กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > กระทู้ธรรม > ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 29-10-2010, 12:04
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,886 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default การไม่มีจิตกังวลได้ชื่อว่าเป็นสุข

การไม่มีจิตกังวลได้ชื่อว่าเป็นสุข


สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญ ดังนี้

๑. “การไม่มีจิตกังวลชื่อว่าเป็นสุข เพราะได้ชื่อว่าปลอดจากกิเลส แม้แค่ชั่วขณะจิตหนึ่งก็สมควรจักพอใจ ตามปกติแล้วจิตมักจักมีอารมณ์ปรุงแต่งไปทางด้านอกุศลกรรม แค่เพียงระงับได้ชั่วคราวก็นับว่ามีกำไร อย่าลืมแม้เพียงกำหนดลมหายใจเข้าออกเฉย ๆ โดยไม่ภาวนาควบ ก็ยังอยู่ในขอบเขตพระกรรมฐาน อารมณ์นี้เป็นกุศลเพราะยังจิตให้เกิดความสงบได้”

๒. “จงอย่าสนใจจริยาของผู้อื่น จะเป็นด้านกุศลหรืออกุศลก็ตาม ให้เห็นเป็นปกติธรรมของเขา ให้อยู่ในอารมณ์รู้สักแต่ว่ารู้ เห็นสักแต่ว่าเห็น แล้วจิตจักเป็นสุข

๓. “บุคคลผู้ยังหนาไปด้วยสักกายทิฏฐิ มีเอกาธิปไตย ย่อมถือเอาทิฏฐิหรือความเห็นของตนเป็นใหญ่ เป็นของดี ถูกต้องเสมอ มีอารมณ์ “อีโก้”หรืออุปาทานสูง ซึ่งให้ผลได้ทั้งทางบวกและลบ แต่ส่วนใหญ่ใช้ไปในทางลบ หลงตนเองคือ เห็นผิดเป็นชอบทั้งสิ้น

๔. “บุคคลเหล่านี้แหละ ที่ชอบตั้งตนเป็นคณาจารย์ใหญ่ แสดงความอวดรู้ด้วยปัญญาแห่งตน จึงมักสอนผู้อื่นตามความเข้าใจของตน นั่นเป็นกรรมของเขา จงอย่าไปขวาง

๕. “บุคคลเหล่านี้รู้ไม่จริง แต่สำคัญตนว่ารู้จริง เพราะธรรมของตถาคตมิใช่ของตื้นเขิน เป็นธรรมที่ละเอียดอ่อน สุขุม ลึกซึ้ง ยากที่ปุถุชนคนธรรมดา ๆ จักพึงเข้าใจได้ ดังนั้นหากไม่เข้าใจจริงก็จงอย่าพูดตามอำเภอใจ ทางที่ถูกพวกเจ้าอย่าไปยุ่งกับกรรมของใคร ให้ดูอารมณ์ของตน ให้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมเป็นสำคัญเท่านั้นเป็นพอ

๖. “จงอย่าติเขาว่าเลว เพราะเขากำลังถูกอกุศลกรรมเข้าครอบงำ ติเขาเมื่อไหร่ ใจของเราก็เลวเมื่อนั้น มองอารมณ์ของตนเอาไว้อย่าให้ชั่วก็แล้วกัน โดยยอมรับกฎธรรมดา หรือกฎของกรรมเข้าไว้ หรือจงอย่าไปแก้โง่ที่คนอื่น จักต้องแก้โง่ที่ตนเองให้หลุดพ้นไปเสียก่อน”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 04-11-2010 เมื่อ 10:47
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 44 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 01-11-2010, 09:40
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,886 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๗. “ทุกคนในโลกถ้ายังไม่ถึงพระอรหัตผล ย่อมยังมีความชั่วกันทุกคน ชั่วมากชั่วน้อย ก็อยู่ที่การตัดสังโยชน์ได้แค่ไหนเท่านั้นเอง จุดนี้สำคัญ จงหมั่นเตือนจิตตนไว้เสมอ อย่าตำหนิผู้อื่นว่าชั่ว ให้มุ่งตำหนิตนเองที่ชั่วเป็นสำคัญ เพราะเราจักละความชั่วได้ จะต้องเห็นความชั่วที่จิตเราก่อน จึงจักละได้ เหตุจากหลงตัวหลงตนว่าเป็นคนดีทั้งสิ้น”

๘. “เมื่อกรรมที่เป็นอกุศลเข้าครอบงำจิต ทุกคนก็คิดว่าสิ่งที่ชั่วนั้นเป็นของดี ถ้าไม่เข้าใจธรรมจุดนี้ ก็หลงคิดว่าตนเป็นคนดี เพราะไม่เห็นความชั่วของตน ไม่ใช้อัตตนา โจทยัตตานังเป็นหลักปฏิบัติ ไม่ใช้สังโยชน์ ๑๐ เป็นเครื่องวัดอารมณ์ชั่วของตน ไม่ใช้บารมี ๑๐ เป็นตัวช่วยเสริมกำลังใจให้เต็มอยู่เสมอ ไม่มีพรหมวิหาร ๔ เป็นเครื่องอยู่ของจิตช่วยเสริมให้ศีล สมาธิ ปัญญา มีคุณภาพสูงขึ้น ๆ ตามลำดับ ก็ปล่อยให้ความชั่วบงการชีวิตจิตใจไปตลอดสิ้นกาลนาน”

๙. “สรุปว่าให้ดูอารมณ์จิตของตนไว้เป็นสำคัญ ถ้าหากจักพ้นทุกข์จริง ๆ ให้ดูอารมณ์เลวของตนไว้ อย่ามองคนอื่น อารมณ์คนอื่นปล่อยเขาไป ทุกอย่างให้แก้ที่จิตของเรา

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 02-11-2010 เมื่อ 11:36
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 02-11-2010, 11:58
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,886 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๑๐ “สรุปในทางปฏิบัติ”

๑๐.๑ จงอย่าสนใจในจริยาผู้อื่น (อย่าเสือก ชอบไปยุ่งกับเรื่องของชาวบ้าน)

๑๐.๒ จงอย่าตั้งตนเป็นคณาจารย์ใหญ่ (อย่า “ซ่า” หากตนยังเลวอยู่ ยังรู้ไม่จริง สังโยชน์ยังไม่ขาด ยังอยู่ครบ แล้วเที่ยวไปสอนผู้อื่น)

๑๐.๓ จงอย่าตำหนิกรรมของผู้อื่น (อย่าหลง เพราะคนติคนอื่นยังเป็นคนเลว ขาดพรหมวิหาร ๔ ทุกข้อ)

๑๐.๔ จงอย่าจับผิดผู้อื่น (อย่าเป็นตำรวจ เพราะอัตตนา โจทยัตตานัง แปลว่า คอยจับผิดตนเองและแก้ไขตนเอง)

๑๐.๕ จงอย่าแบกทุกข์ของผู้อื่น (อย่าเป็นผู้แทน เพราะโง่หลงตนเอง ไม่เห็นทุกข์ของตนว่าหนักมากอยู่แล้ว ยังเที่ยวไปแบกทุกข์ของชาวบ้านเขาอีก)

ภาษาไทยแท้เป็นคำโดด ๆ แต่มีความหมายลึกซึ้ง จำง่าย แต่ในปัจจุบันกำลังจะหมดไป เพราะอุปาทานของคนในปัจจุบัน คิดว่าเป็นคำหยาบ ไม่ควรใช้ แต่ไปยกย่องภาษาต่างชาติว่าเป็นของดีแทน ผมเอาคำไทย ๕ คำ คือ เสือก ซ่า หลง ตำรวจ ผู้แทน มาใช้ ซึ่งล้วนเป็นอุปกิเลสทั้งสิ้น เพื่อให้ผู้อ่านจำได้ง่ายขึ้น

เขียนมาถึงจุดนี้ ทำให้นึกถึงหลวงพ่อคูณท่าน เพราะท่านเป็นผู้อนุรักษ์ภาษาไทยไม่ให้สูญไปจากคนไทย กูก็ขอจบไว้แต่เพียงเท่านี้ มึงจะชอบใจหรือไม่ชอบก็เรื่องของมึง หากมึงอ่านแล้วมึงมีอารมณ์พอใจ มึงก็สอบตก หากมึงอ่านแล้วมึงมีอารมณ์ไม่พอใจ มึงก็สอบตก เพราะพอใจก็ดี ไม่พอใจ ก็เป็นอารมณ์ ๒ ปิดกั้นทางสู่พระนิพพานไว้สนิท หมายความว่า ตัดสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ไม่ได้ จึงไม่มีทางจะเป็นพระอนาคามีผลได้นั่นเอง ทุกสิ่งในโลกนี้ล้วนเป็นสมมุติธรรมทั้งสิ้น ซึ่งล้วนไม่เที่ยง ใครยึด ถือเข้าเป็นทุกข์ ตัวธรรมแท้ ๆ ในพระพุทธศาสนาไม่มีชื่อ จะเรียกเป็นภาษาจิตถึงจิต เป็นภาษาธรรมถึงธรรม ร่างกายของตถาคตไม่ใช่พระพุทธเจ้า ตถาคตคือ พระธรรม ผู้ใดยังติดสมมุติอยู่ ก็ไมมีทางวิมุติหรือหลุดพ้นได้ด้วยเหตุดังกล่าวนี้

ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๗
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 02-11-2010 เมื่อ 18:19
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 01:40



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว