กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > กระทู้ธรรม > ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 12-03-2010, 16:03
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default อารมณ์เบื่อง่าย หน่ายเร็ว

อารมณ์เบื่อง่าย หน่ายเร็ว




ในวันต่อมา ลูกสาวในอดีตชาติของหลวงพ่อเกิดอารมณ์เบื่อง่าย หน่ายเร็วกำเริบ หลวงพ่อฤๅษีท่านก็เมตตามาสอนให้ มีความสำคัญ ดังนี้

๑. “เอ็งต้องหาสาเหตุที่ทำให้จิตมันเบื่อง่าย หน่ายเร็วให้พบ อารมณ์ฝืด ๆ อย่างนี้ ทิ้งไว้นานไม่ดี สภาพจิตมันชอบของใหม่ ๆ ก็ต้องคอยหาของใหม่ป้อนมันไปเรื่อย ๆ” (ลูกสาวท่านก็บอกว่าหาไม่พบ)

๒. หลวงพ่อท่านก็ว่า “เอ็งอย่าโง่สิ กรรมฐาน ๔๐ มหาสติปัฏฐานสูตรมันไม่มีทางตัน ต้องฉลาดกว่าอารมณ์ของจิตสิ เอาของเก่านั่นแหละ ย้อนไปย้อนมา ทบทวนเข้าเป็นของใหม่ ประเดี๋ยวจิตมันก็จะเกิดความเพลิดเพลินไปเอง”

๓. “อย่าให้อารมณ์มันหลอก เราต้องหลอกอารมณ์ ขืนปล่อยให้มันเหนือเราอยู่เรื่อย ๆ ก็มีหวังเจ๊ง เอาใหม่ ตั้งต้นย้อนปลาย จากปลายย้อนหาต้น ทำให้มันเบา ๆ สนุก ๆ อย่ามีอารมณ์เครียด ถ้าคิดแล้วหนักก็เลิก หันมาจับอานาปาก่อน รู้ลมพอจิตสบาย ๆ ก็หันกลับมาคิดใหม่”
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 90 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 15-03-2010, 16:30
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

จากนั้นสมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตามาตรัสสอนต่อให้ว่า

๑. “เจ้ายังอ่อนการพิจารณาหาต้นเหตุของทุกข์ในอริยสัจ เพราะฉะนั้นจงหมั่นใช้ความเพียร เร่งหาสมุทัยในทุกข์อริยสัจให้พบ”

๒. “บ่อเกิดของอารมณ์ คือ ตัณหา จงพยายามหาต้นเหตุให้พบ แล้วจักละอารมณ์ตัณหาเหล่านั้นได้ที่ต้นเหตุนั้น

๓. “จำไว้ เพราะพวกเจ้าศึกษาวิชาครู จึงต้องผ่านขั้นตอนโดยละเอียด ไม่มีโอกาสได้เรียนลัดเช่นบุคคลอื่น จงตั้งใจทำกันให้ดี ๆ เหนื่อยยากเท่าไหร่ ก็ขอให้อดทน ถือว่าชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ที่พวกเจ้าจักต้องเร่งความเพียร สั่งสมบารมี เพื่อเข้าถึงพระนิพพานให้จงได้”

๔. “อย่าท้อถอย เพราะหนทางเหล่านี้ พวกเจ้าเลือกเอาไว้เองทั้งสิ้น มีพระสงเคราะห์มากมายถึงขนาดนี้แล้ว จักท้อถอยเพื่อประโยชน์อันใด จงหมั่นอดทนฟันฝ่าอุปสรรค ให้เต็มความตั้งใจ เพื่อทำจริง ตามหลักธรรมปฏิบัติเพื่อพระนิพพาน”

๕. “พยายามรักษากำลังใจให้เต็มเข้าไว้ ควบกับการรู้ลมหายใจเข้า-ออก ควบกับมรณานุสติอยู่เสมอ ๆ จิตจักได้มีกำลังใจ”

๖. “ก่อนคิดพิจารณาอันใด ก็จงระลึกนึกถึงความตาย เตือนจิตตนเองไว้เสมอ ๆ ถ้าหากละจากความดี ขณะจิตข้างหน้านี้หรือขณะจิตนี้ ลมหายใจอาจจักพลาดจากร่างกายนี้ไป เตือนจิตตนเองไว้เยี่ยงนี้ และตรวจสอบจิตว่า คิดหรือทำอันใดอยู่ในขณะนี้เป็นการไม่ประมาท และอัตนาโจทยัตตานังไปด้วย”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 15-03-2010 เมื่อ 20:44
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 67 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 16-03-2010, 10:54
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ในวันต่อมาก็ทรงพระเมตตาตรัสสอนต่อให้ ดังนี้

๑. “เบื่อก็ให้รู้ว่าเบื่อ แต่อย่าให้จิตฟุ้งซ่าน เลื่อนลอย จนลืมจุดหมายปลายทางว่าที่สุดของความต้องการ คือ พระนิพพาน”

๒. “พิจารณาให้เห็นทุกข์และโทษของร่างกาย มีความเบื่อหน่าย แล้วก็จงยอมรับความทุกข์ และโทษของร่างกายนี้ว่าเป็นธรรมดา ตราบใดที่เจ้ายังทรงขันธ์ ๕ อยู่ พยายามลงตัวธรรมดาให้จงได้ วางจิตให้ยอมรับกฎธรรมดาของขันธ์ ๕ นั้น จิตเจ้าจักได้คลายความเกาะติดขันธ์ ๕ ลงได้ในที่สุด”

๓. “ค่อย ๆ วางอารมณ์ อย่าเคร่งเครียดจนเกินไป จิตจักมีความกลัดกลุ้ม เบียดเบียนตนเอง ก็เป็นความไม่ถูกต้อง หมั่นรู้ลมให้มากในระยะนี้ อารมณ์ของจิตจักไม่ซ่านจนเกินไป”

๔. “แล้วจงหมั่นวางอารมณ์กระทบจากภายนอกลงด้วย อย่าหุนหันพลันแล่นด้วยอารมณ์ฉุนเฉียว ทำจิตให้ขุ่นข้อง ปฎิฆะเกิดขึ้นได้ง่าย จักพูดสิ่งใดขอให้ใคร่ครวญให้ดี ๆ”

๕. (ก็ยอมรับว่าเวลามีอารมณ์ฉุนเฉียว ทำให้กล่าววาจาไม่ดี) ทรงตรัสว่า “มันเป็นผลเสียทั้งคำพูดและจิตใจของเจ้าเอง และผู้ถูกกระทบด้วย”
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 49 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 16-03-2010, 10:54
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ธรรมที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ (เล่ม ๔)
รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 42 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 16-03-2010, 16:03
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

มีข่าวมาแจ้งเพิ่มเติม ตามข้อมูลด้านล่างนะคะ....

"ลุงขออนุญาตเจ้าของกระทู้ (ลักยิ้ม) ฝากประชาสัมพันธ์
เว็บไซต์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น
ที่รวบรวมโดย อาหมอ (พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน)
ท่านได้อนุญาตให้เผยแพร่ในรูปแบบเว็บไซต์แล้ว
ตอนนี้ได้ทำเสร็จไปแล้วคือ เล่ม ๑, ๒, ๓, ๔, และ ๖
ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
www.tangnipparn.com
(ทางนิพพาน.คอม) ส่วนเล่มอื่น ๆ กำลังทยอย "อัพเดท" จน
ครบทุกเล่มรวมทั้งเล่มใหม่ ๆ ที่อาหมอจะออกตามมาอีก
ฝากทุกท่าน ช่วยประชาสัมพันธ์ต่อ ๆ กันเพื่อธรรมทาน
ขอบคุณมาก...ลุง..pojzy"

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 16-03-2010 เมื่อ 16:06
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 44 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 11:03



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว