กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

กระทู้ถูกปิด
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 07-03-2009, 00:07
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,173 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันศุกร์ที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๒

วันนี้มีผู้มาใหม่ แต่ว่าไม่ได้ใหม่ในการปฏิบัติ เคยมีพื้นฐานการปฏิบัติมาแล้ว แต่ว่าต้องขอกล่าวถึงพื้นฐานการปฏิบัติเสียก่อน เพราะมีหลายท่านที่ลืม แม้แต่ผู้เก่าก็ลืม

ความรู้สึกของเราที่จะหลุดจากลมหายใจเข้าออกนั้น คือ ความกังวลใจ ภาษาบาลี เรียกว่า ปลิโพธ หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ปลิโพธิ เป็นตัวสำคัญอย่างหนึ่ง ปลิโพธิ หรือความห่วงกังวลนั้น มีอยู่ ๑๐ อย่างด้วยกัน เช่น ห่วงงาน ห่วงครอบครัว ห่วงการเดินทาง ห่วงความเจ็บไข้ได้ป่วย เหล่านี้เป็นต้น

ขอให้ทุกท่านทำใจว่า ตอนนี้เรานั่งอยู่ตรงนี้ ไม่ว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามมันไม่สามารถที่จะไปกระทำได้ ไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ แม้กระทั่งความเจ็บไข้ได้ป่วยก็ตาม ถ้ามันเกิดขึ้นตรงนี้ กำเริบขึ้นตรงนี้ เราขอแลกกับการทำความดีครั้งนี้ด้วยชีวิต หมายความว่า ถ้ามันจะตายลงไปในขณะที่เราทำความดีนี้ เราก็ยินดี ถ้าสามารถตัดใจดังนี้ได้ ความรู้สึกที่คอยแวบออกไปห่วงใยเรื่องต่าง ๆ ก็จะลดน้อยถอยลง กำลังใจก็จะยอมอยู่กับลมหายใจเข้าออกมากขึ้น การภาวนาก็จะทรงตัวได้ง่ายขึ้น

ประการต่อไปก็คือ ให้สังเกตดูว่า ใจของเรามีกิเลสหยาบ ๕ อย่าง คือ นิวรณ์ ๕ อยู่หรือไม่ ?
นิวรณ์ ๕ ข้อที่หนึ่งก็คือ กามฉันทะ ความพอใจในอารมณ์ระหว่างเพศ จะเป็นรูปสวย กลิ่นหอม เสียงเพราะ รสอร่อย หรือสัมผัสก็ตาม
ข้อที่สองคือ พยาบาท พยาปาทะนิวรณ์ คือการผูกโกรธ ความโกรธเป็นเรื่องปกติ แต่การผูกโกรธนี้มันอาฆาตแค้นยาวนาน จะโผล่ขึ้นมารบกวนเราเสมอในขณะที่ปฏิบัติความดี
ข้อที่สาม ถีนมิทธะ เป็นอาการง่วงเหงาหาวนอน ชวนให้ขี้เกียจปฏิบัติ
ข้อที่สี่เรียก อุทธัจจกุกกุจจะ เป็นความหงุดหงิด รำคาญใจ
ข้อที่ห้า วิจิกิจฉา ลังเลว่าปฏิบัติไปแล้วจะมีผลจริงหรือไม่ ?

ถ้ากำลังใจของเราอยู่กับลมหายใจเข้าออก ทรงตัวมั่นคง นิวรณ์ทั้งห้าข้อนี้ไม่มี แต่ถ้าหากหลุดจากลมหายใจเมื่อไร นิวรณ์ข้อใดข้อหนึ่งก็ตามจะแทรกเข้ามาแทนที่ทันที คำว่านิวรณ์นั้นก็คือ กิเลสหยาบที่ทำให้ปัญญาถอยหลัง สร้างความลำบากให้แก่เราไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างใจ

ลองดูว่าขณะนี้ใจของเรามีนิวรณ์ทั้งห้านี้อยู่หรือไม่ ? ถ้ามีดึงกำลังใจทั้งหมดอยู่กับลมหายใจเข้าออกและคำภาวนา ถ้าหากว่าไม่มีก็ให้สนใจจดจ่ออยู่กับคำภาวนาและลมหายใจเข้าออกของเรา ระมัดระวังไว้อย่าให้นิวรณ์แทรกเข้ามาได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 24-12-2009 เมื่อ 12:05
สมาชิก 23 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 07-03-2009, 00:14
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,173 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

อันดับต่อไปก็คือ การปฏิบัติความดีแต่ละครั้งนั้นเราต้องทุ่มเทจริง ๆ

อรรถกถาจารย์ท่านเปรียบเอาไว้ว่า พระพุทธเจ้าแสดงธรรมเหมือนราชสีห์จับเหยื่อ ไม่ว่าเหยื่อนั้นจะตัวเล็กหรือตัวใหญ่ก็ตาม ราชสีห์เวลาจับเหยื่อจะทุ่มเทกำลังเท่ากันทั้งหมด ดังนั้นจึงสามารถจับเหยื่อได้โดยไม่ผิดพลาด เราเองก็ต้องมีการทุ่มเทการปฏิบัติในลักษณะเดียวกัน ต้องมีความมั่นคงในกำลังใจ เรียกง่าย ๆ ว่าต้องมีสัจจะมั่นคง ว่าในแต่ละวันเราต้องให้เวลาในการปฏิบัติ อย่างเช่นตอนเช้าครึ่งชั่วโมง ตอนเย็นครึ่งชั่วโมง อย่างนี้เป็นต้น

กำลังใจที่มั่นคงแน่วแน่ พอถึงเวลาเราต้องปฏิบัติ ละวางงานอื่นมาเพื่อการปฏิบัติเสียก่อน ถ้าเรามีสัจจะแน่วแน่มั่นคงดังนี้ เราก็จะทุ่มเทให้การปฏิบัติอย่างเต็มที่เต็มกำลัง อย่างแลกกันด้วยชีวิต ดังเช่นองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ในวันที่จะตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ พระองค์ทรงตั้งสัจจะอธิษฐานว่า แม้เลือดเนื้อร่างกายนี้จะเหือดแห้งไปก็ตามที แม้ชีวิตอินทรีย์นี้จะดับสิ้นไปก็ตาม ถ้าหากว่ายังไม่บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเพียงใด จะไม่คลายหรือละเสียจากบัลลังก์นี้ ก็คือจะไม่ทิ้งการนั่งสมาธิตอนนั้น เราต้องมีกำลังใจที่หนักแน่นมั่นคง มีสัจจะอย่างนี้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 24-12-2009 เมื่อ 12:06
สมาชิก 19 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 07-03-2009, 00:23
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,173 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

อันดับต่อไปก็คือ ต้องมีพรหมวิหาร ๔ โดยเฉพาะตัวเมตตาความรัก เราต้องรู้จักรักตัวเองด้วย
สมัยก่อน หลวงปู่มหาอำพัน วัดเทพศิรินทราวาส กล่าวไว้เสมอว่า รักษาตัวกลัวกรรมอย่าทำชั่ว จะหมองมัวหม่นไหม้ไปเมืองผี จงเลือกทำแต่กรรมที่ดี ๆ จะได้มีความสุขพ้นทุกข์ภัย

ในเมื่อเรารักตัวเอง กลัวตัวเองจะตกสู่ที่ชั่ว ถ้าหากว่าเป็นดังนั้น เราก็ต้องตั้งหน้าตั้งตาขวนขวายในการปฏิบัติ เมื่อเรารักตัวเอง เมตตาต่อตัวเอง เราจึงมีความรักความเมตตาต่อคนอื่นเขาได้ แปลว่าทุกอย่างต้องเริ่มต้นจากข้างในเสียก่อน ถ้าหากว่าในดี ข้างนอกมันจะดีไปด้วย ถ้าหากว่าข้างในไม่ดี ข้างนอกมันจะดีแค่ไหนก็ตาม มันก็เหมือนกับผลไม้ที่เน่าใน อย่างเช่น ลูกมะเดื่อ เปลือกนอกสวยงามแต่ว่าไม่สามารถจะใช้ประโยชน์ได้ เพราะข้างในแมลงหวี่ปรากฏอยู่มากมาย

ดังนั้น การที่เราจะทรงพรหมวิหาร ๔ แผ่เมตตานั้น เป็นเรื่องที่พึงกระทำทุกครั้งในการปฏิบัติ เพราะว่าสภาพจิตที่เยือกเย็นจะทำให้สมาธิทรงตัวได้ง่ายและมั่นคง ขณะเดียวกันการควบคุมศีลก็จะบริสุทธิ์บริบูรณ์ได้ด้วย

การที่เรามีสภาพจิตที่ประกอบไปด้วยเมตตาพรหมวิหาร ผีก็รัก เทวดาก็รัก สัตว์ทั้งหลายก็รัก ดังนั้น...บุคคลที่ทรงเมตตาพรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ อยู่ที่ไหนก็อยู่ได้ไม่มีอันตราย สัตว์ทั้งหลายตลอดจนผีและเทวดา แทนที่จะทำอันตราย ก็กลับกลายเป็นว่ามาดูแลรักษาเรา

การแผ่เมตตาก็กำหนดภาพพระพุทธเจ้าเป็นหลัก ให้ท่านค่อย ๆ ครอบร่างกายของเราลงมา จนกระทั่งร่างของเราและพระพุทธเจ้าสว่างไสวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แล้วกำหนดให้พระรัศมีของพระองค์ท่านแผ่กว้างออกไป ว่านั่นเป็นสิ่งที่แทนเมตตา ซึ่งเกิดจากพระทัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่งผ่านร่างกายของเราออกไป สู่สรรพสัตว์ทั้งหลายทุกภพทุกภูมิทุกหมู่ทุกเหล่า ขอให้เขาทั้งหลายเหล่านั้นพ้นจากทุกข์ ขอให้มีแต่ความสุข ขออย่าได้เบียดเบียนและมีเวรมีกรรมต่อกันและกันเลย ขอให้ล่วงพ้นจากความทุกข์โดยถ้วนหน้ากันเทอญ

หลังจากที่แผ่เมตตาแล้วก็กำหนดถึงภาพพระ แบบใดก็ได้ที่เรารักเราชอบ ควบกับลมหายใจเข้าออก หายใจเข้าภาพพระก็ไหลเข้าไปด้วย หายใจออกภาพพระก็ไหลออกมาด้วย หายใจเข้าพร้อมกับคำภาวนา หายใจออกพร้อมกับคำภาวนา โดยที่กำลังใจของเราไหลเข้าออกพร้อมกับภาพพระที่ไหลตามลมหายใจอยู่นั้น

ความชัดเจนไม่ใช่สาระสำคัญ สำคัญตรงที่เรานึกได้หรือไม่ได้ ถ้ามีการฝึกซ้อมบ่อย ๆ ภาพพระก็จะปรากฏชัดเจนเหมือนตาเห็น ถ้าไม่มีการฝึกซ้อมนาน ๆ ทำ หรือว่าเดือนหนึ่งมาเริ่มกันครั้งหนึ่ง ภาพพระก็จะมัวไม่ชัดเจนหรือไม่เห็นภาพเลย มีแต่ความรู้สึกว่ามีภาพพระอยู่แค่นั้น ถึงจะเป็นเช่นนั้นก็ใช้ได้

ขอให้เราทุกคนมั่นใจว่าพระพุทธเจ้าท่านไม่ได้อยู่ที่ใดเลย นอกจากพระนิพพาน เราเห็นท่านคือเราอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระองค์ท่าน เราอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระองค์ท่านก็คือเราอยู่บนพระนิพพาน ให้เอาใจจดจ่ออยู่กับภาพพระและลมหายใจเข้าออกอยู่เช่นนี้ เป็นการปรับพื้นฐานในวันนี้จนกว่าจะบอกว่าหมดเวลา


พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านอนุสาวรีย์
วันศุกร์ที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๒
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 24-12-2009 เมื่อ 12:07
สมาชิก 21 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
กระทู้ถูกปิด


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 17:16



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว