กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > กระทู้ธรรม > ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 30-07-2010, 12:19
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,550 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default การระงับอารมณ์ฟุ้งซ่าน และวิตกจริต

การระงับอารมณ์ฟุ้งซ่าน และวิตกจริต


เมื่อวันเสาร์ที่ ๓๑ ก.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตามาตรัสสอนเพื่อนผม ดังนี้

๑. การวิตกกังวลทำให้สติสัมปชัญญะบกพร่อง เจ้านึกอยู่แต่ว่าจักทำงานโน้น งานนี้ จิตถูกส่งไปตามงานที่คิด จึงลืมงานปัจจุบันไปเสียสนิท

๒. งานบางอย่างไม่ควรที่จักนำมาคิดล่วงหน้า ควรแก้ไขอยู่แต่ในธรรมปัจจุบัน คิดแก้ไขหรือวางแผนไปล่วงหน้า รังแต่จักเสียอารมณ์ เจ้าต้องหัดวางอารมณ์ฟุ้งซ่าน เรื่องงานภายนอกทิ้งไป ในขณะที่เวลานั้นเป็นชั่วโมงเจริญพระกรรมฐาน ต้องทำงานภายใน เป็นการระงับนิวรณ์ ๕ ซึ่งต้องระงับกันอยู่ตลอดเวลา ในเวลาก็ต้องระงับ นอกเวลาก็ต้องระงับ รู้ตัวหรือไม่ว่าฟุ้งซ่านมากไป

๓. นี่เป็นเพราะเจ้าลืมลมหายใจเข้าออก จิตจึงไม่มีกำลังบังคับอารมณ์ สติสัมปชัญญะจึงเสื่อมทรามลงไป อารมณ์ที่คิดไปล่วงหน้า และหมกมุ่นอยู่กับเรื่องที่ผ่านไปเบื้องหลัง จักต้องหมั่นสลัดทิ้งไป ต้องแก้ไขอารมณ์เหล่านี้ลงให้ได้ มิฉะนั้นการเจริญพระกรรมฐานจักไม่มีผลเท่าที่ควรจักได้

๔. พยายามให้จิตคิดอยู่เสมอว่า ถ้าฟุ้งซ่านอยู่อย่างนั้นมันจักตายหรือไม่ตาย เกิดตายในขณะฟุ้งซ่าน ก็เท่ากับเสียท่ากิเลส ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิด อยู่ในหน้าที่การงานอย่างนี้อีก

๕. เหนื่อยหรือไม่เหนื่อย การเกิดมีขันธ์ ๕ แล้ว จักไม่เหนื่อยนั้นไม่มี เจ้าต้องการจักไม่มีขันธ์ ๕ อีก ก็จงหมั่นระงับอารมณ์ฟุ้งซ่านนี้ทิ้งไป

๖. ดอกสว่านหักก็จงเคารพในความไม่เที่ยงของฝีมือของเจ้าเอง ธรรมะเหล่านี้เป็นของธรรมดา มิพึงจักนำมาคิดให้ฟุ้งซ่าน เรื่องคุณปอ จักเอาของมาให้ ก็เป็นเรื่องของอนาคตซึ่งไม่เที่ยง ชีวิตของเจ้าทั้งสอง คนใดคนหนึ่งอาจจักแตกดับก่อนที่อนาคตนั้นจักมาถึงก็เป็นได้ ใยจึงไปคิดให้ฟุ้งไกลนักเล่า และจงอย่าขัดศรัทธาของคน จงทำตนให้เป็นผู้รับที่ดี สิ่งใดควรรับก็รับ ควรจ่ายให้ทานก็จงจ่าย สิ่งใดรับไม่ได้จักเป็นโทษ ก็ชี้แจงเขาไปโดยตรง บุคคลทั่วไปย่อมมีเหตุผลของตนเอง หากเจ้าชี้แจงเหตุผลให้เขาฟัง เขาย่อมจักเข้าใจ อย่าวิตกให้ไกลเกินไป
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 44 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 02-08-2010, 16:51
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,550 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๗. ต้นเหตุจากมีคนจะเอาของมาให้ใช้ส่วนตัวมากเกินเหตุ เพราะไม่เห็นทุกข์หรือปัญหาที่จะพึงเกิดขึ้นภายหลัง จิตจึงฟุ้งซ่าน ทรงตรัสว่า เป็นของธรรมดา ธรรมของตถาคตมิใช่ของเนิ่นช้า (จะ) ละสิ่งใด สิ่งนั้นจักมากระทบจิต เพื่อทดสอบอารมณ์อยู่ตลอดเวลา ยินดีก็แพ้ต่อกิเลส ยินร้ายไม่พอใจก็แพ้ต่อกิเลส ตถาคตจึงจักกล่าวว่าให้ชี้แจงเหตุผลให้เขาทราบ รักษาอารมณ์ใจให้เป็นกุศล เพื่อประโยชน์สุขของผู้ให้ทาน เขาจักได้รับผลใหญ่ด้วยจิตของเจ้าที่เป็นกุศลนั้น

๘. เรื่องอาหารการกินก็เช่นกัน เจ้าเห็นทุกข์เห็นโทษ ตามที่ตถาคตและทุกองค์ตลอดจนท่านฤๅษีเฝ้าพร่ำสอน แต่เจ้าจักให้บุคคลอื่นเห็นทุกข์เห็นโทษของการบริโภคอาหาร เหมือนกับเจ้านั้นย่อมเป็นไม่ได้ เพราะฉะนั้น จงดูเจตนาที่เขาหวังดีกับเจ้าเป็นสำคัญ

๙. บุคคลผู้ยังเกาะติดอยู่ในกายมาก ก็ย่อมคิดที่จักบำรุงกายนั้นเพื่อให้ทรงอยู่ตลอดเวลา นี่เป็นเรื่องธรรมดาของผู้ที่เขาห่วงกายเรา จึงเฝ้าบำรุงบำเรอ คิดว่ามันจักทรงตัว นี่เป็นความดีของเขาที่มีเมตตาต่อร่างกายเจ้า นั่นเป็นธรรมดาของเขาที่เจ้าควรจักยอมรับกฎของธรรมดานั้น

๑๐. มาศึกษาทางด้านจิตของเจ้าเอง กลับมาคิดมากจนขาดเมตตาจิตของเจ้าเอง เอามาเป็นอารมณ์ฟุ้งหาจุดลงไม่ได้ นี่เป็นโทษใหญ่ แม้ทั้ง ๆ ที่รู้ว่ากายนี้ไม่ใช่เรา แต่กายนี้มันก็ยังทรงอยู่ในปัจจุบัน การต้องการบริโภคอาหารก็ยังมีอยู่เป็นปกติของผู้ยังมีกายอยู่ ก็เป็นกฎธรรมดาอีกนั่นแหละ

๑๑. แม้เจ้าจักพยายามละกามคุณอยู่ แต่ควรกำหนดรู้ว่า การมีร่างกายก็ยังจักต้องเกี่ยวข้องอยู่กับกามคุณ ๕ การละต้องดูอารมณ์จิตเป็นสำคัญ อย่างกรณีอาหารและเครื่องอุปโภคที่เขาจักนำมาให้ ก็จงดูอารมณ์ของใจเป็นสำคัญ ถ้าหากยังฟุ้งอยู่ด้วยความยินดีหรือไม่ยินดี ก็นับว่าอารมณ์ยังเลวอยู่ ขาดเมตตาต่อจิตของตนเอง จึงยังอารมณ์ให้หวั่นไหวอยู่ และอารมณ์นั้นก็สร้างทุกข์ให้เกิด อย่างนี้เสียผลของการปฏิบัติหรือไม่ (ก็รับว่าเสียหาย)

๑๒. การคิดให้สับสน นำเรื่องโน้นเรื่องนี้เข้ามาหลายเรื่อง ทำให้อารมณ์จิตวุ่นวาย หาความสงบมิได้ จุดนี้ขอให้เจ้าพิจารณาให้ดี ๆ อย่าสักแต่ว่าเรื่องภายนอก แม้กระทั่งธรรมภายในก็เช่นกัน จับโน่นวางนี่ กรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง หากไม่ขึ้นต้นด้วยอานาปานสติให้ทรงตัวเสียก่อนแล้ว จิตเจ้าก็ไปคว้าหมวดโน้นนิด หมวดนี้หน่อย ก็ทำให้อารมณ์จิตสับสนวุ่นวาย สุดท้ายก็เอาอะไรดีไม่ได้

๑๓. ธรรมะไปสายเดียวกันก็จริงอยู่ เอโกธัมโมนั้นถูกต้อง แต่จิตของเจ้าไม่ฉลาดพอ จึงไม่รู้เท่าทันอารมณ์ จับโน่นนิดคิดนี่หน่อย เลยฟุ้งไปเสียก่อนที่จักได้ดี ปรับอารมณ์ตรงนี้ควบสมถะภาวนากองใดกองหนึ่งให้ถึงที่สุดเสียก่อนทุกครั้ง จิตจักได้มีกำลังต่อสู้กับกิเลส มิฉะนั้นเจ้าก็ต้องย่ำเท้าอยู่อย่างนี้ หาความก้าวหน้าในมรรคผลของการปฏิบัติไม่ได้

๑๔. ตั้งใจให้จริง อย่าทิ้งความตั้งใจทำจริง เพื่อมรรคผลนิพพานเป็นสำคัญ ต้องจดจำเอาไว้เสมอ จักได้พ้นทุกข์ของจิตเสียที อย่าลืม สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่ควรยึดว่าเป็นเราเป็นของเรา ถ้าอยากให้อารมณ์จิตเป็นสุขและไม่ฟุ้งซ่าน จงอยู่ในธรรมปัจจุบัน อย่ายุ่งกับธรรมในอดีตและธรรมในอนาคต อย่าจับปลาหลายตัว ให้จับทีละตัวแบบกรรมฐาน ๔๐ ทำให้ดีที่สุดกองเดียวก่อน


ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๖
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-08-2010 เมื่อ 18:15
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 19:55



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว