพ้นได้ชั่วคราวขณะที่ทรงฌาน แต่ถ้าหากทรงฌานสี่ได้คล่องตัวเมื่อไร รู้สึกตัวว่าจะเกิดกามราคะขึ้น เราก็สามารถที่จะระงับยับยั้งได้ทันท่วงที

ส่วนในเรื่องของปฏิฆะ อารมณ์กระทบใจนั้น ถ้าเราอยู่กับปฐมฌานละเอียด สติ สมาธิและปัญญาที่แหลมคม จะทำให้รู้ว่า สิ่งนี้กระทบแล้วจะเกิดราคะ สิ่งนี้กระทบแล้วจะเกิดโลภะ สิ่งนี้กระทบแล้วจะเกิดโทสะ เราก็พยายามหลีกเลี่ยง

การเลี่ยงในระยะแรก ก็คือ การอยู่กับตัวสมาธิ อยู่กับลมหายใจเข้าออกของเรา ไม่ไปครุ่นคิด ไม่ไปสนใจ ก็ทำให้ราคะ โลภะ โทสะ กำเริบไม่ได้ หลังจากนั้นถ้าสามารถพัฒนาสมาธิให้ทรงตัวยิ่งขึ้นไป กำลังระงับยับยั้งในตัวปฏิฆะก็มีมากขึ้น จนกระทั่งท้ายสุดเมื่อทรงฌานสี่ทรงตัว ก็จะสามารถระงับยับยั้งได้โดยฉับพลันทันที

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าปฏิฆะจะหายไป จนกว่าเราจะพิจารณาเห็นทุกข์เห็นโทษ แล้วถอนกำลังใจออกมา ไม่รับแรงกระทบต่าง ๆ โดยสิ้นเชิงแล้ว เราจึงสามารถที่จะพ้นไปได้ แปลว่าท่านทั้งหลายต้องก้าวสู่ความเป็นพระอนาคามีเท่านั้น

พื้นฐานของความเป็นพระอนาคามีที่สำคัญที่สุดก็คือ ต้องทรงฌานสี่ได้ ถ้าไม่สามารถจะทรงฌานสี่ได้ เราไม่สามารถจะทรงความเป็นอนาคามีได้ เพราะว่ากำลังไม่เพียงพอที่จะกดราคะกับโทสะให้นิ่งสนิทลงไป

สำหรับวันนี้ก็ขอกล่าวในเรื่องของสังโยชน์เพิ่มขึ้นอีกสองข้อเท่านั้น ตอนนี้ก็ทำให้ทุกท่านตั้งใจ..กำหนดใจอยู่กับลมหายใจเข้าออกของตน ถ้ายังมีลมหายใจอยู่ก็ให้กำหนดรู้ลม ถ้ายังมีคำภาวนาอยู่ ก็ให้กำหนดรู้คำภาวนาไปด้วย

ถ้าหากลมหายใจเบาลง คำภาวนาขาดหายไปก็ให้กำหนดรู้ไว้ ไม่ต้องไปใส่ใจว่าเราจะต้องหายใจใหม่ ขณะเดียวกันก็อย่าไปดิ้นรนอยากให้เป็นเช่นนั้น ให้กำหนดรู้อย่างนี้เรื่อยไปจนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา


พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านอนุสาวรีย์
วันเสาร์ที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-08-2010 เมื่อ 12:56
สมาชิก 42 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
กระทู้ถูกปิด


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 15:56



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว