กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องบูรพาจารย์ > ประวัติและปฏิปทาของพระสุปฏิปันโน

Notices

ประวัติและปฏิปทาของพระสุปฏิปันโน รวมประวัติ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์อันเป็นที่เคารพจากทั่วเมืองไทย

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #61  
เก่า 29-06-2012, 10:52
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

• พรรษาที่ ๓ (พ.ศ. ๒๔๗๙)
จำพรรษาที่วัดท่าช้าง * (ปัจจุบัน วัดป่าคีรีวัลลิ์) ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา

• พรรษาที่ ๔-๕ (พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๘๑)
จำพรรษาที่วัดสุทธจินดา ตำบลโพธิ์กลาง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

• พรรษาที่ ๖ (พ.ศ. ๒๔๘๒)
จำพรรษาที่วัดศาลาทอง ตำบลหัวทะเล อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

================================

ตามข้อมูลที่สืบค้นมา ทั้งจากกัณฑ์เทศน์ การสอบถามครูบาอาจารย์ และบุคคลต่าง ๆ ในสถานที่จริง ในระหว่างพรรษาที่ ๓-๖ ยังไม่พบว่า องค์หลวงตาได้เมตตากล่าวชี้ชัดว่า ปีใดจำพรรษาอยู่ที่ใด จึงสันนิษฐานว่า องค์ท่านน่าจะจำพรรษาที่วัดท่าช้าง ๑ พรรษา วัดสุทธจินดา ๒ พรรษา และวัดศาลาทอง ๑ พรรษา ตามลำดับ

ที่ลำดับเช่นนี้ เพราะสันนิษฐานว่า เมื่อบวชทีแรกอ่านประวัติพระพุทธเจ้า พระสาวก ซาบซึ้งอยากออกปฏิบัติเป็นพระอรหันต์ แต่ใจยังรักการเรียน จึงเริ่มต้นที่วัดท่าช้างก่อน เพราะเป็นวัดกรรมฐานที่ไม่ไกลจากสถานที่เรียนปริยัติจนเกินไป อีกเหตุผลหนึ่งท่านเคยกล่าวว่า พักท่าช้างทีแรกฉันข้าวไม่อิ่ม (ชาวบ้านใส่บาตรข้าวเจ้า) ด้วย ๒ เหตุผลนี้ จึงให้น้ำหนักการจำพรรษาที่นี่ก่อนวัดศาลาทองและวัดสุทธจินดา จากนั้นองค์ท่านจึงได้ย้ายเข้ามาพักจำพรรษาที่วัดสุทธจินดา และวัดศาลาทองในที่สุด ซึ่งทั้งสองวัดนี้อยู่ห่างกันไม่ถึง ๒ กิโลเมตรเท่านั้น เมื่อยังต้องเรียนปริยัติที่วัดสุทธจินดาอยู่ ก็ไม่น่าจะพักในที่ไกลออกไปนัก

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-06-2012 เมื่อ 17:35
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 40 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #62  
เก่า 30-06-2012, 08:22
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default




ตั้งสัจอธิษฐาน ขอพบครูบาอาจารย์


ท่านได้เล่าถึงอุปนิสัยที่ติดตัวมาตั้งแต่ครั้งเป็นฆราวาสไว้ว่า
“เราเคยพูดให้ลูกศิษย์ลูกหาฟัง พูดเพื่อเป็นคติเพราะเรามันมีนิสัยอันนี้ พูดถึงนิสัย ถ้าว่า “ดื้อ” มันดื้อจริง ๆ แต่มันดีอยู่อย่างหนึ่งที่ว่า ความดื้อที่ว่านี้ เราไม่เคยทำใครให้เดือดร้อน หมายถึงว่า จิตนี้มันจริงจัง ถ้าสมมุติไปในทางที่ชั่วขาดสะบั้นจริง ๆ เลย แต่ส่วนมากนั้น ไม่ไปนะ.. ทางที่ชั่ว ไม่เอนไปเลย เช่นฉก เช่นลัก ไม่เคยเลย แม้แต่เพื่อนฝูงคนใดที่นิสัยไม่ดี เราไม่คบนะ ถึงคบก็ไม่นาน นั่นมันเป็นอย่างนั้นนะ มันเป็นอยู่ในใจนี้ มันชอบคบกับพระกับอะไรไปตั้งแต่สมัยเป็นฆราวาส


อ้อ! อีกอย่างหนึ่งคือ เราเป็นคนชอบหัวเราะ หัวเราะเก่งนะ ถ้าในพระธรรมวินัยห้ามพระหัวเราะ เราก็คงจะบวชไม่ได้ นี่ไม่มีห้ามไว้นี่!”

และด้วยอุปนิสัยทำอะไรทำจริง ชนิดขาดสะบั้นไปเลยเช่นนี้ เมื่อมาทางสายบาตรตามที่คุณตาได้ทำนายไว้ ธรรมะที่เป็นของจริงอยู่แล้ว จึงเข้ากับอุปนิสัยจริงของท่านได้อย่างสนิทใจ กลายเป็นความมุ่งมั่นที่จะศึกษาเล่าเรียน และออกปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์โดยถ่ายเดียวเท่านั้น และด้วยความคิดที่เปลี่ยนแปลงไปดังกล่าวนี้ ถึงกับทำให้ท่านเคยพูดเชิงทีเล่นทีจริงกับโยมแม่ของท่านเองว่า
“แม่ เสื้อผ้าที่ลูกเก็บไว้นั้น เอาให้หมู่เพื่อน เอาให้พี่ให้น้องนะ ถ้าเกิดตอนหลังคิดจะสึกมา จะหาถากเปลือกไม้เอามาใส่แทนหรอก”


อย่างไรก็ดี แม้ในตอนนั้นท่านจะเริ่มรู้สึกจืดจางในทางโลก และยินดีในเพศนักบวชมากขึ้น อีกทั้งยังมีอุปนิสัยจริงติดตัวมา แต่หากไม่มีบุญช่วยหนุนนำและเกิดมีอุปสรรคขัดขวางในช่วงเวลานั้นขึ้นมา ท่านว่าความตั้งใจนี้ก็อาจต้องสะดุดลงได้เช่นกัน ดังนี้
“มันแปลกอันหนึ่งนะ ถ้าคิดจะเอาเมียทีไร มันปรากฏมีสิ่งขึ้นมากีดขวาง ๆ จนได้ หรือแม้กระทั่งเราบวชแล้วก็ตามเถอะ ผู้หญิงที่เรารักกับพี่ชายเขาตามหาเรา แต่ไม่พบกัน เพราะเราออกเดินทางไปก่อนแล้ว นี่ถ้าได้พบกัน มีหวังเราจะบวชมาจนทุกวันนี้ไม่ได้แน่ ๆ มันคงจะมัดคอติดกันไปเลย”


ส่วนความรู้สึกเกี่ยวกับสตรีเพศทั่วไปนั้น ท่านก็ได้เคยเล่าไว้เช่นกันว่า
“ออกบวชทีแรก อะไรงามหมด ขึ้นชื่อว่าผู้หญิง ขึ้นชื่อว่าสาว ๆ ชอบทั้งนั้นแต่ไม่หนัก เหมือนความที่จะไปนิพพาน สะเทือนปึ๋งเข้าไปก็ซัดกันเรื่อยนะ อันนั้นลบอันนี้ขึ้น ซัดกันเรื่อยนะ”


เมื่อไม่ปรากฏสิ่งใดขึ้นมากีดขวาง กลับเพิ่มพูนความเชื่อความเลื่อมใสในธรรม คิดอยากบำเพ็ญตนให้เป็นพระอรหันต์มากกว่า แต่สิ่งที่เป็นอุปสรรคแก่ท่านในระยะเริ่มต้นก็คือ เกิดความลังเลสงสัยว่าปฏิปทาแนวทางการปฏิบัติ ที่เราดำเนินตามท่านเหล่านั้นจะบรรลุถึงจุดที่ท่านบรรลุหรือไม่ หรือว่าทางเหล่านี้จะกลายเป็นขวากเป็นหนามเป็นโมฆะ และกลายเป็นความลำบากแก่ตนผู้ปฏิบัติไปเปล่า ๆ อีกประการหนึ่งก็สงสัยว่า
เวลานี้ มรรคผลนิพพาน จะมีอยู่เหมือนครั้งพุทธกาลหรือไม่ ?”


ท่านได้เก็บความสงสัยนี้ฝังอยู่ภายในใจ เพราะไม่สามารถจะระบายให้ผู้ใดฟังได้ และเข้าใจว่าคงไม่มีใครสามารถแก้ไขความสงสัยนี้ให้สิ้นซากไปได้ แต่อย่างไรก็ตาม ท่านมีความรู้สึกเชื่อมั่นอย่างเต็มใจ ตามวิสัยของปุถุชนถึงการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และการตรัสรู้เป็นพระอรหันต์ของพระสาวกท่าน จากนั้นจึงได้นึกตั้งสัจอธิษฐานว่า
ขอให้เราได้พบครูบาอาจารย์องค์ใดองค์หนึ่งมาชี้แจงในเหตุในผล เรื่องของมรรคผลนิพพานว่า ยังมีอยู่ด้วยเหตุนั้น ๆ ให้เราได้ถึงใจเท่านั้นแหละ เราจะมอบกายถวายตัวต่อครูบาอาจารย์องค์นั้นด้วย และเราจะมอบหัวใจเราลงสู่อรหัตผลนั่นด้วย ตายก็ตาย ยังไม่ได้ก็ตามให้ตายอยู่ในสนามรบ”


ด้วยความลังเลสงสัยดังกล่าวเป็นเหตุ ให้ท่านมีความสนใจและมุ่งหวังที่จะพบหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต อยู่เสมอ ทั้ง ๆ ที่ก็ยังไม่เคยพบท่านมาก่อนก็ตาม แต่เพราะได้ยินชื่อเสียงของท่านมานานแล้ว ตั้งแต่ตอนเด็กสมัยที่หลวงปู่มั่น มาจำพรรษาอยู่ทางอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ และ พ.ศ. ๒๔๖๗ จึงทำให้รู้สึกเชื่อมั่นอยู่ลึก ๆ ภายในใจว่า หลวงปู่มั่นจะสามารถไขปัญหานี้ให้กระจ่างได้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 02-07-2012 เมื่อ 15:38
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 46 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #63  
เก่า 03-07-2012, 08:01
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

อดอาหาร ดัดความหิว

ระยะแรกที่มาถึงจังหวัดนครราชสีมา ท่านมาพักที่วัดท่าช้างก่อน ชาวบ้านที่นี่ใส่บาตรข้าวเจ้า ทำให้ท่านฉันไม่อิ่มท้องดังนี้

“... เหตุที่จะได้ดัดเจ้าของให้รู้เหตุรู้ผล รู้หนักรู้เบากัน ก็เพราะตอนที่ธาตุขันธ์มันกำลังรุนแรง ฉันข้าวเจ้าเสียด้วย ข้าวเจ้ามันไม่ค่อยอยู่ท้องนาน แหละเพราะเราไม่เคย ถ้าเคยก็ไม่เป็นไร อยู่โคราช วัดท่าช้างเป็นวัดกรรมฐาน เราลงไปทีแรกก็ไปอยู่วัดท่าช้าง ฉันเท่าไรมันก็ไม่อิ่ม จนกระทั่งรำคาญนะ เราก็ดี เพราะเรามุ่งธรรมนี่ แต่ธาตุขันธ์มันไม่ได้สนใจอรรถธรรมอะไรกับเรา มันมีแต่จะเอาท่าเดียว ฉันลงไปเท่าไรก็ไม่อิ่มไม่พอ เอามันอีก ‘เอ้า ฟาดมันลงไปให้มันอิ่ม จนกระทั่งไม่มีท้องใส่’


ปรากฏว่ามันเต็มอัดเลย ขนาดนั้นอัดลงไปแล้ว มันยังไม่หยุดความหิวความอยาก ยังอยาก เอาข้าวเปล่า ๆ มาฉันมันก็หวานไปเลย ‘เอ๊ มันทำไมจึงเป็นอย่างนี้ น่ารำคาญนะ’

ออกจากนั้นก็ไปล้างบาตร ล้างบาตรกลับมาเช็ดบาตรยังไม่เข้าถลก หิวข้าวอีกแล้ว ‘หือ มันทำไมจึงเป็นอย่างนี้’ นี่นะต้นเหตุจะดัดกัน ก็ให้กินมาสักครู่นี้แท้ ๆ ยังไม่ถึง ๓๐ นาทีเลย อิ่มออกมานี้ มาล้างบาตรเช็ดบาตร ยังไม่ได้เข้าถลกเลย ทำไมถึงอยากอีกแล้ว ตั้งแต่นี้ไปถึงวันพรุ่งนี้เช้าก็ ๒๔ ชั่วโมง มันทำไม มันเก่งนักหรือ
‘เอ้า ลองดูมันจะตายจริง ๆ หรือ ไม่ได้กินมันจะตาย จะลองดูสัก ๖-๗ วัน’


เอาเลยทีนี้ดัดมัน ตัดสินใจปุ๊บลงไป ตายก็ตาย ช่วง ๗ วันนี้มันจะตายเพราะไม่กินข้าว เอาให้เห็นเสียทีวะ จะทดลองดูให้รู้ความหนักเบาของธาตุของขันธ์ มันจะเป็นไปขนาดไหน ก็หยุดกึ๊กเลย ไม่เอา จนกระทั่งถึงกำหนดถึงมาฉัน มันไม่เห็นตายนี่นะ แน่ะ..จากนั้นมาก็พอฟัดพอเหวี่ยง ถึงจะหิวจะอะไร ธาตุขันธ์มันจะดื่มจะกินอย่างเดิมก็ตาม ทีนี้จิตใจก็ปล่อยกังวลได้ เพราะเคยรู้เรื่องราวกันมาแล้ว นี่มันเป็นเรื่องของธาตุของขันธ์กำลังดูดดื่ม มันเป็นอย่างนั้น ๆ เราอดแล้วเท่านั้นวันเท่านี้วัน.. ไม่เห็นตาย

พูดถึงเรื่องความหิวก็ไม่เห็นมันหิวเอานักเอาหนา วันหนึ่งสองวันมันหิวมาก พอจากนั้นไปแล้วก็ค่อยเบาลงไป จนกระทั่งถึงกำหนด วันฉันก็ไม่เห็นหนักหนาอะไรพอจะให้ล้มให้ตาย อันนี้เราฉันให้มันอยู่ทุกวัน ๆ แล้วฉันขนาดอิ่มแล้ว มันยังจะตายก็ให้มันตายไปซี เหมือนกับคนหมดกังวล ... ‘ยังไง’ ก็ขอให้มุ่งอรรถมุ่งธรรมเป็นสำคัญ ให้ฝังอยู่ภายในจิตใจ อย่าให้เอนเอียง สิ่งภายนอกที่เกี่ยวกับเรื่องธาตุเรื่องขันธ์ให้เป็นอันหนึ่ง อย่าถือสิ่งเหล่านี้เป็นใหญ่ยิ่งกว่าธรรม จิตใจจะค่อยเป็นไป และให้เข้มงวดกวดขัน

สิ่งใดที่จิตชอบ ๙๙% เป็นกิเลส ถ้าเป็นจิตเราธรรมดามักจะชอบในสิ่งที่เป็นภัย แต่ถ้าจิตมีธรรมขึ้นเป็นลำดับ ๆ นั้น อาจจะมีชอบหลายด้าน อาจหมุนเข้ามาชอบในธรรมภายนอกที่ยังชำระกันไม่ได้ ใจก็มีลักษณะชอบ แต่ก็รู้สึกตัวและพยายามแก้ไขไปโดยลำดับ จนกระทั่งความชอบเกี่ยวกับเรื่องโลก เรื่องสงสารจางไป ๆ จนกระทั่งความรู้สึกชอบทั้งหลายหมุนไปทางธรรมะล้วน ๆ จากนั้นใจก็สบาย แรงของโลกไม่ดึงดูดจิตใจได้ มีแต่จิตใจดึงดูดกับธรรมหมุนกันไปเลย....

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-07-2012 เมื่อ 16:50
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 44 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #64  
เก่า 04-07-2012, 09:02
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

สมณะ ๔ ประเภท

“...สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง การเห็นสมณะผู้สงบกาย วาจา ใจ เป็นมงคลอันสูงสุด..

คำว่า ‘สมณะ’ ตามหลักธรรมที่ท่านแสดงไว้มี ๔ ประเภท ... สมณะที่ ๑ ได้แก่ พระโสดาบัน , สมณะที่ ๒ ได้แก่ พระสกิทาคามี , สมณะที่ ๓ ได้แก่ พระอนาคามี , สมณะที่ ๔ ได้แก่ พระอรหันต์...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-07-2012 เมื่อ 16:51
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 42 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #65  
เก่า 05-07-2012, 10:03
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

เอื้อเฟื้อ มีน้ำใจ

ระยะต่อมาท่านมาศึกษาปริยัติอยู่กับพระราชกวี ซึ่งภายหลังดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) เป็นอาจารย์ผู้สอนทางด้านปริยัติ ท่านกล่าวยกย่องเสมอ ๆ ว่า

“...สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) ท่านเป็นพระนักเสียสละ ไม่มีอะไรติดเนื้อติดตัว เราอยู่กุฏิเดียวกับท่าน เป็นผู้ดูแลของทุกสิ่งทุกอย่างของท่าน เป็นผู้สั่งจับสั่งจ่ายสั่งเก็บอะไร ๆ ทั้งหมด เพราะฉะนั้น จึงรู้จักท่านได้ดี ท่านมีเท่าไรให้หมด ท่านเด่นมากในทางเป็นนักเสียสละ...


เราอยู่กับท่านเวลาเรียนหนังสือ ท่านเป็นผู้สอนฝ่ายบาลีให้เรา ขณะเรียนหนังสืออยู่ ถ้าเราทราบว่ามีพระกรรมฐานท่านมาอยู่ในวัดหรือมาอยู่ที่ไหน ๆ เราจะต้องเข้าไปหาท่านจนได้ เวลาฟังธรรมกรรมฐานรู้สึกว่า ธรรมะมันกล่อมใจเคลิ้มไปเลย เราจะเป็นนิสัยอย่างนั้น...”

ที่นี่มีการจัดแบ่งพระเณรออกเป็นคณะ คณะของท่านมีเจ้าคุณอาจารย์เป็นหัวหน้าคณะ แต่เจ้าคุณมอบให้ท่านเป็นผู้ช่วยดูแลคณะ ภาระหลายประการจึงตกมาถึงท่านนอกเหนือจากภาระการเรียน เป็นที่ทราบกันดีในหมู่พระเณรถึงความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อ ไม่ตระหนี่ถี่เหนียวของท่าน เมื่อมีจตุปัจจัยไทยทานเข้ามามากน้อย ท่านจะแบ่งปันสิ่งของต่าง ๆ ออก แจกจ่ายพระเณรอย่างทั่วถึงหมด เหตุนี้เองทำให้คณะของท่านมีพระเณรมาอยู่ด้วยจำนวนมาก ซึ่งท่านเคยกล่าวไว้ดังนี้
“...ตั้งแต่เราเป็นพระหนุ่มน้อย เราไปอยู่วัดไหน หากสมภารตระหนี่ เราอยู่ไม่ได้นะ มันคับหัวอก เราเป็นอย่างนั้นจริง ๆ ไม่ใช่พูดเล่นนะ เรียนหนังสือก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน คณะของเรานี้..มีเรามีเขาทีไหน ของตกมาหาเรานี่ พระเณรนี้รุมพรึบเดียวหมดเลย


นั่นแหละ เป็นอันเดียวกันมาตลอด เรียนหนังสือก็เป็นอย่างนั้น ไม่เคยว่านี่เป็นของเรานั่นเป็นของท่าน... เหมือนครัวเรือนเดียวกัน เราไปไหนมา ได้ของมากน้อย พระเณรนี้รุมพรึบเดียวหมดเลย... พระเณรแย่งกันก็เหมือนกับเราอยู่ในครัวเรือน คือแย่งกันในฐานะพระเณรในวัด แย่งกันแบบพระ ‘ว่างั้น’ แย่งแบบฆราวาส แย่งแบบพ่อแม่กับลูกในครอบครัวเป็นอย่างหนึ่ง การแย่งกันมีหลายประเภท นี่แย่งแบบพระมันก็น่าดู ดูด้วยความตายใจ พออะไรมานี้ตายใจแล้ว พรึบเลย...

ไม่เคยเก็บ ไม่เคยสั่งสมแต่ไหนแต่ไร คณะของเราช่วงเรียนหนังสือจึงมีพระเต็มไปหมด เราไปอยู่ที่ไหนคณะของเราจะมากที่สุด มากกว่าเพื่อน ลูกศิษย์ลูกหา เพื่อนฝูงเต็มไปหมด... เพราะความเสียสละ...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 05-07-2012 เมื่อ 10:23
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 39 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #66  
เก่า 06-07-2012, 11:49
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธฺมมธโร)


สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มีนามเดิมว่า พิมพ์ แสนทวีสุข เกิดเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา ที่บ้านสว่าง ตำบลสว่าง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

การบรรพชาและอุปสมบท เบื้องแรกได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสุปัฏนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๗ ได้อุปสมบท ณ อุทกกุกเขปสีมา ในลำน้ำมูล ที่บ้านโพธิตาก ตำบลพิบูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๔๖๐ มีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ พระราชมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระศาสนดิลก (ชิต เสโน) เป็นพระกรรมวาจารย์ มีฉายาว่า ธมฺมธโร

สมณศักดิ์

พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นพระราชาคณะสามัญที่ พระญาณดิลก ในรัชกาลที่ ๗
พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นพระราชาคณะเสมอชั้นราชในนามเดิม ในรัชกาลที่ ๘
พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชกวี ในรัชกาลที่ ๙
พ.ศ. ๒๔๙๒ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพโมลี
พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมปิฎก
พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นพระราชาคณะชั้นหิรัญบัฏที่ พระพรหมมุนี
พ.ศ. ๒๕๐๘ เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์

มรณภาพ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๗ ณ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-07-2012 เมื่อ 14:53
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #67  
เก่า 09-07-2012, 09:37
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

เจ้าคุณนักเสียสละ

ท่านให้ความเคารพนับถือเจ้าคุณอาจารย์อย่างสูง ไม่เพียงเพราะเจ้าคุณฯ เป็นอาจารย์สอนปริยัติธรรมให้ท่านเท่านั้น แต่ด้วยคุณธรรมของท่านเจ้าคุณฯ เฉพาะอย่างยิ่งความเป็น “นักเสียสละ” เป็นสิ่งที่ทำให้ต้องกล่าวถึงอยู่เสมอ ๆ อย่างไม่มีวันลืมเลือนได้เลย ดังนี้

“...สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) เปรียญ ๖ ประโยคนั้น ท่านเป็นนักเสียสละนะ เราเคยอยู่ด้วยแล้ว ถึงไหนถึงกัน... ท่านไปไหนมานี่ พระเณรรุมพรึบเลย


หมดเลย ๆ ท่านเป็นนักเสียสละ ไม่สนใจได้มาเท่าไร บทเวลาท่านจะพูด ท่านก็พูดของท่าน พูดเฉย ๆ เอาของมาเต็มอยู่นี่ มันมีผ้าไหมดี ๆ อยู่ มาจากเมืองอุบลฯ ผ้าไหมผ้าอะไร เขาทอมาถวายท่าน พอมาถึงท่าน
‘เออ... ผ้าไหม ให้ระวัง ให้รีบเก็บนะ เดี๋ยว อีตา... จะมาเอาหมดนะ’


อีตา...นี้ เป็นมหาและเป็นหลานของท่านเอง ท่านบอก ‘ให้รีบเอาไปซะ ของไหนดี ๆ เดี๋ยวมันเอาไปหมด’ ว่าเท่านั้นแหละ แล้วไม่เคยพูดถึงอีกเลย มีเท่านั้น นี่..เรียกว่าพูดติดปากเฉย ๆ ท่านไม่ได้พูดด้วยความหวง

ความหมายก็คือว่า เอาไว้เผื่อว่ามันจำเป็น องค์ไหนที่ควร ท่านจะสั่งจัดให้เลย นี่เรียกว่านักเสียสละ เราเทิดที่สุดเลย... เพราะนิสัยท่านกับนิสัยเราเข้ากันได้ปุ๊บปั๊บเลย เราฝังลึกแล้วว่า ท่านคือนักเสียสละ นี่องค์หนึ่งที่เป็นพระนักเสียสละ ท่านไม่มี .. ได้มาเท่าไรหมด ไม่มีเหลือ หมด.. หมดเลย...”

ท่านกล่าวยกย่องน้ำใจของท่านเจ้าคุณอาจารย์ว่า เป็นผู้มีจิตใจกว้างขวาง ไม่สั่งสมและไม่ตระหนี่ถี่เหนียวในจตุปัจจัยไทยธรรมต่าง ๆ เลย มีแต่นำออกจ่ายแจกแก่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาพระเณรเสมอมา ท่านเจ้าคุณฯ เคยสั่งให้นำของจำนวนมากออกทำสลาก และให้พระเณรทุกรูปได้จับสลากแบ่งปันกัน

ท่านเจ้าคุณฯ ก็ไม่เคยให้ความสนใจในสิ่งของเหล่านั้นเพื่อตัวเองเลย ฉะนั้นในคราวหนึ่ง ท่านอยากให้ท่านเจ้าคุณฯ ได้ใช้ของดี ๆ บ้าง จึงได้แอบเอาจีวรชุดหนึ่งแยกเก็บไว้ต่างหาก เพื่อมิให้นำมาติดสลากร่วมด้วย คิดในใจว่า จะเปลี่ยนถวายใหม่ให้ท่านเจ้าคุณฯ บ้าง ต่อมาภายหลังท่านเจ้าคุณฯ ได้สังเกตเห็นจีวรนี้ยังคงเก็บอยู่ในตู้เช่นเดิม จึงถามท่านทันทีว่า
“ทำไมไม่ได้นำจีวรชุดนี้ไปจับสลาก แจกให้พระเณร ?”


ท่านให้เหตุผลเป็นอุบายแก่ท่านเจ้าคุณฯ เพื่อจีวรชุดดีนี้จะได้เก็บรักษาไว้เป็นของท่านเจ้าคุณฯ ต่อไป ไม่ถูกสั่งให้นำออกแจกจ่ายไปทางอื่นเสียว่า
“เพราะในบางคราว จีวรของเจ้าคุณอาจารย์อาจชำรุดเสียหายด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง เช่น ไฟไหม้ หรือหนูกัด ก็จะมีเปลี่ยนได้ทันทีครับกระผม”


คำตอบนี้ทำให้ท่านเจ้าคุณฯ ต้องจำยอมด้วยเหตุผล

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 09-07-2012 เมื่อ 16:47
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 36 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #68  
เก่า 10-07-2012, 09:39
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

เรียนปริยัติ แอบปฏิบัติ


บรรยากาศการเรียนหนังสือของท่านที่นครราชสีมาในครั้งนั้น มักมีเหตุได้เข้ากรุงเทพฯ อยู่บ่อย ๆ และเมื่อต้องโดยสารรถไฟก็ต้องยอมอดอาหารในวันนั้นเลยทีเดียว

“...ตอนเรียนหนังสือ เราไปเรียนที่โคราชแล้วเกี่ยวข้องกับกรุงเทพฯ อยู่เสมอ ไปกรุงเทพฯ จากกรุงเทพฯ..มาโคราช ไปมาบ่อยด้วยรถไฟ คือตอนก่อนไม่มีรถยนต์ ทางถนนรถยนต์ไม่มี มีแต่รถไฟ รถไฟเขาก็ไปตามเวลา เช่นตอนเช้า ไม่ได้เหมือนทุกวันนี้ซึ่งมีรถเต็มถนน ไม่ว่ารถไฟ รถยนต์เต็มถนน มันไม่มีนะ ถ้าไปไม่ทันเวลาไม่ได้ นี่เราก็ไป คือออกจากโคราชแต่เช้า รถไฟออก คือว่าต้องเสียสละแหละ (ไม่ฉัน) ตอนเช้าก็ตอนเช้า


นี่อันหนึ่งมันก็แปลก ๆ อยู่นะ ไปนั่ง คือวันนี้มาเรียกว่าตั้งใจเสียสละไม่ฉัน อยู่ในรถไฟ มันมีเทวดาอยู่นั้นจนได้ เทวบุตร เทวดามี เราก็นั่งอยู่ในนั้นไม่สนใจ เขาก็รู้นี่..พระท่านฉันตอนเช้าตอนอะไร ก็เขารู้เรื่องของพระนี่ เราก็นั่งของเราเฉย

แล้วอยู่ ๆ เขาเอาจานเอาอะไรในรถไฟ ตู้เสบียง เทวบุตรเทวดาอยู่ในนั้น เขาไปสั่งอาหารในตู้เสบียงเอามาถวายเต็มไปหมดเลย

คือเราก็เหมือนว่า ตัดสินใจไม่ได้ฉันละวันนี้ ตั้งใจไม่ฉันละ ที่ไหนได้เต็มเลย 'แน่ะ' ..มันแปลกอยู่นะ...”

อย่างไรก็ดีเมื่อว่างจากการเรียน ท่านจะพยายามหลบหลีกจากหมู่เพื่อนที่เรียนหนังสือด้วยกัน โดยแอบนั่งสมาธิในกุฏิคนเดียว หรือเดินจงกรมในช่วงเวลาดึก ๆ อยู่เสมอด้วยเกรงผู้อื่นจะพบเห็น อันทำให้ท่านเกิดความเก้อเขินในการปฏิบัติ ท่านเล่าแบบขบขันถึงเหตุผลที่ต้องแอบหลบเพื่อนมาภาวนา ดังนี้

“..เราภาวนาอยู่ทุกวันนี่ เรียนหนังสือ เราไม่เคยละนะ หากไม่บอกใครให้รู้ เพราะอยู่กับพวกลิงด้วยกัน ถ้าไปภาวนาเดี๋ยวมันมาพูดแหย่กัน บางทีไปแอบเดินจงกรมตอนดึก ๆ เงียบ ๆ แล้วเพื่อนฝูงก็เดินผ่านมาเจอเข้า เขาถามว่า ‘ทำอะไร ?’


เราเผลอบอกไปว่า ‘เดินจงกรม’

‘โฮ้! จะไปสวรรค์นิพพานเดี๋ยวนี้เชียวหรือเพื่อน ? คอยกันหน่อยนะ คอยกันเสียก่อน เรียนจบแล้วค่อยไปด้วยกัน’ เขาพูดหยอกล้อกันเล่น นั่นน่ะ พวกเดียวกันมันพูดกันได้นี่นะ จะ 'ว่าไง’ ไม่ถือสีถือสากัน ‘นี่ จะไปสวรรค์นิพพานนะนี่ พวกเราอย่าไปกวนท่านนะ ท่านกำลังเตรียมจะไปสวรรค์ นิพพาน’ ต้องมีแหย่กันอยู่อย่างนั้น


ตั้งแต่นั้นมาเข็ด เวลามาเจอกันกลางคืนขณะเรากำลังเดินจงกรม มีพระเพื่อนเดินมาถามว่า ‘ทำอะไร เดินทำไม ?’

‘โอ้ย! ผมเปลี่ยนบรรยากาศ นั่งดูหนังสือเหนื่อย จึงออกมาเดินเปลี่ยนบรรยากาศบ้าง’ เราต้องตอบอย่างนี้จึงผ่านไปได้ เพราะฉะนั้น จึงไม่ให้รู้ นั่งภาวนาเฉยไม่ให้รู้นะ ปิดประตู เราไม่ให้เห็น ถ้าออกมาก็เป็นลิงเหมือนเขาเสีย ถ้าเข้าในห้องเป็นแบบนั้น กลางคืนดึก ๆ ออกมาเดินจงกรม มันเป็นอยู่ในหัวใจนี่จะ 'ว่าไง' หากบอกใครไม่ได้ อย่างนี้ไม่บอกใครเลย เพื่อนฝูงอยู่ด้วยกันก็ไม่บอก เป็นลิงไปกับเขาเสียอย่างนั้น

ทางภาคปฏิบัติละเอียด ภาคปริยัติหยาบกว่ากัน หากอยู่ในขอบเขตของหลักธรรมวินัยด้วยกัน เวลาเราเรียนหนังสืออยู่นี้ทำตัวเหมือนไม่เคยภาวนา เก็บเงียบเลย แต่อันหนึ่งมันฝังอยู่ลึก ๆ ไม่จืดจาง มันรักมันสนิทมันติดใจในเรื่องกรรมฐาน เรื่องมรรคเรื่องผล เรื่องนิพพาน จากทำกรรมฐาน จากการภาวนา หากไม่แสดงต่อใครให้ทราบ..”

ในช่วงที่ท่านกำลังเรียนหนังสืออยู่นี้ ทางบ้านเริ่มเกิดความสงสัยเกี่ยวกับความคิดที่จะลาสิกขาของท่าน ว่าคิดอย่างไรบ้าง ? ดังนั้น ในคราวที่ท่านบวชได้ ๔ พรรษา มีโอกาสเดินทางกลับไปเยี่ยมบ้าน โยมพ่อจึงได้ถามขึ้นมาว่า “ไม่อยากสึกบ้างหรือ ?

ครั้งนั้น พระลูกชายได้แต่นั่งนิ่งไม่ตอบว่าอะไร แต่ในใจของท่านขณะนั้นคิดว่า
“ไอ้เรื่องสึกนี้ไม่คำนึง มีแต่หมุนตัวเข้าสู่ธรรมของพระพุทธเจ้า”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 10-07-2012 เมื่อ 10:20
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #69  
เก่า 11-07-2012, 10:05
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ซุ่มฟังธรรมพระปฏิบัติ

ท่านกล่าวว่าท่านใช้ชีวิตการเรียนหนังสืออยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา คือวัดท่าช้าง ตำบลท่าช้าง ๑ ปี วัดสุทธจินดา ๒ ปี และวัดศาลาทอง ตำบลหัวทะเล ๑ ปี รวม ๔ ปี มีโอกาสออกปฏิบัติกรรมฐานระหว่างพักเรียนหนังสือดังนี้

“...เราอยู่โคราชมาหลายปี... ท่าช้างปีหนึ่ง แล้วก็วัดสุทธจินดาในโคราชเอง ๒ ปี วัดศาลาทอง ๑ ปี ... เที่ยวแหลกหมดเลย แต่ก่อนอำเภอมีน้อย เดี๋ยวนี้เขาตั้งอำเภอใหม่เลยไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน ? ... เรียนหนังสือก็มาอยู่ที่นั่น แต่ก่อนดูเหมือนจะไปทุกอำเภอละมัง ทีนี้เวลาเขาตั้งอำเภอใหม่นี้.. เลยไม่ทราบว่าอำเภอไหนบ้างนะ .. อำเภอจักราชนี่ตั้งทีหลัง ตั้งทีหลังหลายอำเภอ ที่มีดั้งเดิมก็อำเภอปักธงชัย สีคิ้ว สูงเนิน ปากช่อง มีมาดั้งเดิม ... วัดป่าแถวนั้นไปหมดนั่นแหละ ขึ้นชื่อว่าวัดป่าอยู่ที่ไหนหลวงตานี้ต้องถึงหมดเลย มันเป็นอย่างนั้น นิสัยกรรมฐานมีอยู่เป็นประจำตลอดเลยนะ รักกรรมฐานมาก


จะเรียกว่าพระโคราชเราจะผิดไปไหน อยู่โคราชเวลาหยุดเรียนหนังสือก็เข้าป่า เข้าไปหลายแห่ง แต่ก่อนกลางดงไม่มีบ้านมีเรือนอะไรละ มีแต่พวกกอไผ่ เขาพริก เราไปเที่ยวทางนู้น ไม่มีบ้านมีเรือน แต่ก่อนมีเท่านั้นแหละ พอว่าง ๆ ก็ไปเที่ยวกรรมฐาน ชอบกรรมฐานอยู่นะ เรียนหนังสืออยู่กรรมฐานไม่เคยปล่อยวางนะ ไปอยู่ที่ไหนก็เหมือนกัน พอว่างออกแล้ว พอว่างปิดโรงเรียนปั๊บนี่ ออกเลยไปเที่ยวกรรมฐาน... เข้าป่าเข้าเขาไปเรื่อย ๆ ... เราเรียนหนังสืออยู่ที่นี่ก็เรียน ออกปฏิบัติกรรมฐานไปทางเขาใหญ่ ป่าเขาทางอำเภอปักธงชัย ที่ไหนไปทั้งนั้น ไปเที่ยวภาวนาเวลาว่าง คือเวลาหยุดโรงเรียน...”

ระหว่างการเรียนหนังสือ นอกจากท่านจะแอบปฏิบัติอยู่ภายในแล้ว ท่านยังพยายามหาโอกาสไปฟังเทศน์ของพระปฏิบัติ เช่น ท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ที่วัดป่าสาลวันอีกด้วย ดังนี้

“เราเรียนหนังสืออยู่วัดสุทธจินดา ก็มีวัดป่ากรรมฐาน เช่น วัดป่าสาลวัน วัดป่าศรัทธาราม เป็นต้น วัดเหล่านี้เป็นวัดใหญ่มาก วัดศรัทธาราม..ท่านอาจารย์มหาปิ่นเป็นเจ้าอาวาส วัดสาลวัน..หลวงปู่สิงห์เป็นเจ้าอาวาส พระเณรเยอะน่าดู


เวลาพระท่านออกบิณฑบาต ท่านจัดท่านแจกอาหาร เราเป็นพระหนุ่มน้อย แต่ตามีหูมีมันต้องคิดซิ ดูไปงามตา ความสม่ำเสมอท่านถือเป็นสำคัญมาก จะมีมากมีน้อยไม่สำคัญ สำคัญให้สม่ำเสมอ มีมากมีน้อยแจกให้เสมอกัน เราเป็นพระหนุ่มพระน้อยได้ไปรับความเสมอภาคกับท่านในสองสำนักนี้ ฝังใจไม่ลืมนะ ... น่าชม มีมากมีน้อยก็เถอะ ถ้าลงความเสมอภาคได้ เข้าไหนเป็นธรรมอบอุ่นด้วยกัน ตายใจกันได้ เห็นแก่ได้เห็นแก่กินอยู่ไม่ได้นะ เข้ากันไม่สนิท ถ้าลงมีเท่าไรถึงไหนถึงกันให้สม่ำเสมอ...

พอวันไหนว่างจากเรียนหนังสือ ... เป็นวันหยุด วันพระวันอะไรอย่างนี้ เราจะไปฟังเทศน์ท่านอาจารย์สิงห์ที่วัดป่าสาลวัน .. ที่วัดป่าสาลวันจะมีประชุม ๔ วันครั้งหนึ่ง ประชุมตอนบ่ายโมง เราได้ฟังเทศน์ท่าน.. ท่านจึงพบเราบ่อยไปตามประสาของเราที่มันชอบภาวนา ...

หมู่เพื่อนใครไม่ไป เราไม่สนใจกับใคร ถ้าวันไหนท่านประชุมฟังธรรมตรงกับวันที่เราว่างจากการเรียน เราก็ไป ไปบ่อย .. ถ้าวันไหนว่าง จากนั้นอีกก็จะไปเข้าป่า ไปทางวัดป่าดงขวาง อยู่ทางตะวันออกของวัดป่าสาลวัน สงัดดี ไปพักอยู่ที่นั่น ไปภาวนา ... แต่บอกว่าไปภาวนาไม่ได้นะ ต้องบอกว่าไปดูหนังสือบ้าง ความจริงคือไปภาวนา ... ท่านอาจารย์สิงห์ยังชมให้พระเณรฟัง อาจารย์คำดีก็ได้ฟังอยู่ด้วยว่า
“พระหนุ่มองค์นี้สำคัญนะ ภาวนาดีนะ”


และท่านยังไปเล่าให้พระฟังอีกด้วยว่า ‘มานั่งฟังเทศน์เหมือนหัวตอ นั่งตรงแน่ว ไม่เอนไม่เอียง มาแล้วมานั่งข้างหน้า เทศน์จบแล้วหายเลย (ไม่คุยกับใคร)’ เพราะเราไปฟังเทศน์ของท่านตลอด ตอนนั้นเราภาวนายังไม่เป็น ยังไม่ทราบว่า ท่านเทศน์มีบทหนักบทเบาขนาดไหน แต่เรื่องวิถีจิตที่ท่านแสดงนั้น เรายังไม่เคยได้ยินมาก่อน ...

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-07-2012 เมื่อ 13:18
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #70  
เก่า 12-07-2012, 09:04
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ไปวัดนั้นวัดนี้เขาก็ทราบว่าเป็นวัดกรรมฐาน แต่เราบอกว่าไปดูหนังสือ ความจริงไปดูหนังสือใหญ่คือภาวนา ไม่ให้ใครทราบ มันหากเป็นอยู่ลึก ๆ ถ้าหากพูดออกมาหมู่เพื่อนขัดทันทีจึงไม่พูด เฉยดีกว่า เขาเป็นลิง เราก็เป็นลิง เขาเป็นอะไรก็เป็นกับเขาไป

คำว่า “ลิงค่างด้านปริยัติ” นั้นคือ กิริยาหยอกเล่นกันธรรมดา แต่ไม่ให้ผิดจากหลักธรรมหลักวินัย เราเรียนหนังสืออยู่ ใครมาดูถูกพระกรรมฐานไม่ได้นะ แต่ก็มีน้อยมากที่ปริยัติจะดูถูกพระกรรมฐาน ถ้าเขาพูดออกมาในเชิงดูถูกอะไร ๆ เอาแล้ว เรารักกรรมฐานรักอย่างนั้น แต่ส่วนมากท่านชมเชย ท่านปฏิบัติได้ เราปฏิบัติไม่ได้ แสดงว่ายอมตนชมเชย...”

ที่วัดป่าสาลวันแห่งนี้เอง ทำให้ท่านมีโอกาสได้พบและสนิทสนมกับหลวงปู่คำดี ปภาโส ท่านได้บอกกับหลวงปู่คำดีในครั้งนั้นว่า
“พอจบจากการเรียนตามคำอธิษฐานแล้ว จะออกปฏิบัติเพียงเท่านั้น”


กาลเวลาผ่านมาหลายต่อหลายปี ท่านทั้งสองถึงได้มาพบกันอีก ครั้งนั้น หลวงปู่คำดีพูดด้วยความตื่นเต้นมากทีเดียวว่า
“โห ! ท่านมหา (บัว) ผมไม่ลืมนะ คำพูดท่านน่ะ ทำไมพูดมีความสัตย์ความจริงอย่างนี้ ตอนท่านไปเรียนหนังสืออยู่โคราชได้บอกกับผมไว้ว่า เมื่อเรียนจบตามความมุ่งหมายแล้ว จะออกปฏิบัติก็ออกปฏิบัติจริง ๆ”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 12-07-2012 เมื่อ 09:28
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #71  
เก่า 13-07-2012, 09:33
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม

หลวงปู่สิงห์ มีนามเดิมว่า สิงห์ บุญโท เกิดเมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๒ เวลา ๕.๑๐ น. ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๓ ปีฉลู ณ บ้านหนองขอน ตำบลหัวตะพาน อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมกัน ๗ คน ท่านเป็นคนที่ ๔ และพระมหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นคนที่ ๕

บรรพชาและอุปสมบท เมื่ออายุ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖ ในสำนักพระอุปัชฌาย์ป้อง ณ บ้านหนองขอน ตำบลหัวตะพาน อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พันธสีมาวัดสุทัศน์ฯ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๒ โดยสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) สมัยเมื่อดำรงสมณศักดิ์เป็นพระศาสนาดิลก เจ้าคณะมลฑลอีสาน เป็นพระอุปัชฌาย์ นับว่าเป็นสัทธิวิหาริกอันดับ ๒ ของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ พระมหาเสน ชิตเสโน เป็นพระกรรมวาจารย์ พระปลัดทัศน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

การจาริกเพื่อศึกษาธรรมปฏิบัติ เหตุที่ได้จูงใจให้ท่านออกเที่ยวธุดงค์เจริญสมถวิปัสสนากรรมฐานนั้น สาเหตุด้วยได้คำนึงถึงพระพุทธศาสนาว่า หมดเขตสมัยมรรคผลธรรมวิเศษแล้ว หรือว่ายังมีหนทางปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในพุทธศาสนาอยู่ ในระหว่างพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ได้พบกับพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี ทราบว่าเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เมื่อได้ศึกษากับท่านจนได้ความแน่ชัดว่า หนทางปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนั้นมีอยู่ จึงได้ตกลงใจออกเที่ยวธุดงค์หาที่วิเวกเพื่อเจริญสมถวิปัสสนากรรมฐานตั้งแต่นั้นมา พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๓ ได้จำพรรษาวัดป่าสาลวัน

สมณศักดิ์ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญฝ่ายวิปัสสนาธุระมีนามว่า พระญาณวิสิษฏ์ สมิทธิวีราจารย์ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๐

มรณภาพ อาพาธด้วยมะเร็งเรื้อรังในกระเพาะ ได้มรณภาพเมื่อวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๔ เวลา ๑๐.๒๐ น. ณ วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา สิริอายุรวม ๗๓ ปี

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-07-2012 เมื่อ 12:53
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #72  
เก่า 16-07-2012, 11:24
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

พรรษาที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๘๓)

จำพรรษาที่วัดเจดีย์หลวง ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

==========================================================


พบเห็นสมณะผู้ประเสริฐ

ในระยะที่ท่านยังเรียนหนังสืออยู่นั้น กิตติศักดิ์ กิตติคุณของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต มิเคยได้จืดจางลงไปแม้แต่น้อย กลับยิ่งฟุ้งขจรขจายอย่างกว้างขวางมาจากจังหวัดเชียงใหม่ว่า ท่านเป็นพระสำคัญรูปหนึ่ง และส่วนมากผู้ที่มาเล่าเรื่องของหลวงปู่มั่นให้ฟังนั้น จะไม่เล่าธรรมชั้นอริยภูมิธรรมดา แต่จะเล่าถึงชั้นพระอรหันต์ภูมิทั้งนั้น ดังนี้

“ครูบาอาจารย์องค์ไหนที่เคยไปอยู่กับท่านมาแล้ว มาพูดเป็นเสียงเดียวกันหมด ไม่เป็นอื่นว่า ‘ท่านอาจารย์มั่นคือพระอริยบุคคล’ เราก็ยิ่งอยากจะทราบ ‘อริยบุคคลชั้นไหน ? มันก็หลายชั้นนี่นะ อริยบุคคล’


ก็อรหันต์นั่นแหละ’ 'ว่างี้’ เลย ‘อรหันตบุคคล’ 'ว่างี้’ มันก็ยิ่งซึ้งน่ะซี”

ท่านจึงมีความมั่นใจว่า “เมื่อเรียนจบตามคำสัตย์ที่ตั้งไว้แล้ว จะต้องพยายามออกปฏิบัติไปอยู่สำนักและศึกษาอบรมกับหลวงปู่มั่น เพื่อตัดข้อสงสัยที่ฝังใจอยู่นี้ออกไปให้จงได้”

โอกาสอำนวยให้ท่านเดินทางไปศึกษาปริยัติต่อที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อเดินทางไปถึง เผอิญเป็นระยะเดียวกันกับที่ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (พระอุปัชฌาย์ขององค์หลวงตา) ได้อาราธนานิมนต์หลวงปู่มั่นด้วยตนเอง เพื่อขอให้ไปพักจำพรรษาอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี หลวงปู่มั่นเมตตารับนิมนต์นี้ จึงได้ออกเดินทางจากสถานที่วิเวกบนเขาในเขตจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อจะเข้าพักชั่วคราวอยู่ที่วัดเจดีย์หลวงนั้นเช่นกัน

เหตุการณ์ก็บังเอิญเป็นระยะเวลาไล่เลี่ยกันกับที่ท่านเดินทางไปถึง จึงมีโอกาสที่ได้เห็นหลวงปู่มั่น ดังนี้

“ท่านมาถึงก่อน ๒ วันหรือ ๓ วัน เราก็ไปถึง ท่านป่วยอยู่ที่บ้านป่าเปอะ* ท่านออกมาครั้งนั้น เพราะรับนิมนต์ท่านเจ้าคุณอุปัชฌายะของเรานี่เอง ท่านออกมาเพราะนัดกันแล้ว ว่าเดือนนั้น ๆ ระยะนั้น ๆ ให้มา ท่านก็ออกมา มีท่านอาจารย์อุ่น กับคุณนายทิพย์ภรรยาของผู้บังคับการตำรวจ ทุกวันนี้เรียกผู้กำกับ มานิมนต์ท่านอาจารย์อุ่นไปรับท่านมา...


พอเราได้ทราบว่า ท่านมาพักอยู่วัดเจดีย์หลวงเท่านั้นก็เกิดความยินดีเป็นล้นพ้น สอบถามจากพระว่า ‘ท่านไปบิณฑบาตสายไหน ?’ สอบถามได้ความว่า ‘เช้านี้ ท่านพระอาจารย์มั่นออกบิณฑบาตสายนี้และจะกลับมาทางเดิม’ ดังนี้ ก็ยิ่งเป็นเหตุให้มีความสนใจ ใคร่อยากจะพบเห็นท่านมากขึ้น แม้จะไม่ได้พบท่านซึ่ง ๆ หน้าก็ตาม เพียงขอให้ได้แอบมองท่านก็เป็นที่พอใจ

พอรุ่งสางเช้าวันใหม่ ก่อนที่ท่านจะออกบิณฑบาต เราก็รีบไปบิณฑบาตแต่เช้า แล้วกลับมาถึงกุฏิก็คอยสังเกตตามเส้นทางที่ท่านจะผ่านมา คอยจ้องดูอยู่ไม่นานนัก สักเดี๋ยวพระมาบอกว่า ‘มาแล้ว โน่น ๆ กำลังเข้ากำแพงวัด’

เราก็รีบเข้าไปในห้องเลย มันมีช่องอยู่ ยังไม่ลืมนะ ก็ได้เห็นท่านเดินผ่านมา แล้วจึงส่งสายตาสอดส่องดูท่านอย่างลับ ๆ ด้วยความหิวกระหาย ใคร่พบท่านมาเป็นเวลานานแสนนาน เมื่อได้เห็นองค์ท่านจริง ๆ ก็ยิ่งเพิ่มความศรัทธาเลื่อมใสในองค์ท่านขึ้นอย่างเต็มที่...

ส่องดู ลักษณะของท่านเหมือนไก่ป่านะ คล่องแคล่ว ตาแหลมคม ท่านเดินมา เราก็ดู ... ฟังด้วยความสนใจ ดูด้วยความเลื่อมใส ‘นี่มันซึ้งจริง ๆ’ เราไม่ลืมนะ ... แต่ท่านจะเห็นเรา 'ยังไง’ ก็ไม่รู้ ...”

ขณะที่ส่องดูอยู่นั้น เกิดความรู้สึกเลื่อมใสในองค์ท่านขึ้นอย่างเต็มที่ ในขณะนั้นคิดในใจว่า
“เราไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์ ได้เห็นพระอรหันต์ในคราวนี้เองแล้ว”


ทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครบอกว่าหลวงปู่มั่นเป็นพระอรหันต์ ในขณะที่ได้เห็นอยู่นั้น ท่านว่า
ใจมันหยั่งลึกเชื่อแน่วแน่ลงไปอย่างนั้น พร้อมทั้งเกิดความปีติยินดีจนขนพองสยองเกล้าอย่างบอกไม่ถูก ทั้ง ๆ ที่องค์ท่านก็ไม่ได้.. ก็ไม่ได้มองเห็นเรา”


==========================================================

* บ้านป่าเปอะ ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 16-07-2012 เมื่อ 16:13
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #73  
เก่า 17-07-2012, 12:09
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ฟังเทศน์หลวงปู่มั่นครั้งแรกในชีวิต

ที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่แห่งนี้ เป็นสถานที่ที่ทำให้ท่านมีโอกาสได้ฟังเทศน์ของหลวงปู่มั่นเป็นครั้งแรกในชีวิต ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชาอีกด้วย ในวันนั้นหลวงปู่มั่นแสดงธรรมนานถึง ๓ ชั่วโมงพอดีถึงจบกัณฑ์ ท่านตั้งใจฟังธรรมด้วยความสนใจเป็นอย่างยิ่ง ดังนี้
“เราก็อยู่นั้นเวลาท่านเทศน์ แต่ก่อนไม่มีรถนี่ เทศน์อยู่วิหารใหญ่ ทางรถผ่านหน้าวัดจนเขาแตกตื่นเข้ามาดู เขาว่าพระทะเลาะกัน มาดูก็เห็นท่านอาจารย์มั่นเทศน์อยู่บนธรรมาสน์ นั่นละขนาดนั้นละ ท่านเทศน์เปรี้ยง ๆ เอาอย่างถึงเหตุถึงผล แต่เราก็เพลินไปด้วยความเลื่อมใสท่านนะ จะให้รู้เรื่องรู้ราวในเรื่องท่านเทศน์ เรื่องวิถีจิตวิถีอะไรก็ไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่มันเพลินด้วยความเชื่อท่าน ความเลื่อมใส ว่าเราเกิดมาไม่เสียชาติ ได้พบท่านอาจารย์มั่นที่ร่ำลือมานาน


‘ท่านพระอาจารย์มั่นเทศน์เป็นที่จับใจอย่างฝังลึก ไม่มีวันลืมเลือนตลอดมาถึงปัจจุบัน กัณฑ์นี้เราได้ฟังด้วยตัวเองอย่างถึงใจ ดังที่ใฝ่ฝันในองค์ท่านมานาน’...”

ใจความสำคัญของธรรมที่หลวงปู่มั่นได้แสดงในวันนั้น ท่านลิขิตไว้ในหนังสือประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ดังนี้
“... วันนี้ตรงกับวันพระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน เราเรียกว่า “วันวิสาขบูชา” พระพุทธเจ้าเกิดกับสัตว์โลกเกิดต่างกันมาก ตรงที่ท่านเกิดแล้วไม่หลงโลกที่เกิด ที่อยู่และที่ตาย มิหนำยังกลับรู้แจ้งที่เกิด ที่อยู่ และตายของพระองค์ด้วยพระปัญญาญาณโดยตลอดทั่วถึง ที่เรียกว่าตรัสรู้นั่นเอง


เมื่อถึงกาลอันควรจากไป ทรงลาขันธ์ที่เคยอาศัยเป็นเครื่องมือบำเพ็ญความดีมาจนถึงขั้นสมบูรณ์เต็มที่ แล้วจากไปแบบ “สุคโต” สมเป็นศาสดาของโลกทั้งสาม ไม่มีที่น่าตำหนิแม้นิดเดียว ก่อนเสด็จจากไปโดยพระกายที่หมดหนทางเยียวยา ก็ได้ประทานพระธรรมไว้เป็นองค์แทนศาสดา ซึ่งเป็นที่น่ากราบไหว้บูชาคู่พึ่งเป็นพึ่งตายถวายชีวิตจริง ๆ

เราทั้งหลายต่างเกิดมาด้วยวาสนา มีบุญพอเป็นมนุษย์ได้อย่างเต็มภูมิดังที่ทราบอยู่แก่ใจ แต่อย่าลืมตัวลืมวาสนาของตัว โดยลืมสร้างคุณงามความดีเสริมต่อภพชาติของเรา ที่เคยเป็นมนุษย์จะเปลี่ยนแปลงและกลับกลายหายไป ชาติต่ำทรามที่ไม่ปรารถนาจะกลายมาเป็นตัวเราเข้าแล้วแก้ไม่ตก

ความสูงศักดิ์ ความต่ำทราม ความสุขทุกขั้นจนถึงบรมสุข และความทุกข์ทุกขั้นจนเข้าขั้นมหันตทุกข์เหล่านี้ มีได้กับทุกคนตลอดสัตว์..ถ้าตนทำให้มี อย่าเข้าใจว่า จะมีได้เฉพาะผู้กำลังเสวยอยู่เท่านั้น โดยผู้อื่นมีไม่ได้ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นสมบัติกลาง แต่กลับกลายมาเป็นสมบัติจำเพาะของผู้ผลิตผู้ทำได้

ฉะนั้น ท่านจึงสอนไม่ให้ดูถูกเหยียดหยามกัน เมื่อเห็นเขาตกทุกข์หรือกำลังจน จนน่าทุเรศ เราอาจมีเวลาเป็นเช่นนั้น หรือยิ่งกว่านั้นก็ได้ เมื่อถึงวาระเข้าจริง ๆ ไม่มีใครมีอำนาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะกรรมดีกรรมชั่วเรามีทางสร้างได้เช่นเดียวกับผู้อื่น จึงมีทางเป็นได้เช่นเดียวกับผู้อื่น และผู้อื่นก็มีทางเป็นได้เช่นที่เราเป็นและเคยเป็น

ศาสนาจึงเป็นหลักวิชา.. ตรวจตราดูตัวเองและผู้อื่นได้อย่างแม่นยำ และเป็นวิชาเครื่องเลือกเฟ้นได้อย่างดีเยี่ยม ไม่มีวิชาใดในโลกเสมอเหมือน นับแต่บวชและปฏิบัติมาอย่างเต็มกำลังจนถึงวันนี้ มิได้ลดละการตรวจตราเลือกเฟ้นสิ่งดีชั่วที่มีและเกิดอยู่กับตนทุกระยะ มีใจเป็นตัวการพาสร้างกรรมประเภทต่าง ๆ จนเห็นได้ชัดว่ากรรมมีอยู่กับผู้ทำ มีใจเป็นต้นเหตุของกรรมทั้งมวล ไม่มีทางสงสัย ผู้สงสัยกรรมหรือไม่เชื่อกรรมว่ามีผล คือคนลืมตนจนกลายเป็นผู้มืดบอดอย่างช่วยอะไรไม่ได้

คนประเภทนั้นแม้เขาจะเกิด และได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อแม่มาเป็นอย่างดี เหมือนโลกทั้งหลายก็ตาม เขามองไม่เห็นคุณของพ่อแม่ว่า ผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูตนมาอย่างไรบ้าง ? แต่เขาจะมองเห็นเฉพาะร่างกายเขาที่เป็นคน ซึ่งกำลังรกโลกอยู่โดยเจ้าตัวไม่รู้เท่านั้น ไม่สนใจคิดว่าเขาเกิดและเติบโตมาจากท่านทั้งสอง ซึ่งเป็นแรงหนุนร่างกายให้เป็นอยู่ตามกาลของมัน การทำเพื่อร่างกาย ถ้าไม่จัดว่าเป็นกรรมคือ การทำจะควรจัดว่าอะไร ? สิ่งที่ร่างกายได้รับมาเป็นประจำ ถ้าไม่เรียกว่าผล จะเรียกว่าอะไร ? จึงจะถูกตามความจริง

ดี ชั่ว สุข ทุกข์ ที่สัตว์ทั่วโลกได้รับกันมาตลอดสาย ถ้าไม่มีแรงหนุนเป็นต้นเหตุอยู่แล้ว จะเป็นมาได้ด้วยอะไร ใจอยู่เฉย ๆ ไม่คะนองคิดในลักษณะต่าง ๆ อันเป็นทางมาแห่งดีและชั่ว คนเราจะกินยาตายหรือฆ่าตัวตายได้ด้วยอะไร สาเหตุแสดงอยู่เต็มใจที่เรียกว่าตัวกรรมแล ทำคนจนถึงตายยังไม่ทราบว่าตนทำกรรมแล้ว ถ้าจะไม่เรียกว่ามืดบอด จะควรเรียกว่าอะไร ?

กรรมอยู่กับตัวและตัวทำกรรมอยู่ทุกขณะ ผลก็เกิดอยู่ทุกเวลา ยังสงสัยหรือ ไม่เชื่อกรรมว่ามี และให้ผลแล้วก็สุดหนทาง ถ้ากรรมวิ่งตามคนเหมือนสุนัขวิ่งตามเจ้าของ เขาก็เรียกว่าสุนัขเท่านั้นเอง ไม่เรียกว่ากรรม นี่กรรมไม่ใช่สุนัข แต่คือการกระทำดีชั่ว ทางกาย วาจา ใจ ต่างหาก ผลจริงคือความสุขทุกข์ที่ได้รับกันอยู่ทั่วโลก การทั่งสัตว์ผู้ไม่รู้จักกรรม รู้แต่กระทำคือหาอยู่หากิน ที่ทางศาสนาเรียกว่ากรรมของสัตว์ของบุคคล และผลกรรมของสัตว์ของบุคคล”

หลังจากนั้นไม่นาน หลวงปู่มั่นก็ออกเดินทางมุ่งหน้าไปจังหวัดอุดรธานีกับคณะลูกศิษย์ของท่าน สำหรับท่านยังคงอยู่เรียนหนังสืออยู่ที่วัดเจดีย์หลวงนี้ต่อไป โดยศึกษาบาลีกับนักธรรมควบคู่กันไป
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #74  
เก่า 18-07-2012, 11:16
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

นิมิตหลวงปู่มั่น
และคำทำนายพระหนุ่มองค์หนึ่ง

มีเรื่องแปลกประหลาดเรื่องหนึ่งที่หลวงปู่มั่นเกิดขึ้นทางนิมิตภาวนา ขณะที่ท่านพักอยู่ที่ดอยคำ บ้านน้ำเมา อำเภอแม่ปั๋ง ก่อนที่จะออกเดินทางมาถึงวัดเจดีย์หลวงนี้ นิมิตดังกล่าวนี้ หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท ซึ่งติดตามหลวงปู่มั่นอยู่ในขณะนั้นด้วย ได้ยินได้ฟังด้วยตนเองและได้เล่าแบบย่อ ๆ ว่า
“หลวงปู่มั่น นิมิตเห็นพระหนุ่ม ๒ รูป นั่งช้าง ๒ เชือก ติดตามท่าน ซึ่งนั่งสง่างามบนช้างตัวขาวปลอด จ่าโขลงเป็นช้างใหญ่ พระหนุ่มสองรูปนี้จะสำเร็จก่อนและหลังท่านนิพพานไม่นานนัก


นิมิตเดียวกันนี้ได้บันทึกโดยละเอียดไว้ในประวัติหลวงปู่มั่น ดังนี้
“... คืนหนึ่งมีเหตุการณ์โดยทางนิมิตภาวนาเกิดขึ้น เวลานั้นท่านพักอยู่ในภูเขาลึกแห่งหนึ่ง ห่างจากหมู่บ้านมากที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเหตุการณ์ที่ทั้งน่าหวาดเสียวและน่ายินดีพอ ๆ กัน คืนนั้นดึกมากราว ๓ นาฬิกา อันเป็นเวลาธาตุขันธ์ละเอียด


ท่านตื่นจากจำวัด นั่งพิจารณาไปเล็กน้อยปรากฏว่า จิตใจมีความประสงค์จะพักสงบมากกว่าจะพิจารณาธรรมทั้งหลายต่อไป ท่านเลยปล่อยให้จิตพักสงบ พอเริ่มปล่อยจิตก็เริ่มหยั่งลงสู่ความสงบอย่างละเอียดเต็มภูมิสมาธิ และพักอยู่นานประมาณ ๒ ชั่วโมง หลังจากนั้นก็ค่อย ๆ ถอยออกมา แต่แทนที่จิตจะถอนออกมาสู่ปกติจิต เพราะมีกำลังจากการพักผ่อนทางสมาธิพอสมควรแล้ว แต่กลับถอยออกมาเพียงขั้นอุปจารสมาธิ แล้วออกรู้เหตุการณ์ต่อเนื่องไปในเวลานั้นเลยทีเดียว

คือขณะนั้นปรากฏว่า มีช้างเชือกหนึ่งใหญ่มากเดินเข้ามาหาท่าน แล้วทรุดตัวหมอบลงแสดงเป็นอาการจะให้ท่านขึ้นบนหลัง ท่านก็ปีนขึ้นบนหลังช้างเชือกนั้นทันที พอท่านขึ้นนั่งบนคอช้างเรียบร้อยแล้ว

ขณะนั้นปรากฏว่า มีพระวัยหนุ่มอีกสององค์ขี่ช้างองค์ละเชือกเดินตามมาข้างหลังท่าน ช้างทั้งสองเชือกนั้นใหญ่พอ ๆ กัน แต่เล็กกว่าช้างตัวที่ท่านกำลังขี่อยู่เล็กน้อย ช้างทั้งสามเชือกนั้นมีความองอาจสง่าผ่าเผยและสวยงามมากพอ ๆ กัน คล้ายกับเป็นช้างทรงของกษัตริย์ มีความฉลาดรอบรู้ความประสงค์ และอุบายต่าง ๆ ที่เจ้าของบอกแนะดีเช่นเดียวกับมนุษย์

พอช้างสองเชือกของพระหนุ่มเดินมาถึง ท่านก็พาออกเดินทางมุ่งหน้าไปทางภูเขาที่มองเห็นขวางหน้าอยู่ไม่ห่างจากที่นั้นนักประมาณ ๑ กิโลเมตร ช้างท่านเป็นผู้พาเดินหน้าไปอย่างสง่าผ่าเผย

ในความรู้สึกส่วนลึก ท่านว่าราวกับจะพาพระหนุ่มสององค์นั้นออกจากโลกสมมุติทั้งสามภพ ไม่มีวันกลับมาสู่โลกใด ๆ อีกต่อไปเลย พอไปถึงภูเขาแล้ว ช้างพาท่านและพระหนุ่มสององค์ เดินเข้าไปที่หน้าถ้ำแห่งหนึ่งซึ่งไม่สูงนัก เพียงเป็นเนินเชื่อมกันขึ้นไปหาถ้ำเท่านั้น

เมื่อช้างใหญ่ทั้งสามเชือกเข้าไปถึงถ้ำแล้ว ช้างเผือกที่ท่านอาจารย์ขี่อยู่หันก้นเข้าไปในหน้าถ้ำ หันหน้าออกมา แล้วถอยก้นเข้าไปจรดผนังถ้ำ ส่วนช้างสองเชือกของพระหนุ่มสององค์ ต่างเดินเข้าไปยืนเคียงข้างช้างท่านข้างละเชือกอย่างใกล้ชิด หันหน้าเข้าไปในถ้ำ ส่วนช้างท่านอาจารย์ยืนหันหน้าออกมาหน้าถ้ำ ขณะนั้นปรากฏว่า

ท่านอาจารย์เองได้พูดสั่งเสียพระว่า
นี้เป็นวาระสุดท้ายแห่งขันธ์และภพชาติของผม จะขาดความสืบต่อกับสมมุติทั้งหลายและจะยุติลงเพียงแค่นี้ จะไม่ได้กลับมาสู่โลกเกิดตายนี้อีกแล้ว นิมนต์ท่านทั้งสองจงกลับไปบำเพ็ญประโยชน์ตนให้สมบูรณ์เต็มภูมิก่อน อีกไม่นานท่านทั้งสองก็จะตามผมมา และไปในลักษณะเดียวกับที่ผมจะเตรียมไปอยู่ขณะนี้ การที่สัตว์โลกจะหนีจากโลกที่แสนอาลัยอ้อยอิ่ง แต่เต็มไปด้วยความระบมงมทุกข์นี้ไปได้แต่ละรายนั้น มิใช่เป็นของไปได้อย่างง่ายดายเหมือนเขาไปเที่ยวงานกัน แต่ต้องเป็นสิ่งฝืนใจมากที่ผู้นั้นจะต้องทุ่มเทกำลังทุกด้านลง เพื่อต่อสู้กู้ความดีทั้งหลาย ราวกับจะไม่มีชีวิตยังเหลืออยู่ในร่างต่อไป นั่นแล.. จึงจะเป็นทางพ้นภัยไร้กังวล ไม่ต้องกลับมาเกิดตายเสียดายป่าช้าอีกต่อไป


การจากไปของผมคราวนี้ มิได้เป็นการจากไปเพื่อความล่มจมงมทุกข์ใด ๆ แต่เป็นการจากไปเพื่อหายทุกข์กังวลในขันธ์ จากไปด้วยความหมดเยื่อใยในสิ่งที่เคยอาลัยอาวรณ์ทั้งหลาย และจากไปด้วยความหมดห่วง เหมือนนักโทษออกจากเรือนจำ ฉะนั้น ไม่มีความหึงหวงและน้อยเนื้อต่ำใจ เพราะความพรากไปแห่งขันธ์ที่โลกถือเป็นเรื่องกองทุกข์อันใหญ่หลวง และไม่มีสัตว์ตัวใดปรารถนาตายกันเลย ฉะนั้น จึงไม่ควรเสียใจอาลัยถึงผมอันเป็นเรื่องสั่งสมกิเลสและกองทุกข์ ไม่มีชิ้นดีเลย นักปราชญ์ไม่สรรเสริญ

พอท่านแสดงธรรมแก่พระหนุ่มสององค์จบลง ก็บอกให้ถอยช้างสองเชือกออกไป ซึ่งยืนแนบสองข้างท่านด้วยอาการสงบนิ่งราวกับไม่มีลมหายใจ และอาลัยคำสั่งเสียท่านที่ให้โอวาทแก่พระหนุ่มสององค์ ขณะนั้น ช้างทั้งสามเชือกแสดงความรู้สึกเหมือนสัตว์มีชีวิตจริง ๆ ราวกับมิใช่นิมิตภาวนา

พอสั่งเสียเสร็จแล้ว ช้างสองเชือกของพระหนุ่มก็ค่อย ๆ ถอยออกมาหน้าถ้ำ หันหลังกลับออกไป แล้วหันหน้ากลับคืนมายังท่านอาจารย์ตามเดิมด้วยท่าทางอันสงบอย่างยิ่ง ส่วนช้างท่านก็เริ่มทำหน้าที่หมุนก้นเข้าไปในผนังถ้ำโดยลำดับ เฉพาะองค์ท่านนั่งอยู่บนคอช้างนั่นเอง ทั้งขณะให้โอวาท ทั้งขณะหมุนตัวเข้าในผนังถ้ำ พอช้างหมุนก้นเข้าไปได้ค่อนตัว จิตท่านเริ่มรู้สึกตัวถอนจากสมาธิขึ้นมาเรื่องเลยยุติลงเพียงนั้น

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 18-07-2012 เมื่อ 14:51
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #75  
เก่า 19-07-2012, 09:39
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

เรื่องนั้นจึงเป็นสาเหตุให้ท่านพิจารณาความหมายต่อไป เพราะเป็นนิมิตที่แปลกประหลาดมาก ไม่เคยปรากฏในชีวิต ได้ความขึ้นเป็นสองนัย 'นัยหนึ่ง..ตอนท่านมรณภาพจะมีพระหนุ่มสององค์รู้ธรรมตามท่าน แต่ท่านมิได้ระบุว่าเป็นใครบ้าง ?

อีกนัยหนึ่ง สมถะกับวิปัสสนา เป็นธรรมมีอุปการะแก่พระขีณาสพแต่ต้นจนวาระสุดท้ายแห่งขันธ์ ต้องอาศัยสมถวิปัสสนาเป็นวิหารธรรม... เครื่องบรรเทาทุกข์ระหว่างขันธ์กับจิตที่อาศัยกันอยู่ จนกว่าระหว่างสมมุติคือขันธ์กับวิมุตติคือวิสุทธิจิตจะเลิกราจากกัน ที่โลกเรียกว่าตายนั่นแล สมถะกับวิปัสสนาจึงจะยุติในการทำหน้าที่ลงได้ และหายไปพร้อม ๆ กับสมมุติทั้งหลาย ไม่มีอะไรจะมาสมมุติกันว่าเป็นอะไรต่อไปอีก

ท่านว่าน่าหวาดเสียวนั้น ท่านคิดตามความรู้สึกทั่ว ๆ ไป คือตอนช้างท่านกำลังหมุนกันเข้าไปในผนังถ้ำ ทั้งที่ท่านนั่งอยู่บนคอช้าง แต่ท่านว่า ท่านมิได้มีความสะทกสะท้านหวั่นไหวเพราะเหตุการณ์ที่กำลังเป็นไปอยู่นั้นเลย ปล่อยให้ช้างทำหน้าที่ไปจนกว่าจะถึงที่สุดของเหตุการณ์

ที่น่ายินดีเช่นกันคือ ตอนที่นิมิตแสดงภาพพระหนุ่มและช้างให้ปรากฏขึ้นในขณะนั้น บอกความหมายว่า จะมีพระหนุ่มรู้ธรรมตามท่านสององค์ในระยะที่มรณภาพ ไม่ก่อนหรือหลังท่านนานนัก ท่านว่าแปลกอยู่อีกตอนหนึ่งก็คือ ตอนท่านสั่งเสียและอบรมสั่งสอนพระหนุ่มไม่ให้ตกใจ และมีความอาลัยถึงท่าน ให้พากันกลับไปบำเพ็ญประโยชน์ส่วนตนให้เต็มภูมิก่อน และพูดถึงการจากไปของท่านเองราวกับจะไปในขณะนั้นจริง ๆ นี้ ท่านว่า นิมิตแสดงให้เห็นเป็นความแปลกในรูปเปรียบว่า เมื่อวาระนั้นมาถึงจริง ๆ พระหนุ่มสององค์จะรู้ธรรมในระยะนั้น...”

และในคราวหนึ่งช่วงอยู่เชียงใหม่ก่อนกลับภาคอีสาน หลวงปู่มั่นได้ทำนายพระหนุ่มองค์หนึ่งให้หลวงปู่เจี๊ยะฟังว่า
“มีพระหนุ่มอยู่องค์หนึ่ง เวลานี้กำลังเรียนหนังสืออยู่จะมาหาเรา พระองค์นี้จะทำประโยชน์ใหญ่ให้โลกให้วงศาสนาได้กว้างขวาง ลักษณะคล้าย ๆ ท่านเจี๊ยะ แต่ไม่ใช่ท่านเจี๊ยะ ตอนนี้อยู่เชียงใหม่ เขาอยากมาหาเรา แต่ยังไม่เข้ามาหาเรา องค์นี้ต่อไปจะสำคัญอยู่นะ เขายังไม่มาหาเรา แต่อีกไม่นานก็จะเข้ามา”


หลวงปู่เจี๊ยะเล่าถึงความรู้สึกภายหลังจากได้ฟังคำทำนายของหลวงปู่มั่นในครั้งนี้ด้วยว่า
“เมื่อท่านพูดอย่างนั้น เราก็จับจ้องรอดูอยู่ ไม่ว่าใครจะไปจะมาก็คอยสังเกตอยู่ตลอด เพราะคำพูดของท่านสำคัญนัก พูด ‘ยังไง’ ต้องเป็นอย่างนั้น เรื่องนี้เราจึงเก็บไว้แล้วคอยสังเกตตลอดมา เพราะผู้ที่จะมาสืบต่อท่านต้องเป็นผู้มีบุญใหญ่


เหตุการณ์นี้ (ราวเดือนพฤษภาคม ๒๔๘๓) อยู่ในระยะเวลาเดียวกับที่องค์หลวงตาเพิ่งเดินทางไปถึงวัดเจดีย์หลวง แต่ในครั้งนั้นองค์หลวงตายังไม่เข้าไปหาหลวงปู่มั่น จึงยังไม่มีโอกาสได้สนทนากับหลวงปู่เจี๊ยะแต่อย่างใด

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 19-07-2012 เมื่อ 13:01
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #76  
เก่า 20-07-2012, 10:09
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

สอบได้คะแนนเต็มร้อย

ในการศึกษาวิชาภาษาบาลีของท่านนั้น ถึงแม้การสอบครั้งแรกจะยังไม่ผ่าน ท่านก็ไม่ได้รู้สึกเสียใจแต่อย่างใด ท่านยอมรับตามนั้น เพราะทราบดีว่าภูมิความรู้ของตนในตอนนั้นยังไม่เต็มที่จริง ๆ

สำหรับการสอบในครั้งต่อ ๆ ไปนั้น ท่านมีความมั่นใจอย่างเต็มภูมิว่า แม้จะสอบหรือไม่สอบก็ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องความรู้ ทั้งนี้ก็ด้วยความสามารถที่ได้แสดงให้ครูสอนบาลีของท่านคือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) เห็นในระหว่างที่เรียนเพื่อจะสอบมหาเปรียญให้ได้ ในการสอบเป็นครั้งที่ ๓ ครูของท่านถึงกับออกปากว่า
“ท่านบัวนี้ได้แต่ก่อนสอบนะ ให้เป็นมหาเลยนะ ถ้าลงท่านบัวตก นักเรียนทั้งชั้นตกหมด”


ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้น คือท่านสอบได้เป็นมหาเปรียญ โดยได้คะแนนบาลีเต็มร้อยในเวลาต่อมา ท่านเล่าให้ลูกศิษย์ลูกหาฟังว่า
การสอบได้ในครั้งนั้น ไม่มีอะไรดีใจเลย เพราะรู้สึกว่าความรู้ได้เต็มภูมิตั้งแต่การสอบครั้งที่ ๒ แล้ว แต่ในครั้งนั้นปรากฏว่าสอบตก เหมือนกับจะให้คอยการศึกษาทางนักธรรมเขยิบขึ้นมาตาม จนถึงปีที่สอบมหาได้ก็สำเร็จนักธรรมเอกพร้อมกันเลย ซึ่งน่าคิดว่าเหมือนมีสายเกี่ยวโยงกัน ทำให้การศึกษาทางโลกจบประถม ๓ ทางบาลีก็จบเปรียญ ๓ และทางนักธรรมก็จบนักธรรมเอกเป็น ๓ ตรงกันหมด ๓ วาระ...


ด้วยผลการเรียนดี และเป็นที่ไว้วางใจของผู้ใหญ่ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์ ทำให้ผู้ใหญ่หวังจะให้ท่านเป็นครูสอนนักเรียนในโรงเรียน แต่ท่านก็ได้ปฏิเสธอย่างละมุนละม่อมดังนี้

“... เรียนออกมานักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก เปรียญไม่สอนใครทั้งนั้น เป็นครูสอนนักเรียนในโรงเรียนก็ไม่เอา ผู้ใหญ่ท่านจะให้เป็นครูสอน... ‘ไม่เอา ครูไม่อดไม่อยาก เอาองค์ไหนก็ได้’ เราว่าอย่างนั้นเสีย เราเลยหลีกได้ ถ้าหากว่า ครูไม่มีจริง ๆ เราจะหลีกอย่างนั้นมันก็ไม่งาม แต่นี้ครูก็มีอยู่ ผู้มีภูมินั้นมีอยู่ที่จะเป็นครู


เราก็ทิ้งให้องค์นั้น ๆ ไปเสีย เราก็ออกได้ เราจึงไม่เป็นครูใครเลย นักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก มหาเปรียญ ไม่เคยเป็นครูสอนใครทั้งนั้น...”

ช่วงเวลาที่เชียงใหม่ แม้ท่านจะมีเวลาไม่นานนัก แต่ท่านก็ใช้เวลาให้คุ้มค่าที่สุด คือพอมีว่างจากการเรียน ท่านจะใช้โอกาสนี้มุ่งเสาะหาสำนักกรรมฐานอยู่ตลอดเวลา ดังนี้

“ทางเชียงใหม่เราก็ไปมาก แต่จำไม่ได้ว่าไปที่ไหนต่อที่ไหนบ้าง ? ตอนเรียนหนังสืออยู่เชียงใหม่เราก็ซอกแซก เพราะนิสัยเรากับกรรมฐานนี้มันเป็นแต่ไหนแต่ไรมา เรียนก็เรียนเพื่อจะออกปฏิบัติอย่างเดียว เราไม่ได้เรียนเพื่ออื่น เรียนเพื่อปฏิบัติ เพราะฉะนั้น พอว่างเมื่อไร ‘ปั๊บ’ จึงเข้าหาสำนักกรรมฐาน วัดไหนอยู่แถวนั้น เราไปหมดนั่นแหละ ไปภาวนา พอถึงเวลาโรงเรียนจะเปิดเราก็มาเข้าโรงเรียนเสีย พอว่างเมื่อไรก็ ‘ปั๊บ’ เลย ไปแต่วัดกรรมฐาน เพราะฉะนั้น เชียงใหม่จึงไปหลายแห่งนะ ไปสำนักนั้นสำนักนี้ ส่วนมากก็มีแต่สำนักลูกศิษย์หลวงปู่มั่นทั้งนั้น”


ชีวิตการศึกษาด้านปริยัติของท่านเป็นอันสิ้นสุดลงที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ นับเป็นปีที่ท่านบวชได้ ๗ พรรษาพอดี โดยสอบได้ทั้งนักธรรมเอกและเปรียญ ๓ ประโยคในปีเดียวกัน

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 20-07-2012 เมื่อ 13:01
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #77  
เก่า 23-07-2012, 09:26
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ค้นคว้าพระไตรปิฎก
ขอเงินโยมแม่ซื้อหนังสือเรียน

ด้วยความมุ่งมั่นอย่างจริงจังที่จะออกปฏิบัติเมื่อจบมหาเปรียญ และจะยอมมอบกายถวายชีวิตต่อครูบาอาจารย์ผู้รู้จริงเช่นนี้เอง ทำให้การเรียนของท่านจึงมิใช่จะหาความรู้เพียงแค่วิชาในชั้นเรียนเท่านั้น แต่หากความรู้ใดจะเป็นประโยชน์ต่อการออกปฏิบัติกรรมฐาน ท่านจะพยายามศึกษาค้นคว้าตำรับตำราเพิ่มเติมเข้าไปอย่างเต็มที่ เฉพาะอย่างยิ่งจากพระไตรปิฎก สังเกตได้จากความตั้งใจของท่านที่ว่า

“...เราจะเรียนทุกสิ่งทุกอย่าง ที่พอจำได้เราจะจำ เราจะจดโน้ตคัดเอาไว้ ๆ มีสมุดเล็ก ๆ คัดเอาไว้ในนั้น ๆ อันนี้มาจากเล่มนั้น ๆ ชาดกเล่มนั้น ๆ หน้าที่เท่านั้น จดไว้ ๆ เวลาเราต้องการความพิสดาร เราก็ไปเปิดดูง่าย ๆ ที่เราจด


แต่ส่วนมากพอมองเห็นที่คัดไว้เท่านี้ มันก็เข้าใจไปหมดแล้ว เพราะอ่านมาหมดแล้วนี่ ก็ไม่จำเป็นต้องไปค้นดูพระไตรปิฎกละ เพราะฉะนั้น เวลาหนังสือผ่านมาที่ไหน ๆ ถึงรู้ทันที ๆ เพราะได้อ่านมาหมด มันอยู่ในข่ายของพระไตรปิฎกทั้งนั้นละ

ทีนี้พระไตรปิฎก เราก็ค้นเสียจนพอก่อนที่จะออกมาปฏิบัติ เวลาว่างจากเรียนหนังสือ ปิดโรงเรียนนั้นละ เป็นเวลาค้นหนังสือ เวลาเรียนหนังสือก็เรียนไปตามหลักวิชานั้นเสีย ครั้นเวลาหยุดเรียนหนังสือ ก็ค้นพระไตรปิฎก โน้ต ๆ เอาไว้ เพื่อให้เป็นประโยชน์ในเวลาจะออกปฏิบัติ เพราะตั้งใจจะออกปฏิบัติเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น...”

สมัยที่เรียนปริยัติอยู่นั้น แม้จะมีอุปสรรคบางประการ ที่ทำให้มีข้อเสียเปรียบเพื่อนที่เรียนหนังสือด้วยกันอยู่บ้าง แต่ด้วยความอุตสาหะวิริยะของท่าน ปัญหาดังกล่าวก็ไม่มีผลแต่อย่างใด ดังนี้

“...หัวสมองเรานี่เกี่ยวกับความจำ มันอยู่ในย่านกลางนะ ดีก็ไม่ใช่ ต่ำกว่านั้นก็ไม่ใช่ อยู่ในย่านกลางนี่แหละ เราจะเห็นได้จากพวกหมู่เพื่อนที่เขาเรียนหนังสือด้วยกัน ท่องสองหน สามหนเท่านั้น เขาจำได้แล้วนะ


เรานี่เอาจนแทบเป็นแทบตาย ก็ไม่ได้ผิดกันมากนะ ท่องสูตรเดียวกันนี่ เขาไปท่องมาชั่วโมงสองชั่วโมง เขาจำได้ แล้วสูตรหนึ่ง เราฟาดมันจนไม่ทราบกี่ชั่วโมง มันก็ไม่ได้นะ ผู้ที่หนากว่าเราก็ยังมีอีก นี่มันเทียบได้ เราจึงอยู่ในย่านนี้ ไม่ใช่ย่านนั้น คือย่านสูงกว่านั้น เราก็ไม่ได้...”

เพราะเหตุนี้ทำให้ท่านต้องขยันหมั่นเพียรอย่างหนัก แต่ก็ไม่ได้รู้สึกท้อถอยน้อยใจ กลับตั้งอกตั้งใจเรียนยิ่งขึ้นไปอีก ในช่วงที่เรียนหนังสืออยู่นั้น ท่านได้เขียนจดหมายมาขอเงินโยมแม่เพื่อซื้อหนังสือเรียน โดยโยมแม่จะมอบให้ครูชาลีเป็นคนส่งเงินถวายท่านตลอดมา การใช้จ่ายของท่านเป็นไปด้วยความประหยัด เพราะรู้สึกเห็นอกเห็นใจพ่อแม่ ท่านเล่าว่า

เงินที่ขอพ่อแม่มานี้ เราเห็นเป็นคุณค่าอย่างยิ่ง นำไปซื้อหนังสือทุกบาททุกสตางค์ ใช้เฉพาะเรื่องส่วนตัว ไม่ขอท่านทีละมาก ๆ เราก็ประหยัดของเราเหมือนกัน คือเห็นอกพ่ออกแม่ ขอเท่าไรให้ไปทันที ๆ เรื่องเงินนี้เราจึงไม่จ่ายทางอื่นเลย


นี่พูดถึงเรื่องเรียนหนังสือ ขอเงินจากทางบ้านไปเรียน เพราะเราเรียนหลายสำนัก ออกจากสำนักนี้ไปสำนักนั้น ออกจากสำนักนั้นไปสำนักนั้น มันถึงได้รู้ได้เห็นทางด้านปริยัติทั่วถึง วัดใหญ่วัดน้อยวัดราษฎร์วัดหลวงไปหมดเลย ทีนี้เวลามันผ่านมาหมดแล้วก็พูดได้ตามที่รู้ที่เห็น

พอหยุดจากการศึกษาเล่าเรียนก็เลิกขอเงินเลย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ไม่เคยขอเงินแม่แม้สตางค์แดงเดียว”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-07-2012 เมื่อ 16:51
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #78  
เก่า 24-07-2012, 15:16
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

เรียน ๗ ปี จิตสงบอัศจรรย์ ๓ ครั้ง

ตลอดระยะเวลาแห่งการเรียนปริยัติของท่าน แม้จะต้องใช้เวลาในการเรียนอย่างหนักเพียงใด ท่านก็พยายามแอบปฏิบัติภาวนาอยู่เป็นประจำไม่ลดละ ซึ่งในช่วงแรก ๆ จิตใจก็ไม่สงบเท่าใดนัก แต่เมื่อทำอยู่หลายครั้งหลายหน จิตก็เริ่มสงบตัวลงไปโดยลำดับ ๆ จนเกิดความอัศจรรย์ ดังนี้

“...ตั้งใจพุทโธ ๆ ไปเรื่อย ๆ ตอนแรกมันไม่ได้เรื่องเพราะคนไม่เคย วันไหนไม่ได้เรื่องก็ช่างมัน เราได้ภาวนาได้บุญก็เอา หลายครั้งหลายหน สุ่มไปสุ่มมา เหมือนสุ่มหาปลานะ สุ่มหลายครั้งหลายหนก็ไปเจอเอาจนได้...


นี่แหละ ที่ได้เห็นความอัศจรรย์ของจิต ทำไปสะเปะสะปะไป นั่งภาวนาพุทโธ พุทโธ... สำรวมจิตตั้งสติไว้กับพุทโธ พุทโธ... มันไม่เคยเป็น ไม่เคยรู้เคยเห็น ไม่เคยคาดเคยฝันว่ามันจะเป็นอย่างนั้น พอพุทโธไป ๆ ปรากฏว่ามันเหมือนเราตากแหไว้นะ แล้วตีนแหก็หดเข้ามา หดเข้ามาพร้อม ๆ กัน

พอนึกพุทโธกับสติถี่ยิบเข้าไปเหมือนดึงจอมแห กระแสของจิตที่มันซ่านไปในที่ต่าง ๆ มันจะหดตัวเข้ามา เหมือนตีนแหหดตัวเข้ามา ลักษณะมันเป็นอย่างนั้น เราก็ยิ่งเกิดความสนใจก็เลยพุทโธถี่ยิบเข้ามา หดเข้ามา หดเข้ามา ถึงที่... ‘กึ๊ก’ เลย...ขาดสะบั้นไปหมดโลกนี้...

จิตนี้เป็นเหมือนเกาะอยู่ในท่ามกลางมหาสมุทร จิตที่รู้ ๆ เด่น ๆ อัศจรรย์นี้ นอกนั้นก็เป็นโลกสงสารเป็นมหาสมุทรไปหมด แต่เกาะนี้เป็นเกาะที่เด่นดวงอัศจรรย์สง่างาม อัศจรรย์ตื่นเต้น เราไม่เคยเห็น เลยตื่นเต้น เจ้าของเลยกระตุกตัวเอง ทีนี้จิตมันก็ถอนออกมา โอ๊ย...เสียดายจะเป็นจะตาย

วันหลังขยับใหญ่เลย ก็ไม่ได้เรื่อง แม้ขยับเท่าไหร่ก็ไม่ได้เรื่อง นั่นแหละ เลย.. เฮ้อ เอาละ.. ทำไปตามประสีประสาก็แล้วกัน ที่นี้มันก็ปล่อยอารมณ์ความยึดอดีตน่ะสิ พอทำไป ๆ ก็เลยเป็นอย่างนั้นอีก เลยขยับบ้าเข้าอีก ๆ เลยไม่ได้เรื่อง...

จิตที่ว่าอัศจรรย์อย่างนี้นะ วันนั้นทั้งวัน จิตไม่พรากไม่ห่างจากอัศจรรย์ที่ปรากฏในจิตนั้น มันกระหยิ่มอยู่อย่างนั้น เรียนหนังสือมันก็อยู่ด้วยกัน จิตไม่ส่งไปไหนเลย นี่แหละ เป็นหลักใหญ่ที่เป็นเครื่องยึดของใจเอามากอันหนึ่ง...”

ด้วยความตั้งใจเรียนที่หนักมากตามอุปนิสัยจริงจังของท่าน ประกอบกับการปฏิบัติจิตตภาวนา ต้องแอบเพื่อนพระนักศึกษาด้วยกัน ทำให้การปฏิบัติไม่ค่อยเต็มที่เท่าใดนัก ท่านเล่าถึงผลการภาวนาในช่วงที่เรียนหนังสืออยู่ตลอด ๗ ปีเต็มว่า

เป็นเพียงสงบเล็ก ๆ น้อย ๆ ธรรมดา ๆ จิตสงบของมันอยู่ธรรมดา ... เรียนหนังสืออยู่ ๗ ปี จะมีก็เพียง ๓ หนเท่านั้นเป็นอย่างมากที่จิตลงถึงขนาดที่อัศจรรย์เต็มที่ คือลง ‘กึ๊ก’ เต็มที่แล้วอารมณ์อะไรขาดหมดในเวลานั้น เหลือแต่รู้อันเดียว กายก็หายเงียบเลย


ท่านว่าผลการภาวนาเช่นนี้มันน่าอัศจรรย์มาก สิ่งนี้เองเป็นเครื่องฝังจิตฝังใจของท่าน ให้มีความสืบต่อที่จะออกปฏิบัติให้จงได้ และกล้าที่จะพูดเปิดเผยให้หมู่เพื่อนได้ฟังถึงความตั้งใจที่จะเรียนจบแค่เปรียญ ๓ ประโยคเท่านั้น

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-07-2012 เมื่อ 18:25
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #79  
เก่า 25-07-2012, 09:37
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

นิมิต “เหาะรอบพระนครทองคำ”

เพื่อมุ่งหน้าออกปฏิบัติกรรมฐานตามคำสัตย์ที่ตั้งไว้ ท่านจึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ มาวัดบรมนิวาส เพื่อหาโอกาสเข้ากราบลาพระเถระผู้ใหญ่เจ้าคุณพระราชกวี (พิมพ์ ธมฺมธโร) อาจารย์ของท่าน แม้พระเถระผู้ใหญ่จะมีเมตตา หวังอนุเคราะห์ให้ท่านศึกษาปริยัติต่ออีก เพราะเห็นว่าในสมัยนั้นพระภิกษุที่มีความรู้ระดับมหาเปรียญมีน้อยมาก แต่ท่านเคยพิจารณาในเรื่องนี้แล้วว่า

ความรู้ระดับมหา ๓ ประโยคนี้ ก็เพียงพอแล้วกับการจะออกปฏิบัติกรรมฐาน วิชาความรู้ขนาดเป็นมหาแล้วย่อมไม่จนตรอกจนมุมง่าย ๆ


และอีกประการหนึ่ง ท่านยังคงระลึกถึงความสัตย์ที่เคยตั้งต่อตนแองไว้ว่า
“ฝ่ายบาลีขอให้จบเพียงเปรียญ ๓ ประโยคเท่านั้น ส่วนนักธรรมแม้จะไม่จบชั้นก็ไม่ถือเป็นปัญหา ... แล้วจะออกปฏิบัติโดยถ่ายเดียว จะไม่ยอมศึกษาและสอบประโยคต่อไปเป็นอันขาด”


ระหว่างที่รอหาโอกาสเข้ากราบลาพระเถระผู้ใหญ่ในวันต่อไป ค่ำคืนดึกสงัดที่วัดบรมนิวาส ในคืนนั้นท่านได้ตั้งใจไหว้พระสวดมนต์ และตั้งสัจอธิษฐานต่อหน้าพระรัตนตรัยอย่างแม่นมั่นว่า

“๑) ถ้าหากว่า ข้าพเจ้าออกไปปฏิบัติธุดงคกรรมฐานแล้ว จะได้สำเร็จตามความมุ่งหมายโดยสมบูรณ์ ขอให้จิตนี้แสดงนิมิตอย่างน่าอัศจรรย์ซึ่งไม่เคยรู้เคยเห็น ให้สมกับภูมิธรรมที่ข้าพเจ้ามุ่งหมายเถิด


...๒) ถ้าหากข้าพเจ้าออกไปปฏิบัตธุดงคกรรมฐานแล้ว ไม่สำเร็จตามความมุ่งหมายก็ขอให้จิตนี้แสดงนิมิต เป็นข้อเทียบเคียง ว่าออกไปแล้วก็เถลไถลไม่ได้เรื่องได้ราวอะไรให้ทราบเถิด

...๓) ถ้าหากข้าพเจ้าจะไม่ได้ประสบผลทั้ง ๒ อย่าง คือไม่ได้ออกปฏิบัติธุดงคกรรมฐานด้วย หรือออกไปปฏิบัติธุดงคกรรมฐานแล้วไม่ได้เรื่องได้ราวอะไรด้วย ขอให้จิตนี้แสดงนิมิตให้ทราบด้วยเถิด

ด้วยอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย ขอให้นิมิตแสดงใน ๓ วาระนี้ จะพึงแสดงให้รู้โดยทางนิมิตภาวนาหรือจะพึงแสดงให้รู้โดยทางสุบินนิมิตก็ได้”

ภายหลังไหว้พระสวดมนต์และตั้งสัจอธิษฐานต่อหน้าพระรัตนตรัยแล้ว ท่านจึงเข้าที่เจริญสมาธิภาวนาและเข้าพักอิริยาบถจำวัด เวลาประมาณ ๖ ทุ่มได้เกิดสุบินนิมิตอย่างอัศจรรย์ว่า

“...เราเหาะปลิวขึ้นไปในอากาศอย่างสะดวกสบาย เหาะเหินวนเวียนรอบพระนครหลวง อันเป็นพระนครอัศจรรย์ดั่งเมืองสวรรค์ชั้นฟ้า มองไกลโพ้นสุดสายตา กว้างขวางสุดประมาณราวกะว่า เมืองไทยเราทั้งเมืองเป็นเมืองหลวงโดยสิ้นเชิง ตึกรามบ้านช่องเป็นประดุจหอปราสาทราชมณเฑียร


มิใช่เป็นบ้านเป็นเรือนของผู้คนธรรมดา มีความสง่าผ่าเผย ประดับด้วยแสงสีทองอร่ามแวววาวพร่างพราวระยิบระยับ เป็นประหนึ่งว่าลูกนัยน์ตาของชนผู้ที่มองเห็น จะถึงซึ่งอาการถลนแตกออกเป็นเสี่ยง ๆ เพราะแสงสว่างแพรวพราวเจิดจรัสของสีแสงแห่งเมืองนั้น

ยิ่งเพ่งมองเข้าไปเท่าใด ยิ่งเหมือนกับว่าเป็นเมืองแห่งทองคำทั้งแท่ง ตึกรามบ้านช่องเป็นประดุจทองคำธรรมชาติ ส่องทอลำแสงกระจายกราดกล้า เราได้เหาะวนถึง ๓ รอบแล้วก็ลง”

นิมิตนั้นยังติดตาตรึงใจท่านเสมอมา ไม่มีวันลืมเลือน และทำให้แน่ใจแล้ว ว่าในคราวนี้อย่างไรต้องได้ออกปฏิบัติกรรมฐานอย่างแน่นอน และแน่ใจว่าจะต้องประสบผลสำเร็จ

พอตื่นเช้ามาเข้าไปกราบลาเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) เผอิญในระยะนั้น เจ้าคุณพระราชกวี (พิมพ์ ธมฺมธโร) พระเถระอาจารย์ของท่านรับนิมนต์ไปต่างจังหวัด ท่านจึงถือโอกาสนั้นเข้ากราบนมัสการลาสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสในขณะนั้น

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ยินดีอนุญาตให้ไปได้ ท่านเล่าถึงเหตุการณ์ในตอนนั้นว่า
“บุญกรรมก็ช่วยด้วยนะ ผู้ใหญ่ท่านไม่อยากให้ออก ท่านห้ามไว้เลยเทียว ... ยังไม่ให้ออก ... ให้เรียนจบได้เปรียญ ๖ ประโยคเสียก่อนจึงค่อยออก แต่เรา ‘ยังไง’ ก็ไม่อยู่ แต่จะหาออกด้วยมารยาทอันดีงามเท่านั้นเอง สบโอกาสเมื่อไรแล้วเราจะออก พอดีท่านไปต่างจังหวัดละซิ นั่นละโอกาสมันก็เหมาะ พอท่านไปต่างจังหวัด ‘พับ’ เราก็ ‘ปั๊บ’ ออกเลย”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-07-2012 เมื่อ 10:17
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #80  
เก่า 26-07-2012, 10:40
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ภาษิตจำสอนใจสมัยเรียน


สมัยเรียนมีภาษิตคำกลอนสอนใจที่แสดงไว้ในที่ต่าง ๆ องค์หลวงตาเห็นว่าภาษิตคำกลอนอันไหนดี ก็พยายามท่องจำจนขึ้นใจไม่เคยลืม ดังเช่นภาษิตคำกลอน ๓ บทนี้

๑. ใบลานมักบังพระธรรม
ทองคำมักบังพระพุทธ
สงฆ์สมมุติมักบังอริยสงฆ์ฯ

๒. อันโคควายเลี้ยงไว้ใช้งานไถ
เมื่อตายไปเนื้อและหนังยังให้ผล
วิสัยพาล พาลเพียร เบียดเบียนคน
ประพฤติตนเลวร้ายยิ่งกว่าควายฯ

๓. วัดจะดีไม่ใช่ดีเพราะโบสถ์สวย
หรือร่ำรวยด้วยทรัพย์อสงไขย
แต่วัดดีเพราะพระเณรเก่งเคร่งวินัย
ยึดหลักชัยอรหันต์เป็นสันดานฯ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 23:56



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว