กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

กระทู้ถูกปิด
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 17-02-2009, 01:56
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,144 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default สมาธิ : ปรียานันท์ธรรมสถาน

หลักการปฏิบัติในพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าท่านกล่าวไว้สามขั้น คือ
ศีล เป็นการควบคุมกายวาจาให้เรียบร้อย
สมาธิ เป็นการควบคุมกายวาจาให้เรียบร้อยและสร้างความมั่นคงทางใจ
ส่วนปัญญา เป็นผลสืบเนื่องมาจากศีลและสมาธิ ที่ควบคุมกายวาจาและใจให้สงบ

เมื่อสงบลงก็เหมือนกับน้ำที่นิ่ง ก็จะสามารถสะท้อนภาพสิ่งต่าง ๆ ให้เห็นบนผิวน้ำนั้นได้ให้เกิดประโยชน์ได้ ตัวสมาธิภาวนาจะเป็นคำตอบ ที่สำคัญที่สุดในขั้นตอนของการปฏิบัติทุกระดับ แม้กระทั่งระดับสุดท้าย
เพราะกำลังของสมาธิจะช่วยให้ รักษาศีลได้สมบูรณ์และคงตัวมากขึ้น ขณะเดียวกันความนิ่งของจิตที่มีสมาธิ ก็จะทำให้เกิดปัญญาขึ้นได้ง่าย สมาธิจะทรงตัวหรือไม่ทรงตัวสำคัญอยู่ที่ ลมหายใจเข้าออกของเรา การสงบระงับของจิตแต่ละระดับชั้นนั้นเป็นของละเอียด เราต้องอาศัยของหยาบ คือลมหายใจเข้าออก เป็นเครื่องโยงไปหาความละเอียด คือ ความสงบของจิตให้ได้


การปฏิบัติสมาธิไม่ว่าจะรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งก็ตาม กรรมฐานทุกกองที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกก็ตาม ถ้าไม่มีลมหายใจเข้าออกเป็นเครื่องกำกับ ก็ไม่อาจทรงตัวมั่นคงจนใช้ประโยชน์ได้ เมื่อเป็นดังนั้น การปฏิบัติสมาธิภาวนาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 11-01-2011 เมื่อ 11:57
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 17-02-2009, 02:01
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,144 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

การปฏิบัติสมาธิภาวนานั้น จุดที่สำคัญที่สุด ก็คือว่าเราไม่สามารถรักษาอารมณ์ปฏิบัติให้ต่อเนื่องได้ เหตุที่เราไม่สามารถรักษาอารมณ์ปฏิบัติให้ต่อเนื่องได้ เกิดจากสาเหตุสองสามอย่างด้วยกัน
อย่างแรก สติ สมาธิและปัญญายังไม่เพียงพอ จึงปล่อยให้กำลังขาดช่วงลง
อย่างที่สองก็ คือ ยังไม่เห็นทุกข์เห็นโทษ ของการที่จิตไปวุ่นวายกับ รัก โลภ โกรธ หลง อย่างแท้จริง เมื่อไม่เห็นโทษอย่างแท้จริง เราก็จะไม่เข็ดและปล่อยให้ใจหลุดจากสมาธิไปอยู่เรื่อย ๆ

นักปฏิบัติที่จิตเคยเข้าถึงความสงบระดับใดระดับหนึ่งแล้ว เมื่อถึงเวลาจิตมันหลุดจากความสงบนั้นไปฟุ้งซ่านกับความรัก โลภ โกรธ หลง มันจะทำให้เราเดือดร้อนมาก เพราะรักโลภโกรธหลงนั้นเป็นเหมือนกับไฟ

พระพุทธเจ้าเปรียบเอาไว้ว่า ราคัคคิ โทสัคคิ โมหัคคิ ไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ เมื่อยังไม่เห็นโทษตรงจุดนี้ว่า จิตของเราเดือดร้อนเพราะไฟเหล่านี้เผาอยู่อย่างไร ก็ไม่พยายามประคองจิตให้หลุดพ้นจากตรงจุดนั้น หรือว่าบางท่านเห็นโทษแล้ว แต่ไม่รู้จะรักษาสมาธิภาวนาอย่างไรให้ทรงตัว

ทุกท่านส่วนใหญ่มีพื้นฐานดีแล้ว ดังนั้นการปฏิบัติส่วนที่เหลือก็คือว่า ทำอย่างไรเมื่อเราปฏิบัติแล้วในขณะที่นั่งสมาธิอยู่จิตมีความสงบระงับอยู่ในระดับใด เมื่อเลิกการปฏิบัติ ให้กำหนดสติจดจ่ออยู่กับกำลังใจที่สงบระงับนั้น อย่าให้เคลื่อนไปได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 11-01-2011 เมื่อ 11:59
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 17-02-2009, 10:06
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,144 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ไม่ว่าจะยืน เดิน นอน นั่ง ดื่ม กิน คิด พูด ทำ อิริยาบถใด ๆ ทั้งหลายเหล่านี้ สติของเราต้องอยู่กับสมาธิตลอด เป็นการประคองรักษาอารมณ์เอาไว้ ให้อยู่กับเราให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้

แรก ๆ ก็อาจจะอยู่กับเราได้ชั่วครั้งชั่วคราว แล้วก็หลุดหายไป แต่ว่าพอนานเข้า ๆ มันก็จะอยู่ได้มากขึ้นระยะเวลายาวนานขึ้น จากแต่เดิม อาจจะ ๑๐ นาที ๒๐ นาที พอเคลื่อนไหวไปกระทำเรื่องอื่นเข้าสมาธิก็คลายตัว ก็หัดประคับประคองโดยการกำหนดสติจดจ่ออยู่ ไม่ให้สมาธิที่เราได้ในขณะนั่งนั้นเคลื่อนตัวไป พอซ้อมทำบ่อยจนเกิดความชำนาญขึ้น ก็ได้ระยะเวลาที่ยาวนานมากขึ้น ได้เป็นครึ่งชั่วโมง เป็นชั่วโมง สองชั่วโมง สามชั่วโมง เป็นครึ่งวัน เป็นวัน สามวัน ห้าวัน เจ็ดวัน สิบวัน สิบห้าวัน เป็นเดือน ท้ายสุดก็หลาย ๆ เดือน หรือเป็นปี

ถ้าเราสามารถประคองจิตของเราไว้ในลักษณะนี้ได้ สภาพจิตจะมีแต่ความผ่องใสโดยส่วนเดียว เพราะว่าตัวสมาธิไม่ได้หลุดเคลื่อนไปไหน กิเลสต่าง ๆ ไม่สามารถจะกินใจเราได้ จิตของเรายิ่งมีความผ่องใสมากเท่าไร ตัวปัญญาก็จะเกิดมากเท่านั้น ในเมื่อตัวปัญญาเกิดก็จะไปคุมศีลและสมาธิให้ทรงตัว ศีลและสมาธิที่ทรงตัวปัญญาก็จะยิ่งเกิดมากขึ้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 25-12-2009 เมื่อ 09:19
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 17-02-2009, 10:18
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,144 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ดังนั้น งานที่อยากจะมอบหมายให้พวกเราก็คือว่า เมื่อปฏิบัติภาวนาแล้วให้พยายามรักษากาย วาจา ใจ ของเรา ให้อยู่ในความสงบระงับเหมือนกับอารมณ์ที่เราปฏิบัติขณะที่นั่งอยู่ ก็แปลว่า นั่งอยู่ทรงอารมณ์ได้เท่าไร เมื่อยืนเดินนอนหรือทำสิ่งอื่น ๆ ก็ให้อารมณ์ทรงตัวให้ได้ เหมือนกับตอนที่นั่งอยู่

แรก ๆ ก็อาจพังลงในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่พอซ้อมมาก ๆ เข้าก็จะมีความคล่องตัวอยู่ได้นานขึ้นเรื่อย ๆ ขอบอกว่า คำถามทุกปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติของเรา คำตอบเกือบทั้งหมดอยู่ตรงการปฏิบัติสมาธิภาวนา ยกเว้นอยู่ขั้นสุดท้ายของการใช้ปัญญาตัดกิเลสเท่านั้นที่สมาธิเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ใช้งานไม่ใช่คำตอบทั้งหมด ซึ่งถ้าเราทำถึงตรงจุดนั้นแล้ว ปัญญามันก็จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว ในเมื่อสมาธิเกือบจะเป็นคำตอบทั้งหมด ทำอย่างไรให้เรารักษามันให้นานที่สุด ทำอย่างไรให้เราเห็นความสำคัญของมัน ทำอย่างไรให้เราเห็นทุกข์เห็นโทษของจิตที่ขาดสมาธิ เรื่องทั้งหลายเหล่านี้พวกเราต้องหาคำตอบเอง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 11-01-2011 เมื่อ 12:00
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 17-02-2009, 17:29
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,144 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเองก็กล่าวว่า อักขาตาโร ตถาคตา แม้แต่ตถาคตก็เป็นได้แต่ผู้บอกเท่านั้น การปฏิบัติตามหรือไม่ปฏิบัติอยู่ที่ตัวของเราเอง เมื่อเราเห็นโทษของการหลุดจากสมาธิ เห็นประโยชน์ของการทรงสมาธิ จิตก็จะขวนขวายที่จะทรงสมาธิให้ได้ ไม่ให้หลุดไป

ตอนช่วงนี้จิตมันจะดำเนินไปตามหน้าที่ของมัน และจะเป็นตอนที่เราจะมีความสนุกมากที่สุด คือคอยลุ้นว่าครั้งนี้กิเลสหรือว่าเราจะชนะ เขาจะได้คะแนนหรือเราจะได้คะแนน ถ้าสามารถทำอย่างนี้ได้ ไม่ว่าเรื่องการดูหนังฟังเพลงใด ๆ ที่เป็นของสนุกของเรา จะกลายเป็นเรื่องธรรมดาหารสชาติไม่ได้ มันจะมาสนุกกับการดูภายในตัวเอง ดูที่ตัวแก้ที่ตัว โดยไม่ยุ่งกับเรื่องของคนอื่นโดยอัตโนมัติ ทำให้เราเป็นผู้มีกายวาจาใจเรียบร้อยโดยอัตโนมัติ

ระมัดระวังประคับประคองอยู่ เหมือนกับเลี้ยงลูกแก้วบาง ๆ บนปลายเข็ม พลัดหลุดมือเมื่อไรแก้วก็แตกสลายไป เราก็ต้องพยายามสร้างและประคับประคองแก้วนั้นขึ้นมาใหม่ ดวงแก้วนั้นมีคุณค่าต่อสภาพจิตใจของเรา อย่างมหาศาล เป็นต้นทางของการดำเนินไปสู่ความหลุดพ้น ดังนั้นหน้าที่ของเราก็คือ ต้องไขว่คว้าหาเอาดวงแก้วนี้มาอยู่ในมือให้ได้และประคับประคองรักษาไว้อย่าให้สูญหายไป
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 11-01-2011 เมื่อ 12:09
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #6  
เก่า 17-02-2009, 21:25
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,144 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ทุกคนทำสมาธิเป็น ทุกคนมีความสามารถเข้าถึงสมาธิระดับใดระดับหนึ่ง แต่ว่าไม่สามารถจะประคับประคองรักษาเอาไว้ได้โดยตลอด ดังนั้นจึงได้มอบงานใหญ่ให้ว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หน้าที่ของเราก็คือ ให้รักษาอารมณ์สมาธิให้ได้ในทุกอิริยาบถ

ถ้าหากว่ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ต้องปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ให้คลายสมาธิออกมาด้วยความระมัดระวัง เมื่อรับรู้รับทราบติดต่อพูดคุยแล้ว ก็ให้รีบกลับไปสู่องค์สมาธิโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ เพื่อจะได้ไม่เกิดอันตราย ซึ่งรักโลภโกรธหลงมันจะโจมตีขณะที่เราพลั้งเผลอ ซ้อมทำบ่อย ๆ แล้วจะเห็นคุณประโยชน์ของการรักษาอารมณ์ใจ

ท่านใดที่บอกว่าปฏิบัติมานานหาความก้าวหน้าไม่ได้ ก็ให้รู้เพราะว่าเราทำเฉพาะตอนนั่ง แปลว่าใน ๒๔ ชั่วโมง เรามีเวลาทรงความดีแค่เล็กน้อยเท่านั้น ส่วนเวลาที่เหลืออีก ๒๐ ชั่วโมงเศษ ๆ เราไหลไปตามกระแสโลกโดยตลอด ถ้าต้องการความก้าวหน้าอย่างน้อย ๆ ๒๔ ชั่วโมง กำลังใจของเราต้องมีส่วนอยู่กับความดีเกินครึ่งหนึ่งถึงจะพอรักษาตัวเองได้ ก็แปลว่า ตลอดช่วงเวลาที่เราตื่นอยู่ เราต้องสามารถรักษาอารมณ์สมาธิภาวนาไว้ได้ ตอนช่วงที่หลับถ้าสติยังไม่สมบูรณ์พร้อม มันก็ยังมีพลั้งเผลอได้ตามปกติ ซึ่งนั่นต้องฝึกในขั้นสูงต่อไป
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 11-01-2011 เมื่อ 12:02
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #7  
เก่า 17-02-2009, 21:30
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,144 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

การทำสมาธิภาวนา ลมหายใจเข้าออกสำคัญที่สุดอยู่ก็จริง แต่เมื่อไปถึงระยะหนึ่ง ลมหายใจจะเบาลง หรือหายไปเลย คำภาวนาบางทีก็ไม่มีเลย ส่วนใหญ่แล้วมักจะกลัวว่ามันไม่หายใจ จะทำให้ตาย แล้วไปตะเกียกตะกายรีบหายใจใหม่ อันนั้นทำให้เราเสียประโยชน์ เหมือนกับเราเริ่มเดินขึ้นบันไดไปแล้ว แล้วเกิดความกลัวไม่มั่นใจขึ้นมาก็ถอยขึ้นมาอยู่ในขั้นแรกใหม่ หาความก้าวหน้าในการปฏิบัติไม่ได้เสียที

ต่อไปถ้าอารมณ์ใจเป็นอย่างนี้ ให้กำหนดดู กำหนดรู้ไว้เฉย ๆ มันหายใจเบาลงให้รู้ว่าหายใจเบาลง มันไม่หายใจ ให้รู้ว่าไม่หายใจ มันภาวนา ให้รู้ว่ามันภาวนา มันหยุดภาวนาให้รู้ว่ามันหยุดภาวนา ถ้าเราตามดูอยู่แต่เพียงแค่นี้ โดยไม่ไปดิ้นรน กำลังใจจะก้าวสู่สมาธิขั้นสูงไปกว่านี้เรื่อย ๆ จนกระทั่งท้ายสุดก็จะสว่างโพลงเต็มที่อยู่เบื้องหน้า

ดังนั้นถ้าเราทำสมาธิไม่ก้าวหน้า นอกจากเราจะประคับประคอง รักษาอารมณ์ใจไม่เป็นแล้ว เราเองยังเผลอไปให้กับอารมณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามา ด้วยความเป็นห่วงสภาพร่างกายนี้ โดยเฉพาะห่วงว่ามันจะตาย เมื่อเป็นดังนั้นความก้าวหน้านอกจากจะไม่มีแล้ว เรายังพาตัวเองถอยหลังไปสู่จุดเริ่มต้นอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อพวกเราปฏิบัติภาวนา ถ้าหากว่าเกิดอารมณ์ใจใด ๆ ขึ้น ให้แค่กำหนดรู้ไว้เฉยอย่าไปสนใจ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 11-01-2011 เมื่อ 12:03
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #8  
เก่า 18-02-2009, 09:18
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,144 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้าเป็นเรื่องของนิมิตแสงสีและภาพต่าง ๆ ยิ่งไม่สนใจก็ยิ่งชัดเจนมากขึ้น แต่เราก็ต้องรู้เหมือนกับไม่รู้ สักแต่ว่าเห็นเท่านั้น ถ้าไม่สามารถทำกำลังใจอย่างนี้ได้ มัวแต่ไปติดอยู่กับนิมิตอยู่ ความก้าวหน้าในการปฏิบัติก็ไม่มี เป็นอันว่าพวกเราทุกคน หลักการปฏิบัติเป็นอย่างไรรู้อยู่ สามารถทำได้แล้ว แต่วิธีการปฏิบัติในบางจุดอาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจ จึงต้องมาแนะนำกันอย่างนี้

การแนะนำในวันนี้จึงขอสรุปลงตรงที่ว่า การปฏิบัติในพระพุทธศาสนา คือ ศีล สมาธิและปัญญา เป็นการควบคุมกายวาจาใจของเราให้อยู่ในกรอบ จนกระทั่งจิตของเรานิ่งใสถึงระดับปัญญามันจะเกิด แล้วจะสามารถพิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงในสภาพร่างกายและสภาพของโลก แต่ว่าการปฏิบัติทุกระดับ คำตอบจะอยู่ในสมาธิแทบทั้งหมด สมาธิจะทรงตัวได้ต่อเมื่อมีอานาปานสติ คือ ลมหายใจเข้าออกเป็นเครื่องควบคุม ส่วนอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการรู้เห็นความเจ็บปวด หรือว่าการหายใจบ้างไม่หายใจบ้างก็ตาม ให้เรากำหนดดู กำหนดรู้ ไว้แต่ตามปกติ คิดเสียว่าเรามีหน้าที่ปฏิบัติภาวนา เมื่อมันอยากภาวนาก็ภาวนาไป เมื่อมันอยากหยุดภาวนาก็ปล่อยมันหยุดไป มันจะเป็นอย่างไร เรามีหน้าที่ดูเท่านั้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 11-01-2011 เมื่อ 12:04
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #9  
เก่า 18-02-2009, 09:22
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,144 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้าสามารถรักษากำลังใจอย่างนี้ได้ ถึงเวลาเลิกปฏิบัติไป ก็ให้ประคับประคองกำลังใจของเรา ให้อยู่ในระดับเดียวกับที่เรานั่งอยู่ ถ้าทำได้นานมากเท่าไร ความก้าวหน้าในการปฏิบัติก็จะมีมากเท่านั้น

วันนี้ก็ขอแนะนำแต่เพียงแค่นี้ ท่านใดถ้าหากว่ายังต้องการภาวนาอยู่ก็กำหนดใจของเราภาวนาต่อไป ถ้าหากว่าท่านใดคิดว่าพอแล้วก็คลายสมาธิภาวนาออกมา แล้วประคับประคองอารมณ์ใจนั้นไว้ การปฏิบัติก็เหมือนการทำงาน ถ้าเราทุ่มเทมากเกินไป วันรุ่งขึ้นสภาพจิตที่เหนื่อยล้าแล้วก็ไม่อยากปฏิบัติอีก ดังนั้นว่าความพอเหมาะพอดีต้องมี แต่ความพอดีที่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา ไม่มีมาตรฐาน ๕๐ เปอร์เซนต์ ความพอเหมาะพอดีขึ้นกับกำลังกาย กำลังใจ และกำลังสมาธิของแต่ละคนที่ฝึกมา ดังนั้นเราต้องการมากน้อยเท่าไร พอเหมาะพอดีแก่ตัวเองเท่าไร เราเองจึงเป็นผู้รู้ดีที่สุด ทำให้พอดีแล้วรักษาอารมณ์ใจไว้ให้ได้ ก็ขอจบการแนะนำสำหรับวันนี้แต่เพียงเท่านี้


พระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เทศน์ที่ปรียานันท์ธรรมสถาน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 11-01-2011 เมื่อ 12:12
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
กระทู้ถูกปิด


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 17:49



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว