กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 28-11-2019, 19:49
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,179 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันเสาร์ที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๒

ให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติคือความรู้สึกทั้งหมดของเราไว้ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเรา ไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเรา ไหลตามลมหายใจออกมา ถ้าเผลอสติไปคิดถึงเรื่องอื่น เมื่อรู้ตัวให้รีบดึงกลับมาอยู่กับลมหายใจเข้าออกใหม่ การจับลมหายใจเข้าออกจะจับฐานเดียว สามฐาน เจ็ดฐาน หรือรู้ตลอดกองลมก็ได้ ส่วนคำภาวนาจะใช้แบบไหนก็ได้ที่เรารัก เราชอบ เราถนัดมาแต่เดิม

วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๒ ดังที่ได้กล่าวไปก่อนการปฏิบัติธรรมของเราว่า ส่วนใหญ่แล้วคนเรามักจะยึดมั่นถือมั่น เห็นว่าการปฏิบัติของเรา หรือว่าข้อวัตรปฏิบัติของเรา สายกรรมฐานของเราดีกว่าที่อื่น ดีกว่าคนอื่น ดีกว่าสายอื่น ซึ่งเรื่องอย่างนี้จะว่าไปแล้วก็เกิดกับนักปฏิบัติทุกคน ซึ่งอาตมาเองใช้คำว่า กิเลสของนักปฏิบัติ

ถามว่าเกิดขึ้นแล้วไม่ดีใช่ไหม ? ความจริงเป็นสิ่งที่ดี เพียงแต่ว่าเรารู้จักแสวงหาประโยชน์จากสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้หรือไม่ ? เพราะว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตาม ถ้าหากว่า สติ สมาธิ ปัญญา ของเราเพียงพอ เมื่อก้าวผ่านไปได้แล้วเราก็จะไม่ย้อนกลับมาอีก เหมือนกับว่ารู้ที่รู้ทางแล้วว่าจะต้องผ่านอย่างนี้ ต้องข้ามอย่างนี้ ถ้ามีความชำนาญมาก ๆ ก็สามารถบอกกล่าวคนอื่นเขาต่อไปได้ด้วย
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-11-2019 เมื่อ 19:53
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 29 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 28-11-2019, 19:51
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,179 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

โดยเฉพาะความยึดมั่นถือมั่น ขอให้พวกเราทราบว่า ถ้าเราไม่มีอะไรยึด เราก็ไม่มีอะไรจะปล่อย ดังนั้น..หลายท่านที่สอนลูกศิษย์ บอกว่าให้ปล่อยวาง เอาแต่สุญญตา เอาแต่อนัตตา หลายท่านในจำนวนนั้นอาตมายืนยันได้...กำลังติด ติดอยู่กับสุญญตา ติดอยู่กับอนัตตา เพราะว่าถ้าท่านไม่ยึดเสียก่อนแล้วท่านจะเอาอะไรมาปล่อย ไม่กำมือเสียก่อนแล้วจะเอาอะไรมาแบ เพียงแต่ว่าอย่ายึดนาน อย่ากำมือไว้นาน เพราะว่าชีวิตของเราเป็นของน้อย จะสิ้นลงไปเมื่อไรก็ไม่รู้

จึงต้องปฏิบัติธรรมด้วยความระมัดระวังและละเอียดลออ คอยระวังอย่าให้ กาย วาจา ใจ ของเราเป็นทุกข์เป็นโทษกับคนอื่น เพราะว่าถ้าไปสร้างกิเลส รัก โลภ โกรธ หลง ให้เกิดขึ้นในใจของคนอื่น ก็เท่ากับเราเป็นสาเหตุแห่งความชั่วนั้น ๆ จะมากจะน้อยโทษก็จะเกิดขึ้นกับเราด้วย

ดังนั้น...คำโบราณที่บอกว่า "ผิดเป็นครู" นั้นเป็นเรื่องที่ใช้ได้ แต่อย่าผิดมาก อย่าผิดบ่อย ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวจะเลยครู กลายเป็นอาจารย์ของครู กลายเป็นศาสตราจารย์..!
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-11-2019 เมื่อ 19:54
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 30-11-2019, 01:19
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,179 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

การที่เราจะรู้ระมัดระวังก็ต้องรู้จักหน้าตาของนิวรณ์ ๕ อย่าง อย่างแรกคือกามฉันทะ ความยึดมั่นอยู่ในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ ตัดไม่ได้ ละไม่ได้ วางไม่ได้ แม้กระทั่งตอนปฏิบัติธรรมก็ยังคงฟุ้งซ่าน ตรึกนึกถึงอยู่ในเนือง ๆ

ข้อที่ ๒ คือ พยาบาท ความโกรธเกลียดอาฆาตแค้นคนอื่น ผูกโกรธ จดจำไปนาน เป็นการดองกิเลสเอาไว้ในใจของเรา

ข้อที่ ๓ ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ความขี้เกียจไม่อยากปฏิบัติธรรม พยายามหาเหตุผลดี ๆ ให้กับตัวเองอยู่เสมอที่จะไม่ต้องปฏิบัติธรรม

ข้อที่ ๔ อุทธัจจกุกกุจจะ เป็น ๒ อารมณ์รวมกันอยู่ในข้อเดียว ก็คืออุธัจจะ ความฟุ้งซ่าน กับ กุกกุจจะ ความหงุดหงิดรำคาญ ปฏิบัติธรรมเมื่อไรก็จะฟุ้งซ่านไปสู่อารมณ์อื่น รัก โลภ โกรธ หลง ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เสร็จแล้วก็จะมาหงุดหงิดรำคาญใจว่า ทำไมไม่สงบเสียที ? ทำไมไม่นิ่งเสียที ?

ท้ายสุด คือ วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ จะดีจริงไหมนะ ? ทำแล้วจะได้อย่างคนอื่นเขาไหมนะ ?
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 30-11-2019 เมื่อ 02:31
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 24 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 30-11-2019, 01:23
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,179 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้าเรารู้จักดู รู้จักระมัดระวัง ในแต่ละวันอย่าให้นิวรณ์ ๕ อย่างกินใจเราได้ ก็แปลว่าเราเดินมาถูกทางแล้ว โอกาสที่กิเลสนักปฏิบัติจะหลอกลวงเราให้ยึดติดอยู่ก็มีน้อย เมื่อเรารู้ตัวก็พยายามก้าวข้ามไปให้ได้

การข้ามนิวรณ์นั้นง่ายนิดเดียว อยู่กับลมหายใจปัจจุบันก็จบแล้ว หายใจเข้าผ่านจมูก...ผ่านอก...ลงไปถึงท้อง หายใจออกจากท้อง...ผ่านอก...มาที่ปลายจมูก ความรู้สึกอยู่แค่นี้พร้อมกับการภาวนา นิวรณ์อะไรก็กินเราไม่ได้ เพียงแต่ว่าเราสามารถรักษาอารมณ์ทั้งหลายนี้ไว้ได้นานเท่าไรนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ดังนั้น...ที่ได้กล่าวไปตอนต้นก่อนการปฏิบัติธรรมก็ดี ในช่วงนี้ก็ดี ญาติโยมทั้งหลายก็ไม่ต้องหนักใจว่า กิเลสมีมาก มีความละเอียดสูง เราจะรู้ไม่เท่าไม่ทัน อาตมาขอยืนยันว่ากิเลสละเอียดเท่าไร ปัญญาละเอียดเท่านั้น เพราะว่าเขาเป็นคู่ศึกกันโดยอัตโนมัติ ถ้าทำไม่ถึงก็ไม่เห็นทุกข์เห็นโทษ ถ้าทำถึงเมื่อไรก็เห็นหน้าคู่ต่อสู้ ปัญญาก็จะตรงเข้าห้ำหั่นฟันทิ้ง ตัดละไปโดยอัตโนมัติ

ดังนั้น ท่านทั้งหลายที่ปฏิบัติมานานแล้วยังเอาดีไม่ได้ อย่าท้อใจ เราผิดแล้วเป็นครู อย่างน้อย ๆ สอนใจตัวเองได้ สอนคนอื่นได้ เมื่อก้าวข้ามไปเมื่อไร เราก็จะเห็นว่าสิ่งที่เราทำมานั้นยังไม่ดีจริง ยังมีสิ่งที่ดีกว่า จนกระทั่งไปยึดอยู่ตรงจุดสุดท้าย เมื่อปล่อยจุดสุดท้ายเมื่อไร ความหลุดพ้นก็จะบังเกิดขึ้นกับเราทันที ซึ่งเป็นเรื่องที่เราต้องปฏิบัติกันให้ถึงต่อไป

ลำดับต่อไปขอให้ทุกท่านภาวนาพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา

พระครูวิลาศกาญจนธรรม,ดร.
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านเติมบุญ
วันเสาร์ที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๒

(ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย คะน้า)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 30-11-2019 เมื่อ 02:33
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 18:31



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว