กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 28-11-2019, 19:49
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,443
ได้ให้อนุโมทนา: 151,069
ได้รับอนุโมทนา 4,399,746 ครั้ง ใน 34,032 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันเสาร์ที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๒

ให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติคือความรู้สึกทั้งหมดของเราไว้ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเรา ไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเรา ไหลตามลมหายใจออกมา ถ้าเผลอสติไปคิดถึงเรื่องอื่น เมื่อรู้ตัวให้รีบดึงกลับมาอยู่กับลมหายใจเข้าออกใหม่ การจับลมหายใจเข้าออกจะจับฐานเดียว สามฐาน เจ็ดฐาน หรือรู้ตลอดกองลมก็ได้ ส่วนคำภาวนาจะใช้แบบไหนก็ได้ที่เรารัก เราชอบ เราถนัดมาแต่เดิม

วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๒ ดังที่ได้กล่าวไปก่อนการปฏิบัติธรรมของเราว่า ส่วนใหญ่แล้วคนเรามักจะยึดมั่นถือมั่น เห็นว่าการปฏิบัติของเรา หรือว่าข้อวัตรปฏิบัติของเรา สายกรรมฐานของเราดีกว่าที่อื่น ดีกว่าคนอื่น ดีกว่าสายอื่น ซึ่งเรื่องอย่างนี้จะว่าไปแล้วก็เกิดกับนักปฏิบัติทุกคน ซึ่งอาตมาเองใช้คำว่า กิเลสของนักปฏิบัติ

ถามว่าเกิดขึ้นแล้วไม่ดีใช่ไหม ? ความจริงเป็นสิ่งที่ดี เพียงแต่ว่าเรารู้จักแสวงหาประโยชน์จากสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้หรือไม่ ? เพราะว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตาม ถ้าหากว่า สติ สมาธิ ปัญญา ของเราเพียงพอ เมื่อก้าวผ่านไปได้แล้วเราก็จะไม่ย้อนกลับมาอีก เหมือนกับว่ารู้ที่รู้ทางแล้วว่าจะต้องผ่านอย่างนี้ ต้องข้ามอย่างนี้ ถ้ามีความชำนาญมาก ๆ ก็สามารถบอกกล่าวคนอื่นเขาต่อไปได้ด้วย
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-11-2019 เมื่อ 19:53
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 29 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 28-11-2019, 19:51
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,443
ได้ให้อนุโมทนา: 151,069
ได้รับอนุโมทนา 4,399,746 ครั้ง ใน 34,032 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

โดยเฉพาะความยึดมั่นถือมั่น ขอให้พวกเราทราบว่า ถ้าเราไม่มีอะไรยึด เราก็ไม่มีอะไรจะปล่อย ดังนั้น..หลายท่านที่สอนลูกศิษย์ บอกว่าให้ปล่อยวาง เอาแต่สุญญตา เอาแต่อนัตตา หลายท่านในจำนวนนั้นอาตมายืนยันได้...กำลังติด ติดอยู่กับสุญญตา ติดอยู่กับอนัตตา เพราะว่าถ้าท่านไม่ยึดเสียก่อนแล้วท่านจะเอาอะไรมาปล่อย ไม่กำมือเสียก่อนแล้วจะเอาอะไรมาแบ เพียงแต่ว่าอย่ายึดนาน อย่ากำมือไว้นาน เพราะว่าชีวิตของเราเป็นของน้อย จะสิ้นลงไปเมื่อไรก็ไม่รู้

จึงต้องปฏิบัติธรรมด้วยความระมัดระวังและละเอียดลออ คอยระวังอย่าให้ กาย วาจา ใจ ของเราเป็นทุกข์เป็นโทษกับคนอื่น เพราะว่าถ้าไปสร้างกิเลส รัก โลภ โกรธ หลง ให้เกิดขึ้นในใจของคนอื่น ก็เท่ากับเราเป็นสาเหตุแห่งความชั่วนั้น ๆ จะมากจะน้อยโทษก็จะเกิดขึ้นกับเราด้วย

ดังนั้น...คำโบราณที่บอกว่า "ผิดเป็นครู" นั้นเป็นเรื่องที่ใช้ได้ แต่อย่าผิดมาก อย่าผิดบ่อย ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวจะเลยครู กลายเป็นอาจารย์ของครู กลายเป็นศาสตราจารย์..!
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-11-2019 เมื่อ 19:54
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 30-11-2019, 01:19
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,443
ได้ให้อนุโมทนา: 151,069
ได้รับอนุโมทนา 4,399,746 ครั้ง ใน 34,032 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

การที่เราจะรู้ระมัดระวังก็ต้องรู้จักหน้าตาของนิวรณ์ ๕ อย่าง อย่างแรกคือกามฉันทะ ความยึดมั่นอยู่ในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ ตัดไม่ได้ ละไม่ได้ วางไม่ได้ แม้กระทั่งตอนปฏิบัติธรรมก็ยังคงฟุ้งซ่าน ตรึกนึกถึงอยู่ในเนือง ๆ

ข้อที่ ๒ คือ พยาบาท ความโกรธเกลียดอาฆาตแค้นคนอื่น ผูกโกรธ จดจำไปนาน เป็นการดองกิเลสเอาไว้ในใจของเรา

ข้อที่ ๓ ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ความขี้เกียจไม่อยากปฏิบัติธรรม พยายามหาเหตุผลดี ๆ ให้กับตัวเองอยู่เสมอที่จะไม่ต้องปฏิบัติธรรม

ข้อที่ ๔ อุทธัจจกุกกุจจะ เป็น ๒ อารมณ์รวมกันอยู่ในข้อเดียว ก็คืออุธัจจะ ความฟุ้งซ่าน กับ กุกกุจจะ ความหงุดหงิดรำคาญ ปฏิบัติธรรมเมื่อไรก็จะฟุ้งซ่านไปสู่อารมณ์อื่น รัก โลภ โกรธ หลง ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เสร็จแล้วก็จะมาหงุดหงิดรำคาญใจว่า ทำไมไม่สงบเสียที ? ทำไมไม่นิ่งเสียที ?

ท้ายสุด คือ วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ จะดีจริงไหมนะ ? ทำแล้วจะได้อย่างคนอื่นเขาไหมนะ ?
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 30-11-2019 เมื่อ 02:31
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 24 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 30-11-2019, 01:23
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,443
ได้ให้อนุโมทนา: 151,069
ได้รับอนุโมทนา 4,399,746 ครั้ง ใน 34,032 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้าเรารู้จักดู รู้จักระมัดระวัง ในแต่ละวันอย่าให้นิวรณ์ ๕ อย่างกินใจเราได้ ก็แปลว่าเราเดินมาถูกทางแล้ว โอกาสที่กิเลสนักปฏิบัติจะหลอกลวงเราให้ยึดติดอยู่ก็มีน้อย เมื่อเรารู้ตัวก็พยายามก้าวข้ามไปให้ได้

การข้ามนิวรณ์นั้นง่ายนิดเดียว อยู่กับลมหายใจปัจจุบันก็จบแล้ว หายใจเข้าผ่านจมูก...ผ่านอก...ลงไปถึงท้อง หายใจออกจากท้อง...ผ่านอก...มาที่ปลายจมูก ความรู้สึกอยู่แค่นี้พร้อมกับการภาวนา นิวรณ์อะไรก็กินเราไม่ได้ เพียงแต่ว่าเราสามารถรักษาอารมณ์ทั้งหลายนี้ไว้ได้นานเท่าไรนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ดังนั้น...ที่ได้กล่าวไปตอนต้นก่อนการปฏิบัติธรรมก็ดี ในช่วงนี้ก็ดี ญาติโยมทั้งหลายก็ไม่ต้องหนักใจว่า กิเลสมีมาก มีความละเอียดสูง เราจะรู้ไม่เท่าไม่ทัน อาตมาขอยืนยันว่ากิเลสละเอียดเท่าไร ปัญญาละเอียดเท่านั้น เพราะว่าเขาเป็นคู่ศึกกันโดยอัตโนมัติ ถ้าทำไม่ถึงก็ไม่เห็นทุกข์เห็นโทษ ถ้าทำถึงเมื่อไรก็เห็นหน้าคู่ต่อสู้ ปัญญาก็จะตรงเข้าห้ำหั่นฟันทิ้ง ตัดละไปโดยอัตโนมัติ

ดังนั้น ท่านทั้งหลายที่ปฏิบัติมานานแล้วยังเอาดีไม่ได้ อย่าท้อใจ เราผิดแล้วเป็นครู อย่างน้อย ๆ สอนใจตัวเองได้ สอนคนอื่นได้ เมื่อก้าวข้ามไปเมื่อไร เราก็จะเห็นว่าสิ่งที่เราทำมานั้นยังไม่ดีจริง ยังมีสิ่งที่ดีกว่า จนกระทั่งไปยึดอยู่ตรงจุดสุดท้าย เมื่อปล่อยจุดสุดท้ายเมื่อไร ความหลุดพ้นก็จะบังเกิดขึ้นกับเราทันที ซึ่งเป็นเรื่องที่เราต้องปฏิบัติกันให้ถึงต่อไป

ลำดับต่อไปขอให้ทุกท่านภาวนาพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา

พระครูวิลาศกาญจนธรรม,ดร.
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านเติมบุญ
วันเสาร์ที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๒

(ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย คะน้า)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 30-11-2019 เมื่อ 02:33
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 22:05



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว