กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ในวาระสำคัญต่าง ๆ

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 29-09-2017, 19:20
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,019 ครั้ง ใน 33,958 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศนาวันมาฆบูชา วันเสาร์ที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐

เทศนาวันมาฆบูชา
( วันเสาร์ที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ )

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ติฯ

ณ บัดนี้ อาตมภาพรับหน้าที่วิสัชนาในโอวาทปาฏิโมกข์กถา เพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญา เพิ่มพูนบารมี เสริมสร้างกุศลบุญราศี แก่บรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย ที่พร้อมใจกันมาบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันมาฆบูชา ณ วัดท่าขนุนแห่งนี้

ญาติโยมทั้งหลาย วันมาฆบูชานั้น จัดเป็นวันสำคัญยิ่งวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา แต่เนื่องจากว่าได้ปล่อยปละละเลยมานาน จนกระทั่งถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นี้ พระองค์ท่านทรงพินิจพิจารณาแล้วเห็นว่า วันมาฆบูชานั้นประกอบไปด้วยองค์สำคัญ ๔ ประการ ที่เรียกว่า “จาตุรงคสันนิบาต” คือถึงพร้อมด้วยความสำคัญดังต่อไปนี้

ประการที่หนึ่ง เป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งเป็นพุทธประเพณีหลักการปฏิบัติ ไม่ว่าองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถจะเป็นพระองค์ใด เกิดในยุคใดสมัยใดก็ตาม เมื่อตั้งพระพุทธศาสนาขึ้นมาแล้ว จะช้าจะเร็วก็ต้องมีการประชุมสงฆ์ เพื่อที่จะแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งก็คืออุดมการณ์ หลักการ และวิธีการปฏิบัติในบวรพุทธศาสนา เพื่อให้พระสงฆ์ทั้งหลายได้นำเอาสิ่งเหล่านั้น ไปสั่งสอนแก่ประชาชนให้เป็นทางเดียวกัน ไม่ลักลั่นกัน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 28-02-2018 เมื่อ 23:23
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 60 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 29-09-2017, 19:21
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,019 ครั้ง ใน 33,958 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

องค์สมเด็จพระภควันต์ในอดีตบางพระองค์ มีการแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ๒ ครั้งบ้าง ๓ ครั้งบ้าง อย่างน้อยที่สุดก็ ๑ ครั้ง เหตุที่ต้องมีการแสดงถึง ๒ ครั้ง หรือ ๓ ครั้ง ก็เพราะว่าอายุพระศาสนาของพระองค์ท่านนั้น บางทียาวนานถึง ๓๐,๐๐๐ กัป เป็นต้น

เมื่อมีพระภิกษุใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาเรื่อย ๆ หลักการต่าง ๆ ได้ลืมเลือนหายไป การสั่งสอนจะเริ่มไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน พระองค์ท่านจึงต้องจัดประชุมสงฆ์ เพื่อแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ให้หลักการ วิธีการต่าง ๆ เป็นไปในแนวเดียวกันอีก เมื่อถึงเวลาอายุกาลผ่านไปเป็นระยะเวลาเนิ่นนาน เริ่มมีการลืมเลือนกัน พระองค์ท่านก็จะมีการแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ขึ้นใหม่ เพราะเหตุนี้ในศาสนาของสมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด ที่มีอายุการประกาศพระศาสนานานมาก ๆ พระองค์ท่านจึงต้องแสดงโอวาทปาฏิโมกข์หลายครั้ง

สำหรับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรานั้น พระองค์ท่านแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ล่วงระยะเวลาเข้าสู่พรรษาที่ ๒ ของพระองค์ เพื่อประกาศให้พระสงฆ์ทั้งหลายที่มาประชุมพร้อมกัน ณ ที่นั้น ได้รับรู้ถึงอุดมการณ์ หลักการ ตลอดจนกระทั่งวิธีการ ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การที่องค์สมเด็จพระภควันต์ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์นี้ จัดเป็นเหตุการณ์สำคัญประการที่หนึ่ง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 63 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 01-10-2017, 19:53
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,019 ครั้ง ใน 33,958 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ประการที่สอง พระสงฆ์ทั้งหมด ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่อัศจรรย์มาก เพราะว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ทรงเริ่มประกาศพระพุทธศาสนาครั้งแรกในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หลังจากที่โปรดปัญจวัคคีย์ฤๅษีทั้ง ๕ แล้ว พระองค์ท่านก็จำพรรษาอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันพร้อมกับปัญจวัคคีย์เหล่านั้น

เมื่อออกพรรษาก็ได้แยกย้ายกันออกไปประกาศพระพุทธศาสนา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงธรรมโปรดแก่ภัททวัคคีย์ ๓๐ รูป โปรดพระยสกุลบุตรพร้อมกับสหาย ๕๕ รูป ตลอดจนกระทั่งชฎิลทั้ง ๓ พี่น้อง เมื่อวันมาฆบูชามาถึง พระองค์ท่านเสด็จอยู่ ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร พระภิกษุทั้งหลายที่ส่งออกไปประกาศพระพุทธศาสนา ก็ได้มาประชุมพร้อมเพรียงกัน ๑,๒๕๐ รูป โดยมิได้นัดหมาย จัดว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญอีกประการหนึ่ง

ประการที่สาม พระภิกษุทั้ง ๑,๒๕๐ รูป ล้วนแล้วแต่เป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ที่องค์สมเด็จพระภควันต์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงให้การบวชด้วยพระองค์เอง ที่เรียกว่าวิธีการบวชแบบ “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” เป็นการรวมสิ่งสำคัญในอย่างที่สาม ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมเพรียงกันในวันนั้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 57 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 01-10-2017, 20:00
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,019 ครั้ง ใน 33,958 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ประการสุดท้าย เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงของเดือนสาม ที่เรียกว่า “มาฆฤกษ์” ก็คือ พระจันทร์เสวยวันเพ็ญในเดือนมาฆะ ซึ่งเป็นการนับเดือนตามแบบของทางอินเดียโบราณ

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพิจารณาแล้วเห็นว่า การเกิดจาตุรงคสันนิบาต คือ การถึงพร้อมด้วยองค์สำคัญ ๔ ประการที่สำคัญอย่างยิ่งเช่นนี้ ไม่เคยมีเกิดขึ้นในพระพุทธศาสนามาก่อน นอกจากในวันมาฆบูชานี้เท่านั้น พระองค์ท่านจึงโปรดให้รื้อฟื้นการทำบุญเนื่องในวันมาฆบูชาขึ้นมาเสียใหม่ แล้วได้รับความนิยมต่อเนื่องยาวนานมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน จัดว่าเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา ซึ่งถัดไปก็จะเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ คือ วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ลำดับต่อไปคือ วันอัฐมีบูชา ซึ่งเป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระหลังจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๗ วัน ก็แปลว่าเป็นวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ หลังจากวันวิสาขบูชาไปแล้ว
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 28-02-2018 เมื่อ 23:23
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 61 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 28-02-2018, 21:35
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,019 ครั้ง ใน 33,958 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

วันสำคัญอีกวันหนึ่งคือ วันอาสาฬหบูชา เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ซึ่งเป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา แล้วหนึ่งในปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ นั้น คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ รู้ทั่วถึงธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ ได้ทำการบวชเป็นพระสงฆ์รูปแรกของโลก ทำให้ปรากฏพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ขึ้นโดยสมบูรณ์บริบูรณ์ในวันอาสาฬหบูชานั้น

ดังนั้น ถ้าจะนับแล้ววันสำคัญในบวรพุทธศาสนาของเรามีอยู่ ๔ วันด้วยกัน คือ วันมาฆบูชา ๑ วันวิสาขบูชา ๑ วันอัฐมีบูชา ๑ และวันอาสาฬหบูชา ๑

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงถึงหลักการสำคัญในพระพุทธศาสนา เพื่อให้พระภิกษุสามเณรได้ทราบว่า หลักการสำคัญในพระพุทธศาสนานั้น คือ

สพฺพปาปสฺส อกรณํ ให้ละเว้นจากความชั่วทั้งปวง คือ เว้นจากการทำชั่วด้วยกาย ที่เรียกว่า กายทุจริต มีการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม ดื่มสุราเมรัย เป็นต้น

ให้ละเว้นจากการทำชั่วด้วยวาจา ที่เรียกว่า วจีทุจริต ก็คือ ปิสุณาวาจา การกล่าวส่อเสียด, ผรุสวาจา การกล่าวคำหยาบ, สัมผัปปลาปะวาจา การกล่าวเพ้อเจ้อไร้ประโยชน์ และมุสาวาจา คือ การโกหกมดเท็จ

อีกประการหนึ่งก็คือ ให้เว้นจากความทุจริตทางใจ ที่เรียกว่า มโนทุจริต ได้แก่ การไม่คิดโลภอยากได้จนเกินพอดี จนถึงขนาดทำผิดศีลผิดธรรม ไม่คิดโกรธเกลียดอาฆาตพยาบาทผู้อื่น มีความเห็นถูกว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนแต่หลักธรรมที่ดีงาม ควรค่าแก่การปฏิบัติตาม เหล่านี้เป็นต้น

ถ้าหากว่าเราละเว้นจากความชั่วทางกาย ทางวาจา ทางใจ นี้ได้ครบถ้วนสมบูรณ์ ก็ได้ชื่อว่าท่านทั้งหลายเป็นผู้ที่ประพฤติถึงพร้อมด้วยการเว้นจากบาปทั้งปวง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 01-03-2018 เมื่อ 05:06
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 54 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #6  
เก่า 28-02-2018, 21:52
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,019 ครั้ง ใน 33,958 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

หลักการที่สองก็คือ กุสลสฺสูปสมฺปทา แปลว่า จงปฏิบัติความดีให้ถึงพร้อม ซึ่งก็คือตรงกันข้ามกับความชั่วที่ได้กล่าวมา ได้แก่ การปฏิบัติใน กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต

กายสุจริต ก็คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม เว้นจากการดื่มสุราเมรัย ถ้าหากเรางดเว้นสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้ แปลว่า เราเป็นผู้มีกายสุจริต คือประพฤติดีพร้อมทางกาย

ถ้าหากเว้นจากการพูดโกหก เว้นจากการพูดส่อเสียด เว้นจากการพูดคำหยาบ เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อไร้ประโยชน์ ก็แปลว่าเราเป็นผู้ปฏิบัติดีถึงพร้อมทางวาจา เรียกว่ามีวจีสุจริต

ถ้าหากว่าเราไม่คิดโลภมาก อยากได้ของคนอื่นจนผิดศีลผิดธรรม ไม่คิดโกรธเกลียดอาฆาตพยาบาทผู้อื่น มีความเห็นถูกตามคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็แปลว่า เราเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติถึงพร้อมในด้านมโนสุจริต ก็คือถึงพร้อมด้วยความดีทางใจ

ในเมื่อหลักการของเราที่กล่าวว่า ให้งดเว้นจากการกระทำความชั่วทั้งปวง ให้ปฏิบัติความดีให้ถึงพร้อม ก็ยังไม่สามารถที่จะล่วงพ้นจากกองทุกข์ได้ ตามที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงบรรลุมาแล้ว พระองค์จึงได้ตรัสถึงหลักการสุดท้ายว่า สจิตฺตปริโยทปนํ แปลว่า จงชำระจิตของตนให้ผ่องใสบริสุทธิ์โดยสิ้นเชิง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 01-03-2018 เมื่อ 05:08
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 56 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #7  
เก่า 02-03-2018, 18:44
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,019 ครั้ง ใน 33,958 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

การที่เราจะชำระใจของเราให้ผ่องใสบริสุทธิ์โดยสิ้นเชิง แปลว่า เราต้องชำระสะสางกิเลสใหญ่ คือ ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ ให้หมดสิ้นไปจากใจของเรา ในเรื่องของ ราคะ โลภะ โทสะ พระองค์ท่านตรัสว่า สามารถระงับเอาไว้ได้ด้วยศีล เพราะว่าศีลทำให้เราไม่เป็นคนโหดร้าย มือไว ใจเร็ว พูดปด หมดสติ บุคคลที่ศีลถึงพร้อมนั้น จะต้องมีสติสมบูรณ์บริบูรณ์ บุคคลที่มีสติสมบูรณ์บริบูรณ์จึงจะระมัดระวังรักษาศีลได้ครบถ้วนทุกสิกขาบท

เมื่อท่านทั้งหลายตั้งใจระมัดระวังรักษาศีลได้ครบถ้วนทุกสิกขาบท จิตใจจดจ่ออยู่กับศีล เรื่องของราคะ โลภะ โทสะ ก็ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ หรือว่าถ้าเกิดขึ้นมาก็จะมีศีลเป็นกรอบบังคับไว้ไม่ให้เราล่วงศีล อย่างเช่นว่าในเรื่องของราคะเกิดขึ้น ถ้าหากว่าเป็นศีลห้า เราก็จะไม่ล่วงประเวณี คือผิดลูกผิดเมียคนอื่น ถ้าหากว่าศีลแปด ก็ไม่แตะต้องเพศตรงข้ามเสียเลย

ในเรื่องของโทสะนั้น ถ้าเกิดขึ้นเราก็มีศีลคอยบังคับอยู่ ไม่ให้เราฆ่าใคร ไม่ให้เราทำร้ายใคร เป็นต้น ในส่วนของโมหะนั้น พระองค์ท่านมีสมาธิและปัญญาในการกำจัดโมหะให้แก่พวกเรา

ในเมื่อเรามีศีลเป็นพื้นฐานแล้ว การที่เราตั้งสติระมัดระวังอยู่ไม่ให้ศีลบกพร่อง เป็นการสร้างสมาธิให้เกิดขึ้นแก่เรา หลังจากนั้นเรายังมีการเพิ่มเติมสมาธิด้วยการที่มาปฏิบัติในอานาปานสติ ก็คือตามดูตามรู้ลมหายใจเข้าออกของเรา เพื่อทำให้กำลังใจของเราตั้งมั่นอยู่กับปัจจุบันธรรมเฉพาะหน้า ไม่ไปในอดีต และไม่ไปในอนาคต ก็จะทำให้สภาพจิตของเรานั้นผ่องใส เพราะว่ากิเลสไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้ ในเมื่อกิเลสใหม่เกิดขึ้นไม่ได้ กิเลสเก่าได้รับการขัดเกลาเบาบางลงไปเรื่อย ๆ ท้ายที่สุดสภาพจิตของเราก็จะผ่องใสมากขึ้น ๆ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-03-2018 เมื่อ 20:27
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #8  
เก่า 02-03-2018, 18:46
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,019 ครั้ง ใน 33,958 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้าท่านทั้งหลายใช้ปัญญาเพิ่มเติมเข้าไป มองเห็นว่าการเกิดการมีร่างกายนี้ ไม่ว่าจะเป็นตัวเราก็ดี ตัวเขาก็ดี สรรพสัตว์ทั้งหลายก็ดี ล้วนแต่เกิดมาอยู่ในกองทุกข์ ขึ้นชื่อว่าเกิดมามีแต่ความทุกข์เช่นนี้ เราไม่พึงปรารถนาอีกแล้ว

ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายเข้าถึงความเบื่อหน่ายอย่างแท้จริง สภาพจิตใจก็จะปลดวางจากการยึดถือในร่างกายตัวเองและผู้อื่น เราก็สามารถที่จะล่วงพ้นจากกองทุกข์ เข้าสู่พระนิพพาน บุคคลที่สามารถปลดวางภาระทั้งหลายทั้งปวงลงได้นั้น คือบุคคลที่ชำระจิตใจของตนจนผ่องใส ครบถ้วน สมบูรณ์บริบูรณ์นั่นเอง

ดังนั้น..หลักการในพระพุทธศาสนาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า ให้ละเว้นจากความชั่วทั้งปวง ให้กระทำความดีให้ถึงพร้อม และชำระจิตใจของตนให้ผ่องใสจากกิเลส ญาติโยมทั้งหลายสามารถนำเอาไปใช้งานได้ แต่ถ้าท่านทั้งหลายปัญญายังไม่ถึง พระองค์ท่านก็ประทานวิธีการที่ละเอียดขึ้นไปอีกว่า ทำอย่างไรที่เราจะประพฤติปฏิบัติตามหลักการทั้งสามข้อนี้ได้

พระองค์ท่านตรัสเอาไว้ว่า “อนูปวาโท” เราทั้งหลายเมื่อมาปฏิบัติธรรมแล้วต้องไม่เป็นผู้ว่าร้ายใคร ไม่ว่าจะเป็นการนินทาต่อหน้าหรือลับหลังก็ตาม พูดง่าย ๆ ว่า ชมคนอื่น แต่อย่าด่าว่าคนอื่น อย่ากล่าวร้ายคนอื่น เป็นต้น นี่เป็นวิธีการข้อที่หนึ่ง

ข้อที่สอง “อนูปฆาโต” พระองค์ท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อเรามาเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติในหลักธรรมแล้ว ต้องไม่ฆ่าใคร ต้องไม่ทำร้ายใคร สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เราต้องพยายามงดเว้น เพราะหลักการในศีลก็มีอยู่แล้ว
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-03-2018 เมื่อ 20:28
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #9  
เก่า 02-03-2018, 18:48
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,019 ครั้ง ใน 33,958 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ข้อต่อไป คือ “ปาฏิโมกเข จะ สังวะโร” คือให้สำรวมในศีลตามสภาพของตน คือ ฆราวาสปุถุชนทั่วไปพยายามรักษาศีล ๕ อุบาสกอุบาสิกาพยายามรักษาศีลอุโบสถหรือศีล ๘ สามเณรรักษาศีล ๑๐ พระภิกษุสงฆ์รักษาศีล ๒๒๗ เป็นต้น พยายามชำระสะสางศีลของตนให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ไม่ละเมิดศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นละเมิดศีล และไม่ยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นละเมิดศีล เป็นต้น ถ้าสามารถทำเช่นนี้ได้ ก็ถือว่าเราปฏิบัติในวิธีการข้อที่สามขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ครบถ้วนสมบูรณ์

ข้อที่ ๔ พระองค์ท่านตรัสว่า “มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสมิง” ก็คือ รู้จักประมาณในการบริโภค ในเรื่องของข้าวปลาอาหารนั้น ถ้ากินล้น กินเกินมากเกินไป ก็ทำให้เราอึดอัด ง่วงเหงาหาวนอน ไม่สามารถที่จะปฏิบัติธรรมได้เต็มที่ ถ้าหากว่าอ้วนมากจนเกินไป ร่างกายเคลื่อนไหวได้ลำบาก การปฏิบัติธรรมก็เป็นไปโดยยาก

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้สอนให้พระภิกษุสามเณร ตลอดจนกระทั่งอุบาสกอุบาสิกาที่ตั้งใจรักษาอุโบสถศีล ให้รับประทานอาหารแค่ไม่เกินเที่ยงวัน ก็คือประมาณสองมื้อ แต่สำหรับบางท่านที่เคร่งครัดมาก ก็รับประทานเพียงมื้อเดียวเท่านั้น ซึ่งระยะหลังนี้บรรดานักวิทยาศาสตร์ ตลอดจนกระทั่งวงการแพทย์ประเทศต่าง ๆ ในโลกตะวันตก ที่มีความเจริญมากกว่าประเทศเราก็ดี ได้ทำการวิจัยแล้วว่าร่างกายที่ขาดสารอาหารบ้าง ไม่ถึงขนาดกินล้นกินเกินจนเกินไป จะทำให้มีโรคน้อย และในขณะเดียวกันก็จะมีอายุขัยยืนยาวอีกด้วย
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-03-2018 เมื่อ 20:29
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #10  
เก่า 04-03-2018, 08:57
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,019 ครั้ง ใน 33,958 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

องค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประทานวิธีการนี้ให้เรามา ๒,๕๐๐ กว่าปีแล้ว จึงขอให้ทุกท่านระมัดระวังเรื่องของอาหารการกิน โดยเฉพาะในส่วนของน้ำหวานต่าง ๆ ที่เรากินหลังเที่ยงไปแล้ว

สำหรับท่านที่รักษาศีลแปดหรือศีลอุโบสถ ตลอดจนท่านที่ไม่ได้รักษาแต่ว่ากินเพราะติดรสหวานนั้น ความหวานสามารถก่อโรคต่าง ๆ ให้เราได้มากต่อมากด้วยกัน โรคที่เห็นชัดที่สุดคือ โรคเบาหวาน ซึ่งทำให้เราเดือดร้อนลำบากด้วยประการต่าง ๆ ต้องรักษาเสียค่าหมอค่ายาไปปีละไม่รู้เท่าไรต่อเท่าไร และถ้าหากว่าอาการกำเริบขึ้นมา ก็อาจจะถึงขนาดต้องตัดมือตัดเท้า หรือไม่ก็ตาบอดไม่สามารถที่จะมองเห็นได้อีก

ดังนั้น การรู้จักประมาณในการกินของเราท่านทั้งหลายนั้น อาตมาเห็นสมควรที่สุดระมัดระวังในเรื่องกินอาหารหวานให้มากเข้าไว้ ถ้าหากเราระมัดระวัง นอกจากไม่เสียเงินเสียทองมากแล้ว ตัวเราเองยังไม่เจ็บไข้ได้ป่วยด้วยโรคที่รักษาได้ยากด้วย ถ้าท่านทั้งหลายสามารถกระทำตามนี้ได้ ก็แปลว่าท่านปฏิบัติตามวิธีการข้อที่สี่ขององค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์บริบูรณ์

ข้อต่อไป พระองค์ท่านตรัสเอาไว้ว่า “ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง” แปลว่า ให้นอนให้นั่งในที่อันสงัด ก็คือ ให้หลีกหนีออกจากหมู่เข้าไปสู่ที่อันสงบสงัด ซึ่งสามารถทำให้จิตใจสงบระงับ ไม่ส่งส่ายวุ่นวายด้วยการคบหาสมาคมกับคนอื่น สามารถรักษาสภาพจิตของเราให้สงัดจากกิเลสได้โดยง่าย

ข้อต่อไปพระองค์ท่านตรัสว่า “อะธิจิตเต จะ อาโยโค” ก็คือการหมั่นประกอบการทำสมาธิ ให้สภาพจิตของเราสามารถทรงสมาธิได้คล่องตัวในส่วนของอัปปนาสมาธิ ที่มีกำลังในการกดกิเลสและตัดละกิเลสต่าง ๆ ได้ ให้มีความชำนาญในการเข้าสมาธิ มีความชำนาญในการออกสมาธิ มีความชำนาญในการเข้าสมาธิ สลับกันไปสลับกันมา ในระดับสูงและต่ำ มีความชำนาญในการที่จะกำหนดเวลาว่า เราจะเข้าสมาธิยาวนานแค่ไหน เป็นต้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-03-2018 เมื่อ 20:00
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 28 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #11  
เก่า 04-03-2018, 08:59
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,019 ครั้ง ใน 33,958 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้าท่านทั้งหลายสามารถทำอย่างนี้ได้ เราก็จะมีกำลังที่ทรงตัว สามารถที่จะระงับ รัก โลภ โกรธ หลง ที่เกิดขึ้นกับเราได้อย่างรวดเร็ว ในเมื่อไฟไม่สามารถที่จะติดเป็นเชื้อขึ้นมาได้ นานไป ๆ เชื้อทั้งหลายเหล่านั้นเกิดขึ้นก็ไร้ประโยชน์ เพราะว่าไม่มีไฟมาต่อเติมให้ ท้ายที่สุดไฟเหล่านั้นก็ไม่สามารถที่จะติดขึ้นมาได้อีก เพราะว่าบุคคลที่สร้างเหตุก่อเชื้อทั้งหลายเหล่านั้นไม่สร้างเหตุเสียแล้ว เชื้อไฟมีอยู่ก็ไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิง เราทั้งหลายก็จะเข้าถึงความบริสุทธิ์ของใจ ก้าวล่วงจากกองทุกข์เข้าสู่พระนิพพานได้ ตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสสอนพวกเราไว้

สำหรับวันมาฆบูชานี้ ทางวัดท่าขนุนของเราจัดให้มีการฟังเทศน์ฟังธรรม มีการทำบุญใส่บาตร มีการฟังพระสงฆ์เจริญพุทธมนต์ หลังจากนี้ยังมีการอุปสมบทหมู่เพื่อปฏิบัติธรรมในช่วงสัปดาห์วันมาฆบูชา และมีการวางผางประทีป ๒๐,๐๐๐ ดวง เพื่อจุดถวายเป็นพุทธบูชา มีการเวียนเทียนถวายเป็นพุทธบูชา ตลอดจนกระทั่งการปิดทองพระพุทธรูป และปิดทองรูปหล่อหลวงปู่พุก หลวงปู่สายที่เป็นครูบาอาจารย์ เป็นต้น

สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ล้วนเป็นบุญเป็นกุศลที่พวกเราสะสมเอาไว้ ซึ่งจะช่วยให้กำลังใจหรือกำลังบารมีของเราเข้มแข็งขึ้นไปเรื่อย ๆ ท้ายที่สุดเราก็สามารถอาศัยกำลังบารมีทั้งหลายเหล่านี้ปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญา ตามที่องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประทานเอาไว้ให้ ทำให้เราทั้งหลายได้เข้าถึงที่สุดแห่งทุกข์ ล่วงพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงเข้าสู่พระนิพพาน

อาตมภาพรับหน้าที่วิสัชนามาก็พอสมควรแก่เวลา ท้ายสุดแห่งพระธรรมเทศนา อาตมภาพขอตั้งสัตยาธิษฐาน อ้างคุณพระศรีรัตนตรัย มีพระพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะเป็นประธาน มีบารมีของหลวงปู่สาย อคฺควํโส อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าขนุนนี้เป็นที่สุด ขอได้โปรดดลบันดาลให้ญาติโยมทั้งหลาย ประสบความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคล สมบูรณ์พูลผลไปด้วยจตุรพิธพรชัยทั้งสี่ประการ มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ ตลอดถึงธนสาร ธรรมสาร และคุณสารสมบัติอันเป็นที่พึงใจทั้งปวง

รับหน้าที่วิสัชนามาก็พอสมควรแก่เวลา จึงขอสมมติยุติพระธรรมเทศนาลง คงไว้แต่เพียงเท่านี้ เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้


พระครูวิลาศกาญจนธรรม
เทศน์วันมาฆบูชา ณ วัดท่าขนุน
วันเสาร์ที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐

(ถอดจากเสียงเป็นอักษรโดยหยาดฝน)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-03-2018 เมื่อ 20:02
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 01:15



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว