กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

กระทู้ถูกปิด
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 17-02-2009, 01:56
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,179 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default สมาธิ : ปรียานันท์ธรรมสถาน

หลักการปฏิบัติในพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าท่านกล่าวไว้สามขั้น คือ
ศีล เป็นการควบคุมกายวาจาให้เรียบร้อย
สมาธิ เป็นการควบคุมกายวาจาให้เรียบร้อยและสร้างความมั่นคงทางใจ
ส่วนปัญญา เป็นผลสืบเนื่องมาจากศีลและสมาธิ ที่ควบคุมกายวาจาและใจให้สงบ

เมื่อสงบลงก็เหมือนกับน้ำที่นิ่ง ก็จะสามารถสะท้อนภาพสิ่งต่าง ๆ ให้เห็นบนผิวน้ำนั้นได้ให้เกิดประโยชน์ได้ ตัวสมาธิภาวนาจะเป็นคำตอบ ที่สำคัญที่สุดในขั้นตอนของการปฏิบัติทุกระดับ แม้กระทั่งระดับสุดท้าย
เพราะกำลังของสมาธิจะช่วยให้ รักษาศีลได้สมบูรณ์และคงตัวมากขึ้น ขณะเดียวกันความนิ่งของจิตที่มีสมาธิ ก็จะทำให้เกิดปัญญาขึ้นได้ง่าย สมาธิจะทรงตัวหรือไม่ทรงตัวสำคัญอยู่ที่ ลมหายใจเข้าออกของเรา การสงบระงับของจิตแต่ละระดับชั้นนั้นเป็นของละเอียด เราต้องอาศัยของหยาบ คือลมหายใจเข้าออก เป็นเครื่องโยงไปหาความละเอียด คือ ความสงบของจิตให้ได้


การปฏิบัติสมาธิไม่ว่าจะรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งก็ตาม กรรมฐานทุกกองที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกก็ตาม ถ้าไม่มีลมหายใจเข้าออกเป็นเครื่องกำกับ ก็ไม่อาจทรงตัวมั่นคงจนใช้ประโยชน์ได้ เมื่อเป็นดังนั้น การปฏิบัติสมาธิภาวนาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 11-01-2011 เมื่อ 11:57
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 17-02-2009, 02:01
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,179 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

การปฏิบัติสมาธิภาวนานั้น จุดที่สำคัญที่สุด ก็คือว่าเราไม่สามารถรักษาอารมณ์ปฏิบัติให้ต่อเนื่องได้ เหตุที่เราไม่สามารถรักษาอารมณ์ปฏิบัติให้ต่อเนื่องได้ เกิดจากสาเหตุสองสามอย่างด้วยกัน
อย่างแรก สติ สมาธิและปัญญายังไม่เพียงพอ จึงปล่อยให้กำลังขาดช่วงลง
อย่างที่สองก็ คือ ยังไม่เห็นทุกข์เห็นโทษ ของการที่จิตไปวุ่นวายกับ รัก โลภ โกรธ หลง อย่างแท้จริง เมื่อไม่เห็นโทษอย่างแท้จริง เราก็จะไม่เข็ดและปล่อยให้ใจหลุดจากสมาธิไปอยู่เรื่อย ๆ

นักปฏิบัติที่จิตเคยเข้าถึงความสงบระดับใดระดับหนึ่งแล้ว เมื่อถึงเวลาจิตมันหลุดจากความสงบนั้นไปฟุ้งซ่านกับความรัก โลภ โกรธ หลง มันจะทำให้เราเดือดร้อนมาก เพราะรักโลภโกรธหลงนั้นเป็นเหมือนกับไฟ

พระพุทธเจ้าเปรียบเอาไว้ว่า ราคัคคิ โทสัคคิ โมหัคคิ ไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ เมื่อยังไม่เห็นโทษตรงจุดนี้ว่า จิตของเราเดือดร้อนเพราะไฟเหล่านี้เผาอยู่อย่างไร ก็ไม่พยายามประคองจิตให้หลุดพ้นจากตรงจุดนั้น หรือว่าบางท่านเห็นโทษแล้ว แต่ไม่รู้จะรักษาสมาธิภาวนาอย่างไรให้ทรงตัว

ทุกท่านส่วนใหญ่มีพื้นฐานดีแล้ว ดังนั้นการปฏิบัติส่วนที่เหลือก็คือว่า ทำอย่างไรเมื่อเราปฏิบัติแล้วในขณะที่นั่งสมาธิอยู่จิตมีความสงบระงับอยู่ในระดับใด เมื่อเลิกการปฏิบัติ ให้กำหนดสติจดจ่ออยู่กับกำลังใจที่สงบระงับนั้น อย่าให้เคลื่อนไปได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 11-01-2011 เมื่อ 11:59
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 17-02-2009, 10:06
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,179 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ไม่ว่าจะยืน เดิน นอน นั่ง ดื่ม กิน คิด พูด ทำ อิริยาบถใด ๆ ทั้งหลายเหล่านี้ สติของเราต้องอยู่กับสมาธิตลอด เป็นการประคองรักษาอารมณ์เอาไว้ ให้อยู่กับเราให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้

แรก ๆ ก็อาจจะอยู่กับเราได้ชั่วครั้งชั่วคราว แล้วก็หลุดหายไป แต่ว่าพอนานเข้า ๆ มันก็จะอยู่ได้มากขึ้นระยะเวลายาวนานขึ้น จากแต่เดิม อาจจะ ๑๐ นาที ๒๐ นาที พอเคลื่อนไหวไปกระทำเรื่องอื่นเข้าสมาธิก็คลายตัว ก็หัดประคับประคองโดยการกำหนดสติจดจ่ออยู่ ไม่ให้สมาธิที่เราได้ในขณะนั่งนั้นเคลื่อนตัวไป พอซ้อมทำบ่อยจนเกิดความชำนาญขึ้น ก็ได้ระยะเวลาที่ยาวนานมากขึ้น ได้เป็นครึ่งชั่วโมง เป็นชั่วโมง สองชั่วโมง สามชั่วโมง เป็นครึ่งวัน เป็นวัน สามวัน ห้าวัน เจ็ดวัน สิบวัน สิบห้าวัน เป็นเดือน ท้ายสุดก็หลาย ๆ เดือน หรือเป็นปี

ถ้าเราสามารถประคองจิตของเราไว้ในลักษณะนี้ได้ สภาพจิตจะมีแต่ความผ่องใสโดยส่วนเดียว เพราะว่าตัวสมาธิไม่ได้หลุดเคลื่อนไปไหน กิเลสต่าง ๆ ไม่สามารถจะกินใจเราได้ จิตของเรายิ่งมีความผ่องใสมากเท่าไร ตัวปัญญาก็จะเกิดมากเท่านั้น ในเมื่อตัวปัญญาเกิดก็จะไปคุมศีลและสมาธิให้ทรงตัว ศีลและสมาธิที่ทรงตัวปัญญาก็จะยิ่งเกิดมากขึ้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 25-12-2009 เมื่อ 09:19
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 17-02-2009, 10:18
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,179 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ดังนั้น งานที่อยากจะมอบหมายให้พวกเราก็คือว่า เมื่อปฏิบัติภาวนาแล้วให้พยายามรักษากาย วาจา ใจ ของเรา ให้อยู่ในความสงบระงับเหมือนกับอารมณ์ที่เราปฏิบัติขณะที่นั่งอยู่ ก็แปลว่า นั่งอยู่ทรงอารมณ์ได้เท่าไร เมื่อยืนเดินนอนหรือทำสิ่งอื่น ๆ ก็ให้อารมณ์ทรงตัวให้ได้ เหมือนกับตอนที่นั่งอยู่

แรก ๆ ก็อาจพังลงในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่พอซ้อมมาก ๆ เข้าก็จะมีความคล่องตัวอยู่ได้นานขึ้นเรื่อย ๆ ขอบอกว่า คำถามทุกปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติของเรา คำตอบเกือบทั้งหมดอยู่ตรงการปฏิบัติสมาธิภาวนา ยกเว้นอยู่ขั้นสุดท้ายของการใช้ปัญญาตัดกิเลสเท่านั้นที่สมาธิเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ใช้งานไม่ใช่คำตอบทั้งหมด ซึ่งถ้าเราทำถึงตรงจุดนั้นแล้ว ปัญญามันก็จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว ในเมื่อสมาธิเกือบจะเป็นคำตอบทั้งหมด ทำอย่างไรให้เรารักษามันให้นานที่สุด ทำอย่างไรให้เราเห็นความสำคัญของมัน ทำอย่างไรให้เราเห็นทุกข์เห็นโทษของจิตที่ขาดสมาธิ เรื่องทั้งหลายเหล่านี้พวกเราต้องหาคำตอบเอง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 11-01-2011 เมื่อ 12:00
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 17-02-2009, 17:29
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,179 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเองก็กล่าวว่า อักขาตาโร ตถาคตา แม้แต่ตถาคตก็เป็นได้แต่ผู้บอกเท่านั้น การปฏิบัติตามหรือไม่ปฏิบัติอยู่ที่ตัวของเราเอง เมื่อเราเห็นโทษของการหลุดจากสมาธิ เห็นประโยชน์ของการทรงสมาธิ จิตก็จะขวนขวายที่จะทรงสมาธิให้ได้ ไม่ให้หลุดไป

ตอนช่วงนี้จิตมันจะดำเนินไปตามหน้าที่ของมัน และจะเป็นตอนที่เราจะมีความสนุกมากที่สุด คือคอยลุ้นว่าครั้งนี้กิเลสหรือว่าเราจะชนะ เขาจะได้คะแนนหรือเราจะได้คะแนน ถ้าสามารถทำอย่างนี้ได้ ไม่ว่าเรื่องการดูหนังฟังเพลงใด ๆ ที่เป็นของสนุกของเรา จะกลายเป็นเรื่องธรรมดาหารสชาติไม่ได้ มันจะมาสนุกกับการดูภายในตัวเอง ดูที่ตัวแก้ที่ตัว โดยไม่ยุ่งกับเรื่องของคนอื่นโดยอัตโนมัติ ทำให้เราเป็นผู้มีกายวาจาใจเรียบร้อยโดยอัตโนมัติ

ระมัดระวังประคับประคองอยู่ เหมือนกับเลี้ยงลูกแก้วบาง ๆ บนปลายเข็ม พลัดหลุดมือเมื่อไรแก้วก็แตกสลายไป เราก็ต้องพยายามสร้างและประคับประคองแก้วนั้นขึ้นมาใหม่ ดวงแก้วนั้นมีคุณค่าต่อสภาพจิตใจของเรา อย่างมหาศาล เป็นต้นทางของการดำเนินไปสู่ความหลุดพ้น ดังนั้นหน้าที่ของเราก็คือ ต้องไขว่คว้าหาเอาดวงแก้วนี้มาอยู่ในมือให้ได้และประคับประคองรักษาไว้อย่าให้สูญหายไป
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 11-01-2011 เมื่อ 12:09
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #6  
เก่า 17-02-2009, 21:25
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,179 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ทุกคนทำสมาธิเป็น ทุกคนมีความสามารถเข้าถึงสมาธิระดับใดระดับหนึ่ง แต่ว่าไม่สามารถจะประคับประคองรักษาเอาไว้ได้โดยตลอด ดังนั้นจึงได้มอบงานใหญ่ให้ว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หน้าที่ของเราก็คือ ให้รักษาอารมณ์สมาธิให้ได้ในทุกอิริยาบถ

ถ้าหากว่ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ต้องปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ให้คลายสมาธิออกมาด้วยความระมัดระวัง เมื่อรับรู้รับทราบติดต่อพูดคุยแล้ว ก็ให้รีบกลับไปสู่องค์สมาธิโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ เพื่อจะได้ไม่เกิดอันตราย ซึ่งรักโลภโกรธหลงมันจะโจมตีขณะที่เราพลั้งเผลอ ซ้อมทำบ่อย ๆ แล้วจะเห็นคุณประโยชน์ของการรักษาอารมณ์ใจ

ท่านใดที่บอกว่าปฏิบัติมานานหาความก้าวหน้าไม่ได้ ก็ให้รู้เพราะว่าเราทำเฉพาะตอนนั่ง แปลว่าใน ๒๔ ชั่วโมง เรามีเวลาทรงความดีแค่เล็กน้อยเท่านั้น ส่วนเวลาที่เหลืออีก ๒๐ ชั่วโมงเศษ ๆ เราไหลไปตามกระแสโลกโดยตลอด ถ้าต้องการความก้าวหน้าอย่างน้อย ๆ ๒๔ ชั่วโมง กำลังใจของเราต้องมีส่วนอยู่กับความดีเกินครึ่งหนึ่งถึงจะพอรักษาตัวเองได้ ก็แปลว่า ตลอดช่วงเวลาที่เราตื่นอยู่ เราต้องสามารถรักษาอารมณ์สมาธิภาวนาไว้ได้ ตอนช่วงที่หลับถ้าสติยังไม่สมบูรณ์พร้อม มันก็ยังมีพลั้งเผลอได้ตามปกติ ซึ่งนั่นต้องฝึกในขั้นสูงต่อไป
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 11-01-2011 เมื่อ 12:02
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #7  
เก่า 17-02-2009, 21:30
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,179 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

การทำสมาธิภาวนา ลมหายใจเข้าออกสำคัญที่สุดอยู่ก็จริง แต่เมื่อไปถึงระยะหนึ่ง ลมหายใจจะเบาลง หรือหายไปเลย คำภาวนาบางทีก็ไม่มีเลย ส่วนใหญ่แล้วมักจะกลัวว่ามันไม่หายใจ จะทำให้ตาย แล้วไปตะเกียกตะกายรีบหายใจใหม่ อันนั้นทำให้เราเสียประโยชน์ เหมือนกับเราเริ่มเดินขึ้นบันไดไปแล้ว แล้วเกิดความกลัวไม่มั่นใจขึ้นมาก็ถอยขึ้นมาอยู่ในขั้นแรกใหม่ หาความก้าวหน้าในการปฏิบัติไม่ได้เสียที

ต่อไปถ้าอารมณ์ใจเป็นอย่างนี้ ให้กำหนดดู กำหนดรู้ไว้เฉย ๆ มันหายใจเบาลงให้รู้ว่าหายใจเบาลง มันไม่หายใจ ให้รู้ว่าไม่หายใจ มันภาวนา ให้รู้ว่ามันภาวนา มันหยุดภาวนาให้รู้ว่ามันหยุดภาวนา ถ้าเราตามดูอยู่แต่เพียงแค่นี้ โดยไม่ไปดิ้นรน กำลังใจจะก้าวสู่สมาธิขั้นสูงไปกว่านี้เรื่อย ๆ จนกระทั่งท้ายสุดก็จะสว่างโพลงเต็มที่อยู่เบื้องหน้า

ดังนั้นถ้าเราทำสมาธิไม่ก้าวหน้า นอกจากเราจะประคับประคอง รักษาอารมณ์ใจไม่เป็นแล้ว เราเองยังเผลอไปให้กับอารมณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามา ด้วยความเป็นห่วงสภาพร่างกายนี้ โดยเฉพาะห่วงว่ามันจะตาย เมื่อเป็นดังนั้นความก้าวหน้านอกจากจะไม่มีแล้ว เรายังพาตัวเองถอยหลังไปสู่จุดเริ่มต้นอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อพวกเราปฏิบัติภาวนา ถ้าหากว่าเกิดอารมณ์ใจใด ๆ ขึ้น ให้แค่กำหนดรู้ไว้เฉยอย่าไปสนใจ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 11-01-2011 เมื่อ 12:03
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #8  
เก่า 18-02-2009, 09:18
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,179 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้าเป็นเรื่องของนิมิตแสงสีและภาพต่าง ๆ ยิ่งไม่สนใจก็ยิ่งชัดเจนมากขึ้น แต่เราก็ต้องรู้เหมือนกับไม่รู้ สักแต่ว่าเห็นเท่านั้น ถ้าไม่สามารถทำกำลังใจอย่างนี้ได้ มัวแต่ไปติดอยู่กับนิมิตอยู่ ความก้าวหน้าในการปฏิบัติก็ไม่มี เป็นอันว่าพวกเราทุกคน หลักการปฏิบัติเป็นอย่างไรรู้อยู่ สามารถทำได้แล้ว แต่วิธีการปฏิบัติในบางจุดอาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจ จึงต้องมาแนะนำกันอย่างนี้

การแนะนำในวันนี้จึงขอสรุปลงตรงที่ว่า การปฏิบัติในพระพุทธศาสนา คือ ศีล สมาธิและปัญญา เป็นการควบคุมกายวาจาใจของเราให้อยู่ในกรอบ จนกระทั่งจิตของเรานิ่งใสถึงระดับปัญญามันจะเกิด แล้วจะสามารถพิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงในสภาพร่างกายและสภาพของโลก แต่ว่าการปฏิบัติทุกระดับ คำตอบจะอยู่ในสมาธิแทบทั้งหมด สมาธิจะทรงตัวได้ต่อเมื่อมีอานาปานสติ คือ ลมหายใจเข้าออกเป็นเครื่องควบคุม ส่วนอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการรู้เห็นความเจ็บปวด หรือว่าการหายใจบ้างไม่หายใจบ้างก็ตาม ให้เรากำหนดดู กำหนดรู้ ไว้แต่ตามปกติ คิดเสียว่าเรามีหน้าที่ปฏิบัติภาวนา เมื่อมันอยากภาวนาก็ภาวนาไป เมื่อมันอยากหยุดภาวนาก็ปล่อยมันหยุดไป มันจะเป็นอย่างไร เรามีหน้าที่ดูเท่านั้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 11-01-2011 เมื่อ 12:04
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #9  
เก่า 18-02-2009, 09:22
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,179 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้าสามารถรักษากำลังใจอย่างนี้ได้ ถึงเวลาเลิกปฏิบัติไป ก็ให้ประคับประคองกำลังใจของเรา ให้อยู่ในระดับเดียวกับที่เรานั่งอยู่ ถ้าทำได้นานมากเท่าไร ความก้าวหน้าในการปฏิบัติก็จะมีมากเท่านั้น

วันนี้ก็ขอแนะนำแต่เพียงแค่นี้ ท่านใดถ้าหากว่ายังต้องการภาวนาอยู่ก็กำหนดใจของเราภาวนาต่อไป ถ้าหากว่าท่านใดคิดว่าพอแล้วก็คลายสมาธิภาวนาออกมา แล้วประคับประคองอารมณ์ใจนั้นไว้ การปฏิบัติก็เหมือนการทำงาน ถ้าเราทุ่มเทมากเกินไป วันรุ่งขึ้นสภาพจิตที่เหนื่อยล้าแล้วก็ไม่อยากปฏิบัติอีก ดังนั้นว่าความพอเหมาะพอดีต้องมี แต่ความพอดีที่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา ไม่มีมาตรฐาน ๕๐ เปอร์เซนต์ ความพอเหมาะพอดีขึ้นกับกำลังกาย กำลังใจ และกำลังสมาธิของแต่ละคนที่ฝึกมา ดังนั้นเราต้องการมากน้อยเท่าไร พอเหมาะพอดีแก่ตัวเองเท่าไร เราเองจึงเป็นผู้รู้ดีที่สุด ทำให้พอดีแล้วรักษาอารมณ์ใจไว้ให้ได้ ก็ขอจบการแนะนำสำหรับวันนี้แต่เพียงเท่านี้


พระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เทศน์ที่ปรียานันท์ธรรมสถาน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 11-01-2011 เมื่อ 12:12
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
กระทู้ถูกปิด


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 19:36



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว