กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 20-07-2012, 13:09
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,149 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

ทุกคนนั่งในท่าที่สบายของตัว ตั้งกายให้ตรง กำหนดความรู้สึกทั้งหมดของเราอยู่ที่ลมหายใจ หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลเข้าไปพร้อมกับลมหายใจ หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลออกมาพร้อมกับลมหายใจ จะเอาแค่ปลายจมูกจุดเดียวเป็นจุดที่รู้สึก หรือว่าต้องการ ๓ ฐาน จมูก อก ท้อง หรือต้องการ ๗ ฐาน หรือต้องการรู้ลมตลอดสายก็ได้ เพียงแต่อย่าให้ความรู้สึกหลุดไปจากลมหายใจเข้าออก ถ้าหลุดไปเมื่อไรให้ดึงกลับมาที่ลมหายใจเข้าออกทันที

วันนี้เป็นวันอาทิตย์ ที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นการปฏิบัติธรรมวันสุดท้ายของเดือนนี้ สองวันที่แล้วมาได้กล่าวถึงความดีเบื้องต้นคือศีล ความดีเบื้องกลางคือสมาธิ สำหรับวันนี้ขอกล่าวถึงความดีเบื้องปลาย คือปัญญา

ในไตรสิกขาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวถึงปัญญาไว้ในเบื้องปลาย เป็นการกล่าวถึงตามหลักการปฏิบัติ ถ้าหากศีลของเรามั่นคงสมาธิจะทรงตัว ถ้าสมาธิทรงตัวปัญญาจึงจะเกิด เมื่อปัญญาเกิดก็จะไปคุมศีลให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ดังนี้

ดังนั้น..ปัญญาจึงมาทีหลัง แต่ถ้าในมรรค ๘ นั้น พระองค์ท่านขึ้นด้วยปัญญาก่อน ก็คือสัมมาทิฐิ ความเห็นที่ถูกต้อง อย่างเช่นการเห็นในอริยสัจ สัมมาสังกัปปะ ความดำริที่ถูกต้อง เช่น ดำริต้องการจะพ้นทุกข์ ดำริในการไม่พยาบาทเบียดเบียนผู้อื่น ดำริในการออกจากกาม เป็นต้น เมื่อเป็นดังนั้นเราจึงต้องมากล่าวถึงปัญญาในวันสุดท้าย เพราะเป็นการเรียงตามแบบของการปฏิบัติ

เมื่อทุกคนปฏิบัติในสมาธิจนทรงตัวแล้ว โดยธรรมชาติของสมาธิ เมื่อทรงตัวเต็มที่ก็จะคลายออกมาเองโดยอัตโนมัติ ตอนที่สมาธิคลายออกมา ถ้าเราไม่หาสิ่งที่เป็นคุณไว้ในการพิจารณาแล้ว กิเลสก็จะเอากำลังของสมาธินั้นไปฟุ้งซ่านอย่างเป็นหลักเป็นฐาน เป็นงานเป็นการ เพราะมีกำลังสมาธิหนุนเสริมอยู่

การที่เราจะพิจารณาเพื่อให้เกิดปัญญานั้น มีอยู่หลายแบบด้วยกัน แบบแรก ก็คือ พิจารณาตามแบบอริยสัจ ๔ อย่างเช่น กำหนดรู้ว่านี่คือทุกข์ นี่คือสาเหตุของการเกิดทุกข์ นี่คือการดับทุกข์ นี่คือหนทางเข้าไปสู่การดับทุกข์ เป็นต้น ต้องรู้เห็นให้ชัดเจน เมื่อรู้เห็นสาเหตุของการเกิดทุกข์ชัดเจน เราก็อย่าไปสร้างสาเหตุนั้น ความทุกข์ก็จะดับลงได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 20-07-2012 เมื่อ 13:44
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 65 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 21-07-2012, 08:33
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,149 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

หรือว่าเราจะพิจารณาตามแนวของไตรลักษณ์ คือลักษณะสามัญ ๓ อย่างที่คน สัตว์ วัตถุธาตุต่าง ๆ จะต้องประสบพบอยู่เสมอ ก็คือ

๑. อนิจจลักษณะ
มีความไม่เที่ยงเป็นปกติ เกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงแปรปรวนไปในท่ามกลาง สลายตัวไปในที่สุด

๒. ทุกขลักษณะ
มีความทุกข์เป็นปกติ ระหว่างที่ดำรงอยู่ก็ต้องทนต่อสภาพกระทบทั้งภายในภายนอกทุกประการ

๓. อนัตตลักษณะ
คือความที่ไม่สามารถยึดถือเป็นตัวเป็นตนได้ เพราะสภาพร่างกายของเราก็ดี ของคนอื่นก็ดี ของสัตว์อื่นก็ดี ประกอบขึ้นมาจากธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ให้อาศัยอยู่ตามบุญตามกรรมเพียงชั่วคราวเท่านั้น ถึงเวลาก็ต้องเสื่อมสลายตายพังไป

เมื่อเห็นชัดดังนี้ก็ไม่มีใครต้องการร่างกายที่เต็มไปด้วยความไม่เที่ยง เต็มไปด้วยความทุกข์ และไม่สามารถยึดถือเป็นตัวเป็นตนดังนี้ได้ ก็จะส่งกำลังใจไปสู่เส้นทางแห่งความหลุดพ้น คือพระนิพพาน

หรือว่าท่านทั้งหลายจะพิจารณาตามนัยของวิปัสสนาญาณ ๙ อย่าง เริ่มตั้งแต่อุทยัพพยญาณ คือ พิจารณาเห็นการเกิดดับ ทั้งของร่างกายตนเอง ของร่างกายคนอื่น ของร่างกายสัตว์อื่น เป็นต้น แม้กระทั่งลมหายใจเข้าออกของเราก็เกิดดับอยู่เป็นปกติ เริ่มต้นหายใจเข้าก็เกิดขึ้น ลมหายใจวิ่งผ่านกึ่งกลางอกไปก็ตั้งอยู่ เมื่อสุดลงที่ท้องก็ดับไป เป็นต้น หายใจออกจากท้องก็เกิดขึ้น ผ่านกึ่งกลางอกก็ตั้งอยู่ สุดที่ปลายจมูกก็ดับไป

จะพิจารณาเห็นการเกิดดับของทุกสิ่งทุกอย่าง แม้แต่อัตภาพร่างกายของเรา เมื่อเห็นว่าหาสาระแก่นสารที่แน่นอนไม่ได้ จิตใจก็จะเบื่อหน่าย ปลดถอนออกมาจากความต้องการยึดถือในร่างกายนี้ หันไปเกาะพระนิพพานแทน

หรือภังคานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความดับ คือเน้นความเด่นชัดในความดับสูญทุกอย่าง ว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นร่างกายของเราก็ดี ร่างกายคนอื่นก็ดี ร่างกายสัตว์อื่นก็ดี วัตถุธาตุสิ่งของต่าง ๆ ก็ดี ล้วนแล้วแต่ต้องเสื่อมสลายตายพังไปทั้งสิ้น ในเมื่อต้องก้าวเข้าไปหาความดับสลายผุพังอยู่เป็นปกติ สภาพจิตก็จะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หมดความต้องการยึดถือในร่างกายของเรา ในร่างกายคนอื่น ก็จะหันไปเกาะพระนิพพานแทน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 21-07-2012 เมื่อ 09:52
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 60 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 22-07-2012, 16:28
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,149 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ลำดับการปฏิบัติต่อ ๆ ไป ไม่ว่าจะเป็นภยตูปัฏฐานญาณ อาทีนวานุปัสสนาญาณ หรือ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณก็ดี นิพพิทาญาณก็ดี มุญจิตุกัมยตาญาณก็ดี ไปจนถึงสังขารุเปกขาญาณและสัจจานุโลมิกญาณ ก็อยู่นัยเดียวกัน ก็คือพิจารณาไปจนกระทั่งเห็นว่าร่างกายนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ ร่างกายคนอื่นหาสาระแก่นสารไม่ได้

ปัญญาที่ได้รับการส่งเสริมจากสมาธิจะชัดเจนและแหลมคมเป็นพิเศษ เห็นชัดเจนไปทุกส่วน ว่าร่างกายของเราเกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลาง สลายไปในที่สุด หาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ ดำรงอยู่ก็ประกอบไปด้วยความทุกข์ ไม่มีอะไรยึดถือเป็นตัวเป็นตนได้แม้แต่น้อยนิด จิตใจก็จะปลดวางจากร่างกาย ไม่ปรารถนาการเกิดมามีร่างกายนี้อีก ก็จะมุ่งเข้าสู่หนทางหลุดพ้นคือพระนิพพาน การใช้ปัญญาพิจารณาให้พิจารณาอย่างนี้

หรือว่าท่านใดชอบพิจารณายาว ๆ จะดูในเรื่องของขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ หรืออินทรีย์ ๒๒ ก็ได้ ทั้งหมดก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเช่นกัน ยึดถือมั่นหมายเมื่อไรก็ประกอบไปด้วยความทุกข์ ในเมื่อเป็นเช่นนั้นก็ไม่มีใครอยากได้ใคร่ดีในร่างกายนี้อีก ก็มุ่งสู่ทางหลุดพ้นคือพระนิพพาน

ท่านชอบใจตรงจุดไหน ส่วนไหน แบบไหน ให้พยายามนำมาคิดพิจารณาไว้บ่อย ๆ เพื่อที่จะได้ใช้กำลังสมาธิไปในทางที่ถูกต้อง หนุนเสริมในการที่จะห้ำหั่น ตัดละกิเลสต่าง ๆ ลง ถ้าหากว่าเราไม่นำสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มาให้คิด กิเลสก็จะชักจูงให้คิดไปในทางรัก โลภ โกรธ หลง และจะตีคืนได้ยาก เพราะกิเลสเอากำลังสมาธิไปคิด จึงมีความเข้มแข็งมากเป็นพิเศษ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-07-2012 เมื่อ 02:44
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 53 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 24-07-2012, 08:40
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,149 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ดังนั้น..ท่านทั้งหลายที่ทำสมาธิ เมื่อทรงตัวแล้วจะคลายจิต คลายสมาธิ ออกมาคิดพิจารณาเองก็ได้ หรือจะเฝ้ารอจนกระทั่งสมาธิทรงตัวถึงที่สุด แล้วค่อย ๆ คลายออกมา เราค่อยมาพิจารณาก็ได้

เมื่อเห็นชัดเจนแล้ว เป้าหมายสุดท้ายของเราคือ เราไม่ต้องการเกิดอีก ในเมื่อไม่ต้องการเกิดอีกก็เอาจิตสุดท้ายของเราเกาะที่พระนิพพานเอาไว้ ตั้งใจว่าถ้าเราตายลงไปเพราะหมดอายุขัย หรือว่าตายลงไปเพราะอุบัติเหตุอันตรายใด ๆ ก็ตาม เราขออยู่ที่พระนิพพานนี้แห่งเดียวเท่านั้น

ให้ทุกคนคิดพิจารณา แล้วประคับประคองรักษาอารมณ์ใจดังนี้เอาไว้ จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
วันอาทิตย์ที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕

(ถอดจากเสียงเป็นตัวอักษรโดยเถรีและรัตนาวุธ)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-07-2012 เมื่อ 18:29
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 51 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 21-12-2013, 15:09
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 260
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,194 ครั้ง ใน 1,278 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

สามารถรับชมได้ที่

http://www.sapanboon.com/vdo/demo.ph...ame=2555-07-01

ป.ล.
- สามารถชมบนไอโฟนและแอนดรอยด์ได้
- ห้ามคัดลอกไฟล์ไปเผยแพร่ที่อื่นเด็ดขาด !
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 13 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 18:24



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว