กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 27-06-2017, 18:32
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,459
ได้ให้อนุโมทนา: 151,110
ได้รับอนุโมทนา 4,400,209 ครั้ง ใน 34,048 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๖๐

ให้ทุกคนนั่งในท่าที่สบายของตน ตั้งกายให้ตรง กำหนดความรู้สึกของเราทั้งหมดไว้ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเราไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเราไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ที่เรามีความถนัดมาแต่เดิม

วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ สำหรับวันนี้ในส่วนของการปฏิบัติของพวกเรานั้น สิ่งหนึ่งที่อยากจะบอกกล่าวถึง ซึ่งจะว่าไปแล้วก็เป็นพื้นฐานเลย คือลมหายใจเข้าออกของเรานี่เอง

ลมหายใจเข้าออกเป็นพื้นฐานใหญ่ในการปฏิบัติธรรมทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นกรรมฐานกองใดก็ตาม ถ้าไม่มีลมหายใจเข้าออกควบไปด้วย เราจะไม่สามารถที่จะทำให้ถึงที่สุดของกองกรรมฐานนั้น ๆ ได้ สมาธิทุกระดับของเราต้องอาศัยลมหายใจเข้าออกเป็นบาทฐาน ถ้าไม่สามารถจับลมหายใจเข้าออกได้ เราก็ไม่สามารถทรงอัปปนาสมาธิได้อย่างที่ต้องการ

ดังนั้น...เราจะเห็นว่าอานาปานสติ คือลมหายใจเข้าออกของเรานั้น สำคัญอย่างยิ่ง สำคัญชนิดที่จะละทิ้งไม่ได้เลย เพียงแต่ว่าการจับลมหายใจเข้าออกของเรานั้น ให้เป็นไปโดยธรรมชาติ ลมหายใจจะแรง จะเบา จะยาว จะสั้น ปล่อยให้เป็นไปตามปกติ

เราแค่เอาสติคือความรู้สึก เข้าไปรับรู้การหายใจนั้น ๆ ว่าตอนนี้ลมหายใจของเราแรง ตอนนี้ลมหายใจของเราเบา ตอนนี้ลมหายใจของเรายาว ตอนนี้ลมหายใจของเราสั้น อรรถกถาจารย์ท่านบอกว่า “เหมือนอย่างกับลูกมือของนายช่างกลึงผู้ฉลาด เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ว่าตนเองชักเชือกกลึงยาว เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ว่าตนเองชักเชือกกลึงสั้น” นั่นคือเอาสติจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจเข้าออก แต่ไม่ใช่การบังคับลม

ยกเว้นบางท่านที่สามารถทรงสมาธิระดับใดระดับหนึ่งได้แล้ว จนเกิดความเคยชิน เกิดความชำนาญ ทันทีที่ตั้งใจจะภาวนาจับลมหายใจเข้าออก สมาธิก็จะกระโดดข้ามไประดับที่ตนเองมีความชำนาญเลย จะมีการเปลี่ยนแปลงของลมหายใจอย่างเห็นได้ชัด อย่างเช่นว่าลมหายใจจะเบาลงหรือหายไปเลย เป็นต้น เราก็อาจจะคิดว่าเป็นการบังคับลมหายใจ ถ้าเกิดอาการอย่างนี้ให้รู้ว่า เป็นความชำนาญในการเข้าสมาธิ ไม่ใช่การบังคับลมหายใจเข้าออก
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-06-2017 เมื่อ 21:17
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 51 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 28-06-2017, 17:07
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,459
ได้ให้อนุโมทนา: 151,110
ได้รับอนุโมทนา 4,400,209 ครั้ง ใน 34,048 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เราจะใช้การดูลมหายใจเข้าออกอย่างเดียวโดยไม่มีคำภาวนาก็ได้ ไม่ว่าจะจับลมหายใจฐานเดียว ๓ ฐาน ๗ ฐาน หรือรู้ตลอดกองลมก็ได้ แต่ถ้าหากรู้สึกว่าสติของเราน้อยไป ต้องการให้จิตมีการทำงานมากขึ้น ก็เพิ่มคำภาวนาเข้าไปด้วย

คำภาวนานั้นเราถนัดแบบไหนให้ใช้แบบนั้น จะเป็น พุทโธ ก็ดี สัมมา อะระหัง ก็ดี พองหนอ ยุบหนอ ก็ดี แล้วแต่เรามีความถนัดมาแต่เดิม ไม่ว่าจะใช้คำภาวนาอะไรก็ตาม ผลที่เราต้องการก็คือให้มีสติ รู้ระมัดระวังอยู่กับลมหายใจมากขึ้น ทำให้จิตของเราเป็นสมาธิได้ง่ายขึ้น

แต่ถ้าเราเปลี่ยนคำภาวนาบ่อย ๆ สภาพจิตที่ไม่คุ้นชิน ก็จะวิ่งไปหาของเก่าอยู่เสมอ ถ้าของเก่าเรายังทำไม่ได้ ของใหม่เราก็ยังทำไม่ดี ก็แปลว่าเราจะหาความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมไม่ได้

เมื่อสามารถทรงสมาธิระดับใดระดับหนึ่งได้แล้ว ให้ซักซ้อมบ่อย ๆ จนสามารถเข้าถึงสมาธินั้นได้ ทุกเวลาทุกนาทีที่เราต้องการ เพราะว่ากิเลสนั้นกินเราอยู่ตลอดเวลา ไม่เลือกว่าจะหลับ จะตื่น จะยืน จะนั่ง ทันทีที่รู้ตัว เราต้องวิ่งเข้าหาสมาธิทันที เพื่อให้มีเกราะป้องกัน ไม่ให้ รัก โลภ โกรธ หลง กินใจเราก่อน ถ้าไม่สามารถเข้าสมาธิได้อย่างที่ต้องการทันท่วงที สภาพของกิเลสใหญ่คือ รัก โลภ โกรธ หลง ก็จะทำให้เราฟุ้งซ่าน และอาจจะเสียผลการปฏิบัติไปหลาย ๆ วัน บางคนถึงกับพังไปเป็นเดือน ๆ ก็มี
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-06-2017 เมื่อ 17:10
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 28-06-2017, 17:09
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,459
ได้ให้อนุโมทนา: 151,110
ได้รับอนุโมทนา 4,400,209 ครั้ง ใน 34,048 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ดังนั้น...ในเรื่องของการซักซ้อมการปฏิบัติให้คล่องตัว จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก ทำได้แล้วอย่าปล่อยให้สนิมกิน แล้วในขณะเดียวกัน ท่านที่เคยทำได้ก็อย่าเที่ยวไปจดจ่อเพ่งพิศอยู่ว่า เราจะต้องทำให้ได้เหมือนเดิม เพราะถ้ากำลังใจของเราเป็นเช่นนั้น เท่ากับว่าเรากำลังฟุ้งซ่าน สภาพจิตที่ฟุ้งซ่านย่อมเข้าสู่สมาธิระดับสูงไม่ได้

ในเรื่องของการปฏิบัติธรรมนั้น อานาปานสติจึงเป็นพื้นฐานใหญ่ เปรียบเหมือนแผ่นดิน ฉันทะคือความพอใจในการปฏิบัติ เปรียบเหมือนกับเมล็ดพันธุ์ เมื่อเราเพาะเมล็ดพันธุ์ลงในแผ่นดินแล้ว ก็ต้องตั้งหน้าตั้งตาดูแล รดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย คอยระมัดระวังหนอนแมลง ไม่ให้มาทำลายต้นกรรมฐานของเรา

วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือ เอาสติจดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้าออก โดยเฉพาะท่านที่ภาวนาไป จนกระทั่งกำลังใจเข้าถึงปฐมฌานแล้ว ต้อง พยายามประคับประคองรักษาให้อารมณ์ใจของเรา จนเข้าถึงระดับปฐมฌานละเอียดให้ได้

ถ้าถามว่าปฐมฌานละเอียดหน้าตาเป็นอย่างไร ? บุคคลที่เข้าถึงปฐมฌานละเอียด จะรู้ลมหายใจเข้าออกโดยอัตโนมัติ รู้ลมกระทบ ๓ ฐานโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องบังคับก็ภาวนาเอง ไม่ต้องบังคับก็รู้ลมได้เอง เมื่อถึงระดับนั้นแล้ว ก็ให้เอาสติของเราประคับประคองไว้ อย่าให้เคลื่อนคลายไปที่ไหน ถ้าหากว่ากำลังใจจะเคลื่อนออกมาเมื่อไร แปลว่าไปถึงที่สุด เราไม่สามารถที่จะก้าวต่อไปได้แล้ว ก็ให้คลายออกมาพินิจพิจารณาในวิปัสสนาญาณ

ถ้าจะเอาวิปัสสนาญาณอย่างง่ายก็คือ ดูทุกอย่างให้เห็นว่าไม่เที่ยง ดูให้เห็นว่าเป็นทุกข์ ดูให้เห็นว่าไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา จนกระทั่งสภาพจิตของเรายอมรับว่า ร่างกายของเราก็ดี ของคนอื่นก็ดี ของสัตว์อื่นก็ดี มีสภาพอย่างนี้เป็นปกติ

เมื่อพิจารณาไปจนอารมณ์ใจทรงตัวแล้ว ก็จะกลับไปภาวนาโดยอัตโนมัติเอง เมื่อภาวนาไปจนเต็มที่แล้ว กำลังใจเริ่มคลายออกมา ก็รีบหาวิปัสสนาให้พิจารณาใหม่ ทำสลับไปสลับมาอย่างนี้ ถึงจะมีความก้าวหน้าอย่างที่เราต้องการ

ลำดับต่อไปก็ให้ทุกท่านตั้งใจภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา

พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านเติมบุญ
วันอาทิตย์ที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๖๐

(ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย รัตนาวุธ)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-06-2017 เมื่อ 17:14
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 40 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 02:53



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว