กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > กระทู้ธรรม > ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 23-06-2011, 11:19
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default กลัวทุกชนิดล้วนเป็นสักกายทิฏฺฐิทั้งสิ้น

กลัวทุกชนิดล้วนเป็นสักกายทิฏฺฐิทั้งสิ้น

สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญดังนี้

๑. “ขึ้นชื่อว่ากลัว เช่น กลัวอด ก็คือกลัวตาย กลัวเจ็บ ก็คือกลัวตาย กลัวหนาว กลัวร้อน ก็คือกลัวตาย

๒. “ความกลัวทุกสิ่งทุกอย่างก็ลงที่สักกายทิฏฐิตัวเดียว ในเวลาหิว ในเวลาป่วย ในเวลาหนาว ในเวลาร้อน อะไรมันหิว มันป่วย มันร้อน มันหนาว เป็นเรื่องของกายทั้งสิ้น ไม่ใช่เรื่องของจิต(กายกับเวทนาเป็นเรื่องทุกข์ของกาย หาใช่เรา หาใช่ของเราไม่)

๓. “ต้นเหตุเพราะจิตของเจ้าไปติดในกาย เกาะความรู้สึกว่ากายนี้มีในเรา เรามีในกาย เมื่อกายเป็นอะไรก็ทนไม่ไหว จิตเกาะทุกข์จนลืมกำหนดรู้ว่า กายนี้ไม่ใช่เรา เราไม่มีในกาย แล้วพิจารณาโดยอริยสัจ รู้เห็นตามความเป็นจริงของร่างกาย”

๔. “การมีขันธ์ ๕ ทรงอยู่นั้นเป็นทุกข์ เพราะเราฝืนบังคับมันไม่ได้ดังใจนึก ถ้าจะเปรียบเป็นการเจริญกรรมฐาน การยืนนาน เดินนาน นั่งนาน นอนนาน ก็เป็นอัตตกิลมถานุโยค มันทำให้เกิดทุกข์เกิดโทษมากกว่าเป็นคุณ” (ล้วนเป็นอารมณ์หลงหรือโมหะทั้งสิ้น)

๕. "การล่วงรู้อิริยาบถบรรพในมหาสติปัฏฐานสูตร ก็เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับจุดนี้ การมีสติกำหนดรู้อิริยาบถบรรพ เพื่อจักได้รู้หลักมัชฌิมาปฏิปทาของร่างกายที่เคลื่อนไหวไปในทุก ๆ สถาน ทุก ๆ เวลา รู้ความเหมาะสม ความพอดีของอิริยาบถของร่างกาย มีความยืน เดิน นั่ง นอน อย่างไม่เบียดเบียน ไม่เป็นอัตตกิลมถานุโยค ไม่เป็นที่เบียดเบียนตนเอง และไม่เป็นที่เบียดเบียนผู้อื่น ตัวอย่าง บางคนนั่งนานอัมพาตกิน นี่เบียดเบียนตนเอง และทำให้คนข้างเคียงหรือคนใกล้กันจักต้องมาคอยปฐมพยาบาล นี่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น อย่างนี้ก็ไม่เป็นการสมควรเพราะเกินพอดีไป"(ก็สงสัยว่า หลวงพ่อทรมานสังขารไปนั่งรับแขกนาน ๆ ที่ซอยสายลม เป็นอัตตกิลมถานุโยคหรือเปล่า)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 67 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 24-06-2011, 10:44
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

(ก็สงสัยว่า หลวงพ่อทรมานสังขารไปนั่งรับแขกนาน ๆ ที่ซอยสายลม เป็นอัตตกิลมถานุโยคหรือเปล่า)

สมเด็จพุทธกัสสป ทรงตรัสว่า

๑. “ไม่เป็น เพราะพระอรหันต์ผู้จบกิจแล้ว มีจิตเหนือกาย มีจิตแยกกาย เวทนา จิต ธรรมออกแล้วได้อย่างชัดเจนตลอดเวลา

๒. “ท่านมีสติกำหนดรู้ว่าทุกข์ของร่างกาย และร่างกายไม่มีในท่าน ท่านไม่มีในร่างกาย

๓. “การทรงชีวิตอยู่ของขันธ์ ๕ ก็เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์อันใหญ่หลวงแก่บรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย มีความปรารถนาสูงสุดที่จักดึงสานุศิษย์ทั้งหลาย ให้มีจิตรักผูกพันอยู่ในพระกรรมฐาน เพื่อจักนำอารมณ์ให้ทุกคนได้เข้าถึงพระนิพพานอย่างเช่นท่าน”

สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสว่า

๑. “ผู้จบกิจแล้วทุกท่านต่างมีความรู้สึกเหมือน ๆ กันว่า ร่างกายนี้ไม่มีความหมาย กิจที่จักทำเพื่อร่างกายนั้นหมดสิ้นแล้ว นอกจากเลี้ยงดูให้ใช้ได้ กินตามปกติ

๒. “นอกจากนั้นก็เป็นการอยู่เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาสงเคราะห์บุคคลอื่นให้ได้ข้ามพ้นวัฏสงสาร

๓. “พวกเจ้าจงหมั่นศึกษาอิริยาบถบรรพกันให้ดี ๆ”


ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๘
รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-06-2011 เมื่อ 10:46
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 45 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 03:49



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว