View Full Version : ญาณสัมปันนธัมมานุสรณ์
ลัก...ยิ้ม
10-04-2012, 10:15
ญาณสัมปันนธัมมานุสรณ์
https://public.blu.livefilestore.com/y1pPe52nXn6xZqACFrUrq1VAI_TWkk5iJ0Mskoa7j2gW9daaVYVIMEadbJZlMe6o2FdOzd7OW0fBXLKiTe9NAx5lQ/0002.jpg?psid=1
ใจ นั้นแลเป็นผู้จะก้าวทะยาน
ออกจากมหาสมมุติมหานิยมอันเป็นเครื่องดึงดูดจิต
สู่อวกาศนอกสมมุติคือ วิมุตติหลุดพ้น
๒๔ สิงหาคม ๒๕๒๕
หมายเหตุ.... ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปนะคะ (เป็นความเห็นส่วนตัว ท่านใดที่ประสงค์จะคัดลอกออกไป ต้นฉบับเขามีอยู่ กรุณาไปคัดลอกที่ต้นฉบับค่ะ)
ลัก...ยิ้ม
10-04-2012, 10:20
https://public.blu.livefilestore.com/y1pYGAau0WGmzoBux8xGfxhZo9JYBdSNYdMZ8SSUFdS17XuJoWil_uoGTWelnGOEanFU-E9tfzu492rR3e0FyWksg/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%882.jpg?psid=1
https://public.blu.livefilestore.com/y1pfPa7MLaVGPR0ePL4q5A1YdIDRKbOePKERYmQFHaDFZpKC3Mf2p5UKY5SuLu2hDAfk92omX_4Q3swSfs_S8vWUQ/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%881.jpg?psid=1
ภาพประกอบ โดยคุณอาสวะผู้ประสานงาน โดยคุณโอรสทศพล
พิมพ์ธรรมทาน โดยลัก...ยิ้ม
ลัก...ยิ้ม
10-04-2012, 10:52
https://public.blu.livefilestore.com/y1p2ICJzjSLCblfq9tUMbnsUHAc1FEX0PuHm_aq6WC-u3wwUWpDk93d2UR5V791fdDDPDFCqrv5Ah2w9DKamvt8Tg/%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2.jpg?psid=1
https://public.blu.livefilestore.com/y1pNgeRU75cG6ldt4DL9OUylhRpyo15SLIfFwer0XJzNPh8KSW67YH5-ubf8BIyTAW_Ky5V0iyb2BaL-6ML3A8dIQ/0009.jpg?psid=1
https://public.blu.livefilestore.com/y1p4UJVyWB8sYiiRQnicqPfoXmEatJoegXSXr5vxkw030QnBjMrMcwScMdRO-dRudT54SEuhasY5PBGdxrwrbtnSA/0008.jpg?psid=1
https://public.blu.livefilestore.com/y1pgqpCJa91fmyZGcTuU-7ezRiK3yu84AAWwIx3QNZEzIjAed2vgSd_TZHyOgt6HnYGFwRmmXWJ_oXHIx2Qwu_NFA/0010.jpg?psid=1
ลัก...ยิ้ม
10-04-2012, 13:53
https://public.blu.livefilestore.com/y1phWwTkqglG7H0AszoLsdKhd-f4H6a1Dne3s03W-LlHz5C278PrIdyOQ8i3x2Lh_9GuXT4_s9Agk2u7PnX22322w/%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B2.jpg?psid=1
https://public.blu.livefilestore.com/y1pQuS-ZzoEHFeCgGCpbNMLvizvM_x6O3S9yzu9RyiBaplJDT0S9Y5poVPfhetZ2cNCaqWeT8REME-2j-JeUL2VtQ/%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B22.jpg?psid=1
https://public.blu.livefilestore.com/y1pUr6TgNzAHX8WUjaaHDfNuIwp_FYN84zp8euuOkk75R5cWqzp3mTZXU5y3QcCxFrV9Tgue-u15FKKDqvJzmi0JQ/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B21.jpg?psid=1
https://public.blu.livefilestore.com/y1pd4CU8tiSROaCy_KcmQb2EqhHvnHEZr5DOZcpu9W8sFUcENCfn5_90B6UtUBicnuk6iLaSoSgq1Elry3jOTJVew/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B5.jpg?psid=1
ลัก...ยิ้ม
10-04-2012, 13:57
https://public.blu.livefilestore.com/y1puXlWLNaOKnPVvBvRY70uWW3DkaUd_vt8yA_wRnR6JwwYsvlh8tDjDupcyvziN2TrLxUe5n8nBtb-Qo4ZwFHzhQ/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B8.jpg?psid=1
https://public.blu.livefilestore.com/y1pk-hDsUbl_8s-L-vgK4zL-Ms51DB2vZlwBVDLceBt9vWhY8jSu7_e0V0yA2czVqUDFATA-z5yeH0xweZUV6c9eA/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B22.jpg?psid=1
https://public.blu.livefilestore.com/y1p2L8I_Guzo9ubeRq0GaMqwinS8d8K2gpfEORWc4w6o8L00Mzl8a0L7CzZQovz0UptSI8uVHJ459AqrR1MkgStyQ/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%AC%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C.jpg?psid=1
https://public.blu.livefilestore.com/y1p0S_LtqDh2p5JiMShe5YPIAqRa-sCr-spMrfb55Sc7n8y7NMIbG4noFRTSMpMQmJVAMeBly_OU5HT8Ihp1zflsQ/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%AC%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C.jpg?psid=1
ลัก...ยิ้ม
11-04-2012, 10:42
https://public.blu.livefilestore.com/y1pSi3yOKXzsVohZI84VJhN6uiv4L-hmdM5g_49EF7oFFjJfMJgXkqWvK2ue-pPxr0P1UERvsODrksrTKKGT_-JUQ/DSC_0464.jpg?psid=1
https://public.blu.livefilestore.com/y1p36zj0FLf6TODHwGziM1Ly2_flEnm3hbsLVwk75UTDHf5VRzUu7OW23ybVaF2QgRloL7hPzd2n08XaNnYFMdacQ/DSC_0374.jpg?psid=1
https://public.blu.livefilestore.com/y1p8IL1IM7UUVndrsmI6qTNPHKLhb0s0ZBdVjdj8PDBQsvjUDZ3wEHEtasWqVot8HFD59t9A5jFvJtVU60Cgsdmfg/DSC_0371.jpg?psid=1
https://public.blu.livefilestore.com/y1pxD2j8Wfm70W8TRNZBRXAxh9SuS_BRmxyAtm8tsMJetsR6NfeabbelhIpV4OpkFoi-1eoGC7yf-VtQVvKa6DGkg/DSC_0365.jpg?psid=1
https://public.blu.livefilestore.com/y1pavjL7x7TPoUld7TBXGszS_lw94ywRigVvw2d1pfZ0B34ftbjeHpFWQG2pdHeXPx1IQMt0pAaLEr64mwNGiT4Ug/DSC_0372.jpg?psid=1
https://public.blu.livefilestore.com/y1pUuVWmsrzTIpv5hzYW6cH1zOwMR2Yfkd3R01ROsx6iCyjtqAWwU-6TEiGUnryZxPKVrwW63QYXDZZO5ZKJmWNrw/DSC_0376.jpg?psid=1
https://public.blu.livefilestore.com/y1pFVlvsq53MGRPmaWIRzVYhtuCHz8dgJxXYp_0_zPYmkfa1QwjONs7NtkomH8f5FyGAB3rDbPy6JpAbJok1QOo2Q/DSC_0377.jpg?psid=1
ลัก...ยิ้ม
11-04-2012, 18:22
https://public.blu.livefilestore.com/y1p_m8Y7YIpbazmeD7tH7HDXJrqXMfXF7UUPyx_xe6ApwSgNlAs33QbJ98_z9-YebWrkmb5-8cd5b0B5QyNJU-yUw/Untitled-2.jpg?psid=1
สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
เมื่อความทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมปนฺโน) อายุ ๙๗ ปี พรรษา ๗๗ ปี เจ้าอาวาสวัดเกษรศีลคุณ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี มรณภาพเนื่องจากปอดอักเสบ ณ กุฏิวัดเกษรศีลคุณ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดฺอุดรธานี เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๔ เวลา ๐๓.๕๓ น.
สมเด็จบรมพิตรพระราชสมภารเจ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ พร้อมเครื่องเกียรติยศประกอบศพ ณ ศาลาการเปรียญวัดเกษรศีลคุณ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานไตรครอง โกศโถ ฉัตรเบญจาตั้งประดับ ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลาพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ และทรงรับศพอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอด
การนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์ไปในการพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ ทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์ ๑๐ รูปบังสุกุล แล้วทรงเชิญพวงมาลาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ วางที่หน้าโกศศพ
วันศุกร์ที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๐.๐๐ น. เชิญหีบศพตั้งบนจิตกาธาน
วันเสาร์ที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๗.๐๐ น. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานพระราชานุญาต ในการถ่ายทอดสดพิธีพระราชทานเพลิงศพ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และถ่ายทอดเสียงทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
วันอาทิตย์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๔ เวลา ๐๖.๐๐ น. พระราชทานผ้าไตรในการเก็บอัฐิ
นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้นหาที่สุดมิได้แก่พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) คณะสงฆ์วัดเกษรศีลคุณ ศิษยานุศิษย์ และญาติมิตรของพระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) รู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นที่ยิ่งนี้ตลอดไป
ขอถวายพระพร
(พระสุดใจ ทนฺตมโน)
เจ้าอาวาสวัดเกษรศีลคุณ
ลัก...ยิ้ม
12-04-2012, 09:47
https://public.blu.livefilestore.com/y1p-w0HTUfBFsJwpqiLA7O-aGJFC9w1uTLEwKYU8ooG7RinaCIP3eZ5KmhusfP5XgnF9_A461GMwJoJuU0idq_Eng/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%86%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A.jpg?psid=1
พระวรธรรมคติ
สุโข พุทฺธานมุปฺปาโท สุขา สทฺธมฺมเทสนา
สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี สมคฺคานํ ตโป สุโข
ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายให้เกิดสุข การแสดงสัจธรรมให้เกิดสุข
ความพร้อมเพรียงของหมู่ให้เกิดสุข ความเพียรของผู้พร้อมเพรียงกันให้เกิดสุข
การอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าในโลกเป็นการยากยิ่ง เพราะเมื่อทรงอุบัติขึ้นแล้วได้ตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เอง แล้วทรงมีพระมหากรุณาสั่งสอน บัญญัติพระธรรมวินัยแก่โลก เพื่อความสันติสุข ทรงประทานอริยวงศ์ที่สืบสานต่อกันมาเป็นพุทธวิถีไว้ในโลก
พระธรรมวินัย เป็นสัจธรรมที่บริบูรณ์ด้วยพระปริยัติธรรม พระปฏิบัติธรรม และพระปฏิเวธธรรม เพื่อให้พุทธบริษัทสี่ได้ศึกษาประพฤติปฏิบัติตามแล้ว ทำให้เกิดสุข เกิดมรรคผลไปตามลำดับ จนถึงที่สุดคือพระนิพพาน
พุทธบริษัทสี่เมื่อได้ศึกษาประพฤติปฏิบัติตามแนวทางแห่งสัมมาปฏิบัติ ซึ่งสรุปลงในศีล สมาธิ ปัญญา ให้ถึงพร้อมย่อมบังเกิดผลให้เกิดสุข ทั้งตนเอง ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ
บรรพบุรุษไทยนับแต่องค์พระมหากษัตริย์เป็นต้นมา กอปรด้วยสติปัญญา มองเห็นการณ์ไกล จึงได้รับพระพุทธศาสนามาประดิษฐานไว้ในแผ่นดินไทย จนเป็นวิถีไทย ชีวิตไทย เมื่อยุคสมัยใดเกิดความไม่สงบขึ้นในบ้านเมือง พระมหาเถระสำคัญในพระพุทธศาสนา ย่อมมีบทบาทในการแก้ปัญหาให้แก่ชาติบ้านเมือง เกื้อหนุนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้ดำรงคงเป็นปกติ ดังปรากฏในประวัติศาสตร์ชาติไทย
ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ก็มีพระมหาเถระสำคัญ เช่น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เป็นต้น ต่อมาในปัจจุบันนี้ เมื่อชาติบ้านเมืองเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ ดังเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน) พระมหาเถระฝ่ายอรัญวาสี พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ก็ได้มีบทบาทที่โดดเด่นในการช่วยแก้วิกฤตดังกล่าว โดยออกเผยแผ่แสดงพระธรรมเทศนาตามสถานที่ต่าง ๆ เกือบทั่วประเทศ และเผยแผ่พระธรรมเทศนานั้นทางสถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน ทางโทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ต เป็นต้น ชี้ชวนให้เกิดความพร้อมเพรียงสามัคคี เสียสละเงินทองค้ำจุนประเทศชาติได้อย่างมหาศาล
ดังนั้น พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามมหาบัว ญาณสฺปนฺโน) จึงเป็นพระมหาเถรที่ประพฤติปฏิบัติตนได้บริบูรณ์ตามพุทธโอวาทว่า จงทำประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด จึงสมควรที่พุทธบริษัทจะน้อมรำลึก น้อมนำมาเป็นแบบอย่างที่ดี ตามพุทธประเพณีที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องสรรเสริญผู้ถึงพร้อมด้วยภูมิจิตภูมิธรรม พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามมหาบัว ญาณสฺปนฺโน) เป็นพระเถระรูปหนึ่งที่ได้แสดงภูมิจิตภูมิธรรมอันสูงส่งดังเป็นที่ประจักษ์แก่พุทธบริษัทโดยทั่วกัน
ขอให้พุทธบริษัทสี่ได้พึงสำเหนียกศึกษาแนวทางการปฏิบัติอันดีงาม น้อมนำเอามาเป็นแบบแผนแบบอย่างเพื่อเผยแผ่ เพื่ออนุชนพุทธบริษัทรุ่นหลังได้รำลึกสืบสานอริยวงศ์ของพระพุทธเจ้า ให้เจริญไพบูลย์เพื่อความสามัคคีความสุขในหมู่ชนสืบไป.
(สมเด็จพระญาณสังวร)สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายกวัดบวรนิเวศวิหาร
ลัก...ยิ้ม
12-04-2012, 10:01
https://public.blu.livefilestore.com/y1pUFpiz8Lj4kohwKUoSZOCieWZN2t8PfStjR0NtQK7XkLIHGz-uc4vCCF-ODb1lzLB8Pe8C5sLQwwKVv6VtEAmrQ/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%AC%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C.jpg?psid=1
พระนิพนธ์ไว้อาลัยแด่
องค์หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
หลวงตามหาบัว... ท่านพ่อมหาบัวของลูก ท่านพ่อเป็นอริยบุคคลที่ลูกรักและเทิดทูนมาตลอด ถ้าจะถามกันว่าลูกรู้จักท่านพ่อมานานหรือยัง... ก็คงต้องตอบว่านานมากกว่าสี่สิบปีแล้ว ลูกก็ได้ยินชื่อเสียงของท่านพ่อว่าเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ท่านพ่อเป็นพระที่เคร่ง และเป็นสายปฏิบัติ เป็นที่นับถือของชาวอีสานและประชาชนคนไทย ตอนลูกอายุได้ ๑๗-๑๘ ปี ลูกได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถไปกราบท่านพ่อ... ตอนนั้นก็แค่ได้ขึ้นไปกราบ กราบเสร็จแล้วก็ต้องลงมารอข้างล่าง (ใต้ถุนกุฏิ เพราะในช่วงนั้นยังถือว่าเป็นเด็ก ๆ อยู่)
ลูกมาได้กราบท่านพ่อและฟังธรรมจริง ๆ ก็ราว ๆ ปี ๒๕๓๘ ซึ่งตอนนั้นลูกกำลังทุกข์ทั้งทางกายและทางใจจนซึมเศร้า ต้องเข้าโรงพยาบาลวิชัยยุทธอยู่เป็นเดือน ๆ ตอนนั้นลูกไม่พูดเลย เพราะไม่อยากพูด จนแพทย์ พยาบาลวิตก ประกอบกับลูกมีอาการเบื่ออาหารและผอมลง ๆ จนน้ำหนักเหลือ ๓๗ กิโลกรัม ทุก ๆ คนที่ดูแลลูก (แพทย์ พยาบาล มิตรสหายตลอดจนข้าราชบริพาร) พากันกังวล ทุกคนก็พยายามที่จะหาทางให้ลูกสบายใจ โดยหาญาติพี่น้องมาคุยด้วย เมื่อไม่ได้ผลก็พากันนิมนต์พระหลายรูปมาแสดงธรรมให้ลูกฟัง... แต่ก็ยังแก้ไขปัญหาไม่ได้
จึงมีคนรู้จักท่านหนึ่งมาแนะนำกับผู้หลักผู้ใหญ่ของลูกว่า “นิมนต์หลวงตามหาบัวซิ” ก็มีแพทย์ท่านหนึ่งแย้งขึ้นมาว่า “หลวงตามหาบัวนะหรือจะมา ออกจากวัดท่านยังไม่ค่อยออกมาเลย แล้วจะให้ท่านนั่งเครื่องบินมาถึงกรุงเทพฯ คงเป็นไปไม่ได้” (ช่วงนั้นท่านพ่อมักจะอบรมพระ และอุบาสก อุบาสิกาอยู่ในวัดเป็นส่วนใหญ่) แพทย์ท่านนั้นพูดไม่ทันขาดคำเสียงโทรศัพท์ก็ดังขึ้น และพยาบาลที่รับโทรศัพท์ก็บอกว่าทางวัดป่าบ้านตาดแจ้งมาว่า ท่านพ่อจะมาเยี่ยมลูกที่โรงพยาบาล... แค่ได้ฟังข่าวว่าท่านพ่อจะมาเยี่ยมลูก ลูกก็ปลื้มมากจนสุดจะบรรยาย คิดอยู่ในใจว่าเป็นบุญของลูกเหลือหลายที่ท่านพ่อจะมาโปรดลูก
เมื่อได้กราบท่านพ่อ ลูกก็เสมือนหายป่วยไปกว่าครึ่งหนึ่งแล้ว ครั้นได้ฟังธรรมของท่านพ่อ ใจอันมืดมิดของลูกก็สว่างไสวอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ท่านพ่อสอนลูกในตอนนั้นว่า อดีตเป็นสิ่งที่ผ่านไปแล้ว เราไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขอดีตได้ เพราะฉะนั้นควรปล่อยวาง ไม่ควรเก็บไว้ให้ใจทุกข์เปล่า ๆ อนาคตก็ยังมาไม่ถึงไม่ควรคาดเดาหรือจินตนาการไปให้จิตฟุ้งซ่าน ซึ่งเมื่อจิตฟุ้งซ่านแล้วก็จะเกิดทุกข์ได้เหมือนกัน ท่านพ่อสอนว่า “จงอยู่ในปัจจุบัน ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด อนาคตย่อมจะดีตามมา” หลังจากจบการแสดงธรรมโปรดลูก ลูกรู้สึกซาบซึ้ง และศรัทธาท่านพ่ออย่างสุดจะบรรยาย จึงได้กราบขอเป็นลูกศิษย์ ซึ่งลูกก็ได้ยินท่านกล่าวว่า “รับ ด้วยความยินดี”
ลัก...ยิ้ม
12-04-2012, 10:08
หลังจากนั้น จิตใจลูกก็สบาย ปลอดโปร่ง อาการเจ็บป่วยก็หายวันหายคืนจนออกจากโรงพยาบาลได้ หลังจากออกจากโรงพยาบาล ลูกก็นึกอยากตามขึ้นไปกราบท่านพ่อที่วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี แต่ในช่วงแรก ๆ ที่ขึ้นไปวัดป่าบ้านตาด ลูกต้องยอมรับว่ากลัว ๆ กล้า ๆ เพราะเคยได้ยินมาว่าท่านพ่อดุ... จริง ๆ แล้ว ลูกมาทราบหลังจากที่ลูกได้กราบท่านพ่ออย่างสม่ำเสมอว่า ท่านพ่อไม่ดุเลย แต่กลับเมตตาลูกเสมือนลูกเหมือนหลานแท้ ๆ ตอนคิดว่าท่านพ่อดุ ลูกก็เลยไม่กล้าขึ้นไปคนเดียว แต่ชวน ฯพณฯ องคมนตรี เชาวน์ ณ ศีลวันต์ (ซึ่งเป็นสามีของคุณหญิงไขศรี ณ ศีลวันต์ อาจารย์คณิตศาสตร์ของลูก) ซึ่งท่านก็เป็นศิษย์ของท่านพ่ออยู่แล้ว ไปเป็นเพื่อนฟังธรรมด้วย อะไรที่ลูกไม่กล้าพูดไม่กล้าถามในตอนต้น ๆ ท่านองค์มนตรีก็ช่วยกรุณาถามนำ เพื่อให้ลูกกล้าพูดกล้าถามด้วยตนเอง
ตอนลูกมาเป็นศิษย์ท่านพ่อใหม่ ๆ ท่านพ่อ... ดูแลทุกด้าน นอกจากสอนธรรมะให้ลูกแล้ว ท่านพ่อยังดูแลเอาใจใส่แม้ในด้านสุขภาพของลูก อาทิเช่น ท่านพ่อเห็นลูกผอมมากถึงเวลาท่านพ่อฉันตอนเช้า ท่านพ่อก็ให้ลูกนั่งรับประทานอยู่หลังเสาที่ท่านพ่อนั่งอยู่ (ตอนนั้นศาลาวัดป่าบ้านตาดยังมีเพียงชั้นเดียว) ท่านพ่อจะหันมาถามลูกว่า “ทานข้าวหรือเปล่า” ลูกก็ตอบไปว่า “ทานเจ้าค่ะ” ท่านพ่อก็ถามต่อว่า “ที่ว่าทานน่ะ ทานข้าวกี่เม็ดหรือกี่ช้อน” อันนี้แสดงถึงความเมตตาเอาใจใส่ลูก แม้ประเด็นเล็กประเด็นน้อย
นอกจากนั้น ตอนเป็นศิษย์ท่านพ่อเดือนแรก ๆ ลูกยังงอแงอยู่มาก มีเรื่องอะไรกระทบใจเข้าก็มาร้องไห้ไปเล่าเรื่องต่าง ๆ ให้ท่านพ่อฟังไป ท่านพ่อก็สอนว่า “ทูลกระหม่อมลูก น้ำตาเป็นของมีค่า ควรให้ไหลออกมาด้วยความปีติ ไม่ใช่ความโศกเศร้า” (หลังจากมาเป็นศิษย์ท่านพ่อไม่นาน ท่านพ่อก็เมตตารับลูกเป็นลูกบุญธรรม)
ลัก...ยิ้ม
12-04-2012, 16:30
ปีแรกของการเป็นลูกศิษย์ ท่านพ่อบอกให้ลูกนอนโรงแรมซึ่งขณะนั้นชื่อโรงแรมเจริญศรี (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Centara) เพราะท่านพ่อเป็นห่วงว่าลูกจะไม่คุ้นเคยกับชีวิต “ชาววัดป่า” แล้วตี ๕ กว่า ๆ ลูกก็จะเดินทางออกจากโรงแรมมาคอยใส่บาตรอยู่หน้าวัด พอใส่บาตรเสร็จก็เดินไปที่ศาลา ก่อนฉันท่านพ่อก็จะ “ให้พร” และหลังจากนั้นท่านพ่อและพระในวัดก็จะฉันพร้อมกัน ลูกก็ได้รับข้าวก้นบาตรท่านพ่อทุกครั้ง หลังจากนั้นแล้ว ท่านพ่อก็จะเทศน์โปรดญาติโยมที่มาทำบุญ ท้ายสุดท่านพ่อก็จะให้พรอีกครั้ง แล้วลูกก็จะกลับไปพักชั่วคราวที่โรงแรม
และจะย้อนกลับเข้ามาที่วัดอีกทีช่วงราว ๆ บ่ายสองโมง ลูกก็จะเข้ามาสนทนาธรรมกับท่านพ่อ และเรียนที่จะภาวนา การภาวนานั้นลูกรู้สึกว่ายากมากในตอนต้น ๆ คิด ๆ แล้วลูกก็ขำตัวเอง เพราะขนาดทั้งกำหนดลมหายใจเข้า-ออกแล้ว ยังมีคำบริกรรมกำกับก็ยังไม่วาย จิตแล่นไปคิดเรื่องโน้นเรื่องนี้ ลูกเลยต้องค่อย ๆ หัด เริ่มจาก ๑๐ นาทีก่อน แต่ลูกก็ต้องซื่อสัตย์กับตัวเองโดยใน ๑๐ นาทีนั้น ลูกก็จะท่องแต่คำบริกรรม...กำหนดลมหายใจเข้า หายใจออกอย่างเคร่งครัด มาหลัง ๆ ลูกก็สามารถภาวนาติดต่อกันได้ถึง ๕๐ นาที
แต่กระนั้นช่วงแรก ๆ เพราะความช่างสงสัยของลูก ลูกเคยถามท่านพ่อว่า “ทำไมลูกภาวนาแล้ว ลูกไม่เห็นสวรรค์ เห็นเทวดาฯ บ้างเลย ลูกเคยได้ยินว่าคนอื่น ๆ เขาว่าเขาเห็นกัน” จำได้เลยว่า ตอนนั้นท่านพ่อหัวเราะ และถามลูกว่า “อยากเห็นนักเหรอ” ลูกก็บอกว่า “เปล่า” และท่านพ่อก็สอนว่า ไม่เห็นน่ะดีแล้ว เพราะจุดประสงค์ของการภาวนาก็คือ ทำให้จิตรวมเกิดความสงบ ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดปัญญา ท่านพ่อบอกว่า ถ้าคนภาวนาแล้วเห็นนรก สวรรค์ เทวดา ภูตผี ก็อาจจะทำให้หลงเพลิดเพลินติดไปกับสิ่งที่ตนเองเห็น ทำให้ไม่สามารถเข้าสู่ทางสงบได้
ปีต่อ ๆ มา ท่านพ่อให้ลูกเข้ามาอยู่ในวัด ลูกก็ไปอยู่ที่กุฏิและภาวนาตามที่ท่านพ่อสอน เป็นความรู้สึกส่วนตัวของลูกว่า ภาวนาที่วัดป่าบ้านตาดแล้ว จิตลูกรวมเร็ว สงบเร็ว นิ่งเร็วกว่าภาวนาที่บ้านหรือโรงแรม คำสอนของท่านพ่อทุกคำลูกจดจำเสมอ คำสอนที่ลูกซาบซึ้งมากที่สุด คือ ท่านพ่อสอนลูกว่า ทุกอย่างสำคัญที่ใจ ชีวิตนี้มีใจเป็นประธาน ถ้าใจเราดีแล้วทุกอย่างจะดีตาม ดังนั้นลูกจึงพยายามทำใจให้ดีอยู่เสมอ ทำใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ไร้ตะกอน หรือความขุ่นข้องหมองใจ นอกจากนั้น ท่านพ่อสอนให้ลูกรู้จักการให้อภัยแก่คนที่ปฏิบัติต่อลูกไม่ดี ท่านพ่อสอนว่า ทานอะไรก็ไม่ยิ่งใหญ่เท่าอภัยทาน
ท่านพ่อสอนลูกให้เข้มแข็งดุจหินผา ไม่ให้อะไรมากระทบใจแล้วเป็นทุกข์ แต่ในขณะเดียวกัน ท่านพ่อก็สอนให้ลูกอ่อนโยนเหมือนต้นอ้อลู่ลมกับคนที่แวดล้อม ท่านพ่อสอนให้ลูกละโทสะ (ซึ่งแต่ก่อนลูกมีมาก) และให้รู้จักปล่อยวาง ท่านพ่อยังอธิบายอีกด้วยว่า การปล่อยวาง ไม่ใช่ปล่อยวางไปเฉย ๆ โดยไม่พิจารณาความถูกต้อง ทุกอย่างต้องผ่านการพิจารณาก่อน ถ้าเราเป็นฝ่ายผิดก็ต้องปรับแก้ไขตนเองแล้วจึงปล่อยวาง ถ้าเราพิจารณาแล้วว่า สิ่งที่เราทำเป็นสิ่งที่ถูกก็ปล่อยวาง “สิ่งกระทบ” นั้นไปเลย การได้รับการอบรมช่วงนี้จากท่านพ่อ ส่งผลทำให้ลูกมีสุขภาพดีขึ้น โรคบางโรค เช่น โรคนอนไม่หลับก็หายไปเลย เพราะจิตลูกนิ่งสงบ ไม่ฟุ้งซ่านอย่างแต่ก่อน
ลัก...ยิ้ม
17-04-2012, 10:01
สิ่งที่ท่านพ่อเน้นสอนลูกอีกเรื่อง คือเรื่องความกตัญญูรู้คุณต่อพ่อแม่ ท่านพ่อว่า พ่อแม่เลี้ยงเรามายากลำบากนัก เราฉี่ เราอึใส่ตักพ่อแม่ ท่านก็ยังไม่เคยว่า คอยเช็ดคอยล้างให้ แล้วแค่พ่อแม่ตักเตือนจะมีปฏิกิริยาอะไรหนักหนา ไม่ได้นะ ถ้ากตัญญูไม่ได้ก็ไปเกิดเป็นลูกแมงป่องซะ
ท่านพ่อย้ำสอนให้ลูกมีสติทุกขณะจิต เพราะท่านพ่อสอนว่า คนเราถ้าขาดสติแล้ว ก็จะทำในสิ่งที่ไม่เหมาะไม่ควร นอกจากนั้น ท่านพ่อสอนว่า เวลาภาวนาก็ต้องใช้สติกำกับ เพื่อจะป้องกันการหลุดจากการกำหนดลมหายใจ และคำบริกรรมอีกด้วย
คำสั่งสอนของท่านพ่อลูกจดจำ และพยายามปฏิบัติตามอย่างเต็มความสามารถ ทำให้ลูกของท่านพ่อในวันนี้ เป็นคนเข้มแข็งขึ้น มีความสุขขึ้น มีความอดทน อดกลั้น มีความสุขุม เยือกเย็น สามารถสู้กับโลกมนุษย์ที่มีแต่ความทุกข์ ความเศร้า การแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ความอิจฉาริษยา ฯลฯ ได้อย่างไม่ทุกข์จนเกินไป ลูกเปลี่ยนไปเป็นคนละคนกับในอดีต ท่านพ่อเป็นผู้ชุบชีวิตให้ลูก ให้ลูกกลายเป็นคนที่ดีกว่าเดิมมากมายนัก
เรื่องที่ลูกกล่าวมาถึงช่วงนี้ เป็นเพียงเรื่องที่ท่านพ่อเมตตาลูก ทำให้ลูกในฐานะศิษย์คนหนึ่ง แต่พระคุณของท่านพ่อนั้นครอบคลุมไปถึงการที่ท่านพ่อเป็นห่วงประเทศชาติ ในปี ๒๕๔๐ ประเทศไทยอยู่ในภาวะติดหนี้ติดสินเป็นอันมาก มองไปแล้ว ดูอนาคตของเมืองไทยจะมืดมน นักเศรษฐศาสตร์หลายท่านกล่าวว่า เมืองไทยคงต้องก้มหน้าก้มตาใช้หนี้กันไปหลายสิบปี
ตอนนั้นท่านพ่อมีความห่วงใยประเทศชาติและประชาชนคนไทย จึงได้จัดให้มีการทำผ้าป่าช่วยชาติ ซึ่งในการนี้ทำให้ท่านพ่อต้องเดินทางไปแทบทุกจังหวัดในประเทศไทย รับบริจาคเงินและทองคำ ต้องเทศน์โปรดประชาชนและได้สอนว่า ทองอยู่บนตัวญาติโยม ก็ยังไม่งามสง่าเท่ากับอยู่ในคลังหลวง ตอนที่ท่านพ่อเริ่มโครงการผ้าป่าช่วยชาติ ท่านพ่อก็อายุ ๘๐ กว่าแล้ว แต่ท่านก็ยังปฏิบัติภารกิจในการทำผ้าป่าช่วยชาติ อย่างไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อย ลูกเคยตามท่านพ่อไปในครั้งที่ท่านพ่อทำผ้าป่าช่วยชาติในภาคกลาง ลูกเองอายุยังน้อยกว่าท่านพ่อมาก ก็ยังรู้สึกเหนื่อย
แต่ท่านพ่อยังคงนั่งเทศน์อบรมประชาชนทีละ ๔๕ นาทีเป็นอย่างน้อย และอย่างมากก็ชั่วโมงครึ่ง ท่านพ่อทำเช่นนี้ไปทุก ๆ ภาค ทำให้ได้ทองเข้าคลังหลวงถึง ๑๒ ตัน (ก่อนที่จะอาพาธหนัก แต่ดูจากการบริจาคทองคำถวายท่านพ่อเพื่อนำเข้าคลังหลวง ตอนท่านพ่อละสังขาร น่าจะได้ทองคำเข้าคลังหลวงรวมทั้งหมด ๑๓ ตัน) และหนี้สินที่เป็นเงินสกุล Dollar ก็รับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา และนำไปใช้หนี้เรียบร้อย เท่ากับประเทศไทยได้เป็นไทแก่ตัว และทำให้คนไทยทุกคนมีศักดิ์ศรีขึ้นมา
ลัก...ยิ้ม
17-04-2012, 11:37
ท่านพ่อไม่เคยคิดถึงตัวเองเลย ไม่เคยหวังอยากได้โน่นได้นี่ เงินบริจาคที่ญาติโยมบริจาคก็นำไปช่วยคน เช่น นำอาหารไปให้หมู่บ้านที่ขาดแคลน ยากจน และได้สร้างโรงพยาบาลอีกด้วย ท่านพ่อบอกว่าวัดนี้ (วัดป่าบ้านตาด) อยู่อย่างพอเพียง ไม่ต้องการความหรูหราหรือฟุ้งเฟ้อ ทุกอย่างท่านพ่อทำเพื่อความกินดีอยู่ดีของประชาชนจริง ๆ ความจริงท่านพ่อไม่ได้สงเคราะห์เฉพาะคนไทย คนในประเทศเพื่อนบ้านก็ได้ช่วยเหลือมาตลอด และที่สำคัญท่านพ่อทำทุก ๆ อย่างแบบปิดทองหลังพระอย่างแท้จริง
แม้ ณ วันนี้ ท่านพ่อได้ละสังขารไปแล้ว แต่ท่านพ่อจะสถิตอยู่ในดวงใจของลูก และดวงใจของคนไทยทั้งประเทศ และลูกเชื่อว่าเมตตาบารมีของท่านพ่อจะคุ้มครองลูก คุ้มครองปวงประชาชนคนไทยตลอด จนคุ้มครองประเทศไทยให้มั่นคง และมีความร่มเย็นเป็นสุข
สำหรับลูก ลูกให้สัญญากับท่านพ่อว่า จะนำคำสั่งสอนของท่านพ่อที่จารึกอยู่ในใจของลูกมาปฏิบัติ เพื่อให้ลูกเข้าสู่ทางสว่างอย่างแท้จริง
“... คือ ความเย็น ชื่นฉ่ำ ของสายน้ำ
คือ ร่มเงา ลึกล้ำ ของพฤกษา
คือ ความสงบ แน่วนิ่ง ของวิญญาณ์
คือ ดวงแก้ว ล้ำค่า อยู่กลางใจ”
ท่านพ่อจะอยู่ในดวงใจของลูกชั่วกาลนาน
กราบเท้าท่านพ่อด้วยความระลึกถึงและเทิดทูนอย่างที่สุด
จุฬาภรณ์ (ลูกของท่านพ่อ)
ลัก...ยิ้ม
17-04-2012, 13:47
https://public.blu.livefilestore.com/y1p7H4mORqBWu9vxg1kxHB7-lUYWT3n1B36ElaDGClFSixbWi4t5XgZVjqnRo0XA7D8w_Hp6J7SlPLMvhuZwZNgxQ/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5.jpg?psid=1
คำระลึกถึง
อาตมภาพมีความคุ้นเคยนับถือกันกับหลวงตามหาบัว ตั้งแต่คราวไปพักที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ ตามพระบัญชาของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒-๘๓ สมัยนั้นหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ไปเรียนนักธรรมเอก และบาลีประโยค ๓ ที่วัดเจดีย์หลวง
วันหนึ่งได้ขึ้นไปกุฏิหลังพระเทพโมลี (พิมพ์ ธมฺมธโร) แล้วก็เห็นพระบัว ญาณสมฺปนฺโน นอนอยู่ ไม่มีมุ้งกลด ต้องนอนตากยุง อาตมภาพได้ถวายมุ้งหลังหนึ่ง ก็รู้จักมักคุ้นกันมาแต่นั้น ท่านเป็นผู้ที่มีความตั้งมั่นในการศึกษาพระปริยัติธรรม จะเอาเพียงนักธรรมเอกและประโยค ๓ ต่อจากนั้นไปก็จะออกปฏิบัติกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งไปอยู่ศึกษาอบรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ๘ ปี จนได้หลักจิตหลักใจ แล้วมาตั้งวัดป่าบ้านตาด แนะนำสั่งสอนพระเณรและประชาชนจนมีลูกศิษย์ลูกหา เป็นที่เคารพนับถือเลื่อมใสของประชาชนทั่วประเทศ แม้แต่อาตมภาพขณะใดจิตไม่สงบดับจากกิเลส ก็มาปรึกษาหารือกับหลวงตามมหาบัว ท่านก็แนะนำ อันนี้เนื่องจากบุญเก่าได้บันดาลให้มาพบกัน
ปลายปีที่แล้วในระยะหลวงตาอาพาธ อาตมาได้แวะไปเยี่ยมหลายครั้ง ในวันที่หลวงตามหาบัวจะละสังขาร อาตมภาพ ขณะพักจำวัดหลับเคลิ้มไป ก็ปรากฏว่าหลวงตามหาบัวแวะมาหากราบ ๓ ครั้ง ก็พูดว่า “เจ้าคุณฯ ผมมาลานะ” อาตมภาพก็ถามว่า “จะลาไปไหน ?” ท่านบอกว่า “ไปที่ไม่เกิดอีก เพราะชาติสุดท้ายของผม ให้เจ้าคุณอยู่ต่อไป ให้ลูกหลานได้กราบไหว้” แล้วหายไป
ตื่นขึ้นก็จำความฝันได้ชัดเจน เวลาประมาณตี ๔ นาฬิกา ก็ยังนึกอยู่ว่า หลวงตามหาบัว คงไม่ได้อยู่กับพวกเราแล้ว ตอนเช้าก็รับทราบว่ามรณภาพ รู้สึกใจหายและรู้สึกอาลัยในการจากไปของหลวงตาเป็นที่สุด ซึ่งอาตมภาพมั่นใจว่า “ท่านไม่กลับมาเกิดอีกแล้ว” ท่านได้วางแบบอย่างอันงดงาม ไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ดำเนินรอยตาม ขอให้ลูกศิษย์ลูกหาและประชาชนได้สืบแนวปฏิปทาต่อไป
พระอุดมญาณโมลี (จันทร์ศรี จนฺทาทีโป)
ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๙ (ธ)
เจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ พระอารามหลวง
ลัก...ยิ้ม
18-04-2012, 10:36
https://public.blu.livefilestore.com/y1pkhtxhlEOkjtqcx9Vlp0wEAGE3FzU90blUf9pMu4BcUCPNZOFCUDAU2BiAfAh_i0KYSFNZiVL6HZr4Dad3e7HKQ/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%A1%E0%B8%B5%20%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B9%82%E0%B8%93.jpg?psid=1
สัมโมทนียกถา
ตั้งแต่พ่อแม่ครูอาจารย์ละสังขารขันธ์ อาตมภาพก็ได้เห็นความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์ท่าน ในการจัดเตรียมงานต่าง ๆ นับตั้งแต่สถาบันพระมหากษัตริย์ มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตลอดพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูงยิ่ง โดยเฉพาะสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงดูแลอุปถัมภ์ค้ำชูด้วยจริยาวัตรอันงดงามของลูกที่มีต่อท่านพ่อ อย่างไม่ทรงเห็นแก่ความเหนื่อยยาก นับตั้งแต่เริ่มอาพาธจนลมหายใจสุดท้าย ต่อเนื่องจนถึงงานพระราชทานเพลิงสรีรสังขารพ่อแม่ครูอาจารย์ฯ ทรงอดตาหลับขับตานอน อดทนอดกลั้นสมเป็นขัตติยนารีอย่างแท้จริง
นอกจากนั้น ปวงคณะศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย นับจากพระสงฆ์องค์เจ้า ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนทุกหมู่เหล่า ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ จากทุกสารทิศทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีความพร้อมเพรียงสามัคคีร่วมมือร่วมใจทำงานในหน้าที่ของตน ๆ เพื่อให้งานพระราชทานเพลิงของพ่อแม่ครูอาจารย์ มีความเรียบง่ายแบบพระกรรมฐาน แต่ยิ่งใหญ่อลังการสมพระเกียรติของพ่อแม่ครูอาจารย์ฯ ที่ทำประโยชน์อย่างกว้างขวางทั้งรูปธรรมนามธรรมแก่โลก ซึ่งปรากฏผลภายในเวลาเพียงเดือนเศษ ทุกอย่างก็เสร็จสมบูรณ์ครบถ้วนในทุกด้านทุกทาง ดังจะเห็นได้จากภาพและเรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ปรากฏในหนังสือเล่มนี้
อาตมภาพขออนุโมทนาสาธุการในความศรัทธา ความสามัคคีกลมเกลียว ความกตัญญูกตเวทิตาของท่านทั้งหลายที่มีต่อพ่อแม่ครูอาจารย์ฯ สมกับที่ท่านได้อบรมสั่งสอน และช่วยเหลือพวกเราทั้งหลายอย่างทุ่มเทตลอดมา ทั้งทางโลกทางธรรมโดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก แม้สังขารขององค์ท่านจะแข็งแรงพอเป็นไป หรืออ่อนล้าทรุดโทรมเพียงใดก็ตาม แต่เมตตาธรรมของท่านดำรงอยู่อย่างมั่นคงเสมอ
ขอผลานิสงส์แห่งความสามัคคีกลมเกลียว กตัญญูกตเวทิตา จงเป็นเกราะกำบังภยันตรายทั้งภายนอกภายในแก่พวกเราทั้งหลาย ขอให้เจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปทุกผู้ทุกคนตามลำดับแห่งธรรม ตราบกระทั่งบรรลุถึงนิพพานในที่สุดด้วยเทอญ
หลวงปู่บุญมี ปริปุณฺโณ
ประธานคณะสงฆ์ศิษยานุศิษย์องค์หลวงตาฯ
๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ลัก...ยิ้ม
18-04-2012, 15:44
https://public.blu.livefilestore.com/y1p5_IfdszI3d4Gw0o7pgaHwQQNYWg7ZzvZDYmq-dHn2qvtH4JtqAx9-m_-EFzBf-Jnflj7APvh56F_7ew9hDTjrg/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B2.jpg?psid=1
(น้องสาวและหลานขององค์หลวงตา)
๑. คำทำนายของคุณตา
องค์หลวงตา ถือกำเนิดในครอบครัวชาวนาแห่งสกุล โลหิตดี เมื่อขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๙ ปีฉลู ตรงกับวันอังคารที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๔๕๖ ณ หมู่บ้านตาด ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยบิดา นายทองดี และมารดา นางแพง ได้ให้มงคลนามว่า บัว
ท่านเป็นบุตรคนที่ ๒ ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด ๑๖ คน มีรายนามดังต่อไปนี้
๑. คุณตาคำไพ โลหิตดี (ถึงแก่กรรมปี ๒๕๐๕) สมรสกับคุณยายตุ้ม (มิทราบนามสกุล) มีบุตรธิดา ๒ คน
๒. พระธรรมวิสุทธิมงคล (องค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน)
๓. คุณหม (ถึงแก่กรรมแต่เยาว์วัย)
๔. คุณยายอั้ว โลหิตดี (ถึงแก่กรรมปี ๒๕๒๓) สมรสกับคุณตาผง สารีจันทร์ (ถึงแก่กรรม) มีบุตรธิดา ๘ คน
๕. คุณลัว (ถึงแก่กรรมแต่เยาว์วัย)
๖. คุณยายคำตัน โลหิตดี (ถึงแก่กรรมปี ๒๕๕๔) สมรสกับคุณตาเหมิก นามวิชัย (ถึงแก่กรรม) มีบุตรธิดา ๔ คน
๗. คุณขาม (ถึงแก่กรรมแต่เยาว์วัย)
๘. คุณลัง (ถึงแก่กรรมแต่เยาว์วัย)
๙. คุณแข้ง (ถึงแก่กรรมแต่เยาว์วัย)
๑๐. คุณตาจัด โลหิตดี (ถึงแก่กรรมปี ๒๕๒๕) สมรสกับคุณยายหนู รักษาศิริ (อายุ ๘๕ ปี) มีบุตรธิดา ๑๓ คน
๑๑. คุณตาหนูพล โลหิตดี (ถึงแก่กรรมปี ๒๕๓๙) สมรสกับคุณยายบัวลอย พิเคราะห์แนะ (ถึงแก่กรรม) มีบุตรธิดา ๕ คน
๑๒. คุณยายสวน โลหิตดี (อายุ ๘๕ ปี) สมรสกับคุณตาสมบูรณ์ สุรินทรัตน์ (ถึงแก่กรรม) มีบุตรธิดา ๑๓ คน
๑๓. คุณยายศรีเพ็ญ โลหิตดี (อายุ ๘๓ ปี) สมรสกับคุณตาวันดี บัวสอน (ถึงแก่กรรม) มีบุตรธิดา ๙ คน
๑๔. คุณแม่จันดี โลหิตดี (อายุ ๘๐ ปี) มีบุตรธิดา ๔ คน คุณแม่จันดีเข้าปฏิบัติธรรม ณ วัดป่าบ้านตาด เมื่อปี ๒๕๒๔
๑๕. คุณกล่ำ (ถึงแก่กรรมแต่เยาว์วัย)
๑๖. คุณแม่เถิง โลหิตดี (ถึงแก่กรรมปี ๒๕๔๓) สมรสกับคุณตาสงฆ์ ไชยกิจ (ถึงแก่กรรม) มีบุตรธิดา ๗ คน
ในจำนวนพี่น้องของท่าน มีท่านผู้เดียวที่ดำรงอยู่ในสมณเพศ และกอปรด้วยศีลาจารวัตรอันงดงาม ทรงไว้ซึ่งคุณธรรมอันประเสริฐ เป็นที่เคารพสักการบูชาของชาวพุทธอย่างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ
ลัก...ยิ้ม
19-04-2012, 10:32
ถิ่นฐานบ้านเดิม
ต้นตระกูลเดิมขององค์หลวงตาอยู่ที่จังหวัดมหาสารคาม ต่อมาพากันอพยพไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ในครั้งนั้นได้ตามกันมาหลายบ้านหลายครอบครัวด้วยกัน ต่างก็เดินทางด้วยเท้า ด้วยล้อ และเกวียน มุ่งหน้าหาดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ จนกระทั่งมาพบสถานที่อันเหมาะสมคือจังหวัดอุดรธานี จึงพากันพักอยู่ที่บ้านคำกลิ้ง * บ้างก็ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่นั่นเลย บ้างก็ย้ายออกไปอยู่ตามหมู่บ้านต่าง ๆ เช่น บ้านโนนทัน บ้านตาด* เป็นต้น และเจริญสืบมา องค์ท่านเล่าสาเหตุที่โยกย้ายจนมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนที่หมู่บ้านตาด ดังนี้
... พวกที่มาจากมหาสารคามนั้น เดิมเป็นคนละหมู่บ้าน ๆ ตกลงกันเรียบร้อยแล้วก็ยกพวกมา มาตั้งรวมอยู่ด้วยกันจนกลายเป็นอันเดียวกันหมด เลยเหมือนกับว่าญาติกัน มีเหตุมาจากแม่น้ำชีท่วม ถ้าเวลาท่วมก็ท่วมซะจนไม่มีอะไรจะกิน มันจะตาย ทนไม่ไหวก็เลยมา หาทำเลดูที่ตรงไหน เลยมาได้ตรงนี้ เลยเอาตรงนี้
ถ้าว่าแล้งก็แล้งไปเสีย ถ้าว่าท่วมก็ท่วมไปเสีย มีแต่ท่าเสียท่าเดียวมาหลายปี มันเลยจะตาย คนไม่มีข้าวกินแล้ว ก็เลือกกระเสือกกระสนกัน จึงได้มาตั้งอยู่นี้ ทีแรก มาตั้งที่บ้านคำกลิ้งก่อน ยกมากันมากอยู่นะ ไม่ใช่คนหนึ่งคนเดียวครอบครัวเดียวนะ..
มันมาหลายบ้านรวมกัน มาตั้งเป็นบ้านคำกลิ้ง จากนั้นก็แยกออกมาเป็นบ้านตาด บ้านโนนทัน .. พอสงครามโลกครั้งที่ ๒ พวกทหารญี่ปุ่นพากันยกมาตั้งฐานทัพขึ้นใส่บ้านโนนทัน เลยยกบ้านโนนทันนี้แตกออกมาตั้งเป็นบ้านหนองใหญ่* บ้านหนองตูม* ทุกวันนี้...
================================
*บ้านคำกลิ้ง บ้านตาด บ้านหนองใหญ่ บ้านหนองตูม เป็นหมู่บ้านอยู่ในละแวกเดียวกันระยะ ๑๐ กิโลเมตร
ลัก...ยิ้ม
19-04-2012, 13:55
สภาพความเป็นอยู่สมัยนั้น
สมัยก่อน ณ บ้านตาดนี้เป็นป่าดงดิบ มีทั้งต้นยาง ตะเคียนทอง ประดู่ และต้นไม้อื่น ๆ หลากหลายพันธุ์มากทั้งปริมาณและขนาด สัตว์ป่าจึงมีชุกชุม ไม่ว่าจะเป็นหมูป่า เสือ ช้าง กวาง เป็นต้น องค์หลวงตาเคยบรรยายสภาพความเป็นอยู่ในสมัยนั้นว่า
“... โอ๋ย.. เป็นดงใหญ่ที่สุดเลยนะ ตั้งแต่กรมทหาร (ค่ายประจักษ์ศิลปาคม) มาเลยละ ตั้งแต่เราเป็นเด็กยังเห็นกรมทหารนี้เป็นดงทั้งนั้นนะ เขามาตั้งใหม่นะนี่ หลวงตาเกิดแล้ว เขาถึงมาตั้งใหม่ แต่ก่อนกรมทหารอยู่ทางบ้านหนองสำโรง* เขาเพิ่งย้ายมาทีหลัง แต่ก่อนเป็นดงทั้งหมด... มีแต่ดงช้าง ดงเสือเต็มหมด...
แม้หลวงตามาบวชแล้ว บ้านจั่น** ก็ยังเป็นดงอยู่นะ มาใหม่ ๆ บ้านคำกลิ้งอยู่กลางดงเลย ช้างลงกินน้ำตอนกลางคืนเต็มไปหมด เพราะฉะนั้น การทำมาหากินจึงสะดวก... หารอบบ้านเอาก็พอแล้ว สมัยนั้นการซื้อการขายมันก็ไม่มี
ตอนหลวงตาเป็นเด็ก เราจำได้.. ใครได้หมู ได้กวางมาตัวหนึ่ง เขาก็กินกันทั้งหมู่บ้าน แจกกันทั้งบ้านเลยนะ ไม่มีการซื้อการขาย ส่งบ้านนั้นบ้านนี้... เขาหากินกันตามท้องไร่ท้องนา พวกอีเห็น กระจ้อน กระแต มันเต็มแถวนี้หมด พวกปูปลาอะไร ไม่อดไม่อยาก
ตั้งแต่เรายังไม่บวชนี่ เสือโคร่งนี้แอบเข้าไปกัดวัว โอ๋ย.. ข้างต้นเสาเรือนเลยนะ ติดกับบ้านเลยนะ เพราะดงติดกับบ้าน สัตว์เลี้ยงตามบ้านเขาก็ไม่ได้ผูกไว้ ดังนั้น เสือมันพอกินได้ มันก็กินทันที เพราะมันกินได้ง่ายกว่าสัตว์ป่า สัตว์ตามบ้านมันไม่ค่อยระวังตัว
ช้างมันก็เข้าไปกินในสวนเขา สวนก็ติดกับบ้านนั่นนะ มันกินพวกกล้วยพวกอะไร ตอนกลางคืนดังโป๊ก ๆ เป๊ก ๆ เขาก็ไม่ว่าอะไรนะ... เฉยมาก ขนาดนั้นนะ ทางล้อทางเกวียนอะไรก็ไม่ค่อยได้ใช้ เพราะไม่ค่อยได้ไปมาหาสู่กัน ทำนาก็ทำพอกินเท่านั้น เพราะว่าไม่ได้ซื้อได้ขาย พอเสร็จสรรพการทำนาแล้ว เขาก็สนุกสนานกัน เพราะไม่ได้ทำงานอะไร
การซื้อการขาย การรับจ้างอะไรไม่มี แต่ก่อนไม่มี แล้วใครจะมีเงิน ครัวเรือนหนึ่งมี ๙ บาท ๑๐ บาท ถือว่าเป็นธรรมดาแล้วนะ ถือว่ามีฐานะพอสมควร ถ้ามีเป็นร้อยเป็นชั่งเขาถือว่ามีมากจริง ๆ เป็นคนมั่งมีในบ้านนั้น...”
ครอบครัวของท่านทำนาเป็นอาชีพหลัก และเพราะเหตุที่อยู่กลางป่าดงเช่นนี้ จึงย่อมหนีไม่พ้นที่จะเจอะเจอสัตว์เหล่านั้น ฉะนั้น ยามว่างจากนา พ่อของท่านซึ่งเป็นนายพรานที่มีชื่อเสียง จึงเข้าป่าล่าสัตว์อยู่เป็นประจำ เป็นธรรมดานายพรานย่อมชำนาญในการแกะรอยสัตว์ พ่อของท่านนอกจากจะชำนาญในทางแกะรอยสัตว์ ยังขึ้นชื่อลือชาในการแกะรอยคนด้วย นิสัยช่างสังเกตช่างพินิจพิจารณา จึงน่าจะถูกถ่ายทอดมาถึง “เด็กชายบัว”
หากสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งหล่อหลอมให้บุคคลอุปมีนิสัยหนักไปทางใดทางหนึ่งจริง การอยู่ท่ามกลางป่าเสือ ดงช้าง และสัตว์ร้ายนานาชนิด ที่เป็นภัยอันตรายรอบด้าน ย่อมสร้างให้คนอยู่ด้วยความไม่ประมาท มีจิตใจเด็ดเดี่ยวอาจหาญและอดทนเป็นเลิศ “เด็กชายบัว” ก็น่าจะรับผลนี้อย่างเต็มภาคภูมิ
================================
* บ้านหนองสำโรงอยู่ห่างจากบ้านตาดประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ไปทางทิศเหนือ
** บ้านจั่นอยู่ห่างจากบ้านตาดประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ไปทางทิศเหนือ
ลัก...ยิ้ม
20-04-2012, 10:33
https://mzmtdg.blu.livefilestore.com/y1paOCsbtNVvmnH4ZxfGLlGkQmHVPqwpgMW6gltWErhoBJaJN4kieKu9BB7cYr1mtYP8h-moQACiSTwWqCG3ff_HA/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2.jpg?psid=1
(การทำนาของชาวนามณฑลอุดรในช่วง ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) เป็นภาพวิถีชีวิตในอดีต ก่อนองค์หลวงตาถือกำเนิด ๒๐ ปี)
สกุลชาวนา ผู้มีอันจะกิน
คุณแม่ของท่านนามว่า แพง ถือกำเนิดขึ้นที่บ้านตาด เป็นบุตรของคุณตาพรมมา (มิทราบนามสกุลท่าน) กับคุณยายบับภา ไชยพรมมา ซึ่งย้ายถิ่นฐานมาจากจังหวัดมหาสารคาม แต่พอคุณแม่แพงถือกำเนิดได้เพียงหนึ่งปีเศษเท่านั้น คุณยายบับภาก็เสียชีวิต และได้คุณยายลีซึ่งเป็นน้องสาวของคุณยายบับภาเป็นผู้เลี้ยงดู เมื่อครั้งเติบโตเป็นสาวพอที่จะมีครอบครัวแล้ว ทางบิดามารดาและญาติผู้ใหญ่ให้สมรสกับคุณพ่อทองดี โลหิตดี
ส่วนคุณพ่อทองดีนั้นถือกำเนิดที่บ้านคำกลิ้ง เป็นบุตรของคุณปู่สามารถ โลหิตดี กับคุณย่าทุมมา (มิทราบนามสกุลท่าน) ซึ่งย้ายถิ่นฐานมาจากจังหวัดมหาสารคามด้วยเช่นกัน ครั้นเมื่อคุณแม่แพงสมรสกับคุณพ่อทองดีแล้ว คุณพ่อทองดีก็มาอยู่ที่บ้านตาด ปลูกบ้านสร้างเรือนและมีบุตรธิดาด้วยกันหลายคน องค์หลวงตาเป็นลูกคนที่ ๒ ในจำนวนนี้
แม้ท่านจะถือกำเนิดเป็นลูกชาวไร่ชาวนา แต่หากพูดถึงฐานะการเงินของสกุลของท่านแล้ว ก็ไม่ได้ต่ำต้อยกว่าใครในละแวกบ้านใกล้เรือนเคียง จัดเป็นอันดับหนึ่งในหมู่บ้านนั้น ก็ไม่น่าจะผิดไป เพราะคุณตาของท่านประสบผลดีในการค้าขายจากนิสัยที่ขยันขันแข็งและฉลาด ท่านเคยเล่าความเป็นมาไว้บ้างดังนี้
พออายุเราได้ ๑๑ ปี คุณตาก็ตายจาก.. แม่เล่าให้ฟังว่า คุณตาเป็นคนฉลาด.. ในเรื่องความขยันก็จนกระทั่งเขาร่ำลือทั้งบ้านเลยล่ะ แล้วมาได้เมียสกุลนี้ (สกุลของยาย) คือสกุลนี้เขาก็เป็นสกุลมั่งคั่ง ลูกสาวเขาก็สวยงาม คุณตาเลยมาได้กับลูกสาวคนนี้ (คุณยาย) เขายอมยกให้เพราะเห็นว่าคุณตาเป็นคนขยัน แต่งงานแต่งการกันแล้ว ก็มาได้ลูกสาวคนเดียวคือโยมแม่
คุณตานี้ รูปร่างลักษณะเดียวกับเรา ไม่ใหญ่โตนัก เป็นคนค้าขาย ทำคนเดียวแกนะ คนทั้งบ้านมีเป็นพ่อค้าอยู่คนเดียว แปลกอยู่ ซื้อนั้นซื้อนี้ ซื้ออยู่คนเดียวไม่หยุดไม่ถอย ในป่านั้นส่วนมากมักจะซื้อของป่านะ พวกหนังสัตว์ พวกอะไร ๆ เกี่ยวกับเรื่องของป่านี่ละซื้อมาก ๆ ไปขายเอากำไร ๆ อยู่คนเดียวเงียบ ๆ .. นี่แหละ พวกหนังอีเก้ง หนังอะไรต่ออะไรเอาไปขาย ๆ ทำอย่างนี้อยู่ตลอดประจำมาตั้งแต่ไหนแต่ไร เวลาคุณตาจะซื้อวัวซื้อควาย ก็ซื้อมาราคา ๒๐-๓๐ บาท เอามาขายตัวละเท่านั้นเท่านี้ ได้กำไร ๒-๓ บาทก็เอา.. แต่ก่อนวัวควายราคา ๓๐ บาทนี้ ถือว่าแพงมากนะ ส่วนมากจะ ๑๕-๑๖ ไปถึง ๒๐ บาท ที่เรียกว่าควายตัวนี้สวยงามมาก คุณตาก็ซื้อมาขาย...
พอขายได้แล้วก็ไม่ได้ซื้ออะไร... ได้มาเท่าไหร่ไม่รู้ หากขายอยู่อย่างนั้นตลอด... มีแต่เก็บกับเก็บ... เงินแต่ก่อนเป็นเงินเหรียญ เหรียญบาท มันจึงมีมากขึ้น ใส่เป็นถุงยาว ๆ ๘๐ บาทเป็นมัดหนึ่ง เขาเรียก ๑ ชั่ง... แม่เล่าให้ฟังว่า คนแต่ก่อนถือเงินเป็นสำคัญมาก ประหยัดมาก ไม่ใช่เป็นนักจ่ายนะ ไม่ได้สุรุ่ยสุร่ายอย่างทุกวันนี้... แม่นี้เป็นักประหยัด ยกให้เลย คุณตามอบเงินให้แม่หมด เพราะมีลูกสาวคนเดียว ส่วนคุณยายตายตั้งแต่แม่ยังเป็นเด็กอยู่...
นี้ละ มรดกจึงมาตกทางนี้มาก แม่จึงได้มีฐานะมาตั้งแต่โน้น... แต่ไม่ให้ใครทราบง่าย ๆ นะ ... ทางนี้ไม่มีที่จะพูดอะไร ๆ คนโบราณเป็นอย่างนั้น มีแต่เก็บแต่หาอยู่อย่างนั้น พูดออกมา เขาจะหาว่าโอ้อวดเสีย โบราณเราถืออย่างนั้น ถือแบบปกเอาไว้ปิดเอาไว้
แม่เอาเงินมาเทใส่ขันใหญ่ ๆ ให้เห็น จึงได้ทราบชัดเจนว่า ฐานะของเราไม่ใช่เล่นเหมือนกันนะ เป็นขันลงหิน เงินนี้เต็มเลย ๒ ขัน ๓ ขัน เอามาสรงน้ำ
เสร็จแล้วก็เอาใส่ถุง ถุงละชั่ง เป็นถุงผ้านะ... เราจึงรู้ว่าพ่อแม่มีเงินมาก เรียกว่าฐานะเป็นที่ ๑ ของหมู่บ้านนี้เลย คุณตาเป็นผู้มอบมรดกให้ ถึงได้มั่งมีอย่างนั้น ถ้าธรรมดาแล้ว โอ๋ย.. ไม่มีละ...
ลัก...ยิ้ม
23-04-2012, 10:42
คำทำนายของคุณตา
ในขณะที่แม่ตั้งครรภ์ท่านอยู่นั้น ได้ปรารภขึ้นในครอบครัวและวงศาคณาญาติว่า
“.... ธรรมดาทารกในครรภ์ เมื่อเติบใหญ่ขึ้นมาต้องดิ้นบ้าง ไม่มากก็น้อยพอให้แม่รู้สึก แต่กับลูกคนนี้แปลกกว่าคนอื่น ตรงที่นอนนิ่งเงียบเหมือนไม่มีลมหายใจ จนบ่อยครั้งทำให้แม่คิดตกอกตกใจว่า ‘ไม่ใช่ตายไปแล้วหรือ ? ทำไมจึงเงียบผิดปกตินัก’
ครั้นเวลาจะดิ้นก็ดิ้นผิดทารกทั่ว ๆ ไป คือดิ้นเสียจนแม่เจ็บในท้อง แต่พอเลิกดิ้นแล้วก็กลับเงียบผิดปกติอีก เหมือนกับว่า "คงจะตายไปแล้วละมัง ?"
ครั้นพอถึงระยะเจ็บท้องจะคลอด ก็เจ็บท้องอยู่ถึง ๓ วัน ก็ไม่เห็นว่าจะคลอดแต่อย่างใด ตอนเจ็บท้องอยู่นั้นก็ชนิดจะเอาให้ล้มให้ตายเลย เสร็จแล้วก็หายเงียบไปเลย จนกระทั่งคิดว่าไม่ใช่ตายไปอีกแล้วหรือ ? แล้วก็ดิ้นขึ้นมาอีก ...”
องค์หลวงตากล่าวถึงเหตุการณ์ในระยะนี้ว่า “โยมแม่เล่าให้ฟัง ลูกทุกคนที่อุ้มท้องผ่านมานี้ ไม่มีใครลำบากเหมือนเรา มีเราคนเดียวที่ทุกอย่างผิดปกติไปหมด ไม่ได้เหมือนใคร กว่าจะได้เกิด มีเหตุการณ์ให้กระเทือนไปหมดทั้งครอบครัว... (อย่างเช่น) ลูกชายคนหัวปีชื่อ คำไพ อันนี้มีนิสัยอย่างหนึ่ง มันดุกดิกอยู่ในท้องแม่นะ บางทีจนได้เอาผ้าปิดเอาไว้ กลัวคนอื่นมองเห็น ลูกดิ้นอยู่ในท้อง โยมแม่ว่าอย่างนั้นนะ มันไม่อยู่เป็นสุขว่างั้น ดุกดิก ๆ อยู่อย่างนั้น ดึ๊กดั๊ก ๆ อยู่ในนั้น จนพูดกับพ่อ
‘เอ! พ่อมันเป็นยังไง ลูกข้อยถึงมาเป็นจั่งซี้ ดิ้นกระด้อกระเดี้ยแท้’ (แปลความว่า เอ.. พ่อ มันเป็นยังไงลูกในท้องถึงเป็นแบบนี้ ดิ้นมากจริง ๆ)
‘ช่างหัวมันเถาะ มันเป็นตามนิสัยของมันดอก’
‘มันก็โพดแท้ดี๊ เฮาจนได้เอาผ้าปิดไว้ย่านคนเห็น มันดิ้นจนท้องกระเทือน ยุบยับ ๆ จั่งซี้’ (มันก็เหลือเกินจริง ๆ จนต้องได้เอาผ้าปิดไว้ กลัวคนจะเห็น ลูกดิ้นจนท้องกระเทือนยุบ ๆ ยับ ๆ เลยนี่)
‘คนมันเป็นจั่งซั่น นิสัยมันเป็นอย่างนั้น ช่างหัวมันเถอะ’ ...
เวลาเราจะมาเกิด แม่บอกว่ามีเรื่องแปลก ๆ เช่น ตอนอยู่ในท้อง บางครั้งไม่ดีดไม่ดิ้น นิ่งเงียบเชียบสนิทเหมือนคนตายแล้ว แต่บางครั้งกลับดีดดิ้นเสียจนนึกว่าจะตายแล้วเหมือนกัน ยิ่งจวนใกล้วันจะคลอดเข้ามาเท่าไหร่ ยิ่งแสดงอาการหนักทุกอย่างเลย จนสุดท้ายเวลาจะคลอดมันก็ไม่ยอมคลอด...”
บางครั้งแม่ต้องร้องเรียกหาคุณตาของท่านว่า “อีพ้อ! มาคลำเบิ่งท้องข้อยแน ลูกข้อยบ่แม่นมันตายในท้องละบ๊อ ? มิดออนซอนอยู่หลายมื่อ มิดอิ้งติ้งอยู่หลายวัน บ่มีดิ้นมีด่อยเลย บ่แม่นลูกข้อยตายละบ๊อ ?’ (แปลความว่า ‘พ่อ... มาคลำดูท้องฉันหน่อย ลูกฉันไม่ใช่มันตายในท้องแล้วหรือ ? เงียบสนิทอยู่หลายวัน ไม่มีไหวติงเลย ไม่ใช่ลูกฉันตายแล้วหรือ ?’
คุณตาก็ว่า ‘เฮ่ย! มันบ่เป็นหยังดอก เขามีลูกกันทั้งบ้านทั้งเมือง เขาบ่เห็นเป็นหยัง ?’ (ไม่เป็นอะไรหรอก คนเขาก็มีลูกกันทั้งบ้านทั้งเมือง เขาไม่เห็นเป็นอะไร?’
แม่ก็ตอบว่าคุณตาว่า ‘มีมันก็บ่คือข้อยตั๊วล่ะ’ (เขามีลูกกัน มันก็ไม่เหมือนลูกฉันนะ)
หลังจากลูกในท้องนิ่งเงียบเชียบสนิทอยู่หลายวัน ในที่สุด ก็ดิ้นสุดแรงเกิด แม่ก็เรียกหาคุณตาอีกว่า...
‘โอ้ย! ข้อยจะตายละอีพ้อ มาคลำเบิ่งท้องข้อยแน ยามลูกในท้องมันดิ้น มันดิ้นหลายเดี๋ยวหนิ มันบ่ดิ้นธรรมดา มันดิ้นท้องจะระเบิด ลูกข้อยมันตายแล้วบ๊อ’ (พ่อ... ฉันจะตายแล้ว มาคลำดูลูกในท้องให้ฉันด้วย พอลูกในท้องดิ้น มันก็ดิ้นจนเกินไป มิใช่ดิ้นธรรมดา ดิ้นเหมือนว่าท้องจะระเบิด ลูกฉันไม่ใช่ตายไปแล้วหรือ)
ลัก...ยิ้ม
24-04-2012, 11:16
ในช่วงเวลานี้พ่อและแม่ของท่าน เวลาฝันมักจะฝันขัดแย้งกันตลอด พ่อมักฝันแต่เรื่องของผู้ชาย เช่น ฝันว่าได้ปืน หรือเห็นผู้ชายถือปืน ส่วนแม่มักฝันแต่เรื่องของผู้หญิง เช่น ฝันเห็นตลับขี้ผึ้ง หรือเครื่องแต่งเนื้อแต่งตัวของผู้หญิง และในที่สุดถึงคราวที่จะมาเกิด ท่านเล่าว่า
“...โยมพ่อฝันว่า ‘ได้มีดโคก คือ มีดที่มีด้ามเป็นงา ฝักเป็นเงิน มีปลายแหลมคม’
โยมแม่ได้ฟังดังนั้นจึงพูดแย้งว่า ‘อู๊ย! ฉันไม่ได้ฝันอย่างนั้น ฉันกลับฝันว่า ได้ต่างหูทองคำ เวลาใส่ต่างหูอันนี้ อู๊ย! มันช่างงดงามหยดย้อยอะไรปานนั้น งามมากถึงขนาดอดใจที่จะไปส่องกระจกดูตัวเองไม่ได้ เมื่อส่องดูก็ยิ่งสวยงามแวววาวประทับจับใจ’...”
และด้วยเหตุนี้ คุณตาจึงได้ทำนายฝันของพ่อและแม่ไว้ว่า
“เออ! ลูกมึงคนนี้ กูว่ามันต้องเป็นผู้ชาย มันเกิดมามีทางเดินให้เลือกอยู่ ๒ ทาง
๑) ถ้ามันไปทางชั่วแล้ว พังหมดเลยว่ะ ความโหดเหี้ยม.. มหาโจรสู้มันไม่ได้ มันยังเป็นนาย เป็นหัวหน้ามหาโจรอีก จะให้จับมันไปเข้าคุกตะรางไม่มีทาง ต้องฆ่ามันเท่านั้นถึงจะจับได้ แล้วมันจะไม่ยอมตายอยู่ในเรือนจำนะสู มันจะตายแบบไม่มีป่าช้า สู้กับเจ้าหน้าที่อยู่ในป่าในเขา ต้องตายอยู่ในป่า ฟัดกันกับเจ้าหน้าที่เขาเพียงเท่านั้น
๒) ถ้ามันไปทางดีแล้ว ถึงไหนถึงกัน จะดีแบบสุดโต่ง ตรงกันข้ามกับฝ่ายชั่ว...
ชอบไปทางไหนเรียกว่าขาดเลยทีเดียว เป็นคนจิตใจหนักแน่น ลงได้ทำอะไรแล้ว ต้องจริงทุกอย่าง ไม่มีเหลาะ ๆ แหละ ๆ...”
เมื่อทารกคลอดออกมา ปรากฏว่ามีสายรกพันคอออกมา และยังมีลักษณะที่ต่างไปจากเด็กทั่วไป องค์หลวงตากล่าวถึงเหตุการณ์ในตอนนั้น ดังนี้
“... โยมแม่เล่าว่า ‘พอเราตกคลอดออกมาแล้ว... มีสายรกพันคอ เงียบเฉยไม่มีเสียงร้องแม้แต่น้อย ผิดกับเด็กทั่ว ๆ ไป เขาจึงเอาน้ำสาดใส่นิดหนึ่ง แทนที่มันจะร้อง กลับไม่มีเสียงออกมาเลยแม้แต่น้อย’
โยมตาได้ทำนายความเป็นไปไว้ ๓ อย่าง คือ
๑) สายโซ่ หมายถึง ไปทางโจรขโมย... ถ้าเป็นโจร ก็เป็นประเภทคุกตะรางแตก
๒) สายกำยำ* หรือสายสะพายปืน หมายถึง เป็นนายพรานเดินตามรอยพ่อ... ถ้าเป็นพรานจะมีความชำนิชำนาญลือลั่นป่า
๓) สายบาตร หมายถึง จะได้ออกบวชเป็นพระ... ถ้าเป็นนักปราชญ์ ก็จะเหยียบแผ่นดินสะเทือน...’
พอเราตกคลอดออกมามีสายรกพันคอ โยมตาเห็นดังนั้น จึงรีบแก้เคล็ด สะเดาะเคราะห์ให้เป็นมงคลอย่างยิ่ง โดยแกร้องพูดให้พรในทางดีแก่เราขึ้นทันทีว่า
‘โอ้! รกพันคอ นี่เป็นสายบาตร สายบาตร สายทางธรรม นี่สายบาตร ๆ สูดูนี่..! สายบาตร สายบาตร ๆ เด็กน้อยคนนี้มันจะได้บวชเป็นพระ แล้วก็จะได้เป็นนักปราชญ์ นี่คือ ทางสายบาตร’…”
======================
* ปกติ นายพรานเวลาไปยิงเนื้อ จะสะพายถุงกำยำเพื่อเอาไว้ใส่ดินปืน
ลัก...ยิ้ม
25-04-2012, 09:47
เหมือนไม่มีวัน “กล้า”
คุณตารักหลานคนนี้มาก จะเป็นผู้ดูแลด้วยตนเองทีเดียว คอยจุดไต้ส่องดูหลานทั้งคืน ไม่อยากให้ลูกสาวต้องมากังวล เพราะทั้งห่วงหลานก็ห่วง ห่วงลูกสาวคนเดียวก็ห่วง ไม่อยากให้ต้องลำบากคอยลุกขึ้นดู คุณตาเลยคอยดูอยู่ทั้งคืน ดูแล้วดูเล่า.. คอยส่องอยู่อย่างนั้นบ่อยครั้ง พอมาดูอีกทีหนึ่ง ปรากฏว่าไฟจากไต้เลยตกใส่ตะกร้าลุกไหม้ผ้าอ้อมหลานเลย
เมื่อหลานเติบโตขึ้น คุณตาก็จะมีอุบายสอนหลานอยู่เนือง ๆ มีอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อเห็นหลานน้อยกินมะยมหรือกระท้อนเข้าไปแล้ว กลืนเม็ดเข้าไปด้วย คุณตากลัวว่าเม็ดอาจจะติดคอได้ เพราะหลานยังเล็กเกินไป จึงบอกหลานว่า
“ระวังนะ! กลืนลงไปทั้งเม็ด เดี๋ยวมันจะไปเกิดเป็นต้นอยู่ในท้อง ใบก็จะงอกออกทางจมูก ทางปาก รากจะงอกออกทางก้น ระวังให้ดี ! เดี๋ยวจะตายได้นะ”
หลานได้ยินเช่นนั้น เกิดความกลัวจนถึงกับร้องไห้เสียใหญ่โต จากนั้นมาไม่กล้ากลืนเม็ดมะยมนั้นอีกเลย จวบจนโตขึ้นจึงได้รู้เรื่อง
อีกครั้งหนึ่ง ในตอนที่ท่านยังเด็ก ๆ อยู่นั้น จัดว่าเป็นคนขี้กลัวมากคนหนึ่ง คงจะเป็นเพราะผู้เฒ่าผู้แก่เคยพูดถึงเรื่องผี เรื่องปอบ หรือเรื่องสัตว์ เรื่องเสือ ให้ฟังมาก่อน เพราะแม้เวลาจะไปขับถ่าย ยังต้องให้น้อง ๆ เป็นเพื่อนคอยเฝ้าอยู่ใกล้ ๆ กันนั้นอยู่ตลอด “อย่าไปไกลกูหลาย”
จากนั้นก็บอกให้น้องคนหนึ่งอยู่หน้า อีกคนหนึ่งอยู่หลัง เมื่อได้อยู่ตรงกลางเป็นที่สบายใจแล้วจึงยอมถ่าย
สิ่งนี้ทำให้เห็นชัดว่า แต่เดิมคนเราอาจเป็นคนขี้กลัวมาก่อน ปานว่าจะไม่มีความกล้าได้เลย แต่เมื่อได้รับการฝึกฝนในระยะต่อ ๆ มาแล้ว ย่อมสามารถพลิกนิสัยได้อย่างสิ้นเชิง กลายเป็นนักสู้ที่องอาจไม่หวั่นเกรงต่อสิ่งใดทั้งนั้น
ลัก...ยิ้ม
25-04-2012, 14:14
ไม่กินของดิบ
ทางอีสานในตอนนั้น ความรู้ทางโภชนาการยังไม่ค่อยเจริญนัก ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงชอบกินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ แม้คุณพ่อของท่านก็เช่นกัน ด้วยความรักของพ่อ เมื่อได้อะไรแปลก ๆ ใหม่ ๆ มา ก็อยากจะให้ลูกได้ลองกินดูบ้าง
แต่สำหรับเด็กชายบัวนั้น เป็นมาแต่เล็กแต่น้อยแล้ว คือจะไม่ยอมกินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เลย แม้พวกปลาร้าอย่างนี้ หากยังดิบอยู่ ก็จะไม่ยอมเอาเข้าปากโดยเด็ดขาด ด้วยเหตุผลว่า “มันคาว” แต่แล้ววันหนึ่ง พ่อไปล่าไก่ป่ามาได้ แล้วนำมาทำเป็นเหมือนป่นปนน้ำเหลว ๆ จากนั้นให้ท่านลองชิมดู ในวันนั้น ใจพ่อคิดอยากทดสอบดูว่า ลูกชายคนนี้จะไม่ยอมกินของดิบ ๆ จริง ๆ หรือ เพราะก็เห็นเด็กคนอื่น รวมทั้งพี่ ๆ น้อง ๆ ก็กินกันได้เป็นปกติ ไม่เห็นมีใครบ่นว่าเหม็นคาวแต่อย่างใดเลย
การทดสอบหาความจริงของพ่อจึงเริ่มขึ้น หลังจากปรุงอาหารดิบสูตรพิเศษเสร็จแล้ว จึงยกออกมาวาง และลูกก็คงจะมองสีสันและลักษณะดูแปลกตาไป จึกยกขึ้นมาดมแล้วถามอย่างไม่ค่อยวางใจเท่าไหร่นักว่า
“มันสุกแล้วจริงหรือ ? บ่ได้หลอกข้อยหรือ ?” (“ข้อย” หมายถึง ผม)
“บ่ได้หลอกดอก กินเถอะลูก ทำให้สุกแล้ว”
ความที่หวังดี ทั้งก็อยากทดสอบดูว่าลูกคนนี้จะไม่ยอมกินจริง ๆ หรือ ทำไมมันแปลกกว่าพี่น้องคนอื่น ๆ นักเล่า ?
ลูกไม่แน่ใจจึงถามย้ำเข้าไปอีกว่า
“บ่หลอกจริง ๆ หรือ ?”
“บ่..บ่หลอกดอก” แต่แท้ที่จริงแล้ว ผู้ใหญ่ร่วมกันหลอกเด็กเสียเต็มประตู
เมื่อผู้ใหญ่ต่างก็ยืนยันเช่นนั้น ก็เลยเอาข้าวเหนียวปั้นเป็นคำน้อย ๆ แล้วจิ้มอาหารดิบสูตรพิเศษเข้าปาก จากนั้นก็เคี้ยวไว้สักพักหนึ่งแล้วก็อมไว้ ไม่ยอมกลืนแต่อย่างใด แค่อม ๆ ไว้เท่านั้น แล้วก็จิ้มคำที่สอง ก็ทำในลักษณะเดิมอีก คือพอเอาใส่ปากแล้วเคี้ยวอยู่พักหนึ่ง แต่ก็ไม่ยอมกลืน ยังคงอมไว้เหมือนเดิม เหตุการณ์ในตอนนี้ คุณตาแอบสังเกตเห็นโดยตลอด
พอคำที่สามเท่านั้น คราวนี้หลานอาเจียนแทบเป็นแทบตาย ชนิดในท้องมีอะไรเท่าไหร่ก็เอาออกมาหมดเกลี้ยงเลย ถึงตอนนี้คุณตาเห็นท่าไม่ดีแล้ว จึงรีบเข้าไปลูบหลังพร้อมพูดปลอบขวัญหลานด้วยความสงสารเป็นที่สุดว่า
“โอ้..ลูกเอ๋ย ตาหลอกลูกจริง ๆ นะแหละ ตาขอโทษนะ ตาอยากทดสอบดูลูกว่า ลูกเป็นหยัง ? บางทีพอตาหลอกให้กินก่อนแล้ว เดี๋ยวต่อไปลูกก็คงจะกินเป็นเหมือนคนอื่น ๆ เขา”
หลานตอบว่า “ก็ข้อยบอกแล้วว่ามันคาว มันกินไม่ได้จริง ๆ” ถึงตอนนี้องค์หลวงตาได้เล่าย้อนหลังถึงความรู้สึกในทันทีที่ชิมอาหารปรุงรสพิเศษของพ่อไว้ด้วยว่า “โหย..มันยังไงไม่รู้นะ มันพุ่งเข้าไปข้างใน อาเจียนแตกออกมา วันนั้นยุ่งใหญ่เลย ไม่ได้หลับได้นอนเลย”
น้อง ๆ ของท่านกล่าวถึงเหตุการณ์ในวันนั้น จากคำบอกเล่าของแม่อีกทีหนึ่ง ผลปรากฏว่า ในคืนนั้นคุณตาเลยไม่เป็นอันหลับอันนอน สงสารหลาน เห็นหลานกินข้าวไม่ได้ ต้องคอยเทียวลุกไปดูหลานอยู่ตลอด เที่ยวหาฝ้ายมาผูกแขนผูกมือให้หลานถึง ๓ ครั้ง ๓ หน ทั้งปลอบขวัญทั้งเป่าหัวให้หลานอยู่อย่างนั้น เรียกว่ามีวิชาอะไรก็จะขุดจะลากออกมาใช้หมดสิ้น เพราะอยากให้หลานหายโดยเร็ว
ในเรื่องนี้ แม้เมื่อท่านโตขึ้นแล้วก็ตาม หากเห็นน้อง ๆ พากันกินของดิบ ท่านก็มักจะดุเอาบ้างเหมือนกัน เช่น คราวหนึ่งน้องกำลังกินส้มตำผสมกุ้งสด ๆ กันอยู่ ท่านเห็นเข้าก็เลยดุเอาว่า “เอาไปทำให้สุกเสียก่อน”
น้องตอบว่า “โอ๊ย แค่กุ้งดิบมันไม่มีเลือด มียาง มันไม่คาวหรอก จะเป็นอะไรไป”
ท่านก็ยังคงยืนยันตามเดิมเหมือนเมื่อตอนยังเล็กว่า “มันคาว”
เรื่องนี้องค์หลวงตาเมตตาอธิบายในภายหลังว่า “นิสัยนี้มันเป็นเองไม่มีใครสอน ของดิบกินไม่ได้ พวกลาบพวกก้อย แม้ที่สุดปลาซิวตัวเล็ก ๆ ก็กินไม่ได้ กินของดิบได้แต่กุ้ง แต่ต้องกุ้งตัวเล็ก ตัวใหญ่ก็กินไม่ได้ มันคาว เขาป่นกุ้งนี้กินได้ นอกนั้นพวกปลาซิวนี้กินไม่ได้เลย นิสัยทุกอย่างนี้เป็นเอง ไม่มีใครบอก มันเป็นในนิสัยเอง ไม่มีใครสอน จนถึงขนาดว่าพ่อต้องทดลองดูทุกอย่าง ก็ยังอาเจียนออกมาต่อหน้าต่อตา”
ลัก...ยิ้ม
26-04-2012, 10:55
อุบายฝึกหลาน คำสอนของตา
เมื่อท่านเติบโตขึ้นพอปีนป่ายได้แล้ว คุณตามักมีอุบายฝึกให้หลานชายทั้ง ๒ คน (คือพี่ชายและตัวท่าน) ปีนขึ้นต้นไม้แข่งกัน หากว่าใครปีนขึ้นไปถึงกิ่งนี้ได้ก่อน คุณตาก็จะให้รางวัล ปรากฏว่า ท่านเป็นผู้ชนะพี่ชายทุกครั้งไป สำหรับของรางวัลก็คือผลไม้ป่าบ้าง หรือข้าวจี่*บ้าง คุณตาจะให้เพียงปั้นเดียวเท่านั้น ไม่ได้ให้อะไรมาก
เมื่อคนน้องได้รางวัลมาแล้ว คุณตาจะคอยแอบสังเกตดูอยู่ห่าง ๆ ตลอดมา พบว่าน้องจะแบ่งของรางวัลนั้นให้พี่ชายทุกครั้งไป และให้มากกว่าตัวเองเสียอีก คุณตาไม่เคยเห็นน้องหวงเลย จนต้องได้มาพูดกับแม่ของท่านว่า
“บัวนี่ มีน้ำใจมีความเมตตาแท้ ๆ นะ มันรู้จักสงสาร...
พี่ชายมันปีนสู้ไม่ได้ มันเลยเอาของแบ่งให้พี่ชายมันกินมากกว่า แทนที่ว่ามันผู้ไปปีนได้ จะกินมากกว่าพี่ชาย มันกลับกินน้อยกว่าพี่ชาย ดูซิ มันมีน้ำใจนะไอ้นี่ มันแปลกนะ แปลกทุกอย่าง”
ทั้ง ๆ ที่คุณตาก็ให้ความรักแก่หลานทุกคนพอ ๆ กัน แต่คงเป็นด้วยอุปนิสัยที่มีน้ำจิตน้ำใจเช่นนี้นี่เอง ทำให้คุณตามักมีข้อชมเชยหลานคนนี้อยู่เสมอ ๆ
นิสัยอีกอย่างหนึ่งของหลานคนนี้ก็คือ ตั้งแต่เด็กแต่เล็กมาแล้ว ชอบที่จะเล่นกับสัตว์เฉพาะอย่างยิ่งคือสุนัข ยิ่งตัวไหนอ้วน ๆ ดำ ๆ ด้วยแล้ว ยิ่งชอบหยอกเล่นด้วย จนถึงกับมีบางครั้งที่ทำให้แม่ต้องได้ดุได้ว่าเอาบ้าง แต่ท่านจะไม่ยอมตีหรือแกล้งมันให้เจ็บ ตรงกันข้ามหากเห็นน้อง ๆ แกล้งมันคราวใด ท่านจะดุจะว่าทันที
องค์หลวงตาเคยกล่าวถึงเหตุการณ์ในตอนนี้ด้วยว่า
“... เราชอบเล่นกับหมาเป็นประจำ นิสัยกับหมาถูกกันแต่ไหนแต่ไรมา จนกระทั่งโตเป็นหนุ่มก็ยังเล่นอยู่อย่างนั้นแหละ หมาจะเรียบร้อยขนาดไหน ครั้นมาได้รับการอบรมจากเราแล้ว ดื้อหมด เล่นกับหมาจนกระทั่งมันเหนื่อย มันเพลีย พอหลุดมือเราปั๊บวิ่งหนีเข้าป่าเลย คือลูกหมาเขาไม่อยากเล่นกับเรา เขาเหนื่อย
แม่มาเห็นก็ว่าขึ้นเลยว่า ‘เลี้ยงหมาตัวไหนไว้ มีเท่าไร เท่าไร ดื้อเหมือนกันหมด หยอกแต่กับหมา เล่นแต่กับหมา’ เราฟังแม่พูดแล้วก็เฉย เพราะมันก็เป็นอย่างที่แม่ว่าจริง ๆ ก็เราเล่นกับมัน จะไม่ให้มันดื้อได้อย่างไร...”
อีกเรื่องหนึ่ง สมัยที่ท่านยังเป็นเด็กอยู่ มีคนมาขอใบพลูกับแม่ ในคราวที่เขามาขอแม่ แม่มักจะให้ทุกอย่างไม่เคยเห็นปฏิเสธเลย แต่พอมีความจำเป็นไปขอเขาบ้าง ทุกครั้งเขากลับไม่เคยให้เลย เรื่องนี้หลาน ๆ มักได้ยินคุณตาสอนเป็นข้อเตือนใจว่า
“เขาไม่ให้ครั้งที่ ๑ ก็อย่าโกรธให้เขา บางทีของมันอาจจะไม่พอให้ แล้วก็คนเก่านั้นแหละ ให้ไปขอเขาอีกครั้งที่ ๒ เผื่อว่าเขาได้อะไรมา เช่น พวกของป่า ของอะไร ๆ ก็ตาม
ถ้าหากครั้งที่ ๒ นี้ก็ไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งไปโกรธให้เขา บางทีเราอาจไปขอเขาทีหลังไม่ทันคนอื่น ของมันเลยไม่พอกัน
ให้ลองกับคน ๆ นี้อีกเป็นครั้งที่ ๓ ถ้าไม่ได้ก็เลิกซะ แต่ว่าอย่าโกรธให้เขานะ อย่าไปโกรธให้เขา”
=======================
* ข้าวเหนียวสุก ปั้นเป็นก้อน โรยด้วยเกลือเล็กน้อย แล้วเอามาปิ้งไฟให้หอมหวนน่ารับประทาน
ลัก...ยิ้ม
27-04-2012, 11:05
คุณตาดัดนิสัยด้วย “อ้อย” เป็นเหตุ
ป้าฝ้ายเป็นญาติกับครอบครัวของท่าน บ้านอยู่ใกล้ ๆ กันนั้น ป้าฝ้ายมีสวนอ้อยที่เป็นเหตุให้ท่านในวัยเด็ก ต้องได้กินคลุกเคล้าน้ำตาดังนี้
“...ป้าฝ้ายกับเราเป็นญาติกัน แกเป็นสาวสวยงามมาก ผิวขาวเหมือนฝ้าย คนเขาจึงเรียก “ป้าฝ้าย” แกมีกิริยานิ่มนวล แกมาเจอกับเด็กอย่างเรา... ตอนนั้นเราเป็นเด็กอายุ ๖ ปี พี่ชายอายุ ๗ - ๘ ปีอยู่บ้านตาด... เราจำได้ทุกสิ่ง...
วันหนึ่งเดินผ่านออกไปทางบ่อน้ำ แล้วก็ไปทุ่งนา ผ่านสวนอ้อยแม่ป้าฝ้าย มันอยู่ข้าง ๆ ทาง อ้อยก็ลำใหญ่น่ากินเสียเหลือเกิน เราจึงออกปากชวนพี่ชายว่า
‘พี่... ขโมยอ้อยเขาไปกินกันเถอะ’
จึงพากันลอดรั้วเข้าไปขโมยตัดอ้อยแม่ป้าฝ้าย ดึงกระชากลากออกมาคนละลำ ... พอดีในวันนั้นป้าฝ้ายไม่อยู่ แกไปทุ่งนา ... ขณะที่เรากับพี่กำลังกุลีกุจอลอดรั้วกลับออกมา แกก็มาพบเข้าพอดี จึงถามขึ้นว่า
‘เด็กเหล่านี้..สูทำไมมาขโมยอ้อยกูหละ’
ป้าฝ้ายพูดพร้อมกับอมยิ้ม เพราะเห็นว่าทั้งสองยังเด็กเกินไปที่จะถือสีถือสา
เราก็ตอบไปแบบโวหารเด็กโวหารโจรว่า ‘ผมไม่ได้ขโมยอ้อยป้านะ ผมเดินผ่านไปผ่านมา ผมเห็นอ้อย ผมอยากกินอ้อยมาก จึงให้พี่ชายเข้าไปตัดอ้อย ตัดแล้วจะแบกไปบอกป้าแล้วจึงจะกลับไปบ้านกัน เผอิญป้าผ่านมาพบพอดี ถ้าอย่างนั้น ป้าก็เอาคืนไปเสียเถอะ’
‘โอ๊ย กูไม่เอาละ สูตัดมาแล้ว สูก็เอาไปกินเสีย’ ป้าพูดใจดีอย่างนั้น เรากับพี่ก็ยิ้มแต้เลย
พอกลับไปบ้าน ก็ไปอวดโยมตาละซิว่า ‘ได้ไปขโมยอ้อยป้าฝ้ายกับพี่ชาย’
พอโยมตาได้ทราบดังนั้น... วันต่อมาก็เดินด้อมไปหาป้าฝ้าย ไปบ้านเขาก็เพราะกลัวหลานของตัวจะเสียคน ถ้าส่งเสริมเดี๋ยวหลานมันจะกลายเป็นขโมย เพราะฉะนั้น โยมตาจึงไปบอกเขาว่า
‘เด็กเหล่านั้น มันไปขโมยอ้อยสูเมื่อวาน สูรู้ไหม ?’
ป้าฝ้ายตอบว่า ‘รู้.. แต่พวกเด็กเขาไม่ได้ขโมยนะน้า เขาบอกว่าเขาหิวอ้อยมาก เขาตัดอ้อยแล้ว เขาจะแบกมาขอที่บ้านนี่ก่อน แล้วพวกเด็กถึงจะไปบ้านเขา’
โยมตาก็ว่า ‘พวกเด็กมันขโมยอ้อยสู สูรู้ไม่ทันมัน มันพูดกับกูชัดเจนแล้วว่ามันขโมย มันโกหกสู’
ทางฝ่ายป้าฝ้ายแกก็ไม่ถือสานะ แกบอกว่า ‘โอ๊ย ! ช่างหัวมันเถอะ ประสาเด็ก’
ทางฝ่ายโยมตา ได้เอาเรื่องขโมยอ้อยนี้มาขู่ดัดนิสัยเรา ด้วยเสียงแข็ง ๆ โดยแกล้งบอกพวกญาติ ๆ ว่า ‘พวกสูไปหาพวกเครื่องอาหารการบริโภคใส่พกใส่ห่อไว้ให้เด็กสองตัวนี่ซิ เดี๋ยวตำรวจเขาจะมาจับมันมัดไปติดคุก เพราะมันไปขโมยอ้อยเขามา’...”
พอหลานบัวได้ฟังดังนั้นก็เกิดความกลัวขึ้นมาจับใจ จึงวิ่งร้องห่มร้องไห้กระโดดขึ้นไปหลบบนบ้าน เข้าห้องปิดประตู ครั้นพอเข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในห้องก็คิดกลัวอีกว่า
‘อยู่ในห้องแคบ ๆ แบบนี้... ตำรวจเขายิ่งจะมาจับเอาตัวไปได้ง่าย’
พอคิดได้อย่างนี้ก็ตกใจ รีบกระโดดลงบ้านฟาดวิ่งเตลิดเปิดเปิงลงทุ่งกลางนาหาที่หลบซ่อนตัว แบบกะว่าจะไม่ให้ใครตามหาตัวเจอเลยก็ว่าได้
ท่านว่า คราวนั้น คุณตาดัดนิสัยสันดานหลานชายอย่างเต็มที่ เพราะกลัวหลานรักจะเสียผู้เสียคน ถ้าไปแก้ต่างให้หลานจะกลายเป็นการส่งเสริม แล้วเด็กจะเสียคนได้ ทั้งที่ปกติธรรมดานิสัยของท่านเองไม่เป็นเช่นนี้ จะมีก็เพียงตอนหิวอ้อยตอนนี้ตอนเดียวเท่านั้น ก็เลยพาให้โกหกผู้ใหญ่ได้เก่งทีเดียวว่า ‘ไม่ได้ขโมย’
ลัก...ยิ้ม
30-04-2012, 09:48
ตอนไม่รู้ ก็ผิดบ้าง
พอรู้แล้ว ไม่ยอมให้ผิด
ปกติอุปนิสัยเด็กชายบัวเป็นที่รักของคนทั่วไป ทั้งผู้ใหญ่และเพื่อนฝูงวัยเดียวกัน เพราะที่เป็นเด็กมีน้ำใจ ชอบช่วยเหลือการงานผู้อื่นอยู่เสมอ หากไปไร่ไปสวนกับใครก็ตาม มักจะช่วยเหลือทุกอย่างที่จะช่วยได้ เช่น ช่วยทำการทำงาน ช่วยหาบช่วยถือสิ่งของ ใคร ๆ ก็เลยรักทั้งนั้น ไม่มีใครคิดหวงข้าวหวงของอะไร
ชีวิตของเด็กชายบัว มิได้มีสิ่งใดผิดแผกแตกต่างจากเพื่อนฝูงวัยเดียวกัน แต่เล็กแต่น้อยก็ให้ความเคารพในพระศาสนา มีความเลื่อมใสในพระในเณรมาโดยตลอด ในตอนเด็กก็ชอบใส่บาตรกับผู้ใหญ่ เมื่อเข้าเรียนหนังสือชั้นประถมศึกษาแล้ว เด็กชายบัวก็รับผิดชอบในการเล่าเรียนดี จะมีบางครั้งที่ซุกซนบ้างตามประสาวัยที่กำลังรักสนุกเพลิดเพลิน แต่ก็ไม่ได้เป็นเรื่องร้ายแรงอะไรนัก เช่น ครั้งหนึ่งท่านยกเอาเรื่องสมัยเด็กมาสอนนักเรียนว่า
“... นี่หลวงตาบัวเคยเป็นนักเรียนมาแล้วนี่ เป็นนักเรียนเป็นหยัง (ไง) ละ วันไหน ขี้เกียจเรียนหนังสือก็หาอุบายลาไปเลี้ยงน้อง
‘วันนี้ลาเอาน้องครับ พ่อแม่หนีหมด’ ว่ายังงั้นนะ ‘พ่อแม่บอกดูน้องให้ด้วย’ นั่น ว่าไปยัง 'งั้น' นะ ครูเขาก็อนุญาตนะสิ ใช่ไหมละ
พอครูอนุญาต ที่แท้ก็เผ่นแน่บเข้าป่าหายจ้อยไปเลย... เคยเป็นแล้วจึงเอามาพูด... อย่าให้เป็นนะเด็กเหล่านี้ หลวงตามันเคยเป็นมาแล้ว... มันไม่ดี จึงได้เอามาสอนลูกสอนหลาน...
วันหนึ่ง ๆ นี้ ขาดโรงเรียนไป ขาดวิชาไป บางทีเขาโน้ต จดวิชาอะไรต่ออะไรนี้ เราไม่ได้จดกับเขา แล้วถ้าเราจะไปโน้ตหรือจดวันหลัง เช่นนี้ก็จะเสียเวลาไปอีกมากมาย แล้วถ้าครูสอนอะไรมันก็ไม่ได้เรื่องได้ราว เพราะวันนั้นเป็นวันที่เราขาดโรงเรียน นั่นแหละ
เพราะฉะนั้น พอโตขึ้นมา พอรู้เรื่องรู้ราวแล้ว... รู้จักผล รู้จักประโยชน์ในการศึกษาเล่าเรียนแล้ว ที่นี้... โอ๊ย ไม่ยอมให้ขาดเรียนเลยนะ หมายถึงว่าตอนเล็กกว่านั้นมันเคยเถลไถล พอโตขึ้นมาพอรู้ภาษาบ้าง... เป็นไม่ยอม
แม้แต่พ่อแม่ให้ลาเวลาจำเป็นนี้ ยังไม่ยอมลา มันจะขาด... ถ้าไปแล้วมันต้องเสียวิชานี้... วันนี้ครูจะสอนอันนั้น ๆ บอกไว้เลย ถ้าไปแล้วจะไม่ได้เรียน ไม่ได้ฟังวิชานี้..”
ครั้งหนึ่ง ระหว่างที่ผู้ใหญ่กำลังนั่งพูดคุยกันอยู่นั้น ท่านก็เดินเข้าไปในบริเวณกองไม้ซึ่งอยู่สูงกว่าผู้ใหญ่ ทำให้ดูเหมือนว่าท่านไม่ให้ความเคารพ ครูใหญ่เห็นดังนั้น คิดจะสอนท่าน จึงพยายามมองสบตาและส่งสายตาเตือนให้รู้ตัว ท่านก็เลยรีบลงมา
เมื่อผู้ใหญ่ไปแล้ว ครูก็พูดด้วยความเมตตา บอกให้ทราบว่า ‘บัวเอ๊ย อย่าขึ้นนั่งสูงกว่าผู้ใหญ่นะ อย่างนั้นมันดูไม่งาม’
ในตอนนั้น ท่านไม่ทันคิดว่ามันไม่เหมาะสมไม่ควร ต่อเมื่อครูทำสัญญาณบอกดังกล่าว ท่านจึงทราบและรีบปฏิบัติตามทันทีด้วยความเชื่อและเคารพในเหตุผล
ลัก...ยิ้ม
30-04-2012, 15:51
เด็กชายบัว ผู้เกรงกลัวบาป
มีอยู่ครั้งหนึ่งในวัยเด็กขององค์หลวงตา ซึ่งท่านยังจำได้ไม่เคยลืมเลือน ท่านเล่นซุกซนชนิดที่เพื่อนรุ่นพี่ด้วยกันยังรับไม่ได้ ครั้งนั้นเด็กชายบัวเห็นพวกผู้ใหญ่เขาตัดต้นมะอึก (เป็นต้นไม้พุ่มมีหนามกอใหญ่ ๆ) ทิ้งไว้ข้างทาง เกิดนึกสนุกอยากแกล้งคน จึงไปลากกิ่งไม้มะอึกที่มีหนามมาขวางทางเดินไว้ เพื่อนรุ่นพี่ที่ไปด้วยกันเห็นเข้าจึงถามขึ้นว่า
‘มึงจะทำอะไรนี่ ?’
‘เอามาขวางทางคนเดินนะสิ’ เด็กชายบัวตอบ
‘มึงเอามาหาพ่อมึงอะไร มึงไม่รู้จักหรือว่าไม้มันมีหนาม มันกีดขวางทางคนเดิน ?’
‘รู้...แต่กูจะทำ คนเขาเดินมา เขาจะด่าก็ช่างหัวเขา กูสนุกของกู’ เด็กชายบัวตอบไปตามประสาเด็ก ๆ ไม่รู้เรื่องกำลังซุกซน
‘มึงเอาออกไป…เดี๋ยวนี้’ หนุ่มรุ่นพี่ขู่เด็กชายบัวให้เอาออกโดยเร็ว และแล้วในที่สุด เด็กชายบัวก็ยอมเป็นผู้เอาออกแต่โดยดี
เรื่องนี้ ท่านอธิบายถึงอุปนิสัยในวัยเด็กของท่านเองว่า “นิสัยนี้เป็นนิสัยของมันเอง ก็คือนิสัยกิเลสนั่นแหละ จิตใจคนเรามันมีเป็นขั้น ... เป็นขั้น... ในเวลานั้นไม่ได้นึกถึง พุทโธ ธัมโม สังโฆอะไร หนักเบาอะไร ๆ ไม่นึกถึง มันดิ้นไปตามกิเลส ที่เป็นนิสัยดั้งเดิมของมันเอง”
เกี่ยวกับการใช้ภาษา ในการพูดคุยสนทนากันของคนในสมัยเมื่อท่านยังเด็ก องค์หลวงตาเคยกล่าวถึงไว้แบบขำขันว่า “ก็เราเป็นลูกชาวนา พ่อแม่ทำไร่ทำนา ไม่ได้พาซื้อพาขายอะไร จึงไม่ได้ชำนิชำนาญในเรื่องตลาดภาษิต ภาษาสังคมต่าง ๆ ไม่ค่อยเข้าใจ พวกกันก็ต้องพูดภาษาชาวนาไปเลย (หัวเราะ)”
ด้วยเหตุนี้เอง การพูดจากันระหว่างพี่น้อง เพื่อนฝูง ซึ่งมีความสนิทสนมคุ้นเคยกันในสมัยนั้น จึงมักใช้ภาษาเป็นแบบกันเอง ไม่ได้ถือเป็นคำหยาบคายอะไร เป็นภาษาชาวบ้านทั่วไป ไม่ใช่ภาษาคนเมือง ที่ต้องใช้เพื่อการติดต่อซื้อขายเป็นการเป็นงานประจำระหว่างกัน
อีกเรื่องหนึ่ง ในวัยเด็กขององค์หลวงตาที่ท่านไม่เคยลืมเลือนเลย เป็นการพูดคุยกันระหว่างผู้ใหญ่ ๒ คน ครั้งนั้น ท่านได้ยินผู้ใหญ่เขาพูดคุยกันเป็นเชิงทีเล่นทีจริง คนหนึ่งเป็นคนใจบุญสุนทาน อีกคนหนึ่งใจบาปชอบเข้าป่าเข้าเขา หายิงเนื้อยิงสัตว์ หาจับปู จับปลาเป็นประจำอยู่อย่างนั้นตลอด คนที่ใจบุญก็ชอบทำบุญทำทาน วันพระวันเจ้า ถ้าวัดใกล้บ้านไม่มีพระ ก็ไปทำบุญทำทานวัดอื่น ในวันพระไม่เคยละเว้น ที่นี้เวลาจะไปวัดก็เลยมาชวนเพื่อนอีกคนว่า
‘เพื่อน.. เพื่อน วันนี้เราจะไปวัด ไปวัดด้วยกันไหม ?’
‘อู๊ย ๆ วันนี้กูไม่ไปแหละ มึงไปวัดแล้วมึงได้บุญกุศล มึงไปสวรรค์แล้ว มึงจะได้ไม่มาแย่งหาสัตว์ หาฆ่าเนื้อฆ่าปลากับกู กูจะสนุกหาตกปู ตกปลา ไม่มีใครมาแย่งกู’
ท่านเล่าถึงความรู้สึกในครั้งนั้นว่า ทั้ง ๆ ที่เราเป็นเด็ก ทำไมมันจึงไม่ลืม ไม่เคยลืมเลยนะ คำพูดอย่างนี้เราได้ยินจริง ๆ เต็มหูเราเลย เราอุทานในใจว่า
‘โอ๊ย! ผู้เฒ่าทำไมพูดอย่างนี้ คนทั้งโลก เขารักบุญ รักกุศล รักการให้ทาน เอ๊ะ! ทำไมแกจึงพูดอย่างนี้ได้ จะเป็นลักษณะคำพูดมันมีทีเล่นทีจริงก็ตาม แต่มันก็ไม่น่าจะเอามาพูด’
เรื่องในวัยเด็กทั้งสองเรื่องนี้ สะท้อนถึงความสามารถในการแยกแยะผิดชอบชั่วดีตั้งแต่ยังเล็กของท่าน แม้จะเป็นวัยที่ยังมีความซุกซนอยู่ไม่น้อยก็ตาม สิ่งนี้บ่งบอกถึงคุณธรรมที่ฝังอยู่ลึกในใจท่าน ทำให้ท่านในวัยเด็กรู้สึกได้ว่า การพูดจาของผู้ใหญ่เช่นนี้มันเป็นความเสียหาย และจะนำมาซึ่งความเสียหายต่อไปในอนาคตอย่างแน่แท้
ลัก...ยิ้ม
02-05-2012, 11:00
คติธรรมมักจดจำไม่ลืม
แก้หน้าให้พี่ชาย
ในสมัยนั้นโรงเรียนอยู่ตรงวัดร้างบริเวณป่าสัก ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านตาด ในช่วงที่เรียนหนังสืออยู่นั้น โรคอหิวาต์กำลังระบาด ครูจึงเขียนกลอนไว้สอนเด็กนักเรียนให้ท่องจำว่า
“อหิวาต์กำเริบ ล้างมือก่อนเปิบ
ด้วยน้ำประปา
ผักดิบผักสด งดเสียดีกว่า
หากใช้น้ำท่า จงต้มเสียก่อน
อาหารหวานคาว เมื่อกินทุกคราว
เลือกแต่ร้อน ๆ
อาหารสำส่อน จำไว้ใคร่สอน
กินไม่ดีเอย”
บทท่องจำบทนี้ แม้จะท่องจำมาตั้งแต่สมัยเด็กนานมาแล้วก็ตาม องค์หลวงตาก็ยังสามารถจดจำได้อย่างแม่นยำตลอดมา ท่านเคยให้เหตุผลไว้เช่นกันว่า
“อันไหนที่มันติดใจแล้ว มันจะจำได้ไม่ลืม เป็นคติธรรมดี จึงทำให้จำได้แม่นยำ”
ชีวิตในวัยเรียนของท่านนั้น ท่านเป็นเด็กนักเรียนที่ตั้งอกตั้งใจเรียน มีความรับผิดชอบสูง จะเห็นได้จากผลการเรียนที่ดีเยี่ยมของท่านคือ
ประถม ๑ สอบได้ที่ ๒ ประถม ๒ สอบได้ที่ ๑ ประถม ๓ สอบได้ที่ ๑
ท่านเล่าถึงเหตุการณ์ในช่วงนี้ว่า “พ่อแม่มีลูกหลายคน แต่ไปเรียนหนังสือพร้อมกัน ๓ คน สมัยนั้นเด็กอายุ ๑๐ ปี เขาให้เข้าโรงเรียน ถ้าต่ำกว่านั้นเขาไม่นับเข้าในบัญชี..
เรายังไม่ลืมนะ เขาให้เป็นลูกเสือ ไปซื้อชุดลูกเสือ ... เราเป็นน้องก็จริง แต่เรียนสูงกว่าพี่ พี่ได้ชุดลูกเสือ เราเป็นน้องเรียนชั้นสูงกว่าพี่ ก็ควรจะได้เช่นเดียวกัน ตกลงเราทั้งสองก็ได้พร้อมกัน ราคาฟาดเสียตั้ง ๗ บาท เงิน ๗ บาทในสมัยนั้น ไม่ใช่เล่น ๆ ฝังใจลึกมาก
พ่อบอกว่า ‘อุ๊ย! กูก็มีเงินเท่านี้แหละ กูหามาได้สองสามวัน สูก็เอาไปหมด’
เรายังจำฝังใจไม่ลืม เวลาไปสอบ .. ไอ้เราได้ที่หนึ่งเสมอ ส่วนบักคำไพผู้เป็นพี่ชาย ขาดเพียงคะแนนเดียวก็จะสอบผ่าน คือว่าคะแนนถึงสิบจึงจะสอบผ่าน มันสอบได้เพียงเก้าคะแนนจึงสอบตก เราจึงแซงขึ้นไปเรียนชั้นสูงกว่า พี่ชายเราเซ่อ ๆ นะ เวลาไปเรียนหนังสือ...”
การเรียนหนังสือในตอนนั้น ก็ไม่ได้มีฝากั้นแบ่งแยกเป็นห้อง ๆ ดิบดีอะไร ทำให้มองเห็นกันและได้ยินเสียงครูข้าง ๆ ห้องสอนหนังสือนักเรียนชัดเจน เหตุนี้เองทำให้มีเรื่องน่าขบขันเรื่องหนึ่ง เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่เรียนหนังสือ อย่างเช่นวันหนึ่ง พี่ชายของท่านไปเรียนหนังสือและครูให้ไปเข้าแถว หากว่าใครเป็นคนที่ยืนอยู่อันดับแรกก็นับ.. หนึ่ง สอง สาม ไปตามลำดับ
ในวันนั้นพี่ชายของท่าน (ชื่อคำไพ) อยู่ในอันดับที่สิบเอ็ด พอเพื่อนนับถึงคนที่สิบ อันดับต่อไปเป็นพี่ชายของท่าน และต้องนับเลข “สิบเอ็ด” พี่ชายกลับมัวแต่อ้าปากค้าง อ้า... อ้า... อ้าปากค้าง... อยู่อย่างนั้น นับไม่ได้หน้าไม่ได้หลังอะไร เป็นที่รำคาญใจและอับอายแก่น้องยิ่งนัก น้องซึ่งอยู่ในวัยเด็กกว่าและไปอยู่แถว ๆ นั้นพอดี จึงตะโกนบอกพี่ชายในทันทีว่า
“สิบเอ็ด สิบเอ็ด สิบเอ็ด ตอบเร็ว ๆ ๆ ๆ สิพี่”
พี่ชายได้ยินเสียงน้องก็รีบตอบในทันทีว่า “สิบเอ็ด ด ด ด”
ท่านจะเล่าถึงเหตุการณ์นี้ ในวัยเด็กระหว่างพี่ชายกับตัวท่านเองด้วยความขบขันทุกครั้งไป และอีกเรื่องหนึ่งท่านเล่าถึงพี่ชายทำขายหน้าตอนอยู่โรงเรียนขณะท่านกำลังเรียนอยู่ชั้น ป.๑ และพี่ชายของท่านก็เรียนหนังสืออยู่ห้องติดกันดังนี้
“... พี่ชายเรายังไม่ได้หน้าได้หลังอะไร ที่นี้เวลาครูถามเรื่องง่าย ๆ มันน่าจะคิดได้ แต่มันกลับคิดไม่ได้ ทำให้เป็นเรื่องยาก เช่น ครูถามขึ้นว่า ‘คำไพ ค้างคาว ภาษาอีสานเรียกอะไร ?’
พี่ตอบว่า ‘เจียครับ’
ทีนี้ครูถามย้อนกลับอีกว่า ‘แล้วเจีย ภาษากลางเรียกว่าอะไร ?’
แทนที่พี่จะตอบว่าเรียกว่า “ค้างคาว” แกก็ย้อนกลับไม่เป็นนะ มันโง่จะตาย (หัวเราะ) เพื่อนเขาหลอกให้ตอบแบบไหนมันก็ว่าไปตามเขาหมด พอครูถามย้ำ ๆ อีก
‘เจียเรียกว่าอะไร.. เจียเรียกว่าอะไร.. คำไพ เจียเรียกว่าอะไร ?’
พวกเพื่อน ๆ ที่นั่งอยู่นั่นหลอกมัน แอบกระซิบบอกเรียกว่า ‘ดังวีก’
พี่จึงเหลียวมองโน้นมองนี้ แล้วก็ตอบครูตามเขาทันทีว่า ‘เรียกว่าดังวีกครับ’ (แปลว่า จมูกวิ่น)..
ทันทีที่พี่ชายหลงเชื่อ ตอบคุณครูตามคำกระซิบของเพื่อน ๆ ผลปรากฏว่าทั้งครูและเพื่อนในห้องนอกห้อง พากันส่งเสียงหัวเราะสนั่นโรงเรียน เด็กชายบัวในครั้งนั้นจึงทั้งจะหงุดหงิดทั้งขบขันปะปนกันไป ได้แต่คิดว่า เราเป็นน้องแท้ ๆ เราคิดได้แล้ว นี่ครูเพียงให้แปลย้อนหลังเท่านั้น พี่ชายกลับทำไม่ได้
ลัก...ยิ้ม
03-05-2012, 13:38
เคารพเชื่อฟังครูบาอาจารย์
ต่อมาเมื่อจบชั้นประถม ๓ ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของการศึกษาภาคบังคับในเวลานั้นแล้ว ท่านก็ไม่ได้ศึกษาในชั้นต่อ ๆ ไปอีก ในช่วงที่เป็นนักเรียนอยู่นั้น ท่านเป็นที่รักที่วางใจของคุณครูอยู่ไม่น้อย
สังเกตได้ชัดเจนก็คือ เวลาไปไหนมาไหนคุณครูมักพาไปด้วย คงจะเป็นเพราะอุปนิสัยช่างสังเกต ขยันขันแข็ง ถึงคราวจะใช้จะวานอะไร ก็คล่องแคล่วว่องไว และเข้าใจกาลใดควรไม่ควร
สิ่งนี้ทำให้คุณครูให้ความสนิทสนมเป็นกันเองกับท่านตลอดมา แม้ภายหลังท่านจะเข้าสู่เพศบรรพชิตแล้วก็ตาม แต่การติดต่อสัมพันธ์ก็มิได้จืดจางห่างเหินแต่อย่างใดเลย
คุณครูชาลี สิงหะสุริยะ เป็นครูใหญ่โรงเรียนประชาบาลบ้านตาดในระยะนั้น เป็นผู้ที่ท่านกล่าวถึงเสมอมาด้วยความชื่นชมและซาบซึ้งในพระคุณไม่เสื่อมคลายว่า
“... ท่านเป็นครูของอาตมา เป็นครูตั้งแต่อาตมายังเป็นนักเรียน ท่านเป็นครูที่ดีจริง ๆ หายากมาก อาตมารักและเคารพครูของอาตมาคนนี้มาก ซึ่งความจริงแล้วอาตมามีครูที่สอนไม่รู้กี่คน ตั้งแต่ชั้นนั้นชั้นนี้ ตั้งแต่ ก ไก่ ก กา ก็มีครูท่านนี้แหละ ที่อาตมาติดใจมากที่สุด รักมากที่สุด เคารพมากด้วย ไปไหนชอบเอาไปด้วยนะนี่ ท่านชอบเอาไปด้วย
โอ... หายากนะนี่ คนไม่ลืมเนื้อลืมตัว คือครูคนนี้แหละ ไม่ลืมเนื้อลืมตัวเลย เข้านอกออกในได้หมด ไม่ถือสีถือสา ถือยศถาบรรดาศักดิ์ ความประหยัดนี่เก่งมากทีเดียว ไม่สุรุ่ยสุร่าย ไม่ลืมเนื้อลืมตัว การเล่นเกะกะเกเรไม่มีเลย ไปไหนมาไหนเรียบ ๆ
ชอบทำบุญให้ทานเป็นประจำนิสัย และเป็นคนกว้างขวางมาก ไม่เห็นแก่ตัว เพื่อนฝูงรักมาก ช่วยเหลือคนไม่กลัวหมดกลัวสิ้น แต่ตัวเองรับกินและใช้สอยน้อย ประหยัดดี หายาก อาตมารักท่านมาก
โอ... หายากมาก อาตมารักมาแต่ไหนแต่ไร จนกระทั่งทุกวันนี้แหละ ความรักของอาตมา ความเห็นบุญเห็นคุณ ไม่เคยจืดจางไปเลย ฝังลึก อาตมาไม่ค่อยเหมือนใครง่าย ๆ ครั้นว่าลงก็ลงจริง ๆ ครั้นว่าไม่ลงก็ไม่ลงนะ ครั้นว่าลงก็ลงจนกระทั่งวันตาย ไม่มีอะไรมาแก้ให้ตกดอก
นี่ก็ลงแท้ ๆ ลงเชื่อว่าเป็นครูของอาตมา ให้กำเนิดวิชาความรู้อาตมามาโดยตลอด กิริยามารยาท การปฏิบัติตนอย่างไร อาตมาได้ยึดเป็นคติเป็นตัวอย่างมาตลอด เหมาะสมกับที่เป็นครู...”
ลัก...ยิ้ม
04-05-2012, 11:08
หยอกล้อประสาพี่น้อง
ย้อนมากล่าวถึงความผูกพันประสาพี่น้องในครอบครัว เริ่มต้นด้วยเรื่องที่น้อง ๆ เล่าถึงอุปนิสัยและความจริงจังของท่านในวัยหนุ่มว่า
“... ท่านเป็นคนดุ เพราะนิสัยเป็นคนจริงจัง ทำให้น้อง ๆ เกรงกลัวอยู่ไม่น้อยทีเดียว บางทีถ้าหากท่านไม่อยู่หรือออกนอกบ้าน จะรู้สึกโล่งอกโล่งใจ แต่ถ้ากลับมาเมื่อใด ต้องได้แอบบอกกันว่า
‘นั่น ๆ บัวมาแล้ว ๆ’...”
โดยมากน้อง ๆ จะเกรงท่านมากเป็นพิเศษ ก็คือช่วงที่กำลังทำงาน เพราะท่านจะทำจริงทำจังมาก น้อง ๆ จะมัวมาหยอกมาเล่นกันไม่ได้ ท่านจะดุทันที
แม้ท่านจะจริงจังขนาดนั้น แต่อย่างไรก็ตาม จะเป็นเฉพาะช่วงเวลางานเท่านั้น ถ้าเป็นช่วงปกติกันเอง พี่ ๆ น้อง ๆ ท่านกลับชอบหยอกล้อน้อง ๆ เล่น ดังเหตุการณ์ในวันหนึ่ง
ตอนนั้นท่านมีอายุประมาณ ๑๘ - ๑๙ ปี ขณะที่น้อง ๆ กำลังวิ่งเล่นกันอยู่นั้น ท่านก็คิดหาอุบายหยอกน้อง โดยเก็บมะละกอมา ขณะเดินผ่านน้อง ๆ ก็พูดขึ้นว่า
“จะยากอะไร ตำบักหุ่ง”
จากนั้นก็ขึ้นไปบนบ้าน แล้วก็ทำท่าตำส้มตำ เสียงโขลกครกดัง โป๊ก ๆ ๆ อยู่ครู่หนึ่ง สักประเดี๋ยวก็เรียกน้อง ๆ ขึ้นไปกินส้มตำ
“กูตำแล้ว จะกินก็มาเด้อ กูตำแล้ว รีบ ๆ มา กูตำบักหุ่งเสร็จแล้ว มาเอาลงไปกิน”
ว่าดังนี้แล้วก็ทำท่าไปยืนอยู่ไกล ๆ ครัวไฟและไม่ยอมหันหน้ามาทางน้อง ๆ อีกด้วย จากนั้นก็ทำท่าเหมือนเอาใบตองมาห่อส้มตำที่เพิ่งโขลกเสร็จแล้วก็วางไว้
น้องส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง เพิ่งเล่นกันมาเหนื่อย ๆ จึงต่างมุ่งมาที่ห่อส้มตำด้วยความดีใจว่าจะได้กินกัน พอคว้าได้ก็หัวเราะเริงร่า วิ่งลงมาข้างล่าง เพื่อจะได้เปิดออกมากินพร้อม ๆ กัน
พอเปิดห่อใบตองออกเท่านั้น ก็ได้ยินเสียงแหลม ๆ ร้องประสานกันขึ้นทันทีว่า “ว้าย..เขียดตะปาด..!”
น้อง ๆ ผงะจาก “เขียดตะปาดตาโปน ๆ ” ในห่อด้วยกลัวว่า มันจะโดดออกมาเกาะ และต่างพากันวิ่งหนีไปคนละทิศคนละทาง วงส้มตำจึงสลายไปโดยฉับพลัน ท่ามกลางเสียงหัวเราะงอหายตามมาอีกยกใหญ่ ๆ
ลัก...ยิ้ม
10-05-2012, 15:24
ความรักของพ่อ
เวลาที่พ่อพาลูก ๆ เข้าไปในป่า พ่อจะคอยแนะคอยเตือนถึงวิธีการรักษาและป้องกันตัวจากภัยอันตรายรอบด้าน โดยเฉพาะพวกสิงสาราสัตว์ประเภทต่าง ๆ เช่น คราวหนึ่งพ่อพาลูก ๆ ไปเก็บลูกเร่ว* ที่ขึ้นอยู่ตามป่า เพราะขายได้ราคาดี ดังนี้
“...เวลาเข้าดง ระหว่างเดินไป ให้ใช้สายตาคอยสังเกตดูแถว ๆ ขอนไม้นะ เสือมันมักจะหมอบอยู่ข้าง ๆ ขอน ถ้าเห็นมันให้รีบวิ่งมาหาพ่อนะ... ก่อนจะเก็บลูกเร่ว ให้สังเกตดูสิ่งรอบ ๆ ข้างว่า มีงูมีสัตว์ร้ายหรือไม่ ถ้าไม่มีก็รีบเก็บลูกเร่วได้
ตอนเข้าในดงในป่าลึก ๆ โน่น ให้มองดูต้นไม้ที่เด่น ๆ สังเกตว่ากิ่งไม้มันยื่นไปทางทิศไหน ตะวันออกหรือตะวันตก ให้สังเกตทิศของดวงอาทิตย์ด้วย ให้จำไว้ เวลากลับจะได้ไม่หลงทาง...”
พ่อมักจะพาท่านไปตีผึ้งอยู่บ่อย ๆ (โดยตอกทอยฝังเป็นขั้น ๆ ไว้ในเนื้อไม้ จากนั้นก็ปีนขึ้นไปเอารังผึ้ง) บางครั้งก็เอาน้องของท่านไปด้วย ในคราวที่พาลูกไป พ่อจะบอกหนทางไปกลับให้ลูกรู้จักหมดและจำให้ได้
เรื่องนี้น้อง ๆ ของท่านเคยเล่าไว้ว่า “พ่อพาท่านไปตีผึ้งบ่อย ๆ บางทีก็เอาน้องไปด้วย พ่อจะบอกทางหมดว่า ทางนี้ไปนั้น ทางนั้นจะไปนั้น ส่วนลูกมักกลัวเสือจึงต้องเหลียวดูอยู่ตลอด
ถ้าไปเอาผึ้งพุ่ม (ผึ้งโพรง).. เมื่อไปถึงทางแยก พ่อจะบอกว่า ‘ทางเส้นนี้ไปหนองปากด่านนะ ออกบ้านคำกลิ้งนะ ไปทางนี้ไปเข้าดงใหญ่ดงหลวง ไปได้เตลิดเลยนะ ถ้าไปทางที่เรามานี้จะคืนกลับบ้านเรานะ’
ท่านบอกไว้หมด พาไปไหนก็จะบอกไว้หมดเรื่องหนทาง... พ่อคงจะคิดเผื่อไว้ว่า หากปีนพลาดพลัดตกต้นไม้ตาย ลูกก็จะไม่รู้หนทางคืนกลับบ้านได้ จึงต้องบอกกันไว้ก่อน... พ่อเป็นคนปีนขึ้นไปตีผึ้ง ปีนเก่ง เป็นทั้งพราน เป็นทั้งหมอผึ้งด้วย...”
ในสมัยก่อนยังไม่มีธนาคาร เวลามีเงินมีทอง เขามักจะเอาไปฝังดินไว้ พ่อของท่าน บางทีเวลาไปดงป่าก็จะเอาเงินไปด้วย ทีละชั่ง แม้เข้าป่าล่าสัตว์ก็เอาติดตัวไปด้วย เวลาลงอาบน้ำในหนอง ก็จะเอาเงินไปซ่อนไว้ในพุ่มไม้ก่อน
การที่พ่อต้องเก็บต้องหา ต้องระแวดระวังทรัพย์สมบัติดังกล่าว ก็ด้วยเหตุผลที่พ่อเคยบอกลูก ๆ ว่า
“โอ๊ย... สาธุ พ่อทำอะไรก็หาไว้เผื่อลูกเผื่อเต้าทั้งนั้นแหละ ตัวเองไม่รู้ว่าจะได้อยู่ได้กิน 'ยังไง' ก็ช่างไม่ว่า ขอแต่ให้ลูกได้อยู่ได้กินมีความสุขก็พอ”
===============
* เร่ว เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้า คล้ายต้นข่า ผลใช้ทำยา
ลัก...ยิ้ม
11-05-2012, 11:37
https://public.blu.livefilestore.com/y1pG1wKlp5R5ZMG72dKtUn1MBKrO1ymqhqThDWiq5MOIyQorpTbyxSjJY3klV6h3UJAuRR6n7hiXell-fChfNcz7w/%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B2.jpg?psid=1
(โยมบิดามารดาขององค์หลวงตา ถ่ายเมื่อปี ๒๔๘๕ หลักจากนั้นอีก ๒ ปี โยมบิดาก็จากไป)
๒. น้ำตาพ่อแม่พลิกสายทางชีวิต
องค์หลวงตาสมัยเป็นฆราวาสในวัยหนุ่ม ตั้งใจจะดำเนินชีวิตทางโลกเช่นคนทั่วไป มิได้คาดฝันเลยว่าจะได้มาใช้ชีวิตแบบบรรพชิต แต่ก็มีสิ่งที่ทำให้ชีวิตเกิดพลิกผันขึ้น
............................
ใจแป้วเมื่อยิงหมี
โดยปกติแล้ว การตีผึ้งจะทำกันในตอนกลางเดือนมืด แต่ตอนท่านเป็นหนุ่มเป็นคนไม่กลัวอะไรง่าย ๆ จึงอยากจะทดลองตีผึ้งในตอนกลางวันดูบ้าง
ครั้งนั้นผลปรากฏว่า ผึ้งจำนวนมากต่างก็บินตามไล่ต่อยตลอดทาง ถึงขนาดที่ว่าต้องถอดเสื้อถอดผ้าออกหมด และรีบกระโจนลงไปอยู่ในน้ำ แม้ขนาดนั้นฝูงผึ้งก็ยังวนเวียนอยู่เหนือน้ำ แต่ที่สุดก็รอดพ้นไปได้ ครั้นเมื่อกลับมาถึงบ้านแล้ว มาดูตามเนื้อตัวปรากฏว่า มีแต่เหล็กในผึ้งฝังอยู่เต็มไปหมด
มีอยู่คราวหนึ่ง ท่านตามผู้ใหญ่ไปในป่า บังเอิญเหลือบไปพบหมีตัวหนึ่งเข้า ก็เป็นระยะที่ประชิดตัวมากแล้ว เพราะอยู่ใกล้มาก ครั้งนั้น ท่านช่วยพ่อแบกปืนอยู่จึงจำเป็นต้องยิงทันที ทราบว่าหมีตัวนั้นได้รับบาดเจ็บไม่น้อย ท่านบอกว่า วันนั้นทั้งวันรู้สึกไม่สบายใจเลย เมื่อกลับถึงบ้าน จึงถามพ่อว่า
“ยิงหมีนี่บาปไหม ?”
คงเป็นเพราะท่านได้รับการปลูกฝังมาแต่เด็กว่า การฆ่าและการเบียดเบียนสัตว์เป็นบาป หากเป็นวันพระด้วยแล้วยิ่งบาปมาก ทำให้ท่านแสดงความเสียใจปรากฏออกมา จนพ่อสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน ยิ่งลูกตั้งคำถามกับพ่อดังกล่าวด้วยแล้ว ความที่พ่อเกรงว่าลูกจะสลดหดหู่เศร้าสร้อยเกินไป จึงได้กล่าวปลอบขวัญพอเป็นกำลังใจแก่ลูกแทนการให้คำตอบที่แท้จริง
ภายหลังเมื่อบวชแล้ว ท่านยังรู้สึกแป้ว ๆ ในใจอยู่ตลอดมา ดังนั้น เวลาภาวนาไหว้พระสวดมนต์คราวใด ท่านจะต้องแผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศลให้หมีตัวนั้นทุกครั้งทุกคราไป ท่านเคยกล่าวกับพระด้วยว่า แม้จนทุกวันนี้ท่านก็ยังแผ่เมตตาให้มันอยู่ตลอดมิเคยขาดเลย
คำกล่าวของท่านตอนหนึ่ง เล่าถึงความคิดในสมัยเด็ก ๆ เกี่ยวกับเรื่องความตาย จากนั้นก็กล่าวมาถึงเรื่องการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ดังนี้
“...พูดถึงเรื่องเป็นเรื่องตายนี้กลัวมาก ตอนเป็นเด็กเรากลัวมาก พอพูดถึงเรื่องตายนี้ ไม่อยากให้ระลึกขึ้นเลย มันเหี่ยวมันห่อในใจให้ระลึกเรื่องอื่นมากลบมันเอาไว้ เราไม่ลืมนะ นี่ข้อหนึ่ง
ข้อที่สอง มีเพื่อนฝูงเขาพูด เราก็พากันไปหากินตามเรื่องตามราวนั่นละ เขามาพูดว่า
‘วันพระนี้ทำบาปเป็นบาปมากนะ วันพระนี่ไม่ฆ่าอะไร ทำบาปอะไร เป็นบาปมากนะ’
มันก็ฝังใจ เลยฝังมาตลอด วันพระนี้ไม่กล้าฆ่าสัตว์..”
คำกล่าวข้างต้นทำให้ทราบได้ว่า คนในสมัยนั้น ท่านเน้นเตือนกันเสมอในเรื่องบุญเรื่องบาป ไม่มองข้ามหรือเพิกเฉยไป จะเห็นได้ชัดเจนอีกตัวอย่างหนึ่งเกี่ยวกับพ่อและแม่ของท่านเองคือ ทุกครั้งที่พ่อเข้าป่าเข้าดงได้เนื้อมา แม่จะต้องเอาเนื้อนั้นมาทำแห้งบ้าง ทำแหนมหรือทำส้มบ้าง เพื่อไม่ให้บูดให้เสียทิ้ง จะได้เอาไปทำบุญกับพระที่วัด แม่ทำเช่นนี้เสมอมา ทุกครั้งจะต้องอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับสัตว์ที่เอาเนื้อมาทำอาหารด้วยทุก ๆ ตัวไปไม่ให้ขาด ความใกล้ชิดติดพันของพ่อและแม่ต่อพระศาสนาเช่นนี้เอง มีส่วนปลูกฝังความคิดที่ถูกต้อง กอปรด้วยเมตตาธรรมแก่ท่านอยู่ไม่น้อย ให้มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป เป็นพื้นฐานประทับไว้ภายในจิตใจตลอดมากระทั่งก้าวสู่เพศบรรพชิต
ลัก...ยิ้ม
14-05-2012, 10:45
นิสัยสัตย์จริง เลือกคบเพื่อน
นิสัยที่จริงจังของท่านเป็นข้อเด่นอีกข้อหนึ่ง ใช่แต่เพียงเรื่องการงานเท่านั้น แม้แต่การคบเพื่อน ท่านก็ยังชอบคนที่รักความสัตย์ ความจริง ไม่เหลาะแหละ ท่านกล่าวถึงเพื่อนสนิทคนหนึ่งในสมัยหนุ่มว่า
“...ผู้ใหญ่เถิง เป็นเพื่อนกัน แกขยันมากนะ เขาเรียกว่า หลานหลวงกำแหง เขาก็เรียกเราว่า หลานพ่อเฒ่าแพง แพง.. นี่ชื่อแม่เรา พ่อของแม่ขยันไม่มีใครสู้ ในบ้าน..ถ้าหลานหลวงกำแหง กับหลานพ่อเฒ่าแพงได้ทำงานแล้ว ไม่มีใครสู้แหละ เราก็สนิทกัน ไปเที่ยวบ้านคุยกัน บางทีมันก็ไปบ้านเรา เราก็มาบ้านมัน...ผู้ใหญ่เถิงนี่
เวลาไป มีอะไรก็กินโน้นเลย เราก็เหมือนกัน มาบ้านเขาก็กินเลย ถือเป็นอันเดียวกัน สนิทกันขนาดนั้นละ พ่อแม่ไม่เคยสนใจ ไม่เคยจะเล่าให้ฟัง ไอ้นั่นไปกินข้าวบ้านกู ๆ เฉย เหมือนไม่ได้กิน เขามากินข้าวบ้านเราก็เหมือนกัน เราไปกินข้าวบ้านเขาก็เหมือนกัน...
... เรานี่จะว่าความฉลาด แต่ก่อนก็ไม่ปรากฏนะ แต่เรื่องความสัตย์ความจริงนี้เด่น เป็นมาแต่ครั้งเป็นฆราวาสคือเจ้าของรู้ตัวเอง ว่ามีความสัตย์ความจริง แต่ไม่ได้สนใจด้วย มันหากเป็นอยู่ในจิต ถ้าใครเหลาะแหละไม่อยากคบ ถ้าพูดเชื่อถือไม่ได้ก็ไม่คบ เวลาว่าอยู่..อยู่ เวลาว่าไป..ไป นิสัยเราว่าทำ..ทำ ไอ้ที่ว่าอย่างนี้แล้ว ไปทำอย่างนั้น เราไม่คบ
อันที่สอง พวกฉก พวกลักขโมยนี้ไม่คบ พวกหนุ่มด้วยกันที่ชอบฉกลักขโมยนี้ก็หลีก ไม่คบ อันนี้เป็นนิสัยอันหนึ่ง ไม่ชอบคบคนเหลาะแหละ เรายังไม่ลืมนะ
พ่อของผู้ใหญ่เถิงเขาก็ขยัน เก่ง... เขามาชวนเราไปหาล่าสัตว์ในป่า หาตะกวด หาอะไร เพราะหมาเราเป็นพรานดี เข้าล่าสัตว์ในป่าเก่ง มาชวนเราไปวันพรุ่งนี้
‘โอ๊ย! ยังไปไม่ได้หรอก เพราะได้รับคำแล้วว่าจะทำสวนตรงนั้น ๆ ให้พ่อ วันพรุ่งนี้จะทำทั้งวันเลยจนเสร็จ ถ้าอันนี้ยังไม่เสร็จ ไปไม่ได้หรอก’
ก็เลยขอผ่าน เขาก็เลยเป็นอันว่าไม่ได้ไป แล้ววันหลังเขาก็ไปถามพ่อ ถามลับ ๆ เรามารู้ทีหลังนะว่า ‘ไหน บัว ชวนมันไปหาล่าตะกวด มันบอกว่า มันได้ลั่นคำแล้วว่าจะทำอันนั้น ๆ ให้พ่อ มันยังไปไม่ได้ แล้วเป็นยังไง มันทำงานอะไร ทำจริงไหม ?’
‘มันทำแล้ว ทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว โอ้ย ไอ้นี่ถ้ามันได้ลั่นคำแล้ว เป็นแน่ทีเดียว ไม่สงสัยละ นอกจากมันเฉยละ อย่าไปใช้มันเลย ไม่เป็นท่า เฉยเหมือนหูหนวกตาบอด ถ้ามันลั่นคำแล้วตายใจเลย ไอ้นี่’
นี่คือคำสัตย์คำจริง ถ้าลงได้ลั่นคำแล้ว เหมือนว่ามันเป็นไฟอยู่ในนี้ ไม่ได้ทำอยู่ไม่ได้ ต้องทำเสียก่อน ถ้าลงได้ลั่นคำแล้วขาดอยู่ในนี้เลย เป็นนิสัยแต่ฆราวาสมาก็เป็นอย่างนั้น ถ้าไม่ได้ลั่นคำแล้วก็เตร็ดเตร่เร่ร่อนอะไรไปได้ทั้งนั้นแหละ ถ้าลงลั่นคำแล้วลงช่องเดียวเลย ต้องไป ต้องทำ เป็นอย่างนั้น...
นี่ผู้ใหญ่เถิงคนนี้แหละ เป็นเพื่อนของเรา เพื่อนการ เพื่อนงาน เพื่อนคบ เพราะไอ้นี่มันขยันมากนะ ทำถึงใจ ๆ ทุกอย่าง ไม่เหลาะแหละ เอาจริงเอาจัง ขยัน
คนเหลาะแหละนี่เราไม่เล่นนะ มันเป็นนิสัยเอง มันเป็นอยู่ในจิตนะ เราก็ไม่รู้ว่ามันมีธรรมนะ จนไปเรียนหนังสือถึงรู้ คำสัตย์นี้เรามีมาตั้งแต่ดั้งเดิม มันหากเป็นอยู่ในหัวใจเราเอง...”
ลัก...ยิ้ม
15-05-2012, 08:42
ผู้ใหญ่ให้การยอมรับ
อีกเรื่องหนึ่งเป็นที่ประหลาดใจอยู่ไม่น้อย แม้กระทั่งแม่ของท่านเองก็ยังรู้สึกแปลกใจว่า ทำไมผู้หลักผู้ใหญ่ในหมู่บ้านมักชอบมาหา และมาปรึกษาหารือกับท่าน จนครั้งหนึ่งแม่ถึงกับได้ออกปากว่า
“พ่ออาวพ่อลุง (คุณอา คุณลุง) มาหาบัวทำไม ? ประสาเด็กน้อย”
บรรดาผู้ใหญ่จึงตอบว่า
“โอ๋ แม่อาแม่ป้า มันไม่ใช่เด็กน้อยนะ ถ้าทำอะไรไม่เอาตามคำมัน จะพลาดหมดเลย ต้องได้ทิ้ง มันทำอะไร ไม่พลาดสักอย่างเลย มันไม่ใช่เด็กน้อยนะนั่นนะ”
ในเรื่องนี้ น้อง ๆ ของท่านอธิบายเพิ่มเติมว่า “...เพราะท่านเป็นคนความรู้ดี... เช่น อย่างทำแบบแปลนแผนผังนี้ ไม่มีทางผิดพลาด ไม่มีทางตกทางเสียใด ๆ ชาวบ้านกะว่าจะเลื่อยไม้.. คิดกันว่าจะทำยังงั้น ๆ ๆ แต่พอทำจริง ๆ แล้ว มันกะคำนวณผิดพลาดหมด คนอื่น ๆ คำนวณผิดหมด แต่ท่านไม่เคยกะผิด จึงไม่เสียไม้ไปโดยเปล่าประโยชน์
อีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่องไปตีผึ้ง ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เพราะเมื่อก่อนเขาเอาเป็นอาชีพเลย ขายได้ราคาดีมาก จะมีผู้มารับเอากับบ้านเลยทีเดียว...”
ด้วยความสามารถเช่นนี้เอง ทำให้ผู้ใหญ่หลายต่อหลายคนในหมู่บ้านให้ความคุ้นเคยสนิทสนมกับท่าน อย่างไรก็ตาม สำหรับการคบค้าสมาคมกับเพื่อนวัยเดียวกันนั้น ท่านก็ยังมีการละเล่นสนุกสนานแบบเด็กหนุ่มทั่ว ๆ ไป ไม่ได้มีอะไรผิดแผกแตกต่าง ตัวอย่างหนึ่งก็คือ ท่านยังเคยได้ฝึกหัดชกมวยเล่นกันระหว่างเพื่อน ๆ แต่ไม่นานก็เลิกราไป เพราะคำขอร้องของแม่ว่า
“ลูกเอ๊ย! อย่าไปหาชกมันเลย แม่เป็นห่วง มันเสียตับเสียปอด”
การที่ผู้น้อยเคารพเชื่อฟังในเหตุผลของผู้ใหญ่นั้น เป็นเรื่องที่ถูกต้องดีงามแล้ว และหากเป็นผู้ใหญ่แต่ยังสามารถยอมรับในเหตุผลความถูกต้องของผู้น้อยได้ด้วย อันนี้ถือเป็นคุณธรรมยิ่ง โดยเฉพาะพ่อแม่ของท่านเอง ที่ไม่มีทิฏฐิมานะกับลูกเลย ดังเช่นเหตุการณ์ในตอนหนึ่ง ซึ่งองค์หลวงตาเคยเล่าไว้ว่า
“พ่อกับแม่ของเรา แม่มักจะขี้บ่นมากกว่าพ่อ พ่อนาน ๆ จะบ่นซักที พอพ่อบ่น แม่ก็จะมีเสียงว้ากขึ้นมาบ้าง... รู้สึกว่าแม่จะไว้ใจทางหน้าที่การงานอะไร ๆ อยู่ในบ้านเหมือนว่าเราเป็นพ่อบ้าน ยังเด็กอยู่นะ... บางทีพ่อกับแม่ทะเลาะกัน เราเป็นกรรมการผู้ตัดสินให้ เราบอกว่า ‘ใครเป็นคนผิดคนถูกก็รู้กันนี่ ทำไมทะเลาะกันให้ลูกฟัง บ่อายบ้าง เด็กเขาก็รู้ เป็นถึงพ่อคนแม่คน ต้องรู้สิว่าใครผิดใครถูก’ พอพ่อกับแม่ได้ฟังดังนั้นก็แตกหนีกันไปคนละทิศละทาง ... ไม่พูดอะไรกัน... เงียบเลย”
การกล่าวเช่นนี้ มิใช่ว่าท่านจะไม่เข้าใจพ่อแม่ การกระทบกระทั่งย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดาในแต่ละครอบครัว สำหรับครอบครัวของท่านด้วยแล้ว พ่อและแม่มีภาระหน้าที่การงานมากมายหลายต่อหลายเรื่อง เนื่องจากมีลูกหลายคนด้วยกัน สิ่งนี้ทำให้ท่านแสดงความเห็นอกเห็นใจพ่อและแม่ไว้เช่นกันว่า
“พ่อแม่เรามีลูกตั้ง ๑๖ คน ตายไปตั้งแต่เล็ก ๆ ๖ คน ยังเหลืออยู่ ๑๐ คน พูดถึงพ่อแม่เรา... ลูกหลายคนเท่าไรพ่อแม่ยิ่งจะตาย ไอ้ลูกน้อยคนค่อยยังชั่วหน่อย ไอ้ลูกหลายคนนี่ แหม! ไม่ทราบจะวิ่งหาใครต่อใคร จะช่วยใครต่อใคร...”
ลัก...ยิ้ม
16-05-2012, 10:16
การงานจริงจัง
อุปนิสัยของท่านอีกอันหนึ่ง คือเวลาทำการงานจะไม่อยากให้คนรู้คนเห็น เช่น ในตอนเช้าเวลาจะต้อนควายไปทำนา ท่านจะเที่ยวเก็บพวกไม้ไผ่หรือไม้กะลาที่หล่นอยู่ตามทางโยนขว้างออกข้างทาง
มิฉะนั้น เวลาฝูงควายเดินผ่าน มันอาจเดินเตะมีเสียงดังได้ ท่านเกรงว่าชาวบ้านจะได้ยิน จึงโยนออกข้างทางหมด วันใดที่ออกไปนา ท่านชอบไปตั้งแต่เช้ามืด ส่วนแม่ก็จะทำอาหารจนเสร็จแล้วห่อไว้ทันเวลาที่ลูกไปพอดี
การไถนาของท่านก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่บ่งถึงนิสัยที่ทรหดอดทน คือท่านจะทำไปเรื่อย ๆ จนเสร็จ เช่น ควาย ๔ ตัว อย่างนี้ จะสลับให้มันทำงาน เมื่อตัวหนึ่งทำจนเหนื่อยแล้ว ก็ปลดไถออกให้มันไปอาบน้ำกินหญ้า เป็นการพัก แล้วก็เอาตัวที่ ๒ ที่ ๓ มาสลับแทนเช่นนั้นตลอดจนเสร็จ ถ้าไม่มืดก็ไม่เลิกหรือไม่ใช่เวลากินข้าวกลางวันก็ไม่ยอมเลิก
มีอยู่คราวหนึ่ง พ่อแม่และน้องเขย ซึ่งปกติเป็นกำลังสำคัญในการทำนา บังเอิญมาป่วยขึ้นพร้อม ๆ กัน ทำให้ท่านต้องเป็นหัวหน้าพาน้อง ๆ ไปแทน น้องสาวคนรอง ๆ ของท่านคนหนึ่ง รู้ดีถึงนิสัยจริงจังโดยเฉพาะในเวลาทำงาน จึงนึกหวาด ๆ ในใจว่า
“ต๊ายกู คราวนี้หมด ทั้งวันมีแต่ทำงานก็ตายกันเท่านั้นแล้วทีนี้”
และก็เป็นความจริงอย่างที่น้องสาวคิดไว้ คือท่านเองไม่พาพักพาเลิกสักที ทำงานอยู่อย่างนั้นเรื่อยไป ชนิดหากไม่ค่ำไม่ยอมเลิกรา น้องสาวของท่านเล่าถึงเหตุการณ์ในตอนนี้ว่า
“... แม้น้องพยายามบอกว่า ‘อยากกินข้าวแล้ว.. บัว’ ท่านก็ทำงานไปเฉย ไม่พากินข้าว ไม่พาหยุดพักสักที พาขุดพาทำอยู่หมดมื้อหมดวัน...
ตอนนั้นเป็นช่วงบุกร้างถางพงทำนาใหม่... ท่านขุดเองเลย ไม่ใช้ควายคราดเพราะมันเพิ่งตัดไม้ลงใหม่ ๆ รากที่อยู่ในดินยังไม่เน่า (ไถยังไม่ทันได้)...
ท่านทำงานไม่สนใจน้องเลย เดี๋ยวอ้อมทางนั้นแล้วอ้อมทางนี้ แล้วอ้อมไปทางนั้นอยู่อย่างงั้น ไม่จบไม่สิ้นสักที จนน้องว่า ‘โอ๊ย ไม่ไหวแล้ว คิดถึงแม่’
เลยมีแต่จะร้องไห้นั่นแหละ... ปรากฏว่าในปีนั้นได้ข้าว ๑๗ เล่มเกวียน จัดว่าได้เยอะทีเดียว...”
อีกตอนหนึ่งคือในระยะที่ท่านพาน้อง ๆ มานอนเฝ้านา น้องสาวเล่าเหตุการณ์ดังนี้
“...สมัยแต่ก่อนมีแต่เป็นดงเป็นป่า เสือ ช้างก็เยอะ เสียงช้างหักกิ่งไม้โป๊ก ๆ เป๊ก ๆ อยู่ในป่า บ่างชะนีก็ร้องฟังดูโหยหวนน่ากลัว เดี๋ยว.. ร้องขึ้นทางนั้นทางนี้ รู้สึกวังเวงใจทำให้คิดถึงแต่พ่อแต่แม่
นาที่เฝ้านั้นอยู่ติดกับป่ากับดง ห่างจากตัวบ้านประมาณ ๔-๕ กิโลเมตร ในช่วงที่ต้นข้าวเริ่มโตขึ้น ชาวบ้านก็มานอนเฝ้านากัน ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว ช้างจะพากันมาถอนต้นข้าวกินหมด
ช้างเวลากินต้นข้าวจะต่างจากวัวควาย ตรงที่มันจะถอนทั้งต้นขึ้นมาแล้วเอาฟาดกับขาของมัน เพื่อสลัดดินออก แล้วจึงม้วนเข้าปาก ถ้าชาวบ้านไม่มาเฝ้า มันจะถอนกินจนหมดเกลี้ยงนาเลยทีเดียว แต่วัวควายเวลากินข้าว มันจะกัดกินเฉพาะส่วนยอด ไม่ถอนหมดทั้งต้น
ฉะนั้น เวลาเฝ้านา เขาจึงต้องเอาปืนไปด้วย เพื่อใช้ยิงไล่ช้าง บางคนก็ยิงขึ้นฟ้าให้มีเสียงดัง มันตกใจก็ไป...”
ลัก...ยิ้ม
17-05-2012, 09:59
https://public.blu.livefilestore.com/y1pnHKFdeKW5g9jY39ptiCACqVO6yibAd8ZjMpQ-D_kvUrCAX-1k4g1cNtPFJa2g-pvCZvpQ0cCUyGmWX5s2tqcig/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B2.jpg?psid=1
น้องสาวองค์หลวงตา (คุณยายตัน นามวิชัย, คุณยายศรีเพ็ญ บัวสอน, คุณยายสวน สุริทร์รัตน์ และ คุณแม่จันดี โลหิตดี)
พี่ ๆ น้อง ๆ
ด้วยนิสัยจริงจังเช่นนี้ ทำให้พี่ ๆ น้อง ๆ ที่ร่วมงานกับท่าน ถึงกับต้องนำเรื่องนี้มาฟ้องแม่ตามภาษาท้องถิ่นสมัยนั้นว่า
“...โอ๊ย อีแม่เอ้ย คันหมู่เจ้าบ่ไปเฮ็ดงานนำ บักนี่มันเฮ็ดอีหยังบ่ฮู้จักขึ้นจักหยุด หมู่ข้อยเลยสิตาย...
มันบ่ได้พาขึ้นเด๊ะ พาเกี่ยวข้าวกะดี พาดำนากะดี มันบ่พาขึ้น คันหมู่เจ้าบ่ไปนำ มันสิเอาให้ตายอีหลี...”
หมายถึงว่า ถ้าพ่อแม่ไม่ไปทำงานด้วยแล้ว ท่านจะทำงานไม่ยอมเลิกราสักที เหมือนว่าจะเอาให้น้อง ๆ ตายไปข้างหนึ่งเลย อย่างไรอย่างนั้นทีเดียว
แม่แทนที่จะเห็นคล้อยไปกับน้อง ๆ ด้วย กลับพูดตัดบทลูกทันที
“จังซั่นหละ สูบ่เป็นตาซะแตก”
หมายถึง “ก็อย่าง ‘งั้น’ ละซิ พวกเรามันไม่เอาไหนเสียเอง” คือน้อง ๆ ของท่านทำงานเหนื่อยแล้ว ก็อยากจะเลิก อยากจะกลับบ้าน ส่วนท่านเองก็ไม่พาเลิกงานสักที
ท่านเคยกล่าวถึงอุปนิสัยดังกล่าวของท่านเองไว้เช่นกัน ดังนี้
“นิสัยมันก็ไม่เคยเหลาะแหละมาตั้งแต่เป็นฆราวาสอยู่แล้ว หากเป็นไปตามฆราวาสนั่นแหละ ตามธรรมชาติฆราวาสก็ไม่มีกฎข้อบังคับอะไร ๆ แต่นิสัยมันก็มีของมันอยู่ ว่างั้นเถอะนะ
ถึงจะเป็นแบบฆราวาสทั่ว ๆ ไปก็ตาม แต่ความจริงจังของมันมี มันฝังลึกอยู่ อย่างเช่นว่าจะทำอะไรอย่างนี้ ถ้าลงว่าจะทำ ยิ่งกับพ่อกับแม่ หากได้ลั่นคำ... ไม่เป็นอื่นแหละ... อันนี้เป็นนิสัยเรา ถ้าเราเป็นหัวหน้า เราก็เป็นอย่างนั้นนะ...
ทุกอย่างเรื่องของเราต้องให้พ่อแม่ไว้วางใจได้เลย ถ้าเราได้ทำอะไรแล้ว ถ้าเวลาไปทำงานกับพ่อกับแม่ก็เป็นอีกแบบหนึ่งนะ พาทำอะไรก็ทำ พาลุกพาขึ้นเราก็ขึ้น ธรรม‘ด๊า’ธรรมดา ถ้าพ่อแม่ไม่ไปร่วมทำงานด้วย น้อง ๆ มันจะตาย...”
พี่ชายคนใหญ่... เน้นหนักไปทางการค้า จะเน้นไปทางคุณตา พี่ชายเริ่มค้ามาตั้งแต่เป็นหนุ่ม แม่เลยมอบเงินให้ไปหาซื้อวัวซื้อควาย คือนิสัยชอบทางสังเกตสัตว์ สัตว์ตัวไหนมีลักษณะอย่างไร ดูไม่ค่อยผิดนะ พวกใครในบ้านจะซื้อวัวซื้อควายต้องให้ไปช่วยหาดูให้ ‘ไปช่วยดูให้หน่อย’
แกดูเฉย ๆ นะ ไม่ต้องทดลองใช้งานใช้การอะไรละ ถ้าแกว่า ‘ควายตัวนี้ชนคนนะ’ ก็ถูก... จับได้ตรงไหนก็ไม่รู้นะ ‘ควายตัวนี้ดื้อ ใช้ไม่ได้นะ’ มันก็เป็นจริง ๆ ถ้าว่า ‘ดี’ ยังไงก็ถูกอย่างนั้นนะ มันแปลกอยู่นะ ดูยังไงไม่ทราบ เป็นแยบคายอันหนึ่ง
พวกคนหนุ่มด้วยกันในหมู่บ้านก็ไม่มีใครดูเป็น มีแต่ให้พี่คนนี้ไปหาซื้อ พ่อแม่ให้เงินไปซื้อ จากนั้นมาก็ติดต่อมาเรื่อย เป็นนักซื้อนักขายทางวัวทางควาย
เวลามีครอบครัวเหย้าเรือนอยู่โน้นแล้ว แม่ยังใช้ให้ไปซื้อควาย ให้มาเป็นหลักแหล่งของคอกเป็นหัวหน้าฝูง ก็เป็นจริง ๆ นิสัยชอบเหมือนตา ตาก็ไปหาซื้อวัวซื้อควายมาขายไม่ได้ขาด แม่เลยปล่อยให้ซื้อขายมาเรื่อยจนกระทั่งตาย กับน้อง ๆ นี้รักมาก เพราะเขาใจดีกับน้อง แต่เรานี้ไม่ค่อยมีใครมาใกล้ นอกจากไม่ติดแล้ว ยังกลัวด้วย...
... พวกน้อง ๆ ไม่ค่อยชอบ‘หละ’ เพราะเราเป็นคนดุ แต่ดุเพราะความจริงจัง นิสัยนี้มันมีนะ ไม่เหมือนพี่ชายเป็นอีกแบบหนึ่ง อยากทำก็ทำ อยากไปเมื่อไหร่ก็ไป เฉย.. ไม่ได้สนใจกับใคร
ไอ้เรานี่ โห...ไม่เสร็จเป็นไม่ยอม พี่ชายก็เป็นแบบหนึ่ง ที่นี้น้องก็รักละซิ เพราะไม่ดุ เวลาไปไหนนี้ พวกน้อง ๆ นี้รุมเลยทั้งหญิงทั้งชาย
กับเรานี้ โอ้โห... คนเดียวไม่มีไปเกี่ยว เขาเบื่อจะตาย เขาชังเราจะตาย แต่ก็ไม่กล้าพูด...เฉย เราก็ไม่ชอบด้วย เวลาใครไปยุ่งด้วย เวลาไปไหน...”
ลัก...ยิ้ม
18-05-2012, 09:56
ดัดน้องด้วย “สิงควาย”
ร้องเพลงไพเราะเหมือนแม่
ครั้งหนึ่งไปเลี้ยงควายกันตามประสาพี่ ๆ น้อง ๆ ท่านเป็นหัวหน้าพาไป เมื่อถึงเวลาเที่ยง จึงเอานกแซงแซวมาปิ้ง ระหว่างนั้นท่านก็นึกครึ้มอกครึ้มใจ จึงสิงควายขึ้นว่า
“...อีตู่เขาเล่น่ะ ตั๊กเขาเลงก็ดั๊ก เขาเป็งเส่งดั๊ก เขาเด่งก็ดั๊ก ล้ำเด๊งดั๊ก เขาเล๊งกะดักเขาดำดั๊ก...”
น้อง ๆ ได้ยินดังนั้นต่างพากันหัวเราะ ชอบใจจนจะล้มจะตายกันเลยทีเดียว เมื่อปิ้งจนสุกได้ที่แล้ว จึงเอากระติบข้าวเหนียวและกับข้าวอื่น ๆ มาวางเตรียมพร้อมจะกินกันอยู่แล้ว น้อง ๆ ก็ขอร้องท่านขึ้นว่า
“สิงควายตัวนั้นให้ฟังอีกหน่อยซิ ฟังแล้วมันม่วนดีหลาย (สนุกดี)”
“อะไรกัน ? จะกินข้าวอยู่แล้ว ยังจะให้สิงอีกหรือ ?”
“เอ้อ สิงเลย มันอยากฟังหลาย”
ท่านเลยทั้งสิงไปกินไป กินไปสิงไปอยู่อย่างนั้น น้อง ๆ ก็มันแต่ฟังเสียจนเพลิน พากันหัวเราะ พออกพอใจจนน้ำหูน้ำตาไหล และเมื่อหันมาดูนกปิ้งอีกครั้งหนึ่ง ปรากฏว่าหมดเกลี้ยงแล้ว ท่านเลยพูดขึ้นว่า
“ถ้าไม่อยากฟังกันหลาย ก็ไม่กินหมดหรอก เห็นอยากฟังกันเหลือเกิน ก็เลยแกล้งดัดเส้นเอาซะเต็มที่เลย นกปิ้งก็เลยหมดเลย”
การสิงควายเป็นที่พอใจของน้อง ๆ เป็นอย่างมาก แทนที่น้องจะต่อว่าต่อขานอะไรพี่บ้าง กลับพูดว่า
“ก็ไม่เคียดหรอก ถึงจะกินหมดก็ช่าง พวกเราก็หาเรื่องเองแหละ เที่ยวอยากจะมาฟังเอาตอนคนกำลังจะกินอยู่แล้ว แม้จะกินหมด ก็ว่าพอดีอยู่หรอก พอดีกันกับที่ขอให้ร้องอยู่หรอก”
แต่นั้นมา ท่านก็แกล้งพูดหยอกน้องว่า “อยากฟังอีกไหมละ สิงควายนั่น‘หนะ’..”
เกี่ยวกับการร้องลำทำเพลงของหนุ่มบัวนั้น ในหมู่บ้านทราบกันดีว่าไม่ใช่ธรรมดา ร้องเพลงเก่ง น้ำเสียงหยดย้อย ขนาดพ่อพอได้ยินลีลาการร้องของลูกชายคนนี้เข้าเท่านั้น ถึงกับจำเสียงลูกไม่ได้ มาทราบภายหลังก็ยิ่งงงงวย ในความเป็นศิลปินของลูกตัวเองใหญ่ ดังนี้
“...เราไปร้องเพลงที่ไหน เพื่อนฝูงชอบมาก มักชมว่า ‘มึงทำไมจึงลำม่วนแท้น้อ’ (แกทำไมถึงร้องหมอลำไพเราะจัง)
ไม่เฉพาะแต่หนุ่มสาวเท่านั้น แม้แต่คนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้านเขาก็ยังชมว่า ‘เสียงมึงดี คือเสียงแม่มึงเนาะ’
แม่เป็นคนเสียงดี ไปลำที่ไหนคนติดมันหากเป็นของมันนั่นแหละ จากนั้นไปไหน เขามักขอร้องให้ลำ ไปเที่ยวสาวที่ไหนกับเพื่อนกับฝูง ผู้สาวจับคอเรามัดให้ลำ ไม่ลำออกจากนั้นไม่ได้ เขาต้องให้ลำเสียก่อน เราไม่ลืมนะ ขนาดพ่อได้ยินเสียงร้องลำในหมู่บ้าน ยังหลงชมกับแม่ว่า ‘เสียงใครนะ ช่างไพเราะมากเหลือหลาย’ คือพ่อจำเสียงเราไม่ได้ หลงเสียงลูกของตัวเอง
แม่ก็ยังย้อนพ่อไปว่า ‘นั่น …เสียงบักบัว ลูกชายเจ้านั่นแหละ.. ร้องลำ จำเสียงมันไม่ได้หรือ ?’
พ่อบอก ‘คิดไม่ถึงว่า ลูกเราจะเสียงดีอย่างนี้’
ตั้งแต่เป็นเด็กมาจนโต เราก็ได้ยินแม่ร้องลำมาตลอด แม่ชอบร้องหมอลำมาก เวลาไปทุ่งนา เสียงแม่ร้องลำลั่นทุ่ง เสียงแม่ไพเราะมาก...”
หมายเหตุจากผู้ตรวจการณ์ : แก้ไข เครียด เป็น เคียด (โกรธ)
ลัก...ยิ้ม
21-05-2012, 11:02
เมาหนเดียวก็เข็ดหลาบ
ครั้งหนึ่งในช่วงที่กำลังเป็นหนุ่มฉกรรจ์ เส้นทางชีวิตของหนุ่มบัวเกือบจะต้องกลายมาเป็นนักสุราอย่างสุดขีด วันนั้น เพื่อน ๆ มาชวนไปกินเลี้ยงที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่นและต่างก็ชักชวนให้ดื่มสุรา ท่านเองแม้จะปฏิเสธอย่างไร เพื่อนก็ไม่ฟัง จึงจำยอมโดยคิดให้เหตุผลตนเองว่า เพื่อไมตรีจิตกระชับมิตรภาพ แต่ผลของการดื่มสุรากับเพื่อน ๆ ในครั้งนั้น ถึงกับทำให้ท่านต้องเข็ดหลาบตลอดไปเลยทีเดียวดังนี้
“...เราไม่เคยคิดไว้ก่อนว่าในงานนั้นจะมีอะไรบ้าง เพราะไม่ใช่บ้านเกิดเรา แต่เป็นบ้านเพื่อน ๆ ซึ่งอยู่ห่างกันคนละจังหวัด จึงไม่ทราบว่าประเพณีเขาเป็นอย่างไร มาวางไว้บริเวณรอบ ๆ เราเกิดความสงสัยจึงถามเขาว่า ‘ขวดอะไรมากมายนัก’
เขาต่างก็บอกเราเป็นเสียงเดียวกันว่า ‘น้ำอ้อยป่า คนไม่มีวาสนา ไม่ได้กินแหละ’ แต่ความจริงเป็นเหล้าเถื่อน ...
เรานึกรู้ทันทีว่าคือน้ำบ้านั่นเอง เพราะเท่าที่เห็น ๆ มา ใครดื่มน้ำประเภทนี้เข้าไป โดยมากต้องเป็นบ้ากันแทบทุกราย ก็เรากำลังตกอยู่ในที่จนตรอกเสียแล้ว ไม่ทราบจะหาทางออกได้อย่างไร ? อีกไม่นานนักต่างคนต่างรินน้ำอ้อยป่านั้น ยื่นมาให้เราดื่มแบบหาทางหลบหลีกไม่ได้
เราเป็นเพียงพูดออกอุบายว่า ‘เพื่อน... เราปวดหัว ไม่ค่อยสบาย อย่าให้ดื่มเลย’
เขาไม่ยอมฟังเสียง แต่กลับจะให้ดื่มท่าเดียว โดยให้เหตุผลว่า ‘นี่คือน้ำยาสำหรับแก้ปวดหัวโดยตรง ดื่มแล้วไม่ต้องไปหายาอะไรมาแก้’ เขาเป็นคนหมู่มากและเป็นคอสุราแบบเดียวกันด้วย เราคนเดียวไม่สามารถจะต้านทานได้ จำต้องยอมรับโดยปริยาย
พอผ่านไปไม่นานนัก เราชักจะเปลี่ยนท่าทาง และอาการทุกส่วนเปลี่ยนแปลงไปเสียแล้ว เพราะไม่เคยมาก่อน... ร้องเพลงกลางวงเลย เราไม่ลืม ร้องเพลงกลางวง ทั้ง ๆ ที่เมาเหล้าอยู่ ร้องเพลงเพราะอยู่นะ...
ความคิดเดิมว่า เพื่อรักษามารยาทและไมตรีจิตกับเขานั้น ได้กลายเป็นว่าทำลายมารยาท และไมตรีจิตปกติของตนเสียสิ้นไม่เหลืออยู่เลย ที่ปรากฏอยู่ชัดแจ้งในเวลานั้นก็คือ มารยาทของคนขี้เมาล้วน ๆ เท่านั้น ร้องลำทำเพลงทั้งคืน... จากขับลำแล้วก็หลับ ...ไม่มีทางทราบเรื่องดีชั่วของตัว และสุดท้ายนอนแผ่อยู่ที่นั่น อย่างไม่มีอาลัยกับอะไร ๆ ...
พวกเพื่อนฝูงเต็มอยู่นั้น เขาหนีกันไปหมดตั้งแต่เมื่อคืนนี้แล้ว พอตื่นขึ้นยังเหลือแต่เรานอนอยู่บ้านเพื่อนนั่นแหละ เขาปล่อยให้เราหลับจนกระทั่งตะวันขึ้น...
พอรุ่งเช้า จึงรู้สึกตัวขึ้นมา ‘อ้าว..นี่ไม่ใช่บ้านเรา มันบ้านเพื่อนของเรา’
จากนั้นมา ลงจากบ้านเขาแล้วอาย ไม่ไปบ้านเขาอีกเลย... เกิดความละอายเพื่อน ๆ และคนในบ้านอย่างมาก รีบกลับบ้านเพื่อนอีกคนหนึ่งทันที ... แน่ะ..เวลาเมาเหล้ามันไม่ได้อายนะ ร้องเพลงสนุกไปเลย (คนเมานี่) ชอบโม้ชอบคุย คนเมาเหล้า น้ำลายไม่ทราบมาจากไหน พอหายเมาแล้ว ไม่ไปบ้านเขาอีกเลย อายเขา...
นับแต่วันนั้นมา ถ้าใครจะมาเชิญชวนไปบ้านคนอื่นอีกเป็นไม่ไปเด็ดขาด เพราะความเข็ดหลาบเป็นกำลัง...”
ลัก...ยิ้ม
22-05-2012, 11:03
ศาสนาก็เลื่อมใส แต่หัวใจ...
ในระยะนี้เป็นช่วงที่หนุ่มบัวเติบโตเป็นหนุ่มเต็มที่แล้ว ทำให้เริ่มคิดคำนึงถึงเรื่องหญิงสาวที่จะมาเป็นคู่ครอง ท่านกล่าวถึงภาวะจิตใจในตอนนั้นว่า
“เรื่องความเคารพในศาสนา เลื่อมใสในพระในเณรนั้น เราเลื่อมใสมาโดยตลอด ไปใส่บาตรแต่เด็กก็ไปกับผู้ใหญ่ เวลาโตขึ้นมาความเลื่อมใสในศาสนาก็มาก แต่กิเลสมันก็มีมากอยู่เหมือนกัน เห็นเขามีลูกมีเมียก็คิดอยากมีลูกมีเมีย มีครอบมีครัวกับเขา”
และแล้วความคิดที่ตั้งไว้อยู่ภายในใจนี้ ก็ได้ถูกเปิดออกมาเพราะผู้เฒ่าคนหนึ่ง เรื่องมีอยู่ว่า วันหนึ่งขณะที่ท่านกำลังสนทนากันกับหนุ่มเถิง เพื่อนสนิทของท่านอยู่นั้น ผู้เฒ่าคนนี้อายุราว ๕๐ ปี มาจากอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ลักษณะของผู้เฒ่าเป็นคนสุขุมไม่ค่อยพูด แกนั่งอยู่ในบริเวณนั้นจึงได้ยินสองหนุ่มพูดคุยกันมาตลอด หนุ่มเถิงพูดแต่ว่าจะบวช ๆ คงจะพูดเรื่องบวชอยู่นาน จนผู้เฒ่าชักจะรำคาญละมัง จึงว่า
“ไหนพ่อขอดูลายมือหน่อยนะ มานั่งฟังอยู่นี้มีแต่จะบวช ๆ มันจะได้บวชหรือ ? ไหนให้พ่อดูลายมือหน่อย” ผู้เฒ่าดูลายมืออยู่เงียบ ๆ สักพักหนึ่งแกก็พูดขึ้นว่า “...จ้างก็ไม่ได้บวช นี่ไม่กี่วันมันจะมีเมีย มันติดกันอยู่แล้ว นี่คู่ของมันติดอยู่นี่ มันแยกไม่ออก มันจะแยกออกได้‘ยังไง’...”
ผู้เฒ่าไม่ใช่พูดแบบธรรมดา ๆ แต่พูดแบบยืนยันเลย แกเป็นคนนิสัยไม่ค่อยพูด เป็นคนเคร่งขรึม พอเห็นผู้เฒ่าทำนายเพื่อนแบบนี้ เลยทำให้หนุ่มบัวรู้สึกยิ่งคึกคักมั่นใจไปด้วย เพราะไม่ต้องการจะบวช แต่ต้องการจะเอาเมีย เมื่อเพื่อนดูเสร็จเรียบร้อย หนุ่มบัวจึงขอให้ดูบ้าง
“ดูให้ผมหน่อย...” หนุ่มบัวพูดด้วยความกระหยิ่มใจว่า อย่างไรต้องได้เมียแน่คราวนี้
แต่การณ์กลับตรงข้าม ผู้เฒ่าดูอยู่ครู่หนึ่ง แกพูดขึ้นว่า
“เอ้อ! ผู้นี้ใช่ละนี่ ผู้นี้ถึงถูก ได้บวชแน่ ๆ จะได้บวช นี่สายบวชเต็มแน่วแล้วเวลานี้ จะบวชเร็ว ๆ นี้...”
ผู้เฒ่ากล่าวด้วยความมั่นใจเช่นนี้ ถึงกับทำให้หนุ่มบัวหน้าซีดเผือดลงทันที ดังนั้นเพื่อความแน่ใจว่าผู้เฒ่าอาจจะดูผิดไปหรือไม่อย่างไรกัน จึงรีบบอกไปว่า
“เอ๊ะ! ว่าจะเอาเมียอยู่นะ ผมอยากจะแต่งเมียอยู่นะ”
แทนที่ผู้เฒ่าจะลังเลใจ กลับยิ่งพูดอย่างยืนยันเลยว่า “จ้างก็ไม่ได้แต่ง..!!”
และในที่สุด ท่านก็ไม่มีครอบครัวเหย้าเรือนตามที่เคยตั้งใจไว้เดิม แม้จะมีหญิงสาวที่หมายมั่นตกลงปลงใจระหว่างกันแล้วก็ตามที แต่ครั้นพอจะให้เป็นจริงเป็นจังขึ้นมาครั้งใด กลับหาจุดที่เหมาะสม ลงตัวลงใจกันมิได้สักที
อีกทั้งด้วยนิสัยที่เป็นคนเคารพในเหตุผลเหนือสิ่งอื่นใด ดังนั้นเมื่อเหตุผลยังเป็นที่ลงกันไม่ได้ แม้ความรักจะมากเพียงใด ท่านก็ยอมอดยอมทนได้ และด้วยเหตุนี้เองความคิดของท่านที่จะมีครอบมีครัว จึงเหมือนมีสิ่งมากีดมาขวางให้คลาดแคล้วจนได้ทุกทีไป ชะรอยจะเป็นเพราะ ปุพเพ จ กตปุญญตา อำนาจบุญกรรมที่ท่านเคยสร้างสมอบรมมา แต่ดั้งแต่เดิมให้ผลมากกว่าจะเป็นเรื่องการทำนายทายทักจากหมอดู บุญนี้จึงให้ผลอุดหนุนผลักดันชีวิตของท่านให้ไปในทางอันประเสริฐ
ลัก...ยิ้ม
23-05-2012, 10:09
ทอดสมอความรัก
ท่านกล่าวย้อนอดีตถึงสมัยหนุ่ม ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในช่วงที่กำลังคิดจะมีครอบครัวว่า
“ถ้าจะเอาเมียทีไรก็ผิดก็พลาดไปทุกที ทั้ง ๆ ที่พ่อผู้หญิงชอบหมดทั้งนั้นแหละ พอเราขึ้นไปบ้านไหน แต่ก่อนเขามีทำงานปั่นฝ้ายปั่นไหมกันทางภาคอีสาน ทุกวันนี้ก็มี เขาไปเที่ยวกัน แต่เขาว่า "ไปเล่นสาว" เป็นภาษาทางนี้
ถ้าเราไปขึ้นบ้านไหน โอ๋ย.. เสียงสั่นไปแหละ คือพ่อแม่ทางผู้สาวน่ะชอบมาก แต่ลูกสาวไม่เห็นชอบอะไร คือเขาอยากได้เรา เขาเห็นเราขยันก็รู้กันอยู่แล้วนี่..”
ท่านเคยเล่าเกี่ยวกับเรื่องความรักและการต่อสู้กับความรักไว้เป็นข้อคิดคติธรรมให้ลูกหลานฟังว่า
“หลวงตามหาบัวก็เคยรักสาวเหมือนกัน เคยพูดมาแล้ว หลวงตาบัวเป็นบ้า โถ.. เราก็เห็นโทษของมันเหมือนกันนี่นา หลังมานี้จึงเห็นโทษ เวลานั้นมันไม่เห็นเลย นอนไม่หลับก็ยังไม่เห็น มันคิดเห็นหน้าแต่ผู้สาวคนเดียว
โห... ไม่มีอะไรในโลกธาตุ ไม่มีใครมีคุณค่ายิ่งกว่าสาวคนเดียวนี้นะ มันนั่งอยู่ในหัวใจตลอดเวลา ทำหน้าที่การงานใด มันก็เป็นพุทโธอยู่ในใจนี้ล่ะ สาวคนนั้น นั่น.. มันเป็นพุทโธแทน มันอย่าง‘งี้’ล่ะ หือ..ทำงานทำการใดมีแต่อีนั่นล่ะ อยู่ในนี้นะ โอ้โห..มันเป็นก็บอกว่าเป็นซิ...
โห.. อกจะแตกนะ รักผู้หญิงนี่ ไม่ใช่เล่น ๆ เราเคยรักมาแล้วนี่ โถ..ถึงขนาดนี้ ถึงขนาดจะกินข้าวไม่ลง นอนไม่หลับ... อยู่ที่ไหน หาทำอะไรก็ตาม งานการอะไรก็ตาม ทำไปบืน*ไป เดินก็เดินไป แต่พุทโธหญิงสาวนั้น มันไม่ได้พรากจากใจหนา มันติดอยู่นั่นตลอด ถึงว่ามันฝังลึก
ทุกข์มากที่สุดนะ โห..พิลึก ความหนักหน่วงถ่วงจิตใจ ความทุกข์ความลำบากทรมานที่สุดในเวลานั้น ทีนี้ความรักมันก็ดึงไป ๆ มันไม่ให้เห็นโทษ ทุกข์ขนาดไหน มันก็ไม่เห็นนะ...”
แม้ว่าท่านจะไม่ได้คาดคิดเรื่องบวชมาก่อน แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับเรื่องความรักของท่านที่มีต่อหญิงสาวนั้น ถึงจะมีมากจนถึงกับทำให้ทุกข์ร้อนภายในใจเพียงใด ท่านก็จะไม่ยอมทำสิ่งผิดพลาดเสียหายใด ๆ โดยเด็ดขาด อันอาจจะก่อให้เกิดความกระทบกระเทือนถึงจิตใจของพ่อแม่ และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ ดังนั้น ถึงแม้สมัยเมื่อครั้งยังเป็นฆราวาสอยู่ ท่านก็จะพยายามใช้หลักต่อไปนี้ตลอดมา
“เอ้า! มึงจะรักไปไหนรักไป มึงไม่ได้เกิดกับอีหญิงคนนี้ละน่ะ ถึงขนาดนี้ละน่ะ มึงทำไม มึงรัก.. ลืมพ่อลืมแม่ได้ บังคับมัน เอ้า.. เคยเป็นนี่ เอาความจริงมาพูด ก็เรื่องของเราเป็นมาแล้วนี่ แต่ทีนี้ เวลามันจะแยกของมันได้ก็เพราะศีลธรรมนะนี่ สำคัญอันนี้นะ ธรรมแยกออกได้ขาดสะบั้นไปเลยเชียว.. ให้ถอยไม่ถอย จะแก้
แม้รักจนน้ำตาไหล รักเต็มหัวใจเจ้าของ ใคร ๆ ก็ไม่รู้ จนเจ้าของจะเป็นบ้า ไม่ใช่รักธรรมดา... ไม่ลืมนะจนบัดนี้ เพราะรักครั้งแรกด้วย เอ้าจริง ๆ ... รักครั้งแรกถอนไม่ขึ้นง่าย ๆ
โธ่ ๆ แต่ดีอย่างหนึ่ง มันมีหลัก หัวใจมีหลักของมัน เป็นฆราวาสก็มีอยู่ ความสัตย์ความจริง ความเด็ดมันเด็ดอยู่ตลอด เมื่อเห็นว่ารักนี้จะทำลายเจ้าของแล้ว ก็ทอดสมอลงกึ๊กเลย ให้เรือมันไปไม่ได้ ให้มันหมุนอยู่นี่ มันถอนสมอไม่ได้.. มันก็ดิ้นอยู่นี่ เรือหมุนอยู่นี่ มันไม่ออก ถ้าลงสมอหลุด เรือมันก็พาไปทะเลหลวงโน้นล่ะ นี่ไม่ให้มันไป...”
============================================================
* บืน หรือ บึน แปลว่า รั้น ดื้อ ไม่ฟังใคร (เป็นความเห็นจากท่านสุธรรมค่ะ)
ลัก...ยิ้ม
24-05-2012, 07:15
ฟังเทศน์พระกรรมฐาน..“ปากเปราะ”
ในระยะเป็นหนุ่มจวนเจียนใกล้จะบวชแล้ว มีพระกรรมฐานท่านมาเที่ยวพักอยู่ที่ราวป่าบ้านตาด ท่านชื่อ “พระอาจารย์ดี” หนุ่มบัวจึงมีโอกาสเข้าไปฟังเทศน์ ในวันนั้นท่านเทศน์ให้ฟังเรื่อง “อียายปากเป็น อียายปากเปราะ” ดังนี้
“... ตอนนั้นเรายังไม่รู้เรื่องรู้ราวเพราะกำลังหนุ่มอยู่ จวนใกล้จะบวชแล้วแหละ พระกรรมฐาน เราไปฟังท่านเทศน์ มันจึงจำได้ละสิ ท่านเทศน์ท่านยกนิทานชาดกขึ้นว่า... อียายปากเปราะนี่ ชาติก่อนแกเกิดเป็นเต่างุ่มง่าม ๆ คืบคลานอยู่ตามบึง อาหารการกินไม่บริบูรณ์ หงส์สองผัวเมียบินมาเที่ยวหากินในบึงนั้น มาพบเต่าเข้าก็เกิดความสงสาร จึงอุทานออกไปว่า
‘โอ้! นี่อาหารก็ไม่มีจะทำ‘ยังไง’ น้ำก็ไม่มี น้ำก็หมด สถานที่สมบูรณ์บริบูรณ์มีอยู่ ฉันจะพาแกไป แกจะไปกับฉัน'มั้ย' ?’
‘ฉันจะไปกับพวกแกได้‘ยังไง’ ฉันไม่มีปีกบินเหมือนพวกแกนี่นา’
‘เพียงแกรักษาปากแกให้ดี แกก็ไปกับพวกเราได้’
‘รักษา‘ยังไง’ รักษาปาก’ เต่าถาม
หงส์ทองผัวเมียจึงว่า ‘คือว่าเราทั้งสองจะไปนำไม้มา แล้วตัวหนึ่งจะคาบปลายไม้ไว้ด้านหนึ่ง อีกตัวหนึ่งจะคาบที่สุดไม้อีกข้างหนึ่ง ให้แกคาบตรงกลางไม้นี่ไว้ แล้วเราทั้งสองนี่จะคาบไม้พาแกบินไป ให้แกเอาปากคาบไม้ไว้ให้ดี แล้วเราจะบินไปส่ง แกจะสามารถรักษาปากของแกได้'มั้ย' ?’ หงส์ทั้งสองถามขึ้น
‘รักษาได้ ของง่าย ๆ’ เต่ารับปากอย่างนั้น
‘เอ้า! ถ้าอย่างนั้น เราจะไปด้วยกัน’
หงส์ทองผัวเมียก็ไปเอาไม้มาให้เต่าคาบ เต่าคาบแล้ว หงส์สองผัวเมียก็โผบินผ่านไปกรุงพาราณสี คนในพระราชวังมองเห็นก็ร้อง
‘โฮ้ย! มาดูสิ หงส์หามเต่า หงส์หามเต่า หงส์หามเต่า’
ใคร ๆ ก็รู้แล้วว่าหงส์มันมีปีก เข้าใจหรือเปล่า มันก็บินได้ มันก็หามเต่าได้ละสิ ไอ้เต่า..ไอ้ปากเปราะนี่สิมันสำคัญ ไม่มีปีกแต่อยากอวดดี บินผ่านไปทางไหน คนก็ร้องว่า ‘หงส์หามเต่า หงส์หามเต่า หงส์หามเต่า’
ฝ่ายเจ้าเต่าก็เกิดโมโห จึงอ้าปากจะพูดว่า ‘โคตรพ่อโคตรแม่มึง ไม่รู้หรือว่า เต่าหามหงส์’ พออ้าปากออกโม้เท่านั้นแหละ โม้ยังไม่จบประโยค ก็ตกตูมลงกรุงพาราณสี ร่างแตกกระจุยกระจาย กระดองไปทางหนึ่ง ตัวไปทางหนึ่ง หัวไปทางหนึ่ง ขาไปทางหนึ่ง ตายทันที... แล้วตายจากชาตินั้น จึงมาเกิดเป็นอียายปากเป็นคนนี้
อียายปากเป็นนี้ ไปไหนแกชอบพูดยุยงส่งเสริมให้คนนั้นคนนี้แตกร้าวจากกัน ให้คนนั้นหย่าร้างกัน ถ้าเป็นสามีภรรยาก็ยุยงส่งเสริมให้สามีภรรยาทะเลาะกัน แล้วหาเรื่องว่าสามีไปมีเมียน้อย ภรรยาไปมีผัวน้อย เอาเรื่องทั้งสองมาตีกันยุ่งไปหมด นิทานเรื่องนี้จึงสอนให้รู้ว่า ‘ให้พากันรักษาปากนี้ให้ดี’…”
นิทานชาดกที่พระกรรมฐานเทศน์ให้ฟังในวันนั้น เป็นคติเตือนใจและยังจดจำตราตรึงอยู่ในใจของท่านตลอดมา
ลัก...ยิ้ม
25-05-2012, 10:53
ลูกที่ไว้ใจ วางใจได้
ในระยะก่อนที่จะออกบวชปรากฏว่า ท่านเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของครอบครัว เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจในการงานทั้งปวง จนบิดามารดาหวังฝากผีฝากไข้ ฝากเป็นฝากตายไว้กับท่าน ความไว้วางใจของพ่อแม่ที่มีต่อท่านและพี่ชาย เห็นได้อย่างชัดเจนจากคำกล่าวของท่านที่ว่า
“... แต่ก่อนพ่อแม่ของเรามีเป็นหลาย ๆ ชั่ง* นะ คือเงินชั่งแต่ก่อนไม่ใช่เล็กน้อย เป็นเงินหมื่น ๆ ทุกวันนี้ละนะ เงินมีหลายชั่งในครัวเรือนของเรา...
พอเดือนเมษาฯ สรงน้ำพระปีใหม่ พ่อแม่ถึงจะเอาออกมาทีหนึ่ง... ใส่ขันใหญ่นี้ออกมาเต็มเลย เวลาสรงน้ำไม่ให้ใครรู้นะ รู้เฉพาะเรากับพี่ชายคนหนึ่ง นอกนั้นไม่ยอมให้เห็นเลย ทำอยู่ข้างบนบ้าน เอาน้ำอบน้ำหอมมาล้าง จนถึงน้ำดำเลย เต็มขัน ๆ เสร็จแล้วเก็บเงียบ แต่ก่อนไม่มีฝากธนาคารนะ เก็บแบบลี้ลับของคนโบราณ
เกี่ยวกับเรื่องการเก็บรักษาเงินทองภายในครอบครัวของท่านนั้น แม่เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกว่าพ่อ เพราะเป็นผู้มีความจดจำดีกว่าพ่อมาก ประการแรกคงเป็นเพราะแม่ได้ความเฉลียวฉลาดจากคุณตามาไม่น้อย ดังท่านเคยกล่าวว่า
“...โยมแม่นี้ยกให้เลย ความจำนี่เก่งมาก อันนี้เด่นจริง ๆ ลูกไม่ได้สักคนเดียว ทางนี้เขามีกลอนลำเหมือนเพลง พอเขาขึ้นลำนี่ โยมแม่ฟังอยู่นั่นแล้ว ฟังลำจบ จำได้หมดเลย เก่งขนาดนั้น อะไร ๆ นี่จำได้หมด
ลูกคนไหนเกิดวันไหน เดือนไหน ข้างขึ้นข้างแรม ไม่ได้มีอะไรจดนะ แต่ก่อนไม่มีละหนังสือจะจด โยมแม่จดด้วยความจำทั้งนั้น ลูกทุกคนจำได้หมด ไม่มีพลาด นี่แหละ เก่งจริง ๆ ความจำความฉลาดก็ยกให้อยู่นะ แม่รู้สึกว่าจะได้สืบมาจากพ่อคือตา...”
น้อง ๆ ของท่านกล่าวเช่นกันว่า “...ที่แม่มีความสามารถทางการจดจำดีกว่าพ่อ ก็น่าจะเป็นเพราะพ่ออาจจะต้องรับผิดชอบการงานหลายอย่าง ทำให้มักจะลืมสิ่งนั้นสิ่งนี้อยู่บ่อยครั้ง
ถ้าพ่อถือเงินไปไหนต่อไหน ความที่จำไม่ได้ทำให้เหมือนกับว่าอยู่ดี ๆ เงินก็ถูกขโมยหายไป บางครั้งก็กลับมีเงินเพิ่มขึ้นทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครเอามาใส่ให้ แต่สำหรับเงินที่เก็บอยู่กับแม่นั้นไม่เคยมีปัญหาใด ๆ เหมือนของพ่อเลย
เวลาที่เขาหาบฟ่อนข้าวมากองที่ลานในนา ทางพ่อว่าข้าวมีเท่านั้น ส่วนแม่ว่ามีเท่านี้ จะนับได้ไม่เท่ากัน ท่าน (หมายถึงองค์หลวงตา) จะเชื่อถือในจำนวนที่แม่บอก เพราะท่านว่าแม่พูดมีเหตุผลมากกว่า ส่วนพ่อมักลืมเก่ง และสิ่งนี้เองทำให้ท่านตัดสินใจพูดกับพ่อแม่ว่า
‘เอ้า..ตั้งแต่นี้ต่อไป ให้แม่เป็นคนเก็บเงินทั้งหมด เอาไว้ให้พ่อใช้นิดหน่อย ถ้าไม่มีจึงค่อยเอาจากแม่ไปใช้ เป็นการตัดปัญหา จะได้ไม่มีใครมาลักมาปล้นอีก’…”
การที่พ่อแม่ยอมให้ท่านได้เห็นเงินจำนวนมาก อีกทั้งยอมเชื่อคำแนะนำของท่านในเรื่องการจัดเก็บเงินดังกล่าว ย่อมชี้ชัดถึงความเป็นที่เชื่อใจวางใจได้ของพ่อแม่ที่มีต่อท่าน เพราะหากเป็นลูกที่ไม่ดี ก็ย่อมอาจจะคิดลักขโมยเงินทองของพ่อแม่ได้ หรืออาจแนะนำพ่อแม่เพื่อหวังประโยชน์เข้าสู่ตนเอง โดยอาศัยจุดอ่อนในเรื่องความจำของพ่อเป็นช่องทางได้
ความซื่อสัตย์ต่อพ่อแม่ดังกล่าว นับเป็นคุณธรรมของบุตรที่หาได้ยากยิ่งในปัจจุบัน
==================================================================
* เงิน ๑ ชั่ง เท่ากับ ๘๐ บาท
ลัก...ยิ้ม
28-05-2012, 08:23
หนุ่มบัวกับทางสามแพร่ง
ตามที่คุณตาได้เคยทำนายฝันท่านไว้ขณะอยู่ในครรภ์ว่า มีนิสัยทำอะไรทำจริง และเมื่อตกคลอดออกมาก็มีรกพันคอออกมาด้วย ว่าสายรกนี้เป็นไปได้ ๓ อย่าง คือ สายโซ่ สายกำยำและสายบาตร เพื่อแก้เคล็ดสะเดาะเคราะห์ให้เกิดสิริมงคลแก่หลาน คุณตาจึงรีบร้องพูดออกมาในทางดีขึ้นในทันทีว่า
“โอ้! รกพันคอ นี่เป็นสายบาตร สายบาตร สายทางธรรม นี่สายบาตร ๆ สูดูนี่! สายบาตร สายบาตร ๆ เด็กน้อยคนนี้มันจะได้บวชเป็นพระ แล้วก็จะได้เป็นนักปราชญ์ นี่คือ ทางสายบาตร”
แม้คุณตาจะกล่าวเป็นมงคลต่อหลานไว้ กระนั้นก็ตาม ชีวิตของท่านในวัยหนุ่มก็มิได้ราบเรียบตามคำพูดของคุณตาเสียทีเดียวนัก ต้องอดทนต่อสู้และเลือกในเส้นทางที่มีทั้งฝ่ายถูกและฝ่ายผิดที่ผ่านเข้ามาในชีวิตอยู่เป็นระยะ ๆ ดังนี้
“เราโตเป็นหนุ่มก็เดินตามรอยพ่อ.. เป็นพรานเหมือนพ่อ ปืนก็อยู่กับบ้าน ไปไหนฉวยจับไปเลย เริ่มออกยิงสัตว์แล้วแต่ยังทำไม่มาก เป็นแต่เพียงเริ่มฆ่าเท่านั้น นี่คือทางสายกำยำ หรือ ทางปืน”
นี่เป็นทางเลือกหนึ่งที่ท่านถอยออกไป เพราะรู้สึกแป้วใจ ไม่สบายใจที่ชีวิตสัตว์ต้องถูกพลัดพราก และทำลายไปโดยน้ำมือของท่าน และอีกเส้นทางหนึ่งที่ท่านเกือบจะมุ่งหน้าเดินต่อไป ทั้งที่เป็นหนทางแห่งอันตรายยิ่ง แต่เดชะบุญมีเหตุทำให้ต้องได้เลิกราไป ท่านได้เล่าไว้อย่างน่าใจหายว่า
“สมัยเป็นหนุ่มน้อย เราเคยไปคบเพื่อนไม่ดี กำลังจะไปค้าฝิ่นกับเขา เขาชวนไปขายฝิ่น แต่ยังไม่ได้ขายนะ ซื้อฝิ่นมาแล้ว เตรียมตัวจะนำไปส่งขายครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ ก็ยังทำไม่สำเร็จ มีเหตุดลบันดาลให้ไม่ได้ทำ พอดีกับตอนนั้น พ่อน้ำตาร่วงขอให้ออกบวช เรื่องค้าฝิ่นจึงปัดทิ้งทันทีไม่ได้สนใจ และไม่เคยถามถึงจนกระทั่งป่านนี้ ฝิ่นนั้นไม่ได้อยู่กับบ้าน อยู่กับจุดศูนย์กลางกับเพื่อน นี่คือทางสายโซ่ ถ้าหากไปขายฝิ่นต้องติดคุกติดตะราง”
หากคำทำนายของคุณตาเป็นจริง ก็เหลือหนทางสุดท้ายเท่านั้นคือ ทางสายบาตร ซึ่งขณะนั้นยังไม่อยู่ในความคิดความตั้งใจของท่านแต่อย่างใด เนื่องจากใจของท่านเวลานั้น แม้จะมีความรักในศาสนาแต่ก็ยังไม่พร้อม ใจไม่คิดอยากบวช อยากมีครอบครัวมากกว่าแต่เหตุการณ์ก็ไม่ค่อยเป็นใจ ทุกสิ่งทุกอย่างดูจะมีอุปสรรคขัดข้องเสมอดังนี้
“...ถ้าพูดถึงเรื่องรักผู้หญิง .. ‘รักจนกระทั่งนอนไม่หลับ รักจนจะตาย คนที่รักก็เป็นเครือญาติวงศ์เดียวกัน
‘พวกญาติอีกผ่ายหนึ่งก็เห็นดีเห็นงามว่า ‘เอ้า! ดีแล้ว เป็นญาติเป็นวงศ์เป็นสกุลเดียวกัน ได้กันก็ยิ่งเป็นกันเองก็ยิ่งง่าย’
พวกญาติอีกฝ่ายหนึ่งก็ทักท้วงว่า ‘พวกแกจะมาทำลายวงศ์สกุลกันหรือนี่ คนนี้ชื่อว่าอย่างนั้น คนนั้นชื่อว่าอย่างนี้ เรียกกันว่าอย่างนั้น ที่นี้จะมาให้เรียกคนนี้เป็นปู่ คนนี้เป็นย่า คนนี้เป็นอย่างนั้น มันเรียกกันได้ลงคอเหรอ จะมาถือเอาสิริมงคลอะไรจากการทำลายญาติ'
พิจารณาดูทางเหตุผลแล้ว เราก็ยอม ‘เอ้า! ถ้าอย่างนั้นก็ตัดใจ มันจะตายก็ยอมตาย เอามาแล้วมันไม่เกิดประโยชน์ ลงได้ขวางผู้ใหญ่ ขวางญาติ ขวางสกุลแล้ว เอาประโยชน์อะไรจากสิ่งเหล่านี้ เอามาแล้วมันก็กีดก็ขวางอยู่อย่างนั้นแหละ หาความเจริญไม่ได้ เพราะเราเพียงเท่านี้ทำความเสียหายแก่วงศ์สกุลมากมาย ไม่มีใครเห็นดีด้วยแล้วเอาไปทำไม’
มันจะตาย เพราะหัวใจมันรัก แต่ก็ต้องตัดรักลงอย่างขาดสะบั้นหัวใจ ต่อมาก็ได้มาหัวเราะเรื่องของตัวเองเหมือนกัน แต่ก่อนมันเหมือนไม่มีญาติมีวงศ์ ไม่มีพ่อมีแม่ มันก็มีแต่มันคนเดียว เก่งกว่าพ่อกว่าแม่ กว่าญาติกว่าวงศ์ กว่าใครทั้งหมดจะให้ได้ดั่งใจ ที่นี้เวลาเรื่องทั้งหลายมันจบแล้ว เหตุผลเพราะเราไม่ต้องการจะเป็นคนเลวขนาดนั้น จะทำได้ลงคอหรือ มันก็ต้องยอม ยอมทั้ง ๆ ที่ตัวกิเลสมันไม่ยอม แต่เพราะเห็นแก่วงศ์สกุล จึงฟาดมันขาดสะบั้น...”
ลัก...ยิ้ม
29-05-2012, 07:54
สะเทือนใจน้ำตาพ่อแม่
เมื่อท่านมีอายุครบสมควรที่จะบวชได้แล้ว ตามหลักประเพณีของไทยเราแต่โบราณมา เมื่อบุตรชายอายุครบบวชมักจะให้บวชเสียก่อน ก่อนที่จะมีครอบครัวเหย้าเรือนต่อไป ดังนั้นบิดามารดาจึงคิดจะนำเรื่องนี้มาปรึกษาปรารภกับท่าน
ครอบครัวของท่านมีพ่อแม่และลูกชายหญิงหลายคน โดยปกติจะร่วมรับประทานอาหารกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา เย็นวันหนึ่งขณะกำลังรับประทานอยู่อย่างเงียบ ๆ พ่อก็พูดขึ้นมาชนิดไม่มีอะไรเป็นต้นเหตุเลยว่า
“...เรามีลูกหลายคนทั้งหญิงทั้งชาย แต่ก็ไม่พ้นความวิตกกังวลในเวลาเราจะตาย เพราะจะไม่มีลูกคนใดใจเป็นผู้ชายคิดบวช พอให้เราได้เห็นผ้าเหลืองก่อนตาย ได้คลายความกังวลใจในเวลานั้น แล้วตายไปอย่างเป็นสุขหายห่วง...
ลูกผู้ชายเหล่านั้น กูก็ไม่ว่ามันแหละ ส่วนลูกผู้หญิง กูก็ไม่เกี่ยวข้องมัน ลูกผู้ชาย.. กูก็มีหลายคน แต่นอกนั้นกูก็ไม่สนใจอะไรพอจะอาศัยมันได้ แต่ไอ้บัว (หมายถึงองค์หลวงตา).. นี่ซิ ที่กูอาศัยมันได้นะ..”
ทั้ง ๆ ที่โดยปกติพ่อไม่เคยชมท่าน แม้เรื่องอะไรต่าง ๆ พ่อก็ไม่ชม มีแต่กดลงเรื่อย ๆ ท่านว่านิสัยของพ่อและแม่ของท่านเป็นอย่างนั้น จากนั้นพ่อก็พูดต่อไปว่า
“ไอ้นี่ลงมันได้ทำการทำงานอะไรแล้ว กูไว้ใจมันได้ทุกอย่าง กูทำยังสู้มันไม่ได้ ลูกคนนี้กูไว้ใจที่สุด ถ้าลงมันได้ทำอะไรแล้ว ต้องเรียบไปหมด ไม่มีที่น่าตำหนิติเตียน กูยังสู้มันไม่ได้ ถ้าพูดถึงเรื่องหน้าที่การงานแล้ว มันเก่งจริง กูยกให้ ลูกกูทั้งหมดก็มีไอ้นี่แหละ เป็นคนสำคัญ เรื่องการงานต่าง ๆ นั้น กูไว้ใจมันได้
แต่ที่สำคัญ ตอนกูขอให้บวชให้มันบวชให้ทีไร มันไม่เคยตอบไม่เคยพูดเลย เหมือนไม่มีหู ไม่มีปากนั่นเอง บทเวลากูตายแล้ว จะไม่มีใครลากกูขึ้นจากหม้อนรกเลยแม้คนเดียว เลี้ยงลูกไว้หลายคนเท่าไร กูพอจะได้อาศัยมันก็ไม่ได้เรื่อง ถ้ากูอาศัยไอ้บัวนี่..ไม่ได้แล้ว กูก็หมดหวัง เพราะลูกชายหลายคน กูหวังใจอาศัยไอ้นี่เท่านั้น”
ท่านเล่าให้ฟังต่อว่า “พอพ่อว่าอย่างนั้น น้ำตาพ่อร่วงปุบปับ ๆ เรามองไปเห็น แม่เองพอมองไปเห็นพ่อน้ำตาร่วง แม่ก็เลยน้ำตาร่วงเข้าอีกคน เราเห็นอาการสะเทือนใจทนดูอยู่ไม่ได้ ก็โดดออกจากที่รับประทาน ปุ๊บปั๊บหนีไปเลย นั่นแหละ เป็นต้นเหตุให้เราตัดสินใจบวช มันมีเหตุอย่างนั้น”
การที่แม่ก็น้ำตาไหลเหมือนกันกับพ่อ เพราะว่าแม่ก็เคยอบรมและขอร้องลูกเกี่ยวกับเรื่องนี้มาก่อนแล้ว แต่ท่านก็ยังยืนยันทุกครั้งไปว่า “ไม่บวช กำลังรักสาวอยู่”
ลัก...ยิ้ม
31-05-2012, 07:43
หลบหน้าพ่อแม่ คิดทบทวน ๓ วัน
เมื่อหลบอยู่ตามลำพัง ท่านนำเรื่องนี้ไปคิดอยู่ ๓ วันไม่หยุดไม่ถอย และไม่ยอมมารับประทานร่วมวงพ่อแม่อีกเลยใน ๓ วันนั้น กลัวจะโดนปัญหาดังกล่าวนี้อีก เพราะตอนนั้นใจยังไม่คิดอยากบวช จึงทำเป็นทองไม่รู้ร้อนเรื่อยมา แต่คราวนี้เห็นเป็นเรื่องหนักหนาสาหัสสากรรจ์ ขนาดถึงกับทำให้พ่อแม่ต้องเสียน้ำตา ท่านจึงคิดเทียบเคียงหาเหตุผลในใจว่า
“... เอ๊ะ..พ่อมาน้ำตาร่วง ยกลูกก็เรียกว่ายกแบบยกทุ่มลง พูดง่าย ๆ ยกยอก็ยกยอเพื่อทุ่มลง บทเวลาจะให้บวชนี่ละทุ่มลง คิด ..เอ๊ะ..พ่อน้ำตาร่วงเพราะเรา คิดเอามาจริง ๆ นะ ไม่สบายหัวใจเลย
คิดสงสารพ่อ พ่อแม่ก็เลี้ยงเรามา ทั้งบ้านทั้งเมืองเขาก็มีลูกมีเต้า ลูกเต้าเขายังบวชได้ แม้แต่ติดคุกติดตะรางเขายังมีวันออก นี่ไปบวช ไม่ใช่ไปติดคุกติดตะราง คนอื่น ๆ เขายังบวชได้ เขาสึกมาถมไป บางองค์ท่านบวชจนเป็นสมภารเจ้าวัด จนตายกับผ้าเหลืองก็ไม่เห็นท่านเป็นอะไร ทำไมเราบวชให้พ่อแม่เล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่ได้ มีอย่างหรือ เอาละนะทีนี้นะ คิด...
เพื่อนฝูงที่เขาบวชกัน ตลอดถึงครูบาอาจารย์ที่บวชเป็นจำนวนมาก ท่านยังบวชกันได้ทั่วโลกเมืองไทย การบวชนี่ก็ไม่เหมือนการติดคุกติดตะราง แม้เขาติดคุกติดตะราง เช่น ติดตลอดชีวิต เขาก็ยังพ้นโทษออกมาได้ เราไม่ใช่ติดคุกติดตะรางนี่ หมู่เพื่อนบวช เขายังบวชได้ เขาเป็นคนเหมือนกัน และครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่ท่านบวชจนเป็นสมภารเจ้าวัด ท่านยังอยู่ได้ เหตุใดเราเป็นคนทั้งคน พ่อแม่เลี้ยงมาเหมือนคนทั้งหลาย อย่างอื่น ๆ เรายังอดได้ทนได้ แต่การบวชนี่มันเหมือนติดคุกติดตะรางเชียวหรือ เราถึงจะบวชไม่ได้ ทนไม่ได้ เราทำไมถึงจะด้อย เอ..เสียนักหนา ต่ำช้าเอานักหนากว่าเพื่อนฝูงทั้งหลาย ถึงขนาดพ่อแม่ต้องน้ำตาร่วงเพราะเรานี่ ไม่สมควรอย่างยิ่ง...
สุดท้ายก็ลง เราเป็นคนทั้งคน เป็นลูกชายคนหนึ่ง เป็นคน ๆ หนึ่ง คนอื่นเขาบวชได้ เราบวชไม่ได้เป็นไปไม่ได้ เอ้า..บวชอยู่ในผ้าเหลือง มันอยากสึกจนกระทั่งตายก็ให้ตายดูซี พ่อแม่เลี้ยงมาก็ยาก ถึงขนาดที่ว่าร้องห่มร้องไห้เพราะเราไม่บวชเท่านี้ มันพิลึกเหลือเกิน เราเป็นลูกคนแท้ ๆ ...”
ท่านคิดวกไปวนมาอยู่นั้นได้ ๓ วัน จึงตัดสินกันได้
“... เอาละทีนี้ ตัดสินใจปุ๊บ เราทำไมจะบวชไม่ได้ ตายก็ตายไปซิ เขาบวชกันมาไม่เห็นตาย พ่อแม่ก็ไม่ได้บอกให้บวชจนถึงวันตาย หรือบอกให้บวชถึงปีสองปี พ่อแม่ก็ไม่เห็นว่านี่ แล้วทำไมถึงจะบวชไม่ได้ล่ะ เราก็คน ๆ หนึ่งแท้ ๆ เอ้า..ต้องบวช...”
ลัก...ยิ้ม
01-06-2012, 09:27
ความฉลาดของแม่ รู้ใจลูก
เมื่อท่านตัดสินเป็นที่ลงใจแล้ว ท่านจึงกลับมาหาแม่ และบอกแม่ว่า
“เรื่องการบวช จะบวชให้ แต่ว่าใครจะมาบังคับไม่ให้สึกไม่ได้นะ บวชแล้ว จะสึกเมื่อไรก็สึก ใครจะมาบังคับว่าต้องเท่านั้นปีเท่านี้เดือนไม่ได้นะ”
แม่ตอบทันทีว่า “เอ้อ..สาธุ ถ้าเจ้าจะบวชให้ แม่ก็สาธุ โถ.. แม่ไม่ว่าอะไรหรอกเรื่องสึก ขอแต่ว่าได้บวชก็พอแล้ว
ถ้าลูกบวชแล้วสึกออกมาทั้ง ๆ ที่คนที่ไปบวชยังไม่กลับบ้านก็ตาม แม้จะสึกต่อหน้าต่อตาคนมาก ๆ อย่างนั้น แม่ก็ไม่ว่า”
คำตอบของแม่เช่นนี้ ทำให้สะดุดใจคิดทันทีว่า “...ก็ใครจะเป็นพระหน้าด้าน มาสึกต่อหน้าต่อตาคนมาก ๆ ที่ไปบวชเราได้ ไม่บวชมันเสียดีกว่า เมื่อบวชแล้วมาสึกต่อหน้าต่อตาคน มันยิ่งขายขี้หน้ากว่าอะไรเสียอีกนั่น”
เหตุการณ์ในตอนนั้น ท่านเล่าแบบขบขันถึงความฉลาดของแม่ ที่รู้ถึงนิสัยจิตใจท่านเป็นอย่างดี ดังนี้
“...ฉลาดไหมล่ะ ? ฟังเอา..ใครไปบวชแล้วออกมาจากอุปัชฌาย์ อุปัชฌายะก็ยังไม่หนี พระกรรมวาจาฯ ก็ยังไม่หนี พระสงฆ์ก็ยังไม่หนีกัน คนก็แน่นอยู่อย่างนั้น ออกมาจะมาสึกต่อหน้าต่อตาคนมาก ๆ นี้ มันไม่ขายหน้าโลก กระเทือนโลกหรือ ? ไม่บวชเสียไม่ดีกว่าหรือ ? มันดีกว่าบวชแล้วมาทำอย่างนั้นนี่นะ แม่ก็ต้องทราบว่ามันทำไม่ลง เพราะรู้อยู่แล้วว่านิสัยของเราเป็น‘ยังไง’
นิสัยเราไม่เคยเป็นคนเสียหายนี่ การประพฤติเนื้อประพฤติตัวแต่ไหนแต่ไรมา เราไม่เคยเสียหาย เราพูดคุยได้จริง ๆ การประพฤติตัวไม่เคยเถลไถล พอแม่ว่า ‘งั้น’ เอ้า..บวช บวชละทีนี้ พอบวชเข้าไป เราจะตั้งหน้าบวชให้สมบูรณ์แบบ ไม่ให้ตำหนิติเตียนเจ้าของได้ในหลักธรรมวินัยข้อใดเลย เราจะเอาจริงเอาจังจนกระทั่งวันสึก กะไว้อย่างนาน ๒ ปี คิดไว้นะ..บวชแล้วทำหน้าที่บวชให้สมบูรณ์ คือจะเรียนหนังสืออะไร ๆ ก็แล้วแต่เถอะ จะทำหน้าที่ให้สมบูรณ์...”
เมื่อตกลงกันได้แล้ว ท่านจึงตัดสินใจบวชและเป็นที่น่าแปลกใจว่า การเตรียมการบวชนี้กลับไม่มีอุปสรรค ไม่มีสิ่งใดมากีดมาขวาง ทุกสิ่งทุกอย่างดูพร้อมไปหมดเลย การตัดสินใจในครั้งนี้สร้างความปีติยินดีแก่พ่ออย่างมาก ท่านเล่าเหตุการณ์ตอนนี้ว่า
“...พอมาบวชเท่านั้นนะ พ่อ แหม.. รู้สึกดีใจจริง ๆ นะ อะไร ๆ เตรียมให้หมดทุกอย่างเลย เรียกพี่ชายมา... ให้พี่ชายเป็นคนจัดบริขาร เพราะพี่ชายเคยบวชเป็นเณรมาแล้ว เขารู้เรื่องผ้าสบงจีวร อะไร ๆ มอบให้พี่ชายเลย ซื้ออะไร ๆ ให้ก็เอาของดี ๆ นะ ... บวชก็ไม่ได้คิดว่าจะอยู่นาน จะบวชปีสองปีเท่านั้นแหละ แล้วก็จะสึกตามประเพณีของโลกเขา บวชให้พ่อดีใจ...”
ลัก...ยิ้ม
05-06-2012, 11:00
ป่วยหนักก่อนตัดสินใจบวช
เรื่องนี้เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในระยะก่อนบวช และมีส่วนหนุนนำให้ท่านตัดสินใจบวชได้เร็วขึ้นดังนี้
“..ทีแรกก็ไม่อยากบวช ค่อยขยับจ่อเข้าไป ถึงกาลเวลาป่วยหนัก ป่วยหนักจริง ๆ แทบจะไม่พ้นจากคืนวันนั้น ถึงขั้นพ่อกับแม่มานั่งอยู่สองข้าง มานั่งเทียบสองข้างเลย เราก็กำลังเป็นหนักในขณะนั้น ที่ไม่ลืมเลยก็แม่นั่นแหละ แม่เป็นคนใจอ่อน พ่อไม่ค่อยพูด แต่แม่เป็นคนใจอ่อน ‘จะไปเดี๋ยวนี้เชียวหรือลูก ?’
แม่พูดออกมา ‘อย่าด่วนไป ยังไม่ควรไป ลูกยังไม่ได้บวชให้แม่ ให้ลูกบวชเสียก่อน แม่จะได้หายสงสัย’
แล้วกำลังอารมณ์ในการบวช นี่..ก็เป็นหนักเหมือนกัน..หนุนเข้ามา คราวนี้คราวเราจะไปไม่รอด ‘ถ้าวาสนาของเรายังมีอยู่ จะพอสืบภพสืบชาติไปถึงชั้นสูง ๆ บ้าง ก็ขอให้การเจ็บไข้ได้ป่วยเราซึ่งเป็นมาก ๆ ให้หายวันหายคืนไป’
พอว่าอย่างนั้น กลางคืนนั้นละ..พญายมบาลดึง ทางพญาแดนสวรรค์ก็ดึง สุดท้ายก็เลยได้มาทางแดนสวรรค์หรือแดนอะไรก็ไม่รู้นะ แต่มาทางแดนสวรรค์...
รำพึงนะ ... ‘บวชคราวนี้ เหมือนว่าเอาเป็นเอาตายเข้าว่า’
พ่อกับแม่นั่งอยู่สองข้าง จะไปพูดก็จะพูดไม่ได้แล้ว แม่ไม่ต้องพูดมากละ แม่..น้ำตาแม่เร็วกว่าน้ำตาพ่อนะ พอเห็นลูกเป็นอย่างนั้นก็ร้องไห้อยู่ข้าง ๆ นั่นละ กำลังใจของเราก็มุ่ง ‘ขอให้หายในคราวนี้ เราจะออกบวช พอหายคราวนี้เราจะออกบวชเลย’
เราก็หายวันหายคืนจริง ๆ นะ ทั้งที่ไม่น่าพ้นคืนนั้นกลับหายวันหายคืน พอหายวันหายคืนแล้ว สายแห่งกุศลมากระตุกอยู่เรื่อย ‘อย่างไรละ ? ว่าจะบวช..หายแล้วทำไมไม่เห็นบวช ?’
ยอมรับทันทีเลย ยอมรับว่ายังไม่ได้บวช แต่จะบวชให้ได้คราวนี้ พอว่าอย่างนั้นการเจ็บไข้ได้ป่วยหายวันหายคืน ไม่กี่เดือนนะ เรื่องสะดุดจิต..ตายไปแล้วจะไม่ได้บวช ตายกับยังไม่ตายจะบวชหนักสองทาง การที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อจะบวช..เพื่อจะบวช จากนั้นก็หายวันหายคืน... พ่อกับแม่นั่งอยู่สองข้าง เพราะเป็นหนักจริง ๆ เป็นถึงขนาดพูดไม่ได้เลย ส่วนแม่น้ำตาพังนะ..แม่นะ
พอเราตั้งสัจจาธิษฐานในจิตของเรา เพราะจิตมันไม่ป่วย จิตไม่เป็นภัย มันเป็นแต่สังขารร่างกายนี้เท่านั้น เราก็ค่อยดีขึ้น..เลยหายวันหายคืนอย่างรวดเร็ว คำที่ว่าหายแล้วจะบวชนั้นกระตุกเรื่อยนะ หายไข้มาแล้วยังกระตุกเรื่อย กระตุกเราก็ยอมรับ บอกว่าเราจะบวช ไม่ปฏิเสธ เลยได้ออกบวชจริง ๆ เรื่องราวนะ
เราเป็นมาก ๆ พญามัจจุราชก็จ้อเข้ามา นายยมบาลหรือ ...ไม่ทราบละ ต่างฝ่ายต่างจ้อเข้ามา.. สุดท้ายก็หายไข้ หายจากไข้แล้วการบวชนี้ จ้อเข้ามาเลย กระตุกเรื่อย หายจากเป็นไข้แล้วว่า ‘จะบวชทำไมไม่บวช ?’ ว่าอย่างนั้นนะ สายกุศลกระเทือนใจเจ้าของเอง
ทางนี้ก็ยอมรับว่า ‘จะบวช ๆ ถึงวันแล้วจะบวช ให้เป็นอื่นไม่เป็นละ’ เพราะได้ยอมกับพญามัจจุราชมาครั้งหนึ่งแล้ว แทบจะไปไม่รอด คราวนี้จะบวชกับสายใยแห่งการกุศลมันหนุนเรื่อย ๆ ทางนี้สารภาพเรื่อยว่า จะบวช ๆ
จากนั้นพอหายไข้แล้วบอกแม่ว่า ‘จะบวชละ’ แม่มีคำสัตย์คำจริงมาก ทั้งศรัทธามีพอ ๆ กับแม่กับพ่อไม่มีขัดแย้งกันเลย เรื่องบุญเรื่องบาปเสมอกัน
นั่นละ พอจากลั่นคำแล้วเรียกว่าเปิดเลยนะ เพราะนิสัยนี่ไม่เหลาะแหละ จะทำ.. ทำ จะทำอย่างไร ? เอา..ทำ ๆ เป็นนิสัยจริง ๆ จัง ๆ พอหายจากไข้แล้ว เรื่องการบวชกระตุกเรื่อย กระตุกเรื่อย เลยลั่นคำออกมาให้แม่ฟังว่า
‘นี่ตั้งใจว่าจะบวชหลายหน มันก็เคลื่อนคลาดไปเรื่อย ๆ คราวนี้จะบวชให้แล้วนะ’
พอบอกแม่จบลงแล้ว แม่ก็รีบไปบอกพ่อ เพราะเห็นเรานิสัยอย่างนั้น นิสัยของเราเป็นอย่างไร ? ว่าจะไป.. ไป ว่าจะอยู่.. อยู่ ว่าจะทำ.. ทำ ถ้าลงได้ลั่นคำแล้วขาดสะบั้น ที่นี้แม่ได้ยินว่าเราจะบวชให้ แม่ร้องไห้ พ่อก็เหมือนกัน... เวลาบวช พ่อเรียกพี่ชายมาสอนมาสั่ง
‘เธอได้บวชก่อนน้องแล้ว รู้จักบริขารเกี่ยวกับการบวช จะเอาอะไรบ้าง ? แล้วหาของดี ๆ ให้น้อง’
น้องก็คือเรา ทีนี้พ่อกับแม่ก็ปรึกษากันให้เอาแต่ของดี ๆ มาบวช เพราะเด็กคนนี้มันไม่ค่อยเหมือนใคร ถ้าว่าอย่างไรเป็นอย่างนั้น ว่าอย่างไรเป็นอย่างนั้น นี้มันลั่นคำลงแล้วว่าจะบวช เราเชื่อเสียเดี๋ยวนี้ว่าลูกคนนี้จะต้องได้บวช เพราะได้ยินคำพูดของเราจริงจังมาก จากนั้นเลยตกลงให้พี่ชายไปหาเครื่องบวชดี ๆ
‘เอาดี ๆ นะ มึง..มึงเคยบวชมาแล้ว มึงรู้จักบริขารของพระบวชแล้ว หาของดี ๆ นะ น้องมึงมันไม่เหมือนมึง พูดเล่นอย่างนั้นล่ะ’
พ่อพูดให้พี่ชายฟัง ‘มันเอาจริง ๆ นะ เครื่องบวชทั้งหลายต้องเอาดี ๆ ทั้งนั้นล่ะ มึงเคยบวชแล้ว’
พ่อไปหากับลูกนั่นละ ไปได้แต่ผ้าดี ๆ ของดี ๆ ทั้งหมดเลย ไม่มีขัดข้อง... ธรรมดาประเพณีคนไทยเรา ลูกผู้ชายเมื่อโตขึ้นมาแล้ว ให้ได้บวชเป็นพระเป็นเณรเสียก่อน จึงเหมาะสมกับประเพณีของคนไทยซึ่งเป็นชาวพุทธ ... พ่อกับแม่เรียกว่าเทถุงเลย เงินมีเท่าไร ๆ เอา อย่าเสียดาย ลูกคนนี้ถ้ามันได้พูดเรื่องนี้แล้ว มันแน่แล้วตั้งแต่ยังไม่บวช มันจะบวชแน่ ๆ ล่ะ นี่ลั่นคำแล้ว เป็นอย่างนั้นจริง ๆ ...”
ลัก...ยิ้ม
06-06-2012, 09:12
คำสอนสุดท้ายของแม่
เมื่อใกล้จะถึงวันบวช ท่านพระครูฯ ได้เดินทางมางานบุญประเพณีที่วัดในหมู่บ้านตาด (บริเวณที่ตั้งสถานีวิทยุเสียงธรรมฯ ในปัจจุบัน) พ่อกับแม่จึงได้ฝากให้ลูกชายเป็นนาค และเตรียมของเดินทางไปพร้อมท่านพระครูฯ ในบ่ายวันเดียวกันนั้น ก่อนไปด้วยความที่แม่เป็นห่วง จึงเข้ามานั่งใกล้ ๆ ลูก แล้วกล่าวกระซิบกระซาบพร้อมหยิบยกเรื่อง ๆ หนึ่งขึ้นมาสอนลูก ด้วยความเป็นห่วงว่า
“นี่ลูก ให้มานั่งนี่ ฟัง... นี่แม่จะพูดอะไรให้ฟังนะ นี่ลูกคนนี้ แม่ไม่มีที่ต้องติในหน้าที่การงานอันใด ไม่ว่าอะไร ๆ แม่ตายใจได้หมดทุกอย่างเลย หน้าที่การงานอะไร การประพฤติอะไรนี้ แม่เห็นลูกเป็นที่หนึ่งเลยในลูกทั้งหลาย แม่ตายใจพ่อก็ตายใจ.. เรื่องทุกสิ่งทุกอย่าง แม่ไม่มีวิตกวิจารณ์แล้ว แต่ที่แม่หนักใจที่สุดคือ การนอนของลูกนะ
การนอนของลูกนี่ เหมือนตายเชียวนะ พี่ชายเขา เวลาบอกแม่.. ตื่นเช้าแล้ววันพรุ่งนี้ให้ปลุกหน่อยนะ จะไปโน้นแต่เช้าแล้วก็เข้านอน บางทียังไม่ได้ปลุก เขาไปแล้ว
ส่วนลูกนี่ ว่าแม่ปลุกหน่อยนะ วันพรุ่งนี้เช้าจะไปไหนแต่เช้า แล้วตายเลย.. ไม่มีคราวไหนที่จะลุกขึ้นด้วยตนเอง นี่ละ ที่แม่หนักใจมากที่สุด กลัวจะไปขายหน้าเขา เวลาบวชแล้วยังนอนหลับครอก ๆ อยู่ เพื่อนไปบิณฑบาตกลับมาแล้ว มาปลุกฉันจังหัน โอ๋.. แม่นี่ ให้ตายซะดีกว่านะ อย่าให้ได้ยินนะลูกนะ แม่จะเอาหัวมุดดินตาย
นี่ล่ะ..ที่แม่วิตกมากที่สุด นอกนั้นแม่ไม่มีอะไรเลยล่ะ วิตกการนอนของลูกเหมือนตายนะลูกนะ ให้ตั้งตัวใหม่นะ”
ท่านฟังคำสอนของแม่ตั้งแต่ต้นจนตลอด ภายนอกอาจดูเหมือนเพียงแค่การรับฟังไว้เฉย ๆ แต่ความเป็นจริงแล้ว จิตฝังลึกมาก ท่านแอบเก็บคำสอนระคนความห่วงใยของแม่คราวนี้ ฝังแนบแน่นจดจารึกไว้ภายในจิตใจอย่างเงียบ ๆ
และด้วยความห่วงใยนี้เอง ได้เปลี่ยนอุปนิสัยการนอนของท่านอย่างเด็ดขาด ทำให้ท่านประสบความสำเร็จในการศึกษาและปฏิบัติธรรมในลำดับต่อมา
ลัก...ยิ้ม
07-06-2012, 09:37
๓. บวชเรียนค้นคว้าพระไตรปิฎก
องค์หลวงตาบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดโยธานิมิตร ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เมื่ออายุ ๒๐ ปี ตรงกับวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๗ ปีจอ เวลา ๑๔ นาฬิกา ๔๕ นาที ตรงกับวันอังคารที่ ๑๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ โดยมีพระเทพกวี (จูม พนฺธุโล) วัดโพธิสมภรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูปลัดอ่อนตา เขมงฺกโร วัดโยธานิมิตร อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นพระกรรมวาจาจารย์
---------------------------------------------------------
* พรรษาที่ ๑-๒ (พ.ศ. ๒๔๗๗ – ๒๔๗๘) จำพรรษาที่วัดโยธานิมิตร ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
https://public.blu.livefilestore.com/y1pCuphzheH5lQEa-JmZJVcw7m9vchk4fnQl2fTgBDLkLfDbgGmqc0uqf21z_iPTTT0S4sd_TBmqgKLFSssKd2AIA/%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B2.jpg?psid=1
ท่านพระครูชมเชย
คนนี้ละ..จะทรงพระศาสนา
-----------------------------------
นิสัยที่เป็นคนทำอะไรทำจริง ท่านจึงระลึกเตือนตนเองว่า “พ่อแม่ไม่ได้ติดตามมาแนะนำ มาคอยตักเตือนเราอีกแล้ว เราต้องเป็นเราเต็มตัว” ด้วยเหตุนี้เอง นับตั้งแต่วันเข้านาคเป็นต้นมา ท่านจึงฝึกฝนเรื่องการตื่นนอนใหม่ ให้สะดุ้งตื่นทันทีที่รู้สึกตัวขึ้นมา
ช่วงเป็นนาคอยู่นั้น ท่านนอนอยู่หน้าโบสถ์กับเพื่อนนาคด้วยกัน ๓ คน ส่วนท่านพระครูวัดโยธานิมิตร ท่านจำวัดอยู่หลังพระประธาน ทุกเช้าตอนตีสี่จะเห็นท่านพระครูลงมาเดินจงกรมเป็นประจำ ดูท่านจริงจังมาก พอสว่างก็กลับเข้ามาทำวัตร ทำวัตรเสร็จแล้วก็ไปบิณฑบาต
จนกระทั่งเมื่อถึงวันบวช พวกนาคทั้งหลายเขานุ่งแต่งเนื้อแต่งตัวเรียบร้อย นาคบัวเองก็เตรียมพร้อมแล้วที่จะบวชในวันนั้นเช่นกัน ท่านพระครูฯ ท่านเดินเข้ามาหา มองเห็นนาคบัวแต่งชุดนาคซอมซ่อจึงดุเอาทั้งพ่อทั้งแม่ ท่านว่าเอาแบบเจ็บ ๆ แสบ ๆ ท่านตวาดเอาว่า
“อีแพง! บักทองดี! สูไม่มีหรือ ? อะไร ๆ สูก็ไม่มีหรือ ? ดูซิ! นาคบัวเดินอยู่ในวงของนาคทั้งหลาย ซอมซ่ออยู่นั่น สูเห็นไหม..? ไม่มีสง่าราศรีอะไรเลย นาคทั้งหลายเขาแต่งตัวเต็มยศ ทุกสิ่งทุกอย่างเรียบร้อย สวยงามน่าดูทุกอย่าง แต่ดูนาคบัวสิ..! แต่งตัวซอมซ่อ ถ้าสูไม่มี กูจะหามาให้”
พอท่านพระครูว่าอย่างนั้น ทั้งพ่อทั้งแม่จึงรีบไปยกตะกร้าใหญ่ ๆ ใส่เครื่องแต่งตัวทุกอย่างของนาคบัวที่เตรียมมาให้ลูกแต่ง แต่ปรากฏว่าลูกไม่ยอมแต่ง... ซึ่งตามนิสัยของลูกคนนี้เป็นคนไม่ฟุ้งเฟ้อ แม้แต่เป็นหนุ่มก็ไม่ฟุ้งเฟ้อ ผ้าอะไร ๆ ถ้าแม่ทอให้แล้ว ลูกคนนี้จะนุ่งหมด ซื้อที่อื่นไม่ซื้อ พวกเครื่องนุ่งห่มนี้.. อะไรที่แม่ทอให้แล้วใช้หมด ถ้าเป็นของแม่แล้วใช้หมดเลย ... พ่อแม่จึงได้แต่เอาตะกร้าใหญ่ออกมาให้ท่านพระครูฯ ดู พร้อมกับกราบเรียนท่านว่า
“นี่! เครื่องแต่งตัวนาคบัว เตรียมมาให้ลูกบวช มีทุกอย่างจัดมาให้พร้อมบริบูรณ์ แต่มันไม่สนใจ”
ท่านพระครูสั่งว่า “บอกให้มันมาเอาไปนุ่งเดี๋ยวนี้”
พ่อแม่นาคบัวตอบท่านว่า “ได้บอกแล้ว มันกลับพูดว่า ‘นุ่งอย่างนี้ ถืออย่างนี้แล้วจะเป็นอะไรไป ใครจะมาจับ ?’ พอมันว่าอย่างนั้น แล้วมันก็เดินหนี มันไม่สนใจเลย มันจึงเป็นอย่างนั้น แต่งตัวซอมซ่อกว่าใคร ๆ”
ท่านพระครูฯ พอฟังทราบเหตุผลแล้ว ก็กล่าวว่า “เออ ๆ ! ไอ้นี่ ! คนอย่างนี้แหละ มันจะทรงพระศาสนา เอาละเข้าใจ กูเห็นด้วย เป็นอัธยาศัยของตัวเอง ไม่ฟุ้งเฟ้อ”
ท่านพระครูว่าอย่างนั้น แล้วก็หันหลังเดินกลับ แสดงความดีใจยิ้มแย้มแจ่มใส กิริยาท่านพระครูในคราวนั้น ทำให้ท่านไม่เคยลืมเลือน แม้จะผ่านเหตุการณ์นั้นมานานมากแล้วก็ตามดังนี้
“กิริยาท่าน เราก็ไม่เคยลืม แทนที่จะดุก็ไม่ดุ กลับชมเชย เรารักสงวนเนื้อหนังของตัวเองมาตั้งแต่เป็นฆราวาส ถ้าเป็นเสื้อเป็นผ้าหรือเป็นอะไร ๆ ที่แม่ทอออกมานี้นุ่งหมดเลย ไม่ไปซื้อให้เสียเงินเสียทอง นี่..เราพูดเรื่องการแต่งเนื้อแต่งตัว เรื่องรักสงวนเนื้อหนังของตัวเอง ของคนอื่น ไม่เอามาใช้ ไม่จำเป็นนะ เราผลิตขึ้นได้.. เราใช้ของเราเอง ดีไม่ดี..ดีกว่าที่ซื้อเขา ของที่ไปซื้อไปหามานี้ไม่ค่อยสนใจ พวกเพื่อนฝูงเขาซื้อชุดโก้เก๋ละ เราไม่โก้ .. เฉย ๆ เป็นอย่างนั้นละ”
ลัก...ยิ้ม
08-06-2012, 09:13
พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล)
พระธรรมเจดีย์ มีนามเดิมว่า จูม จันทรวงศ์ เป็นบุตรคนที่ ๓ ในจำนวน ๙ คน เกิดที่บ้านท่าอุเทน ต.ท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๑ ตรงกับวันขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๖ ปีชวด
การบรรพชาและอุปสมบท เบื้องแรกเมื่ออายุได้ ๑๒ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดโพนแก้ว ต.ท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม ในวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ เมื่ออายุครบบวชแล้ว ได้อุปสมบทที่วัดมหาชัย ต.หนองบัว อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี ในวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๐ โดยมีท่านพระครูแสง ธมฺมธโร วัดมหาชัย เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีมา สีลสมฺปนฺโน วัดจันทราราม (เมืองเก่า) อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์จันทร์ เขมิโย (พระเทพสิทธาจารย์ วัดศรีเทพ จ.นครพนม) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “พนฺธุโล”
การจาริกเพื่อการศึกษาธรรมปฏิบัติ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖ ได้ติดตามพระอาจารย์จันทร์ เขมิโย ไปจำพรรษาที่วัดเลียบ จ.อุบลราชธานี อันเป็นสำนักของพระอาจารย์เสาร์และพระอาจารย์มั่น ซึ่งเป็นอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติในด้านสมถวิปัสสนากรรมฐานกับท่านอาจารย์ทั้งสองเป็นเวลาถึง ๓ ปี จึงเป็นมูลเหตุให้ท่านมีอุปนิสัยน้อมไปในฝ่ายวิปัสสนาธุระ และได้ประพฤติปฏิบัติสืบต่อเนื่องไปจนถึงวันอวสานแห่งชีวิต
การศึกษาทางปริยัติธรรม ได้เข้ามาเล่าเรียนศึกษาทางพระปริยัติธรรมต่อที่วัดเทพศิรินทราวาส จนได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค
สมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๔๖๓ เป็นพระครูสังฆวุฒิกร ฐานานุกรมของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) ครั้งเมื่อเป็นพระศาสนโสภณ และได้ย้ายจากวัดเทพศิรินทราวาสมาเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ กับได้ตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ด้วย
พ.ศ. ๒๔๖๘ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรที่ พระครูชินโนวาทธำรง
๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระญาณดิลก
๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๓ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชเวที
๑๙ กันยายน ๒๔๗๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพกวี
๑๙ กันยายน ๒๔๘๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมเจดีย์
ท่านเจ้าคุณจูมได้มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๐๕ เวลา ๑๕.๒๗ น. ณ โรงพยาบาลศิริราช สิริรวมอายุได้ ๗๔ ปี ๒ เดือน ๑๕ วัน พรรษา ๕๕
ลัก...ยิ้ม
11-06-2012, 10:43
พระครูศาสนูปกรณ์
(อ่อนตา เขมงฺกโร)
ท่านพระครูปลัดอ่อนตา เขมงฺกโร เป็นคนบ้านเหล่า ต่อมาบวชพระฝ่ายมหานิกายแล้วมาญัตติกรรม เมื่ออายุ ๔๑ ปี โดยท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ วัดโพธิสมภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูเป็นลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์สุวรรณ สุจิณฺโณ (เป็นคนพิบูลมังสาหาร อุบลราชธานี ซึ่งเป็นเพื่อนกับท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม)
ท่านพระครูฯ ชอบพระธุดงค์ และตั้งใจปฏิบัติในพระธรรมวินัยและกรรมฐาน โดยอาศัยท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ต่อมาท่านมาเป็นสมภารอยู่วัดโยธานิมิตร
อุปนิสัยของท่านนั้น ชอบการก่อสร้าง ชอบการพัฒนา แต่การปฏิบัติก็ไม่ท้อถอย เป็นคนจริง
มรณภาพเมื่อปี ๒๕๑๓ อายุ ๘๗ ปี องค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ตอบแทนคุณพระกรรมวาจาจารย์โดยจัดการศพถวายท่านพระครู
ลัก...ยิ้ม
12-06-2012, 08:41
เคารพพระธรรมวินัยตั้งแต่วันบวช
ท่านกล่าวย้อนรำลึกอดีตถึงความตั้งใจปฏิบัติตน และความตั้งใจรักษาตนอย่างเข้มงวดกวดขัน ในสิกขาบทพระธรรมวินัยของพระตั้งแต่วันเริ่มอุปสมบทว่า จะไม่ให้มีข้อติเตียนตนเองได้เลยดังนี้
“...พอบวชแล้วก็เตือนตนเองทันทีว่า... ‘เอาละนะทีนี้... ไม่มีใครจะตามแนะนำตักเตือน ตลอดถึงการหลับการตื่น.. ไม่มีใครปลุกละนะ เราต้องเป็นเราเต็มตัว ตั้งแต่บัดนี้ไป ไม่หวังพึ่งพ่อแม่ดังแต่ก่อนอีกแล้ว ทำความเข้าใจกับตัวเองราวกับว่า อัตตาหิ อัตตโน นาโถ’...
ครั้นบวชแล้วก็ตั้งใจเอาบุญเอากุศลจริง ๆ ‘พยายามรักษาสิกขาบทวินัยให้เป็นไปตามหลักของพระอย่างแท้จริง ขณะที่เป็นพระอยู่นั้น จะไม่ให้ต้องติตนได้แต่อย่างหนึ่งอย่างใด จนกระทั่งถึงวันลาสิกขาบท’ นี้เป็นความคิดเบื้องต้น...
ครั้นเวลาก้าวเข้าไปสู่วัดแล้ว ก็ปฏิบัติตัวอย่างนั้นจริง ๆ ไม่เคยเถลไถลออกนอกวัด ไปเที่ยวเตร็ดเตร่เร่ร่อนยังสถานที่ต่าง ๆ ดังเพื่อนฝูงที่มาฝึกหัดนาคเพื่อจะบวชเป็นกัน แม้ในการเรียนพระปริยัติธรรมก็ตั้งใจศึกษาจริง ๆ อยู่อ่านหนังสือจนดึกดื่นเที่ยงคืน ตีสองบ้าง ตีสามบ้างเป็นประจำ ตีห้าบ้างเป็นบางคืน แต่ก็สามารถตื่นทำวัตรเช้าและออกบิณฑบาตได้ทันทุกครั้งไป ไม่เคยขาดแม้แต่ครั้งเดียว...”
ในพรรษานี้ ท่านได้ตั้งสัจอธิษฐานไว้ว่า “ตลอดพรรษานี้จะไม่ให้ขาดทำวัตร สวดมนต์เช้าเย็นรวมกันกับหมู่เพื่อนพระเณรแม้แต่วันเดียว แม้บางครั้งมีกิจนิมนต์ข้างนอกก็กราบเรียนขอให้ท่านพระครูอาจารย์เจ้าอาวาสรอทำวัตรรวมพร้อมกัน เพื่อไม่ให้ขาดตามที่ตั้งสัจจาธิษฐานนั้นไว้”
แม้จะทำวัตรสวดมนต์ร่วมกับหมู่เพื่อนพระเณรแล้ว ท่านยังทำวัตรสวดมนต์ส่วนตัวอีกครั้งหนึ่งที่กุฏิของท่านเอง เพื่อให้เป็นไปตามสัจจะที่ตั้งไว้
ลัก...ยิ้ม
13-06-2012, 07:58
https://public.blu.livefilestore.com/y1pLrqZEDlaSmlnCv_aXAAR5-c4a3It8DxcLLe7GD8a3jbtIme28tP8MXar9G_Age-NWzyZfkA-dextzwCdDi-U0Q/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3.jpg?psid=1
เรียนหนังสือจริงจัง
เมื่ออุปสมบทเข้ามาแล้ว นิสัยทำอะไรทำจริงที่ติดตัวมาแต่เมื่อครั้งเป็นฆราวาสก็ปรากฏตั้งแต่เริ่มแรก ท่านตั้งใจศึกษาเล่าเรียน อ่านหนังสืออย่างหนัก จนเหมือนกับจะไม่มีเวลาพักผ่อนหลับนอนเอาเสียเลย ถึงกับทำให้ญาติโยมเริ่มสังเกตพบเห็นและเกิดความห่วงใย จนต้องรีบเข้าไปหาท่านพระครูฯ ดังนี้
“... เริ่มต้นตั้งแต่บวช... เราตั้งใจเรียนหนังสือจนเขาไปฟ้องท่านพระครูเจ้าอาวาส วัดโยธานิมิตร คือ ช่างเขาไปทำหน้าต่างกุฏิชั้นสอง เราพักอยู่บนนั้น เขาไม่เคยเห็นเวลาเรานอน เราก็ไม่ทราบว่าเขาสังเกตเรา เพราะเราไม่ได้สังเกตอะไรใคร นอกจากเรียนหนังสือเท่านั้น สุดท้ายเขาไปฟ้องท่านพระครูฯ ว่า
‘ขอให้คุณบัว ท่านพักผ่อนบ้าง ดูท่านไม่มีเวลาพักผ่อนเลย เท่าที่สังเกต ไม่ว่ากลางวี่กลางวันไม่สนใจกับใคร ออกจากห้องมาแล้วถือหนังสือจ้อมาอยู่นั้น นอกนั้นเข้าห้อง ๆ ไม่เคยสนใจกับใครมาเป็นประจำ กลางคืนท่านไม่ทราบ ท่านนอนเวลาไหน มองเข้าไปช่องหน้าต่าง เห็นแต่ไฟอยู่อย่างนั้น สักเดี๋ยวโผล่ออกมาแล้วเข้าไป ท่านนอนเวลาไหน นี่กลัว.. ท่านจะเป็นบ้า’
ท่านพระครู ท่านก็แก้ดีนะ ‘โยม! คุณบัวนอนหนุนหมอนหรือหนุนมะพร้าว เรานี่นอนหนุนมะพร้าว สมัยไปเรียนสนธิ เรียนมูลกัจจายน์ (การเรียนของพระในสมัยโบราณ) ที่จังหวัดอุบลฯ เราหนุนมะพร้าว ..พอหัวกลิ้งตกจากมะพร้าวเราลุกทันที อันนี้คุณบัวนอนหนุนหมอน หรือหนุนมะพร้าวล่ะ ?’
‘ท่านนอนหนุนหมอน’ โยมตอบ
ท่านพระครูจึงว่า ‘เออ! ถ้าอย่างนั้นไม่ต้องห่วงท่าน ถ้าไปบอกท่าน ท่านจะเสียกำลังใจ’…”
ท่านทราบเรื่องได้เพราะมีคนอื่นเล่าให้ฟังในเวลาต่อมา ส่วนท่านพระครูฯ ท่านไม่พูดเรื่องนี้ให้พระบวชใหม่ฟังแต่อย่างใด ท่านเงียบเฉยไปเลย
ลัก...ยิ้ม
14-06-2012, 09:14
หยอกล้อประสาพระ
สมัยนั้น การกินหมาก สูบบุหรี่ถือเป็นเรื่องประเพณีของคนไทยทั่วไป ชาวบ้านมักมวนบุหรี่จีบหมากถวายพระอยู่เป็นประจำ คราวหนึ่งท่านถูกเพื่อนพระพรรษามากกว่าหยอกล้อเอา ชนิดที่ทำให้ท่านต้องจดจำชนิดไม่มีวันลืมเลยก็ว่าได้ดังนี้
“...พอสูบบุหรี่เราก็ระลึกถึง พระกอง ที่วัดโยธานิมิตร ท่านเกิดปีเดียวกันกับเรา เป็นเพื่อนกันตั้งแต่เป็นฆราวาส ท่านอยู่บ้านโนนทัน หนองตูม นิสัยท่านชอบตลก เรายังไม่ลืมนะ ท่านบวชก่อนเราพรรษาหนึ่ง อายุเท่ากัน คือท่านบวชเป็นเณร พออายุถึงพระท่านก็บวชเลย เราบวชตอนอายุ ๒๐ ปี ๙ เดือน
ทีนี้เวลาบวชแล้ว ไปคุยกันที่กุฏิท่าน ท่านเป็นคนนิสัยชอบพูดตลกเหมือนจะหัวเราะ หากไม่หัวเราะ มันทำให้คนอื่นหัวเราะจะตาย เราไปก็ไม่เคยคิดเคยอ่าน เพราะเคยสูบบุหรี่อยู่บ้างแล้ว เห็นหมู่สูบก็เลยสูบกับเขา พอจับบุหรี่มาจุดสูบปั๊บ
พระกองเห็นอย่างนั้น ท่านก็ทักว่า ‘ไอ้พระบวชใหม่ บวชมามันไม่มีธรรมวินัย บุหรี่นี้ได้พินทุอธิษฐานแล้วหรือยังก็ไม่รู้ สูบสุ่มสี่สุ่มห้า เดี๋ยว..อาบัติกินหัว’
ว่าแล้วเฉยนะ ใครก็ไม่เคยคิดว่าบุหรี่จะต้องพินทุอธิษฐานเหมือนผ้า เราก็สูบไปเห็นหมู่เพื่อนสูบก็ไม่เห็นองค์ไหนพินทุอธิษฐาน แล้วมาว่าให้เราซึ่งเป็นเพื่อนกัน ท่านพูด..เราก็เชื่อล่ะซี คนหนึ่งพูดหน้าตาขึงขังเหมือนเราผิดจริง ๆ นี่นะ ไม่ใช่ธรรมดา หน้าเคร่งขรึมนะ นี่ละเวลาจะตลกนะ‘อ้าว! บุหรี่ยังต้องพินทุอธิษฐานด้วยหรือ ?’
‘อู๊ย! นี่ยังไม่รู้หรือ ? บวชมาขนาดนี้แล้ว ยังไม่รู้พระวินัยอีกหรือบวชมาขนาดนี้แล้ว’ เราฟังแล้วก็ยิ่งร้อนใหญ่ เลยนึกว่าเราผิดวินัย
‘แล้วบุหรี่นี่มันพินทุอธิษฐานว่าอย่างไรล่ะ ?’ เราถามเพราะไม่รู้นี่นา เพิ่งจะมาทราบเดี๋ยวนี้
‘โอ๊ย! บวชมาขนาดนี้ยังไม่รู้พินทุอธิษฐาน.. ตาย ๆ.. นี่เป็นอาบัติมาเท่าไรแล้วพระใหม่นี่ ?’ ยังขู่เราอีกด้วยนะ ไม่มียิ้มนะ ยังขู่อีก
‘นี่บวชมานานเท่าไร ? มันเป็นอาบัติมาเท่าไรแล้ว ?’
‘แล้วมันพินทุอธิษฐานว่าอย่างไร ?’
บทเวลาบอกคำอธิษฐานนี่ ที่มันขบขันนะ พอขู่เราเต็มเหนี่ยวแล้ว ‘คำพินทุอธิษฐานเท่านี้ก็ไม่ได้ มันจะไปยากอะไร มันไม่ยืดยาวอะไรเลย ยังไม่ได้อีกหรือ ? คำสั้น ๆ เท่านี้ก็ว่าไม่ได้’
‘ไม่ยากแล้วมันว่าอย่างไร ?’
‘อิมัง ควันถมดัง อธิษฐามิ ควันถมดัง..คือควันถมจมูกเข้าใจไหม ?’ ท่านว่าแล้วก็แสดงหน้าตาเฉยด้วยนะ..นิ่งเชียว...
มันน่าโมโห คนหนึ่งจะตาย..ร้อนเป็นไฟ เราโมโหเลยไม่ลืมจนกระทั่งบัดนี้ (หัวเราะ)...”
ท่านสรุปสุดท้ายให้ฟังด้วยความขบขันว่า แท้ที่จริงแล้วคำอธิษฐานเหล่านี้ไม่มีในพระวินัยอะไร เพื่อนพระท่านตั้งขึ้นมา เพื่อหลอกอำพระใหม่ให้ตกใจเล่น เป็นการหยอกล้อกันเล่นตามประสาพระกับพระด้วยกันเท่านั้นเอง
ลัก...ยิ้ม
15-06-2012, 10:48
ไม่มีใครขโมยผึ้งแล้วนะ
คราวหนึ่งขณะกำลังบิณฑบาต ท่านได้พบกับจ่าทหารคนหนึ่ง ที่รู้ฝีมือการจับผึ้งของท่านเป็นอย่างดี ตั้งแต่ก่อนบวช จึงพูดหยอกเย้าท่านดังนี้
“... นี่ (เรา) เป็นคู่กันกับผึ้ง จับแต่ผึ้ง อยู่ต้นไม้ทั้งสูงทั้งต่ำ (จ่าเบ้า)..แกอยู่กรมทหารอุดรฯ แกเป็นจ่าเบ้าทางทหาร เราอยู่บ้านตาด ได้ยินว่าผึ้งอยู่ที่ไหน ๆ เขาตามเองนะ ว่าให้หลวงตาบัวนี่ละไปหาเอาหมด ผึ้งอยู่ในป่า เขาผู้เสียภาษี เขาอยู่อุดรฯ อยู่เก้าอี้ เราผู้ไม่เสียภาษีอยู่ในป่า ผึ้งที่ไหนรู้หมด ไปเอาหมด ทีนี้เวลาบวชแล้วออกไปบิณฑบาต (แกว่า) “โอ้ พอบวชแล้ว ที่นี้ไม่มีใครไปขโมยผึ้งแล้วนะ ที่นี้นะ”
เราก็ยิ้ม ๆ แกพูดหยอก พอบวชแล้วไม่มีใครไปขโมยผึ้งละทีนี้ ไม่มีจริง ๆ ตั้งแต่เราบวชแล้วเราก็ไม่ไป แกพูดหยอกเรา.. ชื่อจ่าเบ้า จ่าทหาร แกเป็นคนถือภาษี เสียภาษีผึ้ง เราไม่ได้เสียภาษี แต่ผึ้งอยู่ที่ไหนรู้หมด ขโมยเอามันก็ได้ยินถึงแกซิ ขึ้นต้นไม้ก็เก่ง ผึ้งนี่มันมีอยู่กี่รัง อยู่ที่ไหนเห็นหมดล่ะ อยู่เก้าอี้ไม่เห็น ไม่เห็น เขาก็รู้ว่า บัวมันตัวขโมยผึ้ง... เราไปตีผึ้ง กลางคืนก็มีผึ้ง กลางวันก็มี ได้ทั้งกลางคืนกลางวัน เรากลางคืนก็ได้กลางวันก็ได้ เขาอยู่โต๊ะเก้าอี้เขา เราอยู่ในป่าเอาเมื่อไรก็ได้ เรารู้หมดล่ะ เรื่องขโมยผึ้งเก่ง เรารู้หมด แกพูดหัวเราะ พูดหยอกเล่น ... แล้วก็ไม่ได้สึกไปจริง ๆ เลยไม่ได้ขโมยผึ้งอีก ถ้าสึกไปไม่แน่นะ... ขโมยผึ้งเก่ง ขึ้นต้นไม้ มีมากมีน้อยรู้หมด เราก็เก่ง เก่งเหมือนกัน... ไม่สึกไปก็เลยปลอดภัย ผึ้งทั้งหมดไม่ถูกขโมยละ...”
ลัก...ยิ้ม
19-06-2012, 08:40
https://public.blu.livefilestore.com/y1pvrPMm8THxCNnatzoJmtrqz-rt6-YUu_OtGvLNvySsnaFdZR3y94YoMMeaNH_FzBnyz08DSZW_yy7HK0gOOu7XQ/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99.jpg?psid=1
ปฐมฤกษ์แห่งการภาวนา
ในช่วงเริ่มต้นของการเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ท่านเล่าเหตุการณ์ในช่วงนี้ไว้ว่า
“...ท่านพระครูฯ ท่านชอบภาวนานะ ท่านให้เราไปอยู่ในโบสถ์ด้วยกัน ท่านอยู่เตียงนอนหลังพระพุทธรูป พวกเราก็นอนในโบสถ์นั่นแหละ แต่เป็นหน้าพระพุทธรูป ออกไปโน่น.. ประตูออกโน่น พวกนาค ๒ - ๓ คนนอนอยู่โน่น ท่านสวดมนต์เก่งนะ แล้วก็ภาวนา
ตื่นเช้าออกมาตั้งแต่ตี ๔ ท่านออกไปเดินจงกรมที่หน้าโบสถ์ มันโล่งหมดนะ แต่ก่อนเราเป็นนาค เราเห็นอยู่ ท่านออกไปเมื่อไหร่เราก็เห็นอยู่ เวลาท่านเดินจงกรม เราคอยสังเกตดูอยู่
เมื่อบวชแล้ว เราจึงเดินจงกรม แล้วไปถามคำภาวนากับท่าน เราไม่ลืมนะ เพราะเราชอบภาวนา
“กระผมอยากภาวนา อยากจะเดินจงกรม อยากจะนั่งภาวนาจะต้องทำอย่างไร..?” เราถามท่าน
ท่านพระครูฯ ตอบ “เออ..ให้ภาวนาว่า พุทโธนะ เราก็ภาวนาพุทโธ เหมือนกันแหละ”
“แล้วท่านพระครูฯ นั่งภาวนาสวดมนต์ล่ะ”
“อ้อ! เราสวดมนต์หลายบทหลายสูตร” ท่านพระครูฯ ว่าอย่างนั้น..
เมื่อทราบดังนี้ ภิกษุบวชใหม่ก็จับใจความได้ทันที แล้วน้อมนำไปเป็นหลักปฏิบัติของตนบ้าง ท่านยังเล่าถึงความตั้งใจในช่วงอุปสมบทใหม่นี้เพิ่มเติมด้วยว่า
“...ท่านพระครูฯ ก็สอนเท่านั้น เราก็ไปภาวนาพุทโธด้วยความเลื่อมใส พอใจในการภาวนา อยู่กุฏิใหญ่ทางด้านทิศเหนือ กลางคืนดึก ๆ จะลงมาเดินจงกรมทุกคืนนะ... แม้บวชมาใหม่ ๆ แต่นิสัยชอบภาวนา นิสัยอันนี้มีมาตั้งแต่ดั้งเดิม ไม่มีใครสอนมัน หากเป็นอยู่ในจิต มันแปลกมากเรื่องนี้...
เวลาจะหลับจะนอนจะเหลือเวลาไว้ คือหยุดจากการอ่านหนังสือจะเหลือเวลาไว้ ๑ ชั่วโมง เพื่อนั่งภาวนาทุก ๆ คืน... สมมุติว่าจะพักนอนตี ๒ ตอนตี ๑ จะหยุดอ่านหนังสือก่อนแล้วต้องทำสมาธิภาวนา ตั้งใจพุทโธ ๆ ไปเรื่อย ๆ
ชั่วโมงนั้นแหละ เป็นชั่วโมงภาวนาเป็นประจำนะ... ถึงเวลาก็ลงมาเดินเงียบ ๆ จากนั้นก็นั่งภาวนาแล้วก็หลับ...”
หลังจากสอบถามท่านพระครูฯ แล้ว ท่านก็ทดลองภาวนาตามลำพัง ดังนี้
“...เราก็เอาพุทโธมาภาวนาตามประสีประสา ไม่คาดไม่ฝันไม่คิดไม่อ่านว่า มันจะแสดงความแปลกประหลาดขึ้นมา ก็พุทโธ ๆ วันนี้ วันนั้นไปตามประสาอย่างนั้นแหละ โอ๋ย.. บทเวลามันจะเป็น พุทโธ ๆ สติติดอยู่นั้น สักเดี๋ยวกระแสของจิตที่มันคิดฟุ้งซ่านเหมือนเราตากแหนี่
ที่นี้พอจิตจะเริ่มสงบก็เหมือนเราดึงจอมแห พุทโธ ๆ นี่เหมือนจับจอมแหดึงเข้ามา ตีนแหก็หดเข้ามา ๆ จนกระทั่งเป็นกองแห ทีนี้กระแสของจิตมันรวมตัวเข้ามา ๆ จนกระทั่งเป็นกองความรู้ที่อยู่เป็นจุดเดียว เท่ากับกองแหที่นี่
นี่ละ พอมันเข้ามาถึงนี้กึ๊กเท่านั้น โถ.. เดี๋ยวนี้ก็ยังไม่ลืมนะ นี่ละเป็นปฐมฤกษ์แห่งการภาวนาของเรา พอเข้าถึงนั้นกึ๊กจะว่าเป็นสมาธิ ไม่สมาธิพูดไม่ถูกนะ พอเข้านั้นกึ๊กขาดหมดเลยโลกอันนี้ ปรากฏไม่มีอะไรเหลือ เหลือแต่ธรรมชาติที่อัศจรรย์สุดส่วน คือใจดวงนั้น ขาดออกหมดนะ... อารมณ์ทั้งหลาย ขาดหมด
เกิดความอัศจรรย์ ตื่นเต้น ความตื่นเต้นในความอัศจรรย์ เลยไปกระตุกธรรมชาตินั้นเสีย รวมไม่ได้นานนะ คือขาดไปหมดจริง ๆ เหมือนอยู่ในท่ามกลางมหาสมุทร เรามีที่นั่งอยู่ในท่ามกลางมหาสมุทร หรือว่ามีเกาะ ว่าเกาะก็กว้างไป เหมือนว่าที่นั่งกลางมหาสมุทร
‘มันอัศจรรย์เกิดคาดเกินหมาย โถ.. ทำไมถึงเป็นอย่างนี้’
นี่เราเป็นทีแรกนะ คือค่อยหดเข้ามา ๆ พอกิริยาของจิตหดเข้ามา สติยิ่งจ่อเข้า ๆ เข้ามาถึงจุดกลางกึ๊กเท่านั้น ทีนี้มันจ้าอยู่ภายในเจ้าของ
อัศจรรย์อันนี้เหมือนว่าขาดหมด เรื่องอารมณ์ของโลกนี้ปรากฏขาดไปหมดในเวลานั้น เกิดความอัศจรรย์ขึ้นมา ตื่นเต้น
ความตื่นเต้นละไปกระตุก ไม่ใช่อะไรนะ คือมันไม่เคยเห็น ไม่เคยรู้ ความตื่นเต้นความอัศจรรย์ไปกระตุก จิตเลยถอนขึ้นมาเสีย โหย... เสียดาย เสียจนวันหลังขยับใหญ่เลย ไม่ได้เรื่อง ๆ...”
กล่าวถึงเรื่องการภาวนาและกรรมฐาน ท่านมีความเคารพเลื่อมใสมาแต่เดิมแล้ว ตั้งแต่บวชทีแรกที่วัดโยธานิมิตรแห่งนี้ หากเห็นพระกรรมฐานมาพักด้วย ท่านจะต้องรีบไปถึงก่อน เพื่อจะได้พูดคุยเรื่องธรรมะ เรื่องจิตกับท่านทันที
ลัก...ยิ้ม
22-06-2012, 09:23
จำยอมเทศน์พรรษาแรก
การเรียนของท่านในเวลานั้นยังไม่ได้เรียนนักธรรมตรี เพียงแต่เรียนสวดมนต์และสวดพระปาฏิโมกข์ และด้วยความตั้งใจร่ำเรียนหนังสือ ท่องบทสวดมนต์ทำวัตรอย่างจริงจังเช่นนี้ ทำให้เพียงพรรษาแรกของการบวช ท่านก็สามารถเรียนสวดมนต์ ๗ ตำนาน ๑๒ ตำนาน และปาฏิโมกข์จบหมด และยังได้ขึ้นสวดปาฏิโมกข์ในกลางพรรษาอีกด้วย นับเป็นสิ่งยากสำหรับพระภิกษุบวชใหม่ทั้งหลายจะพึงกระทำได้
ครั้นเมื่อออกพรรษาตามฤดูกาล ชาวบ้านเขาจะทำบุญลานข้าว เขาจะเอาข้าวขึ้นยุ้งขึ้นฉาง ภาษาอีสานเขาเรียก ฟาดข้าว ฟาดข้าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว เขาก็นิมนต์พระไปทำบุญที่ กองประทายข้าวเปลือก แล้วจึงขนขึ้นบ้านขึ้นเรือน ครั้งนั้น ชาวบ้านเขาพากันมานิมนต์ท่านพระครูฯ วัดโยธานิมิตร ที่นี้คนนั้นก็ทำบุญลานข้าว คนนี้ก็ทำบุญลานข้าว เมื่อมากต่อมากเข้าพากันมานิมนต์พระจนหมดวัด ไม่มีพระให้เขาแล้ว ท่านพระครูฯ ก็เลยให้ท่านเป็นหัวหน้า ทั้งที่เพิ่งบวชได้พรรษาเดียวเท่านั้น และก็ยังไม่เคยเตรียมตัวมาก่อนเลยด้วย
ท่านพระครูฯ ว่า มันไม่มีพระจะทำอย่างไร ไปฉลองศรัทธาให้เขาหน่อยสิ
จึงตกลงให้พระภิกษุบัวเป็นหัวหน้า ครั้งนั้น ท่านก็ได้พกเอาหนังสือเทศน์เล่มหนึ่งประมาณ ๑ กัณฑ์จบพอดี พกติดย่ามไปด้วย เผื่อว่าเวลาจำเป็นก็จะเอาหนังสือนี้ออกเทศน์ ท่านเล่าเหตุการณ์ตอนนี้ว่า
...พอออกพรรษาแล้วถูกเขานิมนต์ไปในงานข้าวเปลือกตามลานข้าว เขาถือเป็นประเพณีนิมนต์พระไปทำบุญที่ลานข้าวเขา เสร็จแล้วเขาถึงจะขนข้าวขึ้นยุ้งขึ้นฉางเขาเป็นปกติ ส่วนมากเขาทำอย่างนั้น แต่ไม่ได้หมายถึงว่าเขาทำทุกรายนะ แต่ส่วนมากมันเป็นอย่างนั้น เราก็ได้พรรษาเดียว เดือนพฤศจิกายนกำลังหนาวนะ ไปค้างที่ลานนั่นแหละ เขาจัดทำเลไว้ให้ค้างให้พักที่นั่น ..
เราก็ไป... ไปก็ไปนอนค้างคืนที่บ้านหนองแวง... ตะวันออกบ้านดงเค็ง พอไปตอนกลางคืนสวดมนต์เรียบร้อยแล้วก็ค้างที่นั่นเลย ตอนเช้าฉันจังหันเสร็จ เขานิมนต์ให้ขึ้นเทศน์ เทศน์ตอนแรกก็ได้นะสิ มันมีหนังสือเล่มหนึ่งบาง ๆ กัณฑ์เดียวความว่า จิตเต สังกิลิฏเฐ ทุคคติ ปาฏิกังขา เมื่อจิตเศร้าหมอง ทุคตติเป็นอันหวังได้
เทศน์จบกัณฑ์นี้แล้ว ต่อมาพวกหลังแห่กันมาอีก.. มาขอฟังเทศน์ ทีนี้ตัวผู้เฒ่าศรัทธาเจ้าภาพก็ว่า ท่านเทศน์ให้ฟังก็ได้ จะยากอะไร ?
เขาไม่ยากนะสิ แต่เรามันจะตายเอา (หัวเราะ) มันเหงื่อแตก นี่ขนาดหนาว ๆ นะ โถ!.. เราอยากฆ่าเฒ่านั่น เรายังไม่ลืมเฒ่านั่น เฒ่าที่ว่า เทศน์มันยากอีหยัง ?
โธ่!.. ยากบ่ยาก แต่เรามันแค่น (แน่นในอก) เสียแล้ว หัวอกมันคับแล้ว จะเอาอะไรมาเทศน์ละทีนี้ มันไม่มีอะไรแล้ว !! กูตายนี่... พอเขานิมนต์ให้เทศน์แล้ว ทีนี้มันก็อยู่กับหัวหน้า จะให้เขาเทศน์มันก็ไม่ได้นี่นา.. ตกลงก็ต้องเป็นเราเทศน์ โถ.. หนาว ๆ นี่แต่เหงื่อก็แตกหมดเลยนะ แต่มันก็ไปได้นะ ก็แปลกอยู่ เวลาจนตรอกมันไปได้นะ เทศน์ไปได้ นี่นะ.. แต่ว่าอกนี้จะแตก มันก็พอปีนรอดตัวไปได้ ว่างั้น เถอะนะ
พอเทศน์เสร็จก็ออกมา เพื่อนพระมาด้วยกันมาพูดหยอกล้อว่า โถ! เวลาเทศน์ก็เทศน์ดีนี่นะ
เราว่า อยากตายดิ๊.. อยากตาย อย่ามายุ่งเด้อว่ะ อย่ามาล้อเด้อว่ะ
ฮ่วย! อยากตายอีหลีดิ๊เดี๋ยวนี้ (อยากตายจริง ๆ หรือนี่)
เรามันโมโหนี่ว่ะ เหงื่อยังแตกอยู่บ่เซา (เหงื่อไหลไม่หยุด) เข้าใจไหมล่ะ ? ภาคอีสานทางนี้เขาเรียก ข้าวโป่ง ฉันเพลข้าวโป่งแผ่นเดียวก็ฉันไม่หมด มันสิตาย มันแค่น (จุกในอก กินไม่ลง) โน่นน่ะ
โอ้ ทุกข์มากจริง ๆ ชีวิตของพระก็มีครั้งนั้นละ เราจำไม่ลืมนะ.. ทุกข์มากที่สุด ยังไม่ได้อะไร ก็ยังไม่ได้คิดเรื่องเทศน์ ภาษิตหนังสืออะไร ๆ เราก็ยังไม่เคยสนใจเรียน ก็คิดตั้งแต่เรื่องสวดมนต์สวดพร เรียนจบไปตามนั้น ๆ หลังจากนั้นไปแล้ว เราก็จะเริ่มเรียนนักธรรม เรากะไว้อย่างนั้นนะ ปีนี้จะต้องเรียนสวดมนต์ และปาฏิโมกข์ให้ได้เสียก่อน พอปีที่สองตั้งหน้าใส่ฝ่ายนักธรรมเลย พอออกพรรษาเท่านั้น ยังไม่ได้เรียนนักธรรม เขาก็จับไปเทศน์แล้ว มันจะไปได้ภาษิตที่ไหนจากไหนมา ยกเป็นคาถาเทศน์ขึ้นมา มันไม่ได้มีอะไรจะเทศน์ละทีนี้ โอ้ย.. คับหัวอก ทุกข์ที่สุดเลย โธ่.. ฉันขนมนางเล็ดครึ่งแผ่นกลืนไม่ลง เข้าใจไหม จะเอาอะไรเทศน์ให้เขาฟัง..! มันคับมันแค้นในหัวใจ นี่ละชีวิตของพระ เรามีครั้งนั้นละ ทุกข์มากจริง ๆ ก็เทศน์ให้เข้าฟังได้นะ คนเรามันจะตายจริง ๆ มันปีนได้นะ มันปีนไปจนได้นั่นละ
จากนั้น พอกลับมาถึงวัดก็หาคัมภีร์เอามาท่องกัณฑ์เทศน์เลย ค้นหนังสือเทศน์ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ค้นเอากัณฑ์เทศน์ของท่านที่เราชอบใจ ท่องขึ้นใจ คล่องปากยิ่งกว่าท่องพระปาฏิโมกข์เสียอีก คิดในใจว่า คราวนี้ไม่ตายแล้ว ถ้ามีเหตุจำเป็นต้องได้เทศน์ที่ไหน ก็จะเอากัณฑ์นี้ออกเทศน์ ก็เลยไม่ถูกนิมนต์เทศน์อีกเลย...
นับแต่นั้นมา ท่านกลับไม่เคยได้เทศน์ในลักษณะนี้อีกเลย และเทศน์หนนั้นก็ยังทำให้ท่านไม่มีวันลืมเลือนได้เลย ด้วยเหตุผลว่า
เพราะเป็นการเทศน์แบบจนตรอกจริง ๆ ไม่มีทางไปเลย แต่ก็ต้องปีนเอา เอาตายสู้เลย ... เราไม่เคยมีจนตรอกจนมุม มีครั้งนี้ครั้งเดียว จากนั้นไม่เคยมีปรากฏในชีวิตของพระ เรามีครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เราฝังลึกมาก อันนี้ก็ไม่ลืม... จากนั้นมาก็พอเทศน์ได้ธรรมดา ไม่อั้นตู้ (อับจน) เหมือนตอนนั้น เพราะเรียนหนังสือไปด้วย จะมีเทศน์บ้างก็ยามจำเป็นจริง ๆ หากไม่จำเป็นไม่เทศน์
ลัก...ยิ้ม
25-06-2012, 11:00
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
(จันทร์ สิริจนฺโท)
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ มีนามเดิมว่า จันทร์ ศุภษร เป็นบุตรคนหัวปี ในจำนวน ๑๑ คน เกิดเมื่อวันศุกร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๙๙ ที่บ้านหนองไหล จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๔๐๐ เส้น (๑๖ กิโลเมตร)
การบรรพชาและอุปสมบท เมื่ออายุ ๑๓ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ต่อมาได้อุปสมบทที่วัดทุ่งศรีทอง โดยพระอาจารย์ม้าว เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายา “สิริจนฺโท”
ท่านศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดพิชัยญาติ วัดเทพศิรินทราวาส และอีกหลาย ๆ สำนัก ปี พ.ศ. ๒๔๓๗ ท่านก็สอบได้เปรียญ ๔ ประโยค ซึ่งขณะนั้นจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพศิรินทราวาส ท่านได้รับการยกย่องให้เป็นทั้งนักปราชญ์ นักเทศน์ นักปฏิบัติ และนักพัฒนา มีอุปนิสัยพูดจริงทำจริง ตรงไปตรงมา ไม่เกรงกลัวใคร มีความเชี่ยวชาญแตกฉานด้านวิปัสสนาธุระ เป็นพระนักเทศน์ที่มีโวหารชาญฉลาด ทั้งยังได้แต่งตำราทางด้านวิปัสสนาธุระ และมีศิษย์เอกที่มีชื่อเสียงทางปริยัติ ได้แก่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) วัดบรมนิวาส นอกจากนี้ท่านยังให้คำแนะนำด้านปริยัติธรรมแก่ครูบาศรีวิชัย วัดสวนดอก และพระครูวินัยธร (มั่น ภูริทตฺโต) อีกด้วย
สมณศักดิ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ ได้เป็นที่พระธรรมธีรราชมหามุณี ได้ครองตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส สมณศักดิ์สุดท้ายได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะหิรัญบัตรที่ “พระอุบาลีคุณูปมาจารย์”
มรณะภาพ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ สิริอายุได้ ๗๗ ปี
ลัก...ยิ้ม
26-06-2012, 09:39
อยากเป็น “พระอรหันต์” เท่านั้น
ท่านจำพรรษาที่วัดโยธานิมิตร ๒ พรรษา นอกจากตั้งใจอ่านหนังสือธรรมะแล้ว ยังได้ช่วยเหลืองานก่อสร้างศาลาท่านพระครูฯ อยู่บ้าง ดังนี้
“การก่อสร้าง.. ก่ออะไรก็มี ที่มาจำพรรษาที่วัดโยธานิมิตร หนองขอนกว้าง ๒ พรรษาแรกอยู่นี้ พอพูดอย่างนี้ก็ทำให้ระลึกถึงท่านพระครูฯ เหมือนกันนะ ท่านพระครูฯ เป็นเจ้าอาวาสวัด ทำให้คิดเหมือนกันนะ
เราได้ช่วยงานก่อสร้าง คือว่าเลื่อยไม้ ท่านพาไปเลื่อยไม้ในป่าแถว ๆ ใกล้นี้ ไม่อดนี่ ไม้แต่ก่อน.. อดอยากที่ไหน ท่านพาไปเลื่อยไม้มาสร้างศาลา เราก็ได้ช่วยท่านอยู่ปีหนึ่ง จำได้..ก่อสร้าง เรียกว่าเราได้ช่วยก่อสร้าง... ออกจากนั้นแล้วก็เตลิดเปิดเปิงจนกระทั่งป่านนี้”
เมื่อได้เรียนหนังสือตำรับตำราทางธรรม ธรรมะซึ่งเป็นของจริงอยู่แล้วกับนิสัยที่จริงจังของท่าน ก็รู้สึกว่าเข้ากันได้อย่างสนิทใจ ทำให้เกิดความซาบซึ้งอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่ง ดังนี้
“เมื่อเรียนธรรมะ ไปตรงไหนมันสะดุดใจเข้าไปเรื่อย ๆ โดยลำดับ นับตั้งแต่หนังสือธรรมะชื่อนวโกวาท นี่เป็นพื้นฐานแห่งการศึกษาเบื้องต้น จากนั้นก็อ่านพุทธประวัติ ทำให้เกิดความสลดสังเวช สงสารพระองค์ท่านในเวลาที่ทรงลำบาก ทรมานพระองค์ก่อนตรัสรู้ธรรม จนถึงกับน้ำตาร่วงไปเรื่อย ๆ
จนกระทั่งอ่านจบเกิดความสลดใจอย่างยิ่ง ในความพากเพียรของพระองค์ซึ่งเป็นกษัตริย์ทั้งองค์ ทรงสละราชสมบัติทรงออกผนวชเป็นคนขอทานล้วน ๆ ซึ่งสมัยนั้นไม่มีศาสนา คำว่าการให้ทานได้บุญอย่างนั้น การรักษาศีลได้บุญอย่างนี้ไม่เคยมี พระองค์ก็ต้องเป็นคนอนาถาและขอทานเขามาโดยตรง และฝึกอบรมพระองค์เต็มพระสติกำลังทุกวิถีทางเป็นเวลา ๖ ปี ถึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าขึ้นมา
ในขณะที่อ่านประวัติของพระพุทธเจ้าที่ได้ตรัสรู้ธรรม รู้สึกอัศจรรย์อย่างยิ่งถึงกับน้ำตาร่วงเช่นเดียวกัน...”
แม้เมื่อได้อ่านประวัติพระสาวกอรหันต์ทั้งหลายที่ท่านออกมาจากสกุลต่าง ๆ กัน ตั้งแต่พระราชามหากษัตริย์ มหาเศรษฐีกุฎุมพี พ่อค้า ประชาชน ตลอดคนธรรมดา ก็ยิ่งทำให้เกิดความซาบซึ้งใจ ดังนี้
“... องค์ไหนออกมาจากสกุลใด หลังจากได้รับพระโอวาทจากพระพุทธเจ้าแล้ว ต่างก็ได้บำเพ็ญในป่าในเขาอย่างเอาจริงเอาจัง เดี๋ยวองค์นั้นสำเร็จเป็นพระอรหันต์อยู่ที่นั้น องค์นั้นสำเร็จอยู่ในป่านั้น ในเขาลูกนั้น ในถ้ำนั้น ในทำเลนี้มีแต่ที่สงบสงัดก็เกิดความเลื่อมใสขึ้นมา ทำให้ใจหมุนติ้ว... เรื่องภายนอกก็ค่อยจืดไปจางไป...”
ท่านเล่าถึงความรู้สึกที่ค่อยแปรเปลี่ยนไป ๆ เช่นนี้ว่า
“... ทีแรกก็คิดจะไปสวรรค์ คิดจะไปพรหมโลก พออ่านประวัติสาวกมาก ๆ เข้า มันไม่อยากไปละซิ อยากไปนิพพาน สุดท้ายก็อยากไปแต่นิพพานอย่างเดียว อยากเป็นพระอรหันต์.. อย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีเปอร์เซ็นต์อื่นเข้ามาเจือปนเลย ที่นี้จิตมันก็พุ่งลงตรงนั้น ลงช่องเดียว...”
ความตั้งใจเดิมว่าจะบวชเพียง ๒ พรรษาแล้วสึกหาลาเพศนั้นค่อยจืดจางลงไป ๆ ทุกขณะ กลับเพิ่มพูนความยินดีในเพศนักบวชมากเข้าไปทุกที เรื่องธรรมะก็รู้สึกดูดดื่มยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ จิตใจก็เปลี่ยนแปลงไป
ด้วยเหตุนี้เอง ในระยะต่อมาท่านจึงได้ออกจากบ้านตาดไปศึกษาเล่าเรียนในที่ต่าง ๆ จนกระทั่งได้ตั้งสัจจาธิษฐานไว้เลยว่า
“เมื่อจบเปรียญ ๓ ประโยคแล้ว จะออกปฏิบัติโดยถ่ายเดียวเท่านั้น ไม่มีข้อแม้ ไม่มีเงื่อนไข เพราะอยากพ้นทุกข์เหลือกำลัง อยากเป็นพระอรหันต์นั่นเอง”
ลัก...ยิ้ม
27-06-2012, 09:48
พุทธประวัติย่อ
“... เบื้องต้นเจ้าชายสิทธัตถราชกุมารเสด็จออกผนวช ทรงเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างโดยทรงตัดความห่วงใยอาลัยเสียดายทุกประการ กระทั่งประชาชนทั้งหลายที่เห็นแก่ตัว ตำหนิติเตียนท่าน ว่าพระพุทธเจ้าเป็นคนคับแคบ เอาตัวรอดเพียงพระองค์เดียว..
โดยลำพังพระกำลังความสามารถที่ทรงทำประโยชน์ให้แก่โลก ในความเป็นพระเจ้าแผ่นดินนั้นผลมีจำกัด ไม่สามารถทำประโยชน์แก่โลกได้มากมายทั่วไตรโลกธาตุ เหมือนความเป็นศาสดาเลย อย่างมากก็ได้เพียงขอบเขตขัณฑสีมาที่พระสิทธัตถราชกุมารทรงปกครองเท่านั้น ไม่เหมือนความเป็นศาสดาสอนโลกทั้งสาม เช่น กามภพ รูปภพ อรูปภพ ที่เรียกว่าไตรโลกธาตุ
พระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเป็นครูสั่งสอน เมื่อเสด็จออกผนวชก็ทรงบำเพ็ญพระองค์อย่างเต็มพระสติปัญญา สละตัดความห่วงใยอาลัยเสียดายทั้งสิ้นที่โลกนิยมกัน ก็ตำแหน่งพระราชามหากษัตริย์ใครจะไม่ต้องการ ยศถาบรรดาศักดิ์ ความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ไพร่ฟ้าประชาชี บริษัทบริวาร พระชนกชนนี พระชายา พระราชโอรส สมบัติเงินทองข้าวของทั้งแผ่นดิน เป็นของพระเจ้าแผ่นดินทั้งสิ้น...
จากนั้นก็ทรงบำเพ็ญอยู่ในป่า การอยู่ การเสวย การใช้สอยต่าง ๆ เมื่อลดตำแหน่งจากความเป็นพระเจ้าแผ่นดินลงมาเป็นคนอนาถา หาที่พึ่งพาอาศัยไม่ได้แล้ว จะได้รับความทุกข์ความลำบากยากเย็นเข็ญใจมากน้อยเพียงใด ... ที่อยู่ที่หลับนอน การเสวย ตลอดยาแก้ไข้ ยารักษาโรคต่าง ๆ ไม่มีในสิทธัตถราชกุมารซึ่งกำลังเป็นอนาถานั้นเลย แม้เช่นนั้น ก็ไม่ทรงท้อพระทัย ทรงบำเพ็ญจนถึงขั้นสลบไสลไปในบางครั้ง ซึ่งบอกไว้ในตำรา ... ปรากฏว่า ทรงสลบไปถึงสามครั้ง หากไม่ฟื้นก็ต้องตาย นี่คือความทุกข์ความลำบากของต้นศาสนาเป็นมาอย่างนี้ เมื่อกาลเวลาที่ได้รับความทุกข์ความทรมานยิ่งกว่านักโทษในเรือนจำ ซึ่งเป็นอยู่ถึงหกปีผ่านไปแล้ว ...
ปฐมยาม ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติย้อนหลังได้กี่ภพกี่ชาติของพระองค์เอง ได้เกิดได้ตายท่องเที่ยวในวัฏสงสาร ทั้งภพน้อยภพใหญ่ทั้งสูงทั้งต่ำ คือขึ้นถึงชั้นพรหมโลกก็ถึง ลงจนถึงนรกอเวจีก็ลง เป็นอย่างนี้เหมือนสัตว์ทั้งหลายทั่ว ๆ ไปนั้นแล เมื่อพระองค์บำเพ็ญสมณธรรมคืออานาปานสติถูกทางแล้ว ได้บรรลุธรรมนี้ขึ้นมา ...
เมื่อได้ผลจากการบำเพ็ญอานาปานสติในปฐมยามนั้นแล้ว ก็ทรงทราบย้อนหลังถึงความเป็นมาของพระองค์ ว่าเคยเกิดเคยตายในภพในชาติเป็นสัตว์ เป็นเปรต เป็นผี หรือเป็นสัตว์นรก ตลอดถึงเทวบุตร เทวดา อินทร์ พรหม ประเภทใด พระองค์เคยเป็นมาหมด แล้วนับย้อนหลังได้หมด ตามร่องรอยแห่งความเป็นมาของพระพุทธเจ้า นี่พระองค์ก็ทรงทราบได้อย่างชัดเจน เป็นผลประจักษ์ในคืนวันนั้น
พอมัชฌิมยามนั้นก็บรรลุจุตูปปาตญาณ ทรงพิจารณาเรื่องความเกิดความตายของสัตว์โลกทั่ว ๆ ไปไม่มีประมาณ ก็ทรงทราบตลอดทั่วถึง เช่นเดียวกับพิจารณาความเป็นมาของพระองค์ จนถึงกับท้อพระทัยในการที่เกิดตายแบกหามทุกข์ตลอดมา ไม่มีสถานที่ใดที่จะปลงวางแห่งความทุกข์ เมื่อมีความเกิดผิด ๆ พลาด ๆ อยู่อย่างนี้แล้ว พระองค์จึงทรงย้อนพระทัยเข้ามาสู่ต้นเหตุอันใหญ่หลวงคือ อวิชชา ปัจจยา สังขารา เป็นต้น อวิชชาคือ ความมืดบอดปิดในหัวใจของสัตว์ สังขารก็ผลักดันให้คิดให้ปรุงในเรื่องในราวต่าง ๆ ซึ่งเป็นทางเดินของกิเลสอวิชชานั้นไปเรื่อย ๆ จึงพาสัตว์ให้เกิดให้ตายเรื่อย ๆ
พระองค์ทรงพิจารณาย้อนหน้าย้อนหลัง ถึงต้นเหตุแห่งการพาสัตว์ให้เกิดตายคืออะไร ? ก็มาได้ความที่อวิชชา ปัจจยา ทรงพิจารณาลงที่จุดนั้น.. เข้าสู่ต้นตอแห่งภพแห่งชาติ แห่งความทุกข์ความทรมานทั้งหลาย ได้ทราบอย่างประจักษ์พระทัย แล้วถอนขึ้นมา บรรดาอวิชชาที่ครอบงำในพระทัยของพระพุทธเจ้า ได้ถูกถอนขึ้นมาโดยสิ้นเชิง ... นั่นละ ที่ปัจฉิมยามก็บรรลุอาสวักขยญาณ คือสิ้นกิเลสโดยประการทั้งปวง สิ้นอาสวกิเลสหมดในปัจฉิมยามที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เรียกว่าตรัสรู้ขึ้นมาในขณะนั้น ตัดภพตัดชาติความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่เป็นมาแล้วก็จะนับจำนวนไม่ได้ ที่จะเป็นต่อไปนั้นก็เป็นอันว่าสุดสิ้นลงแล้ว ในขณะที่อวิชชาตัวพาให้เกิดให้ตายได้ตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ในวันเพ็ญเดือนหกตอนปัจฉิมยามฯ ...
นี่คือพระพุทธเจ้าทรงฝึกฝนอบรมพระองค์ คอยสังเกตสังกาการประพฤติปฏิบัติของพระองค์ เพราะไม่มีครูใดอาจารย์ใดจะมาสอนได้ เป็นลำพังของพระพุทธเจ้าเท่านั้น เพราะพระวิสัยของพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์นั้น เวลาตรัสรู้ จะตรัสรู้โดยลำพังพระองค์เองทุก ๆ พระองค์ ไม่มีใครแนะนำสั่งสอนเลย จึงเป็นการยากการลำบาก นี่ละ..การฝึกฝนอบรมพระองค์จนได้เป็นศาสดาขึ้นมาแล้วก็ประกาศธรรม ... ทรงนำมาแสดงสั่งสอนสัตว์ทั้งหลายเรื่อยมา นี่เริ่มเป็นครูของโลกแล้ว เป็นครูของมนุษย์และเทวดา อินทร์ พรหมทั้งหลายในสามแดนโลกธาตุนี้...”
ลัก...ยิ้ม
29-06-2012, 10:52
• พรรษาที่ ๓ (พ.ศ. ๒๔๗๙)
จำพรรษาที่วัดท่าช้าง * (ปัจจุบัน วัดป่าคีรีวัลลิ์) ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา
• พรรษาที่ ๔-๕ (พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๘๑)
จำพรรษาที่วัดสุทธจินดา ตำบลโพธิ์กลาง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
• พรรษาที่ ๖ (พ.ศ. ๒๔๘๒)
จำพรรษาที่วัดศาลาทอง ตำบลหัวทะเล อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
================================
ตามข้อมูลที่สืบค้นมา ทั้งจากกัณฑ์เทศน์ การสอบถามครูบาอาจารย์ และบุคคลต่าง ๆ ในสถานที่จริง ในระหว่างพรรษาที่ ๓-๖ ยังไม่พบว่า องค์หลวงตาได้เมตตากล่าวชี้ชัดว่า ปีใดจำพรรษาอยู่ที่ใด จึงสันนิษฐานว่า องค์ท่านน่าจะจำพรรษาที่วัดท่าช้าง ๑ พรรษา วัดสุทธจินดา ๒ พรรษา และวัดศาลาทอง ๑ พรรษา ตามลำดับ
ที่ลำดับเช่นนี้ เพราะสันนิษฐานว่า เมื่อบวชทีแรกอ่านประวัติพระพุทธเจ้า พระสาวก ซาบซึ้งอยากออกปฏิบัติเป็นพระอรหันต์ แต่ใจยังรักการเรียน จึงเริ่มต้นที่วัดท่าช้างก่อน เพราะเป็นวัดกรรมฐานที่ไม่ไกลจากสถานที่เรียนปริยัติจนเกินไป อีกเหตุผลหนึ่งท่านเคยกล่าวว่า พักท่าช้างทีแรกฉันข้าวไม่อิ่ม (ชาวบ้านใส่บาตรข้าวเจ้า) ด้วย ๒ เหตุผลนี้ จึงให้น้ำหนักการจำพรรษาที่นี่ก่อนวัดศาลาทองและวัดสุทธจินดา จากนั้นองค์ท่านจึงได้ย้ายเข้ามาพักจำพรรษาที่วัดสุทธจินดา และวัดศาลาทองในที่สุด ซึ่งทั้งสองวัดนี้อยู่ห่างกันไม่ถึง ๒ กิโลเมตรเท่านั้น เมื่อยังต้องเรียนปริยัติที่วัดสุทธจินดาอยู่ ก็ไม่น่าจะพักในที่ไกลออกไปนัก
ลัก...ยิ้ม
30-06-2012, 08:22
https://public.blu.livefilestore.com/y1pPvDDCJp0G5N5_HPBLDZtqqyQo4aAqxtrCWReCBNoMpe4Sqm1Xegkzlh0B1ujVB14mELFtFeKj5FRM_C8wtYciA/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4.jpg?psid=1
https://public.blu.livefilestore.com/y1ppyPXXPBxbZZ-FeqbrzIVBPDxsq33h4sDu3m-v7Cgc83dqHnY1xHSIyjJpcfiWCwMRfZUxCEYUAPr38v8aXdvtA/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B42.jpg?psid=1
ตั้งสัจอธิษฐาน ขอพบครูบาอาจารย์
ท่านได้เล่าถึงอุปนิสัยที่ติดตัวมาตั้งแต่ครั้งเป็นฆราวาสไว้ว่า
“เราเคยพูดให้ลูกศิษย์ลูกหาฟัง พูดเพื่อเป็นคติเพราะเรามันมีนิสัยอันนี้ พูดถึงนิสัย ถ้าว่า “ดื้อ” มันดื้อจริง ๆ แต่มันดีอยู่อย่างหนึ่งที่ว่า ความดื้อที่ว่านี้ เราไม่เคยทำใครให้เดือดร้อน หมายถึงว่า จิตนี้มันจริงจัง ถ้าสมมุติไปในทางที่ชั่วขาดสะบั้นจริง ๆ เลย แต่ส่วนมากนั้น ไม่ไปนะ.. ทางที่ชั่ว ไม่เอนไปเลย เช่นฉก เช่นลัก ไม่เคยเลย แม้แต่เพื่อนฝูงคนใดที่นิสัยไม่ดี เราไม่คบนะ ถึงคบก็ไม่นาน นั่นมันเป็นอย่างนั้นนะ มันเป็นอยู่ในใจนี้ มันชอบคบกับพระกับอะไรไปตั้งแต่สมัยเป็นฆราวาส
อ้อ! อีกอย่างหนึ่งคือ เราเป็นคนชอบหัวเราะ หัวเราะเก่งนะ ถ้าในพระธรรมวินัยห้ามพระหัวเราะ เราก็คงจะบวชไม่ได้ นี่ไม่มีห้ามไว้นี่!”
และด้วยอุปนิสัยทำอะไรทำจริง ชนิดขาดสะบั้นไปเลยเช่นนี้ เมื่อมาทางสายบาตรตามที่คุณตาได้ทำนายไว้ ธรรมะที่เป็นของจริงอยู่แล้ว จึงเข้ากับอุปนิสัยจริงของท่านได้อย่างสนิทใจ กลายเป็นความมุ่งมั่นที่จะศึกษาเล่าเรียน และออกปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์โดยถ่ายเดียวเท่านั้น และด้วยความคิดที่เปลี่ยนแปลงไปดังกล่าวนี้ ถึงกับทำให้ท่านเคยพูดเชิงทีเล่นทีจริงกับโยมแม่ของท่านเองว่า
“แม่ เสื้อผ้าที่ลูกเก็บไว้นั้น เอาให้หมู่เพื่อน เอาให้พี่ให้น้องนะ ถ้าเกิดตอนหลังคิดจะสึกมา จะหาถากเปลือกไม้เอามาใส่แทนหรอก”
อย่างไรก็ดี แม้ในตอนนั้นท่านจะเริ่มรู้สึกจืดจางในทางโลก และยินดีในเพศนักบวชมากขึ้น อีกทั้งยังมีอุปนิสัยจริงติดตัวมา แต่หากไม่มีบุญช่วยหนุนนำและเกิดมีอุปสรรคขัดขวางในช่วงเวลานั้นขึ้นมา ท่านว่าความตั้งใจนี้ก็อาจต้องสะดุดลงได้เช่นกัน ดังนี้
“มันแปลกอันหนึ่งนะ ถ้าคิดจะเอาเมียทีไร มันปรากฏมีสิ่งขึ้นมากีดขวาง ๆ จนได้ หรือแม้กระทั่งเราบวชแล้วก็ตามเถอะ ผู้หญิงที่เรารักกับพี่ชายเขาตามหาเรา แต่ไม่พบกัน เพราะเราออกเดินทางไปก่อนแล้ว นี่ถ้าได้พบกัน มีหวังเราจะบวชมาจนทุกวันนี้ไม่ได้แน่ ๆ มันคงจะมัดคอติดกันไปเลย”
ส่วนความรู้สึกเกี่ยวกับสตรีเพศทั่วไปนั้น ท่านก็ได้เคยเล่าไว้เช่นกันว่า
“ออกบวชทีแรก อะไรงามหมด ขึ้นชื่อว่าผู้หญิง ขึ้นชื่อว่าสาว ๆ ชอบทั้งนั้นแต่ไม่หนัก เหมือนความที่จะไปนิพพาน สะเทือนปึ๋งเข้าไปก็ซัดกันเรื่อยนะ อันนั้นลบอันนี้ขึ้น ซัดกันเรื่อยนะ”
เมื่อไม่ปรากฏสิ่งใดขึ้นมากีดขวาง กลับเพิ่มพูนความเชื่อความเลื่อมใสในธรรม คิดอยากบำเพ็ญตนให้เป็นพระอรหันต์มากกว่า แต่สิ่งที่เป็นอุปสรรคแก่ท่านในระยะเริ่มต้นก็คือ เกิดความลังเลสงสัยว่าปฏิปทาแนวทางการปฏิบัติ ที่เราดำเนินตามท่านเหล่านั้นจะบรรลุถึงจุดที่ท่านบรรลุหรือไม่ หรือว่าทางเหล่านี้จะกลายเป็นขวากเป็นหนามเป็นโมฆะ และกลายเป็นความลำบากแก่ตนผู้ปฏิบัติไปเปล่า ๆ อีกประการหนึ่งก็สงสัยว่า
“เวลานี้ มรรคผลนิพพาน จะมีอยู่เหมือนครั้งพุทธกาลหรือไม่ ?”
ท่านได้เก็บความสงสัยนี้ฝังอยู่ภายในใจ เพราะไม่สามารถจะระบายให้ผู้ใดฟังได้ และเข้าใจว่าคงไม่มีใครสามารถแก้ไขความสงสัยนี้ให้สิ้นซากไปได้ แต่อย่างไรก็ตาม ท่านมีความรู้สึกเชื่อมั่นอย่างเต็มใจ ตามวิสัยของปุถุชนถึงการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และการตรัสรู้เป็นพระอรหันต์ของพระสาวกท่าน จากนั้นจึงได้นึกตั้งสัจอธิษฐานว่า
“ขอให้เราได้พบครูบาอาจารย์องค์ใดองค์หนึ่งมาชี้แจงในเหตุในผล เรื่องของมรรคผลนิพพานว่า ยังมีอยู่ด้วยเหตุนั้น ๆ ให้เราได้ถึงใจเท่านั้นแหละ เราจะมอบกายถวายตัวต่อครูบาอาจารย์องค์นั้นด้วย และเราจะมอบหัวใจเราลงสู่อรหัตผลนั่นด้วย ตายก็ตาย ยังไม่ได้ก็ตามให้ตายอยู่ในสนามรบ”
ด้วยความลังเลสงสัยดังกล่าวเป็นเหตุ ให้ท่านมีความสนใจและมุ่งหวังที่จะพบหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต อยู่เสมอ ทั้ง ๆ ที่ก็ยังไม่เคยพบท่านมาก่อนก็ตาม แต่เพราะได้ยินชื่อเสียงของท่านมานานแล้ว ตั้งแต่ตอนเด็กสมัยที่หลวงปู่มั่น มาจำพรรษาอยู่ทางอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ และ พ.ศ. ๒๔๖๗ จึงทำให้รู้สึกเชื่อมั่นอยู่ลึก ๆ ภายในใจว่า หลวงปู่มั่นจะสามารถไขปัญหานี้ให้กระจ่างได้
ลัก...ยิ้ม
03-07-2012, 08:01
อดอาหาร ดัดความหิว
ระยะแรกที่มาถึงจังหวัดนครราชสีมา ท่านมาพักที่วัดท่าช้างก่อน ชาวบ้านที่นี่ใส่บาตรข้าวเจ้า ทำให้ท่านฉันไม่อิ่มท้องดังนี้
“... เหตุที่จะได้ดัดเจ้าของให้รู้เหตุรู้ผล รู้หนักรู้เบากัน ก็เพราะตอนที่ธาตุขันธ์มันกำลังรุนแรง ฉันข้าวเจ้าเสียด้วย ข้าวเจ้ามันไม่ค่อยอยู่ท้องนาน แหละเพราะเราไม่เคย ถ้าเคยก็ไม่เป็นไร อยู่โคราช วัดท่าช้างเป็นวัดกรรมฐาน เราลงไปทีแรกก็ไปอยู่วัดท่าช้าง ฉันเท่าไรมันก็ไม่อิ่ม จนกระทั่งรำคาญนะ เราก็ดี เพราะเรามุ่งธรรมนี่ แต่ธาตุขันธ์มันไม่ได้สนใจอรรถธรรมอะไรกับเรา มันมีแต่จะเอาท่าเดียว ฉันลงไปเท่าไรก็ไม่อิ่มไม่พอ เอามันอีก ‘เอ้า ฟาดมันลงไปให้มันอิ่ม จนกระทั่งไม่มีท้องใส่’
ปรากฏว่ามันเต็มอัดเลย ขนาดนั้นอัดลงไปแล้ว มันยังไม่หยุดความหิวความอยาก ยังอยาก เอาข้าวเปล่า ๆ มาฉันมันก็หวานไปเลย ‘เอ๊ มันทำไมจึงเป็นอย่างนี้ น่ารำคาญนะ’
ออกจากนั้นก็ไปล้างบาตร ล้างบาตรกลับมาเช็ดบาตรยังไม่เข้าถลก หิวข้าวอีกแล้ว ‘หือ มันทำไมจึงเป็นอย่างนี้’ นี่นะต้นเหตุจะดัดกัน ก็ให้กินมาสักครู่นี้แท้ ๆ ยังไม่ถึง ๓๐ นาทีเลย อิ่มออกมานี้ มาล้างบาตรเช็ดบาตร ยังไม่ได้เข้าถลกเลย ทำไมถึงอยากอีกแล้ว ตั้งแต่นี้ไปถึงวันพรุ่งนี้เช้าก็ ๒๔ ชั่วโมง มันทำไม มันเก่งนักหรือ
‘เอ้า ลองดูมันจะตายจริง ๆ หรือ ไม่ได้กินมันจะตาย จะลองดูสัก ๖-๗ วัน’
เอาเลยทีนี้ดัดมัน ตัดสินใจปุ๊บลงไป ตายก็ตาย ช่วง ๗ วันนี้มันจะตายเพราะไม่กินข้าว เอาให้เห็นเสียทีวะ จะทดลองดูให้รู้ความหนักเบาของธาตุของขันธ์ มันจะเป็นไปขนาดไหน ก็หยุดกึ๊กเลย ไม่เอา จนกระทั่งถึงกำหนดถึงมาฉัน มันไม่เห็นตายนี่นะ แน่ะ..จากนั้นมาก็พอฟัดพอเหวี่ยง ถึงจะหิวจะอะไร ธาตุขันธ์มันจะดื่มจะกินอย่างเดิมก็ตาม ทีนี้จิตใจก็ปล่อยกังวลได้ เพราะเคยรู้เรื่องราวกันมาแล้ว นี่มันเป็นเรื่องของธาตุของขันธ์กำลังดูดดื่ม มันเป็นอย่างนั้น ๆ เราอดแล้วเท่านั้นวันเท่านี้วัน.. ไม่เห็นตาย
พูดถึงเรื่องความหิวก็ไม่เห็นมันหิวเอานักเอาหนา วันหนึ่งสองวันมันหิวมาก พอจากนั้นไปแล้วก็ค่อยเบาลงไป จนกระทั่งถึงกำหนด วันฉันก็ไม่เห็นหนักหนาอะไรพอจะให้ล้มให้ตาย อันนี้เราฉันให้มันอยู่ทุกวัน ๆ แล้วฉันขนาดอิ่มแล้ว มันยังจะตายก็ให้มันตายไปซี เหมือนกับคนหมดกังวล ... ‘ยังไง’ ก็ขอให้มุ่งอรรถมุ่งธรรมเป็นสำคัญ ให้ฝังอยู่ภายในจิตใจ อย่าให้เอนเอียง สิ่งภายนอกที่เกี่ยวกับเรื่องธาตุเรื่องขันธ์ให้เป็นอันหนึ่ง อย่าถือสิ่งเหล่านี้เป็นใหญ่ยิ่งกว่าธรรม จิตใจจะค่อยเป็นไป และให้เข้มงวดกวดขัน
สิ่งใดที่จิตชอบ ๙๙% เป็นกิเลส ถ้าเป็นจิตเราธรรมดามักจะชอบในสิ่งที่เป็นภัย แต่ถ้าจิตมีธรรมขึ้นเป็นลำดับ ๆ นั้น อาจจะมีชอบหลายด้าน อาจหมุนเข้ามาชอบในธรรมภายนอกที่ยังชำระกันไม่ได้ ใจก็มีลักษณะชอบ แต่ก็รู้สึกตัวและพยายามแก้ไขไปโดยลำดับ จนกระทั่งความชอบเกี่ยวกับเรื่องโลก เรื่องสงสารจางไป ๆ จนกระทั่งความรู้สึกชอบทั้งหลายหมุนไปทางธรรมะล้วน ๆ จากนั้นใจก็สบาย แรงของโลกไม่ดึงดูดจิตใจได้ มีแต่จิตใจดึงดูดกับธรรมหมุนกันไปเลย....
ลัก...ยิ้ม
04-07-2012, 09:02
สมณะ ๔ ประเภท
“...สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง การเห็นสมณะผู้สงบกาย วาจา ใจ เป็นมงคลอันสูงสุด..
คำว่า ‘สมณะ’ ตามหลักธรรมที่ท่านแสดงไว้มี ๔ ประเภท ... สมณะที่ ๑ ได้แก่ พระโสดาบัน , สมณะที่ ๒ ได้แก่ พระสกิทาคามี , สมณะที่ ๓ ได้แก่ พระอนาคามี , สมณะที่ ๔ ได้แก่ พระอรหันต์...”
ลัก...ยิ้ม
05-07-2012, 10:03
เอื้อเฟื้อ มีน้ำใจ
ระยะต่อมาท่านมาศึกษาปริยัติอยู่กับพระราชกวี ซึ่งภายหลังดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) เป็นอาจารย์ผู้สอนทางด้านปริยัติ ท่านกล่าวยกย่องเสมอ ๆ ว่า
“...สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) ท่านเป็นพระนักเสียสละ ไม่มีอะไรติดเนื้อติดตัว เราอยู่กุฏิเดียวกับท่าน เป็นผู้ดูแลของทุกสิ่งทุกอย่างของท่าน เป็นผู้สั่งจับสั่งจ่ายสั่งเก็บอะไร ๆ ทั้งหมด เพราะฉะนั้น จึงรู้จักท่านได้ดี ท่านมีเท่าไรให้หมด ท่านเด่นมากในทางเป็นนักเสียสละ...
เราอยู่กับท่านเวลาเรียนหนังสือ ท่านเป็นผู้สอนฝ่ายบาลีให้เรา ขณะเรียนหนังสืออยู่ ถ้าเราทราบว่ามีพระกรรมฐานท่านมาอยู่ในวัดหรือมาอยู่ที่ไหน ๆ เราจะต้องเข้าไปหาท่านจนได้ เวลาฟังธรรมกรรมฐานรู้สึกว่า ธรรมะมันกล่อมใจเคลิ้มไปเลย เราจะเป็นนิสัยอย่างนั้น...”
ที่นี่มีการจัดแบ่งพระเณรออกเป็นคณะ คณะของท่านมีเจ้าคุณอาจารย์เป็นหัวหน้าคณะ แต่เจ้าคุณมอบให้ท่านเป็นผู้ช่วยดูแลคณะ ภาระหลายประการจึงตกมาถึงท่านนอกเหนือจากภาระการเรียน เป็นที่ทราบกันดีในหมู่พระเณรถึงความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อ ไม่ตระหนี่ถี่เหนียวของท่าน เมื่อมีจตุปัจจัยไทยทานเข้ามามากน้อย ท่านจะแบ่งปันสิ่งของต่าง ๆ ออก แจกจ่ายพระเณรอย่างทั่วถึงหมด เหตุนี้เองทำให้คณะของท่านมีพระเณรมาอยู่ด้วยจำนวนมาก ซึ่งท่านเคยกล่าวไว้ดังนี้
“...ตั้งแต่เราเป็นพระหนุ่มน้อย เราไปอยู่วัดไหน หากสมภารตระหนี่ เราอยู่ไม่ได้นะ มันคับหัวอก เราเป็นอย่างนั้นจริง ๆ ไม่ใช่พูดเล่นนะ เรียนหนังสือก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน คณะของเรานี้..มีเรามีเขาทีไหน ของตกมาหาเรานี่ พระเณรนี้รุมพรึบเดียวหมดเลย
นั่นแหละ เป็นอันเดียวกันมาตลอด เรียนหนังสือก็เป็นอย่างนั้น ไม่เคยว่านี่เป็นของเรานั่นเป็นของท่าน... เหมือนครัวเรือนเดียวกัน เราไปไหนมา ได้ของมากน้อย พระเณรนี้รุมพรึบเดียวหมดเลย... พระเณรแย่งกันก็เหมือนกับเราอยู่ในครัวเรือน คือแย่งกันในฐานะพระเณรในวัด แย่งกันแบบพระ ‘ว่างั้น’ แย่งแบบฆราวาส แย่งแบบพ่อแม่กับลูกในครอบครัวเป็นอย่างหนึ่ง การแย่งกันมีหลายประเภท นี่แย่งแบบพระมันก็น่าดู ดูด้วยความตายใจ พออะไรมานี้ตายใจแล้ว พรึบเลย...
ไม่เคยเก็บ ไม่เคยสั่งสมแต่ไหนแต่ไร คณะของเราช่วงเรียนหนังสือจึงมีพระเต็มไปหมด เราไปอยู่ที่ไหนคณะของเราจะมากที่สุด มากกว่าเพื่อน ลูกศิษย์ลูกหา เพื่อนฝูงเต็มไปหมด... เพราะความเสียสละ...”
ลัก...ยิ้ม
06-07-2012, 11:49
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธฺมมธโร)
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มีนามเดิมว่า พิมพ์ แสนทวีสุข เกิดเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา ที่บ้านสว่าง ตำบลสว่าง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
การบรรพชาและอุปสมบท เบื้องแรกได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสุปัฏนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๗ ได้อุปสมบท ณ อุทกกุกเขปสีมา ในลำน้ำมูล ที่บ้านโพธิตาก ตำบลพิบูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๔๖๐ มีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ พระราชมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระศาสนดิลก (ชิต เสโน) เป็นพระกรรมวาจารย์ มีฉายาว่า ธมฺมธโร
สมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นพระราชาคณะสามัญที่ พระญาณดิลก ในรัชกาลที่ ๗
พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นพระราชาคณะเสมอชั้นราชในนามเดิม ในรัชกาลที่ ๘
พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชกวี ในรัชกาลที่ ๙
พ.ศ. ๒๔๙๒ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพโมลี
พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมปิฎก
พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นพระราชาคณะชั้นหิรัญบัฏที่ พระพรหมมุนี
พ.ศ. ๒๕๐๘ เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์
มรณภาพ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๗ ณ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
ลัก...ยิ้ม
09-07-2012, 09:37
เจ้าคุณนักเสียสละ
ท่านให้ความเคารพนับถือเจ้าคุณอาจารย์อย่างสูง ไม่เพียงเพราะเจ้าคุณฯ เป็นอาจารย์สอนปริยัติธรรมให้ท่านเท่านั้น แต่ด้วยคุณธรรมของท่านเจ้าคุณฯ เฉพาะอย่างยิ่งความเป็น “นักเสียสละ” เป็นสิ่งที่ทำให้ต้องกล่าวถึงอยู่เสมอ ๆ อย่างไม่มีวันลืมเลือนได้เลย ดังนี้
“...สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) เปรียญ ๖ ประโยคนั้น ท่านเป็นนักเสียสละนะ เราเคยอยู่ด้วยแล้ว ถึงไหนถึงกัน... ท่านไปไหนมานี่ พระเณรรุมพรึบเลย
หมดเลย ๆ ท่านเป็นนักเสียสละ ไม่สนใจได้มาเท่าไร บทเวลาท่านจะพูด ท่านก็พูดของท่าน พูดเฉย ๆ เอาของมาเต็มอยู่นี่ มันมีผ้าไหมดี ๆ อยู่ มาจากเมืองอุบลฯ ผ้าไหมผ้าอะไร เขาทอมาถวายท่าน พอมาถึงท่าน
‘เออ... ผ้าไหม ให้ระวัง ให้รีบเก็บนะ เดี๋ยว อีตา... จะมาเอาหมดนะ’
อีตา...นี้ เป็นมหาและเป็นหลานของท่านเอง ท่านบอก ‘ให้รีบเอาไปซะ ของไหนดี ๆ เดี๋ยวมันเอาไปหมด’ ว่าเท่านั้นแหละ แล้วไม่เคยพูดถึงอีกเลย มีเท่านั้น นี่..เรียกว่าพูดติดปากเฉย ๆ ท่านไม่ได้พูดด้วยความหวง
ความหมายก็คือว่า เอาไว้เผื่อว่ามันจำเป็น องค์ไหนที่ควร ท่านจะสั่งจัดให้เลย นี่เรียกว่านักเสียสละ เราเทิดที่สุดเลย... เพราะนิสัยท่านกับนิสัยเราเข้ากันได้ปุ๊บปั๊บเลย เราฝังลึกแล้วว่า ท่านคือนักเสียสละ นี่องค์หนึ่งที่เป็นพระนักเสียสละ ท่านไม่มี .. ได้มาเท่าไรหมด ไม่มีเหลือ หมด.. หมดเลย...”
ท่านกล่าวยกย่องน้ำใจของท่านเจ้าคุณอาจารย์ว่า เป็นผู้มีจิตใจกว้างขวาง ไม่สั่งสมและไม่ตระหนี่ถี่เหนียวในจตุปัจจัยไทยธรรมต่าง ๆ เลย มีแต่นำออกจ่ายแจกแก่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาพระเณรเสมอมา ท่านเจ้าคุณฯ เคยสั่งให้นำของจำนวนมากออกทำสลาก และให้พระเณรทุกรูปได้จับสลากแบ่งปันกัน
ท่านเจ้าคุณฯ ก็ไม่เคยให้ความสนใจในสิ่งของเหล่านั้นเพื่อตัวเองเลย ฉะนั้นในคราวหนึ่ง ท่านอยากให้ท่านเจ้าคุณฯ ได้ใช้ของดี ๆ บ้าง จึงได้แอบเอาจีวรชุดหนึ่งแยกเก็บไว้ต่างหาก เพื่อมิให้นำมาติดสลากร่วมด้วย คิดในใจว่า จะเปลี่ยนถวายใหม่ให้ท่านเจ้าคุณฯ บ้าง ต่อมาภายหลังท่านเจ้าคุณฯ ได้สังเกตเห็นจีวรนี้ยังคงเก็บอยู่ในตู้เช่นเดิม จึงถามท่านทันทีว่า
“ทำไมไม่ได้นำจีวรชุดนี้ไปจับสลาก แจกให้พระเณร ?”
ท่านให้เหตุผลเป็นอุบายแก่ท่านเจ้าคุณฯ เพื่อจีวรชุดดีนี้จะได้เก็บรักษาไว้เป็นของท่านเจ้าคุณฯ ต่อไป ไม่ถูกสั่งให้นำออกแจกจ่ายไปทางอื่นเสียว่า
“เพราะในบางคราว จีวรของเจ้าคุณอาจารย์อาจชำรุดเสียหายด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง เช่น ไฟไหม้ หรือหนูกัด ก็จะมีเปลี่ยนได้ทันทีครับกระผม”
คำตอบนี้ทำให้ท่านเจ้าคุณฯ ต้องจำยอมด้วยเหตุผล
ลัก...ยิ้ม
10-07-2012, 09:39
เรียนปริยัติ แอบปฏิบัติ
บรรยากาศการเรียนหนังสือของท่านที่นครราชสีมาในครั้งนั้น มักมีเหตุได้เข้ากรุงเทพฯ อยู่บ่อย ๆ และเมื่อต้องโดยสารรถไฟก็ต้องยอมอดอาหารในวันนั้นเลยทีเดียว
“...ตอนเรียนหนังสือ เราไปเรียนที่โคราชแล้วเกี่ยวข้องกับกรุงเทพฯ อยู่เสมอ ไปกรุงเทพฯ จากกรุงเทพฯ..มาโคราช ไปมาบ่อยด้วยรถไฟ คือตอนก่อนไม่มีรถยนต์ ทางถนนรถยนต์ไม่มี มีแต่รถไฟ รถไฟเขาก็ไปตามเวลา เช่นตอนเช้า ไม่ได้เหมือนทุกวันนี้ซึ่งมีรถเต็มถนน ไม่ว่ารถไฟ รถยนต์เต็มถนน มันไม่มีนะ ถ้าไปไม่ทันเวลาไม่ได้ นี่เราก็ไป คือออกจากโคราชแต่เช้า รถไฟออก คือว่าต้องเสียสละแหละ (ไม่ฉัน) ตอนเช้าก็ตอนเช้า
นี่อันหนึ่งมันก็แปลก ๆ อยู่นะ ไปนั่ง คือวันนี้มาเรียกว่าตั้งใจเสียสละไม่ฉัน อยู่ในรถไฟ มันมีเทวดาอยู่นั้นจนได้ เทวบุตร เทวดามี เราก็นั่งอยู่ในนั้นไม่สนใจ เขาก็รู้นี่..พระท่านฉันตอนเช้าตอนอะไร ก็เขารู้เรื่องของพระนี่ เราก็นั่งของเราเฉย
แล้วอยู่ ๆ เขาเอาจานเอาอะไรในรถไฟ ตู้เสบียง เทวบุตรเทวดาอยู่ในนั้น เขาไปสั่งอาหารในตู้เสบียงเอามาถวายเต็มไปหมดเลย
คือเราก็เหมือนว่า ตัดสินใจไม่ได้ฉันละวันนี้ ตั้งใจไม่ฉันละ ที่ไหนได้เต็มเลย 'แน่ะ' ..มันแปลกอยู่นะ...”
อย่างไรก็ดีเมื่อว่างจากการเรียน ท่านจะพยายามหลบหลีกจากหมู่เพื่อนที่เรียนหนังสือด้วยกัน โดยแอบนั่งสมาธิในกุฏิคนเดียว หรือเดินจงกรมในช่วงเวลาดึก ๆ อยู่เสมอด้วยเกรงผู้อื่นจะพบเห็น อันทำให้ท่านเกิดความเก้อเขินในการปฏิบัติ ท่านเล่าแบบขบขันถึงเหตุผลที่ต้องแอบหลบเพื่อนมาภาวนา ดังนี้
“..เราภาวนาอยู่ทุกวันนี่ เรียนหนังสือ เราไม่เคยละนะ หากไม่บอกใครให้รู้ เพราะอยู่กับพวกลิงด้วยกัน ถ้าไปภาวนาเดี๋ยวมันมาพูดแหย่กัน บางทีไปแอบเดินจงกรมตอนดึก ๆ เงียบ ๆ แล้วเพื่อนฝูงก็เดินผ่านมาเจอเข้า เขาถามว่า ‘ทำอะไร ?’
เราเผลอบอกไปว่า ‘เดินจงกรม’
‘โฮ้! จะไปสวรรค์นิพพานเดี๋ยวนี้เชียวหรือเพื่อน ? คอยกันหน่อยนะ คอยกันเสียก่อน เรียนจบแล้วค่อยไปด้วยกัน’ เขาพูดหยอกล้อกันเล่น นั่นน่ะ พวกเดียวกันมันพูดกันได้นี่นะ จะ 'ว่าไง’ ไม่ถือสีถือสากัน ‘นี่ จะไปสวรรค์นิพพานนะนี่ พวกเราอย่าไปกวนท่านนะ ท่านกำลังเตรียมจะไปสวรรค์ นิพพาน’ ต้องมีแหย่กันอยู่อย่างนั้น
ตั้งแต่นั้นมาเข็ด เวลามาเจอกันกลางคืนขณะเรากำลังเดินจงกรม มีพระเพื่อนเดินมาถามว่า ‘ทำอะไร เดินทำไม ?’
‘โอ้ย! ผมเปลี่ยนบรรยากาศ นั่งดูหนังสือเหนื่อย จึงออกมาเดินเปลี่ยนบรรยากาศบ้าง’ เราต้องตอบอย่างนี้จึงผ่านไปได้ เพราะฉะนั้น จึงไม่ให้รู้ นั่งภาวนาเฉยไม่ให้รู้นะ ปิดประตู เราไม่ให้เห็น ถ้าออกมาก็เป็นลิงเหมือนเขาเสีย ถ้าเข้าในห้องเป็นแบบนั้น กลางคืนดึก ๆ ออกมาเดินจงกรม มันเป็นอยู่ในหัวใจนี่จะ 'ว่าไง' หากบอกใครไม่ได้ อย่างนี้ไม่บอกใครเลย เพื่อนฝูงอยู่ด้วยกันก็ไม่บอก เป็นลิงไปกับเขาเสียอย่างนั้น
ทางภาคปฏิบัติละเอียด ภาคปริยัติหยาบกว่ากัน หากอยู่ในขอบเขตของหลักธรรมวินัยด้วยกัน เวลาเราเรียนหนังสืออยู่นี้ทำตัวเหมือนไม่เคยภาวนา เก็บเงียบเลย แต่อันหนึ่งมันฝังอยู่ลึก ๆ ไม่จืดจาง มันรักมันสนิทมันติดใจในเรื่องกรรมฐาน เรื่องมรรคเรื่องผล เรื่องนิพพาน จากทำกรรมฐาน จากการภาวนา หากไม่แสดงต่อใครให้ทราบ..”
ในช่วงที่ท่านกำลังเรียนหนังสืออยู่นี้ ทางบ้านเริ่มเกิดความสงสัยเกี่ยวกับความคิดที่จะลาสิกขาของท่าน ว่าคิดอย่างไรบ้าง ? ดังนั้น ในคราวที่ท่านบวชได้ ๔ พรรษา มีโอกาสเดินทางกลับไปเยี่ยมบ้าน โยมพ่อจึงได้ถามขึ้นมาว่า “ไม่อยากสึกบ้างหรือ ?”
ครั้งนั้น พระลูกชายได้แต่นั่งนิ่งไม่ตอบว่าอะไร แต่ในใจของท่านขณะนั้นคิดว่า
“ไอ้เรื่องสึกนี้ไม่คำนึง มีแต่หมุนตัวเข้าสู่ธรรมของพระพุทธเจ้า”
ลัก...ยิ้ม
11-07-2012, 10:05
ซุ่มฟังธรรมพระปฏิบัติ
ท่านกล่าวว่าท่านใช้ชีวิตการเรียนหนังสืออยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา คือวัดท่าช้าง ตำบลท่าช้าง ๑ ปี วัดสุทธจินดา ๒ ปี และวัดศาลาทอง ตำบลหัวทะเล ๑ ปี รวม ๔ ปี มีโอกาสออกปฏิบัติกรรมฐานระหว่างพักเรียนหนังสือดังนี้
“...เราอยู่โคราชมาหลายปี... ท่าช้างปีหนึ่ง แล้วก็วัดสุทธจินดาในโคราชเอง ๒ ปี วัดศาลาทอง ๑ ปี ... เที่ยวแหลกหมดเลย แต่ก่อนอำเภอมีน้อย เดี๋ยวนี้เขาตั้งอำเภอใหม่เลยไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน ? ... เรียนหนังสือก็มาอยู่ที่นั่น แต่ก่อนดูเหมือนจะไปทุกอำเภอละมัง ทีนี้เวลาเขาตั้งอำเภอใหม่นี้.. เลยไม่ทราบว่าอำเภอไหนบ้างนะ .. อำเภอจักราชนี่ตั้งทีหลัง ตั้งทีหลังหลายอำเภอ ที่มีดั้งเดิมก็อำเภอปักธงชัย สีคิ้ว สูงเนิน ปากช่อง มีมาดั้งเดิม ... วัดป่าแถวนั้นไปหมดนั่นแหละ ขึ้นชื่อว่าวัดป่าอยู่ที่ไหนหลวงตานี้ต้องถึงหมดเลย มันเป็นอย่างนั้น นิสัยกรรมฐานมีอยู่เป็นประจำตลอดเลยนะ รักกรรมฐานมาก
จะเรียกว่าพระโคราชเราจะผิดไปไหน อยู่โคราชเวลาหยุดเรียนหนังสือก็เข้าป่า เข้าไปหลายแห่ง แต่ก่อนกลางดงไม่มีบ้านมีเรือนอะไรละ มีแต่พวกกอไผ่ เขาพริก เราไปเที่ยวทางนู้น ไม่มีบ้านมีเรือน แต่ก่อนมีเท่านั้นแหละ พอว่าง ๆ ก็ไปเที่ยวกรรมฐาน ชอบกรรมฐานอยู่นะ เรียนหนังสืออยู่กรรมฐานไม่เคยปล่อยวางนะ ไปอยู่ที่ไหนก็เหมือนกัน พอว่างออกแล้ว พอว่างปิดโรงเรียนปั๊บนี่ ออกเลยไปเที่ยวกรรมฐาน... เข้าป่าเข้าเขาไปเรื่อย ๆ ... เราเรียนหนังสืออยู่ที่นี่ก็เรียน ออกปฏิบัติกรรมฐานไปทางเขาใหญ่ ป่าเขาทางอำเภอปักธงชัย ที่ไหนไปทั้งนั้น ไปเที่ยวภาวนาเวลาว่าง คือเวลาหยุดโรงเรียน...”
ระหว่างการเรียนหนังสือ นอกจากท่านจะแอบปฏิบัติอยู่ภายในแล้ว ท่านยังพยายามหาโอกาสไปฟังเทศน์ของพระปฏิบัติ เช่น ท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ที่วัดป่าสาลวันอีกด้วย ดังนี้
“เราเรียนหนังสืออยู่วัดสุทธจินดา ก็มีวัดป่ากรรมฐาน เช่น วัดป่าสาลวัน วัดป่าศรัทธาราม เป็นต้น วัดเหล่านี้เป็นวัดใหญ่มาก วัดศรัทธาราม..ท่านอาจารย์มหาปิ่นเป็นเจ้าอาวาส วัดสาลวัน..หลวงปู่สิงห์เป็นเจ้าอาวาส พระเณรเยอะน่าดู
เวลาพระท่านออกบิณฑบาต ท่านจัดท่านแจกอาหาร เราเป็นพระหนุ่มน้อย แต่ตามีหูมีมันต้องคิดซิ ดูไปงามตา ความสม่ำเสมอท่านถือเป็นสำคัญมาก จะมีมากมีน้อยไม่สำคัญ สำคัญให้สม่ำเสมอ มีมากมีน้อยแจกให้เสมอกัน เราเป็นพระหนุ่มพระน้อยได้ไปรับความเสมอภาคกับท่านในสองสำนักนี้ ฝังใจไม่ลืมนะ ... น่าชม มีมากมีน้อยก็เถอะ ถ้าลงความเสมอภาคได้ เข้าไหนเป็นธรรมอบอุ่นด้วยกัน ตายใจกันได้ เห็นแก่ได้เห็นแก่กินอยู่ไม่ได้นะ เข้ากันไม่สนิท ถ้าลงมีเท่าไรถึงไหนถึงกันให้สม่ำเสมอ...
พอวันไหนว่างจากเรียนหนังสือ ... เป็นวันหยุด วันพระวันอะไรอย่างนี้ เราจะไปฟังเทศน์ท่านอาจารย์สิงห์ที่วัดป่าสาลวัน .. ที่วัดป่าสาลวันจะมีประชุม ๔ วันครั้งหนึ่ง ประชุมตอนบ่ายโมง เราได้ฟังเทศน์ท่าน.. ท่านจึงพบเราบ่อยไปตามประสาของเราที่มันชอบภาวนา ...
หมู่เพื่อนใครไม่ไป เราไม่สนใจกับใคร ถ้าวันไหนท่านประชุมฟังธรรมตรงกับวันที่เราว่างจากการเรียน เราก็ไป ไปบ่อย .. ถ้าวันไหนว่าง จากนั้นอีกก็จะไปเข้าป่า ไปทางวัดป่าดงขวาง อยู่ทางตะวันออกของวัดป่าสาลวัน สงัดดี ไปพักอยู่ที่นั่น ไปภาวนา ... แต่บอกว่าไปภาวนาไม่ได้นะ ต้องบอกว่าไปดูหนังสือบ้าง ความจริงคือไปภาวนา ... ท่านอาจารย์สิงห์ยังชมให้พระเณรฟัง อาจารย์คำดีก็ได้ฟังอยู่ด้วยว่า
“พระหนุ่มองค์นี้สำคัญนะ ภาวนาดีนะ”
และท่านยังไปเล่าให้พระฟังอีกด้วยว่า ‘มานั่งฟังเทศน์เหมือนหัวตอ นั่งตรงแน่ว ไม่เอนไม่เอียง มาแล้วมานั่งข้างหน้า เทศน์จบแล้วหายเลย (ไม่คุยกับใคร)’ เพราะเราไปฟังเทศน์ของท่านตลอด ตอนนั้นเราภาวนายังไม่เป็น ยังไม่ทราบว่า ท่านเทศน์มีบทหนักบทเบาขนาดไหน แต่เรื่องวิถีจิตที่ท่านแสดงนั้น เรายังไม่เคยได้ยินมาก่อน ...
ลัก...ยิ้ม
12-07-2012, 09:04
ไปวัดนั้นวัดนี้เขาก็ทราบว่าเป็นวัดกรรมฐาน แต่เราบอกว่าไปดูหนังสือ ความจริงไปดูหนังสือใหญ่คือภาวนา ไม่ให้ใครทราบ มันหากเป็นอยู่ลึก ๆ ถ้าหากพูดออกมาหมู่เพื่อนขัดทันทีจึงไม่พูด เฉยดีกว่า เขาเป็นลิง เราก็เป็นลิง เขาเป็นอะไรก็เป็นกับเขาไป
คำว่า “ลิงค่างด้านปริยัติ” นั้นคือ กิริยาหยอกเล่นกันธรรมดา แต่ไม่ให้ผิดจากหลักธรรมหลักวินัย เราเรียนหนังสืออยู่ ใครมาดูถูกพระกรรมฐานไม่ได้นะ แต่ก็มีน้อยมากที่ปริยัติจะดูถูกพระกรรมฐาน ถ้าเขาพูดออกมาในเชิงดูถูกอะไร ๆ เอาแล้ว เรารักกรรมฐานรักอย่างนั้น แต่ส่วนมากท่านชมเชย ท่านปฏิบัติได้ เราปฏิบัติไม่ได้ แสดงว่ายอมตนชมเชย...”
ที่วัดป่าสาลวันแห่งนี้เอง ทำให้ท่านมีโอกาสได้พบและสนิทสนมกับหลวงปู่คำดี ปภาโส ท่านได้บอกกับหลวงปู่คำดีในครั้งนั้นว่า
“พอจบจากการเรียนตามคำอธิษฐานแล้ว จะออกปฏิบัติเพียงเท่านั้น”
กาลเวลาผ่านมาหลายต่อหลายปี ท่านทั้งสองถึงได้มาพบกันอีก ครั้งนั้น หลวงปู่คำดีพูดด้วยความตื่นเต้นมากทีเดียวว่า
“โห ! ท่านมหา (บัว) ผมไม่ลืมนะ คำพูดท่านน่ะ ทำไมพูดมีความสัตย์ความจริงอย่างนี้ ตอนท่านไปเรียนหนังสืออยู่โคราชได้บอกกับผมไว้ว่า เมื่อเรียนจบตามความมุ่งหมายแล้ว จะออกปฏิบัติก็ออกปฏิบัติจริง ๆ”
ลัก...ยิ้ม
13-07-2012, 09:33
หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม
หลวงปู่สิงห์ มีนามเดิมว่า สิงห์ บุญโท เกิดเมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๒ เวลา ๕.๑๐ น. ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๓ ปีฉลู ณ บ้านหนองขอน ตำบลหัวตะพาน อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมกัน ๗ คน ท่านเป็นคนที่ ๔ และพระมหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นคนที่ ๕
บรรพชาและอุปสมบท เมื่ออายุ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖ ในสำนักพระอุปัชฌาย์ป้อง ณ บ้านหนองขอน ตำบลหัวตะพาน อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พันธสีมาวัดสุทัศน์ฯ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๒ โดยสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) สมัยเมื่อดำรงสมณศักดิ์เป็นพระศาสนาดิลก เจ้าคณะมลฑลอีสาน เป็นพระอุปัชฌาย์ นับว่าเป็นสัทธิวิหาริกอันดับ ๒ ของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ พระมหาเสน ชิตเสโน เป็นพระกรรมวาจารย์ พระปลัดทัศน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
การจาริกเพื่อศึกษาธรรมปฏิบัติ เหตุที่ได้จูงใจให้ท่านออกเที่ยวธุดงค์เจริญสมถวิปัสสนากรรมฐานนั้น สาเหตุด้วยได้คำนึงถึงพระพุทธศาสนาว่า หมดเขตสมัยมรรคผลธรรมวิเศษแล้ว หรือว่ายังมีหนทางปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในพุทธศาสนาอยู่ ในระหว่างพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ได้พบกับพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี ทราบว่าเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เมื่อได้ศึกษากับท่านจนได้ความแน่ชัดว่า หนทางปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนั้นมีอยู่ จึงได้ตกลงใจออกเที่ยวธุดงค์หาที่วิเวกเพื่อเจริญสมถวิปัสสนากรรมฐานตั้งแต่นั้นมา พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๓ ได้จำพรรษาวัดป่าสาลวัน
สมณศักดิ์ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญฝ่ายวิปัสสนาธุระมีนามว่า พระญาณวิสิษฏ์ สมิทธิวีราจารย์ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๐
มรณภาพ อาพาธด้วยมะเร็งเรื้อรังในกระเพาะ ได้มรณภาพเมื่อวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๔ เวลา ๑๐.๒๐ น. ณ วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา สิริอายุรวม ๗๓ ปี
ลัก...ยิ้ม
16-07-2012, 11:24
พรรษาที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๘๓)
จำพรรษาที่วัดเจดีย์หลวง ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
==========================================================
พบเห็นสมณะผู้ประเสริฐ
ในระยะที่ท่านยังเรียนหนังสืออยู่นั้น กิตติศักดิ์ กิตติคุณของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต มิเคยได้จืดจางลงไปแม้แต่น้อย กลับยิ่งฟุ้งขจรขจายอย่างกว้างขวางมาจากจังหวัดเชียงใหม่ว่า ท่านเป็นพระสำคัญรูปหนึ่ง และส่วนมากผู้ที่มาเล่าเรื่องของหลวงปู่มั่นให้ฟังนั้น จะไม่เล่าธรรมชั้นอริยภูมิธรรมดา แต่จะเล่าถึงชั้นพระอรหันต์ภูมิทั้งนั้น ดังนี้
“ครูบาอาจารย์องค์ไหนที่เคยไปอยู่กับท่านมาแล้ว มาพูดเป็นเสียงเดียวกันหมด ไม่เป็นอื่นว่า ‘ท่านอาจารย์มั่นคือพระอริยบุคคล’ เราก็ยิ่งอยากจะทราบ ‘อริยบุคคลชั้นไหน ? มันก็หลายชั้นนี่นะ อริยบุคคล’
‘ก็อรหันต์นั่นแหละ’ 'ว่างี้’ เลย ‘อรหันตบุคคล’ 'ว่างี้’ มันก็ยิ่งซึ้งน่ะซี”
ท่านจึงมีความมั่นใจว่า “เมื่อเรียนจบตามคำสัตย์ที่ตั้งไว้แล้ว จะต้องพยายามออกปฏิบัติไปอยู่สำนักและศึกษาอบรมกับหลวงปู่มั่น เพื่อตัดข้อสงสัยที่ฝังใจอยู่นี้ออกไปให้จงได้”
โอกาสอำนวยให้ท่านเดินทางไปศึกษาปริยัติต่อที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อเดินทางไปถึง เผอิญเป็นระยะเดียวกันกับที่ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (พระอุปัชฌาย์ขององค์หลวงตา) ได้อาราธนานิมนต์หลวงปู่มั่นด้วยตนเอง เพื่อขอให้ไปพักจำพรรษาอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี หลวงปู่มั่นเมตตารับนิมนต์นี้ จึงได้ออกเดินทางจากสถานที่วิเวกบนเขาในเขตจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อจะเข้าพักชั่วคราวอยู่ที่วัดเจดีย์หลวงนั้นเช่นกัน
เหตุการณ์ก็บังเอิญเป็นระยะเวลาไล่เลี่ยกันกับที่ท่านเดินทางไปถึง จึงมีโอกาสที่ได้เห็นหลวงปู่มั่น ดังนี้
“ท่านมาถึงก่อน ๒ วันหรือ ๓ วัน เราก็ไปถึง ท่านป่วยอยู่ที่บ้านป่าเปอะ* ท่านออกมาครั้งนั้น เพราะรับนิมนต์ท่านเจ้าคุณอุปัชฌายะของเรานี่เอง ท่านออกมาเพราะนัดกันแล้ว ว่าเดือนนั้น ๆ ระยะนั้น ๆ ให้มา ท่านก็ออกมา มีท่านอาจารย์อุ่น กับคุณนายทิพย์ภรรยาของผู้บังคับการตำรวจ ทุกวันนี้เรียกผู้กำกับ มานิมนต์ท่านอาจารย์อุ่นไปรับท่านมา...
พอเราได้ทราบว่า ท่านมาพักอยู่วัดเจดีย์หลวงเท่านั้นก็เกิดความยินดีเป็นล้นพ้น สอบถามจากพระว่า ‘ท่านไปบิณฑบาตสายไหน ?’ สอบถามได้ความว่า ‘เช้านี้ ท่านพระอาจารย์มั่นออกบิณฑบาตสายนี้และจะกลับมาทางเดิม’ ดังนี้ ก็ยิ่งเป็นเหตุให้มีความสนใจ ใคร่อยากจะพบเห็นท่านมากขึ้น แม้จะไม่ได้พบท่านซึ่ง ๆ หน้าก็ตาม เพียงขอให้ได้แอบมองท่านก็เป็นที่พอใจ
พอรุ่งสางเช้าวันใหม่ ก่อนที่ท่านจะออกบิณฑบาต เราก็รีบไปบิณฑบาตแต่เช้า แล้วกลับมาถึงกุฏิก็คอยสังเกตตามเส้นทางที่ท่านจะผ่านมา คอยจ้องดูอยู่ไม่นานนัก สักเดี๋ยวพระมาบอกว่า ‘มาแล้ว โน่น ๆ กำลังเข้ากำแพงวัด’
เราก็รีบเข้าไปในห้องเลย มันมีช่องอยู่ ยังไม่ลืมนะ ก็ได้เห็นท่านเดินผ่านมา แล้วจึงส่งสายตาสอดส่องดูท่านอย่างลับ ๆ ด้วยความหิวกระหาย ใคร่พบท่านมาเป็นเวลานานแสนนาน เมื่อได้เห็นองค์ท่านจริง ๆ ก็ยิ่งเพิ่มความศรัทธาเลื่อมใสในองค์ท่านขึ้นอย่างเต็มที่...
ส่องดู ลักษณะของท่านเหมือนไก่ป่านะ คล่องแคล่ว ตาแหลมคม ท่านเดินมา เราก็ดู ... ฟังด้วยความสนใจ ดูด้วยความเลื่อมใส ‘นี่มันซึ้งจริง ๆ’ เราไม่ลืมนะ ... แต่ท่านจะเห็นเรา 'ยังไง’ ก็ไม่รู้ ...”
ขณะที่ส่องดูอยู่นั้น เกิดความรู้สึกเลื่อมใสในองค์ท่านขึ้นอย่างเต็มที่ ในขณะนั้นคิดในใจว่า
“เราไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์ ได้เห็นพระอรหันต์ในคราวนี้เองแล้ว”
ทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครบอกว่าหลวงปู่มั่นเป็นพระอรหันต์ ในขณะที่ได้เห็นอยู่นั้น ท่านว่า
“ใจมันหยั่งลึกเชื่อแน่วแน่ลงไปอย่างนั้น พร้อมทั้งเกิดความปีติยินดีจนขนพองสยองเกล้าอย่างบอกไม่ถูก ทั้ง ๆ ที่องค์ท่านก็ไม่ได้.. ก็ไม่ได้มองเห็นเรา”
==========================================================
* บ้านป่าเปอะ ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่
ลัก...ยิ้ม
17-07-2012, 12:09
ฟังเทศน์หลวงปู่มั่นครั้งแรกในชีวิต
ที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่แห่งนี้ เป็นสถานที่ที่ทำให้ท่านมีโอกาสได้ฟังเทศน์ของหลวงปู่มั่นเป็นครั้งแรกในชีวิต ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชาอีกด้วย ในวันนั้นหลวงปู่มั่นแสดงธรรมนานถึง ๓ ชั่วโมงพอดีถึงจบกัณฑ์ ท่านตั้งใจฟังธรรมด้วยความสนใจเป็นอย่างยิ่ง ดังนี้
“เราก็อยู่นั้นเวลาท่านเทศน์ แต่ก่อนไม่มีรถนี่ เทศน์อยู่วิหารใหญ่ ทางรถผ่านหน้าวัดจนเขาแตกตื่นเข้ามาดู เขาว่าพระทะเลาะกัน มาดูก็เห็นท่านอาจารย์มั่นเทศน์อยู่บนธรรมาสน์ นั่นละขนาดนั้นละ ท่านเทศน์เปรี้ยง ๆ เอาอย่างถึงเหตุถึงผล แต่เราก็เพลินไปด้วยความเลื่อมใสท่านนะ จะให้รู้เรื่องรู้ราวในเรื่องท่านเทศน์ เรื่องวิถีจิตวิถีอะไรก็ไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่มันเพลินด้วยความเชื่อท่าน ความเลื่อมใส ว่าเราเกิดมาไม่เสียชาติ ได้พบท่านอาจารย์มั่นที่ร่ำลือมานาน
‘ท่านพระอาจารย์มั่นเทศน์เป็นที่จับใจอย่างฝังลึก ไม่มีวันลืมเลือนตลอดมาถึงปัจจุบัน กัณฑ์นี้เราได้ฟังด้วยตัวเองอย่างถึงใจ ดังที่ใฝ่ฝันในองค์ท่านมานาน’...”
ใจความสำคัญของธรรมที่หลวงปู่มั่นได้แสดงในวันนั้น ท่านลิขิตไว้ในหนังสือประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ดังนี้
“... วันนี้ตรงกับวันพระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน เราเรียกว่า “วันวิสาขบูชา” พระพุทธเจ้าเกิดกับสัตว์โลกเกิดต่างกันมาก ตรงที่ท่านเกิดแล้วไม่หลงโลกที่เกิด ที่อยู่และที่ตาย มิหนำยังกลับรู้แจ้งที่เกิด ที่อยู่ และตายของพระองค์ด้วยพระปัญญาญาณโดยตลอดทั่วถึง ที่เรียกว่าตรัสรู้นั่นเอง
เมื่อถึงกาลอันควรจากไป ทรงลาขันธ์ที่เคยอาศัยเป็นเครื่องมือบำเพ็ญความดีมาจนถึงขั้นสมบูรณ์เต็มที่ แล้วจากไปแบบ “สุคโต” สมเป็นศาสดาของโลกทั้งสาม ไม่มีที่น่าตำหนิแม้นิดเดียว ก่อนเสด็จจากไปโดยพระกายที่หมดหนทางเยียวยา ก็ได้ประทานพระธรรมไว้เป็นองค์แทนศาสดา ซึ่งเป็นที่น่ากราบไหว้บูชาคู่พึ่งเป็นพึ่งตายถวายชีวิตจริง ๆ
เราทั้งหลายต่างเกิดมาด้วยวาสนา มีบุญพอเป็นมนุษย์ได้อย่างเต็มภูมิดังที่ทราบอยู่แก่ใจ แต่อย่าลืมตัวลืมวาสนาของตัว โดยลืมสร้างคุณงามความดีเสริมต่อภพชาติของเรา ที่เคยเป็นมนุษย์จะเปลี่ยนแปลงและกลับกลายหายไป ชาติต่ำทรามที่ไม่ปรารถนาจะกลายมาเป็นตัวเราเข้าแล้วแก้ไม่ตก
ความสูงศักดิ์ ความต่ำทราม ความสุขทุกขั้นจนถึงบรมสุข และความทุกข์ทุกขั้นจนเข้าขั้นมหันตทุกข์เหล่านี้ มีได้กับทุกคนตลอดสัตว์..ถ้าตนทำให้มี อย่าเข้าใจว่า จะมีได้เฉพาะผู้กำลังเสวยอยู่เท่านั้น โดยผู้อื่นมีไม่ได้ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นสมบัติกลาง แต่กลับกลายมาเป็นสมบัติจำเพาะของผู้ผลิตผู้ทำได้
ฉะนั้น ท่านจึงสอนไม่ให้ดูถูกเหยียดหยามกัน เมื่อเห็นเขาตกทุกข์หรือกำลังจน จนน่าทุเรศ เราอาจมีเวลาเป็นเช่นนั้น หรือยิ่งกว่านั้นก็ได้ เมื่อถึงวาระเข้าจริง ๆ ไม่มีใครมีอำนาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะกรรมดีกรรมชั่วเรามีทางสร้างได้เช่นเดียวกับผู้อื่น จึงมีทางเป็นได้เช่นเดียวกับผู้อื่น และผู้อื่นก็มีทางเป็นได้เช่นที่เราเป็นและเคยเป็น
ศาสนาจึงเป็นหลักวิชา.. ตรวจตราดูตัวเองและผู้อื่นได้อย่างแม่นยำ และเป็นวิชาเครื่องเลือกเฟ้นได้อย่างดีเยี่ยม ไม่มีวิชาใดในโลกเสมอเหมือน นับแต่บวชและปฏิบัติมาอย่างเต็มกำลังจนถึงวันนี้ มิได้ลดละการตรวจตราเลือกเฟ้นสิ่งดีชั่วที่มีและเกิดอยู่กับตนทุกระยะ มีใจเป็นตัวการพาสร้างกรรมประเภทต่าง ๆ จนเห็นได้ชัดว่ากรรมมีอยู่กับผู้ทำ มีใจเป็นต้นเหตุของกรรมทั้งมวล ไม่มีทางสงสัย ผู้สงสัยกรรมหรือไม่เชื่อกรรมว่ามีผล คือคนลืมตนจนกลายเป็นผู้มืดบอดอย่างช่วยอะไรไม่ได้
คนประเภทนั้นแม้เขาจะเกิด และได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อแม่มาเป็นอย่างดี เหมือนโลกทั้งหลายก็ตาม เขามองไม่เห็นคุณของพ่อแม่ว่า ผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูตนมาอย่างไรบ้าง ? แต่เขาจะมองเห็นเฉพาะร่างกายเขาที่เป็นคน ซึ่งกำลังรกโลกอยู่โดยเจ้าตัวไม่รู้เท่านั้น ไม่สนใจคิดว่าเขาเกิดและเติบโตมาจากท่านทั้งสอง ซึ่งเป็นแรงหนุนร่างกายให้เป็นอยู่ตามกาลของมัน การทำเพื่อร่างกาย ถ้าไม่จัดว่าเป็นกรรมคือ การทำจะควรจัดว่าอะไร ? สิ่งที่ร่างกายได้รับมาเป็นประจำ ถ้าไม่เรียกว่าผล จะเรียกว่าอะไร ? จึงจะถูกตามความจริง
ดี ชั่ว สุข ทุกข์ ที่สัตว์ทั่วโลกได้รับกันมาตลอดสาย ถ้าไม่มีแรงหนุนเป็นต้นเหตุอยู่แล้ว จะเป็นมาได้ด้วยอะไร ใจอยู่เฉย ๆ ไม่คะนองคิดในลักษณะต่าง ๆ อันเป็นทางมาแห่งดีและชั่ว คนเราจะกินยาตายหรือฆ่าตัวตายได้ด้วยอะไร สาเหตุแสดงอยู่เต็มใจที่เรียกว่าตัวกรรมแล ทำคนจนถึงตายยังไม่ทราบว่าตนทำกรรมแล้ว ถ้าจะไม่เรียกว่ามืดบอด จะควรเรียกว่าอะไร ?
กรรมอยู่กับตัวและตัวทำกรรมอยู่ทุกขณะ ผลก็เกิดอยู่ทุกเวลา ยังสงสัยหรือ ไม่เชื่อกรรมว่ามี และให้ผลแล้วก็สุดหนทาง ถ้ากรรมวิ่งตามคนเหมือนสุนัขวิ่งตามเจ้าของ เขาก็เรียกว่าสุนัขเท่านั้นเอง ไม่เรียกว่ากรรม นี่กรรมไม่ใช่สุนัข แต่คือการกระทำดีชั่ว ทางกาย วาจา ใจ ต่างหาก ผลจริงคือความสุขทุกข์ที่ได้รับกันอยู่ทั่วโลก การทั่งสัตว์ผู้ไม่รู้จักกรรม รู้แต่กระทำคือหาอยู่หากิน ที่ทางศาสนาเรียกว่ากรรมของสัตว์ของบุคคล และผลกรรมของสัตว์ของบุคคล”
หลังจากนั้นไม่นาน หลวงปู่มั่นก็ออกเดินทางมุ่งหน้าไปจังหวัดอุดรธานีกับคณะลูกศิษย์ของท่าน สำหรับท่านยังคงอยู่เรียนหนังสืออยู่ที่วัดเจดีย์หลวงนี้ต่อไป โดยศึกษาบาลีกับนักธรรมควบคู่กันไป
ลัก...ยิ้ม
18-07-2012, 11:16
นิมิตหลวงปู่มั่น
และคำทำนายพระหนุ่มองค์หนึ่ง
มีเรื่องแปลกประหลาดเรื่องหนึ่งที่หลวงปู่มั่นเกิดขึ้นทางนิมิตภาวนา ขณะที่ท่านพักอยู่ที่ดอยคำ บ้านน้ำเมา อำเภอแม่ปั๋ง ก่อนที่จะออกเดินทางมาถึงวัดเจดีย์หลวงนี้ นิมิตดังกล่าวนี้ หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท ซึ่งติดตามหลวงปู่มั่นอยู่ในขณะนั้นด้วย ได้ยินได้ฟังด้วยตนเองและได้เล่าแบบย่อ ๆ ว่า
“หลวงปู่มั่น นิมิตเห็นพระหนุ่ม ๒ รูป นั่งช้าง ๒ เชือก ติดตามท่าน ซึ่งนั่งสง่างามบนช้างตัวขาวปลอด จ่าโขลงเป็นช้างใหญ่ พระหนุ่มสองรูปนี้จะสำเร็จก่อนและหลังท่านนิพพานไม่นานนัก”
นิมิตเดียวกันนี้ได้บันทึกโดยละเอียดไว้ในประวัติหลวงปู่มั่น ดังนี้
“... คืนหนึ่งมีเหตุการณ์โดยทางนิมิตภาวนาเกิดขึ้น เวลานั้นท่านพักอยู่ในภูเขาลึกแห่งหนึ่ง ห่างจากหมู่บ้านมากที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเหตุการณ์ที่ทั้งน่าหวาดเสียวและน่ายินดีพอ ๆ กัน คืนนั้นดึกมากราว ๓ นาฬิกา อันเป็นเวลาธาตุขันธ์ละเอียด
ท่านตื่นจากจำวัด นั่งพิจารณาไปเล็กน้อยปรากฏว่า จิตใจมีความประสงค์จะพักสงบมากกว่าจะพิจารณาธรรมทั้งหลายต่อไป ท่านเลยปล่อยให้จิตพักสงบ พอเริ่มปล่อยจิตก็เริ่มหยั่งลงสู่ความสงบอย่างละเอียดเต็มภูมิสมาธิ และพักอยู่นานประมาณ ๒ ชั่วโมง หลังจากนั้นก็ค่อย ๆ ถอยออกมา แต่แทนที่จิตจะถอนออกมาสู่ปกติจิต เพราะมีกำลังจากการพักผ่อนทางสมาธิพอสมควรแล้ว แต่กลับถอยออกมาเพียงขั้นอุปจารสมาธิ แล้วออกรู้เหตุการณ์ต่อเนื่องไปในเวลานั้นเลยทีเดียว
คือขณะนั้นปรากฏว่า มีช้างเชือกหนึ่งใหญ่มากเดินเข้ามาหาท่าน แล้วทรุดตัวหมอบลงแสดงเป็นอาการจะให้ท่านขึ้นบนหลัง ท่านก็ปีนขึ้นบนหลังช้างเชือกนั้นทันที พอท่านขึ้นนั่งบนคอช้างเรียบร้อยแล้ว
ขณะนั้นปรากฏว่า มีพระวัยหนุ่มอีกสององค์ขี่ช้างองค์ละเชือกเดินตามมาข้างหลังท่าน ช้างทั้งสองเชือกนั้นใหญ่พอ ๆ กัน แต่เล็กกว่าช้างตัวที่ท่านกำลังขี่อยู่เล็กน้อย ช้างทั้งสามเชือกนั้นมีความองอาจสง่าผ่าเผยและสวยงามมากพอ ๆ กัน คล้ายกับเป็นช้างทรงของกษัตริย์ มีความฉลาดรอบรู้ความประสงค์ และอุบายต่าง ๆ ที่เจ้าของบอกแนะดีเช่นเดียวกับมนุษย์
พอช้างสองเชือกของพระหนุ่มเดินมาถึง ท่านก็พาออกเดินทางมุ่งหน้าไปทางภูเขาที่มองเห็นขวางหน้าอยู่ไม่ห่างจากที่นั้นนักประมาณ ๑ กิโลเมตร ช้างท่านเป็นผู้พาเดินหน้าไปอย่างสง่าผ่าเผย
ในความรู้สึกส่วนลึก ท่านว่าราวกับจะพาพระหนุ่มสององค์นั้นออกจากโลกสมมุติทั้งสามภพ ไม่มีวันกลับมาสู่โลกใด ๆ อีกต่อไปเลย พอไปถึงภูเขาแล้ว ช้างพาท่านและพระหนุ่มสององค์ เดินเข้าไปที่หน้าถ้ำแห่งหนึ่งซึ่งไม่สูงนัก เพียงเป็นเนินเชื่อมกันขึ้นไปหาถ้ำเท่านั้น
เมื่อช้างใหญ่ทั้งสามเชือกเข้าไปถึงถ้ำแล้ว ช้างเผือกที่ท่านอาจารย์ขี่อยู่หันก้นเข้าไปในหน้าถ้ำ หันหน้าออกมา แล้วถอยก้นเข้าไปจรดผนังถ้ำ ส่วนช้างสองเชือกของพระหนุ่มสององค์ ต่างเดินเข้าไปยืนเคียงข้างช้างท่านข้างละเชือกอย่างใกล้ชิด หันหน้าเข้าไปในถ้ำ ส่วนช้างท่านอาจารย์ยืนหันหน้าออกมาหน้าถ้ำ ขณะนั้นปรากฏว่า
ท่านอาจารย์เองได้พูดสั่งเสียพระว่า
‘นี้เป็นวาระสุดท้ายแห่งขันธ์และภพชาติของผม จะขาดความสืบต่อกับสมมุติทั้งหลายและจะยุติลงเพียงแค่นี้ จะไม่ได้กลับมาสู่โลกเกิดตายนี้อีกแล้ว นิมนต์ท่านทั้งสองจงกลับไปบำเพ็ญประโยชน์ตนให้สมบูรณ์เต็มภูมิก่อน อีกไม่นานท่านทั้งสองก็จะตามผมมา และไปในลักษณะเดียวกับที่ผมจะเตรียมไปอยู่ขณะนี้ การที่สัตว์โลกจะหนีจากโลกที่แสนอาลัยอ้อยอิ่ง แต่เต็มไปด้วยความระบมงมทุกข์นี้ไปได้แต่ละรายนั้น มิใช่เป็นของไปได้อย่างง่ายดายเหมือนเขาไปเที่ยวงานกัน แต่ต้องเป็นสิ่งฝืนใจมากที่ผู้นั้นจะต้องทุ่มเทกำลังทุกด้านลง เพื่อต่อสู้กู้ความดีทั้งหลาย ราวกับจะไม่มีชีวิตยังเหลืออยู่ในร่างต่อไป นั่นแล.. จึงจะเป็นทางพ้นภัยไร้กังวล ไม่ต้องกลับมาเกิดตายเสียดายป่าช้าอีกต่อไป
การจากไปของผมคราวนี้ มิได้เป็นการจากไปเพื่อความล่มจมงมทุกข์ใด ๆ แต่เป็นการจากไปเพื่อหายทุกข์กังวลในขันธ์ จากไปด้วยความหมดเยื่อใยในสิ่งที่เคยอาลัยอาวรณ์ทั้งหลาย และจากไปด้วยความหมดห่วง เหมือนนักโทษออกจากเรือนจำ ฉะนั้น ไม่มีความหึงหวงและน้อยเนื้อต่ำใจ เพราะความพรากไปแห่งขันธ์ที่โลกถือเป็นเรื่องกองทุกข์อันใหญ่หลวง และไม่มีสัตว์ตัวใดปรารถนาตายกันเลย ฉะนั้น จึงไม่ควรเสียใจอาลัยถึงผมอันเป็นเรื่องสั่งสมกิเลสและกองทุกข์ ไม่มีชิ้นดีเลย นักปราชญ์ไม่สรรเสริญ’
พอท่านแสดงธรรมแก่พระหนุ่มสององค์จบลง ก็บอกให้ถอยช้างสองเชือกออกไป ซึ่งยืนแนบสองข้างท่านด้วยอาการสงบนิ่งราวกับไม่มีลมหายใจ และอาลัยคำสั่งเสียท่านที่ให้โอวาทแก่พระหนุ่มสององค์ ขณะนั้น ช้างทั้งสามเชือกแสดงความรู้สึกเหมือนสัตว์มีชีวิตจริง ๆ ราวกับมิใช่นิมิตภาวนา
พอสั่งเสียเสร็จแล้ว ช้างสองเชือกของพระหนุ่มก็ค่อย ๆ ถอยออกมาหน้าถ้ำ หันหลังกลับออกไป แล้วหันหน้ากลับคืนมายังท่านอาจารย์ตามเดิมด้วยท่าทางอันสงบอย่างยิ่ง ส่วนช้างท่านก็เริ่มทำหน้าที่หมุนก้นเข้าไปในผนังถ้ำโดยลำดับ เฉพาะองค์ท่านนั่งอยู่บนคอช้างนั่นเอง ทั้งขณะให้โอวาท ทั้งขณะหมุนตัวเข้าในผนังถ้ำ พอช้างหมุนก้นเข้าไปได้ค่อนตัว จิตท่านเริ่มรู้สึกตัวถอนจากสมาธิขึ้นมาเรื่องเลยยุติลงเพียงนั้น
ลัก...ยิ้ม
19-07-2012, 09:39
เรื่องนั้นจึงเป็นสาเหตุให้ท่านพิจารณาความหมายต่อไป เพราะเป็นนิมิตที่แปลกประหลาดมาก ไม่เคยปรากฏในชีวิต ได้ความขึ้นเป็นสองนัย 'นัยหนึ่ง..ตอนท่านมรณภาพจะมีพระหนุ่มสององค์รู้ธรรมตามท่าน แต่ท่านมิได้ระบุว่าเป็นใครบ้าง ?
อีกนัยหนึ่ง สมถะกับวิปัสสนา เป็นธรรมมีอุปการะแก่พระขีณาสพแต่ต้นจนวาระสุดท้ายแห่งขันธ์ ต้องอาศัยสมถวิปัสสนาเป็นวิหารธรรม... เครื่องบรรเทาทุกข์ระหว่างขันธ์กับจิตที่อาศัยกันอยู่ จนกว่าระหว่างสมมุติคือขันธ์กับวิมุตติคือวิสุทธิจิตจะเลิกราจากกัน ที่โลกเรียกว่าตายนั่นแล สมถะกับวิปัสสนาจึงจะยุติในการทำหน้าที่ลงได้ และหายไปพร้อม ๆ กับสมมุติทั้งหลาย ไม่มีอะไรจะมาสมมุติกันว่าเป็นอะไรต่อไปอีก’
ท่านว่าน่าหวาดเสียวนั้น ท่านคิดตามความรู้สึกทั่ว ๆ ไป คือตอนช้างท่านกำลังหมุนกันเข้าไปในผนังถ้ำ ทั้งที่ท่านนั่งอยู่บนคอช้าง แต่ท่านว่า ท่านมิได้มีความสะทกสะท้านหวั่นไหวเพราะเหตุการณ์ที่กำลังเป็นไปอยู่นั้นเลย ปล่อยให้ช้างทำหน้าที่ไปจนกว่าจะถึงที่สุดของเหตุการณ์
ที่น่ายินดีเช่นกันคือ ตอนที่นิมิตแสดงภาพพระหนุ่มและช้างให้ปรากฏขึ้นในขณะนั้น บอกความหมายว่า จะมีพระหนุ่มรู้ธรรมตามท่านสององค์ในระยะที่มรณภาพ ไม่ก่อนหรือหลังท่านนานนัก ท่านว่าแปลกอยู่อีกตอนหนึ่งก็คือ ตอนท่านสั่งเสียและอบรมสั่งสอนพระหนุ่มไม่ให้ตกใจ และมีความอาลัยถึงท่าน ให้พากันกลับไปบำเพ็ญประโยชน์ส่วนตนให้เต็มภูมิก่อน และพูดถึงการจากไปของท่านเองราวกับจะไปในขณะนั้นจริง ๆ นี้ ท่านว่า นิมิตแสดงให้เห็นเป็นความแปลกในรูปเปรียบว่า เมื่อวาระนั้นมาถึงจริง ๆ พระหนุ่มสององค์จะรู้ธรรมในระยะนั้น...”
และในคราวหนึ่งช่วงอยู่เชียงใหม่ก่อนกลับภาคอีสาน หลวงปู่มั่นได้ทำนายพระหนุ่มองค์หนึ่งให้หลวงปู่เจี๊ยะฟังว่า
“มีพระหนุ่มอยู่องค์หนึ่ง เวลานี้กำลังเรียนหนังสืออยู่จะมาหาเรา พระองค์นี้จะทำประโยชน์ใหญ่ให้โลกให้วงศาสนาได้กว้างขวาง ลักษณะคล้าย ๆ ท่านเจี๊ยะ แต่ไม่ใช่ท่านเจี๊ยะ ตอนนี้อยู่เชียงใหม่ เขาอยากมาหาเรา แต่ยังไม่เข้ามาหาเรา องค์นี้ต่อไปจะสำคัญอยู่นะ เขายังไม่มาหาเรา แต่อีกไม่นานก็จะเข้ามา”
หลวงปู่เจี๊ยะเล่าถึงความรู้สึกภายหลังจากได้ฟังคำทำนายของหลวงปู่มั่นในครั้งนี้ด้วยว่า
“เมื่อท่านพูดอย่างนั้น เราก็จับจ้องรอดูอยู่ ไม่ว่าใครจะไปจะมาก็คอยสังเกตอยู่ตลอด เพราะคำพูดของท่านสำคัญนัก พูด ‘ยังไง’ ต้องเป็นอย่างนั้น เรื่องนี้เราจึงเก็บไว้แล้วคอยสังเกตตลอดมา เพราะผู้ที่จะมาสืบต่อท่านต้องเป็นผู้มีบุญใหญ่”
เหตุการณ์นี้ (ราวเดือนพฤษภาคม ๒๔๘๓) อยู่ในระยะเวลาเดียวกับที่องค์หลวงตาเพิ่งเดินทางไปถึงวัดเจดีย์หลวง แต่ในครั้งนั้นองค์หลวงตายังไม่เข้าไปหาหลวงปู่มั่น จึงยังไม่มีโอกาสได้สนทนากับหลวงปู่เจี๊ยะแต่อย่างใด
ลัก...ยิ้ม
20-07-2012, 10:09
สอบได้คะแนนเต็มร้อย
ในการศึกษาวิชาภาษาบาลีของท่านนั้น ถึงแม้การสอบครั้งแรกจะยังไม่ผ่าน ท่านก็ไม่ได้รู้สึกเสียใจแต่อย่างใด ท่านยอมรับตามนั้น เพราะทราบดีว่าภูมิความรู้ของตนในตอนนั้นยังไม่เต็มที่จริง ๆ
สำหรับการสอบในครั้งต่อ ๆ ไปนั้น ท่านมีความมั่นใจอย่างเต็มภูมิว่า แม้จะสอบหรือไม่สอบก็ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องความรู้ ทั้งนี้ก็ด้วยความสามารถที่ได้แสดงให้ครูสอนบาลีของท่านคือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) เห็นในระหว่างที่เรียนเพื่อจะสอบมหาเปรียญให้ได้ ในการสอบเป็นครั้งที่ ๓ ครูของท่านถึงกับออกปากว่า
“ท่านบัวนี้ได้แต่ก่อนสอบนะ ให้เป็นมหาเลยนะ ถ้าลงท่านบัวตก นักเรียนทั้งชั้นตกหมด”
ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้น คือท่านสอบได้เป็นมหาเปรียญ โดยได้คะแนนบาลีเต็มร้อยในเวลาต่อมา ท่านเล่าให้ลูกศิษย์ลูกหาฟังว่า
“การสอบได้ในครั้งนั้น ไม่มีอะไรดีใจเลย เพราะรู้สึกว่าความรู้ได้เต็มภูมิตั้งแต่การสอบครั้งที่ ๒ แล้ว แต่ในครั้งนั้นปรากฏว่าสอบตก เหมือนกับจะให้คอยการศึกษาทางนักธรรมเขยิบขึ้นมาตาม จนถึงปีที่สอบมหาได้ก็สำเร็จนักธรรมเอกพร้อมกันเลย ซึ่งน่าคิดว่าเหมือนมีสายเกี่ยวโยงกัน ทำให้การศึกษาทางโลกจบประถม ๓ ทางบาลีก็จบเปรียญ ๓ และทางนักธรรมก็จบนักธรรมเอกเป็น ๓ ตรงกันหมด ๓ วาระ...”
ด้วยผลการเรียนดี และเป็นที่ไว้วางใจของผู้ใหญ่ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์ ทำให้ผู้ใหญ่หวังจะให้ท่านเป็นครูสอนนักเรียนในโรงเรียน แต่ท่านก็ได้ปฏิเสธอย่างละมุนละม่อมดังนี้
“... เรียนออกมานักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก เปรียญไม่สอนใครทั้งนั้น เป็นครูสอนนักเรียนในโรงเรียนก็ไม่เอา ผู้ใหญ่ท่านจะให้เป็นครูสอน... ‘ไม่เอา ครูไม่อดไม่อยาก เอาองค์ไหนก็ได้’ เราว่าอย่างนั้นเสีย เราเลยหลีกได้ ถ้าหากว่า ครูไม่มีจริง ๆ เราจะหลีกอย่างนั้นมันก็ไม่งาม แต่นี้ครูก็มีอยู่ ผู้มีภูมินั้นมีอยู่ที่จะเป็นครู
เราก็ทิ้งให้องค์นั้น ๆ ไปเสีย เราก็ออกได้ เราจึงไม่เป็นครูใครเลย นักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก มหาเปรียญ ไม่เคยเป็นครูสอนใครทั้งนั้น...”
ช่วงเวลาที่เชียงใหม่ แม้ท่านจะมีเวลาไม่นานนัก แต่ท่านก็ใช้เวลาให้คุ้มค่าที่สุด คือพอมีว่างจากการเรียน ท่านจะใช้โอกาสนี้มุ่งเสาะหาสำนักกรรมฐานอยู่ตลอดเวลา ดังนี้
“ทางเชียงใหม่เราก็ไปมาก แต่จำไม่ได้ว่าไปที่ไหนต่อที่ไหนบ้าง ? ตอนเรียนหนังสืออยู่เชียงใหม่เราก็ซอกแซก เพราะนิสัยเรากับกรรมฐานนี้มันเป็นแต่ไหนแต่ไรมา เรียนก็เรียนเพื่อจะออกปฏิบัติอย่างเดียว เราไม่ได้เรียนเพื่ออื่น เรียนเพื่อปฏิบัติ เพราะฉะนั้น พอว่างเมื่อไร ‘ปั๊บ’ จึงเข้าหาสำนักกรรมฐาน วัดไหนอยู่แถวนั้น เราไปหมดนั่นแหละ ไปภาวนา พอถึงเวลาโรงเรียนจะเปิดเราก็มาเข้าโรงเรียนเสีย พอว่างเมื่อไรก็ ‘ปั๊บ’ เลย ไปแต่วัดกรรมฐาน เพราะฉะนั้น เชียงใหม่จึงไปหลายแห่งนะ ไปสำนักนั้นสำนักนี้ ส่วนมากก็มีแต่สำนักลูกศิษย์หลวงปู่มั่นทั้งนั้น”
ชีวิตการศึกษาด้านปริยัติของท่านเป็นอันสิ้นสุดลงที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ นับเป็นปีที่ท่านบวชได้ ๗ พรรษาพอดี โดยสอบได้ทั้งนักธรรมเอกและเปรียญ ๓ ประโยคในปีเดียวกัน
ลัก...ยิ้ม
23-07-2012, 09:26
ค้นคว้าพระไตรปิฎก
ขอเงินโยมแม่ซื้อหนังสือเรียน
ด้วยความมุ่งมั่นอย่างจริงจังที่จะออกปฏิบัติเมื่อจบมหาเปรียญ และจะยอมมอบกายถวายชีวิตต่อครูบาอาจารย์ผู้รู้จริงเช่นนี้เอง ทำให้การเรียนของท่านจึงมิใช่จะหาความรู้เพียงแค่วิชาในชั้นเรียนเท่านั้น แต่หากความรู้ใดจะเป็นประโยชน์ต่อการออกปฏิบัติกรรมฐาน ท่านจะพยายามศึกษาค้นคว้าตำรับตำราเพิ่มเติมเข้าไปอย่างเต็มที่ เฉพาะอย่างยิ่งจากพระไตรปิฎก สังเกตได้จากความตั้งใจของท่านที่ว่า
“...เราจะเรียนทุกสิ่งทุกอย่าง ที่พอจำได้เราจะจำ เราจะจดโน้ตคัดเอาไว้ ๆ มีสมุดเล็ก ๆ คัดเอาไว้ในนั้น ๆ อันนี้มาจากเล่มนั้น ๆ ชาดกเล่มนั้น ๆ หน้าที่เท่านั้น จดไว้ ๆ เวลาเราต้องการความพิสดาร เราก็ไปเปิดดูง่าย ๆ ที่เราจด
แต่ส่วนมากพอมองเห็นที่คัดไว้เท่านี้ มันก็เข้าใจไปหมดแล้ว เพราะอ่านมาหมดแล้วนี่ ก็ไม่จำเป็นต้องไปค้นดูพระไตรปิฎกละ เพราะฉะนั้น เวลาหนังสือผ่านมาที่ไหน ๆ ถึงรู้ทันที ๆ เพราะได้อ่านมาหมด มันอยู่ในข่ายของพระไตรปิฎกทั้งนั้นละ
ทีนี้พระไตรปิฎก เราก็ค้นเสียจนพอก่อนที่จะออกมาปฏิบัติ เวลาว่างจากเรียนหนังสือ ปิดโรงเรียนนั้นละ เป็นเวลาค้นหนังสือ เวลาเรียนหนังสือก็เรียนไปตามหลักวิชานั้นเสีย ครั้นเวลาหยุดเรียนหนังสือ ก็ค้นพระไตรปิฎก โน้ต ๆ เอาไว้ เพื่อให้เป็นประโยชน์ในเวลาจะออกปฏิบัติ เพราะตั้งใจจะออกปฏิบัติเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น...”
สมัยที่เรียนปริยัติอยู่นั้น แม้จะมีอุปสรรคบางประการ ที่ทำให้มีข้อเสียเปรียบเพื่อนที่เรียนหนังสือด้วยกันอยู่บ้าง แต่ด้วยความอุตสาหะวิริยะของท่าน ปัญหาดังกล่าวก็ไม่มีผลแต่อย่างใด ดังนี้
“...หัวสมองเรานี่เกี่ยวกับความจำ มันอยู่ในย่านกลางนะ ดีก็ไม่ใช่ ต่ำกว่านั้นก็ไม่ใช่ อยู่ในย่านกลางนี่แหละ เราจะเห็นได้จากพวกหมู่เพื่อนที่เขาเรียนหนังสือด้วยกัน ท่องสองหน สามหนเท่านั้น เขาจำได้แล้วนะ
เรานี่เอาจนแทบเป็นแทบตาย ก็ไม่ได้ผิดกันมากนะ ท่องสูตรเดียวกันนี่ เขาไปท่องมาชั่วโมงสองชั่วโมง เขาจำได้ แล้วสูตรหนึ่ง เราฟาดมันจนไม่ทราบกี่ชั่วโมง มันก็ไม่ได้นะ ผู้ที่หนากว่าเราก็ยังมีอีก นี่มันเทียบได้ เราจึงอยู่ในย่านนี้ ไม่ใช่ย่านนั้น คือย่านสูงกว่านั้น เราก็ไม่ได้...”
เพราะเหตุนี้ทำให้ท่านต้องขยันหมั่นเพียรอย่างหนัก แต่ก็ไม่ได้รู้สึกท้อถอยน้อยใจ กลับตั้งอกตั้งใจเรียนยิ่งขึ้นไปอีก ในช่วงที่เรียนหนังสืออยู่นั้น ท่านได้เขียนจดหมายมาขอเงินโยมแม่เพื่อซื้อหนังสือเรียน โดยโยมแม่จะมอบให้ครูชาลีเป็นคนส่งเงินถวายท่านตลอดมา การใช้จ่ายของท่านเป็นไปด้วยความประหยัด เพราะรู้สึกเห็นอกเห็นใจพ่อแม่ ท่านเล่าว่า
“เงินที่ขอพ่อแม่มานี้ เราเห็นเป็นคุณค่าอย่างยิ่ง นำไปซื้อหนังสือทุกบาททุกสตางค์ ใช้เฉพาะเรื่องส่วนตัว ไม่ขอท่านทีละมาก ๆ เราก็ประหยัดของเราเหมือนกัน คือเห็นอกพ่ออกแม่ ขอเท่าไรให้ไปทันที ๆ เรื่องเงินนี้เราจึงไม่จ่ายทางอื่นเลย
นี่พูดถึงเรื่องเรียนหนังสือ ขอเงินจากทางบ้านไปเรียน เพราะเราเรียนหลายสำนัก ออกจากสำนักนี้ไปสำนักนั้น ออกจากสำนักนั้นไปสำนักนั้น มันถึงได้รู้ได้เห็นทางด้านปริยัติทั่วถึง วัดใหญ่วัดน้อยวัดราษฎร์วัดหลวงไปหมดเลย ทีนี้เวลามันผ่านมาหมดแล้วก็พูดได้ตามที่รู้ที่เห็น
พอหยุดจากการศึกษาเล่าเรียนก็เลิกขอเงินเลย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ไม่เคยขอเงินแม่แม้สตางค์แดงเดียว”
ลัก...ยิ้ม
24-07-2012, 15:16
เรียน ๗ ปี จิตสงบอัศจรรย์ ๓ ครั้ง
ตลอดระยะเวลาแห่งการเรียนปริยัติของท่าน แม้จะต้องใช้เวลาในการเรียนอย่างหนักเพียงใด ท่านก็พยายามแอบปฏิบัติภาวนาอยู่เป็นประจำไม่ลดละ ซึ่งในช่วงแรก ๆ จิตใจก็ไม่สงบเท่าใดนัก แต่เมื่อทำอยู่หลายครั้งหลายหน จิตก็เริ่มสงบตัวลงไปโดยลำดับ ๆ จนเกิดความอัศจรรย์ ดังนี้
“...ตั้งใจพุทโธ ๆ ไปเรื่อย ๆ ตอนแรกมันไม่ได้เรื่องเพราะคนไม่เคย วันไหนไม่ได้เรื่องก็ช่างมัน เราได้ภาวนาได้บุญก็เอา หลายครั้งหลายหน สุ่มไปสุ่มมา เหมือนสุ่มหาปลานะ สุ่มหลายครั้งหลายหนก็ไปเจอเอาจนได้...
นี่แหละ ที่ได้เห็นความอัศจรรย์ของจิต ทำไปสะเปะสะปะไป นั่งภาวนาพุทโธ พุทโธ... สำรวมจิตตั้งสติไว้กับพุทโธ พุทโธ... มันไม่เคยเป็น ไม่เคยรู้เคยเห็น ไม่เคยคาดเคยฝันว่ามันจะเป็นอย่างนั้น พอพุทโธไป ๆ ปรากฏว่ามันเหมือนเราตากแหไว้นะ แล้วตีนแหก็หดเข้ามา หดเข้ามาพร้อม ๆ กัน
พอนึกพุทโธกับสติถี่ยิบเข้าไปเหมือนดึงจอมแห กระแสของจิตที่มันซ่านไปในที่ต่าง ๆ มันจะหดตัวเข้ามา เหมือนตีนแหหดตัวเข้ามา ลักษณะมันเป็นอย่างนั้น เราก็ยิ่งเกิดความสนใจก็เลยพุทโธถี่ยิบเข้ามา หดเข้ามา หดเข้ามา ถึงที่... ‘กึ๊ก’ เลย...ขาดสะบั้นไปหมดโลกนี้...
จิตนี้เป็นเหมือนเกาะอยู่ในท่ามกลางมหาสมุทร จิตที่รู้ ๆ เด่น ๆ อัศจรรย์นี้ นอกนั้นก็เป็นโลกสงสารเป็นมหาสมุทรไปหมด แต่เกาะนี้เป็นเกาะที่เด่นดวงอัศจรรย์สง่างาม อัศจรรย์ตื่นเต้น เราไม่เคยเห็น เลยตื่นเต้น เจ้าของเลยกระตุกตัวเอง ทีนี้จิตมันก็ถอนออกมา โอ๊ย...เสียดายจะเป็นจะตาย
วันหลังขยับใหญ่เลย ก็ไม่ได้เรื่อง แม้ขยับเท่าไหร่ก็ไม่ได้เรื่อง นั่นแหละ เลย.. เฮ้อ เอาละ.. ทำไปตามประสีประสาก็แล้วกัน ที่นี้มันก็ปล่อยอารมณ์ความยึดอดีตน่ะสิ พอทำไป ๆ ก็เลยเป็นอย่างนั้นอีก เลยขยับบ้าเข้าอีก ๆ เลยไม่ได้เรื่อง...
จิตที่ว่าอัศจรรย์อย่างนี้นะ วันนั้นทั้งวัน จิตไม่พรากไม่ห่างจากอัศจรรย์ที่ปรากฏในจิตนั้น มันกระหยิ่มอยู่อย่างนั้น เรียนหนังสือมันก็อยู่ด้วยกัน จิตไม่ส่งไปไหนเลย นี่แหละ เป็นหลักใหญ่ที่เป็นเครื่องยึดของใจเอามากอันหนึ่ง...”
ด้วยความตั้งใจเรียนที่หนักมากตามอุปนิสัยจริงจังของท่าน ประกอบกับการปฏิบัติจิตตภาวนา ต้องแอบเพื่อนพระนักศึกษาด้วยกัน ทำให้การปฏิบัติไม่ค่อยเต็มที่เท่าใดนัก ท่านเล่าถึงผลการภาวนาในช่วงที่เรียนหนังสืออยู่ตลอด ๗ ปีเต็มว่า
“เป็นเพียงสงบเล็ก ๆ น้อย ๆ ธรรมดา ๆ จิตสงบของมันอยู่ธรรมดา ... เรียนหนังสืออยู่ ๗ ปี จะมีก็เพียง ๓ หนเท่านั้นเป็นอย่างมากที่จิตลงถึงขนาดที่อัศจรรย์เต็มที่ คือลง ‘กึ๊ก’ เต็มที่แล้วอารมณ์อะไรขาดหมดในเวลานั้น เหลือแต่รู้อันเดียว กายก็หายเงียบเลย”
ท่านว่าผลการภาวนาเช่นนี้มันน่าอัศจรรย์มาก สิ่งนี้เองเป็นเครื่องฝังจิตฝังใจของท่าน ให้มีความสืบต่อที่จะออกปฏิบัติให้จงได้ และกล้าที่จะพูดเปิดเผยให้หมู่เพื่อนได้ฟังถึงความตั้งใจที่จะเรียนจบแค่เปรียญ ๓ ประโยคเท่านั้น
ลัก...ยิ้ม
25-07-2012, 09:37
นิมิต “เหาะรอบพระนครทองคำ”
เพื่อมุ่งหน้าออกปฏิบัติกรรมฐานตามคำสัตย์ที่ตั้งไว้ ท่านจึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ มาวัดบรมนิวาส เพื่อหาโอกาสเข้ากราบลาพระเถระผู้ใหญ่เจ้าคุณพระราชกวี (พิมพ์ ธมฺมธโร) อาจารย์ของท่าน แม้พระเถระผู้ใหญ่จะมีเมตตา หวังอนุเคราะห์ให้ท่านศึกษาปริยัติต่ออีก เพราะเห็นว่าในสมัยนั้นพระภิกษุที่มีความรู้ระดับมหาเปรียญมีน้อยมาก แต่ท่านเคยพิจารณาในเรื่องนี้แล้วว่า
“ความรู้ระดับมหา ๓ ประโยคนี้ ก็เพียงพอแล้วกับการจะออกปฏิบัติกรรมฐาน วิชาความรู้ขนาดเป็นมหาแล้วย่อมไม่จนตรอกจนมุมง่าย ๆ”
และอีกประการหนึ่ง ท่านยังคงระลึกถึงความสัตย์ที่เคยตั้งต่อตนแองไว้ว่า
“ฝ่ายบาลีขอให้จบเพียงเปรียญ ๓ ประโยคเท่านั้น ส่วนนักธรรมแม้จะไม่จบชั้นก็ไม่ถือเป็นปัญหา ... แล้วจะออกปฏิบัติโดยถ่ายเดียว จะไม่ยอมศึกษาและสอบประโยคต่อไปเป็นอันขาด”
ระหว่างที่รอหาโอกาสเข้ากราบลาพระเถระผู้ใหญ่ในวันต่อไป ค่ำคืนดึกสงัดที่วัดบรมนิวาส ในคืนนั้นท่านได้ตั้งใจไหว้พระสวดมนต์ และตั้งสัจอธิษฐานต่อหน้าพระรัตนตรัยอย่างแม่นมั่นว่า
“๑) ถ้าหากว่า ข้าพเจ้าออกไปปฏิบัติธุดงคกรรมฐานแล้ว จะได้สำเร็จตามความมุ่งหมายโดยสมบูรณ์ ขอให้จิตนี้แสดงนิมิตอย่างน่าอัศจรรย์ซึ่งไม่เคยรู้เคยเห็น ให้สมกับภูมิธรรมที่ข้าพเจ้ามุ่งหมายเถิด
...๒) ถ้าหากข้าพเจ้าออกไปปฏิบัตธุดงคกรรมฐานแล้ว ไม่สำเร็จตามความมุ่งหมายก็ขอให้จิตนี้แสดงนิมิต เป็นข้อเทียบเคียง ว่าออกไปแล้วก็เถลไถลไม่ได้เรื่องได้ราวอะไรให้ทราบเถิด
...๓) ถ้าหากข้าพเจ้าจะไม่ได้ประสบผลทั้ง ๒ อย่าง คือไม่ได้ออกปฏิบัติธุดงคกรรมฐานด้วย หรือออกไปปฏิบัติธุดงคกรรมฐานแล้วไม่ได้เรื่องได้ราวอะไรด้วย ขอให้จิตนี้แสดงนิมิตให้ทราบด้วยเถิด
ด้วยอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย ขอให้นิมิตแสดงใน ๓ วาระนี้ จะพึงแสดงให้รู้โดยทางนิมิตภาวนาหรือจะพึงแสดงให้รู้โดยทางสุบินนิมิตก็ได้”
ภายหลังไหว้พระสวดมนต์และตั้งสัจอธิษฐานต่อหน้าพระรัตนตรัยแล้ว ท่านจึงเข้าที่เจริญสมาธิภาวนาและเข้าพักอิริยาบถจำวัด เวลาประมาณ ๖ ทุ่มได้เกิดสุบินนิมิตอย่างอัศจรรย์ว่า
“...เราเหาะปลิวขึ้นไปในอากาศอย่างสะดวกสบาย เหาะเหินวนเวียนรอบพระนครหลวง อันเป็นพระนครอัศจรรย์ดั่งเมืองสวรรค์ชั้นฟ้า มองไกลโพ้นสุดสายตา กว้างขวางสุดประมาณราวกะว่า เมืองไทยเราทั้งเมืองเป็นเมืองหลวงโดยสิ้นเชิง ตึกรามบ้านช่องเป็นประดุจหอปราสาทราชมณเฑียร
มิใช่เป็นบ้านเป็นเรือนของผู้คนธรรมดา มีความสง่าผ่าเผย ประดับด้วยแสงสีทองอร่ามแวววาวพร่างพราวระยิบระยับ เป็นประหนึ่งว่าลูกนัยน์ตาของชนผู้ที่มองเห็น จะถึงซึ่งอาการถลนแตกออกเป็นเสี่ยง ๆ เพราะแสงสว่างแพรวพราวเจิดจรัสของสีแสงแห่งเมืองนั้น
ยิ่งเพ่งมองเข้าไปเท่าใด ยิ่งเหมือนกับว่าเป็นเมืองแห่งทองคำทั้งแท่ง ตึกรามบ้านช่องเป็นประดุจทองคำธรรมชาติ ส่องทอลำแสงกระจายกราดกล้า เราได้เหาะวนถึง ๓ รอบแล้วก็ลง”
นิมิตนั้นยังติดตาตรึงใจท่านเสมอมา ไม่มีวันลืมเลือน และทำให้แน่ใจแล้ว ว่าในคราวนี้อย่างไรต้องได้ออกปฏิบัติกรรมฐานอย่างแน่นอน และแน่ใจว่าจะต้องประสบผลสำเร็จ
พอตื่นเช้ามาเข้าไปกราบลาเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) เผอิญในระยะนั้น เจ้าคุณพระราชกวี (พิมพ์ ธมฺมธโร) พระเถระอาจารย์ของท่านรับนิมนต์ไปต่างจังหวัด ท่านจึงถือโอกาสนั้นเข้ากราบนมัสการลาสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสในขณะนั้น
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ยินดีอนุญาตให้ไปได้ ท่านเล่าถึงเหตุการณ์ในตอนนั้นว่า
“บุญกรรมก็ช่วยด้วยนะ ผู้ใหญ่ท่านไม่อยากให้ออก ท่านห้ามไว้เลยเทียว ... ยังไม่ให้ออก ... ให้เรียนจบได้เปรียญ ๖ ประโยคเสียก่อนจึงค่อยออก แต่เรา ‘ยังไง’ ก็ไม่อยู่ แต่จะหาออกด้วยมารยาทอันดีงามเท่านั้นเอง สบโอกาสเมื่อไรแล้วเราจะออก พอดีท่านไปต่างจังหวัดละซิ นั่นละโอกาสมันก็เหมาะ พอท่านไปต่างจังหวัด ‘พับ’ เราก็ ‘ปั๊บ’ ออกเลย”
ลัก...ยิ้ม
26-07-2012, 10:40
ภาษิตจำสอนใจสมัยเรียน
สมัยเรียนมีภาษิตคำกลอนสอนใจที่แสดงไว้ในที่ต่าง ๆ องค์หลวงตาเห็นว่าภาษิตคำกลอนอันไหนดี ก็พยายามท่องจำจนขึ้นใจไม่เคยลืม ดังเช่นภาษิตคำกลอน ๓ บทนี้
๑. ใบลานมักบังพระธรรม
ทองคำมักบังพระพุทธ
สงฆ์สมมุติมักบังอริยสงฆ์ฯ
๒. อันโคควายเลี้ยงไว้ใช้งานไถ
เมื่อตายไปเนื้อและหนังยังให้ผล
วิสัยพาล พาลเพียร เบียดเบียนคน
ประพฤติตนเลวร้ายยิ่งกว่าควายฯ
๓. วัดจะดีไม่ใช่ดีเพราะโบสถ์สวย
หรือร่ำรวยด้วยทรัพย์อสงไขย
แต่วัดดีเพราะพระเณรเก่งเคร่งวินัย
ยึดหลักชัยอรหันต์เป็นสันดานฯ
ลัก...ยิ้ม
27-07-2012, 10:24
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน)
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มีนามเดิมว่า อ้วน แสนทวีสุข มีบิดาเป็นกรมการเมือง ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๐๐ ณ บ้านแคน ตำบลดอนมดแดง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
บรรพชาและอุปสมบท เมื่ออายุ ๑๙ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสว่าง อำเภอวารินชำราบ ต่อมาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดศรีทอง มีท่านเทวธมฺมี เป็นอุปัชฌาย์ ท่านโชติปาโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์
การศึกษาพระปริยัติธรรม ตำแหน่งและสมณศักดิ์ หลังจากพระอุปัชฌาย์ท่านได้มรณภาพแล้ว สมเด็จฯ ได้เข้าไปศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมกับเจ้าคุณอาจารย์ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ที่กรุงเทพมหานคร เมื่อครั้งเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ยังเป็นพระครูวิจิตรธรรมภาณี ณ วัดพิชยญาติการาม สำนักพระศาสนโศภณ เป็นเจ้าอาวาส
พ.ศ. ๒๔๓๙ ย้ายมาเรียนต่อที่วัดเทพศิรินทราวาสกับท่านอาจารย์อื่นอีก และสอบได้เปรียญตรี
พ.ศ. ๒๔๔๒ สอบปริยัติธรรมได้เปรียญโท
พ.ศ. ๒๔๔๒ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าคณะมณฑลอีสาน
พ.ศ. ๒๔๔๗ ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลอีสาน ต่อมารัชกาลที่ ๖ ได้แยกมณฑลอีสานเป็น ๒ มณฑล คือ มณฑลร้อยเอ็ด ท่านก็ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะว่าการทั้งสองมณฑล
พ.ศ. ๒๔๖๖ ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลอุดรอีกตำแหน่งหนึ่ง ต้นรัชกาลที่ ๗ ทางราชการได้รวมมณฑลอุบล ร้อยเอ็ดและนครราชสีมา เป็นมณฑลนครราชสีมา ท่านก็ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา
พ.ศ. ๒๔๘๕ ดำรงตำแหน่งสังฆนายกองค์แรกแห่งประเทศไทย ตามประกาศลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๔๘๕
สมเด็จฯ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ตามลำดับ ดังนี้
พ.ศ. ๒๔๔๗ พระราชาคณะที่ พระศาสนดิลก
พ.ศ. ๒๔๕๔ ทรงได้รับสมณศักดิ์เสมอชั้นราชในนามเดิม
พ.ศ. ๒๔๕๕ พระราชมุนี
พ.ศ. ๒๔๖๔ พระเทพมุนี
พ.ศ. ๒๔๖๘ ชั้นเทพพิเศษที่พระโพธิวงศาจารย์
พ.ศ. ๒๔๗๒ พระธรรมปาโมกข์
พ.ศ. ๒๔๗๕ ชั้นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระพรหมมุนี
พ.ศ. ๒๔๘๒ สมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์
การมรณภาพของสมเด็จฯ ท่านได้มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๔๙๙ ณ วัดบรมนิวาส ด้วยโรคชรา สิริอายุได้ ๘๙ ปี
ลัก...ยิ้ม
30-07-2012, 09:57
วิชาป้องกันตัว
“...สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) วัดบรมนิวาส.. ท่านเล่าให้ฟังขบขันจะตาย เราอดหัวเราะไม่ได้ หัวเราะต่อหน้าท่านก็ไม่ได้จะ 'ทำไง’ ท่านไปต่างจังหวัด ท่านพูดมียิ้ม ๆ เท่านั้น แต่พวกเรามันจะตาย อดหัวเราะไม่ได้ คนอื่นจะตายกันทั้งประเทศ
สมเด็จฯ ท่านก็เล่าให้ฟัง เราอยู่ใกล้ ๆ ก็อดหัวเราะไม่ได้ ท่านออกไปบิณฑบาต ออกไปชนบท ที่นี้หมาพอเห็นพระออกไปบิณฑบาต มันก็วิ่งมารุมเลย มันจะกัดองค์ที่อยู่ข้างหลัง มันวิ่งดักหน้าดักหลังอยู่อย่างนั้น พระก็หลบไปอาศัยอยู่หลังท่าน แล้วท่านก็พูดแบบขึงขังว่า
‘พวกนี้ไม่มีวิชาป้องกันตัว ประสาหมาก็ยังกลัว ข้าไม่กลัว ข้ามีวิชาป้องกันตัว’
ท่านว่าอย่างนั้น ว่าแล้วท่านก็ขึ้นมาที่นี่ ท่านสัก “ดอกผักแว่น” ลายดำ ๆ ดอกผักแว่น ท่านสักไว้ที่แข้ง ท่านมีวิชาป้องกันตัว ท่านว่า นี่.. วิชาของข้า ท่านก็ชี้ไปที่ดอกผักแว่น ดำ ๆ ตรงนั้น นี่มันก็แปลกจริง ๆ นะ พวกหมานี่เป็นหมาเทวดา
วันรุ่งขึ้นก็ไปบิณฑบาตใหม่ ไปตรงที่บ้านเก่านั้นแหละ หมามันก็วิ่งมาซิทีนี้ คราวนี้มันไม่ไล่กัดองค์ไหน มันมากัดองค์ที่มีวิชาป้องกันตัวนี่ละ ก็องค์สมเด็จฯ นี่แหละ ที่มีวิชาป้องกันตัวเต็มตัว 'ว่างั้น’ เถอะ หมามันปรี่เข้ามาซัดเอาตรงดอกผักแว่นนั้นเลยนะ กัดตรงวิชาป้องกันตัว .. เลือดสาดเลยนะ
ท่านเล่ายังหัวเราะ ไอ้เรามันจะตาย กลั้นหัวเราะอยู่อย่างนั้น
สมเด็จฯ ท่านว่า ‘ที่พูดมานี่เป็นการเตือนนะ พวกที่ชอบอวด พูดไม่ได้นะ ว่าข้ามีของดี ข้าไม่ได้อวดนะ ข้าเป็นคนเฉย ๆ ข้าไม่ได้ตั้งใจอวด ถึงขนาดนั้นหมามันยังฟาดเสียวิชาข้าแหลกหมดเลย’
ท่านว่าอย่างนั้นแล้วมันก็กัดตรงตรงนั้นเลยนะ ตรงวิชาดอกผักแว่นนะ มันก็แปลกอยู่ ท่านพูดท่านเฉยเลยนะ เราเองยังไม่ลืมเลย อดหัวเราะจะตาย ตอนอยู่ต่อหน้าท่าน หัวเราะไม่ได้ 'ว่างั้น’ ส่วนพวกอยู่ข้างหลังมันหัวเราะกันจะตาย ท่านสมเด็จฯ ท่านพูดขบขันดีจริง ๆ ท่านพูดไม่ค่อยหัวเราะหรอก มีแต่ยิ้ม ๆ เท่านั้น แต่คนฟังมันจะตาย เราเองยังอดหัวเราะไม่ได้ นี่คือพูดถึงสมเด็จพระมหาวีรวงศ์...”
ลัก...ยิ้ม
31-07-2012, 09:38
๔. ออกธุดงคกรรมฐานตามคำสัตย์
เมื่อองค์หลวงตาเรียนจบเปรียญ ๓ ตามที่ได้ตั้งใจไว้แล้ว ก็มุ่งหน้าออกหาสถานที่อันสงบสงัด เพื่อเร่งบำเพ็ญจิตตภาวนา เช่น พระอรหันตสาวกในสมัยพุทธกาล
พรรษาที่ ๘
(พ.ศ. ๒๔๘๔) จำพรรษาที่วัดป่าจักราช อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา
......................................................................
เวทีแรก...มารรบกวนจิตใจ
เมื่อภาระการเรียนเสร็จสิ้นลงและถึงคราวออกปฏิบัติเต็มตัว องค์หลวงตาจึงออกเดินทางมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมา โดยพกหนังสือปาฏิโมกข์เพียงเล่มเดียวติดย่ามไปเท่านั้น ตอนแรกท่านเจ้าคุณราชกวี (พิมพ์ ธมฺมธโร ต่อมาเป็นสมเด็จพระมหาวีรวงศ์) ท่านได้เขียนจดหมายมาบอกว่า
“ให้มหาบัวกลับไปกรุงเทพฯ”
โดยสั่งไว้ด้วยว่า วันนั้นวันนี้จะมารับ แต่ท่านก็ไม่กลับตามคำสัตย์ที่ตั้งไว้ และได้เข้าจำพรรษาที่วัดป่าจักราช ในอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา นับปีบวชได้ ๘ พรรษาพอดี ท่านว่าพอเริ่มปฏิบัติอย่างจริงจังขึ้น กลับเหมือนมีมารมาคอยก่อกวน สิ่งที่ไม่เคยรู้สึก ไม่เคยเป็นสมัยเรียนหนังสือ กลับปรากฏขึ้นเป็นความรุ่มร้อนฝังลึกอยู่ในใจ ท่านเล่าถึงความรู้สึกตอนนี้ว่า
“...แปลกจริง เวลาเราเอาจริงเอาจังตั้งแต่อยู่เรียนหนังสือ.. จิตก็ไม่เห็นเป็น เวลาออกปฏิบัติตอนจะเอาจริงเอาจัง มันจะมีมารหรือ 'ยังไง’ นะ ได้ยินเสียงผู้หญิงก็ไม่ได้นะ ทำไมเรื่องของราคะมันแย็บทันทีเลย จนเรางงเหมือนกัน
‘เอ้า’ เราก็ตั้งใจมาปฏิบัติธรรมไม่เคยสนใจกับผู้หญิงเลย ทำไมเพียงได้ยินเสียงผู้หญิงเท่านั้นมันก็แย็บ แต่มันแย็บอยู่ภายในจิตต่างหากนะ มันแย็บ ๆ ๆ ของมัน เอ๊ะ..ชอบกล ‘ว่ะ’ ทำไมมันเป็นอย่างนี้...”
ท่านก็ตั้งใจอย่างเต็มที่ที่จะไปหาภาวนาอยู่ในป่าเพื่อฆ่ากิเลส แต่กลับโดนเข้าแต่เรื่องทุกข์ร้อนจากอารมณ์ที่คอยกวนจิตใจ สงครามการต่อสู้ในระยะนั้นท่านเล่าว่า
“... ไปหาภาวนาอยู่ในป่า ทั้ง ๆ ที่จะฆ่ามันอยู่นี่นะ มันเห็นสาวมันก็ยังขยับอยู่นะ โถ.. 'ยังงี้’ ซิ มันเป็นของร้อนนี้นะ ตัวนี้มันไม่ให้ภาวนากับเรานี่นะ มันจะหาแต่เรื่องของมันอยู่นั่นละ
หือ.. ไปภาวนาอยู่ในป่า เราก็บอกตรง ๆ อยู่นี่นะ พอไปเห็นสาวสวย ๆ สวยในหัวใจมันเองนะ เขาจะสวยไม่สวยก็ตาม มันหาว่าสวย สาวคนนี้สวย ‘ว่ะ’ แต่มันสำคัญที่เราปฏิบัติอยู่แล้วนะ มันขยับมานั้น ตีกัน ‘พัวะ’ เลยเชียว
ไม่ได้นะ ทีนี้ภาวนาไม่ได้แล้วซิ มันจะเป็นเหตุแล้ว หนีเลย หนีเลยนะ แต่ส่วนมากชนะเพราะมันตั้งท่าจะฆ่ากันอยู่แล้ว แล้วมันยังมาตั้งหมัดตั้งมวยต่อหน้าต่อตา นี่มันจะไม่ให้โมโห 'ได้ไง’
นี่เรื่องกิเลส มันมีมากน้อยเพียงไร มันจะแสดงอยู่ภายในใจ มันเป็นข้าศึกของใจ มันเป็นอย่างนี้ เป็นตลอดมา เก่ง...มีมากมีน้อย มันจะเป็นของมันอยู่ในจิตนะ... เพราะเราจะฆ่ามันอยู่กับจิต...”
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ต่อมาท่านได้พิจารณาย้อนหลังเทียบกับสมัยที่ยังเรียนหนังสืออยู่ กิเลส ราคะ ตัณหา ก็ไม่เห็นเป็นพิษเป็นภัยอะไรมากมาย คงสงบตัวอยู่เงียบ ๆ ครั้นพอออกปฏิบัติตั้งใจจะฆ่ากิเลสโดยตรง กลับดูเหมือนว่ามันกำเริบเสิบสานมากยิ่งขึ้น ท่านอธิบายเหตุผลที่เป็นเช่นนี้ว่า
“... เวลามาพิจารณาทีหลัง ไม่ใช่อะไรนะ คือเรามีสติสตังบ้าง เวลาแย็บออกไปมันเลยรู้ รู้ได้ง่าย... ไม่ใช่เราเป็นอย่างนั้น มันกลับขึ้นมาก็ไม่ใช่ เวลาผ่านไปถึงได้รู้
อ๋อ.. แต่ก่อนจิตของเรามันมืดมันดำ มันไม่รู้เรื่องรู้ราวเหมือนหลังหมีนี่ แล้วมันจะไปทราบสีขาวสีด่างสีอะไร มันเป็นหลังหมีเสียหมด
ทีนี้พอเราผ่านไปแล้ว ค่อย ๆ รู้ เวลาจิตละเอียดเข้ามันรู้ได้เร็ว เป็นเหมือนกับว่า มันแสดงกิเลสขึ้นอย่างรวดเร็ว แย็บเท่านั้นละ พอให้รู้เลย จากนั้นจึงได้เร่งกันใหญ่...”
ลัก...ยิ้ม
01-08-2012, 09:25
มาร ๕
“ขันธมาร รูปขันธ์ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไปเรื่อยรวมไปหมดขันธมาร
อภิสังขารมาร มารในจิต คือความคิด ความปรุง สังขารเป็นมารอันหนึ่งของเรา เราจะทำอะไร ๆ นี้ เราต้องคิดเสียก่อน แล้วกิเลสมาคิดก่อน สมมุติว่า เราคิดว่าจะไปเดินจงกรม กิเลสคิด ‘ปั๊บ’ ขึ้นมาว่า พักสักเดี๋ยวเสียก่อน..เข้าใจไหม ...
เทวบุตรมาร เทวบุตรมารก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง ยกไว้เป็นธรรมาธิษฐาน บุคคลาธิษฐานสิ ถ้าบุคคลาธิษฐานก็เทวบุตรมารฝ่ายดี ที่มีส่วนเป็นภัยบ้างในฝ่ายดี ดูอย่างพระพุทธเจ้านะ มีมารแทรกอยู่ได้ นี้ฝ่ายเทวบุตรมาร...
กิเลสมาร เป็นตัวสำคัญมากยิ่งกว่าขันธมาร... สิ่งที่เข้ามาเคลือบแฝงกับจิตจนกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวนั้น คืออะไร ท่านให้ชื่อว่ากิเลส ตามหลักธรรมให้ชื่อว่ากิเลส ท่านแปลว่าความเศร้าหมอง ... มันหากมีแง่ มีเล่ห์มีเหลี่ยม หลายสันพันคมที่จะหลอกเราให้เชื่อตามมัน .. จากเศร้าหมองก็มืดตื้อ ผลของมันก็คือความทุกข์ตั้งแต่น้อยไปถึงความทุกข์ใหญ่ เรียกว่ามหันตทุกข์ เกิดขึ้นเพราะอำนาจของกิเลสนี้ทั้งนั้น ... ถ้าจะทำความดีแล้วไม่ว่าเล็กว่าใหญ่ จะต้องถูกกีดขวางจากมาร ซึ่งแฝงอยู่ภายในจิตดวงเดียวกันนั้นแลโดยไม่ละเว้น .. เรียกว่ามาร กิเลสมาร ... การที่จะแก้ไขถอดถอน หรือกำจัดซักฟอก สิ่งที่แทรกซึมจนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับใจนี้ให้ออกได้โดยลำดับนั้น จึงต้องใช้ความพยายามเต็มที่ จะหนักเบาเพียงไรก็ตาม ...
มัจจุมาร คือความตาย ความตายทำลายทุกสิ่งในชีวิต บางทีกำลังก้าวหน้าในชีวิตทั้งทางโลกและทางธรรม ก็มาด่วนตายเสียก่อน ความตายจึงตัดโอกาสดี ๆ ในชีวิต...”
ลัก...ยิ้ม
03-08-2012, 11:14
ยอมมอบกายถวายชีวิตต่อ “ธรรม”
ที่อำเภอจักราชแห่งนี้ ท่านได้พยายามเร่งทำความเพียรทั้งวันทั้งคืนตั้งแต่มาถึงทีแรกจนตลอดพรรษา โดยไม่ยอมทำงานอะไรทั้งนั้น นอกจากงานสมาธิภาวนาเดินจงกรมอย่างเดียว เพราะได้ตั้งใจแล้วว่า
“...คราวนี้จะเอาให้เต็มเม็ดเต็มหน่วย เต็มเหตุเต็มผล เอาเป็นเอาตายเข้าว่าเลย อย่างอื่นไม่หวังทั้งหมด หวังความพ้นทุกข์อย่างเดียวเท่านั้น จะให้พ้นทุกข์ในชาตินี้แน่นอน
ขอแต่ท่านผู้หนึ่งผู้ใดได้ชี้แจงให้เราทราบเรื่องมรรคผลนิพพานว่ามีอยู่จริงเท่านั้น เราจะยอมมอบกายถวายชีวิตต่อท่านผู้นั้น และมอบกายถวายชีวิตต่ออรรถต่อธรรม ด้วยข้อปฏิบัติอย่างไม่ให้อะไรเหลือหลอเลย
ตายก็ตายไปกับข้อปฏิบัติ ไม่ได้ตายด้วยความถอยหลัง จิตปักลงเหมือนหินหัก...”
เหตุนี้เอง หลังจากนั้นไม่นาน ท่านว่าจิตก็ได้รับความสงบ ปรากฏว่าได้ผลดีตลอดพรรษา อย่างไรก็ตามด้วยความเมตตาสงสารของพระเถระผู้ใหญ่ อยากให้ท่านกลับกรุงเทพฯ เพื่อเรียนต่อในชั้นสูงขึ้นอีก
ทีแรกพระเถระท่านก็ฝากผ้าห่มผืนใหญ่พร้อมแนบจดหมายมาถึงโคราช ข้อความในจดหมายมีเพียง ๒-๓ ประโยคมีใจความว่า
“ให้มหาบัวกลับกรุงเทพฯ โดยด่วน ให้กลับกรุงเทพฯ โดยด่วน”
ท่านรู้สึกซาบซึ้งในความเมตตาของพระเถระที่มีต่อท่านเป็นอย่างสูง แต่เพราะได้ตัดสินใจแน่วแน่แล้ว จึงมิได้ตอบจดหมายกลับไปแต่อย่างใด และอยู่จำพรรษาที่นี่ตลอดพรรษา ครั้นพอออกพรรษาแล้ว ท่านจึงมารับกลับคืนและบังคับให้ขึ้นรถไฟไปพร้อมกับท่านด้วย ท่านเล่าถึงเหตุการณ์ตอนนั้นว่า
“...ทีนี้พอออกพรรษาแล้ว ท่านก็มา.. ท่านเขียนจดหมายมาบอก วันนั้น ๆ เราจะผ่านไปโคราช บอกขบวนรถมันก็มีขบวนเดียว ออกตอนเช้าถึงอุบลฯ ให้เราไปรอดักอยู่สถานี ท่านจะเอากลับกรุงเทพฯ ให้เราไปรออยู่สถานี พอไปถึงก็ว่า
‘มหาบัวต้องกลับกรุงเทพฯ’ จี้เลยนะ มีแต่ ‘ต้องกลับกรุงเทพฯ’ รถไฟมันจอดนาทีเดียวนี่นะ รถไฟก็ช่วยเราด้วย ๆ พูดกันยังไม่สักกี่คำ
‘มหาบัวต้องกลับกรุงเทพฯ โดยด่วนนะ... ต้องกลับกรุงเทพฯ’
สักเดี๋ยวรถก็เคลื่อน เราก็โดดลงรถไฟไป .. รอดตัว แปลกอยู่นะ อะไร ๆ ก็ดีรู้สึกว่ามันพร้อม ๆ นะ อุปสรรคไม่ค่อยมี ว่าจะออกทางนี้นะ รู้สึกว่าคล่องตัว ๆ
อย่างผู้ใหญ่ท่านห้ามอย่างเข้มงวดกวดขัน อย่างนี้ก็เหมือนกัน รอดไปได้ แม้แต่ขึ้นไปสถานีรถไฟ รถไฟยังช่วย สักเดี๋ยวรถไฟเคลื่อนที่ ‘ปึ๋งปั๋ง’ ก็โดดลงรถไฟได้เท่านั้น ท่านก็ไม่ทราบจะว่า ‘ยังไง’ ไม่ได้รับคำตอบจากเรา เลยตามขู่อยู่เรื่อยนะ
ท่านสงสาร ท่านเมตตามากนะกับเรา มอบให้เราหมดแหละ ในคณะนั้น ๆ เป็นคณะใหญ่ เพราะท่านเป็นเจ้าคุณนี่ ให้เราเป็นผู้ดูแลคณะ เพราะฉะนั้น ท่านถึงได้เข้มงวดกวดขันในการไปการมาของเรา ท่านไม่ให้ไปไหนเหมือนว่าผูกมัดในตัว...
เราเคารพผู้ใหญ่เราก็เคารพ แต่เราเคารพความสัตย์นี้สุดหัวใจเรา.. ยิ่งกว่าผู้ใหญ่ เราจึงหาทางออกจนได้...”
ลัก...ยิ้ม
04-08-2012, 11:54
ได้พบกัลยาณมิตร
ขณะที่พักจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าจักราช จังหวัดนครราชสีมา ท่านมีความประทับใจในธรรมของเพื่อนพระรูปหนึ่ง ดังนี้
“... ท่านชื่อว่า “ชำนาญ” เป็นเพื่อนกัน เกิดปีเดียวกัน อายุเท่ากันกับเรา ตั้งใจออกปฏิบัติ ท่านเก่งอยู่นะ เจตนาท่านเป็นธรรมมาก ท่านพูดเป็นธรรมน่าฟัง เราไม่ลืมจนกระทั่งบัดนี้
ท่านว่า ‘บิณฑบาตได้อาหารมานี้ ที่จะจัดใส่บาตร.. อันไหนดีเจ้าของไม่เอา อันไหนดีต้องเอาไปแจกคนอื่น ๆ เจ้าของแล้วแต่บุญแต่กรรม เพื่อนฝูงจะให้อะไรก็เอา บาตรเจ้าของไม่มอง’
ท่านเป็นธรรม เราฝังใจลึกไม่ลืม... ออกปฏิบัติทีแรกท่านภาวนาดีนะ ไปจำพรรษาที่อำเภอจักราช เราก็ออกจากกรุงเทพฯ มาจำพรรษา ท่านความเพียรดี จากนั้นมาท่านคิดอะไรก็ไม่รู้นะ ท่านก็ตั้งใจภาวนาดีอยู่ เวลาจะจากกันไป ท่านบอกว่าคิดว่าจะกลับไปเรียนเสียก่อน
‘เรียนหาอะไร ผมก็เรียนมาแล้วจนเป็นมหาจึงออกปฏิบัติ ท่านไปเรียนหาอะไร’ เราว่าท่านอย่างนี้
‘ก็อยากเรียนให้มันรู้ทั้งปริยัติรู้ทั้งปฏิบัติ อันนี้ท่านก็รู้ปริยัติมาแล้ว ทางปฏิบัติกำลังปฏิบัติอยู่นี้มันก็พูดได้ละซิ คนหนึ่งยังไม่เรียนยังไม่ได้ปล่อย’
แล้วท่านก็กลับไปเรียนจริง ๆ นะ พอท่านได้ “เป็นมหา” ก็กลับเข้าป่าทันที
ท่านเป็นธรรมนะ ตอนนี้ท่านเสียแล้ว ท่านองค์นี้ออกปฏิบัติคราวนี้เอาจนกระทั่งอัฐิกลายเป็นพระธาตุ ท่านจริงจังมาก ท่านกับเราสนิทกันมากจริง ๆ...”
ลัก...ยิ้ม
06-08-2012, 10:14
ให้ร่มเป็นทาน
ระยะที่ท่านพักอยู่ที่วัดป่าจักราชนี้ วันหนึ่งเป็นวันที่ฝนตกฟ้าคะนอง ท่านจึงต้องหลบฝนอยู่ที่กุฏิ สายฝนที่ตกจากท้องฟ้าทำให้ท่านหวนระลึกถึงร่มคันหนึ่งซึ่งเคยได้มาจากจังหวัดเชียงใหม่ เป็นร่มที่มีราคาแพงและสวยงาม
ขณะที่ท่านกำลังพินิจชมร่มอยู่นั้น มีชาวศรีสะเกษสองสามีภรรยาแต่ไปทำงานอยู่ทางภาคกลาง ได้เดินโซซัดโซเซด้วยพิษไข้เข้ามาหาท่าน หวังจะขอยาแก้ไข้ เพราะเงินติดกระเป๋าแม้สตางค์หนึ่งก็ไม่มีเลย เหตุการณ์ตอนนี้ ท่านเล่าว่า
“...เราได้ร่มเชียงใหม่มาคันหนึ่ง โอ๊ย.. สวยงามมากนะ ร่มคันนั้นแต่ก่อนมัน ถ้าราคาถึงสิบสลึง สามบาทเรียกว่า แพงที่สุด ร่มเชียงใหม่ทำนี้เป็นร่มที่ดีที่สุด ได้ร่มมาคันหนึ่ง เราก็เอามาชมของเรา ถ้าภาษาอีสานเรียกว่า มาแยงเบิ่งมันสวย พอดีสองสามีภรรยามา ผัวไข้สั่นงอก ๆ แงก ๆ มา ไม่มีร่มกั้น
มาขอยา ยาก็ไม่มี สั่นงอก ๆ แงก ๆ อยู่ ‘งั้นแหละ' พอดีเราก็มีร่มคันหนึ่ง ‘จะไปทางไหนละนี่ ทั้งไปทั้งสั่นอยู่นี้ ทั้งฝนก็ตกฟ้าก็ลงอยู่นี้ จะไปได้ ‘ยังไง’..’
'โอ๊ย ก็ไป ‘ยังงั้น’ แหละ... จะกลับบ้านศรีสะเกษ โยมผู้ชายเป็นไข้ ตะเกียกตะกายมานี้ เวลาฝนตกฟ้าลงไม่มีร่มกั้น หนาวตัวสั่นตลอดมาก็เลยเป็นการเพิ่มไข้เข้าไปอีก’
เราก็เลยว่า ‘เอาซะ ร่มคันนี้ สวยงามมาก แน่นหนามั่นคงมาก เราให้’
เขาไม่ยอมรับ เพราะเห็นว่ามันเป็นของใหม่ของดีก็เลยว่า ‘โอ๊ย... แล้วญาคู (คำเรียกพระทางอีสาน) จะใช้ไหนละ’
เราบอกว่า ‘ให้ด้วยความพอใจ ขอให้รับไปด้วยความพอใจเพื่อไปบรรเทาทุกข์นะ’ เขามองดูหน้าเราเลิ่กลั่ก แล้วก็มองดูร่ม เราก็ว่า ‘เอ้า เอาไป’
เขาจะไม่เอา เขาไม่เห็นแก่ได้อย่างเดียว เขายังเห็นแก่เราอีก
นี่ละธรรมต่อธรรมเข้าถึงกัน เขาไม่ใช่เป็นคนขี้โลภ ทั้ง ๆ ที่เขามาขอนะ แต่เวลาเราให้ของดี ๆ เขาไม่อยากรับ เราก็ต้องบังคับให้เขาเอาไป เขามองหน้าเราแล้ว แล้วมองร่ม
เราว่า ‘ใช้อันไหนก็ช่างเถอะ เรามีร่มใหญ่อยู่นี้ ร่มมีอยู่นี่ ก็กุฏิ ‘ยังไง’ นี่แหละร่มใหญ่ของเรา เอาร่มน้อยไปเถอะ เอาไปบรรเทาทุกข์ เรามีกุฏิแล้ว ร่มในวัดนี้ก็พอมี ถึง‘ยังไง’ก็ตามเถอะ ผู้ที่เป็นอย่างนี้มีความจำเป็นมากกว่าผู้อยู่ในวัด เอาไปเถอะ’
เราบอกให้แล้วด้วยความเต็มใจ บังคับให้เอานะ ‘ไม่งั้น’ เขาจะไม่เอา เราก็เลยไม่ลืม เรายังไม่ได้ใช้แหละร่มคันนี้ อย่างนี้ละน้ำใจ เขาคงจะไม่ลืมนะ ที่เขาได้รับจากเรา เราให้เขายังไม่ลืม เขาจะลืมได้ ‘ยังไง’ นี่ละจิตใจนี้มันไม่ลืมกันนะ จากนั้นแกให้พรด้วยนะ
(แกพูดว่า) ‘โอ๊ย เอาของดิบของดีให้ ขอให้ท่านจงเจริญรุ่งเรืองในธรรมเด้อ ! ตั้งแต่เกิดมาก็ยังไม่เคยมีกับเขาสักที’…”
ที่แกพูดเช่นนี้ เพราะร่มคันนี้ยังเป็นของใหม่อยู่ ท่านเองก็ยังไม่เคยได้ใช้สักครั้งเลย เมื่อได้ร่มไปแล้วทั้งคู่จึงต่างดูแล้วดูเล่า พลิกทางนั้นหันทางนี้อย่างชื่นชมในความงาม และด้วยความดีใจจนลืมทุกข์จากพิษไข้ไปได้ชั่วขณะ เพราะไม่เคยมีของดี ๆ เช่นนี้มาก่อนเลย
เมตตาจิตของท่านที่มีแต่ให้ของดี ๆ แก่ผู้อื่นเช่นนี้ เป็นสิ่งที่มีอยู่ประจำนิสัยของท่านมาแต่เดิมและตลอดมา
ลัก...ยิ้ม
07-08-2012, 09:17
นิมิตตาปะขาวบอก ๙ ปีสำเร็จ
ที่จักราช โคราช ขณะที่ท่านกำลังนอนภาวนาอยู่นั้น จิตรู้สึกสงบและค่อยยุบยอบ ๆ เข้าไป หดตัวเข้ามา ๆ สู่ความสงบ แต่ไม่สงบมากนัก พอสงบรู้ได้ว่าสงบ ปรากฏว่าเกิดนิมิตแปลกประหลาดขึ้น เป็นนิมิตที่ท่านจำได้ถนัดชัดเจน ดังนี้
“..มีตาปะขาวคนหนึ่งเดินมายืนต่อหน้าประมาณสักหนึ่งวาเศษ ๆ ตาปะขาวนั้นอายุประมาณสัก ๕๐ หรืออย่างสูงก็ไม่เลย ๖๐ มีรูปลักษณะพอดี ทุกส่วนสัดพอดีทุกอย่าง แต่ผิวพรรณนั้นรู้สึกจะมีสีเนื้อค่อนข้างขาว
พอมานั้นมายืนตรงหน้าเรา เราก็ดูแกแล้ว พอมองมาทางเรา แล้วก็ก้มลงและนับข้อมือให้เราดู พอถึงข้อที่ ๙ รู้สึกว่าหนักมือตรงนี้ เขาเงยหน้าขึ้นมาดูเราแล้วบอกว่า ๙ ปีสำเร็จ’
พอจากนั้นจิตของเราก็ถอยออกมา จึงพิจารณาว่า ‘นี่เราก็บวชได้ ๗ ปีแล้ว ทำไมสำเร็จง่ายนักนะ ใช่หรือภาวนา ๙ ปีสำเร็จ ?’
จากนั้นมันก็ภาวนาเอาใหญ่เลยจะให้ ๙ ปีสำเร็จ พอครบพรรษาที่ ๙ ออกพรรษาแล้ว จิตมันยังเจริญแล้วเสื่อม เจริญแล้วเสื่อมอยู่อย่างนั้นจะสำเร็จได้ ‘ยังไง’ จิตคนมันเป็นบ้าอยู่อย่างนั้น เอาอะไรมาสำเร็จ
‘เอ! หรือจะเริ่มนับตั้งแต่ ๙ ปีที่เราเริ่มออกปฏิบัติ ?’ พรรษาที่ ๘ เป็นพรรษาแรกที่ออกปฏิบัติ...”
ท่านเก็บความสงสัยในนิมิตตาปะขาวนี้อยู่ภายในลึก ๆ เพียงลำพัง พร้อมกับความตั้งใจในการปฏิบัติจิตภาวนาอย่างจดจ่อต่อเนื่อง นิมิตบอกเหตุครั้งนี้จะเป็นจริงหรือไม่อย่างไร ผลการปฏิบัติของท่านเท่านั้นจะเป็นเครื่องพิสูจน์..!
ลัก...ยิ้ม
08-08-2012, 09:38
แพ้ผู้หญิง
เมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านตั้งใจจะเร่งเดินทางไปหาหลวงปู่มั่นในทันที แต่ญาติโยมที่จักราชกลับพยายามชะลอท่านไว้ทั้งทางตรงและทางอ้อม จนต้องยอมในที่สุด ดังนี้
“...ทีแรกออกพรรษาแล้ว เราก็เคยพูดแล้วว่าเราแพ้ผู้หญิง ผู้หญิงเขาดัดสันดาน เขาเอาผ้าสังฆาฏิเราเข้าไปในบ้าน เขาจะให้เราอยู่เสียก่อนรอรับกฐิน ไอ้เราออกพรรษา เราจะเร่งมาหาพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น ความหมายของเราน่ะ เราบอกเราจะไม่รับ เราจะไม่อยู่ มาเถียงกันเสีย ‘โธ้’...ผู้หญิงคนนี้มันก็เก่งเหมือนกันนะ เป็นเมียนายจ่า ลูกตัวเล็ก ๆ น่ารักมาก
ตอนเย็น ๆ แม่จะเอากาแฟให้ลูกส่งมาหาเรา เพราะฉะนั้น ถึงสนิทกัน..เข้าใจไหม ผัวเขาเป็นนายจ่า จ่าสิบโทหรือจ่าสิบเอก เราลืมแล้ว ชื่อจ่าเบ้า แม่เขาชื่อแฉ่ง ลูกชายเขาตัวเล็ก ๆ ที่น่ารักชื่อเจริญ ก็มันติดพันกันขนานนั้น
ทีนี้พอออกพรรษา เราก็เตรียมจะรีบมาหาพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น เขาก็รีบมาขอให้รอทอดกฐินเสียก่อน เขากำหนดกฐินวันนั้น ๆ เราก็บอกเรารอไม่ได้..ไม่ได้ แกก็เอาใหญ่เลย มาร้องไห้ต่อหน้านี่ซิ ที่มันดัดกันสุดท้ายแพ้ผู้หญิง ไปที่ไหนแพ้แต่ผู้หญิงนะเรา เป็น ‘ยังไง’ ไม่ทราบ ซัดกันอยู่นี้มันร้องไห้ต่อหน้าเรา เราก็เฉยไม่สนใจ แต่เราเผลอซิ
ผ้าสังฆาฏิเราไปบิณฑบาตช้อนผ้ามาแล้วก็มาพับวางไว้ต้นเสาข้างหลัง แกก็นั่งซัดกันกับเราอยู่นี่ พอเสร็จแล้วเราก็ไปจัดอาหารแจกกันตอนฉันจังหัน แกก็ด้อมมาข้างหลังเอาผ้าสังฆาฏินี้ไป แล้วแกก็ไปเฉยเลย พอจะลงศาลาปั๊บหันหน้ามา
‘ท่านจะไปอุดรฯ ก็ไปเสีย’
แล้วมีลักษณะยิ้ม ๆ โอ้โห..มันร้องไห้ตะกี้นี้ มันลงไปแล้วมาพูดท้าทายเรา ‘ท่านจะไปอุดรฯ ก็ไปเสียนะ’ มียิ้ม ๆ นิดหนึ่ง เราก็เฉย
ทีนี้พระเลยมาสะกิด ‘ไม่ใช่เขาเอาหมัดเด็ดใส่แล้วหรือ ?’
‘หมัดเด็ดอะไร ?’
‘ก็เห็นเขายิ้ม ๆ ไม่ใช่เขาเอาผ้าสังฆาฏิไปแล้วหรือ ?’
‘กูตาย..มันเอาไปแล้ว’
นี่ซิยอมเขา เขาเอาไปแล้ว ยังไม่แล้ว เขายังมาสืบหากับพระอีก เอาผ้าสังฆาฏิพระท่านไปนี้ผิดพระวินัยข้อไหน ๆ พระท่านก็ชี้แจงให้ทราบตามหลักพระวินัย ออกพรรษานี้ปราศจากไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ คือไม่ต้องอยู่ครบ ธรรมดาผ้าจีวรต้องมีอยู่ครบตลอดคืน ส่วนกลางวันไม่ได้กำหนดนะ แต่เวลาออกพรรษาแล้วนี้อานิสงส์พรรษาครอบไปได้ ๑ เดือน จึงปราศจากผ้าไตรจีวร เช่น สังฆาฏิ สบง จีวร ผืนใดผืนหนึ่งปราศจากได้
เขาเอาไปแล้วก็ถือว่าปราศจากแล้ว ใช่ไหม..เขาเอาไปผืนหนึ่งแล้ว เขามาสืบถามพระ ได้ความแล้วเขายิ่งมั่นใจนะ ‘ท่านจะไปเมื่อไรล่ะ อุดรฯ’ มาใส่เรานะ
‘ท่านจะไปอุดรฯ เมื่อไรล่ะ’
เราโมโหพอแล้ว แพ้เขาอย่างหลุดลุ่ย นี่ละเรื่องมันน่ะ เลยต้องรอ พอรับกฐินแล้วก็บึ่งเลยเทียวนะ บึ่งมาไม่ทัน ท่านไปได้ ๓ วันแล้ว...”
ลัก...ยิ้ม
09-08-2012, 10:58
มหันตทุกข์จากจิตเสื่อม
เมื่อรับกฐินแล้ว ท่านก็ออกจากจังหวัดนครราชสีมา มุ่งหน้าไปจังหวัดอุดรธานีทันที ตั้งใจว่าจะไปจำพรรษากับหลวงปู่มั่นที่วัดป่าโนนนิเวศน์* อุดรธานี แต่ก็ไม่ทัน หลวงปู่มั่นเพิ่งไปสกลนครได้ ๓ วัน จึงได้มาที่บ้านตาดเพื่อทำกลด ขณะที่เริ่มทำยังไม่ทันเสร็จดีกลับปรากฏว่า ในด้านสมาธิของท่านเริ่มเสื่อมลง ๆ ท่านเล่าถึงเหตุการณ์ในตอนนี้ว่า
“... เราก็เดินทางมาจังหวัดอุดรธานี เพื่อตามหาท่านพระอาจารย์มั่น ใจที่มีความเจริญในทางด้านสมาธิก็ปรากฏว่า เสื่อมลงที่บ้านตาดซึ่งเป็นบ้านเกิดของตน การเสื่อมทั้งนี้เนื่องจากทำกลดคันหนึ่งเท่านั้น
และการมาอยู่บ้านตาดยังไม่ถึงเดือนเต็ม จิตรู้สึกเข้าสมาธิไม่ค่อยสนิทดีเหมือนที่เคยเป็นมา บางครั้งเข้าสงบได้ แต่บางครั้งเข้าไม่ได้ พอเห็นท่าไม่ดี จะฝืนอยู่ไปก็ต้องขาดทุน จึงรีบออกจากที่นั้นทันทีไม่ยอมอยู่
ก่อนนั้นสมาธิไม่ใช่เล่นเหมือนกันนะ แน่นปึ๋งเลยเทียว แน่ใจว่ามรรคผลนิพพานมีแล้ว เพราะจิตมันแน่นปึ๋งไม่สะทกสะท้านกับอะไร แม้ขนาดนั้นก็ยังเสื่อมได้ แค่ทำกลดหลังเดียวเท่านั้น...”
ภาวะจิตเสื่อมนี้เป็นทุกข์อย่างมาก ท่านเปรียบว่า เหมือนกับเคยเป็นมหาเศรษฐีมีเงินหมื่นแสนล้านมาก่อน แล้วจู่ ๆ มาล่มจมสิ้นเนื้อประดาตัวด้วยเหตุอันใดอันหนึ่ง ผู้ที่เคยมีเงินมากมายขนาดนั้น ย่อมเดือดร้อนกว่าผู้ที่หาเช้ากินค่ำและไม่เคยมีเงินหมื่นแสนล้านนั้นมาก่อนเลย ผู้นั้นจะเอาอะไรมาเสียใจในความล่มจมของเงินก้อนนั้นได้
ในเรื่องนี้ก็เช่นกัน ภาวะที่จิตเจริญด้วยสมาธิก็เปรียบเหมือนกับผู้เป็นมหาเศรษฐีมีเงินก้อนใหญ่นั่นเอง ท่านกล่าวถึงภาวะนี้ว่า
“เป็นภาวะที่จิตรู้สึกเข้าสมาธิไม่ค่อยสนิทเหมือนที่เคยเป็นมา บางครั้งเข้าสงบได้ แต่บางครั้งเข้าไม่ได้ ภาวะเสื่อมนี้มันถึงขนาดจะเป็นจะตายจริง ๆ เพราะทุกข์มาก เหตุที่ทุกข์มากเพราะได้เคยเห็นคุณค่าของสมาธิที่แน่นปึ๋งมาแล้ว และก็กลับเสื่อมเอาชนิดไม่มีอะไรติดเนื้อติดตัวเลย มีแต่ฟืนแต่ไฟเผาหัวใจตลอดเวลา ทั้งวันทั้งคืน ทั้งยืนทั้งเดิน ทั้งนั่ง ทั้งนอน จึงเป็นทุกข์เพราะอยากได้สมาธินั้นกลับมา มันเป็นมหันตทุกข์จริง ๆ ก็มีคราวที่จิตเสื่อมนั้นแลที่ทุกข์มากที่สุด”
ความเด็ดเดี่ยว ความมุ่งมั่นจริงจังของท่าน เพื่อที่จะครองชัยชนะในการต่อสู้กับกิเลสให้ได้นี้ ทำให้ไม่มีสิ่งใดจะมาเป็นอุปสรรคต่อความตั้งใจจริงของท่านได้ เพราะยอมต่อสู้ชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ท่านจึงมักพูดเสมอว่า
“ถ้ากิเลสไม่ตาย เราก็ต้องตายเท่านั้น จะให้อยู่เป็นสองระหว่างกิเลสกับเราไม่ได้”
===============================================
* ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์เป็นผู้อาราธนานิมนต์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ไปโปรดชาวอุดรธานีเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เมื่อเดินทางมาถึงอุดรธานี หลวงปู่มั่นได้พักที่วัดโพธิสมภรณ์ระยะหนึ่ง ต่อมาจึงย้ายไปพักที่วัดป่าโนนนิเวศน์ ซึ่งเป็นป่าช้าที่สงบสงัดรกทึบ ชาวบ้านเกรงกลัวที่วัดแห่งนี้ ขุนชาญอักษรศิริ (นวล) และนางพรหม สรรพอาษา เป็นหัวหน้าชักชวนชาวบ้านสร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๗ และก็ได้นำชาวบ้านมาถากถางสร้างกุฏิที่พักและอุปถัมภ์อุปัฏฐากถวายหลวงปู่มั่น ซึ่งท่านได้เมตตาจำพรรษาที่วัดนี้ ๒ พรรษา ในปี พ.ศ. ๒๔๘๓-๒๔๘๔
ลัก...ยิ้ม
10-08-2012, 09:34
ข่าวอันเป็นมงคล
และด้วยเหตุที่หลวงปู่มั่นรับนิมนต์ไปจังหวัดสกลนครเสียก่อน ทำให้ท่านต้องออกจากบ้านตาดเลยไปพักอยู่ที่วัดทุ่งสว่าง จังหวัดหนองคาย ท่านเล่าถึงเหตุการณ์ในตอนนั้นว่า
“... ตอนนี้ละ..ตอนมาจากโคราช พรรษา ๘ มาจากโคราช ว่าจะตามพ่อแม่ครูอาจารย์ให้ทัน .. มันไม่ทัน ท่านไปได้ ๒-๓ วันแล้ว เราก็เลยออกไปเที่ยวทางอำเภอกุมภวาปี (จังหวัดอุดรธานี) ทางโน้นเป็นดงเป็นป่าทั้งนั้นนะ ไปที่ไหนสะดวกสบาย บ้านเป็นบ้านเฉพาะ ๆ ดงรอบหมดเลย ... ตอนที่เรามาพักอยู่วัดมัชฌิมวงศ์ (บ้านเหล่าใหญ่ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี) นั้น เป็นดงทั้งหมด เราไปพักอยู่ทางด้านตะวันออก ไม่ได้อยู่ในเขตวัด ไปอยู่ในป่าอีก ทั้ง ๆ ที่วัดนี้ก็เป็นป่า มีพระอยู่ในวัด นอกเขตวัดไปนี้ไม่มีพระ เราไปอยู่ในป่าเหมือนกัน ... ต้นไม้นี้ โหย... สูงจรดเมฆ ไม้ยางทั้งนั้น แต่ก่อนก็มี แต่ไม่ใหญ่อย่างนี้ มันเป็นดงจริง ๆ ศาลามีก็ไม่ได้หลังใหญ่โตอะไรเลย มีศาลาหลังเดียวเล็ก ๆ กุฏิกระต๊อบ ๆ อยู่ในป่า ถึงอย่างนั้นเรายังไม่อยู่ ออกไปอยู่โน้นอีก นอกเขตนั้น อยู่ในป่าไปอีก เขาบอกว่าทางป่าช้า เราอยู่ทางป่าช้านั่นละ ไปภาวนาอยู่ที่นั่น
เป็นดงทั้งหมดรอบวัด เป็นดงทั้งหมดเลย ดงสัตว์ ดงเสือ ดงเนื้อ เต็มไปหมด จนกระทั่งถึงบ้านไชยวาน วังสามหมอ มันต่อกันไปนี้เป็นดงใหญ่ .. พรรษา ๘ ออกจากนี้ ไปหนองคายที่อำเภอท่าบ่อ ไปพักวัดอรัญญิกาวาส อำเภอท่าบ่อ อยู่ในป่า เป็นดงจริง ๆ ... (ต่อมา) มาพักอยู่กับท่านอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน ต้นปี พ.ศ. ๒๔๘๕ มันเป็นทุ่งกว้างขวาง แถวนั้นมีแต่ทุ่ง ทุ่งนาล้อมรอบหมด วัดทุ่งสว่างก็เป็นเกาะท่ามกลางทุ่งนา ท่านอาจารย์กู่ท่านอยากให้เราอยู่ด้วย ไม่อยากให้ไปไหน...
ไปพักรอที่วัดทุ่งสว่างเพื่อจะไปหาท่านอาจารย์มั่น ตอนนั้นยังไม่ได้มีกำหนดแต่จะต้องไปแน่ ๆ ก็พอดีมีพระองค์หนึ่งชื่อ พระศรีนวล เพิ่งมาจากวัดบ้านโคกนามน แล้วเผอิญเข้าไปพักด้วยกันที่วัดทุ่งสว่าง .. เราถามท่านว่า ‘มาจากไหน ?’
‘มาจากบ้านนามน จากท่านอาจารย์มั่น’
‘หือ? หือ ?’ ขึ้นทันทีเลยนะ เพราะพอได้ยินชื่อว่า ท่านอาจารย์มั่น รู้สึกตื่นเต้นดีใจ จึงถามย้ำเข้าไปอีก ท่านจึงว่า
‘มาจากท่านอาจารย์มั่น’
‘เวลานี้ท่านอาจารย์มั่นพักอยู่ไหน ?’
‘พักอยู่บ้านนามน’
‘แล้วมีพระเณรพักอยู่กับท่านมากน้อยเพียงไร ?’
‘๘-๙ องค์ ท่านไม่รับพระมาก อย่างมากขนาดนั้นเท่านั้นแหละ’
‘ได้ทราบว่า ท่านดุเก่งใช่ไหม ?’
‘โห ... ไม่ต้องบอก พอไล่ ไล่หนีเลย’ พระองค์นั้นว่าอย่างนั้น...!”
พอท่านได้ยินดังนี้ แทนที่จะคิดเป็นผลลบกับหลวงปู่มั่น กลับรู้สึกถึงจิตถึงใจกับความเด็ดของหลวงปู่มั่น และแอบคิดอยู่แต่ผู้เดียวในใจว่า
“อาจารย์องค์นี้ละ จะเป็นอาจารย์ของเรา ต้องให้เราไปเห็นเอง ท่านจะดุแบบไหน แบบไหน ๆ ครูบาอาจารย์ชื่อเสียงโด่งดังทั่วประเทศไทยมานานขนาดนี้ จะดุจะด่าขับไล่ไสส่งโดยหาเหตุผลไม่ได้นี้ เป็นไปไม่ได้”
ท่านพักอยู่ที่วัดทุ่งสว่าง ๓ เดือนกว่า จากนั้นพอถึงเดือนพฤษภาคม ๒๔๘๕ ท่านก็ออกเดินทางจากหนองคายไปจังหวัดสกลนคร เพื่อมุ่งสู่หลวงปู่มั่นต่อไป
ลัก...ยิ้ม
14-08-2012, 10:45
พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน
พระอาจารย์กู่ มีนามเดิมว่า กู่ สุวรรณรงค์ เกิดเมื่อวันเสาร์ เดือน ๕ ปีชวด พุทธศักราช ๒๔๔๓ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
การอุปสมบท ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย ณ พันธสีมาวัดโพธิ์ชัย บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร โดยมีพระครูสกลสมณกิจ (ท่านอาญาครูธรรม) เป็นพระอุปัชฌาย์
การจาริกเพื่อศึกษาธรรมปฏิบัติ ตลอดเวลาที่ท่านบวชอยู่ ท่านเป็นผู้มักน้อย สันโดษ ชอบความเงียบสงัด เป็นผู้ยินดีในเสนาสนะเป็นส่วนมาก เที่ยวหลีกเร้นปฏิบัติเดินจงกรม นั่งปฏิบัติสมาธิภาวนาตามป่าชัฏ ได้มีโอกาสศึกษาธรรมเบื้องต้นกับท่านพระอาจารย์ดูลย์ อตุโล (พระรัตนากรณ์วิสุทธิ์) ที่วัดบ้านม่วงไข่นี้ และต่อมาได้เดินทางไปพบกับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต และได้อยู่ศึกษาธรรมและปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน
การขอญัตติ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ได้ญัตติเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกาย โดยมีพระครูอดิศัยคุณาธาร (คำ อรโก) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระครูวินัยธร (ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ณ วัดมหาชัย ตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันคือ จ. หนองบัวลำภู)
การอาพาธและการมรณภาพ ท่านอาพาธด้วยโรคฝีฝักบัวที่ต้นคอ ซึ่งเป็นโรคประจำตัว เมื่อออกพรรษาปี ๒๔๙๕ แล้ว ท่านได้ลาญาติโยมขึ้นไปทำสมณกิจที่ถ้ำเจ้าผู้ข้า บ้านทิดไท ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เมื่อล่วงไปได้ ๓ เดือน อาการโรคได้กำเริบมากขึ้น จนกระทั่งท่านได้ถึงแก่มรณภาพลงด้วยอาการสงบในอิริยาบถนั่งสมาธิ ณ ถ้ำเจ้าผู้ข้า เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๖ สิริอายุรวมได้ ๕๓ ปี รวม ๓๐ พรรษา
ลัก...ยิ้ม
15-08-2012, 09:57
พรรษาที่ ๙
(พ.ศ. ๒๔๘๕) จำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านโคก วัดป่าวิสุทธิธรรม ตำบลตองโขบ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร
.................................................................................................
มอบกายถวายชีวิตต่อหลวงปู่มั่น
จากจังหวัดสกลนคร ท่านก็เดินทางต่อไปจนถึงวัดที่หลวงปู่มั่นพักอยู่ในระยะนั้นคือ ที่บ้านโคก ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ท่านกล่าวถึงเหตุการณ์ในระยะนี้ว่า
“... พอทราบแล้ว ๓ วันเท่านั้นนะ เตรียมของไปเลย ไปก็ไปโดนเอาจริง ๆ นี่ละ.. มันมีแต่ผลบวกนะ พอไปก็ไปพักอยู่สุทธาวาส ๒ คืน พอฉันจังหันแล้ว สาย ๆ ก็ออกเดินทางไปถึงบ้านโคกมืดแล้ว บุกไปอย่างนั้นละ กลางคืนมืดถนนไม่ต้องถามละ ไม่มี ไปตามทางล้อทางเกวียนธรรมดา
พอไปถึง เราไปถามชาวบ้านเขา เขาก็บอก ไปถึงบ้านโคกมันมืดแล้ว ‘วัดป่าบ้านโคกอยู่ที่ไหน แล้วท่านอาจารย์มั่น ท่านอยู่ที่นี่ใช่ไหม ?’
‘อยู่..ท่านเพิ่งย้ายมาจากบ้านนามน ท่านจะมาพักจำพรรษาที่นี่ในปีนี้’
‘ไหน..วัดไปทางไหน ?’
เขาก็เลยพาไป ‘ไป..ผมจะพาไป เพราะทางเข้าไปวัดของท่านอาจารย์มั่นเป็นทางด่านนะ มันไม่ได้เป็นทางล้อทางเกวียนอะไร ทางเป็นด่าน พอคนเดินไปพ้นตัวไปเท่านั้นแหละ’ ชาวบ้านเขาบอก ... ออกไปนี้พอไปถึงกลางบ้าน
เขาบอกให้มานี่ เขาก็ชี้ทาง ‘นี่ละทางเส้นนี้ไปวัด ให้จับทางสายนี้นะ นี่แหละต้นทาง ให้เดินตามทางนี้ อย่าปลีกทางนี้ มันเป็นทางแคบ ๆ เพราะท่านเพิ่งมาอยู่ใหม่ ทางก็แคบ ๆ บุกไปอย่างนั้นแหละ ให้ตามทางนี้ อย่าปล่อยทางนี้แล้วจะเข้าถึงวัดเลย’
พอเขาบอกอย่างนี้แล้วเราก็ไป ไปทั้งมืด ๆ ไปพอ 'ช่วมช่าม ๆ' เข้าไปในวัด จากนั้นก็ดูนั้นดูนี่มืด ๆ จนไปเห็นศาลาหลังหนึ่ง ทำให้สงสัยนะ
‘เอ๊...นี่ ถ้าเป็นศาลามันก็ดูว่าเล็กไปสักหน่อย’ หมายถึงศาลากรรมฐานนะ...
‘ถ้าว่าเป็นกุฏิ ก็จะใหญ่ไป’ กำลังดูอยู่อย่างนั้น แล้วก็เดิน 'เซ่อซ่า ๆ' เข้าไป ท่านอาจารย์มั่นกำลังเดินจงกรมอยู่นี่นา ....มันก็ไม่เห็น เอ้อ... ท่านเดินจงกรมอยู่ข้างศาลา ท่านกั้นห้องศาลาพักอยู่นั่น พักจำวัดอยู่ที่ห้องศาลาเล็ก ๆ นั่นนะ
เราก็เดินซุ่มซ่าม ๆ มองนั้นมองนี้ไป ก็เราไม่เห็นนี่ มันกลางคืนแล้ว ท่านก็ยืนอยู่ใกล้ ๆ นี้...”
ท่านเดินไปจนพบหลวงปู่มั่น บนทางจงกรม หลวงปู่มั่นจึงถามขึ้นว่า “ใครมานี่ ?”
ท่านกราบเรียนว่า “ผมครับ”
ด้วยคำตอบนั้นของท่าน ทำให้หลวงปู่มั่นกล่าวขึ้นอย่างดุ ๆ พร้อมกับใส่ปัญหาให้ได้คิดในทันทีนั้นว่า
“อันผม ๆ นี้ ตั้งแต่คนหัวล้าน มันก็มีผมไอ้ตรงที่มันไม่ล้าน”
ถึงตรงนี้ท่านว่า รู้สึกเสียวแปล๊บในหัวใจ เพราะเข้าใจทันทีว่าไม่เกิดประโยชน์อันใดด้วยการตอบเช่นนี้เลย
ขณะเดียวกันทั้ง ๆ ที่กลัวเกรงหลวงปู่มั่นมาก แต่ก็รู้สึกถึงใจอย่างที่สุดกับคำดุชนิดที่หาที่ค้านไม่ได้เลย และยอมรับทันทีในไหวพริบปฏิภาณของหลวงปู่มั่น แม้จะกลัวเพียงใดก็ตาม แต่กลับรู้สึกดีใจอยู่ลึก ๆ ว่า
“นี่แหละ..อาจารย์ของเรา”
จากนั้นท่านก็เลยรีบกราบเรียนใหม่ทันทีว่า “ผมชื่อพระมหาบัว”
“เออ!.. ก็ว่า 'อย่างงั้นซี่' มันถึงจะรู้เรื่องกัน อันนี้ว่า ผม ผม ใครมันก็มี ผมเต็มหัวทุกคน แล้วใครจะรู้... ไป..ไปพักข้างศาลานะ”
จากนั้น หลวงปู่มั่นก็ออกจากทางจงกรมขึ้นไปบนศาลา ภายในศาลาจะกั้นเป็นห้องใช้เป็นที่พักสำหรับหลวงปู่มั่น เมื่อขึ้นบนศาลาแล้ว หลวงปู่มั่นเตรียมจะจุดตะเกียงหรือโป๊ะเล็ก ๆ ตะเกียงมีแก้วเล็ก ๆ ครอบเหมือนดอกบัว พอได้ยินเสียงหลวงปู่มั่นขู่เท่านั้น พระเณรที่เดินจงกรมอยู่ในเวลานั้นก็หลั่งไหลมากัน ก็พอดีมีพระขึ้นไปจุดไฟให้ท่าน เมื่อหลวงปู่มั่นนั่งลงแล้ว ท่านจึงถือโอกาสเข้ากราบเรียนถวายตัวเป็นศิษย์ และเรียนให้ท่านทราบถึงที่มาที่ไป พอให้ท่านได้รู้จักในตอนนั้นหลวงปู่มั่นยังคงฟังอยู่นิ่ง ๆ
ด้วยความมุ่งมั่น อยากจะมาศึกษาอยู่กับท่านเต็มเปี่ยมมานานหลายปีแล้ว ประกอบกับรู้สึกประทับใจในสติปัญญาฉับไวของหลวงปู่มั่น ความที่กลัวว่าจะไม่ได้อยู่ด้วย ทำให้ท่านเกิดความวิตกกังวลและครุ่นคิดอยู่ในใจว่า
“ไม่อยากได้ยินเลยคำทีว่า ที่นี่เต็มแล้ว รับไม่ได้แล้ว กลัวว่าหัวอกจะแตก...”
สักครู่หนึ่ง หลวงปู่มั่นก็พูดขึ้นว่า “นี่พอดีนะนี่ เมื่อวานนี้ท่านเนตรไปจากนี้ แล้ววันนี้ท่านมหาก็มา ไม่เช่นนั้นก็ไม่ได้อยู่ กุฏิไม่ว่าง”
คำพูดของหลวงปู่มั่นครั้งนั้น ทั้ง ๆ ที่ก็เมตตารับท่านไว้ แต่อย่างไรก็ตาม ท่านเองก็ยังอดไม่ได้ที่จะรู้สึกใจหายใจคว่ำเป็นอย่างยิ่ง เพราะกลัวว่าจะไม่มีโอกาสได้อยู่ศึกษาด้วย คำกล่าวของหลวงปู่มั่นครั้งนั้น จึงทำให้ท่านไม่สามารถจะลืมได้แม้จนทุกวันนี้
ลัก...ยิ้ม
17-08-2012, 10:42
ธรรมบทแรก
“ปริยัติให้ยกบูชาไว้ก่อน แล้วปฏิบัติจะประสานกลมกลืน”
ถึงแม้ท่านจะเคยปฏิบัติด้านจิตภาวนามาบ้าง และก็มีโอกาสศึกษาค้นคว้าด้านปริยัติถึง ๗ ปีก็ตาม แต่สิ่งนี้ก็ยังไม่ทำให้ความสงสัยของท่านในเรื่องมรรคผลนิพพานหมดไป ยังคงเก็บความสงสัยอยู่ในใจตลอดมา และก็ดูเหมือนกับหลวงปู่มั่นจะล่วงรู้ถึงวาระจิตของท่าน จึงพูดบทธรรมครั้งแรกจี้เอาตรง ๆ ในคืนแรกนี้เลยว่า
“ท่านมาหามรรคผลนิพพาน มรรคผลนิพพานอยู่ที่ไหน ? ดินเป็นดิน น้ำเป็นน้ำ ลมเป็นลม ไฟเป็นไฟ ฟ้าอากาศเป็นฟ้าอากาศ แร่ธาตุต่าง ๆ เป็นของเขาเอง เขาไม่ได้เป็นมรรคผลนิพพาน เขาไม่ได้เป็นกิเลส กิเลสจริง ๆ มรรคผลนิพพานจริง ๆ อยู่ที่หัวใจ ขอให้ท่านกำหนดจิตจ่อด้วยสติที่หัวใจ ท่านจะเห็นความเคลื่อนไหวของทั้งธรรมของทั้งกิเลสอยู่ภายในใจ แล้วขณะเดียวกันท่านจะเห็นมรรคผลนิพพานไปโดยลำดับลำดา”
เทศนาดังกล่าวนี้ ทำให้ท่านมีความมั่นใจในเรื่องมรรคผลนิพพาน และเชื่อมั่นในความรู้ความเห็นของหลวงปู่มั่น ที่พูดไขข้อข้องใจได้ตรงจุดแห่งความสงสัย จากนั้นหลวงปู่มั่นมีเมตตาชี้แนะบทธรรมในภาคปฏิบัติให้ ด้วยทราบว่า ท่านมีความรู้ในภาคปริยัติเต็มภูมิมหาเปรียญและนักธรรมเอก และมีความสนใจใคร่ต่อการประพฤติปฏิบัติ บทธรรมบทนี้ แม้จนบัดนี้ยังคงฝังลึกอยู่ภายในใจของท่านตลอดมา ดังนี้
“...ท่านมหาฯ ก็นับว่าเรียนมาพอสมควร จนปรากฏนามเป็นมหาฯ ผมจะพูดธรรมให้ฟังเพื่อเป็นข้อคิด แต่อย่าเข้าใจว่าผมประมาทธรรมของพระพุทธเจ้านะ
เวลานี้ธรรมที่ท่านเรียนมาได้มากได้น้อย ยังไม่อำนวยประโยชน์ให้ท่านสมภูมิที่เป็นเปรียญ นอกจากจะเป็นอุปสรรคต่อการภาวนาของท่านในเวลานี้เท่านั้น เพราะท่านจะอดเป็นกังวล และนำธรรมที่เรียนมานั้นเข้ามาเทียบเคียงไม่ได้ในขณะที่ทำใจให้สงบ
ดังนั้น เพื่อความสะดวกในเวลาจะทำความสงบให้แก่จิต ขอให้ท่านที่จะทำใจให้สงบ ยกบูชาไว้ก่อนในบรรดาธรรมที่ท่านได้เรียนมา ต่อเมื่อถึงกาลที่ธรรมซึ่งท่านเรียนมาจะเข้ามาช่วยสนันสนุน ให้ท่านได้รับประโยชน์มากขึ้นแล้ว ธรรมที่เรียนมาทั้งหมดจะวิ่งเข้ามาประสานกันกับทางด้านปฏิบัติ และกลมกลืนกันได้อย่างสนิท ทั้งเป็นธรรมแบบพิมพ์ ซึ่งเราควรจะพยายามปรับปรุงจิตใจให้เป็นไปตามนั้น
แต่เวลานี้ ผมยังไม่อยากจะให้ท่านเป็นอารมณ์กับธรรมที่ท่านเล่าเรียนมา อย่างไรจิตจะสงบลงได้หรือจะใช้ปัญญาคิดค้นในขันธ์ ก็ขอให้ท่านทำอยู่ในวงกายนี้ก่อน เพราะธรรมในตำราท่านชี้เข้ามาในขันธ์ทั้งนั้น แต่หลักฐานของจิตยังไม่มี จึงไม่สามารถนำธรรมที่เรียนมาจากตำราน้อมเข้ามาเป็นประโยชน์แก่ตนได้ และยังจะกลายเป็นสัญญาอารมณ์คาดคะเนไปที่อื่น จนกลายเป็นคนไม่มีหลัก เพราะจิตติดปริยัติในลักษณะไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า
ขอให้ท่านนำธรรมที่ผมพูดให้ฟังไปคิดดู ถ้าท่านตั้งใจปฏิบัติไม่ท้อถอย วันหนึ่งข้างหน้าธรรมที่กล่าวนี้ จะประทับใจท่านแน่นอน...”
ลัก...ยิ้ม
20-08-2012, 09:14
ตั้งสัจอธิษฐานจะไม่หนีจากหลวงปู่มั่น
เมื่อได้อยู่ศึกษากับหลวงปู่มั่น ท่านจะคอยเฝ้าสังเกตทั้งทางหูทางตาอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าการชี้แจงแสดงเรื่องใด ท่านจะสนใจใคร่รู้ตลอดมาด้วยความอัศจรรย์ ท่านกล่าวถึงข้อปฏิบัติและคุณธรรมของหลวงปู่มั่นด้วยความเคารพบูชาว่า
“...เราก็อยู่กับท่านด้วยความพอใจจนบอกไม่ถูก แต่อยู่ด้วยความโง่เง่าอย่างบอกไม่ถูกอีกเหมือนกัน เฉพาะองค์ท่านรู้สึกมีเมตตาธรรมอนุเคราะห์ทุกครั้งที่เข้าไปหา
ท่านชี้แจงแสดงเรื่องอะไร ไม่ว่าดูท่านทางตา ฟังท่านทางหู ไม่เห็นมีสิ่งใดจะคลาดเคลื่อนจากหลักธรรมหลักวินัยข้อใดเลย ปฏิปทาการดำเนินของท่านก็มีแบบมีฉบับมีตำรับตำรา หาที่ค้านที่ต้องติมิได้ การพูดอะไรตรงไปตรงมา
แม้การแสดงเรื่องมรรคผลนิพพาน ก็แสดงชนิดถอนออกมาจากใจท่านแท้ ๆ ที่ท่านรู้ท่านเห็น ท่านปฏิบัติมา ทำให้ผู้ฟัง ฟังด้วยความถึงใจ เพราะท่านแสดงเหมือนว่าท้าทายความจริงจังของท่าน และท้าทายความจริงของธรรม...
ทำให้ลงใจถึงกับออกอุทานว่า ‘โอ้โห! นี่แหละ อาจารย์ของเรา’...”
สิ่งนี้ทำให้ท่านเกิดความมั่นใจและเชื่อแน่ว่า มรรคผลนิพพานมีอยู่จริง ความสงสัยในเรื่องนี้ที่เคยค้างมาแต่เดิมก็หมดสิ้นไป จากนั้นท่านจึงย้อนกลับมาถามตัวเองว่า
“...แล้วเราจะจริงไหม ?...”
ด้วยนิสัยทำอะไรทำจริง ทำให้ท่านตั้งใจแน่วแน่ว่า
“ต้องจริงซี ถ้าไม่จริงให้ตาย อย่าอยู่ให้หนักศาสนาและหนักแผ่นดินต่อไป”
ตั้งแต่นั้นมา ท่านก็เร่งความเพียรต่อสู้กับกิเลสอย่างเต็มเหนี่ยว และตั้งสัจอธิษฐานว่า
“หากว่าท่านอาจารย์มั่นยังมีชีวิตอยู่ตราบใดแล้ว เราจะไม่หนีจากท่าน จนกระทั่งวันท่านล่วงไปหรือเราล่วงไป แต่การไปเที่ยวเพื่อประกอบความพากเพียรตามกาลเวลานั้น ขอไปตามธรรมดา แต่ถือท่านเป็นหลัก เหมือนกับว่าบ้านเรือนอยู่กับท่าน ไปที่ไหนต้องกลับมาหาท่าน”
ลัก...ยิ้ม
21-08-2012, 09:09
หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
ท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
เมื่ออายุ ๑๕ ปี ท่านบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบ้านคำบง บวช ๒ ปี ก็ลาสิกขาตามคำร้องขอของบิดา
เมื่ออายุ ๒๒ ปี มีศรัทธาอยากบวช จึงได้เข้าศึกษาในสำนักท่านอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ วัดเลียบ เมืองอุบล จังหวัดอุบลราชธานี และได้รับอุปสมบทเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ วัดสีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี มีพระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจารย์ และพระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๔๓๖ นามมคธที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้คือ ภูริทตฺโต
เมื่อท่านอุปสมบทแล้ว ก็ได้บำเพ็ญสมณธรรมกับหลวงปู่เสาร์ กันตสีลเถระเป็นเวลาหลายปี หลวงปู่เสาร์ได้พาท่านไปเที่ยวศึกษาธรรมปฏิบัติในสถานที่ต่าง ๆ ทั้งทางฝั่งซ้ายเมืองหลวงพระบางและที่อื่น ๆ ซึ่งท่านเล่าว่าเคยพากันป่วยแทบกลับมาไม่รอด เพราะป่วยทั้งตัวท่านเองและหลวงปู่เสาร์ด้วย ท่านเลยมาระลึกถึงธรรมปฏิบัติโดยไปในที่สงัดแห่งหนึ่ง พิจารณาความตายจิตเลยลงสู่ภวังค์ขจัดโรคอาพาธไปได้ในขณะนั้น
ภายหลังท่านได้ออกไปโดยเฉพาะ แสวงหาความวิเวกตามสถานที่ต่าง ๆ อาศัยพุทธพจน์เป็นหลัก เร่งกระทำความเพียรบำเพ็ญสมณธรรม โดยมิได้คิดเห็นแก่อันตรายใด ๆ ที่จะเกิดขึ้นในชีวิต
การบำเพ็ญสมณธรรมในที่ต่าง ๆ ตามราวป่า ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง หุบเขา ซอกห้วย ธารเขา เงื้อมเขา ห้องถ้ำ เรือนว่าง ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงบ้าง ฝั่งขวาแม่น้ำโขงบ้าง แล้วลงไปศึกษากับนักปราชญ์ในกรุงเทพฯ จำพรรษาอยู่ที่วัดปทุมวนาราม หมั่นไปสดับธรรมเทศนากับพระคุณเจ้าพระอุบาลี (จันทร์ สิริจนฺโท) ๓ พรรษา แล้วออกแสวงหาวิเวกในถิ่นภาคกลาง คือ ถ้ำสาริกา เขาใหญ่ จังหวัดนครนายก ถ้ำไผ่ขวาง เขาพระงาม และถ้ำสิงห์โต จังหวัดลพบุรี จนได้รับความรู้แจ่มแจ้งในพระธรรมวินัย สิ้นความสงสัยในสัตถุศาสนา
ท่านได้อยู่บำเพ็ญสมณธรรมไปจนได้ความรู้ความฉลาดในทางดำเนิน แล้วท่านก็มาระลึกถึงหมู่คณะที่เป็นสหธรรมิกทางภาคอีสาน ที่พอจะช่วยแนะการปฏิบัติให้ได้ ท่านจึงได้เดินจากภาคกลางไปทางอุบลราชธานี เที่ยวจาริกไปในสถานที่ต่าง ๆ อันเป็นสถานที่พอจะพาคณะเจริญสมณธรรมได้
ภายหลังครั้งเมื่อพระภิกษุสามเณรได้ยินว่าท่านมาทางนี้ ก็ได้เข้ามาศึกษาปฏิบัติธรรม แต่ครั้งแรกมีน้อย ที่เป็นพระภิกษุสามเณรถือนิกายอื่นแต่ได้เข้ามาปฏิบัติก็มีอยู่บ้าง โดยที่ท่านมิได้เรียกร้องหรือชักชวนแต่ประการใด ต่างก็น้อมตัวเข้ามาศึกษาปฏิบัติ
เมื่อได้รับโอวาทและอบรม ก็เกิดความรู้ความฉลาดเลื่อมใสในจิตในใจ มีพระภิกษุจำนวนมากที่เปลี่ยนนิกายเดิม กลับเข้ามาเป็นนิกายเดียวกับท่าน บางท่านก็มิได้เปลี่ยนนิกาย ท่านเองก็มิได้บังคับแต่ประการใด แม้ว่าท่านพระเถระทั้งหลายนี้ เมื่ออบรมได้รับความเลื่อมใสในธรรมแล้ว ต่างก็นำไปเล่าสู่กันฟังโดยลำดับ และเพราะอาศัยเหตุนี้จึงทำให้ผู้ต้องการพ้นจากกองทุกข์ ซึ่งอุปนิสัยวาสนาได้อบรมเป็นทุนดังที่ว่ามาแล้วแต่หนหลัง ก็ได้พยายามออกติดตามขอปฏิบัติด้วยเป็นจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ
ลัก...ยิ้ม
22-08-2012, 10:43
ด้วยความที่ท่านหวังเพื่อเป็นประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เหตุนั้นท่านจึงไม่อยู่เป็นที่เป็นทางหลักแหล่งเฉพาะแห่งเดียว เที่ยวไปเพื่อประโยชน์แก่ชนในสถานที่นั้น ๆ ดังนี้
ณ กาลสมัยนั้น หลวงปู่มั่นอยู่วัดเลียบนั้นมานาน จึงได้เข้าไปจำพรรษาที่กรุงเทพฯ และทางเขาพระงาม จังหวัดลพบุรี จนถึง พ.ศ. ๒๔๕๗
หลวงปู่มั่นมาหาสหธรรมิกทางอุบลราชธานี และจำพรรษาที่วัดบูรพา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ท่านมีพรรษาได้ ๒๕ พรรษา จากนั้นหลวงปู่มั่นได้จำพรรษา ดังนี้
พ.ศ. ๒๔๕๙ จำพรรษาที่ ภูผากูด บ้านหนองสูง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
พ.ศ. ๒๔๖๐ จำพรรษาที่ บ้านดงปอ ห้วยหลวง อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี
พ.ศ. ๒๔๖๑ จำพรรษาที่ ถ้ำผาบิ้ง จังหวัดเลย
พ.ศ. ๒๔๖๒ จำพรรษาที่ บ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
พ.ศ. ๒๔๖๓ จำพรรษาที่ บ้านท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
พ.ศ. ๒๔๖๔ จำพรรษาที่ บ้านห้วยทราย อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม
พ.ศ. ๒๔๖๕ จำพรรษาที่ ตำบลหนองลาด อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
พ.ศ. ๒๔๖๖ จำพรรษาที่ วัดมหาชัย อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู
พ.ศ. ๒๔๖๗ จำพรรษาที่ บ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
พ.ศ. ๒๔๖๘ จำพรรษาที่ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
พ.ศ. ๒๔๖๙ จำพรรษาที่ บ้านสามผง อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
พ.ศ. ๒๔๗๐ จำพรรษาที่ บ้านหนองขอน อำเภอบุง (ปัจจุบันอำเภอหัวตะพาน) จังหวัดอำนาจเจริญ
พ.ศ. ๒๔๗๑ จำพรรษาที่ วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ
พ.ศ. ๒๔๗๒-๒๔๘๒ จำพรรษาที่ จังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ. ๒๔๘๓-๒๔๘๔ จำพรรษาที่ วัดป่าโนนนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี
พ.ศ. ๒๔๘๕ จำพรรษาที่ เสนาสนะป่าบ้านโคก จังหวัดสกลนคร
พ.ศ. ๒๔๘๖ จำพรรษาที่ เสนาสนะป่าบ้านนามน จังหวัดสกลนคร
พ.ศ. ๒๔๘๗ จำพรรษาที่ เสนาสนะป่าบ้านโคก จังหวัดสกลนคร
พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๔๙๒ จำพรรษาที่ เสนาสนะป่าบ้านโคก จังหวัดสกลนคร
ท่านปฏิบัติจนถึงที่สุดแห่งธรรมในพระพุทธศาสนาที่จังหวัดเชียงใหม่ ขณะนั่งสมาธิภาวนาบนพลาญหินกว้างใต้ร่มไม้ที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยว มีใบดกหนาร่มเย็นบริเวณชายภูเขาแห่งหนึ่ง ขณะที่จิตพลิกคว่ำวัฏจักรออกจากใจโดยสิ้นเชิงแล้ว ยังมีบทบาลีขึ้นมาอีก ๓ รอบ คือ “โลโป” “วิมุตติ” และ “อนาลโย”
ลัก...ยิ้ม
23-08-2012, 09:25
ธุดงควัตรที่ท่านถือปฏิบัติเป็นอาจิณ ๔ ประการ
๑) ปังสุกูลิกังคธุดงค์ ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุล นับตั้งแต่วันอุปสมบทมาตราบจนกระทั่งถึงวัยชรา จึงได้ผ่อนให้คหบดีจีวรบ้าง เพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธานำมาถวาย
๒) ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ถือภิกขาจารเป็นวัตร เพื่อบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์ แม้อาพาธ ไปในละแวกบ้านไม่ได้ก็บิณฑบาตในเขตวัด บนโรงฉัน จนกระทั่งอาพาธลุกไม่ได้ในปัจฉิมสมัย จึงงดบิณฑบาต
๓) เอกปัตติกังคธุดงค์ ถือฉันในบาตร ใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์ จนกระทั่งถึงสมัยอาพาธในปัจฉิมสมัยจึงงด
๔) เอกาสนิกังคธุดงค์ ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์ ตลอดเวลา แม้อาพาธหนักในปัจฉิมสมัยก็มิได้เลิกละ ส่วนธุดงค์วัตรนอกนี้ได้ถือปฏิบัติเป็นครั้งคราว ที่นับว่าปฏิบัติได้มากก็คือ อรัญญิกังคธุดงค์ ถืออยู่เสนาสนะป่า ห่างบ้านประมาณ ๒๕ เส้น หลีกเร้นอยู่ในที่สงัดตามสมณวิสัย
เมื่อถึงวัยชราจึงอยู่ในเสนาสนะป่า ห่างจากบ้านพอสมควร ซึ่งพอเหมาะกับกำลังที่จะภิกขาจารบิณฑบาต เป็นที่ที่ปราศจากเสียงอื้ออึง ประชาชนเคารพยำเกรง ไม่รบกวน นัยว่า ในสมัยที่ท่านยังแข็งแรงได้ออกจาริกโดดเดี่ยว แสวงวิเวกไปในป่าดงพงลึก จนสุดวิสัยที่ศิษยานุศิษย์จะติดตามไปถึงได้ก็มี เช่น ในคราวไปอยู่ภาคเหนือ เป็นต้น ท่านไปวิเวกบนเขาสูง อันเป็นที่อยู่ของพวกมูเซอ ยังชาวมูเซอที่พูดไม่รู้เรื่องกัน ให้บังเกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้
ลัก...ยิ้ม
24-08-2012, 09:59
ธรรมโอวาท คำที่เป็นคติอันหลวงปู่มั่นกล่าวอยู่บ่อย ๆ ที่เป็นหลักวินิจฉัยความดีที่ทำด้วยกาย วาจา ใจ แก่ศิษยานุศิษย์ ดังนี้
ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นนับว่าเลิศ
ได้สมบัติทั้งปวง ไม่ประเสริฐเท่าได้ตน เพราะตัวตนเป็นที่เกิดแห่งสมบัติทั้งปวง
เมื่อท่านอธิบายตจปัญจกกรรมฐานแล้ว มักจะกล่าวเตือนขึ้นเป็นคำกลอนว่า “แก้ให้ตกเน้อ แก้บ่ตก คาพกเจ้าไว้ แก้บ่ได้ แขวนคอต่องแต่ง แก้บ่พ้น คาก้นย่างยาย คาย่างยาย เวียนตายเวียนเกิด เวียนเอากำเนิดในภพทั้งสาม ภพทั้งสามเป็นเฮือนเจ้าอยู่” ดังนี้
ปัจฉิมบท
ในวัยชรา นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นมา หลวงปู่มั่นท่านมาอยู่ที่จังหวัดสกลนคร เปลี่ยนอิริยาบถไปตามสถานที่วิเวกผาสุกวิหารหลายแห่ง คือ ณ เสนาสนะป่าบ้านนามน ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง (ปัจจุบันเป็นอำเภอโคกศรีสุพรรณ) บ้าง ที่ใกล้ ๆ แถวนั้นบ้าง
ครั้น พ.ศ. ๒๔๘๗ จึงย้ายไปอยู่เสนาสนะป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จนถึงปีสุดท้ายของชีวิต
หลังวันมาฆบูชา ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ท่านเริ่มป่วย ครั้นเมื่อออกพรรษาท่านป่วยหนัก ลูกศิษย์จึงนำท่านออกมาจากหนองผือ และได้พักระหว่างทางที่วัดกลางโนนกู่ ๑๑ คืน
จนวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ ตอนเช้าราว ๐๗.๐๐ น. กว่า ๆ รถแขวงการทางสกลนคร รับท่านไปวัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร ถึงวัดเวลา ๐๒.๐๐ น. และอาราธนาองค์ท่านลงจากรถขึ้นพักบนกุฏิ โดยที่ท่านกำลังหลับอยู่ หลับไปจนถึงเที่ยงคืนในราวตีหนึ่ง
ลมหายใจท่านปรากฏว่าค่อยอ่อนลงทุกทีและละเอียดไปตาม ๆ กัน ลมค่อยอ่อนและช้าลงทุกทีจนแทบไม่ปรากฏ วินาทีต่อไปลมก็ค่อย ๆ หายเงียบไปอย่างละเอียดสุขุม ครั้นถึงเวลา ๐๒.๒๓ น. ของวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ศกเดียวกัน จึงได้ถือเวลานั้นเป็นเวลามรณภาพของท่าน
สิริชนมายุของท่านได้ ๗๙ ปี ๙ เดือน ๒๑ วัน รวม ๕๖ พรรษา
ลัก...ยิ้ม
27-08-2012, 11:14
หลวงปู่มั่นรู้วาระจิตหลวงปู่ฝั้น
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร แห่งวัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร ศิษย์หลวงปู่มั่นองค์สำคัญองค์หนึ่ง ได้เข้าพบหลวงปู่มั่น เมื่อครั้งที่หลวงปู่มั่นยังพักอยู่แถบจังหวัดเชียงใหม่ ครั้งนั้น ได้พบเหตุอัศจรรย์หลายอย่างของหลวงปู่มั่น ซึ่งองค์หลวงตาได้เมตตาเล่าเหตุการณ์ในช่วงเวลานั้นไว้ ดังนี้
“...ท่านอาจารย์ฝั้นออกจากโคราชนี้ ไปหาหลวงปู่มั่นที่เชียงใหม่ (ราวปี ๒๔๗๙) ท่านอาจารย์มั่นอุตส่าห์ออกมาต้อนรับเลยนะ เห็นไหม เก่งไหม ที่วัดเจดีย์หลวง ท่านรู้ภายในข้างในนี้ ท่านอุตส่าห์ออกมาเมื่อท่านอาจารย์ฝั้นไปถึงนั่น
วันหนึ่งหรือ...ตอนเช้าวันที่สองตอนสาย ๆ ท่านอาจารย์ฝั้นเห็นท่านอาจารย์มั่นมาหาหน้ากุฏินั้นเลย พอมองเห็นก็คิดอยู่ในใจ
‘โอ๊ย... ท่านอาจารย์มั่นนี่’ จึงรีบโดดลงจากกุฏิเลย ท่านเดิน ‘กึ๊กกั๊ก.. กึ๊กกั๊ก’ มา
‘โอ้... ครูอาจารย์มายังไง ? ยังไง ?’
‘ก็มารับท่านนั่นแหละ’
นั่นเห็นไหม บอกว่า ‘มารับท่าน’ แล้วก็พาไปเลยเชียว นั่นท่านทราบไว้แล้ว เก่งไหม ? บอกว่า ‘ก็มารับท่านนั่นแหละ’
พอไปอยู่กับท่านอาจารย์มั่นแล้ว ท่านก็พูดถึงเรื่องสถานที่นั่น ดีอย่างนั้น ที่นี่ดีอย่างนี้ ทางท่านอาจารย์ฝั้นก็เลยคิดอยากไปอยู่ที่นั่นที่นี่ แต่ในตอนนั้นท่านอาจารย์มั่นไม่เห็นอะไรสมควรยิ่งกว่าอยู่กับท่านในขณะนั้น สมกับเหตุผลที่ท่านมารับเอง
ตอนกลางคืนท่านอาจารย์ฝั้นก็คิดถึงเรื่องที่จะไปที่นั่นที่นี่ พอโผล่ออกมา ท่านอาจารย์มั่นว่า ‘ไหน..จะไปไหน ?’
ว่าอย่างนั้นเลยนะ นั่นเห็นไหมล่ะ ‘จะไปที่ไหนอีก ?’ เปิดประตูออกมาตอนเช้า ท่านอาจารย์ฝั้นจะคอยรับบริขารท่าน พอเปิดประตูออกมา ‘หา ? จะไปที่ไหน ?’ ว่าอย่างนั้นเลยนะ
‘ที่นี่ดีกว่า’ ทางอาจารย์ฝั้นนั้นก็ปิดปากเลย เงียบไป แต่ก็ไม่นานละ ก็คิดอีก ท่านอาจารย์ฝั้นเล่าเองแหละ คิดอีกว่าจะไปที่นั่น ท่านก็เอาอีก...
พอวันหนึ่ง จิตท่านลงอย่างนั้นละ จิตท่านอาจารย์ฝั้นนะ นั่งภาวนานี่ จิตลงอย่างอัศจรรย์ เลยสว่างจ้าครอบโลกธาตุ ท่านว่าอย่างนั้นนะ
‘พอมองไปหาท่านอาจารย์มั่นทีไร เห็นท่านนั่งจ้องดูเราอยู่อย่างนี้’
ท่านว่า 'อย่างงั้น’ มองไปทีไร มองจิตส่งจิตไปทีไร ท่านนั่งจ้องเราอยู่แล้ว หมอบกลับมา พอตื่นเช้าขึ้นมาก็เปิดประตูเท่านั้นแหละ ประตูกระต๊อบนะ ไม่ใช่กุฏิอะไรใหญ่โตนะ กระต๊อบ ๆ ทั้งนั้น พ่อแม่ครูอาจารย์มั่นอยู่ มีแต่กระต๊อบ ๆ ทั้งนั้นนะ หรูหราที่ไหน นั่นแหละ..สถานที่อยู่ของธรรม หรูหราไหม ? สถานที่อยู่ของธรรมดวงเลิศ ผู้เลิศมักจะอยู่อย่างนั้น และอยู่อย่างนั้น
ทีนี้พอเปิดประตูออกมา ท่านอาจารย์ฝั้นก็ไปรอ เปิดประตูออกมานี่ ยืน ‘กึ๊ก’ เลยเชียวนะ ‘เป็นยังไง ? เห็นหรือยังศาสนา..ทีนี้ ?’
เอาละนะ แทนที่ท่านอาจารย์มั่นจะให้เข้าไปจับ ไปขนบริขาร (เพื่อเตรียมออกบิณฑบาต) ไม่ให้ไปนะ ท่านไปยืนกันอยู่ที่ประตูเลย ทางนั้นก็คุกเข่าหมอบนั่นอยู่
‘เป็นยังไง ? เห็นหรือยังศาสนา..ทีนี้ ? หือ ? หือ ?’ ขึ้นเลย
‘ศาสนาอัศจรรย์ที่ไหน ? ศาสนาอยู่ที่ไหน ? มรรคผลนิพพานอยู่ที่ไหน ? เห็นหรือยัง ?’ ว่าอย่างนั้นนะ ยืนจ้ออัดอยู่ที่นั่นเลย เสียงเปรี้ยง เปรี้ยง
‘เจริญที่ไหน ? เห็นหรือยังทีนี้ ?’
คือกลางคืนนั้นจิตสว่างจ้านี่นา ก็ท่านอาจารย์มั่นดูอยู่แล้วนี่ พอออกมาท่านถึงใส่เปรี้ยงเลย
‘เห็นหรือยัง ? ศาสนาเจริญที่ไหน? หือ? มรรคผลนิพพานเจริญที่ไหน ? ผมดูท่านทั้งคืนนะ เมื่อคืนนี้ ผมก็ไม่ได้นอน’
มันก็ยอมรับเลย พอท่านอาจารย์ฝั้นจ่อจิตไป ส่งจิตไปทีไร ท่านจ้องดูอยู่แล้ว มันก็หมอบ ถอย ถอย ดูทีไรจ่ออยู่ ‘ผมก็ไม่ได้นอนทั้งคืน เมื่อคืนนี้ ดูท่านนี่แหละ’
ว่าอย่างนั้นนะ เพราะฉะนั้นถึงว่า ไหน ? .. ศาสนาเจริญที่ไหน ? จ้อเข้าเลยสิ นั่นเห็นไหม ? ท่านมาเล่าให้ฟัง ท่านบอก ‘โอ๊ย..ขนลุกเลย ไม่ทราบมันเป็น 'ยังไง' ทั้งปีติยินดีในจิตอัศจรรย์ ปีติยินดีล้นพ้น และอัศจรรย์ท่านอาจารย์มั่นก็อัศจรรย์ล้นพ้น’ ท่านว่าอย่างนั้นนะ ชมความอัศจรรย์ทั้งวันทั้งคืนเลย นั่นแหละ ธรรมหาอย่างนั้นแหละ ธรรมอยู่ที่นี่แหละ ชี้เข้ามาที่ใจเท่านั้น รับธรรม ใจเท่านั้น ..รับมรรคผลนิพพาน สิ่งอื่นใดในโลก ไม่มีอะไรรับได้...”
ลัก...ยิ้ม
28-08-2012, 10:27
หลวงปู่มั่น ลึกซึ้งในพระวินัย
คราวสมัยหนึ่งที่หลวงปู่มั่นยังพักอยู่ทางจังหวัดเชียงใหม่ เป็นช่วงที่ท่านพระอาจารย์เฟื่องได้เข้าไปศึกษาอยู่ด้วย มีเหตุการณ์สำคัญแสดงถึงความลึกซึ้งรอบรู้ในพระวินัยของหลวงปู่มั่น ซึ่งองค์หลวงตาได้เล่าไว้ ดังนี้
“... ทีนี้อาจารย์เฟื่องไปอยู่กับท่าน (พระอาจารย์มั่น) ใหม่ ๆ พอบิณฑบาต ท่านได้น้ำตาลมาก้อนหนึ่ง ห่อมาอย่างดี ท่านก็ยกขึ้นมาแล้วว่า ‘นี่น้ำตาลนี่ดี ไม่เปื้อนอะไร ใครจะเก็บไว้ฉันในเวลาวิกาลก็ได้’
ท่านว่าอย่างนั้น ท่านไม่ได้บอก ๗ วันเพราะพระรู้เรื่องแล้ว เรื่องสัตตาหกาลิกนี่ สำหรับอันนี้เป็นสัตตาหกาลิก แต่เอาออกมาจากบาตรนะซี ที่ทำให้อาจารย์เฟื่องสงสัย
‘นี่ก็บิณฑบาตมากับข้าวแล้ว ทำไมท่านอาจารย์องค์นี้ว่าเป็นผู้ปรากฏชื่อลือนามทางด้านธรรมวินัยเคร่งครัดที่สุดแล้ว ทำไมจึงต้องเอาน้ำตาลที่เขาใส่บาตรมานี่.. เก็บไว้ฉันในเวลาวิกาล มันสมควรที่ไหน ?’
คิด..คิดแล้วไม่ลงท่านนะ
พอเช้าวันหลังนี่ ท่านว่า
‘พระองค์ไหนมาอยู่กับเรานี่ แบกคัมภีร์มาตีหัวเราเมื่อคืนนี้ นั่นเห็นไหม แบกคัมภีร์มาตีหัวเรา เรานี่เป็นภิกษุเฒ่า ไม่รู้คัมภีร์วินัยอะไรเลย พระองค์นั้นอยู่แถวนี้แหละ จะยกคัมภีร์มาตีหัวเรา คืนนี้จะพิจารณาให้ชัดเจน’
ความจริงท่านชัดเจนแล้ว ท่านตีแต่ฉากไปฉากมาเสียก่อน เข้าใจหรือเปล่า วันนี้ยังไม่ชัดเจนเท่าไร เอาไว้วันพรุ่งนี้จะพิจารณาให้ชัดเจน อาจารย์เฟื่องหมอบ ต้องไปขอขมาท่าน ท่านก็เลยอธิบายพระวินัยให้ฟัง‘พระวินัยข้อนี้น่ะ เห็นไหม กาลิกระคนกัน เช่น สัตตาหกาลิก น้ำอ้อย น้ำตาล มาผสมกับข้าว นี่ฉันได้เพียงถึงอายุเที่ยงวันเท่านั้น หมดอายุ ฉันต่ออีกไม่ได้ แต่ถ้าน้ำตาลนี่ ไม่เปื้อนเปรอะอะไรเลย ห่อมาเรียบร้อย ก็ฉันได้ตามกาลของมัน แม้จะมาในบาตรก็ตาม นี่เราทำอย่างนั้นนั่น’
เวลาท่านสอน..ท่านสอนอย่างนั้น หาที่ค้านไม่ได้ พระวินัยมีอย่างนี้ แต่คนไม่เห็นกาลิกที่แยกนะซี เห็นแต่กาลิกระคนกันแล้ว..ใช่ไหม ? พระวินัยมีทั้งกาลิกระคนกัน และกาลิกแยกกัน แม้จะมาในขณะเดียวกัน เช่น เขาถวายอะไรมาพร้อมกับอาหาร ถ้าเป็นคนละประเภท เรายกตัวอย่างหมาก มันก็เป็นหมากไปเสีย ผสมกับข้าวไม่ได้ ก็จัดเป็นคนละประเภท ๆ ไป...”
ลัก...ยิ้ม
29-08-2012, 14:13
หลวงปู่มั่น ทำนายฝันปฏิปทาทางดำเนิน
หลังจากที่อยู่กับหลวงปู่มั่นได้ประมาณสัก ๔ - ๕ คืนเท่านั้น ท่านก็ฝันเรื่องประหลาดอัศจรรย์เรื่องหนึ่ง ดังนี้
“...ความฝันนี้ก็เป็นความฝันเรื่องอัศจรรย์เหมือนกัน ฝันว่าได้สะพายบาตร แบกกลด ครองผ้าด้วยดี ไปตามทางอันรกชัฏ สองฟากทางแยกไปไหนไม่ได้ มีแต่ขวากแต่หนามเต็มไปหมด นอกจากจะพยายามไปตามทางที่เป็นเพียงด่าน ๆ ไปอย่างนั้นแหละ รกรุงรัง หากพอรู้เงื่อนพอเป็นแถวทางไป พอไปถึงที่แห่งหนึ่งก็มีกอไผ่หนา ๆ ล้มทับขวางทางไว้ หาทางไปไม่ได้ จะไปทางไหนก็ไปไม่ได้ มองดูสองฟากทางก็ไม่มีทางไป ‘เอ นี่เราจะไปยังไงนา ?’
เสาะที่นั่นเสาะที่นี่ไป ก็เลยเห็นช่อง ช่องที่ทางเดินไปตรงนั้นแหละ เป็นช่องนิดหน่อยพอที่จะ 'บึกบืน' ไป ให้หลวมตัวกับบาตรลูกหนึ่งพอไปได้ เมื่อไม่มีทางไปจริง ๆ ก็เปลื้องจีวรออก มันชัดขนาดนั้นนะความฝัน เหมือนเราได้ฝัน เปลื้องจีวรออกพับเก็บอย่างที่เราพับเก็บเอามาวางนี้แล เอาบาตรออกจากบ่า เจ้าของก็คืบคลานไป แล้วก็ดึงสายบาตรไปด้วย กลดก็ดึงไปไว้ที่พอเอื้อมถึง 'พอบืน' ไปได้ก็ลากบาตรไปด้วย ลากกลดไปด้วย แล้วก็ดึงจีวรไปด้วย
'บืน' ไปอยู่อย่างนั้นแหละ ยากแสนยาก พยายาม 'บึกบืน' กันอยู่นั้นเป็นเวลานาน พอดีเจ้าของก็พ้นไปได้ เดี๋ยวก็ค่อยดึงบาตรไป บาตรก็พ้นไปได้ แล้วก็ดึงกลดไป กลดก็พ้นไปได้ พยายามดึงจีวรไป จีวรก็พ้นไปได้ พอพ้นไปได้หมดแล้วก็ครองผ้า มันชัดขนาดนั้นนะ..ความฝัน ครองจีวรแล้วก็สะพายบาตร นึกในใจว่า ‘เราไปได้ละทีนี้’ ก็ไปตามด่านนั้นแหละ ทางรกมากพอไปประมาณสัก ๑ เส้นเท่านั้น สะพายบาตร แบกกลด ครองจีวรไป
ตามองไปข้างหน้าเป็นที่เวิ้งว้างหมด คือข้างหน้าเป็นมหาสมุทร มองไปฝั่งโน้นไม่มี เห็นแต่ฝั่งที่เจ้าของยืนอยู่เท่านั้น และมองเห็นเกาะหนึ่งอยู่โน้น ไกลมาก มองสุดสายตาพอมองเห็นเป็นเกาะดำ ๆ นี่แหละ นี่เราจะไปเกาะนั้น
พอเดินลงไปฝั่งโน้น เรือไม่ทราบมาจากไหน เราก็ไม่ได้กำหนดว่าเรือยนต์ เรือแจว เรือพายอะไร เรือมาเทียบฝั่ง เราก็ขึ้นนั่งเรือ คนขับเรือเขาก็ไม่พูดอะไรกับเรา พอลงไปนั่งเรือแล้วก็เอาบาตรเอาอะไรลงวางบนเรือ เรือก็บึ่งพาไปโน้นเลยนะ โดยไม่ต้องบอก มันอะไรก็ไม่ทราบ บึ่ง ๆ ๆ ไปโน้นเลย ไม่รู้สึกว่ามีภัยมีอันตรายมีคลื่นอะไรทั้งนั้นแหละ ไปแบบเงียบ ๆ ครู่เดียวเท่านั้นก็ถึงเพราะเป็นความฝันนี่
พอไปถึงเกาะนั้นแล้ว เราก็ขนของออกจากเรือแล้วขึ้นบนฝั่ง เรือก็หายไปเลย เราไม่ได้พูดกันสักคำเดียวกับคนขับเรือ เราก็สะพายบาตรขึ้นไปบนเกาะนั้น พอปีนเขาขึ้นไป ๆ ก็ไปเห็นหลวงปู่มั่นกำลังนั่งอยู่บนเขาบนเตียงเล็ก ๆ กำลังนั่งตำหมาก จ๊อก ๆ อยู่ พร้อมกับมองมาดูเราที่กำลังปีนเขาขึ้นไปหาท่าน
‘อ้าว! ท่านมหามาได้ยังไงนี่ ? ทางสายนี้ใครมาได้เมื่อไหร่ ท่านมหามาได้ยังไงกัน?’
‘กระผมนั่งเรือมา ขึ้นเรือมา’
‘โอ้โฮ ทางนี้มันมายากนา ใคร ๆ ไม่กล้าเสี่ยงตายมากันหรอก เอ้า ถ้าอย่างนั้นตำหมากให้หน่อย’
ท่านก็ยื่นตะบันหมากให้ เราก็ตำ จ๊อก ๆ ๆ ได้ ๒-๓ จ๊อกเลยรู้สึกตัวตื่น แหม...เสียใจมาก อยากจะฝันต่อไปอีกให้จบเรื่องค่อยตื่นก็ยังดี...”
พอตื่นเช้ามา ท่านเลยเอาเรื่องนี้ไปเล่าถวายให้หลวงปู่มั่นฟัง หลวงปู่มั่นก็ได้เมตตาพูดเสริมกำลังใจให้ศิษย์เพิ่มเติมอีก ให้พากเพียรดำเนินปฏิปทาตามฝันนั้น อดทนประพฤติปฏิบัติจนให้กลายเป็นจริงขึ้นมา หลวงปู่มั่นเมตตาพูดอธิบายความฝันว่า
“เอ้อ! ที่ฝันนี่เป็นมงคลอย่างยิ่งแล้วนะ นี้เป็นแบบเป็นฉบับในปฏิปทาของท่านไม่เคลื่อนคลาดนะ ให้ท่านดำเนินตามปฏิปทาที่ท่านฝันนี้ เบื้องต้นจะยากลำบากที่สุดนะ... ท่านต้องเอาให้ดี ท่านอย่าท้อถอย เบื้องต้นนี้ลำบาก ดูท่านลอดกอไผ่มาทั้งกอนั่นแหละ ลำบากมากตรงนั้น เอาให้ดี อย่าถอยหลังเป็นอันขาด
พอพ้นจากนั้นไปแล้ว ก็เวิ้งว้างไปได้สบายจนถึงเกาะ .. อันนั้นไม่ยาก ตรงนี้ตรงยากนา...พอพ้นจากนี้แล้ว ท่านจะไปด้วยความสะดวกสบายไม่มีอุปสรรคอันใดเลย มีเท่านั้นแหละ เบื้องต้นเอาให้ดีอย่าถอยนะ ... ถ้าถอยตรงนี้ ไปไม่ได้นะ
เอ้า! เป็นก็เป็น ตายก็ตาย ฟาดมันให้ได้ตรงนี้น่ะ ... มันจะยากแค่ไหน มันก็ไปได้นี่ อย่าถอยนะ”
ท่านฟังอย่างถึงใจพร้อมกับเก็บความมุ่งมั่นจริงจังอยู่ภายในว่า แม้การปฏิบัติจะยากเพียงใด เราก็จะต้องสู้อย่างไม่มีถอย เป็นก็เป็น ตายก็ตาย
หมายเหตุ : บืน = ดันทุรังไป
ลัก...ยิ้ม
30-08-2012, 09:34
คติเตือนใจจากฝัน “โรงเลี้ยงหมู”
ระยะที่ท่านเข้าอยู่ศึกษาใหม่ ๆ ท่านรู้สึกเกรงกลัวหลวงปู่มั่นมาก อาจเป็นเพราะเหตุนี้เอง ทำให้วันหนึ่งในตอนกลางวันหลังจากเอนกายลงพักผ่อนอิริยาบถได้ไม่นาน ก็เลยเคลิ้มหลับไป ขณะที่เคลิ้มหลับไปนั้นปรากฏว่า หลวงปู่มั่นมาดุเอาเสียยกใหญ่ว่า
“ท่านมานอนเหมือนหมูอยู่ทำไมที่นี่ ? เพราะที่นี่มิใช่โรงเลี้ยงหมู ผมจึงไม่เสริมพระที่มาเรียนวิชาหมู เดี๋ยววัดนี้จะกลายเป็นโรงเลี้ยงหมูไป”
เสียงของหลวงปู่ในฝันนั้น เป็นเสียงตะโกนดุด่าขู่เข็ญให้ท่านกลัวเสียด้วย จึงทำให้ท่านสะดุ้งตื่นขึ้นด้วยความตระหนกตกใจ ท่านพยายามโผล่หน้าออกมาที่ประตูเพื่อมองหาหลวงปู่มั่น แต่ก็ไม่พบ ท่านเล่าความรู้สึกของท่านในตอนนั้นว่า
“ทั้งตัวสั่น ใจสั่น แทบเป็นบ้าไปในขณะนั้น เพราะปกติก็กลัวท่านแทบตั้งตัวไม่ติดอยู่แล้ว แต่บังคับตนอยู่กับท่าน ด้วยเหตุผลที่เห็นว่าชอบธรรมเท่านั้น แถมท่านยังนำยาปราบหมูมากรอกเข้าอีก นึกว่าสลบไปในเวลานั้น พอโผล่หน้าออกมา มองโน้นมองนี้ไม่เห็นท่านมายืนอยู่ตามที่ปรากฏ จึงค่อยมีลมหายใจขึ้นมาบ้าง”
พอได้โอกาสท่านจึงกราบเรียนเล่าถวาย หลวงปู่มั่นก็เมตตาแก้ให้เป็นอุบายปลอบโยน โดยอธิบายความฝันนั้นให้ฟังว่า
“...เรามาหาครูอาจารย์ใหม่ ๆ ประกอบกับมีความระวังตั้งใจมาก เวลาหลับไปทำให้คิดและฝันไปอย่างนั้นเอง
ที่ท่านไปดุว่าเราเหมือนหมูนั้น เป็นอุบายของพระธรรม ท่านไปเตือนไม่ให้เรานำลัทธินิยมของหมูมาใช้ในวงของพระและพระศาสนา
โดยมาก คนเราไม่ค่อยคำนึงถึงความเป็นมนุษย์ของตัวว่ามีคุณค่าเพียงไร เวลาอยากทำอะไรทำตามใจชอบ ไม่คำนึงถึงความผิดถูกชั่วดี จึงเป็นมนุษย์เต็มภูมิได้ยาก...
พระธรรมท่านมาสั่งสอนดังที่ท่านปรากฏนั้น เป็นอุบายที่ชอบธรรมดีแล้ว จงนำไปเป็นคติเตือนใจตัวเอง เวลาเกิดความเกียจคร้านขึ้นมา จะได้นำอุบายนั้นมาใช้เตือนสติกำจัดมันออกไป
นิมิตเช่นนี้เป็นของดีหายาก ไม่ค่อยปรากฏแก่ใครง่าย ๆ ผมชอบนิมิตทำนองนี้มาก เพราะจะพลอยได้สติเตือนตน มิให้ประมาทอยู่เนือง ๆ ความเพียรจะได้เร่งรีบ... ถ้าท่านมหานำอุบายที่พระธรรมท่านมาเทศน์ให้ฟัง ไปปฏิบัติอยู่เสมอ ๆ ใจท่านจะสงบได้เร็ว....
เรามาอยู่กับครูอาจารย์ อย่ากลัวท่านเกินไป ใจจะเดือดร้อนนั่งนอนไม่เป็นสุข ผิดถูกประการใดท่านจะสั่งสอนเราไปตามจารีตแห่งธรรม
การกลัวท่านอย่างไม่มีเหตุผลนั้น ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย จงกลัวบาปกลัวกรรม..ที่จะนำทุกข์มาเผาลนตนให้มากกว่ากลัวอาจารย์ ผมเองมิได้เตรียมรับหมู่คณะไว้เพื่อดุด่า เฆี่ยนตี โดยไม่มีเหตุผลที่ควร...”
ลัก...ยิ้ม
31-08-2012, 10:30
ฝึกฝนการฟังธรรมด้วยภาคปฏิบัติ
เมื่อเข้าพรรษา หลวงปู่มั่นพาหมู่คณะจำพรรษาที่สำนักป่าบ้านโคก จังหวัดสกลนคร ด้วยความผาสุกทั้งทางกายและจิตใจ ไม่มีการเจ็บไข้ได้ทุกข์ตลอดเวลา ท่านเล่าถึงความรู้สึกในครั้งนั้นว่า
“ท่านพระอาจารย์มั่นได้เมตตารับเราไว้แบบท่อนซุงทั้งท่อน ไม่เป็นท่าเป็นทางอะไรเลย อยู่กับท่านแบบทัพพีไม่รู้รสแกง คิดแล้วน่าอับอายขายหน้า.. ที่พระซุงทั้งท่อนไปอยู่กับท่านผู้ฉลาดปราดเปรื่องเลื่องลือระบือทั่วทั้งจักรวาลเบื้องบนเบื้องล่าง”
หลวงปู่มั่นประชุมธรรมเป็นประจำทั้งในและนอกพรรษา ๖ - ๗ คืนต่อครั้ง การแสดงธรรมแต่ละครั้ง มีตั้งแต่ ๒ ชั่วโมงขึ้นไปถึง ๔ ชั่วโมง ในขณะฟังธรรม ผู้ฟังนั่งทำจิตภาวนาไปพร้อมอย่างเพลิดเพลิน ลืมเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า แม้องค์ท่านเองก็รู้สึกเพลิดเพลินไปด้วย
ในการแสดงธรรมแก่พระเณรแต่ละครั้ง ท่านแสดงอย่างถึงเหตุถึงผลและถึงใจผู้ฟัง ซึ่งมุ่งมั่นต่ออรรถธรรมจริง ๆ ท่านเล่าว่า
“ขณะที่ฟังท่านแสดง ทำให้จิตประหวัดถึงครั้งพุทธกาล ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุบริษัทโดยเฉพาะ เป็นที่แน่ใจว่า พระองค์ทรงหยิบยกเอาแต่ธรรมมหาสมบัติ คือมรรคผลนิพพานออกแสดงล้วน ๆ ไม่มีธรรมอื่นแอบแฝงอยู่ในขณะนั้นเลย”
แม้ท่านจะได้ศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกมาไม่น้อย อีกทั้งมีความรู้ระดับจบนักธรรมเอกและมหาเปรียญ แต่ในระยะแรกการฟังธรรมภาคปฏิบัติ ขณะที่อยู่กับหลวงปู่มั่นกลับไม่เข้าใจเท่าใดนัก ดังนี้
“...ฟังท่านเทศน์เรื่องสมาธิปัญญาไม่ว่าขั้นไหน ไม่รู้เรื่องเลย เหมือนกับร้องเพลงให้ควายฟังนั่นแล แต่ดีอย่างหนึ่งที่ไม่เคยตำหนิติเตียนท่านว่า ‘ท่านเทศน์ไม่รู้เรื่องรู้ราว’
แต่ย้อนกลับมาตำหนิเจ้าของว่า ‘นี่เห็นไหม ท่านอาจารย์มั่น ชื่อเสียงท่านโด่งดังกิตติศัพท์ กิตติคุณท่านลือกระฉ่อนไปทั่วโลกมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่เรายังเป็นเด็ก เรามีความพอใจที่จะได้พบ ได้เห็น ได้ฟังโอวาทของท่าน บัดนี้ เราได้มาฟังแล้วไม่เข้าใจ เราอย่าได้เข้าใจว่าเราฉลาดเลย นี่...เราโง่แค่ไหนรู้หรือยังทีนี้ ?
เราเคยฟังเทศน์ทางด้านปริยัติ ฟังจนกระทั่งเทศน์ของสมเด็จฯ เราเข้าใจไปหมด แต่เวลามาฟังเทศน์ท่านอาจารย์มั่น ซึ่งเป็นองค์ประเสริฐทางภาคปฏิบัติและจิตใจ แต่ไม่เข้าใจ เราเชื่อแล้วว่า ท่านเป็นพระประเสริฐที่ปรากฏชื่อเสียงมานานถึงขนาดนั้น เรายังไม่เข้าใจ นี่.. เห็นแล้วหรือยัง ความโง่ของเรา’
ครั้นพอฟังเทศน์ท่านไปนาน ๆ เราก็ปฏิบัติไปทุกวี่ทุกวันทุกเวลา ฟังเทศน์ท่านค่อยเข้าใจ จิตค่อยได้รับความสงบเย็นเข้าไป เย็นเข้าไปเป็นลำดับ ทีนี้รู้สึกว่าเริ่มค่อยซึ้งเพราะฟังธรรมเทศนาของท่านก็เข้าใจ
พูดถึงเรื่องสมาธิแล้ว ‘ใสแจ๋ว’ภายในจิตใจ จากนั้นก็เริ่มเข้าใจโดยลำดับ ๆ ซาบซึ้งโดยลำดับ ๆ เลยกลายเป็นคนหูสูงไป คนหูสูงคือ นอกจากท่านแล้ว ไม่อยากฟังเทศน์ของใครเลย เพราะเทศน์ไม่ถูกจุดที่ต้องการ เทศน์ไม่ถูกจุดของกิเลสที่ซุ่มซ่อนตัว เทศน์ไม่ถูกจุดของสติปัญญาซึ่งเป็นธรรมแก้กิเลส เทศน์ไม่ถูกจุดแห่งมรรคผลนิพพาน...”
ท่านสรุปความว่า การประพฤติปฏิบัติจากการอบรมตนอยู่โดยสม่ำเสมอนี้ คือการสร้างวาสนาทำให้จิตใจมีการเปลี่ยนแปลงเจริญขึ้น ธรรมที่หลวงปู่มั่นแสดงจึงเหมือนกับเทน้ำล้างสิ่งสกปรกในจิตใจเรา ให้ค่อยสะอาดขึ้นมา ๆ ใจก็จะปรากฏเป็นของมีค่าขึ้นมาโดยลำดับไป
ลัก...ยิ้ม
04-09-2012, 09:40
พระสาวก... ครั้งพุทธกาล
พระอนุรุทธะ รู้วาระจิตผู้อื่น
“...พระอนุรุทธะนี้ก็เป็นเชื้อกษัตริย์ พระอนุรุทธะ พระอานนท์ เหล่านี้เป็นเชื้อกษัตริย์ในวงศ์พระศาสดานั่นแหละ เสด็จออกบวชเสียหมดเลย เป็นพระอรหันต์ล้วน ๆ ... พระอนุรุทธะเก่งในทางเจโตปริยญาณหรือปรจิตวิชชา คือวาระจิตของคนอื่นคนใดก็ตาม แม้แต่เทวบุตรเทวดา พระอนุรุทธะก็ทราบได้ละเอียดลออ...
ขณะที่พระองค์ทรงหน้าที่ปรินิพพาน เมื่อประทานพระโอวาทวาระสุดท้าย โอวาทวาระสุดท้ายนั้น เป็นภาษาไทยก็ว่า ‘ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เราเตือนเธอทั้งหลาย สังขารมีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปดับไปอยู่อย่างนี้เป็นประจำ จงพิจารณาสังขารอันนี้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด’ … เวลานั้นไม่ใช่เวลาธรรมดา เป็นวิสามัญธรรมดา ๆ เป็นวิสามัญ
๑) จะปรินิพพานอยู่แล้วในขณะนั้น
๒) พระสงฆ์ที่เฝ้าพระองค์อยู่เวลานั้นมีแต่ผู้เตรียมพร้อมแล้ว ตั้งแต่พระอรหันต์ลงมาจนกระทั่งถึงกัลยาณปุถุชน คือภิกษุเรื่อยลงมาเป็นลำดับ...
พอจากนั้นแล้วก็ปิดพระโอษฐ์ ทรงทำหน้าที่ปรินิพพาน ในขณะที่ทำหน้าที่นั้น พระสงฆ์สาวกก็ห้อมล้อมอยู่ พระอนุรุทธะก็อยู่ที่นั่นด้วย... พระอนุรุทธะตามเสด็จพระพุทธเจ้าในขณะที่จะปรินิพพาน จนกระทั่งปรินิพพานแล้วนั่นแหละ เวลาพระพุทธเจ้าจะปรินิพพานเพียงเสด็จเข้าสู่ปฐมฌานเรื่อยไป ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ฌาน ๔ นี้เป็นรูปฌาน แล้วก็ก้าวเข้าไปถึงอากาสานัญจยตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ นี่เป็นอรูปฌาน ๔
จิตก้าวเข้าไป ๆ ผ่านไป ๆ ผ่านไปตรงไหน พระอนุรุทธะรู้หมด ๆ จนกระทั่งเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ดับสัญญาและเวทนาทั้งหมด สงบพระองค์อยู่นั้น พระทั้งหลายก็สงสัย มีพระอานนท์เป็นต้นนี้ สงสัยถามพระอนุรุทธะว่า ‘นี่ไม่ใช่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วหรือ ?’
พระอนุรุทธะก็ตอบทันทีว่า ‘ยัง’ นั่น..ฟังซิ ‘เวลานี้เข้าประทับอยู่ที่สัญญาเวทยิตนิโรธ’
เพราะผู้ดู..ดูอยู่นี่ นั่นละ พระจิตที่บริสุทธิ์นั่น ดูซิ ...สูญไหม ? ถ้าสูญ..พระอนุรุทธะเห็นได้อย่างไร ? นั่นเอายันกันตรงนี้ซิ พระอนุรุทธะก็เป็นพระอรหันต์ แต่เก่งทางปรจิตวิชชา ตามเสด็จตามพระจิตของพระพุทธเจ้า ตามเสด็จในเวลาเข้าฌานเรื่อย ๆ พอเคลื่อนไหวออกมาก็บอก เคลื่อนออกมาจากสัญญาเวทยิตนิโรธเรื่อยมา จนกระทั่งถึงพระจิตอันบริสุทธิ์ธรรมดาแล้วก้าวเข้าอีก
พอก้าวเข้าฌาน คราวนี้ก็ถึงแค่จตุตถฌานซึ่งเป็นรูปฌาน ๔ พอผ่านจากรูปฌาน ๔ แล้วก็ไม่ก้าวเข้าไปอรูปฌาน ๔ แล้ว เพราะทั้งสองอย่างนี้เป็นสมมุติด้วยกัน พระจิตที่เป็นวิมุตติก็ผ่านออกตรงกลาง เมื่อผ่านออกไปไม่มีอะไรพาดพิงแล้ว ก็พูดไม่ได้ว่าไปโน้น ไปอยู่ที่โน่นที่นี่ เพราะไม่มีที่พาดพิง รูปฌาน อรูปฌาน เป็นสมมุติ สัญญาเวทยิตนิโรธก็เป็นสมมุติ พระจิตเข้าไปเกี่ยวข้องกับสมมุติใดก็บอกได้ว่า เวลานี้อยู่ตรงนั้น ๆ
พอออกจากสมมุตินี้โดยประการทั้งปวงแล้ว..นั่นพูดไม่ได้ จิตดวงนั้นแหละ จิตดวงบริสุทธิ์นั่นแหละ เวลาไม่มีอะไรพาดพิงแล้วก็พูดไม่ได้ แล้วสูญไหมล่ะ ? ฟังซิ..แต่อยู่ในนี้มีสิ่งที่พาดพิงอยู่นี้ก็พูดได้ว่า พระจิตของพระพุทธเจ้าเวลานี้เสด็จไปตรงนั้น ๆ พระจิตที่บริสุทธิ์นั่นไปไหนก็รู้หมด เพราะมีสมมุติเป็นเครื่องพาดพิงกัน พอให้ได้พูด พอออกจากนั้นแล้วไม่มีสมมุติ ก็ทีนี้ปรินิพพานแล้วเท่านั้น นั่นชัด
ท่านผู้รู้นิพพาน พูดเรื่องนิพพาน พูดได้เต็มปากซิ ก็พระอรหันต์เป็นผู้สอุปาทิเสสนิพพาน จิตเป็นนิพพานทั้ง ๆ ที่ยังมีธาตุมีขันธ์อยู่นี้... พระองค์ทรงรับสั่งข้อไหนเป็นพุทธพจน์แล้ว โอ้โห...เด็ดมาก ๆ ทุกประโยคเชียวนะ พระไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องยุ่งเหยิงวุ่นวาย ปล่อยให้ประชาชนเขามีกษัตริย์ มัลลกษัตริย์เป็นต้น มาจัดทำ
เวลาจะทรงเคลื่อนไหวพระสรีระศพออก ทีแรกออกไปทิศใต้ เทวดาไม่เห็นด้วย พระอนุรุทธะเก่งทางปรจิตวิชชาบอกว่า ‘เทวดาไม่ยินดีด้วย เทวดาให้ไปทางทิศเหนือ’ พอหมุนปั๊ปให้ไปทางทิศนั้นก็ไปได้เลย นั่นเห็นไหม ? พระอนุรุทธะบอกเทวดาไม่ยินดี ไม่เห็นด้วย เทวดาให้ไปทางนั้น ...
พอไปถึงแล้วบรรจุไฟละ..ที่นี่นะ..เอ้า..ไม่ติดอีก ‘ทำไมจึงไม่ติด ?’
‘ยังรอพระกัสสปะ พระกัสสปะกำลังเดินทางมาจะมาเฝ้าพระศาสดาเรา’ จึงต้องรอพระกัสสปะ พอพระกัสสปะมาก็พรึบเองเลยเทียว เป็นเองขึ้นเลยเทียว พอกราบฝ่าพระบาทของพระพุทธเจ้าแล้ว ไฟก็ขึ้นเองพรึบเลย...’
ลัก...ยิ้ม
05-09-2012, 10:20
https://public.blu.livefilestore.com/y1pWG3zUMcfPkz-h5UtcdibJinOaMq_80QD6e-n5iJxZswAaZ7saEzEeQ7DWML_XOZ3cQISBPqbOmmrXxvzcJhdxg/%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%20%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8F%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99.jpg?psid=1
ศิษย์อาจารย์เหมือนพ่อกับลูก
กล่าวถึงหลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท ซึ่งติดตามอุปัฏฐากหลวงปู่มั่นมาจากเชียงใหม่ และอยู่จำพรรษากับหลวงปู่มั่น ๒ พรรษาที่วัดป่าโนนนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี ต่อมาได้ติดตามไปสกลนครตามคำอาราธนานิมนต์ของคณะศรัทธาทางสกลนคร มีคุณแม่นุ่ม ชุวานนท์ เป็นต้น จากนั้นหลวงปู่มั่นได้มอบหมายให้หลวงปู่เจี๊ยะ ไปดูแลอุปัฏฐากอาการอาพาธของหลวงปู่เสาร์ที่วัดดอนธาตุ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
เหตุที่ทำให้หลวงปู่เสาร์ป่วยกระออดกระแอด เนื่องจากบ่ายวันหนึ่ง เหยี่ยวตัวหนึ่งบินโฉบมาหาเหยื่อ แล้วถูกรังผึ้งขาดตกลงมาด้านข้าง ขณะที่หลวงปู่กำลังนั่งสมาธิอยู่ใต้โคนต้นยางใหญ่ ผึ้งได้รุมต่อยหลวงปู่หลายตัวจนต้องหลบเข้าไปในมุ้งกลด ตอนที่หลวงปู่เจี๊ยะมาถึงวัดดอนธาตุ ก็ปรากฏว่ามีอาการหนักขึ้นโดยลำดับ ท่านจึงอยู่ปฏิบัติจนเป็นปกติดี จากนั้นหลวงปู่เสาร์จึงออกธุดงค์ไปทางหลี่ผี ประเทศลาว เพื่อทำบุญอุทิศให้ท่านแดดัง (พระครูทา โชติปาโล) ผู้เป็นอุปัชฌาย์
เดิมหลวงปู่เจี๊ยะคิดจะกลับไปหาหลวงปู่มั่น แต่ก็ให้หวนรู้สึกประหวัด ๆ อยู่ในใจว่า
“เจี๊ยะเอ้ย... ดูแลหลวงปู่เสาร์แทนผมให้ดีนะ ถึงการป่วยอาพาธของท่านจะหาย ก็อย่าได้ไว้วางใจเป็นอันขาด”
หลวงปู่เจี๊ยะเชื่อในญาณความรู้พิเศษของหลวงปู่มั่นว่า ต้องทราบเหตุการณ์ล่วงหน้าอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่นอน จึงตัดสินใจออกธุดงค์ติดตามหลวงปู่เสาร์แต่ก็คลาดกัน
ในกาลต่อมา มีจดหมายแจ้งให้ทราบว่า หลวงปู่เสาร์ป่วยหนัก กำลังจะมาถึงนครจำปาศักดิ์ประมาณ ๕ โมงเย็น พอมาถึง หลวงปู่เจี๊ยะพร้อมพระเพ็งจึงลงไปรับในเรือ พบว่าท่านมีอาการหนักมาก จึงจัดเปลหามเข้าไปในอุโบสถวัดอำมาตย์ หลวงปู่ก็ทำกิริยาให้ประคองท่านขึ้นกราบพระ พอกราบลงครั้งที่สาม เห็นท่านกราบนานผิดปกติ เมื่อพยุงหลวงปู่เข้าสู่อิริยาบถนอน ท่านก็หายใจยาว ๆ ๓ ครั้ง แล้วก็ถึงแก่กาลกิริยาโดยสงบ เมื่อเวลา ๑๗.๓๐ น. วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕ (สิริอายุรวม ๘๓ ปี)
หลวงปู่เจี๊ยะจัดเรื่องงานศพทุกอย่างสุดความสามารถ เมื่อตั้งไว้สักการะระยะหนึ่งแล้ว จึงนำศพท่านลงเรือกลับมาอุบลราชธานี และรีบเดินทางกลับไปจำพรรษากับหลวงปู่มั่น เพื่อกราบเรียนเรื่องงานการให้ท่านทราบ พรรษานี้จึงเป็นพรรษาที่ ๓ ที่อยู่ร่วมกับหลวงปู่มั่นและองค์หลวงตาที่วัดป่าบ้านโคกแห่งนี้ องค์หลวงตาเพิ่งมาอยู่กับหลวงปู่มั่นใหม่ ๆ ได้สังเกตเห็นความสนิทสนมระหว่างหลวงปู่มั่นกับหลวงปู่เจี๊ยะ ดูเหมือนพ่อแม่กับลูก ได้แอบคิดอยู่ในใจว่า “ทำไมท่านถึงสนิทกันนักหนา”
องค์หลวงตาได้เล่าถึงเหตุการณ์ในวันหนึ่ง ขณะกำลังเดินจงกรมอยู่ในป่า ได้ยินเสียงดังขึ้นมาจากภายในวัดป่าบ้านโคกแห่งนี้นี่เอง ดังนี้
“...ท่านเย็บผ้าอยู่สององค์ ท่านอาจารย์เจี๊ยะกับท่านนั่นแหละ เย็บผ้า ท่านปะท่านชุนผ้าเช็ดมือ ท่านประหยัดมาก ท่านไม่ลืมตัว ทีนี้เย็บผ้าไปเย็บผ้ามา ฟังเสียงบ๊งเบ๊ง ๆ ขึ้น
‘เอาแล้ว..ทีนี้อะไรน้า ?’ เราก็ไปอยู่ใหม่ ๆ เสียงลั่นศาลาเล็ก ๆ นี่’
แต่ว่าเสียงมันไม่เล็กละสิ เสียงลั่นกระเทือนไปหมด เรายืนฟังอยู่โน้น หากได้ยินไม่ได้ศัพท์ได้แสง ยืนไปยืนมาเลยตัวสั่นโดยไม่รู้ตัว ตัวสั่นอยู่ในป่าโน่นนะ ‘ดูสินะ มันเป็นบ้าอยู่ในป่าคนเดียว ท่านไม่ได้ดุเรา เรายังเป็นบ้าไปได้’
คราวนี้พอเงียบเสียงไปสักครู่หนึ่ง เราก็ออกมา พอขึ้นไปท่านกำลังเลิก เก็บอะไรต่อมิอะไร กำลังเลิกกันประมาณ ๑๑ โมงเช้า พอเก็บของแล้วก็ลงมา
‘ท่านดุอะไร ? ตะกี้นี้ท่านดุใคร ?’ เราถาม
‘ก็ดุผมล่ะสิ’ อาจารย์เจี๊ยะตอบ
‘แล้วทำไมท่านถึงดุ ?’
‘ก็ผมเย็บผ้าผิดนี่’ ท่านพูดดีนะ อาจารย์เจี๊ยะท่านพูดตรงไปตรงมา
เราสังเกตดู เราไปอยู่ใหม่ ๆ ท่านอาจารย์เจี๊ยะอยู่ก่อนเราแล้วนี่ อะไรก็ตาม เอะอะ ๆ อะไร ๆ ท่านพระอาจารย์จะดุอาจารย์เจี๊ยะนี้ก่อน ทางนั้นก็ไม่ถอยนี่ ซัดกันเลย ซัดทีไรอาจารย์เจี๊ยะหน้าผากแตกทุกที สู้ท่านไม่ได้ ก็ท่านเป็นอาจารย์ฉลาดแหลมคม ในสมัยปัจจุบันใครจะเหมือนพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น...”
ลัก...ยิ้ม
06-09-2012, 10:55
https://public.blu.livefilestore.com/y1pHURYn27gGifC6lJezoRGKFwR9bc4-ppubJoz0MfnOiqhmMh9q40NqNyC9zxCDl5WKiD-l-JfwI0QdhNQyMMGxw/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%20%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%A5.jpg?psid=1
หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล
หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล เกิดเมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๒ ณ บ้านข่าโคม ตำบลหนองขอน (ปัจจุบัน ตำบลปะอาว) อำเภอเมือง (ปัจจุบันอำเภอเขื่องใน) จังหวัดอุบลราชธานี
อุปสมบท ท่านอุปสมบท ณ วัดใต้ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดใต้ เมื่อบวชได้ ๑๐ พรรษา ได้ญัตติเป็นพระธรรมยุตที่วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) มีพระครูทา โชติปาโล เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจารย์
อุปนิสัย หลวงปู่เสาร์มีอัธยาศัย ชอบปลูกพริกหมากไม้ ลักษณะจิตเยือกเย็น มีพรหมวิหาร ทำจิตดุจแผ่นดิน มีเมตตาเป็นสาธารณะ เป็นคนเอื้อเฟื้อในพระวินัย ทำความเพียรเป็นกลางไม่ยิ่งหย่อน พิจารณาถึงขั้นภูมิธรรมละเอียดมาก จิตของท่านชอบสันโดษ ไม่มักใหญ่ใฝ่สูง หมากไม่กิน บุหรี่ไม่สูบ เดินจงกรมภาวนาเสมอไม่ละกาล น้ำใจดี ไม่เคยโกรธขึ้งให้พระเณร อุบาสก-อุบาสิกา
มักจะวางสังฆทานอุทิศให้สงฆ์สันนิบาต แก้วิปัสสนูปกิเลสแก่สานุศิษย์ได้ อำนาจวางจริตเฉย ๆ เรื่อย ๆ ชอบดูตำราเรื่องพระพุทธเจ้า รูปร่างใหญ่ สันทัด เป็นคนภูมิใหญ่กว้างขวาง ยินดีทั้งปริยัติปฏิบัติ ลักษณะเป็นคนโบราณ พร้อมทั้งกาย วาจา ใจ เป็นโบราณทั้งสิ้น ไม่เห่อตามลาภยศ สรรเสริญ
ปกตินิสัยของท่านเป็นคนไม่ชอบพูด พูดน้อยที่สุด ทั้งวันไม่พูดอะไรกับใครเกิน ๒-๓ ประโยค เวลานั่งก็ทนทาน นั่งอยู่ได้เป็นหลาย ๆ ชั่วโมง เดินก็ทำนองเดียวกัน แต่ลักษณะท่าทางของท่านมีความสง่าผ่าเผย น่าเคารพเลื่อมใสมาก มองเห็นท่านแล้วเย็นตาเย็นใจ
การปฏิบัติในการเดินธุดงค์กรรมฐานถือว่า หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล เป็นพระอาจารย์องค์แรกและเป็นผู้นำหมู่คณะลูกศิษย์ลูกหา ท่านชอบพักพิงอยู่ตามป่าตามที่วิเวก อาศัยอยู่ตามถ้ำบ้าง ตามโคนต้นไม้บ้าง พักพิงอาศัยอยู่ในราวป่าห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๕๐๐ เมตร ท่านจะออกแสวงหาวิเวกในราวป่าห่างไกลกันจริง ๆ บางทีไปอยู่ในป่าเขาที่ไกล ตื่นเช้าเดินจากที่พักลงมาสู่หมู่บ้านเพื่อบิณฑบาต เมื่อบิณฑบาตเสร็จแล้ว กลับไปถึงที่พักเวลา ๑๑.๐๐ น. ก็มี
ปฏิปทา ท่านจะสอนให้ลูกศิษย์หัดนอน ๔ ทุ่ม ตื่นตี ๓ ในขณะที่ยังไม่ได้นอน หรือตื่นขึ้นมาแล้วก็ทำกิจวัตร มีการสวดมนต์ไหว้พระ เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา อันนี้เป็นการฝึกหัดดัดนิสัยให้มีระเบียบ นอนก็มีระเบียบ ตื่นก็มีระเบียบ การฉันก็ต้องมีระเบียบ คือฉันหนเดียวเป็นวัตร ฉันในบาตรเป็นวัตร บิณฑบาตฉันเป็นวัตร อันนี้เป็นข้อวัตรที่ท่านถือเคร่งนัก
มรณภาพ ท่านได้มรณภาพในอิริยาบถขณะกราบครั้งที่ ๓ ในอุโบสถวัดอำมาตยาราม อำเภอวรรณไวทยากร นครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕ แล้วเชิญสรีระมา ณ วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ทำพิธีเผาสรีระในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๘๖ สิริชนมายุ ๘๓ ปี ๓ เดือน ๑ วัน
ลัก...ยิ้ม
07-09-2012, 10:55
เทพบันดาล ช่วยหลวงปู่มั่น
ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ นั้นเป็นปีแรกที่ท่านจำพรรษาอยู่กับหลวงปู่มั่นที่บ้านโคก พรรษานั้นมีพระ ๙ รูป เณร ๒ รูป ช่วงนั้นเป็นระยะที่สงครามญี่ปุ่นกำลังเริ่ม ผ้าหายากมีไม่พอแจกจ่ายกัน ช่วงเวลานั้นกำลังอดอยาก พอถึงวันเข้าพรรษาฉันจังหันเสร็จแล้ว หลวงปู่มั่นแจกผ้าพระเณร แต่มีผ้าไม่ครบ ขาดอยู่ผืนเดียว หลวงปู่มั่นก็เลยไปหยิบเอาผ้าอาบน้ำ (ผ้าขาว ยังไม่ได้ย้อม) ที่พระท่านไปวางไว้ในห้องของท่านออกมาให้
แต่ท่านอาจารย์กงมา ท่านเป็นคนตรงไปตรงมา เห็นอย่างนั้นจึงพูดค้านอย่างอาจหาญว่า
“อันนั้นก็สำหรับแจกท่านอาจารย์ต่างหากนี่ เอามาทำไม ? ขาดก็ขาดไปสิจะเป็นอะไรไป ขอให้ครูบาอาจารย์ได้เถอะ” พระเณรทุกองค์เวลานั้นก็พอใจ เห็นด้วยกับท่านอาจารย์กงมา
แต่หลวงปู่มั่นท่านก็ตอบอย่างมีเหตุมีผลเช่นกันว่า “โอ๊ย! เรามันเป็นผู้ใหญ่เมื่อไรมันก็ได้ ผู้ใหญ่ได้อยู่เรื่อย ๆ อะไร ๆ ก็ได้ ใครเอามา ๆ ก็ให้แต่ผู้ใหญ่เองแหละ เอาล่ะ..หากบุญมีก็ได้เองแหละ”
ท่านเองก็อยู่ในเหตุการณ์ขณะนั้น และคอยสังเกตดูอยู่ตลอด พอหลวงปู่มั่นพูดคำว่า “หากบุญมีก็ได้เองแหละ” ขึ้นมา ‘ปุ๊บ’ ท่านก็จับคำพูดนี้เอาไว้ทันที จากนั้นก็คอยสังเกตว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น ! ปรากฏว่าตอนค่ำวันนั้นพวกบริษัทแม่นุ่ม ชุวานนท์ (องค์หลวงตากล่าวว่า แม่ของคุณแม่โยมนุ่ม เป็นโยมอุปถัมภ์อุปัฏฐากหลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่นมาดั้งเดิม ท่านเหล่านี้เป็นคนสำคัญที่อาราธนานิมนต์ท่านมาสร้างวัดป่าสุทธาวาส) นำผ้ามาถวาย
เขาพากันคาดคะเนพระเณรว่าน่าจะมีประมาณ ๙ - ๑๐ องค์ เขาจึงหาผ้าขาวด้ายเทศ ไม่ใช่ผ้าขาวด้ายบ้านแบบที่เราทอกัน แต่เป็นด้ายดิบอย่างดี เนื้อแน่นเท่ากัน จากสกลนครจำนวน ๑๑ ผืน แล้วว่าจ้างโยมขี้ยาคนหนึ่ง (แกติดฝิ่น) ในราคาแพง ให้ไปส่งผ้าที่วัดภายในวันนั้น ระยะทางจากสกลนครมาหาบ้านโคกประมาณ ๒๒ ก.ม. เข้าไปในวัดอีก ๑ ก.ม. รวม ๒๓ ก.ม. จนกระทั่งค่ำ โยมขี้ยาคนนี้ก็ไปส่งผ้าจำนวน ๑๑ ผืนถึงวัด ซึ่งเท่ากับจำนวนพระเณรที่จำพรรษาในครั้งนั้นพอดิบพอดี
ที่ท่านต้องคอยจับคำพูดของหลวงปู่มั่นขนาดนี้นั้น ท่านให้เหตุผลว่า
“เพราะพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น ทำให้เราคิดไม่รู้กี่ครั้งกี่หน เหมือนว่ามีเทพคอยแทรกอยู่ตลอด คอยรับทราบความเคลื่อนไหวของท่านอยู่ตลอด เหมือนกับว่าเทวดาบันดลบันดาลนะ ! แปลกอยู่ หลายอย่างที่เราไม่เอามาพูดมาก เอาแต่ว่าเทพบันดาลเทพเนรมิต แค่นี้ก็พอแล้วแหละ”
ลัก...ยิ้ม
10-09-2012, 09:44
เคร่งครัดข้อวัตรปฏิบัติ พูดคุยเป็นอรรถธรรม
ในปีแรกที่ได้อยู่ศึกษากับหลวงปู่มั่น ท่านก็ได้ยินหลวงปู่มั่นพูดถึงเรื่องธุดงควัตร ๑๓ เพราะหลวงปู่มั่นเคร่งครัดมากตามนิสัย ด้วยเหตุนี้ท่านจึงถือเป็นข้อปฏิบัติเสมอมา ในการสมาทานธุดงค์เมื่อถึงหน้าพรรษาอย่างไม่ลดละ เฉพาะอย่างยิ่งในธุดงค์ข้อที่ว่า ฉันอาหารเฉพาะของที่ได้มาในบาตรจากการบิณฑบาตเท่านั้น สำหรับธุดงค์ข้ออื่น ๆ ก็ถือสมาทานอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว เช่น การฉันหนเดียวในวันหนึ่ง ๆ เท่านั้น การถือผ้าบังสุกุล การใช้ผ้าสามผืน (สบง จีวร สังฆาฏิ) การฉันในบาตร การอยู่ป่าเขา เป็นต้น
ธุดงค์ ๑๓* และขันธวัตร ๑๔ เป็นข้อปฏิบัติประจำโดยทั่วไปของพระกรรมฐาน ยิ่งนิสัยที่เคารพรักและจริงจังในข้อวัตรปฏิบัติของท่านด้วยแล้ว ก็ยิ่งให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น ท่านจึงไม่ยอมให้ข้อวัตรทำความสะอาดเช็ดถูกุฏิ ศาลา บริเวณ ตลอดข้อวัตรใด ๆ ขาดตกบกพร่องเลย ท่านพยายามรักษาทั้งความตรงต่อเวลา ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความสะอาด ความพร้อมเพรียงกันในการทำข้อวัตรปฏิบัติ ความละเอียดถี่ถ้วน ความคล่องแคล่ว ไม่เหนื่อยหน่ายท้อแท้อ่อนแอ ทำสิ่งใดให้ทำอย่างมีสติ ใช้ปัญญาพินิจพิจารณาใคร่ครวญให้รอบคอบ ไม่ทำแบบใจร้อนใจเร็ว การหยิบจับวางสิ่งใดจะพยายามมิให้มีเสียงดัง
ข้อวัตรต่าง ๆ เหล่านี้ พระเณรท่านจะช่วยกันดูแลรับผิดชอบบริเวณอย่างทั่วถึง ตั้งแต่กุฏิหลวงปู่มั่น กุฏิตนเอง ศาลา ทางเดิน ตลอดแม้ในห้องน้ำ ห้องส้วม มีการเติมน้ำใส่ตุ่มใส่ถังให้เต็ม ไม่ให้พร่อง และข้อปฏิบัติต่าง ๆ เช่นนี้ พระเณรท่านจะพยายามทำอย่างตั้งใจ สมกับที่ท่านเป็นสมณะผู้รักความสงบ สะอาด และรักธรรมรักวินัย
การปฏิบัติจิตภาวนาเป็นงานหลักอันสำคัญที่สุด ดังนั้นในแต่ละวัน ท่านจึงพยายามพูดคุยแต่น้อย หากมีความจำเป็นต้องพูดสนทนากันบ้าง ก็ให้มีเหตุผล มีอรรถธรรม ไม่พูดคะนอง เพ้อเจ้อ หยาบโลน พูดตามความจำเป็น และเป็นไปเพื่อความเจริญในธรรม การตักเตือนชี้แนะหมู่คณะภิกษุสามเณรให้เป็นไปด้วยความเมตตากรุณาต่อกัน เพื่อให้รู้ให้เข้าใจคุณและโทษจริง ๆ ดังนี้
“...ควรพูดคุยกันในเรื่องความมักน้อย สันโดษ ความวิเวกสงัด ความไม่คลุกคลีซึ่งกันและกัน พูดในเรื่องความเพียร ศีล สมาธิ ปัญญา ในการต่อสู้กิเลส ... พระในครั้งพุทธกาล ท่านไม่ได้คุยถึงการบ้านการเมือง การได้การเสีย ความรื่นเริงบันเทิง การซื้อการขายอะไร ท่านมีความระแวดระวังว่า อันใดจะเป็นภัยต่อความเจริญทางจิตใจของท่าน ท่านจะพึงละเว้นหลบหลีกเสมอ ส่วนสิ่งใดเป็นไปเพื่อส่งเสริมให้จิตใจมีความหนักแน่น มั่นคง จนสามารถถอดถอนกิเลสออกได้เป็นลำดับลำดานั้น ควรส่งเสริมให้มีมากขึ้น ให้สูงขึ้น...”
================================================
* ธุดงควัตร ๑๓ หลักปฏิบัติเพื่อการปราบปรามกิเลส ประกอบด้วย
๑. บิณฑบาตเป็นวัตร (พระเณรส่วนใหญ่จะปฏิบัติข้อนี้ เพราะถ้าไม่บิณฑบาตก็จะไม่มีอาหารฉัน)
๒. บิณฑบาตตามลำดับบ้าน
๓. ไม่รับอาหารที่ตามส่งทีหลัง
๔. ฉันในบาตร (นอกจากจะฉันในบาตร องค์หลวงตายังฉันด้วยมือเท่านั้น)
๕. ฉันวันละครั้งเท่านั้น (พระวัดป่าจะฉันมื้อเช้าเพียงมื้อเดียวเรียกว่า ฉันจังหัน และเมื่อลุกจากที่นั่งแล้วก็จะไม่ฉันอีก ซึ่งวัตรข้อนี้เป็นข้อที่องค์หลวงตาปฏิบัติจนถึงวันที่ท่านมรณภาพ)
๖. ถือผ้าสามผืน
๗. ถือผ้าบังสุกุล
๘. อยู่รุกขมูลร่มไม้ (อยู่โคนต้นไม้)
๙. อยู่ป่า
๑๐.อยู่ป่าช้า
๑๑.อยู่กลางแจ้ง
๑๒.อยู่ในเสนาสนะ (ที่อยู่อาศัยของภิกษุสงฆ์ เช่น กุฏิ วิหาร ศาลา) ที่เขาจัดให้
๑๓.ถือไม่อยู่ในอิริยาบถนอน (ไม่ติดการนอน)
ลัก...ยิ้ม
12-09-2012, 11:23
หลวงปู่มั่นเคารพธรรม
นอกเหนือจากความเคร่งครัดตามหลักธรรมวินัยแล้ว หลวงปู่มั่นยังแสดงความเคารพในธรรมอย่างละเอียดลออลึกซึ้ง อย่างหาได้ยากยิ่งในสมัยปัจจุบัน ดังนี้
“...ท่านอาจารย์มั่นเป็นตัวอย่างในสมัยปัจจุบัน ในห้องนอนใดที่ถูกนิมนต์ไปพัก ถ้ามีหนังสือธรรมะอยู่ต่ำกว่าท่าน ท่านจะไม่ยอมนอนในห้องนั้นเลย ท่านจะยกหนังสือนั้นไว้ให้สูงกว่าศีรษะท่านเสมอ ท่านจึงยอมนอน ท่านว่า
‘นี่ธรรมของพระพุทธเจ้า เราอยู่ด้วยธรรม กินด้วยธรรม เป็นตายเรามอบกับธรรม ปฏิบัติได้รู้ได้เห็นมากน้อยเพราะธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งนั้น เราจะเหยียบย่ำทำลายได้อย่างไร ! เอาธรรมมาอยู่ต่ำกว่าเราได้อย่างไร !’
ท่านไม่ยอมนอน ยกตัวอย่างที่ท่านมาพักวัดสาลัน เป็นต้น ในห้องนั้นมีหนังสือธรรมอยู่ ท่านไม่ยอมนอน ให้ขนหนังสือขึ้นไว้ที่สูงหมด นี่แหละ ! ลงเคารพละต้องถึงใจทุกอย่างเพราะธรรมถึงใจ
ความเคารพ ไม่ว่าจะฝ่ายสมมุติ ไม่ว่าจะอะไร ท่านเคารพอย่างถึงใจ ถึงเรียกว่าสุดยอด กราบพระพุทธรูปก็สนิท ไม่มีใครที่กราบสวยงามแนบสนิทยิ่งกว่าท่านอาจารย์มั่นในสมัยปัจจุบันนี้ เห็นประจักษ์ด้วยตากับใจเราเอง ความเคารพในอรรถในธรรมก็เช่นกัน แม้แต่รูปพระกัจจายนะ ที่อยู่ในซองยาพระกัจจายนะ พอท่านได้มา
‘โอ้โห! พระกัจจายนะเป็นสาวกของพระพุทธเจ้านี่!’
ท่านรีบเทยาออก เอารูปเหน็บไว้เหนือที่นอนท่าน ท่านกราบ “นี่องค์พระสาวก นี่รูปของท่าน มีความหมายแค่ไหน พระกัจจายนะ จะมาทำเป็นเล่นอย่างนี้ได้เหรอ?”
‘แน่ะ!’ ฟังดูซิ นี่แหละ..เมื่อถึงใจแล้ว ถึงทุก ๆ อย่าง เคารพทุกอย่าง บรรดาสิ่งที่ควรเป็นของเคารพท่านเคารพจริง นั่น ท่านไม่ได้เล่นเหมือนปุถุชนคนหนาหรอก เหยียบโน่นเหยียบนี่เหมือนอย่างพวกเราทั้งหลาย เพราะไม่รู้นี่ คอยลูบ ๆ คลำ ๆ งู ๆ ปลา ๆ ไปในลักษณะของคนตาบอดนั้นแล ถ้าคนตาดีแล้วไม่เหยียบ อันไหนจะเป็นขวากเป็นหนามไม่ยอมเหยียบ สิ่งใดที่จะเป็นโทษเป็นภัยขาดความเคารพ ท่านไม่ยอมทำ นักปราชญ์ท่านเป็นอย่างนั้น ไม่เหมือนคนตาบอดเหยียบดะไปเลย โดยไม่คำนึงว่าควรหรือไม่ควร...”
ลัก...ยิ้ม
13-09-2012, 10:43
พระสาวก... ครั้งพุทธกาล
พระสังกัจจายน์
“...พระสังกัจจายน์ท่านแต่ก่อนรูปหล่อ ตามตำราที่บอกไว้ มองดูคล้ายคลึงกับพระพุทธเจ้า ... ไปที่ไหนผู้หญิงติด ผู้หญิงชอบ ผู้ชายก็ชอบ ไม่ใช่มีแต่ผู้หญิงนะ ... นี่ละ ผู้ชายที่กลับตัวเป็นผู้หญิงได้ก็เพราะไปชอบท่านนะสิ พอมองเห็นท่าน ‘พระรูปนี้ทำไมจึงรูปหล่อนักหนา ถ้าเราได้เมียอย่างนี้จะดีมาก’
จากผู้ชายแล้ว (เป็นกรรม) กลายเป็นผู้หญิงไปเลย แล้วอายใหญ่ เลยหนีไปอยู่เมืองอื่น นี่ต้นเหตุ ไปที่ไหนเป็นอย่างนั้น พระกัจจายนะ ท่านจึงไปอธิษฐานเสียใหม่ ทีนี้เลยเป็นรูปพุงหลวงอุ้มบาตรไปเลย ทีนี้ไม่ว่าใคร ผู้ชายผู้หญิงเห็นท่านแล้วไม่อยากมอง
(คนที่เคยเป็น) ผู้ชายแล้วกลายไปเป็นผู้หญิงนี้ ต่อมาก็ไปมีสามีมีลูกอีกตั้งสองคน ทีแรกเพศผู้ชาย พอไปรักชอบท่าน (กรรม) จึงพลิกเป็นเพศผู้หญิงไป ไปมีลูกอีกตั้งสองคน ... แต่ท่านก็มีนิสัย ต่อมาออกบวชก็ได้เป็นพระอรหันต์นะ ท่านมีอุปนิสัยอยู่ ไปที่ไหนอายคน ใครไปจ้อถามเรื่องราวแล้วอาย...”
ลัก...ยิ้ม
17-09-2012, 11:43
หลวงปู่เจี๊ยะอุทาน “เจอแล้วองค์นี้”
หลวงปู่เจี๊ยะบอกว่า หลวงปู่มั่นมักเรียกท่านว่า “เฒ่าขาเป๋” หรือบางครั้งก็เรียกว่า “ผ้าขี้ริ้วห่อทอง” ตามแต่ท่านจะพูดเพื่อเป็นคติแก่พระเณร ท่านยังเล่าด้วยว่าในระหว่างพรรษานั้น หลวงปู่มั่นได้พูดถึงหลวงปู่ขาวขึ้นมาในวันหนึ่งว่า
“หมู่เอ๊ย! ให้รู้จักท่านขาวไว้นะ ท่านขาวนี่..เธอได้พิจารณาถึงที่สุดแล้ว”
พอกล่าวชมหลวงปู่ขาวแล้วก็หันมาพูดเรื่องของหลวงปู่เจี๊ยะบ้างว่า
“เออ หมู่เอ๊ย! มีหมู่มาเล่าเรื่องการภาวนาให้เราฟังที่เชียงใหม่ เธอปฏิบัติของเธอสามสี่ปีเหมือนเราลงที่นครนายก ‘มันลงเหมือนกันเลย’...” หลวงปู่มั่นย้ำอย่างนั้น
“ท่านองค์นี้ภาวนา ๓ ปีเท่ากับเราภาวนา ๒๒ ปี อันนี้เกี่ยวเนื่องกับนิสัยวาสนาของคนมันต่างกัน”
ต่อมาเมื่อการจำพรรษาผ่านไปได้สักระยะหนึ่ง หลวงปู่เจี๊ยะซึ่งได้สังเกตเห็นพระเณรที่มาเกี่ยวข้องกับหลวงปู่มั่นมาโดยตลอดเป็นเวลาถึง ๓ ปี จนกระทั่งคราวนี้ได้มาพบและร่วมจำพรรษากับท่าน (องค์หลวงตา) ในที่แห่งนี้ ได้เห็นถึงความจริงจังและลักษณะที่เหมือนดั่งนิมิตคำทำนายของหลวงปู่มั่นที่เชียงใหม่มาก ท่านได้เล่าเหตุการณ์และความรู้สึกในครั้งนั้นว่า
“ในที่สุด พระอาจารย์มหาบัวก็มาหาท่านพระอาจารย์มั่นที่เสนาสนะป่าบ้านโคก จังหวัดสกลนคร เราเห็นลักษณะ ถามความเป็นมาเป็นไป จึงแน่ใจเป็นอย่างยิ่ง จากนั้นมาท่านพระอาจารย์มั่นก็ไม่พูดเรื่อง (คำทำนาย) นี้อีกเลย...
หลังจากได้อยู่ร่วมกับท่านพระอาจารย์มั่นเป็นเวลา ๓ ปี ๔ แล้งแล้ว ผ่านฤดูแล้ง ปี ๒๔๘๖ ท่านพระอาจารย์มั่น ท่านปรารภจะไปจำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านนามน เราเห็นว่าท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากขึ้นแล้ว
ท่านมหาบัวก็เป็นที่ตายใจ ท่านเก่ง ฉลาด เป็นที่ตายใจในเรื่องเกี่ยวกับท่านพระอาจารย์ได้เป็นอย่างดีเยี่ยม เรื่องข้อวัตรปฏิบัติที่เราเคยทำมาเป็นเวลานานสมควรกับท่านอาจารย์มหา เพราะท่านมีวิชาความรู้ กล้าสู้หน้าไม่อายใคร และจะเป็นประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่หมู่คณะต่อไปในอนาคต เหมือนดั่งนิมิตที่ท่านพระอาจารย์มั่นทำนายไว้ที่ดอยคำ บ้านแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ว่า
‘ท่านองค์นี้ มีลักษณะเหมือนท่านเจี๊ยะ แต่มิใช่ท่านเจี๊ยะ จะทำประโยชน์ให้แก่หมู่คณะกว้างขวาง และท่านนิมิตเห็นพระหนุ่ม ๒ รูป นั่งช้าง ๒ เชือก ติดตามท่านซึ่งนั่งสง่างามบนช้างตัวขาวปลอด จ่าโขลงเป็นช้างใหญ่ พระหนุ่มสองรูปนี้จะสำเร็จก่อนและหลังท่านนิพพานไม่นานนัก และจะทำประโยชน์ใหญ่ให้พระศาสนา’
เมื่อเราเห็นท่านอาจารย์มหาบัวเข้ามา ก็ตรงตามลักษณะที่ท่านทำนายไว้ก็เบาใจเป็นที่ยิ่ง ถึงได้กับอุทานภายในใจว่า ‘นี่แหละ องค์นี้แหละ ต้องเป็นองค์ที่ท่านทำนายไว้อย่างแน่นอน เจอแล้วทีนี้’
เมื่อท่านเจออาจารย์มหาบัวเข้ามา รู้สึกว่าท่านเมตตาเป็นพิเศษ ข้อวัตรปฏิบัติอะไรท่านตั้งใจปฏิบัติรักษาสุดความสามารถ สุดชีวิตเหมือนดังที่เราเคยทำ ความเพียรท่านก็แรงกล้า มีสติปัญญาไวเป็นเลิศ สมเป็นผู้มีบุญมาเกิด ประเสริฐด้วยความดี อย่างนี้อีกไม่นานต้องพบพานธรรมอันเลิศ บุญเขตอันประเสริฐจะบังเกิดในวงพุทธศาสน์ เป็นปราชญ์ทางธรรม ค้ำชูพระศาสนา เหมือนอย่างที่ท่านพระอาจารย์มั่นทำนายเอาไว้อย่างแน่นอน
เมื่อคิดดังนี้จึงดำริว่า สมควรที่หมู่ผู้ที่ไม่เคยมาจะได้ช่องเข้าศึกษาปฏิบัติ ในขณะนั้นพระเณรที่ติดตาม และลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์มั่นมีมากขึ้นโดยลำดับ ชื่อเสียงเรื่องคุณธรรมของท่านเป็นที่เลื่องลือขจรไปทั่วทุกทิศ เราจึงเข้าไปกราบลาท่านและปลีกตัวอยู่องค์เดียว เร่งความเพียร พยายามสืบเสาะหาว่า ท่านอาจารย์ขาวอยู่ที่ไหน เพราะท่านเป็นพระที่ท่านพระอาจารย์มั่นรับรองว่า เป็นพระถึงที่สุดแห่งธรรมแล้ว ได้ทำไว้ในใจว่า ถ้าทราบข่าวว่า ท่านอาจารย์ขาวอยู่ที่ไหน เราจะดั้นด้นเข้าไปกราบให้จงได้...”
ลัก...ยิ้ม
18-09-2012, 11:45
กรรมฐานน้ำตาร่วง
องค์หลวงตากล่าวว่า เมื่อครั้งไปอยู่กับหลวงปู่มั่นนั้น จิตของท่านเคยคิดไปว่า องค์หลวงปู่มั่นจะสามารถทราบวาระจิตของท่านได้หรือไม่หนอ จากนั้นไม่นาน ท่านได้ขึ้นไปกราบพระประธานที่ศาลา เห็นหลวงปู่มั่นกำลังเย็บผ้าอยู่ จึงได้คลานเข้าไปเพื่อจะกราบขอโอกาสช่วยเย็บให้ ขณะนั้นเอง หลวงปู่มั่นแสดงอาการแปลกกว่าทุกครั้งที่เคยเป็นมา โดยจ้องมองมาที่ท่านอย่างดุ ๆ พร้อมกับปัดมือห้าม แล้วพูดขึ้นว่า
“หืย! อย่ามายุ่ง”
ในตอนนั้นท่านคิดในใจว่า “โอ๊ย ตาย กู...ตาย...” และหลังจากเงียบไปพักหนึ่ง ท่านอาจารย์มั่นก็กล่าวต่อว่า
“ธรรมดาการภาวนากรรมฐานก็ต้องดูหัวใจตัวเอง ดูหัวใจตัวเองมันคิดเรื่องอะไร ๆ ก็ต้องดูหัวใจตัวเองสิ..ผู้ภาวนา อันนี้จะให้คนอื่นมาดูให้ รู้ให้ กรรมฐานบ้าอะไร!”
จึงเป็นอันรู้เหตุรู้ผลชัดเจนทันทีว่า ที่หลวงปู่มั่นแสดงปฏิกิริยาดังกล่าวขึ้นเช่นนี้ ก็เพราะความคิดสงสัยของท่านนั่นเอง คราวนี้ท่านถึงกับหมอบราบในใจอย่างสุดซึ้งว่า
“ยอมแล้ว ๆ คราวนี้ขออ่อน ขอยอมแล้ว”
หลังจากนั้น ท่านจึงได้กราบขอโอกาสเข้าช่วยเย็บผ้าอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้องค์ท่านก็ไม่ได้ดุหรือห้ามอะไรอีก เพราะทราบดีว่า ลูกศิษย์ผู้นี้ได้ยอมแล้วอย่างสนิทใจ
กล่าวถึงการบำเพ็ญภาวนาของท่าน โดยปกติธรรมดาท่านใช้เวลาในการนั่งสมาธิครั้งละ ๓ - ๔ ชั่วโมง ตอนกลางวันพอฉันจังหันเสร็จ ล้างบาตร เช็ดบาตรเรียบร้อยแล้ว เอาบาตรไปวางที่ร้านแล้วเข้าทางจงกรมเลย ท่านจะเดินจงกรมไปตลอดจนถึงเวลาประมาณ ๑๑ โมง เป็นอย่างน้อยหรือถึงเที่ยงวันแล้วจึงพัก เมื่อออกจากพักแล้วก็นั่งภาวนาอีกราว ๑ ชั่วโมง แล้วก็ลงเดินจงกรมอีก ท่านทำอย่างนั้นอยู่เป็นกิจวัตรประจำ
แม้ทำความเพียรเป็นประจำอยู่เช่นนี้ตลอดพรรษา แต่ภาวะจิตของท่านกลับมีแต่เจริญกับเสื่อมทางด้านสมาธิ ต่อมาเมื่อเห็นว่าอยู่กับหลวงปู่มั่นพอสมควร ท่านจึงอยากทดลองทำความเพียรโดยลำพังอย่างเต็มที่ดูบ้าง ว่าจะเกิดผลดีเพียงใด
ครั้นพอออกพรรษาแล้วจึงได้ทดลองขึ้นไปภาวนาบนหลังเขา เพื่อความสงบสงัดและทำความเพียรได้อย่างเต็มที่ แต่เมื่อออกวิเวกจริง ๆ แล้ว ความเพียรกลับไม่ค่อยได้ผลเลย ต้องล้มลุกคลุกคลานอย่างหนัก จนหลายครั้งทำให้ท่านรู้สึกท้ออกท้อใจ แต่ด้วยใจที่ “สู้ไม่ถอย” ทำให้ท่านสามารถผ่านภาวะเช่นนี้ไปได้ในเวลาต่อมา ดังนี้
“...เข้าไปอยู่ในป่าในเขา ตั้งใจจะไปฟัดกับกิเลสเอาให้เต็มเหนี่ยวละนะคราวนี้ หลีกจากครูบาอาจารย์ออกไปเข้าไปอยู่ในภูเขา ป่ามันสงบสงัด ป่าไม่มีเรื่องอะไร แต่หัวใจมันสร้างเรื่องขึ้นมาละซิ วุ่นอยู่กับเจ้าของคนเดียว เป็นบ้าอยู่คนเดียว
‘โอ๊ย...อย่างนี้จะอยู่คนเดียวได้ ‘ยังไง’ นี่หนีจากครูบาอาจารย์ไม่ได้ ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว’
สู้มันไม่ได้จนน้ำตาร่วง ไม่ได้ลืมนะ ... น้ำตาร่วง โอ้โห...สู้มันไม่ได้ ตั้งสติพับล้มผล็อย ๆ ตั้งเพื่อล้ม ไม่ใช่ตั้งเพื่ออยู่ ตั้งต่อหน้าต่อตา..นี่มันล้มต่อหน้าต่อตาให้เห็น ปัดทีเดียวตก ๕ ทวีปโน่น สมมุติว่าเราต่อยเข้าไปนี่ มันปัดแขนเรานี่ตก ๕ ทวีป อำนาจแห่งความรุนแรงของกิเลสมันแรงขนาดนั้นนะ อยู่ในหัวใจนี่... ก็เราตั้งหน้าจะไปสู้ มีแต่กิเลสชัด ๆ เรามัน ‘ยังไง’ กัน ได้เคียดแค้น น้ำตาร่วง ไม่ลืมนะ
อันนั้นละเป็นสาเหตุให้เกิดความเคียดแค้น มุมานะที่จะฟัดกับกิเลสให้ได้ เราจึงกล้าพูดซิว่า ความเคียดแค้นนี่... ลงออกถึงกูถึงมึงทีเดียว ซัดกับกิเลสนี่ ฟังซิว่ากูมึง กูมึงในใจ ไม่ใช่กูมึงออกมาข้างนอก
‘มึง ‘ยังไง’ มึงต้องพัง วันหนึ่งกูจะเอาให้มึงพังแน่ ๆ มึงเอากูขนาดนี้เชียวนะ... ‘ยังไง’ กูได้ที่แล้ว กูจะเอามึงเหมือนกัน ‘ยังไง’มึงต้องพัง มึงไม่พังวันนี้ มึงต้องพังวันหนึ่ง มึงไม่พังกูต้องพัง ต้องตายกัน’
มาก็เอากันแหละ ซัดกันไม่ถอย... ต้องตายกัน ต่างคนต่างสู้กัน ไม่มีถอยกัน
‘เอ้า กิเลสกับเราเป็นคู่ต่อสู้กันนี้จนกระทั่งถึงวันตายไม่ให้เป็น เอาให้ตายด้วยกัน กิเลสไม่ตายเราก็ตายเท่านั้น’...”
เหตุการณ์ในตอนนี้ ท่านเคยยกเอามาสอนพระว่า ตอนที่กองทัพกิเลสมีกำลังมากกว่านั้น ยังไม่สมควรที่จะอยู่คนเดียว ต้องเข้าหาครูบาอาจารย์ เพราะการอยู่กับครูบาอาจารย์ แม้จะยังไม่ก้าวหน้าอะไรแต่ก็เป็นที่อบอุ่นใจได้
ลัก...ยิ้ม
19-09-2012, 09:41
พระสาวก... ครั้งพุทธกาล
พระโคธิกะ
“...พระโคธิกะ จิตท่านเสื่อมถึงหกครั้ง เจริญแล้วเสื่อม ๆ ถึงหกครั้ง ... พอครั้งที่หก ท่านเอามีดเฉือนคอตัวเองเลย แต่ท่านมีนิสัยนะ เอามีดเฉือนคอเลือดกระฉูดออกมา มองเห็นจึงพิจารณาอยู่นั้นบรรลุธรรม 'ปึ๋ง' เดี๋ยวนั้นเลย... ก็ได้บรรลุธรรมในขณะนั้นด้วย การปฏิวัติจิตเข้าสู่ธรรม ... แล้วมาเด่นตรงนี้
ตอนพญามารค้นหาจิตวิญญาณของพระโคธิกะจนควันตลบโลกธาตุ 'ว่างั้น' ในตำราฤทธิ์ของมารที่ค้นคว้าหาจิตวิญญาณของพระโคธิกะ พระพุทธเจ้าเลยตวาดเอาบ้างว่า
‘พญามาร..อันเพียงความรู้ของเธอนั้นน่ะ จะไปสามารถรู้จิตของพระโคธิกะลูกของเราได้ 'ยังไง' เพราะพระโคธิกะเธอเป็นพระอรหันต์และนิพพานไปแล้ว เธอก็มีวิสัยแค่จะดูสัตว์ที่ยังข้องอยู่ในกิเลสนี้เท่านั้นแหละ พระโคธิกะเราไม่ได้เป็นคนประเภทนั้น เป็นผู้พ้นแล้วจากอำนาจแห่งมาร เพราะฉะนั้น เธอจะค้นหมดทั้งโลกธาตุ หรือจะไปโลกธาตุไหนก็ไปเถอะ เธอจะตายทิ้งเปล่า ๆ นั้นแล’...”
ลัก...ยิ้ม
21-09-2012, 11:16
บริกรรมพุทโธแก้ “จิตเสื่อม”
เมื่ออยู่กับหลวงปู่มั่นในพรรษา การภาวนาก็มีความสงบร่มเย็นบ้างและเสื่อมบ้าง ครั้นพอออกจากท่านกลับปรากฏว่ามีแต่ความฟุ้งซ่าน ท่านเล่าถึงภาวะจิตใจในขณะนั้นว่า
“...จิตมันยังไม่ได้เรื่องได้ราว ต้องฝึกฝนอย่างหนัก กิเลสมันถอยใครเมื่อไร พอจากพ่อแม่ครูอาจารย์มั่นไปได้ ๒-๓ วัน จิตมันดีดมันดิ้นหาเขียงสับยำ เพื่อเป็นอาหารกิเลสอย่างเห็นได้ชัด ถึงขนาดได้ตำหนิตนเองว่า
‘อ๋อ! เรานี่ มันกาจับภูเขาทอง เวลาอยู่กับครูบาอาจารย์จิตสงบร่มเย็น พอออกจากท่านมาแล้วไม่ได้เรื่องได้ราว ทำความเพียรก็เดินไปเฉย ๆ ไม่มีอุบายอะไรที่จะแก้กิเลสได้สักตัวเดียว มีแต่ความฟุ้งซ่านภายในใจ นับวันรุนแรงขึ้นทุกวัน ๆ ถ้าเป็นอย่างนี้ อยู่ห่างท่านไม่ได้ หนีจากครูบาอาจารย์ไม่ได้’
เมื่อเป็นแบบนี้ เรารีบกลับคืนไปหาท่านทันที แต่เดชะบุญเวลากลับคืนไป องค์ท่านไม่เคยตำหนิติเตียน ไม่เคยขับไล่ไสส่งเลย
บางคืนไม่ยอมหลับยอมนอนตลอดรุ่ง เพราะกลัวจิตจะเสื่อม ถึงอย่างนั้นก็ยังเสื่อมได้ เฉพาะอย่างยิ่งเวลาจิตเริ่มก้าวเข้าสู่ความสงบ ความเพียรก็ยิ่งรีบเร่ง เพราะกลัวจิตจะเสื่อมดังที่เคยเป็นมา แม้เช่นนั้น ก็ยังฝืนเสื่อมไม่ได้ ต่อมาก็เจริญขึ้นอีก แล้วก็เสื่อมลงอีก ความเจริญของจิตนั้นอยู่คงที่ได้เพียง ๓ วัน จากนั้นก็เสื่อมลงต่อหน้าต่อตา เจริญขึ้นไปถึงเต็มที่แล้วเสื่อมลง ๆ ...”
ท่านกล่าวถึงความพยายามในการต่อสู้กับความทุกข์ทรมาน และต้องทนอยู่ในภาวะจิตเสื่อมนี้นานถึง ๑ ปี ๕ เดือน ดังนี้
“...ถ้าว่าทางก็ไม่เคยเดิน จึงไม่รู้จักวิธีรักษาเข้มงวดกวดขัน แล้วงานที่จะทำให้จิตเสื่อมก็คือ มาทำกลดหลังหนึ่งเท่านั้นเอง การภาวนาไม่ค่อยติดค่อยต่อ ทีแรกมันก็แน่นปึ๋ง ๆ ของมัน ครั้นนานไปหลายวันไป รู้สึกมีลักษณะเปลี่ยนแปลง เข้าได้บ้างไม่ได้บ้าง อ้าว... แปลกแล้ว
นี่ละ..จิตเราจะเสื่อมนะนี่นะ แล้วขยับเข้าใหญ่ รีบร้อยกลดให้เสร็จเรียบร้อย ดีไม่ดีช่างหัวมัน.. ออกปฏิบัติเลย ตั้งแต่นั้นเสื่อมลงไปเรื่อย ๆ จนหมดเนื้อหมดตัวเลยนะ ไม่มีอะไรเหลือติดตัว นั่นแหละ.. ที่มีแต่ไฟล้วน ๆ สุมหัวใจ เสียดายก็เสียดาย ทำความพากเพียรเต็มเม็ดเต็มหน่วย บางคืนไม่นอนตลอดรุ่ง
พอจิตค่อยก้าวขึ้น ๆ ก็พยายามใหญ่เลย พอไปถึงขั้นที่มันเคยเสื่อมไป..อยู่นั้นได้เพียงสามวัน สามวันเท่านั้น แล้วก็เสื่อมมาต่อหน้าต่อตาอย่างรุนแรง หักห้ามต้านทานไม่ได้ ลงถึงขีดแห่งความหมดราค่ำราคา เหลือแต่ตัวเปล่า ๆ เอ้า.. ขยับขึ้นอีก ๑๔-๑๕ วันได้ ถึงที่นั่นแล้วลงอีก.. อยู่ได้เพียงสามวัน เป็นอย่างนี้มาเป็นเวลาปีกว่า มันเริ่มเสื่อมตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ส่วน พ.ศ. เท่าไรก็จำไม่ได้ จำได้แต่ว่าเดือนพฤศจิกายนจิตเริ่มเสื่อม แล้วไปฟื้นขึ้นได้เดือนเมษายนปีหน้าโน้น พฤศจิกายนแล้วก็ธันวาคม มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน เสื่อมถึงปีหนึ่งกับห้าเดือน นี่ละ..ได้รับความทุกข์ทรมานเอาอย่างมาก...”
ลัก...ยิ้ม
25-09-2012, 10:17
ความทุกข์ทรมานในครั้งนี้ ให้ท่านระลึกเทียบเคียงเข้ากับประวัติของพระโคธิกะ ซึ่งเป็นพระสาวกในครั้งพุทธกาลในสมัยที่เคยเรียนปริยัติ ดังนี้
“...ดังที่เคยพูดถึงเรื่องจิตเสื่อมมาเป็นปีกว่านั้น เสื่อมแล้วเจริญ ๆ หาบหามกองทุกข์ แบกกองทุกข์นี้ แหม...ไม่มีกองทุกข์ใด ที่จะมากยิ่งกว่าทุกข์ของจิตที่เจริญแล้วเสื่อม ๆ ซึ่งปรากฏกับหัวใจของเรา จนกระทั่งถึงความเข็ดหลาบเลย ถึงขั้นที่ว่า จิตพอได้หลักขึ้นมาเป็นสงบแล้วต้องเอาตายเข้าว่า
‘คราวนี้จิตจะเสื่อมไปไม่ได้ ถ้าจิตเสื่อมคราวนี้เราต้องตาย จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ นั่นซิ มันอาจเป็นได้นะ’ สำหรับนิสัยเรานี้มันเด็ดขาดจริง ๆ
เราก็เทียบเอาพระโคธิกะนั่นมาเป็นตัวอย่าง ท่านฆ่าตัวตายเพราะจิตท่านเสื่อมในครั้งนั้น ท่านบอกว่าฌานเสื่อม ๆ ก็คือสมาธินั่นแหละเสื่อม ฌานก็แปลว่า ความเพ่งความเล็งอยู่จุดเดียว คือจุดแห่งความสงบนั้นมันเสื่อมไป ทีนี้ไม่มีจุดไหน ที่จะจับจะข้องจะแวะจะอาศัยพึ่งพิงได้ ที่นี้ก็มีแต่ความว้าเหว่ เสียดาย ความสุขที่เกิดขึ้นจากความสงบของฌานนั้นโดยถ่ายเดียว โดยไม่มีสิ่งตอบแทนคือสมหวังว่า เป็นความสงบตามความมุ่งหวังแล้วอย่างนี้ไม่มี นั่นละ.. กองทุกข์เกิดขึ้นเวลานั้น ท่านแสดงไว้มีถึง ๕ ครั้ง ๖ ครั้ง พอครั้งสุดท้าย ท่านก็เอามีดโกนมาเฉือนคอเลย
ลัก...ยิ้ม
26-09-2012, 10:18
อันนี้ในตำราพูดไว้ไม่ค่อยชัดเจนนัก แต่เราก็เข้าใจ เวลามาปฏิบัติแล้วเข้าใจ เวลาอ่านตำราไม่ค่อยเข้าใจ ลักษณะเป็นมัว ๆ อยู่ ท่านพูดถึงเรื่องพระโคธิกะ ในภาคปฏิบัติของเรามันก็จับกันได้ทันที...”
เมื่อโอกาสอันควรมาถึง ท่านจึงเข้ากราบเรียนปรึกษาถึงภาวะจิตเสื่อม ว่าควรแก้ไขอย่างไร และด้วยกุศโลบายแยบยลของครูบาอาจารย์ หลวงปู่มั่นกลับแสดงเป็นเชิงเสียใจไปด้วยพร้อมกับให้กำลังใจศิษย์ว่า“...น่าเสียดาย..มันเสื่อมไปที่ไหนกันนา เอาเถอะ..ท่านอย่าเสียใจ จงพยายามทำความเพียรเข้ามาก ๆ เดี๋ยวมันจะกลับมาอีกแน่ ๆ มันไปเที่ยวเฉย ๆ พอเราเร่งความเพียรมันก็กลับมาเอง หนีจากเราไปไม่พ้น
เพราะจิตเป็นเหมือนสุนัขนั่นแล เจ้าของไปไหนมันต้องติดตามเจ้าของไปจนได้ นี่ถ้าเราเร่งความเพียรเข้าให้มาก จิตก็ต้องกลับมาเอง ไม่ต้องติดตามมันให้เสียเวลา มันหนีไปไหนไม่พ้นเราแน่ ๆ ...
จงปล่อยความคิดถึงมันเสีย แล้วให้คิดถึงพุทโธ ติด ๆ อย่าลดละ พอบริกรรมพุทโธถี่ยิบติด ๆ กันเข้า มันวิ่งกลับมาเอง คราวนี้แม้มันกลับมาก็อย่าปล่อยพุทโธ มันไม่มีอาหารกิน เดี๋ยวมันก็วิ่งกลับมาหาเรา
จงนึกพุทโธ เพื่อเป็นอาหารของมันไว้มาก ๆ เมื่อมันกินอิ่มแล้วต้องพักผ่อน เราสบาย.. ขณะที่มันพักสงบตัว ไม่วิ่งวุ่นขุ่นเคืองเที่ยวหาไฟมาเผาเรา ทำจนไล่มันไม่ยอมหนีไปจากเรา นั่นแลพอดีกับใจตัว หิวโหยอาหารไม่มีวันอิ่มวันพอ ถ้าอาหารพอกับมันแล้ว แม้ไล่หนีไปไหนมันก็ไม่ยอมไป ทำอย่างนั้นแล จิตเราจะไม่ยอมเสื่อมต่อไป...”
คำสอนดังกล่าวของหลวงปู่มั่น ทำให้ท่านตั้งคำมั่นสัญญาขึ้นว่า
“...อย่างไรจะต้องนำคำบริกรรมพุทโธมากำกับจิตทุกเวลา ไม่ว่าเข้าสมาธิ ออกสมาธิ ไม่ว่าจะที่ไหน อยู่ที่ไหน แม้ที่สุดปัดกวาดลานวัด หรือทำกิจวัตรต่าง ๆ จะไม่ยอมให้สติพลั้งเผลอจากคำบริกรรมนั้นเลย...”
ลัก...ยิ้ม
02-10-2012, 14:49
https://public.blu.livefilestore.com/y1pgaR2Iux-8j7Yfq-6pqynOS17CZ81_NDc_HGLmQ2W276dS-Vg3GIk0bZDBI75QKTVOF3TsdBrdK4_8Fyu185gJw/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%992.jpg?psid=1
https://public.blu.livefilestore.com/y1pZEpvvychCGmSdm9zcLIsNdlTJj7a8NdVsbw9QXZq72toU_czJb52ipiN3qAR8A2iLiePJ9OFZaHIhIi63UpIsw/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%993.jpg?psid=1
หลวงปู่มั่นถ่ายรูป
เมื่ออยู่กับหลวงปู่มั่นได้ระยะหนึ่ง ทำให้พอทราบถึงอุปนิสัยของท่านที่ไม่ยุ่งกับใคร หลวงปู่มั่นจะไปไหนก็ด้วยความจำเป็นจริง ๆ เมื่อทราบว่าวันนี้จะเป็นวันเผาศพของหลวงปู่เสาร์ (เดือนเมษายน) ท่านก็กำหนดไว้แล้วว่าน่าจะออกเดินทางวันนี้ จึงไปเตรียมรอรับท่านดังนี้
“...พอเราไปถึงบ้านน้ำก่ำ แถวนี้สามแยกน้ำก่ำ ทางนี้ไปพระธาตุพนม ทางนี้ไปอุบลฯ อีกทางมาทางอำเภอนาแก เรามาพักอยู่วัดป่าสามแยกนี่ เราถามโยมเขา ทราบว่าท่านมาเมื่อวานนี้
คือเราไปรับท่าน ท่านไปเผาศพหลวงปู่เสาร์มา กะว่าเผาวันนี้ วันนี้ท่านจะออก ตามธรรมดาท่านไม่ยุ่งกับใคร ท่านไปด้วยความจำเป็น เป็นอาจารย์ของท่าน ท่านไปเผาศพให้ท่าน ให้เราเฝ้าวัดอยู่ที่วัดนาสีนวน พอเผาศพวันนั้น กะวันนั้น เราก็ออกเดินทางจากวัดนาสีนวนไปเลย พองานศพหลวงปู่เสาร์เสร็จวันนั้น วันหลังนั้นท่านก็ออกมาเลย ท่านไปพักวัดอ้อมแก้ว เดี๋ยวนี้ดูไม่เรียกวัดอ้อมแก้วที่ธาตุพนม พอเราไปถึงสามแยกน้ำก่ำมาถามข่าวเขา ชื่อท่านไปที่ไหนก็ดังละ ถามพอดีได้ความเลย ท่านมาถึงแล้ว...มาที่ธาตุพนมแล้ว
พอเราทราบ เราก็บึ่งเข้าไปที่วัดอ้อมแก้ว ไปก็ไปเห็นท่าน เราก็ไปนิมนต์ท่านมา เรากราบเรียนท่านว่า
‘สถานที่นี้ไม่สะดวกสบาย รู้สึกว่าวุ่นวาย สู้สถานที่ที่ผมพักอยู่ไม่ได้ ที่นั่นเป็นวัดป่า เหมาะสมดีเหลือเกิน ที่บ้านฝั่งแดงเวลานี้เป็นวัดร้าง กระผมมาพักอยู่องค์เดียว ที่นั่นดี สงัดมากทุกอย่าง’
ท่านว่า ‘ฮือ! อย่างนั้นหรือ ? ก็ไปสิ’
เพราะท่านเป็นไข้หวัดใหญ่มาจากโน้น ท่านเป็นไข้หวัดใหญ่ดูเหมือนอยู่นั่นสองคืนเท่านั้นละมั้ง ? เดินมา ๆ ท่านเป็นไข้หวัดใหญ่มาจากอุบลฯ เดินมาจากพระธาตุพนม มานี้ก็ประมาณสัก ๗-๘ กิโลเมตร เห็นจะได้นะ จากวัดอ้อมแก้วนี่ พระธาตุพนมอยู่ทางโน้น วัดอ้อมแก้วอยู่อีกทาง เป็นวัดท่านอาจารย์เสาร์เป็นผู้สร้างนะ พอตื่นเช้าวันหลัง ท่านไปเลย พอกราบเรียนท่านแล้ว.. ท่านเดินไปนะ
ออกจากนั้นมาก็มาพักบ้านฝั่งแดง ถ่ายรูปท่านั่ง-ท่ายืนที่วัดฝั่งแดงนี่ ที่มีต้นไม้อยู่ข้างหลังท่าน ท่านยืนอยู่ใต้ร่มไม้นั่น เราอยู่ที่นั่น ท่านอนุโลมให้ลูกศิษย์ของท่าน พวกธาตุพนมทั้งลูกทั้งหลานเต็มไปหมด มาขอถ่ายรูปกับท่าน ท่านไม่ให้ใครถ่ายง่าย ๆ นี่ท่านอนุโลมเต็มที่ เพราะเป็นลูกศิษย์เก่าของท่านตั้งแต่ท่านยังหนุ่มก็เลยให้ถ่าย ท่านอนุโลมให้ทั้งท่ายืน ท่านั่ง
ถ่ายท่านั่งขัดสมาธิ ท่ายืนพาดสังฆาฏิด้วย แกก็เห็น..นี่ละรูปท่านอาจารย์มั่นเรา หลวงปู่มั่นเรา เห็นยืนพาดสังฆาฏิ นั่งขัดสมาธิอยู่ที่บ้านฝั่งแดง ท่านเต็มใจให้ถ่าย เมตตาลูกศิษย์ของท่าน ธรรมดา..โหย...ใครจะไปถ่ายท่านได้ง่าย ๆ นี่เป็นลูกศิษย์เก่าแก่ของท่าน ท่านจึงให้ถ่าย จึงได้เห็นรูปของท่าน เพราะฉะนั้น เราถึงรู้ว่าท่านถ่ายรูปที่วัดสุทธาวาสหนหนึ่ง ขึ้นนั่งบนธรรมมาสน์ แล้วก็ถ่ายที่นี่อีกหนหนึ่ง นอกนั้นไม่เห็นมีเลย...”
ลัก...ยิ้ม
03-10-2012, 10:25
พระสาวก... ครั้งพุทธกาล
นิสัยเดิมของพระสารีบุตร พระสันตกาย
“...อัครสาวกข้างขวาพระสารีบุตร นิสัยของท่านแต่ก่อนเคยเป็นลิง พอมาเห็นคลองเล็ก ๆ น้ำมันไหลไปมา โดดข้ามคลองนั้นแล้วโดดข้ามคลองนี้ไป พระสงฆ์ยกโทษท่านมาฟ้องพระพุทธเจ้าว่า พระสารีบุตรได้รับคำยกย่องมา ... แล้วทำไมพระสารีบุตรขนาดว่าเป็นพระอรหันต์แล้ว เป็นอัครสาวกข้างขวาด้วย แล้วทำไมจึงทำตัวเป็นลิง ว่าอย่างนั้นนะ.. โดดกลับไปกลับมา ไปเห็นร่องน้ำเล็ก ๆ โดดไปโดดมา...
‘พระสารีบุตรเธอเคยเป็นลิงมาตั้ง ๕๐๐ ชาติ นิสัยเดิมของเธอเป็นอย่างนั้นแหละ ใจของเธอบริสุทธิ์แล้ว’
นี่ละ กิริยาที่มันแสดงออกสู่โลกธรรม ๘ มีตำหนิติเตียนไว้อย่างนี้ ส่วนธรรมชาตินั้นหมดโดยสิ้นเชิง... พระองค์ออกมารับเลย เธอเคยเป็นลิงมาจนเป็นนิสัย เพราะฉะนั้น กิริยาอันนี้ยกให้ลิงเสีย อัครสาวกที่เรียบร้อยนั้นยกให้พระสารีบุตรของเรา ส่วนลิงนั้นยกให้ลิงไปเสีย ท่านตอบกัน..ฟังซิน่ะ
นี่พระพุทธเจ้ายืนยันรับรองไว้ นี่หมายถึงว่าผู้ที่มีนิสัยอย่างไร หนักทางไหนไปทางนั้น... นิสัยพระสันตกายก็อีกเหมือนกันนะ ท่านไปไหนนี้เรียบหมดเลย พระสงฆ์ทั้งหลายในวัดนั้นน่ะ ค่อนข้างแน่ใจ เกือบจะทั่วทั้งวัดละว่าท่านเป็นพระอรหันต์ สันตกายคือว่าท่านมีกิริยามารยาทสวยงามมาก เคลื่อนไหวไปไหนปรากฏว่ามีสติทุกแง่ทุกมุม เหมือนว่าไม่พลั้งไม่เผลออะไรเลย ถามท่าน... ท่านก็บอกว่าท่านยัง เลยเอาเรื่องนี้ไปทูลถามพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าท่านก็สอน มีเครื่องรับรองอย่างนั้นนะ ที่จิตเรียบร้อยมาตลอดนี้ สันตกายเป็นผู้มีกาย วาจา ใจ อันสงบ... พระสันตกายนี้เธอเคยเป็นราชสีห์ติดกันมาหลายภพหลายชาติ ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นสัตว์อื่นเลย เป็นราชสีห์มา ธรรมดาราชสีห์มีสติสตังระมัดระวังตัวเหมือนเสือ เหมือนแมว ไม่ได้เผลอตัวง่าย ๆ นี่เธอก็มาจากสำนักราชสีห์ เพราะฉะนั้น กิริยาอาการของเธอเวลามาบวชจึงเรียบตลอด...”
ลัก...ยิ้ม
04-10-2012, 10:55
พรรษาที่ ๑๐
(พ.ศ. ๒๔๘๖) จำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านนามน (วัดป่านาคนิมิตต์) ตำบลตองโขบ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร
https://public.blu.livefilestore.com/y1pKrc2Whs4hmZs37hBgeFIUESPbT0Rd_b1-outaTL2_snrORYMsj36zauLfpnyXt5CO6NI3ByY4Lo3rt2wbkKlzA/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%99.jpg?psid=1
https://public.blu.livefilestore.com/y1pt3-McqrVJ08m5L0bx1AT5t78ct_Dh-jE0uAxm_MJ3RI8BAAvbp3wnOk0VUkljYRzW_HlDhdq9jxlPri7KYzz8A/%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99.jpg?psid=1
กุฏิหลวงปู่มั่นที่เสนาสนะป่าบ้านนามนในปัจจุบัน
ลัก...ยิ้ม
04-10-2012, 11:19
มารกระซิบ
การภาวนาอยู่โดยลำพังคนเดียววัน ๆ หนึ่ง ท่านไม่พูดคุยกับใครเลย ถ้าไม่ออกฉันข้าววันใด ก็ไม่พบเห็นใครทั้งสิ้น จึงไม่มีสิ่งใดมารบกวน ยุ่งเกี่ยวในการประกอบความเพียรของท่านตลอด เว้นแต่เวลาหลับ แม้อย่างนั้น บางวันพยายามต่อสู้อย่างหนัก จิตก็ยังลงไม่ได้เลย บางทีกิเลสก็กล่อมเอาบ้างเหมือนกันว่า
“...โธ่!! มาอยู่อย่างนี้ .. เหมือนคนสิ้นท่า ไม่มีคุณค่ามีราคาอะไรเลย โลกสงสารเขาก็อยู่ได้สะดวกสบาย สนุกสนาน ไม่ต้องมารับความทุกข์ทรมานเหมือนเรา ซึ่งเปรียบเหมือนคนสิ้นท่านี่ ทำไมจึงต้องมาทรมานอยู่ในป่าในรกกับสัตว์กับเสืออย่างนี้ ไม่มีคุณค่าราคาอะไร...”
ความคิดเช่นนี้ ทำให้ท่านรู้สึกท้อถอยน้อยใจ และอ่อนความเพียรลงไปบ้างเหมือนกัน ท่านเล่าว่า กิเลสมารมันคอยแอบกระซิบ คอยสอดแทรกอยู่ตลอดทั้ง ๆ ที่ก็พยายามทำความเพียรอยู่อย่างนั้น ดังนี้
“...วันหนึ่งเรายังไม่ลืม เราไม่ได้ดูนาฬิกา ก็นั่งภาวนาจะไปดูนาฬิกาอะไร มันคงประมาณหกทุ่มหรือตีหนึ่ง มันดึกจริง ๆ นะวันนั้น จิตมันยังลงไม่ได้ ... ก็พอดีเขามีลำกัน ทางภาคอีสานเขาเรียกลำ ลำยาวข้ามทุ่งนาไปจากบ้านนามน
เขามาเที่ยวสาวบ้านนามน เขาอยู่บ้านโพนทอง ด้านตะวันออกวัดบ้านนามนโน้นน่ะ เขาลำยาวไปตามทุ่งนา ฟังอาการเขาร้องเพลง เขาลำยาวเพลงภาคนี้ จิตมันยังวิตกขึ้นมาได้ในขณะนั้น
‘โอ้.. เขายังมีความสนุกสนานรื่นเริง เดินขับลำทำเพลงตัดทุ่งนาไปอย่างเพลิดเพลิน ไม่มีความทุกข์กายทรมานใจเหมือนเรา ไอ้เรานี้กำลังตกนรกทั้งเป็น... ไม่มีใครที่จะทุกข์ยิ่งกว่าเรา คนในโลกนี้ กำลังตกนรกทั้งเป็นอยู่เวลานี้’…”
ความคิดปรุงดังกล่าวมีขึ้นขณะได้ยินเสียงลำเพลงอยู่นั้น แต่แล้วท่านก็หวนรำลึกเป็นธรรมขึ้นมาแก้ในทันทีว่า
“...อันรื่นเริงบันเทิงแบบนี้เราเคยเป็นมาแล้ว ทุกข์แบบนี้เราเคยเป็นมาแล้ว เราเคยตกนรกทั้งเป็นกับกิเลส ตกนรกทั้งตายกับกิเลสมากี่กัปกี่กัลป์แล้ว นี่เราจะตะเกียกตะกายตนให้พ้นจากนรกของกิเลส เราจะถอนตัวของเราด้วยความพากเพียรเพื่อความพ้นทุกข์ ทำไมจึงเห็นว่าเป็นความทุกข์ ความลำบาก เราประกอบความเพียรหาอะไร ? หานรกอเวจีที่ไหน เวลานี้ยังจะอยากตกนรกกับเขาอยู่หรือ !..”
ท่านว่า มันคิดขึ้นปุ๊บแก้กันทันทีเลย จากนั้นไม่นานจิตก็สงบลงได้
ลัก...ยิ้ม
05-10-2012, 11:24
จิตตั้งหลักได้
หลังจากได้รับอุบายอันแยบคายจากหลวงปู่มั่น ท่านจึงนำมาตั้งเป็นข้อสังเกตขึ้น แล้วเร่งความเพียร นำคำบริกรรมพุทโธมากำกับจิตทุกเวลา ไม่ว่าเข้าสมาธิออกสมาธิ ไม่ว่าจะที่ไหน อยู่ที่ใดหรือทำกิจวัตรต่าง ๆ จะไม่ยอมให้สติพลั้งเผลอจากคำบริกรรมนั้นเลย ทำให้เริ่มรู้ถึงเรื่องราวภาวะเสื่อมของจิตได้อย่างชัดเจน ดังนี้
“...คราวนี้เราจะตั้งใหม่ คราวนี้เอาคำบริกรรมเป็นหลัก ไม่ได้กำหนดเอาเฉพาะความรู้เหมือนแต่ก่อน ซึ่งเจริญขึ้นแล้วเสื่อมลง ๆ เหมือนว่าตั้งต้นใหม่ ตั้งแต่บัดนี้ต่อไป.. เราจะภาวนาด้วยบทคำบริกรรมคือพุทโธ เราชอบพุทโธ นิสัยผมกลมกลืนกับพุทโธมาดั้งเดิม ก็ตั้งกำหนดกฎเกณฑ์ให้ใหม่ ทีนี้จะบริกรรมด้วยพุทโธ แต่สำหรับนิสัยเรานี้รู้สึกว่าเป็นคนจริงจังมากตลอดมา พอว่าตั้งกับคำว่าพุทโธก็เหมือนทำสัตยาบันสัญญากันเลย จะเคลื่อนเป็นอื่นไปไม่ได้ กับคำว่าพุทโธจะต้องตั้งกันตลอดเวลา ไม่ว่าอิริยาบถใดจะไม่ยอมให้เผลอจากคำว่าพุทโธนี้เลย.. ตั้งตลอด ตั้งแต่ตื่นนอน ตั้งไม่ให้เผลอ ควบคุมกันตลอดเวลา ทุกข์ก็ให้อยู่กับพุทโธ สุขก็ให้อยู่กับพุทโธ
‘เอ้า! มันจะเสื่อมไปถึงไหนก็ให้มันเสื่อม มันจะเจริญก็ตามที เพราะความเสื่อมความเจริญนี้.. เรามันเคยมาพอแล้ว จนอิดหนาระอาใจต่อความเสื่อมความเจริญ คราวนี้มันจะเสื่อมให้เสื่อมไป เจริญก็เจริญไป จะไม่ถือเอาเป็นอารมณ์ยิ่งไปกว่าการบริกรรมด้วยความมีสติ ไม่ปล่อยวางนี้เท่านั้น’
จึงได้ปักลงตรงนั้น แล้วปักจริง ๆ นะ เอาอยู่กับนั้นเลย.. จะเจริญก็ตาม เสื่อมก็ตามไม่เอามาเป็นอารมณ์ เพราะเราเคยเป็นอารมณ์นี้ แล้วก็สร้างความทุกข์ร้อนให้เรามามากขนาดไหน.. ปล่อยเลย เมื่อภาวนาเข้าไป ๆ พุทโธเข้าไป พุทโธเข้าไป บังคับจิตตลอดเวลา สุดท้ายจิตที่เคยเสื่อมเคยเจริญ..มันก็ไม่เสื่อม ค่อย ๆ เจริญขึ้น ค่อยสงบเย็นใจ เข้าไป ๆ ปักเข้าไปเรื่อย ๆ ไม่ถอย จนกระทั่งจิตสงบ
ถึงบางครั้งนี้บริกรรมไม่ได้นะ คือจิตมันละเอียด สงบเข้าไปจนถึงขั้นละเอียด นึกคำบริกรรมไม่ออกเลย คือหมดจริง ๆ ปรุงขึ้นมาไม่มีเลย ไม่มีเลย เหลือตั้งแต่ความรู้ที่ละเอียดสุดอยู่ในนั้น.. ในจิตชั้นนี้ จนเกิดความงง ‘เอ๊ะ.. นี่จิตของเราบริกรรมมาตลอด คราวนี้คำบริกรรมก็ไม่มี บริกรรม ‘ยังไง’ ก็ไม่ปรากฏ ทำ ‘ยังไง’ ก็ไม่ปรากฏ เหลือแต่ความรู้สึกที่ละเอียด แล้วจะทำ ‘ยังไง’ ?..’ งง.. กลัวมันเสื่อมอีก จึงได้งง.!
ก็เลยได้สติ ‘เอ้า!..ถ้าหากว่าคำบริกรรมมันหายไป เอ้า!..ให้หายไป แต่กับความรู้อันนี้จะไม่หาย สติจะจับเข้าอยู่กับความรู้อันนี้ จนกว่าบริกรรมได้เมื่อไรจะบริกรรมทันที’ จิตก็ปักอยู่กับความรู้
พอได้จังหวะความรู้ที่ปรุงไม่ได้นี้ มีแต่ความละเอียด รู้อย่างละเอียด ๆ มันก็ค่อยคลี่คลายตัวออกมาเรียกว่ามันถอยออกมา คำบริกรรม..บริกรรมได้ เอาคำบริกรรมติดเข้าไปอีกเลยตลอด อย่างนี้เป็นพัก ๆ พอถึงชั้นมันละเอียดจริง ๆ หมดคำบริกรรม.. หายเลย จับอันนั้นไว้ตามเดิม ๆ ต่อไปมันก็ค่อยละเอียดขึ้น ๆ จนถึงขั้นที่มันเคยเจริญแล้วเสื่อม ๆ ไปถึงนั้นแล้ว
‘เอ้า!...เสื่อมไป อยากเสื่อมก็เสื่อมไป เราไม่เป็นกังวลกับความเสื่อมความเจริญ เพราะเคยเป็นมาแล้วไม่ได้ผลอะไรเลย แต่เราจะไม่ปล่อยคำบริกรรมนี้ตลอดไป’
เอากันตลอด มันก็ขึ้นไปเรื่อย ๆ ๆ พอถึงชั้นมันจะเสื่อม มันก็ไม่เสื่อม
ทีนี้ก็ก้าวขึ้นเรื่อย ๆ อ๋อ..ที่นี้ถูกแล้ว จับได้แล้วนะ จากนั้นก็ย้ำคำบริกรรมเข้าไป จนกระทั่งจิตมีความแน่นหนามั่นคง ‘ปึ๋ง ๆ’ เอาละทีนี้ เราจะจับเอาจุดแห่งความแน่นหนามั่นคง ซึ่งเป็นจุดผู้รู้อย่างเด่นชัดนี้ด้วยสติอีก.. เอาสติจับตรงนั้น ไม่ปล่อยอีก เช่นเดียวกับคำบริกรรมพุทโธ ไม่ปล่อยไม่วางเช่นเดียวกัน จิตก็ละเอียดเข้าไป ละเอียดเข้าไป จนกระทั่งปล่อยเองนะ .. คำบริกรรม เมื่อถึงขั้นที่จะปล่อยแล้วมันปล่อยเอง มีแต่ความรู้เด่น อยู่กับความรู้นั้นด้วยสติ ๆ ตลอดไปเลย ...
นี่ทำจริงจังไม่ได้ทำเล่น ไม่ว่าอะไรก็ตาม บิณฑบาตในหมู่บ้านไม่ยอมให้เผลอเลย เดินจงกรมไปตลอด เขาใส่บาตร ไม่ทราบเขาใส่อะไร ? ไม่ได้สนใจ มีแต่คำบริกรรมพุทโธ ๆ ตลอดทั้งไปทั้งกลับ ทั้งขบทั้งฉัน กระดิกพลิกแพลงไปไหน คำบริกรรมจะไม่ปล่อยเลย นี่เรียกว่าบริกรรมโดยแท้ จนกระทั่งจิตมันตั้งได้แล้วก็เข้าอยู่ในสมาธิ มันถึงแน่นหนามั่นคง พอถึงขั้นแน่นหนามั่นคงจริง ๆ ...”
ตั้งแต่นั้นมา ท่านก็ตั้งคำบริกรรมมาเป็นลำดับ ไปไหนมาไหนอยู่ที่ใด เป็นกับตายจะไม่ยอมให้เผลอจากพุทโธ แม้จิตจะเสื่อมไปไหนก็ให้รู้กันที่นี่เท่านั้น ไม่ยอมรับรู้ไปทางอื่น จิตก็เลยตั้งหลักลงได้เพราะคำบริกรรมคือพุทโธ
ลัก...ยิ้ม
08-10-2012, 12:20
หักโหมความเพียรเต็มเหนี่ยว
ท่านเริ่มหักโหมความเพียรมาตั้งแต่เดือนเมษายน และพฤษภาคมก่อนเข้าพรรษาปีนั้น หลังจากหลวงปู่มั่นเสร็จงานเผาศพหลวงปู่เสาร์แล้ว (๑๕-๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๖) ท่านก็ไปรับหลวงปู่มั่นมาด้วยกัน และเดินทางจากพระธาตุพนมเข้ามาจำพรรษาที่บ้านนามน จังหวัดสกลนคร นับเป็นพรรษาที่ ๒ ของการไปศึกษาอยู่กับหลวงปู่มั่น และเป็นพรรษาที่ ๑๐ ของการบวช
ในพรรษานี้ ท่านเร่งความเพียรอย่างเต็มเหนี่ยวยิ่งกว่าธรรมดา หักโหมทั้งร่างกายและจิตใจ กลางวันไม่นอน เว้นแต่วันที่นั่งสมาธิตลอดรุ่งวันนั้น จึงจะยอมให้พักกลางวันได้ ถ้าวันไหนทำความเพียรธรรมดา ๆ กลางวันท่านจะไม่ยอมพักเลย
“...กลางวันไม่นอน เดินจงกรม หมากพลูไม่แตะเลยในสามเดือน ทิ้งเลย ... แต่ก่อนไปที่ไหนมันมีหมากพูลเต็มไปหมดนี่ เขาเอามาถวายก็ฉันไปอย่างนั้นเอง ฉันมาเรื่อย ๆ...
การนั่งสมาธิตลอดรุ่งนี่มันของเล่นเมื่อไร ใครเก่งลองดูสิ จะได้รู้ว่านั่งแต่หัวค่ำจนกระทั่งตลอดรุ่งเป็นเวลา ๑๓-๑๔ ชั่วโมงเป็นอย่างไรบ้าง บางวันนั่งจนกระทั่งถึงเวลาบิณฑบาต เพราะอยู่กับหมู่กับเพื่อน.. ถ้าอยู่คนเดียวยังไม่ออกอีกนะ จะกี่ชั่วโมงไม่รู้นะ แต่นี่ (มีข้อวัตร) เกี่ยวกับครูกับอาจารย์ ...”
ท่านกล่าวถึงสมาธิกับการพิจารณาในขณะเกิดทุกขเวทนา ดังนี้
“สมาธิเริ่มแน่นไม่เสื่อมอีกมาแต่เดือนเมษายน แต่นี่ไม่เกี่ยวกับสมาธิ แต่เป็นปัญญาในเวลาจนตรอก มันเป็นปัญญาสายฟ้าแลบ สติปัญญากับกิเลสราวกับมัดคอติดกัน ไม่ใช้ปัญญาได้ ‘ยังไง’ เวลามันจะตายมันจนตรอกจนมุม ก็ต้องใช้ปัญญาสิ เวลารู้ขึ้นมามันก็รู้ด้วยปัญญา”
ความอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นจากการนั่งตลอดรุ่งนี้ เกิดจากผลของการพิจารณาทุกขเวทนา ในเรื่องนี้ท่านสอนพระเณรอย่างถึงใจ ดังนี้
“...ตอนที่เห็นความอัศจรรย์ ก็เห็นตอนภาวนาตลอดรุ่งตั้งแต่เริ่มคืนแรกเลย พิจารณาทุกขเวทนา แหม..มันทุกข์แสนสาหัสนะ ทีแรกก็ไม่นึกว่าจะนั่งสมาธิภาวนาตลอดรุ่ง... ตอนจะนั่งภาวนาได้ตลอดรุ่งนั้นก็จากนี่แหละ ทีนี้เริ่มนั่งกำหนด กำหนดลงไป ๆ ทีแรกใจก็ลง เพราะมันเคยลง มันลงได้ง่ายเรียกว่ามีหลักมีฐานอันดี กำหนดการภาวนาลงไป เมื่อเวทนาอันใหญ่หลวงยังไม่เกิด ภาวนามันก็สงบดี พอถอยขึ้นมาก็เป็นเวลาหลายชั่วโมง เวทนาใหญ่ก็เกิดขึ้น และเกิดขึ้นจนจะทนไม่ไหว ใจที่เคยสงบนั้นก็ล้มไปหมด ฐานดี ๆ นั้นล้มไปหมด เหลือแต่ความทุกข์เต็มในส่วนร่างกาย แต่จิตใจไม่ร้อน.. ชอบกล
ลัก...ยิ้ม
09-10-2012, 11:26
ร่างกายทุกข์มาก สั่นไปหมดทั้งตัวนี่แหละ ตอนที่ได้เข้าตะลุมบอนกันในเบื้องต้นแห่งเหตุที่จะได้อุบายสำคัญขึ้นมา ตอนทุกขเวทนากล้าสาหัสเกิดขึ้นโดยไม่คาดไม่ฝัน คืนวันนั้นก็ยังไม่ได้ตั้งใจว่าจะนั่งจนตลอดรุ่งนะ เราไม่ได้ตั้งสัจอธิษฐานอะไรเลย นั่งภาวนาธรรมดา ๆ แต่เวลาทุกขเวทนาเกิดขึ้นมามาก... พิจารณา‘ยังไง’ก็ไม่ได้เรื่อง
‘เอ๊ะ! มัน‘ยังไง’กันนี่ว่ะ เอ้า!..วันนี้ตายก็ตาย เราจะต้องสู้ให้เห็นเหตุเห็นผลกับเวทนานี้เสียวันนี้’ เลยตั้งสัจอธิษฐานในขณะนั้น เริ่มนั่งตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงสว่างถึงจะลุก
‘เอ้า!.. เป็นก็เป็น ตายก็ตาย ถ้าไม่ถึงเวลาลุกจะไม่ลุกจริง ๆ ...เอ้า! .. สู้กันจนถึงสว่างเป็นวันใหม่ วันนี้จะพิจารณาทุกขเวทนาให้เห็นแจ้ง เห็นชัดกันสักที ถ้าไม่เห็น.. แม้จะตายก็ให้มันตายไป ให้รู้กัน ขุดกันลงไป ค้นกันลงไป’
นี่แหละ ตอนปัญญาเริ่มทำงานอย่างเอาจริงเอาจัง ... เวลานั่งก็ไม่ให้มีข้อแม้ใด ๆ เช่น ปวดหนักปวดเบา อยากถ่ายถ่ายไป ถ่ายไปแล้ว..เราจะล้างไม่ได้หรือ ล้างไม่ได้อย่าอยู่ให้หนักศาสนา ตายเสียดีกว่า เพราะฉะนั้น จึงไม่มีข้อแม้... แต่มันก็ไม่เคยปวดถ่ายนะ เรื่องปวดเบานี่ไม่มีหละ เพราะจีวรมันเปียกหมด เปียกเหมือนเราซักผ้าจริง ๆ นะ ไม่ใช่ธรรมดา... เปียกหมดตัวเลยเพราะมันจะตาย
มันไม่ใช่เหงื่อละ ภาษาอีสานเขาเรียกยางตาย อันนี้มันจะไปปวดเบาที่ตรงไหน เหงื่อมันออกหมด ส่วนการถ่ายหนักนั้นมันอาจเป็นได้ แต่ที่ผ่านมานี้มันก็ไม่เห็นเป็นอะไรนี่ หากเป็นขึ้นมาจริง ๆ ก็เอาจริง ๆ นี่ ขนาดนั้น... เราไม่ทราบ ไม่คาดไม่ฝันว่าปัญญาจะมีความแหลมคม เวลามันจะจนตรอกจนมุม ไม่มีทางออกจริง ๆ ปัญญาก็หมุนติ้วเลย ปัญญาออกขุดค้น สู้กันแบบไม่ยอมถอยทัพกลับแพ้เลย เวลาจนตรอก..ปัญญาเกิด จึงทำให้เข้าใจว่า คนเราไม่ใช่จะโง่อยู่เรื่อยไป เวลาจนตรอกย่อมหาวิธีช่วยตัวเองจนได้ นี่ก็เหมือนกัน พอจนตรอกเพราะทุกขเวทนากล้าครอบงำ สติปัญญาค้นเข้าไปถึงทุกขเวทนา เมื่อเวทนาเกิดขึ้นมาก ๆ เช่นนี้ มันเป็นไปหมดทั้งร่างกาย ทีแรกมันก็ออกร้อนตามหลังมือหลังเท้า ซึ่งไม่ใช่เวทนาใหญ่โตอะไรเลย
ลัก...ยิ้ม
10-10-2012, 09:50
เวลามันใหญ่โตจริง ๆ เกิดขึ้นมา ร่างกายเป็นไฟไปหมด กระดูกทุกท่อนทุกชิ้นที่ติดต่อกัน เป็นฟืนเสริมไฟในร่างกายทุกส่วน เหมือนมันจะแตกไปเดี๋ยวนั้น..! กระดูกต้นคอมันก็จะขาด กระดูกทุกท่อนทุกชิ้นที่ติดต่อกันมันก็จะขาด หัวจะขาดตกลงพื้นในขณะนั้น เวลาเป็นทุกข์อะไร ๆ ก็พอ ๆ กัน และทั่วไปหมดทั้งร่างกายนี้ ไม่ทราบจะไปยับยั้งพอหายใจได้ที่ตรงไหน ก็มีแต่กองไฟคือความทุกข์มาก ๆ ทั้งสิ้น
เมื่อหาที่ปลงใจไม่ได้ สติปัญญาก็ขุดค้นลงไปที่ทุกขเวทนานั้น โดยหมายเอาจุดที่มันทุกข์มากกว่าเพื่อน อันไหนที่มันเป็นทุกข์มากกว่าเพื่อน สติปัญญาพิจารณาขุดค้นลงที่ตรงนั้น โดยแยกทุกขเวทนาออกให้เห็นชัดเจนว่า เวทนานี้เกิดมาจากไหน ใครเป็นทุกข์ ถามสกนธ์กายส่วนต่าง ๆ อาการต่าง ๆ ต่างอันต่างเป็นอยู่ตามธรรมชาติ หนังก็เป็นหนัง เนื้อก็เป็นเนื้อ เอ็นก็เป็นเอ็น ฯลฯ มีมาแต่วันเกิด ไม่ปรากฏว่ามันเป็นทุกข์มาตั้งแต่วันเกิด ติดต่อกันมาเหมือนเนื้อหนังที่มีอยู่ตั้งแต่วันเกิดนี้ ส่วนทุกข์เกิดขึ้นและดับไปเป็นระยะ ๆ ไม่คงอยู่เหมือนอวัยวะเหล่านั้นนี่
กำหนดลงไป อวัยวะส่วนไหนซึ่งเป็นรูป อันนั้นก็จริงของมันอยู่อย่างนั้น ทุกขเวทนาขณะนี้มันเกิดอยู่ตรงไหน ? ถ้าว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเวทนาทั้งหมด ทำไมมันจึงมีจุดเดียวที่มันหนักมาก ! แน่ะ.. แยกมันออกไป สติปัญญาตอนนั้น หนีไปไหนไม่ได้แล้ว ต้องวิ่งอยู่ตามบริเวณที่เจ็บปวด และหมุนติ้วรอบตัว แยกเวทนากับกาย ดูกายแล้วดูเวทนา ดูจิต มีสามอย่างนี้เป็นหลักใหญ่
จิตก็เห็นสบายดีนี่ ถึงทุกขเวทนาจะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงไร จิตก็ไม่เห็นทุรนทุราย .. เกิดความเดือดร้อนระส่ำระสายอะไรนี่ ! แต่ความทุกข์ในร่างกายนั้นชัดว่าทุกข์มาก มันก็เป็นธรรมดาของทุกข์และกิเลสที่มีอยู่ มันต้องเข้าประสานกัน ไม่เช่นนั้น จิตจะไม่เกิดความเดือดร้อน หรือกระทบกระเทือนไปตามทุกขเวทนาทางกายที่สาหัสในขณะนั้น ปัญญาขุดค้นลงไป จนกระทั่งกายก็ชัด เวทนาก็ชัด จิตก็ชัด ตามความจริงของแต่ละอย่างละอย่าง
จิตเป็นผู้ไปหมาย ไปสำคัญเวทนาว่าเป็นนั้นเป็น นี้ก็รู้ชัด พอมันชัดเข้าจริง ๆ เช่นนั้นแล้ว เวทนาก็หายวูบไปเลย ในขณะนั้น กายก็สักแต่ว่ากาย จริงของมันอยู่อย่างนั้น เวทนาก็สักแต่เวทนา และหายวูบเข้าไปในจิต ไม่ได้ไปที่อื่นนะ พอเวทนาหายวูบเข้าไปในจิต จิตก็รู้ว่าทุกขเวทนาดับหมด ทุกขเวทนาดับหมดราวกับปลิดทิ้ง นอกจากนั้น กายก็หายหมดในความรู้สึก ขณะนั้น กายไม่มีในความรู้สึกเลย เหลือแต่ความรู้ล้วน ๆ เพราะยังเหลืออยู่อันเดียว คือความรู้และเพียงสักแต่ว่ารู้เท่านั้น จิตละเอียดมาก แทบจะพูดอะไรไม่ได้เลย สักแต่ว่ารู้ เพราะละเอียดอ่อนที่สุดอยู่ภายใน...ร่างกายหายหมด เวทนาหายหมด เวทนาทางร่างกายไม่มีเหลือเลย ร่างกายที่กำลังนั่งภาวนาอยู่นั้นก็หายไปหมดในความรู้สึก เหลือแต่ความสักแต่ว่ารู้ จะคิดจะปรุงเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ไม่มี ขณะนั้นจิตไม่คิดปรุงเลย ถ้าไม่ปรุงก็เรียกว่าไม่ขยับเขยื้อนอะไรทั้งนั้น จิตมันแน่ว คือแน่วอยู่โดยลำพังตนเอง เป็นจิตล้วน ๆ ตามขั้นของจิตที่รวมสงบ นี่ไม่ได้หมายถึงอวิชชาไม่มีนะ
ลัก...ยิ้ม
15-10-2012, 11:03
อวิชชามันแทรกอยู่ในนั้นแหละ เพราะจิตยังไม่ถอนออกจากอวิชชา มันก็มีจิตกับอวิชชาที่สงบตัวอยู่ด้วยกัน เพราะอวิชชาไม่ออกทำงาน ขณะที่ถูกตีต้อนด้วยปัญญา.. อวิชชาก็หดตัว สงบลงไปแทรกอยู่กับใจ เหมือนตะกอนนอนก้นโอ่งฉะนั้น
ขณะนั้นเกิดความอัศจรรย์ขึ้นมา ทุกขเวทนาไม่เหลือ กายหายหมด สิ่งที่ไม่หายมีอันเดียวคือ ความรู้อันละเอียดที่พูดไม่ถูก คือสักแต่ว่าปรากฏเท่านั้น พูดนอกออกไปจากนั้นไม่ได้ สิ่งที่สักแต่ว่าปรากฏนั้นแล คือความอัศจรรย์ยิ่งในขณะนั้น ไม่ขยับเขยื้อนภายในจิตใจ ไม่กระเพื่อม ไม่อะไรทั้งหมด สงบแน่วอยู่อย่างนั้น จนกระทั่งพอแก่กาลแล้วก็ขยับ คือใจเริ่มถอยออกมา และกระเพื่อม "แย็บ" แล้วหายเงียบไป การกระเพื่อมมันเป็นเองของมันนะ เราไปหมายไม่ได้ ถ้าไปหมายก็จะถอน คือจิตพอดิบพอดีของมันเอง การกระเพื่อม "แย็บ" อย่างนี้มันก็รู้ พอกระเพื่อม "แย็บ" มันก็ดับไปพร้อม สักประเดี๋ยวกระเพื่อม "แย็บ" อีก หายไปพร้อม แล้วค่อยถี่เข้า ถี่เข้า
นี่ละจิตเวลามันลงถึงฐานเต็มที่แล้ว ขณะที่จะถอนก็ไม่ถอนทีเดียว เรารู้ได้ชัดขณะนั้น มันค่อยกระเพื่อม คือ สังขารมันปรุง "แย็บ" ขึ้นมา.. หายเงียบไป ยังไม่ได้ความอะไร กระเพื่อม "แย็บ" แล้วดับไปพร้อม แล้วประเดี๋ยว "แย็บ" ขึ้นมาอีก ค่อย ๆ ถี่เข้า พอถี่เข้า ถึงวาระสุดท้ายก็รู้สึกตัว ถอนขึ้นมาเป็นจิตธรรมดา แล้วก็รู้เรื่องร่างกาย เวทนาก็หายเงียบ เวลาจิตถอนขึ้นมาแล้ว เวทนายังไม่มี ยังหายเงียบอยู่ก่อน จนกว่าจะถึงเวลาที่เวทนาจะเกิดขึ้นมาใหม่
ลัก...ยิ้ม
16-10-2012, 10:56
นี่ได้หลักเกณฑ์ที่นี่และแน่ใจ เกิดความเข้าใจว่า ได้หลักในการต่อสู้กับเวทนาว่า
“อ๋อ...เป็นอย่างนี้เอง ทุกข์มันเป็นอันหนึ่งต่างหากแท้ ๆ กายเป็นอันหนึ่ง จิตเป็นอันหนึ่งต่างหาก แต่เพราะความลุ่มหลงอย่างเดียว จึงได้รวมทั้งสามอย่างมาเป็นอันเดียวกัน จิตเลยกลายเป็นความหลงทั้งดวง จิตก็เป็นผู้หลงทั้งดวง แม้ทุกขเวทนาจะเกิดตามธรรมชาติของมันก็ตาม แต่เมื่อยึดเอามาเผาเรา.. มันก็ร้อน เพราะความสำคัญนี้เองพาให้ร้อน
เมื่อนานพอสมควรแล้ว ทุกขเวทนาก็เกิดขึ้นอีก ‘เอาอีก ต่อสู้กันอีก ไม่ถอย’
ขุดค้นลงไปอีก อย่างที่เคยขุดค้นมาแล้วแต่หนก่อน แต่เราจะเอาอุบายที่เคยพิจารณาแก้ไขในระยะก่อน มาใช้ในปัจจุบันนี้ไม่ได้ มันต้องเป็นอุบายสติปัญญาคิดขึ้นมาใหม่ ผลิตขึ้นมาใหม่ ให้ทันกับเหตุการณ์ซึ่งเป็นเวทนาเหมือนกัน แต่อุบายวิธีก็ต้องให้เหมาะสมกันในขณะนั้นเท่านั้น เราจะไปยึดเอาอุบายวิธีที่เราเคยพิจารณารู้ครั้งนั้น ๆ มาแก้ไม่ได้ มันต้องเป็นอุบายสด ๆ ร้อน ๆ เกิดขึ้นในปัจจุบัน แก้กันในปัจจุบัน ใจก็สงบลงได้อีกอย่างแนบสนิทเช่นเคย ในคืนแรกนั้น ลงได้ถึง ๓ หน แต่สู้กันแบบตะลุมบอนถึง ๓ หน พอดีสว่าง
‘โอ๊ย...เวลาต่อสู้กันแบบใครดีใครอยู่ ใครไม่ดีใครไป ด้วยเหตุผลทางสติปัญญาจริง ๆ’
ใจเกิดความอาจหาญรื่นเริง ไม่กลัวตาย ทุกข์จะมีมากมีน้อยเพียงไร ก็เป็นเรื่องของมัน..ธรรมดา เราไม่เข้าไปแบกหามมันเสียอย่างเดียว ทุกข์มันก็ไม่เห็นมีความหมายอะไรในจิตเรา จิตมันรู้ชัด กายมันก็ไม่มีความหมายอะไรในตัวของมัน และมันก็ไม่มีความหมายในตัวเวทนา และมันก็ไม่มีความหมายในตัวของเราอีก นอกจากจิตไปให้ความหมายมัน แล้วก็กอบโกยทุกข์เข้ามาเผาตนเองเท่านั้น ไม่มีอย่างอื่นใดเข้ามาทำให้ใจเป็นทุกข์...”
ลัก...ยิ้ม
18-10-2012, 11:49
การพิจารณาทุกขเวทนาใหญ่ในครั้งนั้น ทำให้ท่านทราบชัดเจนว่า จิตคนเราแม้ไม่เคยพิจารณา.. ปัญญายังไม่เคยออกแบบนั้น แต่เวลามันจนตรอกจนมุมจริง ๆ แล้ว.. ปัญญามันไหวตัวทันเหตุการณ์ทุกแง่ทุกมุม จนกระทั่งรู้เท่าทุกขเวทนา รู้เท่ากาย รู้เรื่องจิต ต่างอันต่างจริง มันพรากกันลงอย่างหายเงียบเลย ทั้ง ๆ ที่ท่านไม่เคยเป็นอย่างนั้นมาก่อน ปรากฏว่า.. กายหายในความรู้สึก ทุกขเวทนาดับหมด เหลือแต่ความรู้สึกที่สักแต่ว่ารู้ ไม่ใช่รู้เด่น ๆ ชนิดคาด ๆ หมาย ๆ ได้ คือสักแต่ว่ารู้เท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนที่สุดอัศจรรย์ที่สุดในขณะนั้น
ท่านเล่าว่า “พอถอนขึ้นมาก็พิจารณาอีก แต่การพิจารณา เราจะเอาอุบายต่าง ๆ ที่เคยพิจารณาแล้วมาใช้ขณะนั้น ..ไม่ได้ผล มันเป็นสัญญาอดีตไปเลย ต้องผลิตขึ้นมาใหม่ให้ทันกับเหตุการณ์ในขณะนั้น.. จิตก็ลงได้อีก คืนนั้นลงได้ถึง ๓ ครั้งก็สว่าง โอ๋ย...อัศจรรย์เจ้าของละซิ ..!!!”
ลัก...ยิ้ม
22-10-2012, 10:48
ในคืนที่นั่งสมาธิตลอดรุ่งนั้น ท่านจะไม่ยอมให้มีการพลิกเปลี่ยนหรือขยับแข้งขาใด ๆ ทั้งสิ้นเลย ท่านเล่าถึงความเจ็บปวดที่ได้รับจากการนั่งตลอดคืนเช่นนั้นให้ฟังว่า
“เหมือนกับก้นมันพองหมด กระดูกเหมือนจะแตกทุกข้อทุกท่อน กระดูกมันต่อกันตรงไหน หรือแม้แต่ข้อมือเหมือนมันจะขาดออกจากกัน ทุกขเวทนาความเจ็บปวดเวลาขึ้น มันขึ้นหมดทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกแง่ทุกมุมในร่างกายเลย”
การโหมความเพียรหลายต่อหลายครั้งเข้าเช่นนี้ ทำให้ก้นของท่านถึงกับพองและแตกเลอะเปื้อนใส่สบงเลยทีเดียว ดังนี้
“...หากวันไหนที่หักโหมกันเต็มที่แล้ว จิตไม่สามารถลงได้ง่าย ๆ วันนั้นมันแพ้ทางร่างกายมาก บอบช้ำมาก คือในเวลานั่ง จะแสบก้นเหมือนถูกไฟเผา ถึงขนาดต้องได้นั่งพับเพียบฉันจังหันเลยทีเดียว
แต่ถ้าวันไหนที่พิจารณาทุกขเวทนาติดปั๊บ ๆ เกาะติดปั๊บ ๆ วันนั้นแม้จะนั่งสมาธิภาวนาตลอดรุ่งเหมือนกันก็ตาม แต่กลับไม่มีอะไรชอกช้ำภายในร่างกายเลย พอลุกขึ้นก็ไปเลยธรรมดา ๆ เหมือนกับว่าเรานั่งแค่ ๓ - ๔ ชั่วโมงเป็นประจำตามความเคยชินนั้นเอง
ลัก...ยิ้ม
25-10-2012, 11:05
รู้ทันเวทนาชัดประจักษ์ “ตาย”
พอถึงรุ่งเช้าเมื่อได้โอกาสอันเหมาะสม ท่านก็ขึ้นกราบเรียนหลวงปู่มั่น ซึ่งตามปกติ ท่านเองมีความเกรงกลัวหลวงปู่มั่นมาก แต่วันนั้นกลับไม่รู้สึกกลัวเลย เป็นเพราะอยากจะกราบเรียนเรื่องความจริงของท่านให้หลวงปู่มั่นได้รับทราบ และให้ท่านเห็นผลแห่งความจริงว่า ปฏิบัติมาอย่างไรจึงได้ปรากฏผลเช่นนี้ ท่านจึงพูดขึ้นมาอย่างอาจหาญแบบที่ไม่เคยพูดกับหลวงปู่มั่นอย่างนั้นมาก่อน ดังนี้
“...ทั้ง ๆ ที่เราพูดขึงขังตึงตังใส่เปรี้ยง ๆ ท่านก็คงจับได้เลยว่า
‘โหย..ทีนี้แหละ กำลังบ้ามันขึ้นแล้ว’
ท่านคง ‘ว่างั้น’ .. ‘มันรู้จริง ๆ’
ความหมายว่ามันรู้จริง ๆ เพราะเราพูดแบบไม่สะทกสะท้าน เล่าอะไร ๆ ให้ฟัง ท่านจะค้านเราตรงไหน ท่านก็ไม่ได้ค้าน มีแต่ ‘เออ..เอา’ พอเราจบลงแล้วก็หมอบลง ฟังท่านจะว่า ‘ยังไง’ ? ... ท่านก็ขึ้นเต็มเหนี่ยวเหมือนกันนะ ท่านรู้นิสัยบ้า ‘ว่างั้น’ นะ
‘มันต้องอย่างนี้ ‘เอ้า’ ทีนี้ได้หลักแล้ว ‘เอ้า’ ‘เอ้า’.. มันให้เต็มเหนี่ยว อัตภาพเดียวนี้มันไม่ได้ตายถึง ๕ หนนะ มันตายหนเดียวเท่านั้นนะ ทีนี้ได้หลักแล้ว เอาให้เต็มเหนี่ยวนะ’...
ว่าอย่างนั้นเลยเชียว ท่านเอาหนัก อธิบายให้ฟังจนเป็นที่พอใจ เราก็เป็นเหมือนหมาตัวหนึ่ง พอท่านยอบ้างยุบ้าง หมาเราตัวโง่นี้ก็ทั้งจะกัด ทั้งจะเห่า... มันพอใจ มันมีกำลังใจ ที่นี้จึงฟัดกันใหญ่...”
ลัก...ยิ้ม
29-10-2012, 10:53
เมื่อได้กำลังใจจากหลวงปู่มั่นเช่นนี้ ท่านก็ยิ่งจริงจังเพิ่มขึ้นไปอีก คือพอเว้นคืนหนึ่งสองคืน ท่านก็นั่งตลอดรุ่งอีก และก็เว้น ๒-๓ คืนก็นั่งตลอดรุ่งอีก จนกระทั่งจิตเกิดอัศจรรย์เข้าใจชัดเจนเรื่องความตาย ดังนี้
...เวลามันรู้จริง ๆ แล้ว แยกธาตุแยกขันธ์ดูความเป็นความตาย ธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ...สลายตัวลงไปแล้วก็เป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟตามเดิม อากาศธาตุก็เป็นอากาศธาตุตามเดิม ใจที่กลัวตายก็ยิ่งเด่น มันเอาอะไรมาตาย รู้เด่นขนาดนี้มันตายได้ ยังไง ใจก็ไม่ตายแล้วมันกลัวอะไร ? มันโกหกกัน โลกกิเลสมันโกหกกันต่างหาก หมายถึงกิเลสโกหกสัตว์โลกให้กลัวตาย ทั้งที่ความจริงไม่มีอะไรตาย
พิจารณาวันหนึ่งได้อุบายแบบหนึ่งขึ้นมา พิจารณาอีกวันหนึ่งได้อุบายแบบหนึ่งขึ้นมา แต่มันมีอุบายแบบเผ็ด ๆ ร้อน ๆ แบบอัศจรรย์ทั้งนั้น จิตก็ยิ่งอัศจรรย์และกล้าหาญจนถึงขนาดที่ว่า
เวลาจะตายจริง ๆ มันจะเวทนาหน้าไหนมาหลอกเรา วะ ทุกขเวทนาทุกแง่ทุกมุมที่แสดงในวันนี้ เป็นเวทนาที่สมบูรณ์แล้วเลยจากนี้ก็ตายเท่านั้น ทุกขเวทนาเหล่านี้เราเห็นหน้ามันหมด เข้าใจกันหมด แก้ไขมันได้หมด แล้วเวลาจะตาย มันจะเอาเวทนาหน้าไหนมาหลอกเราให้หลงอีก วะ หลงไปไม่ได้ เวทนาต้องเวทนาหน้านี้เอง
พูดถึงเรื่องความตายก็ไม่มีอะไรตาย กลัวอะไรกัน นอกจากกิเลสมันโกหกเรา ให้หลงไปตามกลอุบายอันจอมปลอมของมันเท่านั้น แต่บัดนี้ เราไม่หลงกลของมันอีกแล้ว
นั่นละ จิตเวลามันรู้ และมันรู้ชัดตั้งแต่คืนแรกนะ ที่ว่าจิตเจริญแล้วเสื่อม ๆ ก่อนมาภาวนาจนนั่งตลอดรุ่งคืนแรกมันก็ไม่เสื่อม ตั้งแต่เดือนเมษายนมาก็ไม่เสื่อม แต่มันก็ยังไม่ชัด พอมาถึงคืนวันนั้นแล้วมันชัดเจน
เอ้อ มันต้องอย่างนี้ไม่เสื่อม
เหมือนกับว่า มันปีนขึ้นไปแล้วก็ตกลง ขึ้นไปแล้วก็ตกลง ๆ แต่คราวนี้พอปีนขึ้นไปแล้วเกาะติดปั๊บ ร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่เสื่อม มันรู้แล้วจึงได้เร่งเต็มที่เต็มฐาน...
ลัก...ยิ้ม
30-10-2012, 14:15
หลวงปู่มั่นขอใส่บาตร อุบายสอนศิษย์..
ตลอดพรรษาที่บ้านนามนแห่งนี้ ท่านยังคงสมาทานธุดงค์อย่างเคร่งครัด ในข้อฉันอาหารที่ได้มาในบาตรเท่านั้น เหมือนเมื่อครั้งไปอยู่กับหลวงปู่มั่นใหม่ ๆ ในปีแรกดังนี้
“... อยู่ที่ไหนก็ตามเรื่องธุดงควัตรนี้ เราจะต้องเอาหัวชนอย่างไม่ถอยเลย ยืนกระต่ายขาเดียวไม่ยอมให้ขาดได้เลย บิณฑบาตมาแล้วก็รีบจัด ‘ปุ๊บปั๊บ’ จะเอาอะไรก็เอาเสียนิด ๆ หน่อย ๆ เพราะการฉันไม่เคยฉันให้อิ่ม ในพรรษาไม่เคยให้อิ่มเลย โดยกำหนดให้ตัวเองว่าเอาเพียงเท่านั้น ๆ สัก ๖๐% หรือ ๗๐ % ... ซึ่งคิดว่าพอดี เพราะอยู่กับหมู่เพื่อนหลายองค์ด้วยกัน
ถ้าจะอดก็ไม่สะดวก เพราะการงานในวงหมู่คณะเกี่ยวข้องกันอยู่เสมอ เราเองก็เหมือนเป็นผู้ใหญ่คนหนึ่งอย่างลับ ๆ ทั้งที่ไม่แสดงตัว ทั้งนี้เกี่ยวกับการคอยดูแลความสงบเรียบร้อยของหมู่คณะภายในวัด พรรษาก็ไม่มาก สิบกว่าพรรษาเท่านั้นแหละ แต่รู้สึกว่าท่านอาจารย์มั่น ท่านเมตตา ไว้ใจในการช่วยดูแลพระเณรอย่างลับ ๆ เช่นกัน...
พอบิณฑบาตกลับมาแล้ว มีอะไรก็รีบจัด ๆ ใส่บาตร เสร็จแล้วก็รีบไปจัดอาหารเพื่อใส่บาตรท่านอาจารย์มั่น ห่อนั้นหรือห่อนี้ที่เห็นว่าเคยถูกกับธาตุขันธ์ท่าน เรารู้และเข้าใจก็รีบจัด ๆ อันไหนควรแยกออก อันไหนควรใส่ก็จัด ๆ เสร็จแล้วถึงจะมานั่งของตน ตาคอยดู หูคอยฟัง สังเกต .. ฟังท่านจะว่าอะไรบ้างขณะก่อนลงมือฉัน
ลัก...ยิ้ม
01-11-2012, 09:32
บาตรเราพอจัดเสร็จแล้ว ก็เอาตั้งไว้ลับ ๆ ทางด้านข้างฝาติดกับต้นเสา เอาฝาปิดไว้อย่างดีด้วย เอาผ้าอาบน้ำปิดอีกชั้นหนึ่งด้วย เพื่อไม่ให้ใครไปยุ่งไปใส่บาตรเรา เวลานั้นใครจะมาใส่บาตรเราไม่ได้ กำชับกำชาไว้อย่างเด็ดขาด แต่เวลาท่านจะใส่บาตรเรา ท่านก็มีอุบายของท่าน เวลาเราจัดอะไรของท่านเสร็จเรียบร้อยแล้วมานั่งประจำที่ ให้พรเสร็จ
ตอนทำความสงบพิจารณาปัจจเวกขณะนั้นแล ท่านจะเอาตอนเริ่มจะฉัน ท่านเตรียมของใส่บาตรไว้แต่เมื่อไรก็ไม่รู้แหละ แต่ท่านไม่ใส่ซ้ำ ๆ ซาก ๆ นี่ ท่านก็รู้เหมือนกัน ท่านเห็นใจเรา บทเวลาท่านจะใส่ ท่านพูดว่า
‘ท่านมหาขอใส่บาตรหน่อย ๆ ศรัทธามาสาย ๆ’ ท่านว่าอย่างนั้น
พอว่าอย่างนั้น.. มือท่านถึงบาตรเราเลยนะ ตอนเราเอาบาตรมาวางข้างหน้าแล้ว กำลังพิจารณาอาหารนี่แหละ เราเองก็ไม่ทราบจะทำอย่างไร เพราะความเคารพ จำต้องปล่อยตามความเมตตาของท่าน เราให้ใส่เฉพาะท่านเท่านั้น นาน ๆ ท่านจะใส่ทีหนึ่ง ในพรรษาหนึ่ง ๆ จะมีเพียง ๓ ครั้งหรือ ๔ ครั้งเป็นอย่างมาก ท่านไม่ใส่ซ้ำ ๆ ซาก ๆ เพราะท่านฉลาดมาก คำว่ามัชฌิมาในทุกด้านจึงยกให้ท่านโดยหาที่ติไม่ได้...”
แม้หลวงปู่มั่นจะทราบดี ถึงความเคร่งครัดของท่านเกี่ยวกับการสมาทานธุดงค์ แต่ด้วยความเมตตาของครูบาอาจารย์ที่ต้องการหาอุบายสอนศิษย์ ทำให้บางครั้งหลวงปู่มั่นก็ได้นำอาหารมาใส่บาตรท่านพร้อมกับพูดว่า
“ขอใส่บาตรหน่อยท่านมหา นี่เป็นสมณบริโภค” หรือบางครั้งก็ว่า “นี่เป็นเครื่องบริโภคของสมณะ ขอนิมนต์รับเถอะ” เหตุการณ์ในตอนนั้น ท่านเคยเล่าไว้ดังนี้
“... บางครั้งก็มีคณะศรัทธาทางจังหวัดหนองคายบ้าง และที่สกลนครบ้าง ที่อื่น ๆ บ้าง ไปใส่บาตรท่านและพระในวัดบ้านนามน คนในเมืองสกลนครนาน ๆ มีไปทีหนึ่ง เพราะแต่ก่อนรถราไม่มี ต้องเดินด้วยเท้า แต่เขาไปด้วยเกวียน จ้างล้อจ้างเกวียนไป
เขาไปพักเพียงคืนสองคืน และไม่ได้พักอยู่ในวัดกับพระท่าน แต่พากันไปพักอยู่กระท่อมนาของชาวบ้านนามน ตอนเช้าทำอาหารบิณฑบาตเสร็จแล้วก็มาถวายพระในวัดนั้น เขาไม่ได้ไปดักใส่บาตรนอกวัด เราก็ไม่กล้ารับ.. กลัวธุดงค์ขาด เดินผ่านหนีมาเลย สำหรับท่านก็รับให้เพราะสงสารเขา เท่าที่สังเกตดู
อาหารก็เหลือจากใส่บาตรมากมายก็ได้นำขึ้นมาบนศาลา เป็นหมกเป็นห่อและผลไม้ต่าง ๆ นะ เราก็ไม่รับ ส่งไปไหนก็หายเงียบ หายเงียบ ไม่มีใครรับ จะมีรับบ้างเพียงองค์สององค์ ผิดสังเกต ศรัทธาเขาไม่น้อย ส่วนเราไม่กล้ารับเพราะกลัวธุดงค์ข้อนี้ขาด หลายวันต่อมาท่านก็ขอใส่บาตรเรา โดยบอกว่า
‘นี้เป็นสมณบริโภค ขอใส่บาตรหน่อย’
แล้วท่านก็ใส่บาตรเรา ท่านใส่เองนะ ถ้าธรรมดาแล้ว โถ...ใครจะมาใส่เราได้วะ สำหรับเราเองกลัวธุดงค์จะขาด หรืออย่างน้อยไม่สมบูรณ์... นอกจากท่านอาจารย์มั่นผู้ที่เราเคารพเลื่อมใสเต็มหัวใจเท่านั้น จึงยอมลงและยอมให้ใส่บาตรตามกาลอันควรของท่านเอง...
ความจริงท่านคงเห็นว่า นี่...มันเป็นทิฐิแฝงอยู่กับธุดงค์ที่ตนสมาทานนั้น ท่านจึงช่วยดัดเสียบ้าง เพื่อให้เป็นข้อคิดหลายแง่หลายกระทง ไม่เป็นลักษณะเถรตรงไปถ่ายเดียว ท่านจึงหาอุบายต่าง ๆ สอนเราทั้งทางอ้อมและทางตรง
แต่เพราะความเคารพเลื่อมใสท่าน ความรักท่าน ทั้ง ๆ ที่ไม่สบายใจก็ยอมรับ นี่แล...ที่ว่าหลักใจกับหลักปฏิบัติ ต้องยอมรับว่าถูกในความจริงจังที่ปฏิบัตินี่ แต่มันก็ไม่ถูกสำหรับธรรมที่สูงและละเอียดกว่านั้น เล็งดูเราเล็งดูท่าน มองเราและมองท่านนั้น ผิดกันอยู่มาก
อย่างพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น ท่านมองอะไร ? ท่านมองตลอดทั่วถึง และพอเหมาะพอสมทุกอย่างภายในใจ ไม่เหมือนพวกเราที่มองหน้าเดียว แง่เดียวแบบโง่ ๆ...! ไม่มองด้วยปัญญาเหมือนท่าน เราจึงยอมรับตรงนั้น...”
ลัก...ยิ้ม
02-11-2012, 09:33
อุบายฝึกม้าพยศ เตือนศิษย์
จากการที่โหมนั่งภาวนาตลอดรุ่งถึง ๙ - ๑๐ คืน แม้จะไม่ทำติดต่อกัน คือเว้น ๒ คืนบ้าง ๓ คืนบ้าง หรือบางทีก็เว้น ๖ - ๗ คืนก็มี ท่านทำเช่นนี้ตลอดพรรษา จนถึงกับเป็นที่แน่ใจในเรื่องทุกขเวทนาหนักเบามากน้อย เข้าใจวิธีปฏิบัติต่อกัน สามารถหลบหลีกปลีกตัวแก้ไขกันได้อย่างทันท่วงที จึงไม่มีคำว่าสะทกสะท้าน แม้จะตายก็ไม่กลัว เพราะได้พิจารณาด้วยอุบายอันแยบคายเต็มที่แล้ว สติปัญญาจึงเท่าทันต่อความตายทุกอย่าง
การที่ท่านหักโหมร่างกาย ด้วยการนั่งตลอดรุ่งเช้าซ้ำแล้วซ้ำเล่าเช่นนี้ ทำให้ผิวหนังในบริเวณก้นได้รับความกระทบกระเทือนอยู่บ่อยครั้ง จนถึงขั้นช้ำระบม พุพอง แตก น้ำเหลืองไหลเยิ้มในที่สุด พอนานวันเข้า หลวงปู่มั่นก็เมตตาเตือนแย็บออกมาว่า
“กิเลสมันไม่ได้อยู่กับร่างกายนะ มันอยู่กับจิต เหมือนสารถีฝึกม้า”
จากนั้นก็พูดต่อว่า “ม้าที่เวลามันกำลังคึกคะนอง มันไม่ยอมฟังเสียงเจ้าของเลย ต้องทรมานมันอย่างเต็มที่ ไม่ควรให้กินหญ้าก็ไม่ให้มันกินเลย ทรมานมันอย่างหนัก เอาจนมันกระดิกไม่ได้
ทีนี้.. พอมันยอมลดพยศลงก็ผ่อนการทรมาน เมื่อมันผ่อนความพยศลงมาก การฝึกทรมานก็ผ่อนกันลงไป ให้กินหญ้ากินอะไรบ้าง
ถ้าม้ามันเป็นการเป็นงานแล้ว เราก็ไม่ทรมานมัน ให้การรักษา การระมัดระวัง การบำรุงมันไป เวลาต้องการจะใช้ประโยชน์อะไรก็ใช้มันฉันใด จิตเวลามันกำลังคึกคะนองผาดโผนโลดเต้น ก็เอามันอย่างหนักฉันนั้นเหมือนกัน”
หลวงปู่มั่นเตือนท่านเพียงเท่านี้ก็เข้าใจได้ทันที เพราะเคยร่ำเรียนเรื่องนี้สมัยเรียนปริยัติมาก่อนแล้วจึงลงใจ และยอมรับในคำเตือนของครูบาอาจารย์ทันที ท่านเปรียบการแย็บเตือนครั้งนี้ เหมือนกับว่าหลวงปู่มั่นเอาไม้ทั้งท่อน โยนตูมให้ไปเลื่อย ไปไสกบลบเหลี่ยม เจียระไนเอาเอง โดยไม่มีการแจกแจงอะไรให้
ลัก...ยิ้ม
05-11-2012, 11:37
แอบสนทนากับหลวงปู่พรหม
พอออกพรรษาแล้ว หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ * ศิษย์องค์สำคัญของหลวงปู่มั่นอีกรูปหนึ่ง ได้เข้ามาพักที่วัดป่าบ้านนามนกับหลวงปู่มั่น จึงเป็นโอกาสอันดี ให้ท่านมีโอกาสแอบเข้าพบและสนทนากับหลวงปู่พรหมเป็นประจำ ดังนี้
“...หลวงปู่พรหมนี้.. เป็น(บรรลุธรรม)อยู่ข้าง ๆ ทางดอยแม่ปั๋ง มันมีแต่ป่าแต่เขาทั้งนั้น นี่นะ..คือได้เคยคุยธรรมะกันแล้ว ตั้งแต่ท่านยังไม่ตายจะ ‘ว่าไง’
ที่ได้คุยกันเป็นเวลานาน ๆ ก็คือท่านอยู่ที่บ้านนามน คือเราอยู่บ้านนามนกับหลวงปู่มั่น ท่านอาจารย์พรหมท่านเคยพูดให้ฟังตั้งแต่อยู่บ้านนามน เวลาเงียบ ๆ วันไหน ไม่ได้ขึ้นหาพ่อแม่ครูจารย์มั่น ก็แอบไปหาท่าน คุยกันสองต่อสองทุกคืน คุยสนุกสนาน ท่านพูดให้ฟังทุกแง่ทุกมุมในการปฏิบัติธรรมของท่าน นี่ท่านก็ผ่านที่เชียงใหม่ ท่านผ่านมานานแล้วนี่.. ก็รู้ได้อย่างชัดเจนละซี ท่านเล่าให้ฟัง ถึงเรายังไม่รู้อิโหน่อิเหน่อะไรทางปริยัติ ทางอะไรมันก็เข้ากันได้ ลงใจทันที...
หลวงปู่พรหมกับเราสนิทสนมกันมาเป็นเวลานาน นี่วัดของท่าน คือแต่ก่อนท่านอยู่วัดนี้ (วัดผดุงธรรม) แล้วท่านย้ายจากนี้ออกไปตะวันตก แต่ก่อนตะวันตกนี้เป็นดงใหญ่นะ ดงทั้งหมด ดงสัตว์ ดงเนื้อ ดงเสือเต็ม วัดท่านก็อยู่ในดง (วัดประสิทธิธรรม) เราไปพักกับท่านอยู่นั้น กับเรารู้สึกท่านเมตตามากนะ นิสัยท่านน่าเกรงขามมาก นิสัยจริงจัง เด็ดเดี่ยวทุกอย่าง ฉลาดรอบคอบ ไม่ใช่เล่นนะ พอเห็นเราไปแล้ว ‘หา!’ ขึ้นเลย ก็สนิทกันมาเท่าไรแล้ว
พอมองเห็นเรา เรากำลังสะพายบาตรเข้าไป ‘หา ท่านมหามาหรือ ?’
‘โอ๊ย...มาแล้ว คิดถึงครูบาอาจารย์มาก ต้องมาแหละ’
‘เออ.. เอ้า .. มาเวลานี้กำลังหนาว’
เราไปเดือนธันวาคม มันก็หนาวละซี แล้วบ้านดงเย็นเป็นบ้านที่หนาวมากด้วย ไปคุยธรรมะธัมโมกับท่าน โอ๊ย...สนิทกันมากตั้งแต่อยู่บ้านนามน พอออกพรรษาแล้วท่านก็ไปหา
ทีแรกจวนจะเข้าพรรษา ท่านไปหาหลวงปู่มั่นก่อน พอดีทางสกลนคร วัดสุทธาวาสไม่มีหัวหน้าวัด เขาก็ไปขอพ่อแม่ครูจารย์มั่น ก็พอดีท่านอาจารย์พรหมไปถึงนั้น ท่านมาจากเชียงใหม่ ท่านบึ่งเข้าไปหาพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น
พอเขาพูดจบคำเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่มั่นท่านพูดเป็นลักษณะเผดียง ๆ จะสั่งจริง ๆ ก็ไม่ใช่นะ ท่านก็รู้อัธยาศัยเหมือนกัน คือพระไม่มี .. เขาก็มาขอจากท่าน ‘นี่จะทำ ‘ยังไง’ ท่านพรหม เขาก็มาหาหัวหน้าจะ ‘ทำไง’ ถ้าว่าท่านไปอยู่ที่นั้นได้ก็จะดี’
บริษัทโยมนุ่มมาขอ เพราะวัดนี้เป็นวัดบริษัทโยมนุ่มสร้างขึ้นมา มีหลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ เป็นประธานการสร้างวัดสุทธาวาสนี่นะ เขาก็เลยถือเป็นวัดของเขาไปเลย ทีนี้พระไม่มี เขาก็ไปติดต่อบ้านนามน ‘โอ๋ย... จะให้ไปอยู่ยังไง...’ ท่านก็ว่าอย่างนั้น คือมาขอพระไป ‘พระในเมืองสกลฯ อดอยากที่ไหน’ ท่านพูดเล่นกับเขา หากเฉยนะ พูดลักษณะเล่นอยู่ภายใน
‘ทำไม! มาหาไกลนักหนา เมืองสกลฯ มีมากขนาดไหน ไม่ได้แหละ พระนี่.. ท่านมาหาภาวนา ก็ต้องมาตามอัธยาศัยของท่านซี’
ท่านว่า เขาก็เลยกลับไป ท่านบอกไม่ได้ จากนั้นไม่นานสักสี่ห้าวัน‘หรือไง’ พอดีท่านอาจารย์พรหมมาวัดสุทธาวาส แล้วพุ่งใส่พ่อแม่ครูอาจารย์มั่นเราเลย นั่นละ ท่านถึงพูดเป็นเชิงเล่าเรื่องนี้ละ ‘เขามาขอพระอะไร ๆ ถ้าท่านพรหมพอจะอยู่พัก อบรมสั่งสอนให้เขาร่มเย็นบ้างก็จะดีนะ’
ท่านพูดกลาง ๆ ท่านก็รู้อัธยาศัยเหมือนกันนะ ท่านไม่บังคับนะ ‘ถ้าท่านอยู่ที่นั่นเป็นหัวหน้าให้เขาบ้างก็จะดี ท่านว่าอย่างนั้น ออกพรรษาเราอยากมาค่อยมา’
..........................................................................
* ต่อมาเป็นเจ้าอาวาสวัดประสิทธิธรรม บ้านดงเย็น อำเภอบ้านตุง จังหวัดอุดรธานี
ลัก...ยิ้ม
08-11-2012, 09:30
พอออกจากนั้นปั๊บ ท่านก็กลับคืนไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสุทธาวาส พอทีนี้ออกพรรษาแล้วท่านก็มาอีก พอออกพรรษาแล้วท่านมาเลย มาอยู่นั้นนานกับเรา พอตกกลางคืนเราจะแอบไปหาท่านทุกคืนเลย ถ้าวันไหนไม่ได้ขึ้นไปหาท่านต้องเข้าไปนั้นละ คุยธรรมะกัน ถึงได้รู้เรื่องรู้ราวภายในของท่านนั้นแหละ ได้คุยกันตลอดสนิทสนมกันมา...
หลวงปู่พรหม นี่ท่านประกาศ ๗ วัน เพราะท่านเป็นพ่อค้า แล้วไม่มีลูกมีเต้า ถ้าพูดถึงฐานะบ้านนอกก็เรียกว่า ท่านเป็นที่หนึ่งของบ้านนี้ เพราะการค้าการขายท่านเป็นพ่อค้า ทีนี้เวลามาปรึกษาหารือกับแม่บ้าน เพราะไม่มีลูกด้วยกันนี้ทำ ‘ยังไง’ นี่เห็นไหม.. คนมีอุปนิสัยมันเป็นนะ เราก็อยู่ด้วยกันมา ไม่มีลูกมีเต้าที่จะสืบหน่อต่อแขนงมรดก
‘เหล่านี้จะ ‘ทำไง’ แล้วตายแล้วใครจะสืบต่อก็ไม่ได้ทั้งนั้น สืบต่อกันเป็นระยะ ๆ อันนี้เรายังมีชีวิตอยู่ สิ่งเหล่านี้เราครองมานานแล้ว ก็ไม่เห็นเป็นประโยชน์อะไร ก็อยู่อย่างนี้แหละ เราออกบวชจะไม่ดีหรือ ต่างคนออกเสาะแสวงหาสมบัติภายใน สมบัติภายนอกเราเห็นอยู่นี้แหละ’
ท่านเล่าให้ฟังนะ แม่บ้านก็พอใจทันทีเลย ถ้าเราออกบวชแล้ว อันนี้เราก็ประกาศให้ทานไปหมดเลย เสร็จแล้วออกเลย ทางนั้นก็พร้อมเลยไม่ว่า ท่านบอกว่าประกาศอยู่ ๗ วัน ของให้ทานหมดเลย ให้ทาน ๗ วัน แล้วแม่บ้านออกทางหนึ่ง ท่านก็ออกทางหนึ่งไปเรื่อย ท่านเล่าให้ฟัง
ท่านเป็นคนศักดิ์ศรีดีงาม มีอำนาจวาสนาน่าเกรงขามมาก เด็ดเดี่ยวแน่นอนมาตั้งแต่คุยกันอยู่บ้านนามน อย่างนี้แหละ เห็นไหมล่ะ ไม่ต้องเอาอะไรมายันกัน เพราะท่านคุยให้เราฟังอย่างถึงใจเมื่ออยู่บ้านนามน ท่านผ่านมาตั้งแต่อยู่เชียงใหม่โน้น ... แต่ก่อนท่านเล่าให้ฟัง เราก็ยังไม่รู้อิโหน่อิเหน่อะไร ท่านเล่าให้ฟังจนกระทั่งถึงท่านผ่านได้เลย เราก็ฟังแบบหูหนวกตาบอด
ครั้นเวลามาปฏิบัติ.. ปฏิบัติไม่ถอยมันก็รู้ตามกันไป ๆ สุดท้ายยอมกราบท่านราบ ... ท่านเล่าให้ฟังแล้ว ทางนี้ตามอีกด้วยข้อปฏิบัติ ด้วยความรู้ความเห็นมันตามเข้าไปหาที่แย้งกันไม่ได้ ยอมรับเลย นี่องค์หนึ่ง...”
ลัก...ยิ้ม
09-11-2012, 08:54
หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต (วัดอุดมคงคาคีรีเขต อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น) เป็นพระองค์สำคัญอีกรูปหนึ่งที่เดินทางมาขอศึกษาอุบายธรรมจากหลวงปู่มั่น ที่วัดป่าบ้านนามนแห่งนี้ ท่านกล่าวถึงเหตุการณ์ในตอนนี้ ดังนี้
“...พอพูดถึงเรื่องพญานาค หลวงพ่อผางสำคัญอยู่นะ กับพวกงูพวกพญานาค นี่ละอำนาจวาสนาของคน มีฤทธาศักดานุภาพ ปัจจุบันนี่หลวงพ่อผาง ขอนแก่น นั่นน่ะ.. ท่านบวชทีหลังเรา ตอนท่านไปเราก็อยู่ที่นั่น วัดนามน ที่ท่านศึกษาปรารภกับหลวงปู่มั่น ท่านก็เทศน์อย่างเด็ดทีเดียว นั่นล่ะ.. ท่านได้ธรรมะนั่นล่ะมา ใส่เปรี้ยง ๆ ลง ท่านคงเล็งดูแล้วเหมาะแล้ว ธรรมะจึงไม่มีอ่อนข้อเลย..เด็ดตลอดจนจบ
ใส่เปรี้ยง ๆ เหมือนคนโกรธแค้นกันมาได้ห้ากัปห้ากัลป์ พอมาก็ปรี่ใส่กันเลย ‘ว่างั้น’ เถอะนะ นั่นล่ะ.. ผู้ท่านได้อันนั้นมา มาพิจารณาก็ได้คติตั้งแต่นั้นมา เอาจนทะลุไป นี่ละองค์นี้หลวงพ่อผาง แล้วก็เล่าถึงเรื่องของเรา ท่านบอกว่า ท่านเคยพบกับเราอยู่ที่นั่น.. นามน เล่าให้พระทั้งหลายฟัง เพราะตอนนี้เราก็มาขั้นครูขั้นอาจารย์ไปแล้ว หลวงพ่อผางก็เป็นครูเป็นอาจารย์ไปแล้ว เลยเล่าเรื่องถึงกันเฉย ๆ ทีนี้เวลาท่านออกมาแล้วนี้...”
ลัก...ยิ้ม
15-11-2012, 10:14
หลงป่า
เดือนพฤศจิกายนปีนั้น ท่านกราบลาหลวงปู่มั่นออกจากวัดป่าบ้านนามนไปเที่ยวกรรมฐาน มีอยู่คราวหนึ่ง ระหว่างที่ท่านพร้อมหมู่คณะกำลังเที่ยววิเวก หาสถานที่ภาวนาในป่าในภูอยู่นั้น เมื่อยิ่งเดินหน้าไปเรื่อยก็ยิ่งพลัดหลงทางไปเรื่อย เข้าไปในหุบเขาเล็ก ๆ ยิ่งเข้าป่าลึกขึ้น ๆ จนไม่พบบ้านผู้คนเลย เหตุการณ์คราวนั้น ท่านกล่าวว่า รอดมาได้ด้วยอำนาจของบุญของทาน ดังนี้
“...ออกจากบ้านโคกนามน จากพ่อแม่ครูอาจารย์มั่นไปก็เข้าเขาเลย เพราะภูเขามันติดกันกับบ้านห้วยหีบ เข้าไปนั่นไปภูเขา เข้าไปกลางเขาเลยหลง หลงอยู่กลางเขาเลย... ไปเที่ยวในภูเขาจากระหว่างสกลนครกับกาฬสินธุ์ เข้าไปในเขาไปหลงป่าละซี เข้าไปในหุบเขาเลยนะ เขาไม่รู้กี่ลูกกี่ชั้น เข้าไปจมอยู่ในเขาเลย พอดีไปเจอพวกเขาไปทำไร่อยู่ในเขามี ๔ - ๕ หลังคา เขาไปทำไร่อยู่ในหุบ หลงเข้าไปตรงนั้น เขา.. จนงงเลย ‘โห .. ท่านมาได้ ‘ยังไง’ ?’
คือตอนกลางคืนนั้นมีนิมิตเสียก่อนนะ หลงป่าไปด้วยกัน ๓ องค์ ยังไม่ได้แยกจากกัน ตามธรรมดาออกจากวัดแล้วก็ไปทีละ ๒ องค์ ๓ องค์ แล้วก็ไปแยกกันข้างหน้า ไปวันนั้นยังไม่ได้แยกเลย ไปก็ไปหลงป่ากลางคืน งมเงาไป
‘เอ้า นอนในป่านี่แหละ งมไปไหน แล้วตั้งสัจอธิษฐานนะ ..จะออกทางภาวนาก็ได้ ..ออกทางความฝันก็เอา แล้วบ้านอยู่ทางไหน มันหลงถนัดแล้ว เข้าในหุบเขา บ้านอยู่ทางไหนให้ตั้งสัจอธิษฐานนะ’
องค์นั้นก็ตั้ง องค์นี้ก็ตั้ง เราก็ตั้ง ตั้งสัจอธิษฐาน จะออกทางภาวนาก็ได้ ออกทางไหนก็ได้ พอดีกลางคืนมานิมิตแล้ว ... ทีนี้พอกลางคืนมาก็ฝันละที่นี่ องค์นั้นก็ฝัน องค์นี้ก็ฝัน ฝันด้วยกันทั้ง ๓ องค์ด้วยนะ แปลกอยู่
องค์หนึ่งฝัน ‘บ้านอยู่ทางไหน ?’
‘บ้านอยู่ทางนี้’ ชี้ไปทางทิศใต้ ‘รู้ได้ยังไงว่าบ้านอยู่ทางนี้ ?’
‘มีแต่ผู้หญิงหาบอะไรต่ออะไร หลั่งไหลผ่านมานี่ ไปทางนี้แหละ ไปทางทิศใต้นี้’
‘แล้วองค์นี้ล่ะ ฝันว่ายังไง..’
‘บ้านอยู่ทางนี้อีก’ ‘รู้ได้ยังไง..’
‘มีแต่ผู้หญิงหาบสิ่งหาบของพะรุงพะรังไปนี้’ แล้วว่า ‘วันนี้เราจะพบผู้หญิงก่อนนะ’
‘เอ้า...อยู่ในกลางเขาจะพบผู้หญิงก่อนนะ’
‘เอ้า...อยู่ในกลางเขาจะพบผู้หญิงได้ยังไง..’
‘หากจะพบก็เพราะความฝันบอก อย่างนั้น’
เราก็อีกเหมือนกัน หมู่เพื่อนมาถามเราว่า ‘เป็นยังไง ?’
‘บ้านอยู่ทางนี้จริง แต่ไม่ใช่บ้านนะ เป็นทับ เขามาตั้งทับอยู่ทางด้านนี้ เมื่อคืนเห็นโยมแม่มาหา มีเด็กสองสามคนติดตามโยมแม่มา โยมแม่มาหามาถางนั้นถางนี้ปุบปับ ๆ แล้วก็พาเด็กขนของไป ไปทางนี้แหละ บ้านอยู่ทางนี้หรือทับอยู่ทางนี้แหละ เอ้า...ไปทางนี้’
นั่นละ พอตื่นแล้วก็บุกตามทิศเลย ไปอยู่ในหุบเขาลึก ๆ นะ มีบ้านอยู่ ๔ หลังคาเรือน เขามาทำไร่อยู่ในหุบเขา ไปเขางงเลย ‘โอ๊ย... ท่านมาได้ยังไงนี่ โถ... ตาย ๆ ๆ’
ไปได้พบผู้หญิงก่อนจริง ๆ มีแต่ผู้หญิงตำข้าวกันตุบตับ ๆ ผู้ชายไม่มีสักคนเดียว มีเด็กเล่นอยู่อีกสองสามคน เด็กก็ลักษณะที่ว่านั่นแหละ เขาว่าญาครูเป็นความเคารพ ญาครู ญาชา หลวงตา นี่เป็นความเคารพของเขา
‘มาได้ยังไง ? เมื่อคืนนี้ก็ฝันกัน มาเล่าสู่กันฟังอยู่นี่ ฝันว่าพระท่านมาโปรด ๓ องค์ เมื่อคืนนี้ บ้านนั้นก็ฝัน บ้านนี้ก็ฝัน ก็แปลกอยู่นะ
ฝันว่าญาครู (คือพระ) ท่านมาโปรด ๓ องค์เมื่อคืนนี้ พูดกันจบเดียวนี้ พวกผู้ชายเขาไปไร่นอกบริเวณนั้น เพิ่งไปตะกี้นี้ ว่าพระมาโปรด ๓ องค์’
พอดีไปพวกนั้นเขาก็งง เขาว่า ‘ถ้าไม่พบบ้านนี้ต้องตาย ไม่มีทางอื่นทางใด นอกจากจะไปพบพวกนายพรานเขานะ ถ้าผู้มีแก่ใจเขาก็จะพาย้อนกลับหลังไป ย้อนทางไปสู่บ้านมานี้มันลึกพอแล้วนี่ ข้ามเขาแต่เพียงลูกเดียวสองลูกเท่านั้นตายเลย เพราะแถวนี้ไม่มีบ้านเลย อยู่ในหุบเขา’
เราก็เลยได้กินข้าวกับเขา แล้วบอกเพื่อนฝูงด้วยว่า ‘วันนี้เราอย่าพูดอะไรนะ จะมีคนตามส่งเรานะวันนี้ เพราะมีเด็กมาเอาของบริขารผมไป เราไม่ได้บอกเด็ก เด็กมาขนบริขารไปเลย วันนี้คอยดู จะมีคนไปส่งเรา’
พอกินข้าวแล้วเขาบอกว่า ‘พวกผมต้องไปส่งท่าน ถ้าไม่ไปส่ง ท่านก็ตายอีก’ เขาตามส่งย้อนหลัง ไปส่งใส่ทางเข้าหมู่บ้าน
นี่เรามันอัศจรรย์ที่ว่าอยู่ในหุบเขาลึก ๆ มันหลงไปได้ ‘ยังไง’ หลงไปในหุบเขาเท่ากำปั้นนี่นะ ภูเขานี่กว้างเท่าท้องฟ้ามหาสมุทร แล้วมันหลงไปได้ ‘ยังไง’ นี่..อัศจรรย์อยู่เหมือนกันนะ เวลาจะตายไม่ตายนะ ที่ว่าจะตาย ๆ ก็เพราะปีนเขา เขาพูดว่า
‘ไม่ใช่อะไรหรอกท่าน ปีนเขาลูกนี้ลงลูกนี้ ขึ้นลูกนั้น กว่าจะถึงบ้านคนมันกี่สิบเขา ท่านไปได้เพียง ๒-๓ วัน ท่านก็แย่แล้ว ตายแล้ว นี่มาเจอพวกผมดีแล้ว ท่านไม่ตายแหละคราวนี้’
นี่เราเชื่อเวลาจำเป็น.. เป็นอย่างนั้นจริง ๆ นะ มันหากบันดลบันดาล มิหนำซ้ำเทวบุตรเทวดายังบันดลบันดาลให้เขาฝันทางโน้นว่าพระท่านมาโปรด ๓ องค์ ทางนี้ก็ฝันว่าไปหาโยม โยมตามส่ง เราเลยฝังใจจนกระทั่งทุกวันนี้…
ภายในใจนี้เราเชื่อ เชื่อในหัวใจเจ้าของเองว่าเปิดโล่งอยู่ตลอด... นี่แหละ อำนาจแห่งการทำบุญให้ทานไม่อดอยาก ถึงเวลาจำเป็น หากมีผู้มาช่วยจนได้นั่นแหละ หากมี..ฟังแต่ว่า “มี” เถอะ อำนาจทานบันดลบันดาลให้มีผู้ใดผู้หนึ่งมีใจบุญเข้ามาช่วยสงเคราะห์สงหา เพราะอำนาจแห่งบุญของเรามีเป็นเครื่องดึงดูดกัน...”
ลัก...ยิ้ม
19-11-2012, 09:58
ธุดงค์หลงป่าถูกหลอก
ครั้งหนึ่งท่านไปเที่ยวธุดงค์กรรมฐาน ท่านหลงทางหลงป่าไปเจอไร่ข้าวของ “ทิดสาย” ซึ่งไปทำนาทำไร่อยู่บนเขา ทิดสายมีลูกชายชื่อหอม อยู่บ้านนาขาม ท่านเล่าเหตุการณ์ในครั้งนั้นว่า
“... บ้านนาขามอยู่ไกล เราก็เลยไม่ลืม
เราถามเขาว่า ‘บ้านหนองสะไนไปอีกไกลไหมโยม ?’
เขาชี้มือบอกว่า ‘โอ๋ย! จะไกลอะไร นี่ นี่.. อยู่ฟากเขาลูกนี้ เขาลูกเล็ก ๆ นี้ อยู่ใกล้ ๆ แค่นี้’
‘ถ้าอาตมาเดินไปจะถึงค่ำขนาดไหน ?’ เราถาม
เขาบอกว่า ‘อย่างมากตีโปง ตำโปง เวลาโพล้เพล้จวนมืด ก็ถึงแล้ว’ (ตีโปง ลักษณะคล้ายระฆัง แต่ทำด้วยไม้ ใช้ตีเวลาประมาณ ๕-๖ โมงเย็น)
เราก็ไป.. ที่ไหนได้เกือบตาย ๓-๔ ทุ่มจึงถึงบ้านนั้น ที่เขาโกหกเรา เพราะเขากลัวว่าเราจะไปอาศัยกินข้าวกับเขา เขาขนข้าวไปพอดีกิน ๓-๔ วัน พอกินหมดเขาก็กลับลงมาเอาอีก สาเหตุที่รู้ว่าเขาโกหก เพราะหลังจากนั้น ๒-๓ วันให้หลัง โยมคนหนึ่งไปจากบ้านนามน ที่พ่อแม่ครูอาจารย์มั่นจำพรรษาอยู่ไปถึงที่นั่น (ที่ที่เขาโกหกเรา)
เขาก็บอกว่า ‘ไปนี้ ดูรอยพระไปทางนี้หน่อยนะ เมื่อวานนี้ได้โกหกพระให้ไปทางนี้ จ้างมันก็ไปไม่ถึง นอนซมอยู่กลางป่าล่ะวันนี้’
เราไม่ได้นอนกลางป่าเหมือนเขาคิดล่ะซี เดินกลางป่าเหมือนขาขาดไปเลยน่ะ สมมุติว่าเดินสะดุดอย่างนี้ ไม้ไม่ขาดขาก็ต้องขาด เพราะความรวดเร็วแห่งการเดินบุกไปป่ากลางคืนนี้ เราโดนเขาหลอก อันนี้ก็แปลกอยู่นะ มันน่าคิดอยู่มากนะ เรื่องกรรมบันดลบันดาลนะ คนที่โกหกเรานี้
อีก ๓ ปีต่อมา... เราก็เที่ยวธุดงค์ย้อนกลับมาทางเดิมนั้นอีก ไปก็พอดีมีโยมบ้านนาขาม เขาเข้ามาพักอยู่ที่บ้านหนองสาน แกมาส่งบาตรเรา แกก็บอกว่า แกอยู่บ้านนาขาม เราก็เลยถามถึง ‘โยมชื่อทิดสาย ลูกชายชื่อหอม เป็นอย่างไรบ้าง ?’
‘โอ้ย !!..ผู้เฒ่าตายได้ ๓ ปีแล้ว’ ‘ว่างั้น’ ‘เป็นอะไรตาย’
‘ลงท้องตายแบบปัจจุบัน’
คำนวณเวลาพอดีกับที่เราจากตรงนั้นไป ๓ ปี พอดี..นี่..ก็บันดลบันดาลน่าคิดอยู่มาก ถ้าจะคิดถึงเรื่องแบบนี้มีอยู่หลายเรื่อง ไม่ใช่พูดอวดตัวนะ พูดถึงเรื่องบุญกรรมมีประจำโลก ประจำสงสาร ประจำสัตว์ทุกประเภท เราหมายความว่าอย่างนั้น...”
ลัก...ยิ้ม
20-11-2012, 08:37
ถือ “ความทุกข์” เป็นครู เป็นหินลับสติปัญญา
ความเป็นนักต่อสู้ของท่าน แม้อุบายวิธีบางอย่างจะทำให้ต้องพบกับความทุกข์แสนทุกข์ แต่หากผลปรากฏเป็นความเจริญทางด้านจิตใจมากขึ้น ท่านก็จะพยายามอดทน ต่อสู้ให้ผ่านไปให้จงได้ เห็นได้จากคำกล่าวตอนหนึ่งของท่านกับพระเณร ดังนี้
“... นิสัยของผมเองนั้น เป็นนิสัยที่หยาบ จะว่าคนหยาบก็ได้ ไปอยู่ในสถานที่ธรรมดาความเพียรไม่ค่อยดี ผลที่จะพึงได้ก็ไม่ค่อยปรากฏนัก... แต่หากเป็นบางสถานที่แล้ว กลับทำให้ธรรมภายในใจเจริญขึ้น ๆ ...
จึงมักแสวงหาในที่กลัว ๆ เสมอ ทั้ง ๆ ที่เราก็กลัว แต่ผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากความกลัวนั้น เป็นผลประโยชน์อัศจรรย์มหาศาล เราจึงจำเป็นต้องได้สละเป็นสละตายเข้าอยู่บำเพ็ญเพื่อธรรม...”
ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงนิยมให้อุบายฝึกจิตด้วยการเข้าป่าช้าเผาหรือฝังคนตายบ้าง ในถ้ำเงื้อมผาป่าดงบ้าง ในดงที่เป็นที่อยู่ของช้าง หมี เสือ หรือสัตว์ร้ายต่าง ๆ บ้าง อาศัยสัตว์เหล่านั้นเป็นครู ท่านออกวิเวกบางสถานที่ เป็นที่ที่เสือมักชอบผ่านมา หรือเป็นที่อาศัยของมันในบริเวณใกล้ ๆ กันนั้น แม้ว่าจะเดินหรือนั่งตรงไหน ? อย่างไร ? ก็คิดกลัวอยู่ตลอดว่ามันคงจะอยู่ใกล้ ๆ หรือกลัวว่ามันจะมากัดกิน ท่านเคยเล่าถึงสถานที่เช่นนี้ว่า
“น่ากลัวจริง ๆ กลางวันก็กลัว เวลาไหนก็กลัว ยิ่งกลางคืนด้วยแล้ว จิตยิ่งมีแต่ตั้งหน้าตั้งตาที่จะกลัว นั่งก็กลัว เดินจงกรมกลางค่ำกลางคืนดึกดื่นก็เดินทั้ง ๆ ที่กลัว ๆ นั้นเอง”
ท่านเล่าถึงคราวเข้าไปดัดตัวเองที่ป่าเสือแห่งหนึ่ง ดังนี้
“...อยู่ในป่าในเขามันตื่นเต้น .. แต่ก่อนเป็นป่า พวกสัตว์ พวกเสือ เนื้อร้ายเต็มไปหมดจริง ๆ ... ก้าวเข้าทางนี้ปั๊บเป็นป่าแล้ว มีสัตว์แล้ว พวกสัตว์ พวกเนื้อ พวกเก้ง พวกหมู พอลึกเข้าไปก็พวกกวาง พวกช้าง พวกเสือ เสือมีอยู่ทั่วไป สัตว์มีอยู่ที่ไหน เสือมีอยู่ที่นั่น มีอยู่ทั่วไป..
บางทีก็เสียงเสืออาว ๆ ขึ้นแล้ว อาว ๆ ขึ้น ข้างทางจงกรม โถ...เสียงเสือมันไม่เหมือนเสียงเพลงลูกทุ่งละซี มันจะงับหัวเอา ประมาทได้หรือ เสียงอาว ๆ ขึ้นข้าง ๆ ไม่รู้มันมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ตอนมันหยุดเสียงคำราม มันอาวตามภาษาของมันแล้ว นั่นละ มันน่ากลัวตอนนั้น ไม่ทราบมันจะมาแบบไหนซิ ได้ยินเสียงมันอยู่ มันอยู่ตรงนั้นก็ค่อยยังชั่วนะ พอเงียบเสียงไปแล้ว ไม่ทราบจะมาแบบไหน...
เราไปอยู่ในที่ดัดสันดานจริง ๆ นะ ไม่ใช่ธรรมดานะ มีแต่ที่ดัดสันดานทั้งนั้นแหละ ป่าก็ป่าเสือ กลางคืนเวลาเราเดินจงกรม มันไม่ใช่ธรรมดานะ แล้วยิ่งเสียงเสือด้วยนะ เราไปอยู่แคร่ ตอนตื่นเช้ามาเห็นรอยมันผ่านไปทางนี้แล้วฉากออกไป เพราะเราปัดกวาดไว้เรียบร้อย มันเดินผ่านไปผ่านมา มันก็เห็น โอ้...เสือมา มาเมื่อไหร่ไม่รู้ แต่เขาก็ไม่ได้สนใจกับเรา เขาเดินฉากไปเฉย ๆ แสดงว่าเขาไม่ได้สนใจกับเรา เขาไปตามประสาของเขา เราก็รู้
ถ้ามันเดินวกเวียน นี่..สนใจนะ มันสนใจ ถ้าพอทำ (หมายถึงเสือกัดกิน) มันก็อาจจะทำอย่างว่านะ นี่..ไม่มี ไม่เคยปรากฏ เราเองก็ไม่เคยปรากฏ เสือจริง ๆ ก็ไม่เคยเห็นในป่า แต่เสียงมันมีอยู่ทั่วไป กระหึ่ม กระหึ่ม
โอ้...ขนนี้ไม่ทราบว่ามันลุกซู่ผึงเหมือนจรวดดาวเทียม มันเป็นเองนะ ไม่ทราบว่ากลัวไม่กลัว มันลุกซู่ จิตหดเข้ามา หันเข้ามา สมมุติว่าอยู่ในขั้นบริกรรมพุทโธ ก็ติดกับพุทโธ ไม่ให้ออกไปหาเสือ ความคิดนี้จะไปคว้าเอาพิษเอาภัย เอาอารมณ์ไม่ดีงาม เช่น อย่างกลัวอย่างนี้ มันก็เป็นอันตรายอันหนึ่ง ต้องคิดอย่างนั้น.. ไม่ให้ออก หมุนติ้วนั่น มันเป็นอย่างนั้น...”
ลัก...ยิ้ม
22-11-2012, 11:51
ชนะความกลัวด้วย “พุทโธ”
ท่านใช้ความกลัวนี้เองเป็นครูหรือเป็นอุบาย เพื่อฝึกจิตให้เห็นเหตุเห็นผลกัน ดังนี้
“...พอความกลัวเริ่มมากขึ้น สติเริ่มจับ คือจิตนี้ห้ามหรือบังคับเด็ดขาดไม่ให้เคลื่อนจากจุดที่ตนต้องการ เช่น เราบริกรรม พุทโธ พุทโธ... ก็ให้อยู่กับคำบริกรรมนี้เท่านั้น เป็นก็ตาม ตายก็ตาม เสือก็ตาม ช้างก็ตาม สัตว์อันตรายใด ๆ ก็ตาม ไม่ไปคิด ไม่ไปยุ่ง ให้รู้อยู่จุดเดียวคือคำบริกรรมนี้เท่านั้น... ‘ไม่งั้น’ มันจะวาดภาพเสือ วาดภาพอันตรายขึ้นมาให้เรากลัว เพราะไปอยู่ในสถานที่กลัวด้วย ในสถานที่มีเสือจริง ๆ ด้วย ต้องบังคับจิตไม่ให้ส่งออกไปภายนอกเลย ให้รู้อยู่กับใจนี้.. เป็นกับตายก็มอบอยู่กับใจนี้...
นี่หมายถึงขั้นเริ่มแรกของการภาวนา ซึ่งต้องอาศัยคำบริกรรม กลัวมากเท่าไรจิตยิ่งติดแนบกับคำบริกรรมไม่ให้ปราศจากเลย ความมุ่งหมายนั้นคือ หมายตายกับธรรมนี้เท่านั้น ไม่ให้จิตไปสู่อารมณ์ที่กลัวนั้น ๆ ธรรมคืออะไร ? คำบริกรรมนั้นแล คือบทแห่งธรรม...
ธรรมแท้จะปรากฏที่จิต ที่จิตกำลังบริกรรมอยู่นั่นแหละ คือสั่งสมพลังของธรรมให้เกิดขึ้นที่ใจ มากน้อยตามความพากเพียรของตน
เมื่อสติได้ติดแนบอยู่กับคำบริกรรม บังคับจิตไม่ให้แย็บออกไปสู่อารมณ์ที่เป็นภัย ซึ่งทำให้น่ากลัวน่าหวาดเสียวนั้น ให้อยู่เฉพาะกับคำบริกรรมนี้ ติดต่อสืบเนื่องกันเป็นลำดับลำดา ก็เป็นการสั่งสมพลังคือกำลังของอรรถของธรรมขึ้นภายในจิตใจ หนุนใจให้มีความแน่นหนามากขึ้น ๆ
จนกระทั่งมันมีความอาจหาญชาญชัย สุดท้ายจิตใจดวงนั้นก็แน่นเหมือนกับหินทั้งก้อนหรือภูเขาทั้งลูก... ทีนี้ความที่เคยว่ากลัว ๆ คิดออกไปหาสิ่งที่น่ากลัวก็ไม่กลัว คิดไปถึงอันใด คำว่าน่ากลัวก็ไม่กลัวทั้งนั้น .. แม้เสือจะเดินมาต่อหน้าต่อตา มันจะเดินเข้าไปลูบคลำหลังเสือได้อย่างสบายเลยนะ ตามความรู้สึกมันแน่ในใจ ‘ยังงั้น’ ไม่คิดว่าเสือจะทำอะไรได้เลย นี่อาจเป็นความสำคัญผิดของตัวก็ได้ แต่จะสำคัญผิดหรือสำคัญถูกก็ตาม เมื่อจิตได้กล้าถึงขนาดนั้นแล้ว มันเดินเข้าไปลูบคลำหลังเสือได้จริง ๆ ด้วย จิตใจอ่อนโยน เมตตาสงสาร ไม่สะทกสะท้านในเรื่องว่าจะกลัว ความกลัวก็ไม่มี
จิตมันมีกำลังมากเวลานั้น เพราะไม่ให้มันออกนอก กำหนดเข้าเรื่อย ๆ มันก็มีกำลังจนแน่นปึ๋งเลย ขึ้นชื่อว่าอันตรายอะไรก็มาเถอะ ..ว่าอย่างนั้นเลยนะ มันอาจหาญขนาดนั้น เสือก็มา ช้างก็มา ไม่หนีว่าอย่างนั้นเลยนะ คือมันเป็นความอาจหาญของมันจริง ซึ่งเราก็ไม่เคยเป็นมาก่อน มาเป็นเอาตอนฝึกดัดสันดานในขณะกลัวนั่นแล ไม่คิดว่าเสือหรือช้างเป็นต้น จะมาทำลายเราได้เลย จะเดินเข้าไปหามันได้อย่างสบาย
แม้มันจะทำเรา ฆ่าเราให้ตายในขณะนั้น ก็รู้สึกว่าจะตายไปด้วยความอาจหาญนั่นเอง ให้ตายด้วยความกลัวนี่คงเป็นไปไม่ได้ เพราะเวลานั้นจิตมันมีกำลังมาก นี่เป็นวิธีหนึ่งแห่งการระงับดับความกลัว แห่งการระงับความฟุ้งซ่าน ความก่อกวนตัวเองด้วยอารมณ์ต่าง ๆ ระงับกันอย่างนี้
ทั้งนี้ตามแต่อุบายแยบคายของแต่ละราย จะผลิตขึ้นมาใช้เปลื้องตัวจากความจนตรอกในเวลานั้น ๆ เพราะธรรมหรือสติปัญญาไม่สิ้นสุดอยู่กับผู้ใด สามารถทำให้เกิดให้มีในแง่ต่าง ๆ ได้ด้วยกัน ...
เอ้า! คิดหมด..ในแดนโลกธาตุนี้กลัวอะไร จะมีสิ่งน่ากลัวแม้สิ่งหนึ่งมาปรากฏที่ใจนี้มีไหม ? .. ไม่มีเลย นั่น.. ฟังซิ นั่นละ เมื่อถึงขั้นจิตเป็น อัตตา หิ อัตตโน นาโถ คือช่วยตัวเอง ช่วยอย่างนั้น พึ่งตนเอง พึ่งอย่างนั้น อยู่กับตัวเองด้วยความแน่นหนามั่นคงก็อยู่แบบนั้น .. นี่เป็นสิ่งที่เราลืมไม่ได้ในชีวิต และการภาวนาของเราซึ่งไปอยู่ในสถานที่เช่นนั้น...”
ลัก...ยิ้ม
23-11-2012, 11:47
สยบโรคฝีดาษ
“...ปีที่คนเป็นโรคฝีดาษ ฝีดาษนี้ได้เกิดขึ้น บ้านใหญ่ ๆ เป็นร้อย ๆ หลังคา บ้านแตกสาแหรกขาด หนีเข้าไปอยู่ในป่า คนหนีตายนี้ไปอยู่ได้หมดทุกแห่ง ไม่ว่าพุ่มไม้ ไม่ว่าที่ไหน ๆ หาที่หลบที่ซ่อนตัวได้ยิ่งกว่าสัตว์ เวลาคนกลัวตายนี่ กลัวมากกว่าสัตว์ แตกบ้านแตกเมือง..หมู่บ้านเดียวตายวันละ ๑๔ – ๑๕ - ๑๖ ศพ
เราเดินธุดงค์เที่ยวผ่านไปหมู่บ้านนั้น กับโยม ๒ คน คนเขาบอกว่า ‘จะไปหมู่บ้านนั้นทำไม ? ที่นั่นมีแต่ป่าช้าผีตาย’
เราก็ว่า ‘ตัวเรานี้แหละ เป็นป่าช้าคนเป็น ถ้าไปจะเป็นอะไร ?’
เราผ่านเข้าไปตรงนั้น เห็นเขาตาย น่าสยดสยองกันทั้งบ้านทั้งเมือง โยม ๒ คนที่ไปด้วยเกิดความกลัว เราจึงว่า ‘ไป๊! เราไม่พากลัว ไม่ต้องกลัว’
ความตายมันอยู่กับเรา ไม่ได้อยู่กับที่นั่นที่นี่แหละ ถ้าเรายังมีลมหายใจ ถ้าเรายังมีลมหายใจแสดงว่าไม่ตาย เดินไปเลย ผ่านไปตรงนี้เลย มองดู ๒ ฟากทาง บ้านเรือนเป็นร้อย ๆ หลังคาไร้ผู้คน แตกหนีเข้าไปอยู่ตามป่า ตามพุ่มไม้ ตามที่ไหน ๆ ตามกอไผ่กอผา ที่ไหนหลบซ่อนไปอยู่หมด
นี่ละ มันถึงได้มองเห็นชัดนะ เห็นจริง ๆ ประจักษ์ตา เขาก่อไฟเอาไว้ ผู้ที่นอนตายเฝ้ากองไฟก็มี ผู้ร้องครางอยู่ตามกองฟืนกองไฟก็มี เราปลูกกระท่อมไว้หลังเล็ก ๆ ไปอยู่กับบ้านน้อย ๙ หลังคาเรือน เขาก็พากันแตกไปหาเรา
นี่ก็แปลกอยู่นะ ธรรมของพระพุทธเจ้าเห็นประจักษ์ ไม่ใช่อวดธรรม ไม่ใช่อวดตัวเอง เอาความจริงมาพูด นี่เราเห็นด้วยตา ไปก็ผ่านไปได้อย่างสบาย ไม่เป็นอะไรเลย เราก็ไปวัดตอนเช้ากำลังจะฉันจังหัน พวกเขารุมเข้ามาถามว่า ‘เป็นยังไงท่าน ท่านสบายดีอยู่หรือ ?’
‘จะเป็นอะไร ไปหาอะไรมาให้เรากิน เรากำลังหิวข้าว อย่ามาถามเรื่องความเป็นความตาย’
เราว่าอย่างนี้ จากนั้นพวกนั้นก็รุมเข้ามา นี่ก็เป็นภาระหนักอยู่ รุมกันเข้ามาอยู่เต็มบ้านน้อย อยู่ตามต้นไม้ แต่ก็เดชะนะ...ไม่เป็นอะไรแม้สักคนเดียว ผู้ที่วิ่งเข้ามาก็หายจากโรคฝีดาษ มันดลบันดาลอะไรนะ ธรรมของพระพุทธเจ้า
ใครเป็นแล้ว เขาห้ามไม่ให้เข้าเป็นอันขาดเลย นี่มันยังรอดเข้ามาได้ มาอยู่นั่นก็จะทำ ‘ยังไง’ ให้อยู่นั่นแหละ จะเป็นอะไรไป เราบอกทำกระต๊อบให้เขาอยู่เสีย ไม่ให้ออกมาเที่ยว ก็เดชะนะไม่เป็นอะไรเลย ๒ คนนี้หาย.. ไม่ตาย แล้วพวกนั้นก็ไม่เป็นอะไร
ทีนี้ตอนจะจากเขาไปละสิ โอ๊ย!...น่าทุเรศจริง ๆ นะ ถึงเวลาเราจะเข้าป่าไปทางภูสิงห์ ภูวัว ไปเที่ยวป่าทางโน้นแหละ เราไปคนเดียว ถึงเวลาจะไปร้องห่มร้องไห้เหมือนเด็กน้อยว่า
‘จะมีที่พึ่งที่ไหน ท่านจากไปแล้วก็หมดที่พึ่งเสียแล้ว’
‘ไม่หมดที่พึ่งทางใจ เอาพุทโธไว้นะ ให้จับพุทโธไว้ มีองค์ศาสดาอยู่ในหัวใจแล้วไม่เป็นไร ไม่ต้องกลัว นี่เราไป เราก็ไปกับพุทโธ ก็ให้อยู่กับพุทโธนะ’ เราก็บอกอย่างนี้...
พอเดือนมิถุนายน บทเวลาเราย้อนกลับมา เราถามว่า ‘เป็นยังไงทางนี้’
เขาบอกว่า ‘สบายดีอยู่ ไม่เป็นอะไร’
ตั้งแต่นั้นมาสบาย...หายหมด บ้านน้อยไม่เป็นไรสักคนเดียว นี่แหละ ... อำนาจแห่งธรรมของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ของเล่น ๆ ดับทุกข์เข็ญได้อย่างแท้จริง...”
ลัก...ยิ้ม
03-12-2012, 14:46
พรรษาที่ ๑๑
(พ.ศ. ๒๔๘๗) จำพรรษาที่เสนาสนะป่ายาง บ้านท่าบ่อสงคราม
ตำบลท่าบ่อสงคราม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
https://public.blu.livefilestore.com/y1predyrChlHieJXQqW6DfNSIZz86U6SZvvSstzBBkWRi03vzka6-mSzNFDPESkJwaxC8TVigy2tFlG_G5wLdGEKg/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%A1.jpg?psid=1
นิมิตภาวนารู้ ... โยมพ่อตาย
ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ เป็นพรรษาที่ ๑๑ ท่านจำพรรษาที่อำเภอศรีสงคราม ในตอนนั้นท่านกำลังออกเร่งประกอบความเพียร ที่ฉันภัตตาหารเป็นกระต๊อบหลังเล็กสำหรับฉันได้เพียง ๓ องค์ ส่วนที่พักทำเป็นแคร่สูงจากพื้นใช้หญ้ามุง
ท่านเล่าถึงภาพนิมิตที่เกิดขึ้นในคืนหนึ่งขณะนั่งภาวนา ดังนี้
“...จิตวิญญาณก็แปลกอยู่ จิตวิญญาณมันถึงกัน มันแปลกอยู่นะ เวลาประมาณตี ๓ ถึงตี ๔ นั่งภาวนาอยู่ แล้วปรากฏเห็นภาพโยมอาน้องพ่อเอาจดหมายมายื่นให้ในขณะภาวนา
พอยื่นให้ปั๊บ เรายังไม่ได้อ่านจดหมาย ความรู้มันก็รับกันทันทีว่า ‘พ่อเสียแล้ว’
พอออกจากที่ภาวนามาเล่าให้เพื่อนฝูงที่อยู่ด้วยกัน ๒ องค์ฟังว่า
‘วันนี้วันที่เท่าไร หมู่เพื่อนจดจำไว้นะ เมื่อคืนนี้ตอนผมนั่งภาวนาอยู่ เห็นภาพนิมิตเข้ามา เห็นโยมอาน้องพ่อเอาจดหมายมายื่นให้ พอยื่นปั๊บ ทางนี้รู้รับกันทันทีว่าพ่อเสียแล้ว’...”
จากนั้นท่านจึงจดวันที่ไว้ หลังจากนั้น ๗ วัน จดหมายก็ส่งมาถึงจริงตามนิมิตและเขียนบอกด้วยว่า “พ่อตายแล้ว”
ปรากฏว่าวันเวลาที่โยมพ่อของท่านถึงแก่กรรมเป็นเวลาเดียวกันกับที่ท่านนั่งภาวนาอยู่ คือตี ๔ ตรงกับวันและเวลาที่จดไว้นั้นพอดี
ลัก...ยิ้ม
03-12-2012, 14:57
สอนพญานาค
องค์หลวงตาได้กล่าวถึงหลวงปู่มั่น สมัยที่พักอยู่จังหวัดนครพนม ดังนี้
“...พ่อแม่ครูอาจารย์มั่น ท่านเล่าให้ฟังเองว่า ‘สมัยที่ท่านพักอยู่บ้านสามผง จังหวัดนครพนม พอตกกลางคืนตอนสามทุ่ม ขณะที่ท่านกำลังเทศน์พระเป็นจำนวน ๓๐ - ๔๐ รูป ท่านเทศน์ไปจิตส่งไป.. เห็นพญานาคอยู่เต็มฝั่งแม่น้ำสงคราม เขาพาบริษัทบริวารแห่มาขึ้นอยู่แน่นฝั่งเป็นทิวแถว เขาพากันมาเพื่อมาฟังเทศน์ท่าน เขาฟังเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงามมาก เพราะใจขององค์ท่านไม่ได้เหมือนใจพวกเรา.. จ้าไปหมด มองไปไหนเห็นหมด'…”
ลัก...ยิ้ม
03-12-2012, 15:20
จำน้องสาวไม่ได้ เพราะจากบ้านไปนาน
คราวหนึ่งในช่วงกำลังเที่ยวกรรมฐาน ท่านกลับบ้านมาทำบุญอุทิศให้โยมพ่อ แต่ก่อนไม่มีรถรา ในระหว่างทางเดินมาจากตัวจังหวัดอุดรธานี ท่านเดินสวนกับหญิงสาวรุ่นคนอายุราว ๑๖ - ๑๗ ปี หญิงสาวคนนี้ พอเห็นท่านปุ๊บก็ตรงเข้ามาไหว้นั่งกราบทันที ท่านเล่าเหตุการณ์ในช่วงนี้ ดังนี้
“...เขาผ่านทางมาเห็นเรา เขานั่งไหว้ นั่งกราบ ‘เอ๊ ! เด็กที่ไหนดูลักษณะเข้าที แสดงว่าจะเข้าใจในศีลในธรรมพอประมาณ’ จากนั้นก็เลยถามว่า ‘มาจากไหน ?’
‘มาจากบ้านตาด’
‘แล้วจะไปไหน ?’
‘จะไปอุดรฯ’
‘อยู่บ้านไหน ?’ เราถามซ้ำอีกที
‘อยู่บ้านตาด’
เขาเคอะ ๆ เขิน ๆ นะพอถูกถามว่าอยู่บ้านไหน ? ถามไปถามมา.. เราก็เลยถามว่า ‘เป็นใคร ?’ เขาเลยหัวเราะ เราไม่รู้ว่าเขาเป็นน้องเรา เราถามอย่างนั้นเขายิ้ม ๆ แล้วก็หัวเราะ
‘หือ...มึงหัวเราะหาอะไร บอกมาซิ’
‘อู๊ย... ไม่ทราบว่าจะบอกยังไง’ ก็ถามจุดไต้ตำตอ พี่กับน้องถามกัน ไม่รู้กัน เราไม่รู้เขา ตัวเขาเท่ากำปั้นเวลาเราบวช เวลามาเจอเขา .. เขาเป็นสาวแล้ว อายุได้ ๑๖ - ๑๗ ‘ละมั้ง’
ถามไปถามมา ‘แล้วเป็นใครล่ะ’ เขาก็ยิ่งหัวเราะ เขาไม่กล้าตอบ เราก็เลยเดาเอานะ ‘อีจันดีหรือ ?’ ตอบว่า ‘ใช่แล้ว’
‘โอ๊ย.. อีผีบ้า กูไม่รู้ว่าเป็นมึง มึงเชื่อหรือว่าเป็นน้องกูน่ะ ถ้ามึงเชื่อว่าเป็นน้องกู กูบวชเมื่อไร..มึงรู้ไหม?’
มันว่า ‘ไม่รู้’
‘แล้วมึงว่าเป็นน้องกูได้ยังไง ?’
‘ก็พ่อกับแม่พูดอยู่ตลอด’
…นางจันดีนี้ แต่ก่อนตัวมันเท่ากำปั้น เราจำไม่ได้.. ตอนเราบวช ดูอายุเขาจะ ๔ ขวบ ‘มั้ง’ ? ยังเป็นเด็ก เขาว่าไม่ทราบก็ถูกต้องแล้ว
อย่างนั้นละ พี่กับน้องไม่รู้กัน ก็บวชแล้วไม่เคยเข้าไปเกี่ยวข้องกับบ้าน พอบวชแล้วไปเลย พี่ ๆ น้อง ๆ อะไรไม่เคยสนใจนะ เหมือนทั่วไปในโลกนี้ ไม่มีใกล้มีไกล บ้านน้อง ๆ ไม่เคยเข้าไปเหยียบเลยนะ เหมือนกันหมด...”
ลัก...ยิ้ม
04-12-2012, 11:12
นกเขียน...คู่พึ่งเป็นพึ่งตาย
สมัยที่ท่านท่องเที่ยวภาวนาอยู่ทางอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม บรรยากาศตามท้องทุ่งมีนกกระเรียนและนกเขียนลงหากินเป็นฝูง ๆ ขณะที่นกเขียน ๒ ตัวผัวเมียกำลังหากินอยู่นั้น เหตุการณ์น่าสลดสังเวชก็เกิดขึ้นจากน้ำมือนายพรานผู้ใจบาป ดังนี้
“ตัวผัวถูกนายพรานยิง พอตัวผัวถูกยิง ตัวเมียบินร่อนขึ้นไปข้างบน ร่อนดูผัวตัวเองถูกปืนกำลังดิ้นทุรนทุรายตายอยู่ต่อหน้า มันเสียใจมาก จึงฆ่าตัวตายตามโดยบินดิ่งหัวปักลงพื้นดินคอหักตายทันที ตายลงตรงซากศพผัวมันนั่นเอง”
ท่านให้ข้อคิดคติธรรมจากเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า มนุษย์เราต่างก็มีความจำเป็น และหวังความช่วยเหลือระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน มนุษย์อยู่ด้วยกันก็หวังพึ่งกัน หากมนุษย์อยู่ด้วยกันพึ่งกันไม่ได้ย่อมไม่มีความหมาย สู้สัตว์ไม่ได้ สัตว์เขายังช่วยกัน ท่านยกเอาเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์ว่า
“แม้สัตว์เขายังรักกัน เขายังช่วยกันถึงขั้นสละชีวิตยอมตายด้วยกัน ส่วนนายพรานนั่นก็คงดีใจที่ได้นกเอาไปกินทั้งสองตัว มันดีใจจะได้ไปตกนรกนะสิ นกสองผัวเมียนั้น เขาตายด้วยความเสียใจสุดขีดถึงชีวิตสละได้เลย ส่วนตัวนายพรานนี้ก็ดีใจสุดขีดว่า ยิงนัดเดียวได้นก ๒ ตัว ป่านนี้ไอ้คนที่ฆ่าไปจมอยู่ในนรกนั่นแหละ”
ลัก...ยิ้ม
06-12-2012, 11:25
สอนเศรษฐีบ้านนอก
อีกคราวหนึ่งระหว่างเดินกรรมฐานไปทางอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ท่านได้รับนิมนต์ให้เป็นองค์เทศน์ในงานทำบุญบ้าน บทธรรมที่ท่านแสดงในวันนั้น สามารถพลิกชีวิตชายผู้เป็นเศรษฐีคนหนึ่งได้อย่างน่าอัศจรรย์ ดังนี้
“...มีเศรษฐีสองผัวเมีย อายุราว ๕๐ ปี เงินทองข้าวของในสมัยนั้นเรียกว่าค้าเงินหมื่น คนถ้าลงมีเงินหมื่นแล้วร่ำลือกัน เงินล้านสมัยนี้สู้ไม่ได้ สองผัวเมียเขามีเงินเป็นหมื่น ๆ เวลาจะทำบุญให้ทานก็ไม่อยากทำ ผัวไปซื้อของไปจ่ายตลาด ถือตะกร้าเปล่าไปฉันใดก็ถือตะกร้าเปล่ากลับมาฉันนั้น คือซื้อไม่ลงตระหนี่ถี่เหนียว จะซื้ออะไรมากินซื้อไม่ลง ซื้อไม่ได้ ความตระหนี่ไม่ยอมให้ซื้อ แต่มีดีอันหนึ่งพอกลับมาแล้ว เมียถามว่า ‘ทำไมไม่ซื้อของมา’
‘โอ๊ย! ข้อยซื้อไม่ลง เจ้าไปซื้อซะไป๊’ จึงให้เมียไปซื้อแทน
พอเมียไปซื้อ ซื้อมาเท่าไรไม่เคยถามนะ ว่าราคาเท่าไรอันนั้นราคาเท่าไร ๆ กินได้สบาย คือเจ้าของไม่เชื่อตัวเอง นี่ข้อหนึ่งที่เป็นคติอันดี...
วันนั้นเผอิญเราเดินกรรมฐานไปทางนั้น เขานิมนต์เราเป็นองค์เทศน์ เราก็เทศน์ให้ฟัง เทศน์ไปโดนเอาใจดำแก ‘ยังไง’ ไม่รู้นะ จากนั้นแกไปทำงานทำการอะไร .. ไม่พูดทั้งวัน นั่งก็ขรึม เดินก็ขรึม ทำอะไรก็ขรึมไปหมด เคร่งขรึมตลอดเวลา ผิดสังเกต
หมู่เพื่อนจึงถามว่า ‘อ้าว ! เป็นยังไงเพื่อน แต่ก่อนก็เห็นรื่นเริงบันเทิง วันนี้ทำไมถึงเงียบ ๆ ตลอด เป็นอะไรได้รับความทุกข์ความทรมานอะไรบ้าง ? ถึงเป็นอย่างนี้’
‘อ๋อ! ..เรื่องความทุกข์ก็ถือหรือความสุขก็ไม่น่าจะผิด’ แกว่า
‘อ้าว! มันเป็นยังไง ว่าให้ฟังบ้างสิ’ เพื่อนถาม
‘เพื่อน…ก็เมื่อเช้านี้เราไปในงานเขา เขาทำบุญบ้าน ท่านมหาบัวเป็นองค์เทศน์ ท่านเทศน์ถึงเรื่องความตระหนี่ถี่เหนียว แล้วพูดถึงเรื่องความเสียสละ ความตระหนี่ถี่เหนียวมันมากองอยู่กับเราหมด ท่านก็เทศน์ว่าตายไปไม่ได้อะไร เราก็พิจารณาดู.. ตายเราจะเอาอะไรไป เราก็ไม่ได้อะไร!! ตรงนี้ละเศร้าโศก เงินทอง ข้าวของมีมากมีน้อย เท่าไรก็ไม่เป็นประโยชน์ ลูกก็ไม่มี อยู่กันผัวเมียสองเฒ่าเท่านั้นแหละ เลยเกิดความเศร้าโศกเหงาหงอย
แล้วพลิกใจ แต่นี้ต่อไปจะไม่เป็นคนประเภทนี้อีก จะเป็นนักทำบุญให้ทาน หมดก็หมด เป็นก็เป็น ตายก็ตาย ตระหนี่เราก็เคยตระหนี่มาแล้ว ความสุขก็ไม่เห็นมีเท่าไร ก็เหมือนโลก ๆ เขาดี ๆ นี่เอง ดีไม่ดีทุกข์กว่าเขาอีก เพราะเรามีสมบัติมากด้วย เราตระหนี่ถี่เหนียวมาก ต้องหึงหวงมาก เป็นทุกข์กว่าโลกเขามาก คราวนี้จะต้องแบ่งให้กินให้ทาน ให้สม่ำเสมอดั่งที่ท่านว่า’
ตั้งแต่นั้นมาแกเปลี่ยนเป็นคนละคน เมียจะไปจ่ายตลาดก็ไป ผัวไปจ่ายตลาดจ่ายได้สบายเลย ทำไมแกพลิกได้ขนาดนั้น แล้วการทำบุญให้ทาน นี่..จนเป็นหัวหน้าเขาเลย มีงานอะไร ๆ เขาต้องมาเชื้อเชิญแก...”
เวลาผ่านไปหลายปีนับแต่วันนั้นมา ท่านมีโอกาสพบกับชายเศรษฐีคนนี้อีกครั้งในงานศพหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ที่วัดอรัญญวิเวก บ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ท่านเล่าว่า
“เราก็นึกว่าแกตายไป ๕ ทวีปแล้วนะ แกเข้ามาหา ได้บวชเป็นพระ เข้ามากราบทักถามว่า ‘ท่านมหา... ท่านจำผมได้ไหม ?’..”
เศรษฐีคนนั้นเล่าชีวิตของแกให้ท่านฟังว่า “ผมได้เป็นผู้เป็นคนมาก็เพราะท่านมหา อยู่ไหนก็ตามผมกราบท่านไม่ลืมเลย ผมไม่นึกว่า ผมจะได้พบท่านมหาอีก วันนี้ยังมาพบกันจนได้ บุญผมมี ท่านมหาเป็นคนลากผมขึ้นจากนรก ผมเป็นผู้เป็นคนมาทุกวันนี้เพราะท่านมหาเทศน์อยู่ที่บ้าน ผมเป็นผู้เป็นคนมาตั้งแต่บัดนั้น
เวลานี้ผมชื่นบานหรรษาภายในจิตใจ การทำบุญให้ทานผมก็ไม่อัดไม่อั้น ทานเสียเต็มที่แล้วก็มาบวช เสียสละไปหมดเลย ความตระหนี่ถี่เหนียวก็เคยตระหนี่ ความเสียสละก็เคยเสียสละ เสียสละจนบวช ผมนี่เต็มภูมิ เต็มภูมิทั้งสอง”
พอเล่าจบลง แกก็ก้มลงกราบแล้วกราบเล่า ด้วยเห็นบุญเห็นคุณของท่านมิรู้ลืม
ลัก...ยิ้ม
07-12-2012, 11:44
ถวายลูกเป็นน้องชาย
ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๗ - ๒๔๘๘ ท่านได้มาเที่ยวกรรมฐานแถวบ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ได้พบกับโยมคนหนึ่ง ซึ่งรู้สึกผูกพันกับท่านถึงขนาดขอถวายลูกชายซึ่งอยู่ในกรุงเทพฯ ให้เป็นน้องชายของท่านเลยทีเดียว ดังนี้
“...ท่านอาจารย์เกิ่งนี้ก็เป็นคนสามผง ลูกศิษย์ชั้นผู้ใหญ่องค์สำคัญองค์หนึ่งของหลวงปู่มั่น ท่านอาจารย์เกิ่งนี้ แต่ก่อนท่านเป็นอุปัชฌาย์ ท่านอาจารย์เกิ่ง อาจารย์สีลานี้ ล้วนแล้วแต่เคยเป็นอุปัชฌาย์มาก่อนในฝ่ายมหานิกาย แล้วเกิดความเคารพเลื่อมใส เมื่อได้ยินได้ฟังธรรมจากหลวงปู่มั่นเราแล้ว หลวงปู่มั่นไปกรรมฐานที่บ้านสามผงที่ตั้งวัดอยู่ทุกวันนี้ แต่ก่อนเป็นดง เลยยกวัดญัตติใหม่หมดเลย อุปัชฌาย์ท่านอาจารย์เกิ่งนี้องค์หนึ่ง ท่านอาจารย์สีลา บ้านวา อากาศอำนวยนี้องค์หนึ่ง โละหมดอุปัชฌาย์ ญัตติเป็นธรรมยุตเป็นกรรมฐานทั้งหมดเลย เจ้าคุณธรรมเจดีย์ไปญัตติให้ทางสามผง เอาโบสถ์น้ำ สีมาน้ำ บวช
ท่านอาจารย์เกิ่ง ... ยกขบวนไปญัตติเลย ญัตติทั้งวัด ๆ อุปัชฌาย์เกิ่งหมดหมดทั้งวัด อุปัชฌาย์สีลาก็ยกหมดทั้งวัด ญัตติใหม่ นี่เป็นลูกศิษย์องค์สำคัญของท่านองค์หนึ่ง ก็คงเป็นนิสัยวาสนาจะเกี่ยวโยงอะไรกันมากับท่านนั่นแหละ นี่ละสายบุญสายกรรม หากเป็นมาเองนะ ท่านได้รับการอบรมกับหลวงปู่มั่นมาเต็มที่แล้ว จากนี้ท่านก็แยกออกไปนู่น ลงชลบุรี ไปทางชลฯ ท่านเลยไปตั้งวัด นั่นท่านอาจารย์เกิ่งนะนั่น
เหตุที่ท่านเหล่านั้นจะเข้าอกเข้าใจทางด้านธรรมปฏิบัติ ก็ท่านอาจารย์เกิ่งไปพักที่นั่น ตั้งที่นั่น ไปอยู่หลายปีนะ บางพระ ท่านไปพักที่นั่นหลายปี แล้วแถวนั้นท่านตั้งสำนักไว้ในที่ต่าง ๆ ตามประชาชนเขาขอร้องให้สร้างวัด ท่านเป็นพระที่จริงจังมากนะ เด็ดเดี่ยว ท่านอาจารย์เกิ่ง เราก็คุ้นกับท่านอยู่แล้ว ... ท่านจริงจังมาก ข้อวัตรปฏิบัติเคร่งครัดทางธรรมวินัย
นี่..มหาอาบ* นี่เป็นคนบ้านสามผง เป็นลูกศิษย์ท่านอาจารย์เกิ่ง แล้วท่านถวายกับสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ไปเป็นลูกศิษย์สมเด็จพระมหาวีรวงศ์เรา ลูกศิษย์เดียวกัน อาบนี่ก็เป็นน้องชาย ลูกอยู่ทางกรุงเทพฯ เรามาเที่ยวทางนี้.. เราไปเที่ยวทางบ้านสามผง พ่อของมหาอาบนี่มาเห็น.. จะถูกชะตากัน ‘ยังไง’ ไม่ทราบนะ เราก็แบบเดียวกันนี้แหละ เราก็ไปองค์เดียวของเราเที่ยวกรรมฐาน ไปแวะพักที่วัดป่าสามผงนี้เป็นวัดท่านอาจารย์มั่นสร้างขึ้น วัดสามผงนี่วัดป่า เดี๋ยวนี้มันก็ลุกลามเข้าไปแหละ บ้านถึงแล้ว แต่ก่อนห่างตั้งกิโล อยู่ในดงเสือนะนั่นน่ะ เสือเข้ามาในวัด ในตอนที่เราไปนั้นก็ยังมี เพราะมันเป็นดงต่อกับดงใหญ่โน้น ยังไม่ได้ถูกทำลาย
ตอนที่เราไปเที่ยว พ.ศ. ๘๗ - ๘๘ ‘มั้ง’ เราไปเที่ยวแถวนั้น นี่แหละ พ่อเลยมาถูกชะตากัน ‘ยังไง’ ไม่ทราบ กับเรานะ เลยขอลูกชายทางโน้น พ่ออยู่ทางนี้
‘ขอถวายลูกอยู่กรุงเทพฯ อยู่ทางโน้นให้เป็นน้องชาย’
ว่า ‘งั้น’ นะ มหาอาบถึงได้เป็นน้องชายมานี่ เข้าใจไหม พ่อนะถวาย ลูกอยู่กรุงเทพฯ พ่อถวายเป็นน้องชาย เราไปพักอยู่ที่นั่น แต่ก่อนมันเป็นดงใหญ่ตรงนั้น ตอนที่เราไปป่ายังไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรเลยนะ พ.ศ. ๘๗ - ๘๘ เป็นดงธรรมชาติ ๑๐๐% วัดป่าก็เป็นวัดป่าจริง ๆ เป็นดงเสือ มันอยู่ข้าง ๆ มากัดหมูในวัดก็มี...
ท่านอาจารย์เกิ่งเป็นคนเด็ดเดี่ยวจริงจังมากทุกอย่าง คล้ายคลึงกับนิสัยพ่อแม่ครูจารย์มั่นเรา นิสัยเด็ดเดี่ยวจริง ๆ ว่าอะไรเป็นอันนั้นเลยเทียว นี่ละ หลวงปู่มั่นเราเป็นอย่างนั้น เด็ดเดี่ยว ว่าอะไรเป็นอันนั้น ท่านอาจารย์เกิ่งก็เหมือนกัน นิสัยแบบเดียวกัน มาพบก็คุยกันสนิทสนมกันอยู่กับท่านนะ
ตอนที่คุยกันพอสมควรก็คือ ตอนที่ท่านมากราบเยี่ยมพ่อแม่ครูจารย์มั่นที่บ้านโคกนามน สกลนคร ท่านมาจากเมืองชลฯ มีลูกศิษย์ตาผ้าขาวมาคนหนึ่ง แล้วมีพระติดตามองค์เดียว เพราะท่านบอก ท่านมาชั่วคราวแล้วท่านจะกลับ ท่านว่า ‘งั้น’ กลับเมืองชลฯ ก็ได้คุยกันตรงนั้นแหละ ... เราดูลักษณะแล้ว ดูลักษณะท่าทางตอนท่านไปนามน เพราะได้ยินชื่อของท่าน มันต้องดูซิ เพราะเราได้ยินชื่อมาก่อน ถ้าปรากฏว่ามีชื่อเสียงอยู่บ้างแล้ว มันยิ่งจะดูถนัดนะ เรามันเป็นนิสัยอย่างนั้น ดูจริง ๆ
ท่านอาจารย์เกิ่งมีวาสนาน่าเกรงขาม ท่านเด็ดขาด ท่านก็คุยกับเราบ้างเล็กน้อยในฐานะว่าเราเป็นมหาแหละ อยู่บ้านนามน จากนั้นท่านก็ไปบ้านสามผง แล้วก็กลับออกลงไปทางนู้นอีก ดูลักษณะท่าทางของท่านสำคัญอยู่...”
================================
ปัจจุบัน รศ.อาบ นคะจัด อดีตมหาเปรียญ ๖ ประโยค เป็นอาจารย์สอนทางเกษตรศาสตร์ เวลามีปัญหาด้านภาวนาก็จะถามองค์หลวงตา เพราะลงใจสุดขีดกับท่านทางภาคปฏิบัติ เนื่องจากภาคปฏิบัติเคยอยู่ด้วยกันมาแล้ว
ลัก...ยิ้ม
11-12-2012, 11:22
พระอาจารย์เกิ่ง บางพระ ชลบุรี
“...ท่านอาจารย์เกิ่ง ท่านเป็นพระที่จริงจังมากนะ เด็ดเดี่ยว ... อันนี้เราไม่ได้เห็นด้วยตาตัวเอง ได้ทราบว่าอัฐิของท่านกลายเป็นพระธาตุนะ... แต่เรายังไม่ได้ไปเห็นจริง ๆ ที่ว่าเป็นพระธาตุแล้วนะ เรายังไม่ไปเห็น แต่เราก็เชื่อไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว เพราะเชื่อปฏิปทาการดำเนิน ความสัตย์ความจริงของท่าน เคร่งครัดในธรรมวินัยมาก ลูกศิษย์ลูกหาอยู่ทางจังหวัดชลฯ น้อยเมื่อไร ลูกศิษย์ลูกหาท่านอาจารย์เกิ่งนี่ ทั้งพระทั้งอะไรนะ ประชาชนก็เยอะ พระก็เยอะ แล้วจากนั้นก็ต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ ...
พระกรรมฐานเราเกี่ยวโยงกันตั้งแต่โน้นละ ตั้งแต่ท่านอาจารย์เกิ่งไปเป็น รู้สึกจะเป็นครั้งแรกเลย.. ทางฝ่ายกรรมฐานสายหลวงปู่มั่นลงไปทางเมืองชลฯ นะ มีท่านอาจารย์เกิ่ง จากนี้ก็องค์นั้นไป องค์นี้ไป ท่านอาจารย์เกิ่งเป็นหลักอยู่นั้นนาน โอ๊ย...หลายปีนะ เราไปพบกันอยู่ที่สกลนคร ที่ท่านมาเยี่ยมหลวงปู่มั่น พบกันกับเราที่สกลนคร
ตอนนั้นท่านอยู่จังหวัดชลฯ อยู่นะ ท่านยังไม่มา ท่านมาเยี่ยมบ้านของท่านด้วยความจำเป็น แล้วก็มากราบพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น ก็ได้พบกันกับเราที่สกลนคร จากนั้นท่านก็กลับไปเมืองชลฯ คือตอนนั้นท่านยังอยู่โน้น ท่านยังไม่มา ตอนแก่นี่ท่านถึงได้ย้ายมาทางสามผง ก็มามรณภาพทางนี้
โห... ท่านเป็นพระเด็ดเดี่ยวมากนะ แต่เรายังไม่ได้เข้าไปดูที่สำนักของท่าน.. บางพระ ว่าอยู่บางพระ ว่า ‘งั้น’ นะ จังหวัดชลฯ ผ่านไปผ่านมาแถวนั้นหากไม่ได้เข้า ท่านอยู่จริง ๆ สำนักนั้นอยู่ที่ตรงไหน บอกแต่ว่าบางพระเท่านั้นแหละ ท่านอยู่นาน แล้วแถวรอบ ๆ นั้นยังมีนะ แตกสาขาออกไป
พวกพระพวกอะไรที่มารับการศึกษาจากท่าน เป็นลูกศิษย์ลูกหาของท่านกระจายออกไป ตามเกาะตามอะไรก็มีอยู่ทางนั้นนะ เราไปอะไรเขาเลยบอก นี่..สำนักนี้เราลืมแล้วแหละ เราไปเห็นสำนักนี้ก็ท่านอาจารย์เกิ่ง.. ท่านมาสร้าง พาลูกศิษย์มาสร้างที่นี่ ไม่ใช่บางพระนะ แถวนั้นแหละ เป็นเกาะอะไรไม่รู้ เราก็ไปซอกแซก มันก็ดื้อเหมือนกันนั่นแหละ ไปที่นั่นที่นี่ เห็นหมด ท่านเป็นพระที่น่าเคารพมาก ...
พูดถึงเรื่องท่านอาจารย์เกิ่ง ท่านไปทำประโยชน์ทางเขตเมืองชลฯ นี้มากที่สุด ดูว่าไม่ได้ไปทางระยองนะ ทราบว่าอยู่เขตเมืองชลฯ กว้างขวาง สำนักต่าง ๆ ออกจากท่านองค์เดียว มีลูกศิษย์ลูกหาไปตั้งสำนัก มีความเคารพเลื่อมใส บวชอยู่กับท่าน แล้วก็แยกออกไปตั้งหลายแห่ง จนกระทั่งทุกวันนี้ นี่ท่านอาจารย์เกิ่ง ทราบว่าอัฐิของท่านกลายเป็นพระธาตุแล้ว แต่เรายังไม่ได้เห็น แต่เราค่อนข้างจะเชื่อไว้แล้ว ถึงยังไม่เห็นก็ตาม เพราะเชื่อปฏิปทาของท่าน ... ตอนที่ได้คุยกันพอสมควรก็คือ ตอนที่ท่านมากราบเยี่ยมพ่อแม่ครูอาจารย์มั่นอยู่สกลนคร ท่านมาจากเมืองชลฯ จากนั้นก็ได้พบกันทางสามผงอีกทีหนึ่งนะ ตอนท่านย้ายมาแล้ว ท่านแก่แล้ว ได้พบกันทีหนึ่ง ปีท่านอยู่สามผงเป็นอุปัชฌาย์ ญัตติมาอยู่นั้น ท่านอาจารย์สีลาก็เสียแล้ว ท่านก็เสียแล้วแหละ...”
ลัก...ยิ้ม
12-12-2012, 11:34
วิชาจับเสือที่บ้านสามผง
อีกเรื่องหนึ่งในคราววิเวกที่บ้านสามผงแห่งนี้ ท่านได้พบกับโยมคนหนึ่ง.. เคยเป็นพระลูกศิษย์ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ ดังนี้
“...มีอีตาคนหนึ่ง แกเรียนวิชาจับเสือมา เขาเล่าให้ฟัง แกชื่อหอม เป็นลูกศิษย์ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ตอนนั้นแกสึกแล้วแหละ แกมีครอบครัวอยู่ทางสามผง เขาเล่าให้ฟัง พอดีแกก็มาวัด ก็แกลูกศิษย์พระนี่ ก็ลูกศิษย์ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ มาก็เลยถาม ‘ทราบว่าเรียนวิชาจับเสือได้จริง ๆ หรือ ?’
‘ก็จับได้บ้างแหละครับ’ แกก็ปิดตามหลักวิชาของเขา เขาไม่เปิดเผย
คือวิชาถ้าพูดเปิดเผยนักเป็นการโอ้อวด วิชาไม่ขลัง เขาก็ต้องรักษาตามหลักวิชาของเขา เราก็ซอกแซกถาม นี่ละที่ว่าแกมาไล่เสือในนี้ เสือโคร่งใหญ่มันมาอยู่ข้างวัดนั้นนะ มันไม่หนี วัวปล่อยเข้าไปทีไร มันกัดเอา ๆ แกก็เข้าไปไล่เสือ มันกลัวมากนะเสือ ๆ กลัวแกมากนะ แกเคยจับได้เสือดาวตัวหนึ่ง แกเล่าให้ฟัง ไล่เสือดาว ได้เสือดาวตัวหนึ่ง แกจับได้จริง ๆ นะ กัดแกไม่เข้า นี่เรียกว่าเสือกลัวมาก อย่างนั้นแหละวิชา นี่พูดต่อหน้ากันเลย เราก็เป็นนิสัยอย่างนี้.. ซอกแซก เรื่องถามนี้ละเอียดไปเลยแหละ ไม่ว่าอะไร.. ถามแกละเอียดลออ แกบอกว่า แกจับจริง ๆ แหละ ‘เสือโคร่งแกจับได้ไหม ?’
‘ถ้าเจอก็คิดว่าจะจับได้’
นั่นแกว่า คิดว่าจะจับได้ ความจริงคือ จับได้ว่า ‘งั้น’ เถอะนะ เพราะฉะนั้น แกจึงไปไล่เสือในนั้นออกหมดเลยนะ ถ้าแกไปไหน เสือแตกฮือ ๆ เลย ..กลัวแกมากนะ กลัวอีตาคนนี้ ไม่ทราบเป็น ‘ยังไง’ นี่ละวิชา เขาเรียกวิชา เข้าดงนั้นเสือแตกหนีหมดเลย ถ้าเวลาเสือมันมากัดวัวแล้วก็บอกแก แกก็มาเข้าไปหาเลย แกไม่มีปืนผาหน้าไม้แหละ เข้าไปเฉย ๆ แต่เสือแตกฮือเลย..กลัว นี่วิชาเสือ มันเหมือนกับวิชาขี่เสือ...”
ลัก...ยิ้ม
13-12-2012, 11:13
เสือกลัวหลวงปู่ตื้อ
หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่นองค์หนึ่ง มีจิตใจกล้าหาญชาญชัยมาก ท่านมีอายุพรรษามากกว่าองค์หลวงตา ในเรื่องที่ว่าเสือเกรงกลัวท่านนั้น องค์หลวงตาเล่าความเป็นมาดังนี้
“...อย่างหลวงปู่ตื้อ ดังที่ผู้เฒ่าเล่าให้ฟัง คือคาถาของผู้เฒ่าเป็นคาถาที่ทำให้เสือใจอ่อน กลัว ใจไม่มีกำลังจะต่อสู้ คาถามันครอบเอา อำนาจของคาถาครอบเอาไว้ เสือใจอ่อนลงไปเลย ทำอะไรไม่ได้ ท่านมีคาถาขู่เสือ เป็นครูเสือก็ได้ ขู่เสือก็ได้... หากครูแบบหนึ่ง เป็นครูแบบพระ ไม่ได้ขี่เสือ
หลวงปู่ตื้อ บ้านข่าสามผง เราเคยไปพักอยู่เหมือนกัน แต่ก่อนไปภาวนา เสือชุมมากแถวนั้น หลวงปู่ตื้อท่านมีคาถาเป็นครูเสือ ไปอยู่ไหนเสือมักมานอนเฝ้าอยู่รอบ ๆ ข้าง ๆ ที่พักท่าน ท่านไปอยู่แม่ฮ่องสอน ไม่อยู่ในป่า เสือก็มาอยู่ด้วย เสือโคร่งใหญ่นะ มันมาแอบอยู่ด้วย
ผู้เฒ่าไม่ได้สนใจกลัวมันแหละ เพราะเป็นครูมัน คนอื่นนั่นซิ พระไปอยู่ด้วย พอดีกลางคืนพระปวดเบาจะออกมาเบา ออกมา.. เสือมันนอนอยู่ข้าง ๆ เสือฮ่า ๆ ใส่ เสียงร้องจ้า.. วิ่ง
‘มันไม่มีอะไร มันจะเป็นอะไร มันไม่เป็นไรหรอก’ หลวงปู่ตื้อบอก ‘ไม่เป็นไร..มันตื่น..บางทีมันอาจทักทายเฉย ๆ ก็ได้’
ท่านว่าอย่างนั้น มันโฮก ๆ ใส่ท่าน พระก็โดดเข้ากุฏิ กุฏิพังกระมัง ? พระองค์นั้นมาอยู่ได้คืนเดียว วันหลังเผ่นเลย กลัวเสือ ‘โอ๊ย..อยู่ไม่ได้แล้ว’
‘ไม่เป็นไรหรอก อยู่จะเป็นไรไป มันก็อยู่กับคนดีแล้วนี่’ ท่านว่า ‘งั้น’ นะ
มันอยู่แอบ ๆ อย่างนี้ไม่ออกมาหาคนหรอก บางทีก็เห็นตัว บางทีไม่เห็น มันอยู่ในป่า คนอยู่อย่างนี้ แต่ถ้ามีคนแปลกหน้ามามันคำรามนะ ท่านว่าให้มันทำ มันไม่ทำหรอก เพราะมันเป็นหมาของพระ..ว่า ‘งั้น’ เถอะ รักษาเจ้าของ ใครมาแปลก ๆ หน้านี่ไม่ได้ มันขู่คำราม ‘ว่างั้น’
‘...อย่าไปขู่เขานะ...’
พอท่านว่า ‘ยังงั้น’ มันก็เงียบเลย เวลาท่านไปไหนมาไหน เสือมักจะตามไปรักษาท่าน รักษาเงียบ ๆ นะ มันอยู่ในป่า..เสือ ท่านไปพักภาวนานี่ เสือมักจะมาอยู่ข้าง ๆ ถ้ามีคนแปลกหน้ามา เราถึงจะรู้ว่ามีเสือนะ ถ้าไม่มีคนแปลกหน้ามาก็เหมือนไม่มีเสือ มันไม่แสดงตัว มันอยู่รอบ ๆ ข้าง ๆ ถ้ามีคนแปลกหน้ามา พระแปลกหน้ามา มันคำรามใส่ บางทีขู่คำรามเฮ่อ ๆ ใส่ พระเลยตกใจร้อง ‘เสือ ๆ’
หลวงปู่ตื้อบอกว่า ‘โอ๊ย...ไม่เป็นไรหรอก มันรักษาพระ มันอยู่นี้เป็นประจำ ไม่เป็นไร ไม่ต้องกลัวมัน’
นี่หลวงปู่ตื้อเป็นอย่างนั้นนะ ท่านว่าข้ามไปเที่ยวตั้ง ๕ อำเภอ มันยังตามไปนะ เสือตัวนี้ อันนี้เรายังไม่เล่าให้ฟังถึงเรื่องเจ้าคณะอำเภอ เขาจะมาขับไล่ท่าน อันนี้ขบขันดีนะ
ตอนกลางคืน แต่ก่อนไม่มีไฟฟ้า มีแต่ตะเกียงเจ้าพายุ เจ้าคณะอำเภอเห็นท่านไปอยู่ในป่าจะมาขับไล่ท่าน จุดตะเกียงเจ้าพายุหิ้วมากลางคืนจะมาขับไล่ท่าน พอมาถึงวัด เสือตัวนั้นออกมาคำรามใหญ่เลย เฮ่อ ๆ ทางนี้เปิดเลย ตะเกียงเจ้าพายุคงจะตกฟากแม่น้ำโขง..ไปใหญ่เลย
ตกลงเสือขับเสียก่อน คณะที่มานั้นยังไม่ได้มาขับหลวงปู่ตื้อหรอก ถูกเสือขับเสียก่อนแล้ว เผ่นใหญ่เลย ไปใหญ่เลย แตกทั้งญาติทั้งโยมทั้งพระ แตกไปด้วยกัน ฮือ ๆ เลย เสือมันคำรามใส่ มันยังไม่ทำอะไรหรอก มันก็เหมือนกับหมามีเจ้าของ ก็คาถาท่านครอบไว้นี่ มันกลัว..ใจมันลง มันไม่ถือเป็นข้าศึก ถือเป็นเหมือนเจ้าของ...”
ลัก...ยิ้ม
14-12-2012, 14:16
พรรษาที่ ๑๒-๑๖(พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๔๙๒) จำพรรษาที่วัดป่าบ้านหนองฝือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
ข้อวัตรปฏิบัติ ณ วัดป่าบ้านหนองฝือ
ในช่วงจำพรรษาที่วัดป่าบ้านหนองฝือ หลวงปู่มั่นพักอยู่ด้วยความผาสุก พระธุดงค์ที่ไปอาศัยร่มเงาท่านก็ปรากฏว่าได้กำลังจิตใจกันมาก แม้จะมีจำนวน ๒๐-๓๐ องค์ในพรรษา ต่างก็ตั้งใจปฏิบัติต่อหน้าที่ของตน ๆ ไม่มีเรื่องราวให้ท่านหนักใจ มีความสามัคคีกลมกลืนกันดีมากราวกับอวัยวะเดียวกัน
ยามเช้าเมื่อฉันจังหันเสร็จแล้ว ต่างองค์ต่างก็เข้าหาทางจงกรมในป่ากว้าง ๆ ติดกับวัด ทำความเพียรเดินจงกรมนั่งสมาธิตามอัธยาศัย จวนบ่าย ๔ โมงถึงเวลาปัดกวาดลานวัด ต่างก็ทยอยกันออกมาจากที่ทำความเพียรของตน ๆ พร้อมกัน ปัดกวาดลานวัดเสร็จแล้วจึงขนน้ำขึ้นใส่ตุ่มใส่ไหน้ำฉัน น้ำล้างเท้า ล้างบาตรและสรงน้ำ หลังจากนั้นต่างก็เข้าหาทางจงกรมทำความเพียรตามเคย
ถ้าไม่มีการประชุมอบรม ก็ทำความเพียรต่อไปตามอัธยาศัยจนกว่าจะถึงเวลาพักผ่อน ปกติ ๗ วันท่านจัดให้มีการประชุมครั้งหนึ่ง หากมีผู้ประสงค์จะศึกษาธรรมเป็นพิเศษ หรือถามปัญหาธรรมกับท่านก็ไม่ต้องรอจนถึงวันประชุม สามารถหาโอกาสที่ท่านว่าง เช่น ตอนหลังจังหัน ตอนบ่าย ๆ ตอนราว ๕ โมงเย็น หรือกลางคืนราว ๒ ทุ่มก็ได้
เวลาท่านสนทนาหรือแก้ปัญหาธรรมกัน รู้สึกน่าฟังมาก เป็นปัญหาเกี่ยวกับธรรมภายในบ้าง เกี่ยวกับสิ่งภายนอก เช่น พวกกายทิพย์บ้าง ฟังแล้วทำให้เพลิดเพลินอยู่ภายใน ไม่อยากให้จบสิ้นลงง่าย ๆ ทั้งเป็นคติทั้งเป็นอุบายแก้ใจในขณะนั้น เพราะผู้มาศึกษากับท่านมีภูมิธรรมภายในเหลื่อมล้ำต่ำสูงต่างกันเป็นราย ๆ ไป และมีความรู้แปลก ๆ ตามจริตนิสัยมาเล่าถวายท่าน จึงทำให้เกิดความรื่นเริงใจไปกับปัญหาธรรมนั้น ๆ ไม่มีสิ้นสุด
ลัก...ยิ้ม
17-12-2012, 12:06
เวลามีโอกาส ท่านก็เล่านิทานที่เป็นคติให้ฟังบ้าง เล่าเรื่องความเป็นมาของท่านในชาติปัจจุบัน แต่สมัยเป็นฆราวาสจนได้บวชเป็นเณรเป็นพระให้ฟังบ้าง บางเรื่องก็น่าขบขันน่าหัวเราะ บางเรื่องก็น่าสงสารท่าน และน่าอัศจรรย์เรื่องของท่าน ซึ่งมีมากมายหลายเรื่อง
การอยู่กับครูบาอาจารย์นาน ๆ ทำให้จริตนิสัยของผู้ไปศึกษามีการเปลี่ยนแปลงไปในทางดีตามท่าน วันละเล็กวันละน้อยทั้งภายนอกภายใน จนกลมกลืนกับนิสัยท่านตามควรแก่ฐานะของตน ทั้งมีความปลอดภัยมาก มีทางเจริญมากกว่าทางเสื่อมเสีย.. ธรรมค่อยซึมซาบเข้าสู่ใจโดยลำดับ เพราะการเห็น การได้ยิน ได้ฟังอยู่เสมอ ความสำรวมระวัง อันเป็นทางส่งเสริมสติปัญญาให้มีกำลังก็มากกว่าปกติ เพราะความเกรงกลัวท่านเป็นสาเหตุไม่ให้นอนใจ ต้องระวังกายระวังใจอยู่รอบด้าน
สัลเลขธรรม ๑๐ ประการ เป็นหลักธรรมที่หลวงปู่มั่นถือเป็นเครื่องดำเนินขัดเกลาซักฟอกกิเลสตลอดมา ดังนี้
“...อัปปิจฉตา (ความมักน้อยในปัจจัย ๔) ใครจะไปมักน้อยยิ่งกว่าพ่อแม่ครูจารย์มั่นของเรา คิดดูตั้งแต่หนุ่มน้อยจนกระทั่งเฒ่าแก่ ท่านมีสมบัติอะไรติดเนื้อติดองค์ของท่าน... ไม่ปรากฏ ไปที่ไหนท่านไปอย่างง่ายดาย มีเฉพาะบริขาร ๘ เท่านั้น
สันตุฏฐิตา (ยินดีในปัจจัย ๔ ตามมีตามเกิด) ไม่มีคำว่า “พะรุงพะรัง” มีสมบัตินั้น มีสมบัตินี้ไม่ปรากฏ มีเท่าไรก็แจกจ่ายไปหมด ที่อยู่ก็เป็นกระต๊อบกระแต๊บอยู่อย่างนั้น ไม่หรูหราอย่างกุฏิที่ท่านพักอยู่บ้านหนองเผือนาในนี้ ก็ว่ากุฏิพอประมาณ
เรื่องที่ว่าอยู่ในที่วิเวกหรือ วิเวกตา (ชอบสงบวิเวก) มีแต่ความสงัดทั้งวันทั้งคืน ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่มีอะไรมายุ่งมาเกี่ยว
วิริยารัมภา การแนะนำสั่งสอนเพื่อความพากความเพียรนี้ ท่านเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ไม่ได้พูดเรื่องอื่นนอกจากความเพียร องค์ท่านเองถึงเวลาท่านก็ลงเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนาตามกำหนดกฎเกณฑ์ ตามเวล่ำเวลา ไม่เคลื่อนคลาดเลย
อสังสัคคณิกา (ไม่คลุกคลี) นี้ก็ไม่เคยปรากฏว่าใครไปยุ่งท่านได้ แม้แต่ประชาชนญาติโยมไปหาชั่วกาลชั่วเวลานี้ ท่านยังไม่อยากจะต้อนรับด้วยซ้ำ กับพระกับเณรเหล่านี้เหมือนกัน ให้ไปหาภาวนา มีแต่ไล่ไปภาวนา อย่ามายุ่งกันในเวลาไม่ควรยุ่ง เพราะฉะนั้น เวลาพระเณรขึ้นไปหาท่านจึงไปเพียงไม่กี่องค์ในเวลาหนึ่ง ๆ ซึ่งควรจะขึ้นไปหาท่าน
ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติหลุดพ้นใครเป็นผู้ทรงไว้ ก็ท่านทั้งนั้นเป็นผู้ทรงไว้ นี่รวมแล้วก็เป็นสัลเลขธรรม ๑๐ ประการ เป็นแนวทางที่สมบูรณ์เต็มที่แล้ว ดังที่ท่านกล่าวว่า สมาธิ ปัญญา ก็เป็นแต่ละข้อ ๆ ของสัลเลขธรรม แล้วก็วิมุตติญาณทัสสนะก็เป็น ๑๐ สุดยอดแห่งธรรมแล้ว...”
ลัก...ยิ้ม
18-12-2012, 11:34
ญาณหยั่งทราบของหลวงปู่มั่น
ในระยะที่อยู่ศึกษากับหลวงปู่มั่นนั้น ท่านคอยสังเกตดูทุกแง่ทุกมุมของหลวงปู่มั่น และเห็นว่าไม่เหมือนครูบาอาจารย์องค์อื่น ๆ ที่ท่านเคยประสบมา สำหรับหลวงปู่มั่นนั้น ไม่ว่าท่านแสดงสิ่งใดออกมา ย่อมสามารถเอาเป็นคติธรรมได้ทั้งนั้น ดังนี้
“...ดูทุกแง่ทุกมุม เราดูจริง ๆ นะ เพราะเราตั้งใจไปศึกษากับท่านจริง ๆ ... บางทีท่านก็พูดมีทีเล่นทีจริงเหมือนกัน กับเราในฐานะลูกศิษย์กับอาจารย์ ก็พ่อกับลูกนี่แหละ แต่เรามันไม่ได้ว่าทีเล่นทีจริงนี่นะ มันเอาเป็นจริงทั้งนั้นเลย
ท่านจะพูดแง่ไหน ท่านมีคติธรรมออกมาทุกแง่นะ ถึงแม้จะเป็นข้อตลกนี่ ท่านก็มีคติธรรมออกมา มีธรรมแทรกออกมา ไม่ได้เป็นแบบโลกนะ...
พูดถึงเรื่องความเลิศเลอที่สุดภายในหัวใจก็ดี ภายนอกก็ดี การประพฤติปฏิบัติของท่านก็ดี รู้สึกว่าที่เราผ่านครูบาอาจารย์มานี้ ไม่มีใครเหมือน ท่านพร้อมทุกอย่าง
ยิ่งท่านเทศน์ถึงเรื่องเทวบุตรเทวดาแล้ว โอ๊ย... ฟังแล้ว เราพูดจริง ๆ นะ เราเป็นจริง ๆ นี่นะ ฟังแล้วน้ำตาร่วงเลยนะ พวกเทพพวกเทวดามาเยี่ยมท่าน มาฟังเทศน์ท่าน แต่ท่านจะพูดในเวลาเฉพาะนะ ท่านไม่ได้พูดสุ่มสี่สุ่มห้านะ นั่นแหละ เห็นไหม..จอมปราชญ์
ท่านรู้หนักรู้เบา รู้ในรู้นอกนะ รู้ควรไม่ควร เวลามีโอกาสอันดีงามอยู่เพียง ๒ - ๓ องค์ คุยกันแล้วก็เสาะนั้นเสาะนี้.. อยากรู้อยากเห็น ท่านก็ค่อยเปิดออกมา ๆ ทางนี้ก็ค่อยสอดค่อยแทรกเข้าไป ครั้งนั้นบ้าง ครั้งนี้บ้าง หลายครั้งต่อหลายหน....”
ลัก...ยิ้ม
19-12-2012, 10:42
ท่านกล่าวถึงญาณหยั่งทราบของหลวงปู่มั่นเกี่ยวกับเทวบุตรเทวดาว่า
“...เรื่องเทวบุตร เทวดา อินทร์ พรหม ที่มาเยี่ยมท่าน ท่านบอกว่า
‘มาอยู่ที่สกลนครนี้ พวกเทวดามาเกี่ยวข้องน้อยมาก จะมาเป็นเวลา คือมาในวันเข้าพรรษา วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันออกพรรษา นอกนั้นเทวดาไม่ค่อยมากัน’ หมายถึงเทวดาชั้นสูงนะ ‘พวกสวรรค์ พวกภูมิเทวดามาห่าง ๆ เหมือนกันนะ’
ส่วนไปอยู่เชียงใหม่ โห... ต้อนรับแทบทุกวัน ท่านว่า ‘ยังงั้น’ ไม่มีเวลาว่างเลย เทวดาชั้นนั้น ๆ ที่มาเป็นชั้น เป็นชั้น ๆ มาเป็นลำดับลำดา... พวกเทวดา เช่น ดาวดึงส์นี้มา.. การแต่งเนื้อแต่งตัวนี้มีลักษณะไหน รูปร่างนี้จะหยาบไป อย่างนี้.. ความละเอียดนะ ละเอียด เรื่องของเทพนั้นละเอียด แต่เมื่อเทียบกับเทพทั้งหลายแล้วจะละเอียดต่างกัน .. ‘เป็นชั้น ๆ ๆ ๆ’ ขึ้นไป...
นั่นละ เห็นไหม ญาณหยั่งทราบ....
ลัก...ยิ้ม
20-12-2012, 10:35
ความรู้ของหลวงปู่มั่น เกี่ยวกับการแสดงความเคารพระหว่างพระพุทธเจ้ากับบรรดาพระอรหันต์ขีณาสพทั้งหลาย ท่านกล่าวไว้อย่างน่าอัศจรรย์ ดังนี้
“...บรรดาพระอรหันต์ขีณาสพทั้งหลาย นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าลงมาเสมอกันด้วยความบริสุทธิ์ ดังที่ท่านพระอาจารย์มั่นแสดงเรื่องนิมิตว่า
‘พระพุทธเจ้าในครั้งพุทธกาล ท่านเคารพกันอย่างไร ?’
ปรากฏในนิมิตบอกว่า ‘บรรดาพระสงฆ์สาวกทั้งหลายหลั่งไหลมา พระพุทธเจ้าก็เสด็จมา ใครมาถึงก่อนนั่งก่อนเป็นลำดับ ๆ ตามที่มาถึงก่อนถึงทีหลัง ไม่ได้คำนึงถึงอาวุโสกัน พระพุทธเจ้าเสด็จมาทีหลังก็ประทับอยู่ทางท้ายสงฆ์โน้น’
ท่านอาจารย์มั่นเกิดปริวิตกขึ้นมาว่า ‘เพราะเหตุไร จึงเป็นอย่างนั้น ? ความเคารพกันครั้งพุทธกาลเป็นอย่างนี้หรือ ?’
ก็รู้ขึ้นมาทันทีว่า ‘นี้คือวิสุทธิธรรม เสมอกันอย่างนี้ ไม่ว่าใครมาก่อนมาหลัง นั่งตามลำดับที่มา คือเป็นความเสมอภาคไม่ว่าผู้น้อยผู้ใหญ่ อาวุโส ภัณเต เพราะความบริสุทธิ์เสมอกัน’
ท่านพระอาจารย์มั่นปริวิตกว่า ‘ถ้าเคารพตามสมมุติแล้ว ความเคารพกันของท่านเป็นอย่างไรหนอ ?’
‘ท่านพลิกพรึบเดียวเท่านั้น พระพุทธเจ้าประทับอยู่ตรงหน้า แล้วบรรดาสาวกเรียงตามลำดับลำดา นี่คือการเคารพกันโดยทางสมมุติ ความเคารพในทางสมมุติเป็นอย่างนี้ นี่ตามอาวุโส ภัณเต อย่างนี้ ท่านแยกทั้งวิมุตติทั้งสมมุติ ให้เห็นอย่างชัดเจน’
การเคารพกัน.. ก็ไม่มีอะไรจะนิ่มนวลยิ่งกว่าท่านผู้สิ้นกิเลสเคารพกัน ไม่เป็นพิธีรีตอง ไม่เป็นอะไรเล่ห์ ๆ เหลี่ยม ๆ เหมือนกับคนที่มีกิเลสทำต่อกัน ท่านเคารพกันอย่างถึงใจ เคารพคุณธรรม เคารพความจริง การเคารพความจริงด้วยความจริงภายในใจนี้ ท่านจึงทำได้สนิท
ส่วนปุถุชนจำพวกชนดะ เวลาแสดงออกทางมารยาทนั้นดูสวยงาม แต่งามในลักษณะตกแต่ง ไม่ใช่ตัวจริง.. ออกมาจากของจริงคือธรรมแท้ แต่ภายในมันแข็งทื่อ.. ไม่เหมาะสมกันกับอาการภายนอกที่อ่อนโยนในการแสดงออก
ฉะนั้น โลกจึงลุ่ม ๆ ดอน ๆ สูง ๆ ต่ำ ๆ ไม่สม่ำเสมอเหมือนกับความจริงที่เป็นออกมาจากความจริงแท้...”
ลัก...ยิ้ม
21-12-2012, 11:39
ท่านกล่าวถึงบทธรรมที่หลวงปู่มั่นเคยเทศน์ในท่ามกลางสานุศิษย์บ่อยครั้ง ดังนี้
“...ธรรมของพระพุทธเจ้าแม้จะเป็นของจริง แต่เมื่อสิงสถิตอยู่กับปุถุชน ธรรมนั้นก็กลายเป็นธรรมปลอม ครั้นสิงสถิตอยู่กับพระอริยเจ้าจึงเป็นของจริงตามส่วนแห่งธรรมและภูมิของผู้บรรลุ
คนที่รู้จักธรรมพองู ๆ ปลา ๆ กับคนที่ไม่รู้จักธรรมเสียเลย คนเหล่านี้จะไม่สามารถรู้ธรรมว่าเป็นของจริงหรือปลอมได้เลย
แต่คนที่รู้จักธรรมแท้ พร้อมทั้งที่เกิดขึ้นแห่งธรรม และที่ดับแห่งธรรมโดยความรอบคอบด้วยปัญญา และพร้อมทั้งความไม่ถือมั่นในธรรม ผู้นี้เองจะสามารถรู้จักธรรมที่แท้จริงหรือธรรมปลอม ในเมื่อธรรมสิงสถิตอยู่กับบุคคลนั้น ๆ ได้อย่างชัดเจน”
ลัก...ยิ้ม
24-12-2012, 11:29
หลวงปู่หลุยเด่นทางมักน้อย
องค์หลวงตาได้กล่าวถึงหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ซึ่งเป็นลูกศิษย์รุ่นใหญ่องค์หนึ่งของหลวงปู่มั่น และมีโอกาสได้จำพรรษาร่วมกัน ๑ พรรษา ที่วัดป่าบ้านหนองผือในปีแรก ดังนี้
“...ไปหาสิ บรรดาลูกศิษย์หลวงปู่มั่นเรา องค์ไหนจะเหมือนท่านอาจารย์หลุยไม่มี เรายกให้เลยเรื่องมักน้อย จนกระทั่งย่ามขาดหมดทั้งข้างนอกข้างใน มันมีสองชั้น เราไปจับย่าม.. ท่านขึ้นทันทีเลย
‘จับทำไม ? มันยังดีอยู่’
มันจะดีอะไร เราไม่ใช่คนตาบอด ดู.. มันดีอยู่ข้างใน คือชั้นในดีอยู่ ท่านพูดของท่านก็ถูก ไอ้เราไปจับก็ถูก ก็เราดู.. มันดูไม่ได้ ดูข้างนอก อย่างนั้นละ ที่ท่านใช้ ...
ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีคำว่าสดสวยงดงามอะไรเลย ผ้าก็เอาจีวรเก่า ๆ มาอย่าง ‘งั้นละ’ ท่านมักน้อยมาก ในบรรดาลูกศิษย์พ่อแม่ครูอาจารย์มั่นเรานี้ ท่านอาจารย์หลุยเป็นที่หนึ่ง ความมักน้อยนะ ... เป็นพระที่ปรารถนาน้อยที่สุด ...
แต่กับเรานี่ก็คุ้นกันมาก อันนี้ก็แบบเดียวกัน ขบขันจะตายไป เราเดินจงกรมอยู่ในป่าลึก ๆ หนองผือ ท่านไปหาเรา ไปหาที่กุฏิไม่เจอ ถามพระว่า ‘ท่านมหาไปไหน ?’
‘ท่านเดินจงกรมอยู่ในป่า ทางเข้าไปนี่.. ในป่า’ ท่านก็ไปเลย ไปหาเรา นี่ละมันขบขันที่ว่า ท่านสนิทกับเรามากนะ พอเข้าไปเสียงกุบกับ ๆ กลางคืน ก็ไม่มีไฟนี่ เดินไปก็โดนนั่นโดนนี่ไป เสียงกุบกับ ๆ เราก็เดินจงกรมไม่มีไฟอีกนั่นแหละ เราก็ดี พอไปก็ประมาณต้นเสานี่ละ กุบกับ ๆ เข้าไป เราวิตกถึงพ่อแม่ครูอาจารย์มั่นนะ เอ๊.. พ่อแม่ครูอาจารย์เป็นอะไร ‘น้า’ มีใครมาหาเราละนี่ เกี่ยวกับท่านแน่ ๆ ...
จูงไม่ถอยนะ นั่น.. จูงมาเรื่อย บุกออกมาจากป่า มืด ๆ นะ จนกระทั่งมาถึงที่โล่งแจ้งถึงปล่อยมือ แล้วก็เดินไปด้วยกัน ... พอไปถึง เราก็เลยถาม ‘ใครมานี่ ?’
‘ผมเอง’ ท่านว่า ท่านก็รู้ทิศทางของเราว่าอยู่ตรงไหน เข้าใจไหม กุบกับ ๆ เข้ามา ... มาก็คว้าแขนเรา จูงเลย ดึงจากนั้นมา
‘เอ้า..จะเอาไปไหนอีก ?’
‘ไปหาท่านอาจารย์ละซี’
‘ไปหาอะไร ?’
‘ไปฟังเทศน์’
‘อ้าว.. เมื่อคืนนี้ผมก็ไป ทำไมท่านอาจารย์ไม่ไป’ เราว่า
ก็นั่นนะซิขึ้นเลย ‘ถ้าไปแต่ผมไม่ได้ โอ๊ย.. ถูกไล่ลง’ เราไปท่านไม่ว่าอะไร ก็นิสัยต่างกัน นั่น..ท่านเมตตาแบบหนึ่งนะ ท่านอาจารย์หลุยขึ้นไปนี่
‘มาทำอะไร..หลุย ?’ ขึ้นเลยนะ... ไล่ บางทีก็ไล่ลงไป ‘ไปนะ’ ไล่
นี่คือเมตตาแบบหนึ่ง เข้าใจไหม ใช้ต่อลูกศิษย์ นี่คนละแบบ ๆ ไม่ซ้ำกันนะ กับท่านอาจารย์หลุยนี้แบบนี้ กับท่านอาจารย์หลุยท่านใช้เมตตาแบบนั้น กับลูกศิษย์คนนี้ใช้เมตตาแบบนี้ ไม่ได้ซ้ำกันนะ พ่อแม่ครูอาจารย์มั่น
เรื่องความมักน้อยนี่ยกให้ท่านอาจารย์หลุย ไม่มีใครสู้ มีอะไร ๆก็ไม่เอา ใช้ของใหม่ ๆ ไม่ใช้ ใช้แต่ของเก่า ๆ ทั้งนั้นละ นี่.. อัฐิของท่านก็กลายเป็นพระธาตุแล้ว พูดถึงเรื่องความสนิทกัน ท่านสนิทมากกับเรา นิสัยชอบพูดเล่น ไม่ถือเนื้อถือตัว การถือเนื้อถือตัวไม่มี...”
ลัก...ยิ้ม
26-12-2012, 12:56
ลวดลายพุทธภูมิหลวงปู่มั่น
ในช่วงที่อยู่ศึกษากับหลวงปู่มั่น ท่านมีโอกาสได้สอบถามเกี่ยวกับสีผ้าของพระในครั้งพุทธกาล ตลอดถึงความรู้อัศจรรย์ของหลวงปู่มั่น ดังนี้
“...เรื่องหลวงปู่มั่นที่เราเรียนถามท่าน เวลาท่านพิจารณา นั่นเห็นไหม ท่านพิจารณาตลอดสีผ้า เราอยากทราบก็ซอกแซก ท่านบอกว่า
‘สีผ้ามีอยู่ ๓ ขั้น สีแก่นขนุนอ่อน สีแก่นขนุนปานกลาง สีแก่นขนุนแก่’
ทีนี้ก็มีช่องที่จะถาม ‘แล้วสีเหลืองอย่างธรรมดาที่พระใช้อยู่ในปัจจุบันนี้มีไหม’
ท่านบอก ‘ไม่มี ไอ้สีเจ้าชู้ สีขุนนาง มันจะมีในพระพุทธเจ้าได้ 'ยังไง’
ใส่เด็ดมากเลยนะ พิจารณา ๆ แล้วมีอยู่ ๓ แก่นขนุนสีอ่อน สีกลาง สีแก่ ท่านว่าอย่างนั้น ท่านใช้นี้รู้สึกจะเป็นกลาง ๆ นะ สีที่ท่านครองเป็นสีกลาง สีอ่อนก็มีบ้างเป็นบางระยะ ผ้าที่ย้อมใหม่ก็เป็นสีแก่นขนุนอ่อนอยู่บ้าง จากนั้นที่ท่านใช้เป็นประจำก็สีกลางหรือแก่ มีอยู่สาม ท่านบอกเวลาที่ท่านพิจารณาดูถึงเรื่องอดีต โห...น่าอัศจรรย์นะ เห็นไหมล่ะ ความรู้ของท่าน เพราะแต่ก่อนท่านปรารถนาพุทธภูมิ ท่านพูดเองจึงชัดเจนซิ
เพราะฉะนั้น ลวดลายของพุทธภูมิหรือของศาสดาจึงมี ถึงไม่มีเต็มที่ก็มีปรารถนาพุทธภูมิ เวลาภาวนาไปเท่าไรจิตมันก็ยิ่งเข้มข้นเข้า จะเข้าด้ายเข้าเข็มทีไร.. เรื่องโพธิสัตว์ โพธิญาณจะแย็บเข้ามาเลยทุกครั้ง ท่าน ‘ว่างั้น’ นะ ทุกครั้งพอจะเข้าด้ายเข้าเข็ม คือเวลาจะพุ่งสายโพธิญาณโพธิสัตว์ผ่านเข้ามาเลยถอย เพราะผ่านเข้ามาก็เป็นสมบัติของตัวเอง ท่านว่าสายโพธิสัตว์ก็คือเรื่องของท่านเอง ผ่านเข้ามา ท่านก็ถอย ท่าน ‘ว่างั้น’
ทีนี้ความอยากพ้นจากทุกข์ก็หนักเข้าเป็นลำดับ เลยมาประมวล ท่านว่า ‘งี้นะ’ เรื่องเป็นพระพุทธเจ้าก็เลิศเลอ ปรารถนามา ก็ปรารถนาเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า ทรงสั่งสอนสัตว์โลกได้มากเต็มภูมิของศาสดาแต่ละพระองค์ ๆ เวลาท่านจะออกนะ แต่ความบริสุทธิ์หลุดพ้นจากทุกข์นั้นเสมอกัน ท่านว่า ‘งี้นะ’
‘เออ...เอาละ ทีนี้ถอยนะ แนะนำสั่งสอนใครไม่ได้ ก็สั่งสอนเจ้าของให้หลุดพ้นจากทุกข์นี้ก็พอแล้ว’
ท่านว่า ‘งั้น’ เลยตั้งเป็นคำสัตย์ขอหยุด ขอพัก ของดเลย เรื่องสายโพธิสัตว์โพธิญาณ จะมุ่งเฉพาะสาวกภูมิ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์โดยถ่ายเดียวเท่านั้น แล้วก็ปลงใจลง ปลงใจลงในสาวกภูมิ จากนั้นมาจิตมันก็พุ่ง ๆ เลยเชียว ท่านบอกว่า แต่ก่อนพอจะเข้าด้ายเข้าเข็มทีไร สายพุทธภูมิก็ผ่านเข้ามา ผ่านเข้ามาอยู่อย่างนั้น
ท่านประมวลทุกอย่างแล้วมาลงในสายสาวกภูมิ คือความหลุดพ้นจากทุกข์ เป็นจิตที่บริสุทธิ์เสมอกันหมด ไม่ว่าพระพุทธเจ้า สาวก ท่านเลยเอาจุดนี้ เออ...เอาอันนี้แหละ จากนั้นมาจิตมันก็พุ่งเลย ท่านว่า อันนี้หมายความว่า ท่านยังไม่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าพระองค์ใดองค์หนึ่งนะ ... เลยผ่านออกได้ ...
ถ้าลงพระพุทธเจ้าได้ทรงทำนายแล้วว่า ต่อจากนี้ไปเท่านั้น ๆ ท่านจะได้เป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าอย่างนั้น สาวกข้างขวาว่านั้น สาวกข้างซ้ายว่าอย่างนี้แล้วเท่านั้น จะแก้ ‘ยังไง’ ก็ไม่ตก ถ้าลงพระพุทธเจ้าทรงทำนาย ... ถ้าเข้าเขตพยากรณ์แล้ว ‘ยังไง’ ก็มีแต่ไปข้างหน้า แก้ไม่ตก นี่เรียกว่าญาณของพระพุทธเจ้า ถ้าลงได้เล็งดูจุดไหนแล้วเป็นอื่นไปไม่ได้ ต้องเป็นอย่างนั้น นี่... เช่นอย่างได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าพระองค์ใดแล้ว ‘ยังไง’ ก็ต้องไปเป็นแบบนั้น...”
ลัก...ยิ้ม
02-01-2013, 14:04
การมาอยู่กับครูบาอาจารย์ที่เราเคารพนับถือ ยังไม่เห็นความสำคัญในคำตักเตือนสั่งสอนอยู่แล้ว ก็เท่ากับจะเริ่มสร้างสิ่งทำลายตนขึ้นในเวลาเดียวกัน นี่แล เป็นสิ่งที่ไม่ทำให้สนิทตายใจกับหมู่คณะที่มาอาศัย ว่าจะได้สิ่งที่เป็นสาระอะไรบ้างไปเป็นหลักข้อปฏิบัติในกาลต่อไป เห็นมีแต่ความไม่สำคัญไปเลย ความจริง ธรรมที่นำมาสั่งสอนหมู่คณะทุก ๆ แขนง ได้พิจารณากลั่นกรองแล้วกลั่นกรองเล่าจนเป็นที่แน่ใจ มิได้สอนด้วยความพรวดพราด หลุดปากก็พูดออกมาทำนองนั้น แต่สอนด้วยความพิจารณาแล้วทั้งสิ้น ทั้งส่วนหยาบ ส่วนละเอียด การกำหนดทิศทางเดินจงกรมเคยได้อธิบายให้หมู่คณะฟังมาหลายครั้งแล้ว จนน่ารำคาญทั้งผู้สอนผู้ฟัง แทนที่จะพากันพิจารณาตามบ้าง พอเป็นพยานแห่งการมาศึกษา แต่ทำไมความฝ่าฝืนจึงโผล่ขึ้นมาอย่างไม่อายครูอาจารย์และใคร ๆ ที่อยู่ด้วยกันบ้าง
การพิจารณาทิศทางของความเพียร ท่าต่าง ๆ นี้ ผมเคยพิจารณามานานและทราบมานานแล้ว จึงกล้านำมาสั่งสอนหมู่คณะด้วยความแน่ใจ เมื่อเห็นความฝ่าฝืนจึงทำให้อดสลดสังเวชใจไม่ได้ว่า ต่อไปจะเห็นแต่ของปลอมเต็มวัดเต็มวา เต็มศาสนา และเต็มพระเณร เถรชี พุทธบริษัท เพราะความชอบใจ ความสะดวกใจพาให้เป็นไป มิใช่ความไตร่ตรองดูเหตุดูผลด้วยดีพาให้เป็นไป ศาสนานั้นจริง.. ไม่มีที่ต้องติ แต่ศาสนาจะถูกต้องติ เพราะผู้ปฏิบัติดึงศาสนามาเป็นเครื่องมือของกิเลสที่มีเต็มหัวใจ ผมน่ะกลัวตรงนี้เอง เพราะเห็นอยู่กับตาดังที่ว่าอยู่ขณะนี้แล...”
ลัก...ยิ้ม
07-01-2013, 10:44
ความจริงจังของหลวงปู่มั่นในเรื่องนี้ องค์หลวงตาซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ครั้งนั้น ได้เคยเห็นหลวงปู่มั่นเรียกพระมาดุด่าสั่งสอนอย่างเข้มข้นด้วยตาตัวเอง ท่านจึงจำไม่ลืมตลอดมา สำหรับวิธีการเดินจงกรมตามแบบอริยประเพณีนี้ หลวงปู่มั่นสอนไว้เช่นกันว่า
“การเดินจงกรมกลับไปกลับมาไม่ช้านัก ไม่เร็วนัก พองามตางามมรรยาท ตามเยี่ยงอย่างประเพณีของพระผู้ทำความเพียร ท่าเดินในครั้งพุทธกาลเรียกว่าเดินจงกรมภาวนา เปลี่ยนจากวิธีนั่งสมาธิภาวนามาเป็นเดินจงกรมภาวนา เปลี่ยนจากเดินมายืน เรียกว่ายืนภาวนา เปลี่ยนจากยืนมาเป็นท่านอน เรียกว่าท่าสีหไสยาสน์ภาวนา เพราะฝังใจว่าจะภาวนาด้วยอิริยาบถนอนหรือสีหไสยาสน์ การทำความเพียรในท่าใดก็ตาม แต่ความหมายมั่นปั้นมือก็เพื่อชำระกิเลสตัวเดียวกัน ด้วยเครื่องมือชนิดเดียวกัน มิได้เปลี่ยนเครื่องมือ.. คือธรรม ที่เคยใช้ประจำหน้าที่และนิสัยเดิม ก่อนเดินจงกรม พึงกำหนดหนทางที่ตนจะพึงเดินว่าสั้นหรือยาวเพียงไรก่อน ว่าเราจะเดินจากที่นี่ไปถึงที่นั่น หรือถึงที่โน้น หรือตกแต่งทางจงกรมไว้ก่อน เดินอย่างเรียบร้อย สั้นหรือยาวตามต้องการ”
ลัก...ยิ้ม
17-01-2013, 17:19
หลวงปู่มั่น บิณฑบาตซ้อนสังฆาฏิ
หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต* ซึ่งอยู่ร่วมจำพรรษากับหลวงปู่มั่นในช่วงวัดป่าบ้านหนองผือ บันทึกข้อปฏิบัติของหลวงปู่มั่นขณะเตรียมและออกบิณฑบาต ดังนี้
“...การกลับจากบิณฑบาต เมื่อองค์ท่าน (หลวงปู่มั่น) เดินไปถึงบันไดศาลา ก็มีผู้หนึ่งคอยรับ ถอดรองเท้าเอาเก็บไว้ที่ควร ระวังมิให้น้ำถูกเพราะเป็นรองเท้าหนัง องค์หนึ่งถือกระบวยล้างเท้าด้วยมือขวา มือซ้ายถูตามแข้งและฝ่าเท้า ทั้งใต้ฝ่าเท้าและหลังเท้า เทถู เทถูโดยเร็ว และไม่ให้กระทบกระเทือนด้วย และไม่แสดงมารยาทอันไม่ตั้งใจแลบออกมาให้ปรากฏด้วย และมีผู้คอยเช็ดเท้าอีก ต้องเช็ดเร็ว ๆ แต่เร็วมีสติ ไม่ให้กระทบกระเทือนเกินไป ไม่ให้เบาเกินไป
องค์ท่านขึ้นไปถึงศาลาฉัน ไม่ได้นั่งลงกราบ เพราะศาลาฉันโต้ง ๆ ไม่มีพระพุทธรูป (ศาลามีพระพุทธรูปลงอุโบสถต่างหาก) แล้วก็ซ้อนสังฆาฏิถวายองค์ท่าน เว้นไว้แต่ท่าทางฝนจะตก ขณะนี้ต้องซ้อนช่วยกันสององค์ องค์หนึ่งม้วนลูกบวบ.. ช่วยสองสามรอบแล้วปิดรังดุมคอถวาย องค์หนึ่งปิดรังดุมใต้ถวาย การเข้าบ้านซ้อนสังฆาฏิกลัดรังดุมใต้และบนนี้ องค์ท่านถือเคร่งมาก ตลอดถึงการนุ่งสบงที่มีขัณฑ์เข้าไปธุระบ้าน เช่น บิณฑบาตและสวดมนต์ องค์ท่านกล่าวว่า
‘การห่มผ้านุ่งผ้า พระลังกาชอบเอาอนุวาตเข้าข้างใน เพราะกันผืนเดิมไม่ให้ซุยผุ ก่อนอนุวาด.. จะเอาอนุวาดเข้าข้างในหรือออกนอกก็ไม่ผิดวินัย จะผินเบื้องบนเบื้องล่างสลับกันไปก็ไม่ผิดพระวินัย เพราะที่ระแข้งจะได้ทนหรือสึกหรอทันกัน’...
ยุควัดป่าบ้านหนองผือ เป็นยุคสุดท้ายแห่งหลวงปู่มั่นและเก็บลูกศิษย์.. ก็เก็บไว้มากกว่ายุคใด ๆ ในสำนัก สิ่งใดเป็นประโยชน์แก่ลูกศิษย์ก็ทุ่มเท ทอดสะพานให้ไม่ปิดบัง ไม่ว่าแต่เท่านี้ ผ้าสังฆาฏิและจีวรขององค์ท่าน ท่านใส่รังดุมทั้งดุมคอและดุมล่างทั้งสองทาง วันหนึ่งห่มผืนทางหนึ่งขึ้น..สลับกันเป็นวัน ๆ ลูกศิษย์ผู้ไปซ้อนไปห่มให้ต้องมีสติจำไว้จึงห่มถวายให้ถูกเป็นวัน ๆ จึงถูกกับธรรมประสงค์ขององค์ท่าน...
* ต่อมาท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดภูจ้อก้อ อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร
ลัก...ยิ้ม
25-01-2013, 09:26
เรื่องบิณฑบาต พอหกโมงเช้าธรรมเนียมบ้านหนองผือ เขาก็ตีขอ (เกราะ) ไม้ตะเคียนเป็นสัญญาณ ดังไกลเป็นสามบทติด ๆ กัน หมายความว่าพอเตรียมตัวใส่บาตรแล้ว (พวกเราชาวบ้าน) แต่พอพระผ่านละแวกบ้าน เขาก็ตีขออีกสามบท เขารวมกันเป็นกลุ่มยืนเรียงรายกันเป็นทิวแถว แต่ละกลุ่มเขามีผ้าขาวปูม้ายาว ๆ ไว้เรียบ ๆ ส่วนม้านั่งของหลวงปู่มั่น เขาทำพิเศษต่างหาก.. สูงกว่ากัน พอยืนรับบิณฑบาตแล้วก็นั่งให้พรเขาพร้อมกัน ไปกลุ่มอื่นอีกก็เหมือนกัน มีสามกลุ่มแล้วก็กลับวัด
หลวงปู่มั่นค่อยกลับตามหลังกับพระผู้ติดตามองค์หนึ่ง ตามหลังกลับมาด้วย มีโยมผู้ชายรับบาตร พระผู้ใหญ่มาวัด.. วันละสี่ห้าหกคนไม่ขาด ฝ่ายพระผู้น้อยที่กำลังถือนิสัยและเณรก็ดี รีบกลับให้ถึงวัดก่อน เพื่อจะได้ทันข้อวัตรของครูบาอาจารย์ เป็นต้นว่า ล้างเท้า เช็ดเท้า รับผ้าสังฆาฏิและจีวร หรือเตรียมแต่งบาตรแต่งพก เป็นต้น
แต่ในฤดูพรรษา พระเณรทั้งหลายเข้าเขตวัดแล้วไม่รับอาหารอีก จะได้จัดแจงแต่งถวายแต่เฉพาะหลวงปู่ มีบดอาหารใส่ครกบ้าง ซอยผัก บดในครกให้ละเอียดบ้าง เพราะองค์ท่านจะเคี้ยวไม่ละเอียดเพราะไม่มีฟัน ใช้ฟันเทียมแทน แล้วก็จัดข้าวใส่บาตร องค์ท่านมีข้าวเจ้าปนบ้าง ส่วนกับนั้นจัดใส่ภาชนะถวายวางไว้ใกล้ แล้วองค์ท่านเอาใส่เอง
องค์ท่านฉันรวมในบาตรทั้งหวานและคาวด้วย ไม่ซดช้อนด้วย โอวัลตินนั้นเอาใส่แก้วไม่ใหญ่โต ขนาดกลาง ใส่พอดีพอครึ่งแก้วตั้งไว้มีฝาครอบ พอฉันอาหารอิ่ม องค์ท่านก็ฉันประมาณสามสี่กลืน ไม่หมดแก้วสักวัน แต่ก่อนจะลงมือฉันก็ให้พรเป็นพิธีพร้อมกัน.. ธรรมฯ บ้าง สัพพะพุทธาฯ บ้าง ถ้าวันข้าวประดับดินและวันสารท.. ก็สวดพาหุงฯ บ้าง
การให้พร (โดยที่) ไม่ประนมมือ (หรือ) ทั้งสวดพาหุงฯ ทั้งใส่บาตรขณะเดียวกัน (นั้น) องค์ท่านไม่พาทำเลย เพราะถือว่าไม่เป็นการเคารพธรรม ใส่บาตรเรียบร้อยก่อนจึงสวด ถ้าไม่สวดก็ให้พรธรรมดา และก่อนจะลงมือฉัน องค์ท่านก็ทอดสายตาลงพิจารณาอาหารในบาตรอยู่สักครู่ พอควรแล้วจึงลงมือฉัน และ (ถ้า) พระเณรยังไม่เสร็จ ยังจัดแจงของเจ้าตัวแต่ละรายยังไม่เสร็จตราบใด องค์ท่านก็ยังไม่ลงมือฉันก่อน เมื่อลงมือฉันแล้ว ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ องค์ท่านก็ไม่กล่าวไม่พูดอันใดขึ้น ถ้าจำเป็นจริง ๆ กลืนคำข้าวแล้วจึงพูด แต่น้อยที่สุด เป็นระเบียบเรียบร้อยมาก มีสติอยู่กับความเคลื่อนไหวของกาย ในการจะหยิบ จะวาง จะเหยียดแขน คู้แขน แลซ้าย แลขวา...”
สำหรับองค์หลวงตาเองก็มั่นคงในข้อบิณฑบาต.. ซ้อนผ้าสังฆาฏิโดยเคร่งครัดเสมอมา แม้เหงื่อจะออกจนจนเปียกโชกก็ไม่ถือเป็นอุปสรรค
“ไปบิณฑบาตกลับมา ผ้าอังสะเปียกหมดเลย คือเปียกเหงื่อ ไปบิณฑบาตกลับมา ที่เราพูดอย่างนี้คือเราเคยเป็นแล้ว กำลังหนุ่มน้อยนี้ โอ๋ย...เหงื่อ..กลับมานี่จีวรเปียกหมดเลย สังฆาฏิซ้อนกันเปียกเป็นอันดับสาม อันดับหนึ่งจริง ๆ คืออังสะ เหมือนซัก อันดับสองจีวร คล้ายซัก อันดับสามสังฆาฏิ ส่วนสบงไม่ต้องพูด เปียกหมดเลย กำลังหนุ่มน้อยเหงื่อออกง่ายมาก”
================================
ลัก...ยิ้ม
04-02-2013, 14:17
มั่นคงธุดงค์วัตร
ในระยะที่อยู่กับหลวงปู่มั่น ท่านจะสอนให้เราเป็นคนกินน้อย นอนน้อย พูดน้อย ปฏิบัติให้มาก หรือให้เป็นคนกินง่าย อยู่ง่าย นอนง่าย การไปการมาง่าย หมายถึงไม่ทำตนเป็นผู้ยศหนักศักดิ์ใหญ่ เป็นประเภทกรรมฐานขุนนาง หรู ๆ หรา ๆ แต่วัตถุสิ่งของภายนอก แต่จิตใจหาคุณความดีมิได้เลย อันนี้ท่านไม่สรรเสริญ ท่านชื่นชมบุคคลประเภทอ่อนน้อมถ่อมตน ทำตัวประดุจผ้าขี้ริ้ว แต่ภายในใจนั้นหรูหรางดงามด้วยธรรม จะเรียกว่าเศรษฐีธรรมก็ไม่ผิด
ท่านเล่าถึงอุปนิสัยในการบำเพ็ญภาวนาของท่านว่า
“...มาอยู่บ้านหนองผืออย่างนี้ ผมจะเดินจงกรมให้หมู่เพื่อนเห็นไม่ได้ โน่น...ต้องเวลาสงัด สี่ทุ่มห้าทุ่มล่วงไปแล้ว หมู่เพื่อนเงียบหมดแล้วถึงจะลงเดินจงกรม กลางวันก็เข้าไปอยู่ในป่าโน้น ถ้าวันไหนออกมาแต่วันเช่นห้าโมงเย็น .. ออกมาอย่างนี้ก็เข้านั่งสมาธิเสียในกุฏิ จนกระทั่งหมู่เพื่อนเงียบไปหมดแล้วถึงจะลงทางจงกรม เป็นนิสัยอย่างนั้นมาดั้งเดิม
ไม่ให้ใครเห็นการประกอบความเพียรของเรา ว่ามากน้อยขนาดไหน แต่ธรรมดา.. ใครก็รู้ ทางจงกรมจนเป็นหลุมเป็นเหวไป ใครจะไม่รู้ เดินจงกรมกี่ชั่วโมงมันถึงจะเป็นขนาดนั้น อยู่ในป่าก็ดี อยู่ในวัดก็ดี มองดูก็รู้ แต่หากนิสัยเป็นอย่างนั้น ทางภาษาอีสานเขาเรียกว่า คนนิสัยหลักความ คือการลัก ๆ ลอบ ๆ ทำสมาธิภาวนาอยู่คนเดียว เราไม่สนิทใจที่จะทำความเพียรให้ใครต่อใครเห็นอย่างโจ่งแจ้ง...”
การถือธุดงค์ ๑๓ เป็นเครื่องชำระกิเลสของพระ ที่ทุกองค์ต่างตั้งใจสมาทานกันทั้งวัด ท่านเองก็สมาทานอย่างจริงจังเช่นเดิม แต่ต่อมาไม่นาน.. หมู่เพื่อนเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ท่านจึงถือเอาสิ่งนี้เป็นพระธรรมเทศนากัณฑ์สำคัญปลุกใจตนเอง ดังนี้
“...เวลาเข้าพรรษาก็ต่างองค์ต่างสมาทานธุดงค์กันทั้งวัด ครั้นสมาทานแล้วไม่กี่วันมันก็ล้มไป ๆ นี่ก็ส่อแสดงให้เห็นความจริงจังหรือความล้มเหลวของหมู่คณะ
เมื่อได้เห็นอาการของหมู่คณะเพื่อนเป็นเช่นนั้น ทำให้เกิดความอิดหนาระอาใจไปหลายแง่หลายทาง เกี่ยวกับหมู่คณะ จิตใจยิ่งฟิต ปลุกใจตัวเองให้แข็งขัน และย้อนมาถามตัวเองบ้างว่า
‘ไง..เราจะไม่ล้มไม่เหลวไปละหรือ ? เมื่อเหตุการณ์รอบข้างเป็นไปอย่างนี้’
ก็ได้รับคำตอบอย่างมั่นใจว่า ‘จะเอาอะไรมาให้ล้มให้เหลวล่ะ ก็ตัวใครตัวมัน’ ประกอบกับนิสัยเราเป็นอย่างนี้มาดั้งเดิมอยู่แล้ว ทำอะไรต้องจริงทั้งนั้น ทำเล่นไม่เป็น เราจะล้มไม่ได้ นอกจากตายเสียเท่านั้น
ฉะนั้น ความเปลี่ยนแปลงของหมู่เพื่อน จึงเป็นราวกะว่าแสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์หนึ่ง ให้เราฟังอย่างถึงใจ...”
ลัก...ยิ้ม
08-02-2013, 17:07
ฉันในบาตร ไม่ใช้ช้อน ไม่ฉันนม
ข้อปฏิบัติเรื่องการขบฉันของท่านในครั้งนั้น จะระมัดระวังมิให้เป็นไปด้วยอำนาจของกิเลสตัณหา การขบฉันให้เป็นไปตามความหิวของธาตุของขันธ์ พอเยียวยาประทังชีวิตไปวันหนึ่ง ดังที่บทธรรมว่าด้วย ปฏิสังขา โยนิโสฯ ท่านแสดงไว้เท่านั้น ดังนี้
“... การฉันในบาตรนี่.. เป็นกิจสำคัญอยู่มาก ไม่มีภาชนะใดที่เหมาะสมยิ่งกว่าบาตรสำหรับใส่อาหาร จะเป็นถ้วยชามนามกรอะไรก็แล้วแต่เถอะ เป็นภาชนะทองคำมาก็ไม่เหมาะสมยิ่งกว่าบาตร มีบาตรใบเดียวเท่านั้น มีอะไรก็รวมลงที่นั่น พระพุทธเจ้าก็ทรงดำเนินเป็นตัวอย่างอันแนบแน่นมาก่อนแล้ว
บางคนคิดว่า อาหารที่รวมลงไปแล้วจะทำให้ท้องเสียดังที่ส่วนมากว่ากัน ซึ่งเคยได้ยินมาแล้ว ท้องมีกี่พุงมีกี่ไส้ มีกี่ภาชนะสำหรับใส่อาหารแยกประเภทต่าง ๆ นี้หวาน นี้คาว นี้แกงเผ็ด ความจริงในขณะที่อาหารรวมในบาตรก็เป็นเทศนาอย่างดี
ก่อนฉันก็พิจารณา ในขณะที่ฉันก็กำหนดพิจารณาปัจจะเวกขณะฯ โดยความแตกต่างแห่งอาหาร ย่อมได้อุบายแปลก ๆ ขึ้นมาจากอาหารผสมนั้น เพราะไม่ได้ฉันเพื่อความรื่นเริงบันเทิง ไม่ได้ฉันเพื่อความสวยงาม เพื่อความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม เพื่อความคึกคะนองอะไร ฉันพอยังอัตภาพให้เป็นไป เพื่อได้ประพฤติพรหมจรรย์ ชำระกิเลสาสวะ ซึ่งเป็นตัวพิษรกรุงรัง ฝังจมลึกอยู่ภายในใจนี้ ให้เตียนโล่งออกจากใจ ด้วยพิจารณาโดยแยบคาย ซึ่งอาศัยธุดงควัตรเหล่านี้เป็นเครื่องมือต่างหาก
พระเราเมื่อฉันมาก ๆ ทำให้ธาตุขันธ์มีกำลังมากขึ้น แต่จิตใจลืมเนื้อลืมตัว ขี้เกียจภาวนา ไม่เป็นท่าเป็นทางอะไรเลย มีแต่อาหารพอกพูนธาตุขันธ์สกนธ์กาย ไม่ได้พอกพูนจิตใจด้วยอรรถด้วยธรรม ใจหากเคยมีธรรมมาบ้าง ก็นับวันเหี่ยวแห้งแฟบลงไป ถ้ายังไม่มีธรรม เช่น สมาธิธรรม เป็นต้น ก็ยิ่งไปใหญ่ ไม่มีจุดหมายเอาเลย
ธุดงค์จึงต้องห้ามความโลเลในอาหาร เพื่อให้ใจมีทางเดินโดยอรรถโดยธรรม กิเลสจะได้ไม่ต้องพอกพูนมากมาย กายจะได้เบา ใจจะได้สงบเบาในเวลาประกอบความเพียร และสงบได้ง่ายกว่าเวลาที่พุ่งกำลัง บรรจุอาหารเสียเต็มปรี่...”
ลัก...ยิ้ม
19-02-2013, 15:53
นอกจากนี้ หลวงปู่มั่นยังให้อุบายธรรมเกี่ยวกับการขบฉันของพระเณรไว้อย่างถึงใจดังนี้
“...ท่านอาจารย์มั่นฉันข้าวในบาตรแล้วก็ฉันด้วยช้อน ธรรมท่านผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมา โอ้โห...เหมือนน้ำไหลไฟสว่างไปเลย ผุดขึ้นมา ๆ เหมือนกับว่าสอนเรา ผึง ๆ ขึ้นมา เหมือนกับว่าสอนเรา ผึง ๆ ขึ้นมาเลย ท่านว่าอย่างนั้น
‘ฉันก็ฉันเพื่อเห็นภัย ยืน เดิน นั่ง นอน เพื่อเห็นภัย และในขณะเดียวกัน เพื่อคุณธรรมทั้งหลาย ทำไมเวลามาฉันจึงเห็นแก่ลิ้น แก่ปากอย่างนี้ นี่หรือผู้เห็นภัยเป็นอย่างนี้หรือ..!!’ เด็ดเผ็ดร้อนมากเหมือนกัน อุบายที่ผุดขึ้นมาในเวลานั้น
‘นี่..ไม่ใช่ผู้เห็นภัยนะ ผู้ที่นอนจมอยู่ในวัฏสงสารหาเวลาพ้นไปไม่ได้แบบนี้น่ะ’
พอเป็นอย่างนั้นแล้ว จิตมันก็สลดทันที...”
ด้วยอุบายธรรมของหลวงปู่มั่นเช่นนี้ องค์หลวงตาจึงเข้มงวดกับการขบฉันของตัวเองเป็นพิเศษ มิปล่อยให้ความอยากมาครอบงำจิตใจได้ และหลวงปู่มั่นก็จับได้ถึงความตั้งใจจริงของท่านมาโดยตลอดเช่นกัน ดังนี้
“ท่านไม่ได้บอกว่าเราตั้งใจก็ตาม แต่กิริยาที่แสดงออกมานั้น เป็นการบอกอยู่ชัด ๆ ว่าท่านทราบทุกอย่างว่าเราทำอย่างไร เช่น เราไม่ฉันนมอย่างนี้ เวลาเขาเอานมมาถวายให้ ผสมเผสิมอะไรใส่มัน เทนมลงไปแล้วก็แจกพระ ผมไม่เคยฉัน
แม้แต่ผมเรียนหนังสือ ผมยังไม่ฉันนม เพราะธาตุของผมมันผิด นอนเฉย ๆ นี่.. ไม่ต้องฝันละนะ เพราะกำลังมันเต็มที่ของมันอยู่แล้ว แต่ว่าจะเป็นราคะจริงก็ไม่ใช่นะ ราคะจริตมันต้องเพลิดต้องเพลินไปข้างนอกนู่น หาเรื่องกามกิเลส แต่มันไม่ไป ธาตุขันธ์มันเต็มที่ของมัน บางทีมันก็แสดง.. ไม่ได้ฉันนมก็ตาม มันจะปวดที่ตรงตานกเอี้ยง มันจะปวด เจ้าของรู้ตัวนอนได้ระมัดระวัง
นาน ๆ มาทดลอง ฉันนมนี้มันก็เห็นอยู่ เพราะฉะนั้น จึงต้องตัดขาดเลย เวลาปฏิบัติยิ่งเป็นเรื่องเฉียบขาดด้วยแล้ว ผมไม่แตะเลย นี่ท่านก็เห็นเหตุ ที่ท่านจะเห็นก็เวลาชงนมอะไร เอานมใส่นี้ ท่านว่า ‘แบ่งให้ท่านมหาก่อนนะ ท่านมหาไม่ฉันนมนะ แบ่งให้ท่านมหาก่อนนะ’
นี่คือประกาศสอนพระเณรทั้งหลายนั่นเอง พูดง่าย ๆ .. ดูซิอุบายของท่าน ไม่เพียงแต่พูดกับเรา ยังเอาเราเป็นเหตุอีกด้วย”
แม้หลวงปู่มั่นจะทราบดีถึงความตั้งใจจริงของท่าน ไม่ว่าจะเรื่องการถือธุดงค์ฉันในบาตร หรือการไม่ใช้ช้อนฉันอาหาร ว่าท่านรักษาข้อปฏิบัติเหล่านี้อย่างเคร่งครัด ไม่อ่อนแอ แต่บางครั้ง หลวงปู่มั่นก็หาอุบายขนาบส่วนรวม โดยยกเอาท่านมาเป็นเหตุเหมือนกัน ดังนี้
“...พ่อแม่ครูอาจารย์มั่นท่านก็รู้ว่า เราไปธุดงค์ด้วยความตั้งใจอย่างเต็มที่เต็มฐาน ไปทรมานอยู่ตามป่าตามเขาลูกไหน ๆ ท่านก็รู้แล้ว ท่านทำไมพูดขึ้นมาว่า
‘ท่านมหา! ไปนานนัก ไปหลายวันแล้ว มัวไปซดซ้ายซดขวาอยู่ที่ไหน ไม่เห็นมา’
ทั้ง ๆ ที่ท่านก็รู้ว่าเราตั้งใจขนาดไหน เราไม่เคยแตะช้อนเลย ..ท่านก็รู้ แต่ทำไมท่านพูดอย่างนั้น ก็คือท่านสอนหมู่สอนคณะในวงนั้นนั่นเอง เวลาเรากลับมา พระก็เล่าให้เราฟัง ท่านว่า
‘พระกรรมฐานฉันช้อน ดูแล้วมันขวางตา ขวางใจ สะดุดใจทันที เหมือนพระเจ้าชู้ ขุนนาง การฉันเพื่อความเห็นภัย จะหาอะไรมาเป็นความสะดวกสบาย มาโก้เก๋อย่างนั้น มันขัดกันกับความเห็นภัยในการฉัน’...”
ลัก...ยิ้ม
26-02-2013, 17:11
เป็นไข้มาลาเรีย
สภาพธรรมชาติของวัดป่าบ้านหนองผือโดยมากเป็นป่าดงพงลึก มีสัตว์ป่าเข้ามาหลบภัยในวัดมากมายหลายชนิด ท่านเล่าไว้ ดังนี้
“...พระกรรมฐานที่มุ่งอรรถมุ่งธรรมจริง ๆ เขาอยู่ตามป่าตามเขา.. จะรู้จักอัธยาศัยของสัตว์ได้ดี สัตว์พวกไหนมันก็มา เขาแอบมาอยู่ข้าง ๆ เขาจะมาจุ้นจ้าน เขาก็ไม่มานะ คือเขาหลบภัย ยกตัวอย่างเช่นหนองผือนี่.. เห็นได้ชัดเจนมากทีเดียว พระอยู่ที่ไหน มันก็แอบ ๆ อยู่กับพระนั่นแหละ จะให้ออกมาจุ้นจ้าน.. ไม่มา ชอบอยู่ข้าง ๆ เพราะมันเป็นดงนี่ องค์นี้อยู่ตรงนั้น องค์นั้นอยู่ตรงนั้น อย่างนี้นะ อยู่ว่าง ๆ ในดงนี่ เขาอยู่ได้ทั่วไป ก็เหมือนกับว่ามีผู้รักษาทั่วไป
หนองผือนี่มากที่สุด บรรดาสัตว์ ที่เราเคยไปเที่ยวที่ไหน ๆ ในวัดหนองผือ เพราะแต่ก่อนมันเป็นดงทั้งหมด ที่เราเห็นนั่น ไปถึงบ้านนาในมีแต่ดงติดต่อกันไปเลย สัตว์อยู่ได้ทั่วไป แต่อยู่ที่อื่นเขาไม่ปลอดภัย เขาจึงไม่อยากอยู่ แอบเข้ามา ๆ ถึงขนาดไม่กลัวคนก็มี
หมูทอก หมูโทนสูง เราอยากจะว่าตั้งเกือบร่วมเมตรนะ มันสูงเป็นเมตร มันตัวใหญ่ ใหญ่จริง ๆ เขาเรียกหมูโทน หมูทอก ตัวใหญ่ ได้พากันไปยืนดูเขาอยู่ ต้นกะบกต้นนั้นยังอยู่นะ ต้นที่เราชี้มือให้หมู่เพื่อนไปดู ไอ้หมูป่าพอตกบ่าย ๔ โมงเย็น ๕ โมงเย็น เขาก็มา เขาจะมากินลูกกะบก เขามากินเฉยเหมือนสัตว์บ้านนะ เราก็ไปยืนดูอยู่ นั่นดูสิเห็นไหม เขากลัวไหม เขาเฉย เขาเดินเหมือนควายเรา เที่ยวหากินต้วมเตี้ยม ๆ เฉย กินอิ่มแล้วเขาก็ออกไป
เราก็ยืนดูเขาอยู่นั้น เขาไม่สนใจนะ.. อย่างนั้นนะ อีเก้งก็มี มันแอบ ๆ มา เขาไม่กลัว เขาปลอดภัย ความหมาย ‘ว่างั้น’...”
ลัก...ยิ้ม
05-03-2013, 10:49
นอกจากสัตว์ป่าแล้ว ยังมีไข้ป่าชุกชุมมากอีกด้วย จนหลวงปู่มั่นต้องสั่งให้พระเณรที่ไปกราบเยี่ยมให้รีบออกถ้าจวนเข้าหน้าฝน ถ้าเป็นหน้าแล้งก็อยู่ได้นานขึ้น แม้หลวงปู่มั่นเองเข้ามาวัดป่าบ้านหนองผือแรก ๆ เพียงไม่กี่วันก็เริ่มป่วยเป็นไข้มาเลเรียแบบจับสั่นชนิดเปลี่ยนหนาวเป็นร้อน และเปลี่ยนร้อนเป็นหนาวแล้ว ซึ่งเป็นการทรมานอย่างยิ่งอยู่แรมเดือน ไข้ชนิดนี้หากเป็นแล้วไม่หายง่ายตั้งแรมปีก็ไม่หาย บางทีหายไป ๑๕ วันหรือเดือนหนึ่งแล้ว จนนึกว่าหายสนิทก็กลับมาเป็นเข้าอีก หากผู้ใดป่วยเป็นไข้มาเลเรียต้องใช้ความอดทนมาก เพราะยาแก้ไข้ไม่มีใช้กันเลยในวัด เพราะยาหายากไม่เหมือนสมัยทุกวันนี้
ไข้ประเภทนี้ ชอบเป็นกับคนที่เคยอยู่บ้านทุ่งแล้วย้ายไปอยู่ในป่าตามไร่นา แม้คนที่เคยอยู่ป่าเป็นประจำมาแล้วก็ยังเป็นได้ แต่ไม่ค่อยรุนแรงเหมือนคนมาจากทางทุ่ง และชอบเป็นกับพระธุดงคกรรมฐานที่ชอบเที่ยวซอกแซกไปตามป่าเขาโดยมาก สำหรับตัวท่านเอง เมื่อมาอยู่ที่บ้านหนองผือแรกนี้ก็เป็นไข้มาเลเรียด้วยเช่นกัน เป็นตลอดพรรษาถึงหน้าแล้งก็ยังไม่ยอมหายสนิทได้เลย มีคนถามว่าท่านเคยเป็นไข้มาเลเรียไหม ท่านตอบทันทีว่า
โธ่ !..เป็นมาไม่รู้เป็นกี่ครั้ง ผมบนศีรษะโกนให้โล้นแล้ว ไม่แล้ว.. มันยังร่วงอีก ไข้มาเลเรียนี้มันร้อน ปากนี่เปื่อยหมด
ช่วงที่เป็นไข้มาเลเรียอยู่นั้น มีอยู่วันหนึ่งในตอนกลางวันปรากฏว่าไข้เริ่มหนักแต่เช้า ท่านจึงไม่ไปบิณฑบาตและไม่ฉันจังหันด้วย ในวันนั้น ท่านพยายามต่อสู้กับทุกขเวทนาด้วยการพิจารณา พอถึงเวลาบ่าย ๓ โมง ไข้จึงสร่างปรากฏว่ากำลังเรี่ยวแรงอ่อนเพลียมาก จึงเพ่งจิตให้อยู่กับจุดใดจุดหนึ่งของทุกขเวทนาที่กำลังกำเริบหนัก โดยไม่คิดทดสอบแยกแยะเวทนาด้วยปัญญาแต่อย่างใด
ในจังหวะเวลานั้น เป็นเวลาที่หลวงปู่มั่นท่านพิจารณาธรรมบางประการ จึงเห็นท่านกำลังปฏิบัติอยู่เช่นนั้นพอดิบพอดี
พอบ่าย ๔ โมง ท่านเข้าไปหาหลวงปู่มั่น จึงถูกตั้งปัญหาถามขึ้นในทันทีว่า
ทำไมจึงพิจารณาอย่างนั้นเล่า ? การเพ่งจิตจ้องอยู่ .. ไม่ใช้ปัญญาพิจารณาแยกแยะ กาย เวทนา จิต ให้รู้เรื่องของกันและกัน ท่านจะทราบความจริงของกาย ของเวทนา ของจิตได้อย่างไร ? แบบท่านเพ่งจ้องอยู่นั้นมันเป็นแบบฤๅษี แบบหมากัดกัน ไม่ใช่แบบพระผู้ต้องการทราบความจริงในธรรมทั้งหลาย มีเวทนา เป็นต้น
ต่อไปอย่าทำอย่างนั้น มันผิดทางที่จะให้รู้ให้เห็นความจริงทั้งหลาย ที่มีอยู่ในกาย ในเวทนา ในจิต ตอนกลางวันผมได้พิจารณาดูท่านแล้ว ว่าไม่ใช้สติปัญญา คลี่คลายดูกาย ดูเวทนา ดูจิตบ้างเลย พอเป็นทางให้สงบและถอดถอนทุกขเวทนาในเวลานั้น เพื่อไข้จะได้สงบลง
นี่คือ ความสามารถออกรู้เรื่องราวต่าง ๆ ได้โดยตลอดของพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น พระอรหันต์ยุคปัจจุบัน
ลัก...ยิ้ม
13-03-2013, 17:38
สมาธิ กับ ความสงบ
“...คำว่าความสงบกับสมาธินั้นไม่ได้เหมือนกัน เมื่อพูดตามภาคปฏิบัติแล้ว ความสงบนั้นคือจิตสงบลงไป หรือว่ารวมลงไปหนหนึ่งแล้วถอนขึ้นมา ๆ เรียกว่าสงบเป็นครั้งคราว ในเวลาจิตที่รวมลงไปถอนขึ้นมานี้เรียกว่าความสงบ ทีนี้เวลามันสงบลงไปถอนขึ้นมาหลายครั้งหลายหน มันสร้างฐานแห่งความมั่นคงภายในตัวของมัน ขณะที่สงบนั้นเรื่อยมา จนกระทั่งกลายเป็นจิตที่แน่นหนามั่นคงขึ้นมา จากความสงบที่สั่งสมกำลังแห่งความแน่นหนามั่นคงมาเป็นลำดับนั้น ติดต่อกันมาเรื่อย ๆ เลยกลายเป็นสมาธิขึ้นมา แน่นหนามั่นคง นี่..เรียกว่าจิตเป็นสมาธิแล้ว
เวลาสงบแล้วถอนขึ้นมา ๆ นั้นเรียกว่า จิตสงบหรือว่าจิตรวม พอถึงขั้นจิตเป็นสมาธิแล้ว จิตจะถอนขึ้นมา ไม่ถอนขึ้นมาก็ตาม ฐานของจิตคือความสงบนั้นแน่นปึ๋ง ๆ ตลอดเวลา นี่ท่านเรียกว่าจิตเป็นสมาธิ เห็นประจักษ์ในหัวใจอย่างนี้ อ๋อ.. สมาธิกับความสงบนี้ต่างกัน นี่เรียกว่าสมาธิ เพื่อให้ถูกต้อง ดำเนินด้วยความราบรื่น พอจิตเป็นสมาธิมีความสงบมันอิ่มอารมณ์ ไม่เสียดายในความคิดความปรุงไปทางรูป ทางเสียง ทางกลิ่น ทางรสต่าง ๆ พอใจอยู่กับความสงบใจของตนนั้น เรียกว่าจิตมีสมาธิ จิตอิ่มอารมณ์ คือไม่อยากคิดกับอารมณ์นั้นอารมณ์นี้ อาศัยความสงบเย็นใจ ความแน่นหนามั่นคงของสมาธินั้นเป็นเรือนอยู่ของใจ
จิตขั้นนี้เวลามันสงบมีกำลังมาก ๆ แล้วมันจะรำคาญในการคิดการปรุงต่าง ๆ ซึ่งแต่ก่อนมันหิวโหยมาก ไม่ได้คิดได้ปรุงอยู่ไม่ได้ ดีดดิ้นอยากคิดอยากปรุง พอจิตมีความสงบเป็นจิตแน่นหนามั่นคง เรียกว่าเป็นสมาธิเต็มที่แล้วนั้นไม่อยากคิด ความคิดเป็นการรบกวนตัวเอง จิตที่อยู่แน่ว มีแต่ความรู้ที่เด่นอยู่ภายในตัวนั้น ถือว่าเป็นความสะดวกสบายไม่มีอะไรมากวนใจ เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีสมาธิจึงมักคิดในสมาธิ หรือติดในสมาธิ เพราะสมาธินี้ก็เป็นอารมณ์กล่อมใจได้ดี เมื่อยังไม่ถึงขั้นปัญญา.. ที่จะมีผลมากกว่านี้แล้วจะติดได้...”
ลัก...ยิ้ม
19-03-2013, 15:34
สมาธิ กับ จิตรวม
“...คำว่าจิตรวมกับสมาธินี้ต่างกันนะ รวมหลายครั้งหลายหนเข้าไปค่อยสร้างกำลังขึ้นมา จนกลายเป็นสมาธิได้ในตัว นั่น.. จิตเป็นสมาธิ คือความแน่นหนามั่นคงของใจ จะคิดจะปรุงแต่งเรื่องอะไรก็ตาม จิตนี้มีฐานอันมั่นคงของตัวเอง เป็นความสงบแน่วแน่อยู่ภายในตัวเอง นี่เรียกว่าจิตเป็นสมาธิ จิตที่รวมคือ เวลาที่จิตสงบเข้าไป รวมเข้าไป ปราศจากความคิดความปรุงทั้งหลาย เรียกว่าจิตสงบหรือจิตรวม ถอนออกมาแล้วมันก็มีความคิดความปรุงตามธรรมดาของมัน บางทีอาจเกิดความวุ่นวายขึ้นได้ เพราะความคิดกวนใจ
เราพยายามทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จิตของเราจะมีความสง่างามขึ้นมา ความสงบของใจ ความสบายใจจะขึ้นพร้อมกัน จากนั้นก็เป็นความแปลกประหลาดอัศจรรย์เป็นขั้นของใจ...”
ลัก...ยิ้ม
26-03-2013, 17:54
สมาธิ กับ สมถะ
“...พอบังคับจิตของเราไว้ จิตไม่มีทางที่จะออกข้างนอก ส่วนข้างในไม่ให้ออกไม่ให้เข้ามา มีแต่อันนี้แหละจะออกไป แล้วจิตจะสงบ พอจิตสงบ สงบด้วยอารมณ์ของธรรมบังคับไว้ กิเลสเป็นธรรมชาติที่ฟุ้ง ธรรมะเป็นธรรมชาติที่ดับ หรือน้ำดับไฟ.. กิเลสเป็นไฟ ธรรมะเป็นน้ำ ดับไฟแล้วจิตจะสงบเข้าไป ๆ พอสงบหลายครั้งหลายหน จิตรวมครั้งหนึ่ง สองครั้ง สามครั้งเข้าไปนี้ มันจะไปสั่งสมกำลังขึ้นมา เมื่อรวมหลายครั้งแล้วจะเป็นจิตแน่นหนามั่นคง จนกลายเป็นสมาธิ
สมาธิกับสมถะนี้ต่างกันนะ สมถะคือความสงบด้วยจิตรวมหลายครั้งหลายหน แล้วสั่งสมผลขึ้นมาจนกลายเป็นจิตใจมั่นคง และจิตเป็นสมาธิ จิตเป็นสมาธินี้แน่นหนามั่นคง ไม่หิวไม่โหยกับอารมณ์ต่าง ๆ ที่อยากคิด อยากรู้ อยากเห็น อยากเป็นต่าง ๆ นี้ มีแต่ความอยากของจิต ความหิวโหยของจิต ทีนี้พอจิตอิ่มอารมณ์ด้วยธรรมแล้ว จิตไม่อยากคิดอยากปรุง...”
ลัก...ยิ้ม
02-04-2013, 12:26
จิตเป็นสมาธิอยู่คนเดียวเหมาะที่สุด
“...คำว่าสมาธิคือ จิตตั้งมั่นอยู่เป็นอารมณ์อันเดียว แน่นหนามั่นคง แม้เราจะคิดปรุงแต่งเรื่องใดได้อยู่ก็ตาม แต่ฐานของจิตคือความแน่นหนามั่นคง จะไม่ละตนเอง จะมีความแน่นหนามั่นคงอยู่ภายในใจ.. นี้เรียกว่าจิตเป็นสมาธิ ในภาคปฏิบัติ จิตสงบเป็นอย่างหนึ่ง คือสงบด้วยจิตรวมลงหลายครั้งหลายหน แต่ละหน ๆ เรียกว่าจิตสงบ ๆ เมื่อรวมลงไปทีไรก็ส่งผล.. หนุนให้จิตมีความแน่นหนามั่นคงมากขึ้น ๆ จนกลายเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว ทีนี้เรื่องอารมณ์นั้นอิ่ม อยากจะคิด จะปรุงอะไร ตั้งแต่ก่อนซึ่งเหมือนอกจะแตก ไม่ได้คิด ได้ปรุงเหมือนว่าอกจะแตก อยู่ไม่ได้ก็ตาม พอจิตเข้าสู่ความสงบเรื่อยเข้าสู่สมาธิแล้ว ความคิดปรุงทั้งหลายเหล่านี้จะไม่มี จิตอิ่มอารมณ์ ไม่อยากคิด อยากปรุง อยากรู้ อยากเห็น อยากได้ยินได้ฟังสิ่งนั้นสิ่งนี้ที่เคยดีดดิ้นมาแต่ก่อน เพราะความสงบเป็นพื้นฐานให้เป็นที่อยู่ของจิตแล้ว.. จิตก็สงบเย็น นี่ท่านเรียกว่าจิตเป็นสมาธิ
จิตเป็นสมาธินี้อยู่คนเดียวแล้วเหมาะที่สุด อยู่ที่ไหน ? ต้นไม้ ภูเขา ตามถ้ำ เงื้อมผา จะเป็นอารมณ์อันเดียวของผู้มีจิตเป็นสมาธิ เพลินอยู่กับความเป็นสมาธิ อารมณ์อันเดียวคือมีแต่ความรู้ที่เด่นอยู่เท่านั้น ไม่มีสิ่งใดเข้ามาเจือปน คือสังขารไม่ปรุงเอาเรื่องราวเข้ามาผสมใจ ใจก็เป็นอารมณ์อันเดียวเรียกว่า เอกัคคตาจิต เอกัคคตารมณ์...”
ลัก...ยิ้ม
22-04-2013, 11:24
มิจฉาสมาธิ : สัมมาสมาธิ
“...ได้พิจารณาแล้วเต็มกำลัง นับแต่ได้เริ่มปฏิบัติมาจนถึงวันนี้ ไม่เคยเห็นธรรมบทใดหมวดใดที่ยิ่งไปกว่าสติปัญญา ซึ่งจะสามารถรื้อฟื้นสิ่งลี้ลับอยู่ภายนอกก็ดีภายในก็ดี ให้ประจักษ์แจ้งขึ้นมาภายในใจ ดังนั้น จึงได้นำธรรมทั้งสองประเภทนี้ มาแสดงแก่บรรดาท่านผู้ฟังได้ทราบว่า ถ้าเป็นไม้ก็แก่นหรือรากแก้วของต้นไม้ เป็นธรรมก็รากเหง้า หรือเครื่องมือที่สำคัญสำหรับแก้กิเลสาสวะ นับตั้งแต่หยาบถึงละเอียดยิ่งให้หมดสิ้นไปโดยสิ้นเชิง
ถ้าได้ขาดสติไปเสีย เพียงจะทำสมาธิให้เกิดขึ้นย่อมเป็นไปไม่ได้ ยิ่งได้ขาดปัญญาไปเสียด้วยแล้ว แม้สมาธิก็จะกลายเป็นมิจฉาสมาธิไปได้ เพราะคำว่าสมาธินั้นเป็นคำกลาง ๆ ยังไม่แน่ว่าเป็นสมาธิประเภทใด ถ้าขาดปัญญาเป็นพี่เลี้ยง ต้องกลายเป็นสมาธิที่ผิดจากหลักธรรมไปได้โดยไม่รู้สึกตัว
คำว่า มิจฉาสมาธิ นั้นมีหลายระดับ ชั้นหยาบที่ปรากฏแก่โลกอย่างชัดเจนก็มี ชั้นกลาง และชั้นละเอียดก็มี ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะมิจฉาสมาธิในวงปฏิบัติ ซึ่งปรากฏขึ้นกับตนเองโดยไม่รู้สึกตัว เช่น เข้าสมาธิจิตรวมลงแล้วพักอยู่ได้นานบ้าง ไม่นานบ้าง จนถอนขึ้นมา
ในเวลาจิตถอนขึ้นมาแล้วยังมีความติดพันในสมาธิ ไม่สนใจทางปัญญาเลย โดยถือว่าสมาธิจะกลายเป็นมรรค ผล นิพพานขึ้นมาบ้าง ยังติดใจในสมาธิอยากให้รวมอยู่นาน ๆ หรือตลอดกาลบ้าง จิตรวมลงถึงที่พักแล้วถอนขึ้นมาเล็กน้อย และออกรู้สิ่งต่าง ๆ ตามแต่จะมาสัมผัส แล้วเพลินติดในนิมิตนั้น ๆ บ้าง
บางทีจิตลอยออกจากตัวเที่ยวไปสวรรค์ ชั้นพรหม นรก อเวจี เมืองผี เมืองเปรตต่าง ๆ จะถูกหรือผิดไม่คำนึง แล้วก็เพลินในความเห็น และความเป็นของตน จนถือว่าเป็นมรรคผลที่น่าอัศจรรย์ของตน และของพระศาสนาด้วย ทั้งนี้แม้จะมีท่านที่มีความรู้ความสามารถในทางนี้.. มาตักเตือนก็ไม่ยอมฟังเสียเลย เหล่านี้เรียกว่าเป็นมิจฉาสมาธิโดยเจ้าตัวไม่รู้สึก
ส่วนสัมมาสมาธิเล่าเป็นอย่างไร ? และจะปฏิบัติวิธีใดจึงจะเป็นไปเพื่อความถูกต้อง ข้อนี้มีผิดแปลกกันอยู่บ้างคือ เมื่อนั่งทำสมาธิจิตรวมลงพักอยู่ จะเป็นสมาธิประเภทใดก็ตาม และจะพักอยู่ได้นานหรือไม่นาน ข้อนี้ขึ้นอยู่กับสมาธิประเภทนั้น ๆ ซึ่งมีกำลังมากน้อยต่างกัน จงให้พักอยู่ได้ตามขั้นของสมาธินั้น ๆ โดยไม่ต้องบังคับให้ถอนขึ้นมา ปล่อยให้พักอยู่ตามความต้องการแล้วถอนขึ้นมาเอง
แต่เมื่อจิตถอนขึ้นมาจากสมาธิแล้ว จงพยายามฝึกค้นด้วยปัญญา จะเป็นปัญญาที่ควรแก่สมาธิขั้นไหนก็ต้องพิจารณาไตร่ตรองดูตามธาตุขันธ์ จะเป็นธาตุขันธ์ภายนอกหรือภายในไม่เป็นปัญหา ขอแต่พิจารณาเพื่อรู้เหตุผลเพื่อแก้ไขหรือถอดถอนตนเองเท่านั้น... ชื่อว่าถูกต้อง
จงใช้ปัญญาพิจารณาสภาวธรรมทั้งภายในทั้งภายนอก หรือจะเป็นส่วนภายในโดยเฉพาะ หรือจะเป็นส่วนภายนอกโดยเฉพาะ พิจารณาลงในไตรลักษณ์ จะเป็นไตรลักษณ์ใดก็ได้จนชำนาญและแยบคาย จนรู้ช่องทางเอาตัวรอดไปได้โดยลำดับ
เมื่อพิจารณาจนรู้สึกอ่อนเพลีย จิตอยากจะเข้าพักในเรือนคือสมาธิ ก็ปล่อยให้พักได้ตามความต้องการ จะพักนานหรือไม่นานไม่เป็นปัญหา จงพักอยู่จนกว่าจิตจะถอนขึ้นมาเอง เมื่อจิตถอนขึ้นมาแล้ว จงพิจารณาสภาวธรรม.. มีกายเป็นต้นตามเคย นี่เรียกว่าสัมมาสมาธิ และพึงทราบว่าสมาธิเป็นเพียงที่พักชั่วคราวเท่านั้น จิตมีกำลังแล้วถอนขึ้นควรแก่การพิจารณาต้องพิจารณา
ทำอย่างนี้โดยสม่ำเสมอ สมาธิจะเป็นไปเพื่อความราบรื่น ปัญญาจะเป็นไปเพื่อความฉลาดเสมอไป จะเป็นไปเพื่อความสม่ำเสมอทั้งด้านสมาธิและด้านปัญญา เพราะสมาธิเป็นคุณในทางหนึ่ง ปัญญาเป็นคุณในทางหนึ่ง...”
ลัก...ยิ้ม
02-05-2013, 17:50
การฉันในวัดป่าบ้านหนองผือ
หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต วัดภูจ้อก้อ จังหวัดมุกดาหาร เป็นพระอีกรูปหนึ่งที่จำพรรษาที่วัดป่าบ้านหนองผือในครั้งนั้น ปรารภถึงการเตรียมการฉันในตอนหนึ่งของหนังสือชีวประวัติ ดังนี้
“...ย้อนมาปรารภในการเตรียมจะฉันหรือฉันอยู่ก็ดี ธรรมดานอกพรรษา ต้องมีการแจกอาหารในศาลาโรงฉัน จิปาถะขลุกขลุ่ย พระองค์ใดเป็นห่วงบาตรตนเองในยามเตรียมจัดแจงกัน ไม่ประเปรียว หูหลักตาไวช่วยแจก เกรงแต่หมู่ไม่ให้ นั่งเฝ้าบาตร องค์นั้นแหละ.. ต้องถูกเทศน์อย่างหนักในขณะนั้นด้วย
ถ้าองค์ไหนยอมเสียสละในใจ ว่าถ้าหมู่ไม่พอเอาใส่ให้เรา เราก็ไม่ต้องฉัน เราจะพอใจช่วยแจกช่วยทำกิจอันเกี่ยวกับพระอาจารย์ และหมู่เพื่อนให้เรียบร้อย เสร็จแล้วจึงมานั่งเฝ้าบาตรตน ผู้ใดปฏิบัติอย่างนั้นเป็นมงคลในสำนัก แม้ถึงคราวพลาด ถูกเทศน์ในเรื่องอื่น ๆ ก็ไม่ถูกแรงนัก เพราะอำนาจความกว้างขวางในสำนัก เป็นเครื่องดึงดูดทำให้เรื่องอื่นผ่อนคลายไปในตัว และก็เป็นที่สะดวกของครูบาอาจารย์ และหมู่เพื่อนด้วย แม้ปัจจัยสี่ จีวร เสนาสนะ เภสัช เจ้าตัวก็ต้องปล่อยให้เป็นเรื่องของครูบาอาจารย์และหมู่เพื่อนจะสงเคราะห์ตน โดยตนไม่ต้องพิถีพิถัน ภิกษุสามเณรใดปฏิบัติแบบนี้ในสำนัก เป็นธรรมวินัยอันลึกซึ้ง ด้วยเป็นที่เกรงขามของหมู่เพื่อนในตอนนี้อีก
จะกล่าวถึงในเวลากำลังแจกอาหารอีก สภาพศาลาฉันในวัดป่าบ้านหนองผือ สมัยนั้นเป็นศาลามุงหญ้าคาและปูฟาก กว้างประมาณสี่เมตร ยาวประมาณห้าเมตร ใช้กระโถน กระบอกไม้ไผ่บ้าน เวลากำลังแจกอาหารต้องนอนกระโถนไว้เรียบ ๆ ก่อน แจกอาหารแล้วจึงตั้งกระโถนขึ้นได้ เพราะฟากขลุกขลัก เดินไปมากระโถนจะล้ม
ในขณะกำลังฉัน.. เงียบสงัดมาก ไม่มีองค์ใดจะเคี้ยวฉันอันใดให้มีเสียงกร๊อบ ๆ แกร๊บ ๆ เลย เช่น ถั่ว มะเขือแดง ที่ได้ฉันเป็นบางยุคบางสมัย เมื่อเฉือนเป็นชิ้น ๆ แล้วก็ตาม เมื่อมือหยิบส่งเข้าประตูปากแล้วก็ต้องสำนึกว่า เมื่อเราเคี้ยวพรวดลงทีเดียวจะมีเสียงกร๊อบหรือไม่ ถ้าเห็นว่าจะไม่มีเสียงกร๊อบแล้ว เราจึงเคี้ยวพรวดลงทีเดียว
ถ้าเห็นว่าจะมีเสียงกร๊อบก็ค่อยเน้นลงให้บุบก่อนจึงเคี้ยวต่อไป ข้อนี้พระอาจารย์มหาบัวบอก ข้าพเจ้าจึงได้รู้วิธีปฏิบัติ พระวินัยก็บอกไว้ไม่ให้ฉันดังจั๊บ ๆ หรือซูด ๆ แต่ดังกร๊อบมันก็ผิดเหมือนกัน เพราะมันคงเหมือนหมาเคี้ยวกระดูก หรือเสือกัดกระดูก...
ลัก...ยิ้ม
07-05-2013, 09:13
ตอนฉันอาหารเสร็จ พระอาจารย์ใหญ่ไปส้วมถ่าย ส้วมนั้นเป็นส้วมแบบโบราณ.. ขุดหลุมลึกประมาณสามเมตร ถวายเฉพาะองค์ท่าน กว้างเมตรเจ็ดสิบห้าเซ็นต์ฯ ส้วมแบบโบราณมีรางปัสสาวะ ครั้นองค์ท่านเข้าไปถ่าย ถอดรองเท้าเรียงคู่ไว้เรียบ ๆ ไม่ผินหน้าผินหลัง เปิดประตูแบบมีสติไม่ตึงตัง ปัสสาวะลงในรางปัสสาวะแล้วเทน้ำลงล้าง ถ่ายเสร็จแล้วชำระด้วยใบตองกล้วยแห้งที่พันไว้เป็นกลม ๆ ยาวคืบกว่าที่ลูกศิษย์จัดทำไว้ เพราะองค์ท่านเป็นโรคริดสีดวงทวาร ในยุคนั้นไม่มีกระดาษชำระ
กระดาษที่มีหนังสือชาติใด ๆ ก็ตาม องค์ท่านไม่เหยียบ ไม่เอาลงในกระโถน ไม่เอาเช็ดทวารหนักทวารเบา องค์ท่านเคยอธิบายบ่อย ๆ ว่า หนังสือชาติใดก็ตาม สามารถจารึกคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทั้งนั้น จึงควรเคารพยำเกรง
เมื่อถ่ายเสร็จแล้ว องค์ท่านปัดกวาดเรียบค่อยเปิดประตูเบา ๆ ออกมาโดยสภาพไม่ตึงตัง น่าเลื่อมใสถึงใจมาก ... ถ่ายเสร็จเรียบร้อยทุกประการก็กลับพักกุฏิขององค์ท่าน ทำกิจธุระด้านภาวนาเฉพาะองค์ท่าน...”
ลัก...ยิ้ม
17-05-2013, 11:15
ข้อปฏิบัติต่อหลวงปู่มั่น
อาจารย์นักปราชญ์ ลูกศิษย์ก็บัณฑิต
หลวงปู่หล้ากล่าวถึงข้อวัตรโดยรวมและข้อปฏิบัติต่อหลวงปู่มั่นในครั้งนั้น ดังนี้
“...ครั้นถึงเวลาบ่ายหนึ่งโมงกว่า ๆ องค์ท่านก็ลงจากกุฏิเปลี่ยนอิริยาบถบ้าง บ่ายประมาณสี่โมงเย็นก็กวาดลานวัดพร้อมกัน ไม่มีองค์ใดจะใช้กลเม็ดหลีกเลี่ยงได้ เว้นแต่ป่วยไข้ไม่สบาย หรือได้เฝ้าพยาบาลภิกษุไข้อยู่เท่านั้น
กวาดลานวัดแล้วก็รีบหาบน้ำฉันน้ำใช้ไว้เต็มตุ่มไห ประมาณวันละสี่สิบปีบเป็นเกณฑ์ วันซักผ้าและวันมีอาคันตุกะมาพักมากก็ตักมากกว่า รีบหาบเรียบร้อยแล้ว ก็รีบไปสรงถวายหลวงปู่มั่น เสร็จแล้วกลับไปสรงกุฏิใครกุฏิมัน ไม่ได้รวมกันไปสรงที่บ่อ แต่บ่อน้ำก็ไม่ไกลอยู่ในวัด ริมวัด
น้ำในบ่อก็ไม่ขาดแห้งเลยสักที เป็นน้ำจืดสนิทดีพร้อมทั้งใสสะอาดเยือกเย็นด้วย มีรางไม้กว้าง ๆ เทใส่รางมีผ้ากรอง พระอาจารย์มหาบัวได้ดูแลเป็นหัวหน้า แต่มิได้ให้องค์ท่านตักและหาบ เพียงเป็นนายหมวดนายหมู่ดูแล ในตอนที่ว่าน้ำ ๆ ฟืน ๆ ก็เหมือนกัน...”***
หลวงปู่หล้ากล่าวถึงวิธีปฏิบัติต่อหลวงปู่มั่นที่ละเอียดลออเหมาะสม มักได้รับคำแนะนำจากองค์หลวงตา (หลวงปู่มหา) อยู่เนือง ๆ ดังนี้
“...เมื่อองค์ท่านวิการในธาตุขันธ์ผิดปกติ ได้ถ่ายตอนกลางคืนลงที่หลุมใต้ถุน ให้รีบเก็บด้วยมือ โดยเอามือกอบใส่บุ้งกี๋ที่เอาใบตองรองแล้วเอาขี้เถ้ารองอีก กอบอุจจาระจากหลุมมาใส่บุ้งกี๋นั้น ส่วนหลุมนั้นเอาขี้เถ้ารองหนา ๆ ไว้ แล้วมีฝาปิดไว้ตอนกลางวัน ค่ำมืดแล้วรีบไปเปิดไว้...
เช้ามืดรีบไปตรวจดูแบบเงียบ ๆ เมื่อเห็นรอยถ่ายก็รีบเก็บ รีบล้างมือด้วยขี้เถ้าและน้ำมันก๊าด ตัดเล็บมือไว้ให้เรียบ ข้อที่เอามือกอบออก หลวงปู่มหาบอก แต่ว่าไม่ได้บอกต่อหน้าหลวงปู่มั่น บอกว่า ‘ครูบาอาจารย์ชั้นนี้แล้ว ไม่ควรเอาจอบเสียมนะ ควรเอามือกอบเอา’ ดังนี้ ย่อมเป็นมงคลล้ำค่าของข้าพเจ้า...
*** :4672615: หมายความว่า "ทั้งการหาบน้ำทั้งการหาฟืนก็ทำคล้ายคลึงกัน มีหลวงตามหาบัวเป็นผู้กำกับดูแลเช่นกัน" ครับ
ลัก...ยิ้ม
17-05-2013, 17:53
เมื่อคราวซักหรือย้อมถวายองค์ท่าน เราก็ต้องอยู่กองย้อม กองซัก กองตาก กองพับไว้ กองตัด (คือ) หลวงปู่มหา กองเย็บ (คือ) ท่านอาจารย์วัน กองถวายยาแก้โรค (คือ) ท่านอาจารย์วัน (และ) อาจารย์ทองคำ ปูที่นอนและเอาบาตรไว้ (คือ) อาจารย์วัน (และ) อาจารย์ทองคำ
หลวงปู่ให้อุบาย ข้าพเจ้าปูที่นอนต่อหน้าพระอาจารย์วันว่า ‘ท่านหล้าปูที่นอนกับเขาไม่เป็น เอาแต่ของหยาบ ๆ หนัก ๆ’ พูดเย็น ๆ เบา ๆ แต่ข้าพเจ้าก็เก็บไว้เฉพาะส่วนตัว ในสมัยนั้นถ้าหากว่าเล่าให้อาจารย์มหาฟัง ท่านอาจารย์มหาก็จะต้องให้ปูจริง ๆ
มีอยู่ข้อหนึ่งที่อดไม่ได้ ได้เล่าถวายท่านอาจารย์มหาฟัง คือมีพระองค์หนึ่งปูที่นอนถวายหลวงปู่มั่น ทั้งปูทั้งเหยียบไปมาเต็มเท้า บริขารขององค์ท่านบางชนิด เช่น กระป๋อง ยาสูบ ก็ข้ามไปข้ามมา ข้าพเจ้าอดไม่ได้ก็เล่าถวายท่านอาจารย์มหา ท่านอาจารย์ก็หาอุบายสังเกตก็พบจริง จึงพูดขึ้นว่า
“หมู่ทำแบบไม่มีสูงมีต่ำแบบนี้ ผมไม่เหมาะหัวใจ ปล่อยให้คนที่เขาเคารพกว่านี้มาทำจะเป็นมงคล ทำขวางหมู่เฉย ๆ” ดังนี้ แต่นั้นมาพระองค์นั้นก็เข็ดหลาบ
การทำข้อวัตรถวายหลวงปู่ประจำวัน คือไม่ให้หลวงปู่หาอุบายคอยลูกศิษย์ มีแต่ลูกศิษย์คอยเท่านั้น ตอนนั้นพระอาจารย์มหาได้เทศน์หมู่ในยุคหนองผือลับหลังหลวงปู่ ซ้ำ ๆ ซาก ๆ เสมอ ๆ แม้ตัวของผู้เขียนอยู่นี้ก็ดี ถ้าไม่มีหลวงปู่มหาควบคุมในยุคนั้น ก็มักจะตีความหมายไม่ออกหลายเรื่องอยู่ เพราะบางเรื่องลึกลับจนมองไม่ออก เมื่อองค์ท่านมีโอกาสลับหลังมาอธิบายให้ฟัง ก็เท่ากับของคว่ำอยู่แล้วหงายขึ้น
สำหรับองค์ท่าน (หลวงปู่มหา) ในสมัยนั้นต้องมีภาระหนักใจกว่าองค์อื่น แต่ด้วยความศรัทธาและพอใจก็เลยกลายเป็นเบาลง (เหตุผลของท่านก็คือ)
ก. ด้านธรรมะส่วนตัว เพราะเราหลายพรรษา ทั้งชื่อใหญ่เป็นมหาด้วย
ข. ด้านเกี่ยวกับหลวงปู่ เพราะเราเคารพและรักท่านมาก ๆ
ค. ด้านบริหารหมู่ เพื่อแบ่งเบาหลวงปู่
ง. ด้านญาติโยม เพื่อให้รู้จักความหมายของหลวงปู่.. จิปาถะสารพัดทุก ๆ ด้าน
ลัก...ยิ้ม
21-05-2013, 09:38
ท่านเคยเล่าให้ผู้เขียนฟังบ่อย ๆ ในยุคนั้น เพราะเข้าใกล้พระอาจารย์ใหญ่ขนาดไหน ก็เข้าใกล้หลวงปู่มหาขนาดนั้น องค์ท่านฉลาดมาก บอก (ผู้เขียน) ไว้ว่า
‘ถ้าวันไหนจะไม่ทันหลวงปู่มั่นในข้อวัตรขององค์ท่าน อย่ามาล้างกระโถนผม อย่ามาเอาบาตรผมลงไปศาลา จงรีบให้ทันข้อวัตรขององค์หลวงปู่ก็แล้วกัน เพราะองค์ท่านจะวิจารณ์ว่ามาเป็นคณาจารย์แข่งกัน เพราะข้อวัตรขององค์ท่านมีมาก’
แต่องค์ท่านฉลาดรีบออกห้องก่อนหลวงปู่มั่นตอนเช้า เรามีเวลาไปล้างกระโถนไม้ไผ่ถวายให้ และได้เอาบาตรลงมาไว้ศาลาถวาย ส่วนบาตรตนเองเอาลงไปก่อน (ตั้ง) แต่ยังไม่ได้อรุณ ต้องคล่องว่องไวจึงได้ วิชาเกียจคร้าน วิชาหลับกลางวัน วิชาเกรงจะไม่ได้ฉันของดี ๆ และมาก ๆ และเกรงจะไม่ได้ใช้บริขารดี ๆ ก็ไม่มีในสมัยนั้น...”
หลวงปู่หล้ากล่าวถึงการประชุมกันที่กุฏิหลวงปู่มั่นในตอนเย็น ดังนี้
“...หนึ่งทุ่มประชุมกันที่กุฏิหลวงปู่มั่น ผู้ที่ไปทำแต่ข้อวัตรครูบาอาจารย์ และส่วนรวมบริบูรณ์ก็ตาม (แต่ถ้า) ถามเรื่องภาวนาไม่ได้ความก็ถูกเทศน์หนักอีก ผู้เขียนปีแรกถูกเทศน์หนักสามครั้ง แต่คนละเรื่องมิใช่เรื่องเก่า ปีที่สอง ที่สาม ที่สี่.. เงียบไม่มีเลยก็ว่าได้
แต่ธรรมเนียมนักปฏิบัติย่อมถือกันว่า ถ้าเทศน์องค์ใดเป็นต้นเหตุก็ให้ถือว่าเทศน์หมดวัด ถ้าไม่น้อมลงอย่างนั้นแล้ว มานะความถือตัวจะกำเริบโดยไม่รู้ตัว แม้เมื่อถูกชมก็เหมือนกัน ถือว่าชมหมดทั้งวัด ... น้อมอย่างนี้ คือถ้าใครทำอย่างนี้ก็จะต้องถูกติเตียนอย่างนี้ไม่เลือกหน้า ถ้าใครถูกอย่างนี้ก็ต้องถูกชมอย่างนี้ เรียกว่าน้อมลงมาใส่ตนนี้ (คือ) ที่หลวงปู่มหาเคยอธิบายในยุคนั้น...”
ลัก...ยิ้ม
22-05-2013, 11:41
พระตายไปพรหมโลก
ระยะที่หลวงปู่มั่นพักอยู่วัดป่าบ้านหนองผือในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ท่านเล่าว่ามีพระตายในวัด ๒ องค์ ตายบ้านนาในอีก ๑ องค์ ดังนี้
...องค์แรกอายุราวกลางคน ท่านองค์นี้ (พระอาจารย์เนียม ๑๘ พรรษา) บวชเพื่อปฏิบัติโดยเฉพาะ และปฏิบัติอยู่กับท่านแบบเข้า ๆ ออก ๆ เรื่อยมาแต่สมัยท่านอยู่เชียงใหม่ และติดตามท่านจากเชียงใหม่มาอุดรฯ สกลนคร แล้วมามรณภาพที่วัดหนองผือ (แรม ๗ ค่ำ พฤษภาคม ๒๔๘๙)
ทางด้านจิตตภาวนา ท่านดีมากทางสมาธิ ส่วนทางปัญญากำลังเร่งรัดโดยมีท่านเป็นผู้คอยให้นัยเสมอมา
ท่านมีนิสัยเคร่งครัดเด็ดเดี่ยวมาก เทศน์ก็เก่งและจับใจเพราะมากทั้งที่ไม่ได้หนังสือสักตัว เทศน์มีปฏิภาณไหวพริบปัญญาฉลาด สามารถยกข้อเปรียบเทียบมาสาธกให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่าย ๆ แต่น่าเสียดายที่ท่านป่วยเป็นวัณโรค กระเสาะกระแสะมานาน
ท่านถึงกาลมรณะที่วัดหนองผือ ตอนเช้าเวลาประมาณเจ็ดโมงเช้า ด้วยท่าทางอันสงบสมเป็นนักปฏิบัติทางจิตมานานจริง ๆ เห็นอาการท่านในขณะจวนตัวและสิ้นลมแล้ว เกิดความเชื่อเลื่อมใสในท่าน และในอุบายวิธีของจิตที่ได้รับการฝึกอบรมมาเท่าที่ควรก่อนจะมาถึงวาระสุดท้าย ซึ่งเป็นขณะที่ต้องช่วยตัวเองโดยเฉพาะ ...
ขณะท่านองค์นั้นจะสิ้นลม พ่อแม่ครูอาจารย์มั่นและพระสงฆ์ซึ่งกำลังจะออกบิณฑบาต ได้พากันแวะเข้าไปปลงธรรมสังเวชที่กำลังแสดงอยู่อย่างเต็มตา พอท่านสิ้นลมแล้วชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งเป็นขณะที่พ่อแม่ครูอาจารย์มั่นกำลังยืนรำพึงอยู่อย่างสงบ ท่านได้พูดออกมาด้วยท่าทางเคร่งขรึมว่า.. ไม่น่าวิตกกับเธอหรอก เธอขึ้นไปอุบัติที่อาภัสสราพรหมโลกชั้น ๖ เรียบร้อยแล้ว
นับว่าหมดปัญหาไปสำหรับท่านในครั้งนี้ แต่เสียดายอยู่หน่อยหนึ่ง ถ้าท่านมีชีวิตเร่งยึดเวลา เร่งปฏิบัติให้มากยิ่งกว่านี้บ้างก็มีหวังได้ขึ้นพรหมโลก ๕ ชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่งแล้วเตลิดถึงที่สุดเลย ไม่ต้องกลับมาวกเวียนในวัฏฏวนนี้อีก...
หลวงปู่หล้าบันทึกเรื่องนี้ไว้เช่นกันว่า
พระอาจารย์เนียมเป็นคนบ้านโคกนามน จังหวัดสกลนครนั้นเอง ไม่ใช่อื่นไกลเลย และหลวงปู่มั่นปรารภเปิดเผยต่อพระเณรในยุคนั้น ขณะนั้นว่า
ท่านเนียมเป็นพระโสดาบันแล้วไปเกิดชั้นหก อาภัสสรา...
ลัก...ยิ้ม
28-05-2013, 09:47
พระสาวก... ครั้งพุทธกาล
พระวังคีสะเคาะกะโหลกพระอรหันต์
“...พระวังคีสะ ท่านเก่งมากในการที่ดูจิต ผู้ที่ตายแล้วไปเกิดในภพใดแดนใดตั้งแต่ท่านเป็นฆราวาส ใครตายก็ตาม จะว่าท่านเก่งทางไสยศาสตร์นั่นแหละ เวลาใครตายเขานำเอากะโหลกศีรษะมาให้เคาะ ป๊อก ๆ ๆ กำหนดดูทราบว่าอันนั้นไปเกิดที่นั่น ๆ เช่น ไปเกิดเป็นสัตว์นรกก็บอก ไปเกิดในสวรรค์ก็บอก ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ไปเกิดเป็นเปรตเป็นผีอะไร ท่านบอกหมด ไม่มีอัดมีอั้น บอกได้ทั้งนั้น ขอให้ได้เคาะกะโหลกศีรษะของผู้ตายนั้นก็แล้วกัน
พอท่านวังคีสะได้ทราบจากเพื่อนฝูงเล่าให้ฟังว่า พระพุทธเจ้ายังเก่งกว่านี้อีกหลายเท่า ท่านอยากได้ความรู้เพิ่มเติม จึงไปยังสำนักพระพุทธเจ้า เพื่อขอเรียนวิชาแขนงนี้เพิ่มเติมอีก พอไปถึง พระพุทธเจ้าท่านก็เอาศีรษะพระอรหันต์มาให้เคาะ
‘เอ้า... ลองดูซิ ไปเกิดที่ไหน ?’
เคาะแล้วฟัง เงียบ เคาะแล้วฟัง เงียบ คิดแล้วเงียบ กำหนดแล้วเงียบ ไม่ปรากฏว่าเจ้าของกะโหลกศีรษะนี้ไปเกิดที่ไหน..! ท่านจนตรอก.. ! ท่านพูดสารภาพอย่างตรงไปตรงมาว่า
‘ไม่ทราบที่เกิด’
นี่ยกเรื่องจิตที่ไม่เกิดขึ้นมา กะโหลกศีรษะของท่านผู้บริสุทธิ์แล้ว เคาะเท่าไรก็ไม่รู้ว่าไปเกิดที่ไหน ทั้ง ๆ ที่พระวังคีสะแต่ก่อนเก่งมาก แต่จิตที่บริสุทธิ์แล้วหาที่เกิดไม่ได้ ... จะขุดจะค้นจะพิจารณาเท่าไร หรือพลิกแผ่นดินค้นหาวิญญาณท่านก็ไม่เจอ มันสุดวิสัยของ “สมมุติ” แล้วจะเจออย่างไร..! มันเลยวิสัยของคนที่มีกิเลสจะไปทราบอำนาจจิตของพระอรหันต์ท่านได้...”
ลัก...ยิ้ม
03-06-2013, 17:58
หลวงปู่มั่นรู้ พระจะตายอีก
ปี ๒๔๘๙ กลางพรรษา ท่านอาจารย์สอ สุมงฺคโล นักธรรมเอก พรรษา ๙ เป็นพระบ้านศรีฐาน จังหวัดยโสธร แต่ในสมัยนั้นขึ้นกับอำเภอลุมพุก จังหวัดอุบลราชธานี ท่านเป็นองค์ที่ ๒ ที่ถึงแก่มรณภาพ หลังจากป่วยเป็นไข้ป่าได้ประมาณ ๑ เดือน มีพระองค์หนึ่งพิจารณาเห็นเหตุการณ์ของท่านผู้ป่วย และในเย็นวันนั้น พระองค์นี้ได้ขึ้นไปกราบหลวงปู่มั่น และสนทนาธรรมกันในแง่ต่าง ๆ จนเรื่องวกวนมาถึงท่านผู้ป่วย จึงได้มีโอกาสกราบเรียนเหตุการณ์ที่ตนปรากฏถวายท่านว่า
“คืนนี้ไม่ทราบจิตเป็นอะไรไป กำลังพิจารณาธรรมอยู่ดี ๆ พอสงบลงไป ปรากฏว่าเห็นท่านอาจารย์ (มั่น) ไปยืนอยู่หน้ากองฟืน ที่ใครก็ไม่ทราบเตรียมขนมากองไว้ ว่า ‘ให้เผาท่าน' ... ตรงนี้เอง ตรงนี้เหมาะกว่าที่อื่น ๆ’ ดังนี้
ทำไมจึงปรากฏอย่างนั้นก็ไม่ทราบ หรือผู้ป่วยจะไปไม่รอดจริงหรือ ? แต่ดูอาการก็ไม่เห็นรุนแรงนัก ที่ควรจะเป็นได้อย่างที่ปรากฏนั้น”
พอพระองค์นั้นกราบเรียนจบลง ท่านก็พูดขึ้นทันทีว่า “ผมพิจารณาทราบมานานแล้ว อย่างไรก็ไปไม่รอด แต่เธอไม่เสียที แม้จะไปไม่รอดสำหรับความตาย เหตุการณ์แสดงบอกเกี่ยวกับจิตใจของเธอสวยงามมาก สุคติเป็นที่ไปของเธอแน่ แต่ใคร ๆ อย่าไปพูดเรื่องนี้ให้เธอฟังเด็ดขาด เมื่อเธอทราบเรื่องนี้จะเสียใจ แล้วจะทรุดทั้งกายและเสียทั้งใจ สุคติที่เธอควรจะได้อยู่แล้ว.. จะพลาดไปได้ เพราะความเสียใจเป็นเครื่องทำลาย”
พออยู่ต่อมาไม่กี่วัน ท่านอาจารย์สอก็เกิดปุบปับขึ้นในทันทีทันใดตอนค่อนคืน พอ ๓ นาฬิกากว่า ๆ ก็สิ้นลมไปด้วยความสงบ จึงทำให้คิดเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ว่า พออะไรผ่าน..ท่านคงพิจารณาไปเรื่อย ๆ ในทุกเรื่อง เมื่อทราบเหตุการณ์ชัดเจนแล้ว ก็ปล่อยไว้ตามสภาพของสิ่งนั้น ๆ
ลัก...ยิ้ม
05-06-2013, 11:33
ลาหลวงปู่มั่นธุดงค์
พอออกพรรษาได้สักระยะ ก็เป็นวาระที่พระกรรมฐานผู้มุ่งความสงบจะออกธุดงค์ หาสถานที่วิเวกสงบสงัดทำความพากความเพียร สำหรับเหตุการณ์ในช่วงเวลานั้น หลวงปู่หล้าได้กล่าวถึงการลาหลวงปู่มั่นออกวิเวกขององค์หลวงตาไว้ ดังนี้
“...พอตกถึงเดือนพฤศจิกายน ๒๔๘๙ .. พระอาจารย์มหาบัวก็ดำริจะออกวิเวก โครงการขององค์ท่านจะไม่ไปไกล เพราะจะได้ฟังข่าวสุขทุกข์ของหลวงปู่ใหญ่ (หลวงปู่มั่น) ทุกประการ จะได้เป็นผู้กลับเข้ากลับออกอยู่ ไม่ไปแบบเตลิดเปิดเปิง และหวังว่าจะได้ธรรมะพิเศษมาศึกษากราบเรียนเพิ่มเติม เพราะอายุพรรษาก็มากเข้า ๑๓ พรรษาแล้ว และก็อาลัยหลวงปู่ เกรงผู้อยู่ข้างหลังจะปฏิบัติในสำนักบกพร่อง ทำให้หลวงปู่ไม่สะดวกธรรมะทุก ๆ กรณี แต่ลงท้ายก็เลยตกลงใจไป
ฝ่ายข้าพเจ้า (หลวงปู่หล้า) ก็นึกอยากจะไปกับองค์ท่านด้วย หลวงปู่ก็รู้จักแล้ว และหลวงปู่ได้เทศน์อยู่บ่อย ๆ ว่า ‘ใครออกวิเวกปีนี้กลับมา เมื่อถูกถามไม่ได้ความในด้านภาวนาจะไม่ให้อยู่จำพรรษาด้วย’
ต่อไปในอนาคต ถ้าไปวิเวกจริง.. ถามก็ต้องได้ความแท้ ไม่น้อยก็ต้องมาก แต่ไปวิ่งวุ่นเสียเป็นส่วนมาก เพราะไปเที่ยวเล่นตามสำนักเฉย ๆ
การไปวิเวกในสมัยนั้นไปในดงในป่า ในโคก ในดอน ในภูเขาได้ทั้งนั้น เพราะไม่มีสิ่งที่สงสัยกันในการเมือง ขอแต่กล้าหาญไม่กลัวเสือ สัตว์ป่านานาชนิดเท่านั้น การไปองค์เดียวเป็นชั้นที่หนึ่ง ไป ๒ องค์เป็นชั้นที่สอง ไป ๓ องค์เป็นชั้นที่สาม ไปมากกว่านั้นอยู่วัดดีกว่า เพราะถือกันว่าวุ่นวายไม่สะดวกได้
มีปัญหาว่า ‘พระอาจารย์มหาบัวนั้น หลวงปู่มั่นก็เกรงว่าจะไปเที่ยวเล่นดอกหรือ ! จึงปรารภอย่างนั้น ?’ แก้ว่า ‘ปรารภเพื่อพวกอื่น บุคคลอื่นต่างหาก เพราะปีนั้นจะออกวิเวกหลายพวกอยู่’
ลัก...ยิ้ม
07-06-2013, 11:42
ครั้นล่วงเวลามาอีก ๒ - ๓ วัน ท่านอาจารย์มหาบัวขึ้นไปกราบเรียนหลวงปู่มั่นว่า
‘เกล้าฯ นึกจะไปเที่ยววิเวกจะเป็นประการใด และการงานที่จะใช้เกล้าฯ พาหมู่ทำนั้นยังมีอะไรอยู่บ้างหนอ เกล้าฯ จะพาหมู่ทำเสร็จแล้วจึงจะไป ถ้ามีงานจำเป็นอยู่ เกล้าฯ จะรออยู่ก่อน’
หลวงปู่มั่นท่านตอบว่า ‘จีวรกาลเราก็เสร็จแล้ว ฟืนเราก็บริบูรณ์แล้ว แต่บูรณะกุฏิซ่อมแซมหลังคาและเอาฟืน ถึงเดือนกุมภาพันธ์จึงพากันจัดทำ วาระนี้จะไปก็ไปได้’
พระอาจารย์มหาบัวกราบเรียนท่านว่า ‘ถ้าไปจะไปวันไหน และทิศทางใดหนอจึงจะวิเวกพอควร’
หลวงปู่มั่นตอบว่า ‘ถ้าสะดวกใจตนจะไปวันไหนก็ได้ ไปทางทิศตะวันออกก็มีที่วิเวกดี พอควรอยู่นะ’
แล้วพระอาจารย์มหาบัวก็กราบลากลับกุฏิของตน แต่ไม่ถึงวันจะไป เป็นเพียงไปกราบศึกษาให้หลวงปู่มีสิทธิ์ ถึงวันจะไปจริงท่านจึงจะไปกราบลาใหม่
ข้าพเจ้า (หลวงปู่หล้า) ได้สำเหนียกว่า ‘ลูกศิษย์ที่มีครูไปลาอาจารย์ เพื่อเที่ยวแสวงหาวิเวกเป็นธรรมะลึกซึ้ง เป็นเชิงปรึกษาให้เกียรติอาจารย์ ให้ความเป็นใหญ่ไว้เสมอด้วยเคารพ ไม่ตัดสินเอาแต่ตัวตามอัตโนมัติ เป็นเยี่ยงอย่างอันดีของฝ่ายปฏิบัติ ไม่ข้ามไม่เกิน ไม่อวดดีอะไร
อาจารย์ก็นักปราชญ์ ลูกศิษย์ก็บัณฑิต สมัยปัจจุบันนี้หาได้ยากแท้ ๆ หนอ เพราะโดยมากลูกศิษย์ตกลงเอาเองหมดแล้ว เป็นเพียงมาลาไปเฉย ๆ บางรายกรุ่นให้อาจารย์อย่างไม่อาย เวลาไปไม่มาลาซ้ำอีก กลายเป็นปฏิบัติแบบเปรต แบบผีไปอีก นึก ๆ แล้วก็น่าสังเวชมาก’
ลัก...ยิ้ม
18-06-2013, 10:06
หลวงปู่หล้าขอติดตามไปด้วย
หลังจากที่องค์หลวงตากราบเรียนปรึกษาเรื่องลาวิเวกกับหลวงปู่มั่น ประมาณ ๓ วัน หลวงปู่หล้าก็ไปเข้ากราบลาองค์ท่านเพื่อเตรียมออกวิเวกบ้าง หลวงปู่หล้าเล่าเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า
“...ข้าพเจ้าก็เตรียมพร้อมแล้ว เรียนท่านอาจารย์มหาว่า ‘กระผมจะต้องขึ้นไปกราบลาหลวงปู่หรือไม่หนอ ?’
พระอาจารย์มหาตอบว่า ‘ถ้าไปกราบลาแต่ผม มันก็ถูกแต่ผม ส่วนท่านก็ผิด เพราะเรื่องของใครของมัน’
ข้าพเจ้ายิ่งเพิ่มเห็นความเป็นธรรมะ.. ระหว่างพระอาจารย์มหายิ่งขึ้นเป็นอันมาก แล้วก็ขึ้นไปกราบลาพร้อมกัน องค์ท่าน.. หลวงปู่ก็ใช้มารยาทอันละมุนละไมแบบเมตตา กราบลาแล้วเตรียมเดินทางไปทางทิศตะวันออกของวัด ตามทางคนบ้าง ทางเกวียนบ้าง มีป่าดงเป็นทิวแถว มีทุ่งนาสลับเล็กน้อย มุ่งตรงไปวัดป่าบ้านพระคำภูอันเป็นวัดร้างเป็นป่าเต็งรังสูง ๆ
ขณะนั้นกำลังหนาวจัดเริ่มเข้า ข้าพเจ้าก็ขอนิสัยกับพระอาจารย์มหา ท่านให้โอกาสสั่งสอนประทับใจว่า
‘เออ เดี๋ยวนี้เราออกมาวิเวกไกลจากครูบาอาจารย์ เราทำความเพียรขนาดอยู่วัด มันก็ไม่สมกับคำที่ว่ามาวิเวก เพราะการอยู่วัดก็เป็นธรรมดาของคนมาก ก็ต้องมีงานจุก ๆ จิก ๆ อันนั้นบ้าง อันนี้บ้าง
นี้สองคนเท่านี้ต้องตัดข้อวัตรให้น้อยลง เพื่อให้มีเวลาภาวนาติดต่อไม่ขาดวรรคไม่ขาดตอน ส่วนน้ำล้างบาตรและน้ำที่ผมจะสรงนั้น ให้คุณคอนมาไว้ที่ไหให้เต็ม ส่วนน้ำดื่มน้ำฉันนั้น ขอให้คุณไปตักมาไว้ใส่กาใส่ตุ่มให้เรียบร้อย ส่วนล้างบาตรนั้น โยมเขาตามมาล้างเอง แล้วผมเช็ดใส่ถลกเอง คุณจึงเอาไปผึ่งแล้วเก็บไว้ให้เรียบร้อย สรงน้ำก็ดี ปัดที่อยู่ปูที่นอนก็ดี ผมทำเอง ที่พักเราก็อยู่ไกลกันพอควรแล้ว คือกุฏิมุงหญ้า กั้นใบไม้ตองกุง ปูฟาก แคบ ๆ พอดีมุ้ง มอดเจาะมอดไชทั้งฟากและใบตองกั้น และขอให้คุณตั้งใจทำความเพียรนะ ไม่จำเป็นอย่าพูดกับผมนะ และอย่าเข้าใจว่าผมรังเกียจ ไปบิณฑบาต ผมไม่ให้ท่านรับดอก เพราะท่านสามสี่วันก็จับไข้ มันเป็นเรื้อรังมาแต่กลางพรรษา’
แล้วก็พักอยู่นั้นเกือบเดือน น้ำใช้น้ำฉันไปตักเอาที่ห้วย เขาทดไว้ไกลจากวัดประมาณ ๓ เส้น ข้าพเจ้าไปคอนมาไว้แต่ตี ๔ ตอนกลางคืนงมมืดไป ไม่ได้จุดไฟเลยเพราะโคมไฟไม่มี
ลัก...ยิ้ม
25-06-2013, 10:36
ท่านพาทำความเพียรไม่หยุดหย่อน ไม่มีกลางวันกลางคืน แต่ข้าพเจ้ามักจับไข้ตอนเที่ยงหรือบ่ายโมง หนึ่งชั่วโมงก็สร่าง แต่ปวดหัวอยู่มับ ๆ แต่ฉันได้ ไปได้ ไม่เพลียนัก ๒ - ๓ วันครั้งหนึ่ง แต่ตอนกลางคืนไม่ค่อยไข้
วันหนึ่ง พระอาจารย์มหาเอายาควินินเคลือบน้ำตาลให้ฉัน ก็เลยฉัน ๖ เม็ดทีเดียว หูดับอยู่ทั้งวัน เลยไม่ฉันอาหาร ปล่อยให้ยาออกฤทธิ์คุ้มได้ ๑๕ วัน.. ไข้อีกอยู่อย่างนั้น แต่ตักน้ำกวาดลานวัดอยู่ พาไข้เดินจงกรมอีก ไข้แบบนั้นก็มี (เป็น) ไข้รากสาด มุทะลุแบบนี้ก็คงจะตายกัน
ครั้นพักทำความเพียรอยู่นั้นประมาณเกือบเดือน พระอาจารย์มหาพาย้ายเข้าไปในดง ไกลจากที่พักเดิมประมาณ ๑๓ เส้น ส่วนน้ำนั้นมาตักเอาที่เก่า ไปบิณฑบาตบ้านพระคำภูตามเดิม เขามาทำร้านให้ ปูไม้กลมเล็ก ๆ กว้างพอดีกลด ไกลจากพระอาจารย์มหาประมาณ ๒ เส้น แต่กรรมบันดาลอีก เขาเอาไม้กลมเล็กมาปูต่างฟากให้นั้น มีไม้น้ำเกลี้ยงปนอยู่ ๒ - ๓ ท่อน พอพักได้ ๓ - ๔ วัน หน้าบวมขึ้นเห็นหน่วยตาลูกตาพอริบหรี่
พระอาจารย์มหาหัวเราะแล้วพูดว่า ยิ่งขี้ร้าย ก็ยิ่งตื่ม (เพิ่ม) ตดเหม็น
แล้วองค์ท่านไปตรวจดูร้าน ก็เห็นไม้น้ำเกลี้ยง ๒ - ๓ ท่อน เขาเอามาลาดปูนอนให้ปนกับไม้อื่นอยู่ จึงคุมให้โยมถอดทิ้งเอาใหม่แทน เมื่อพิจารณาแล้วเขาไม่ได้แกล้งทำ เพราะเป็นเวลาใบไม้ร่วง เขาไม่รู้จักว่าไม้อะไร เห็นเกลี้ยงกลมแล้วก็เอากัน ทั้งทำด่วนด้วย ไม่ได้กั้นไม่ได้มุงอะไรหรอก เช้ามามุ้งก็เปียก กลดก็เปียกตากกับที่เลย นี้การเที่ยวในสงสารแห่งชาติ ๆ ภพ ๆ มันเป็นอย่างนี้...
หมายเหตุจากผู้ตรวจการณ์ : ไม้น้ำเกลี้ยง คือ ไม้รักเขา หรือ ต้นรักที่เอายางมาทาเพื่อปิดทอง ยางรักเป็นอันตรายมาก ถ้าโดนเข้าโดยตรงถึงกับกัดเนื้อแหว่งทีเดียว
ลัก...ยิ้ม
04-07-2013, 11:39
หลวงปู่หล้าพักปฏิบัติอยู่กับองค์หลวงตาได้ประมาณ ๒ เดือนแล้ว การจับไข้ก็ยังกลับคืนมา ไม่พอจะหายขาดแท้ เมื่อเป็นดังนี้ จึงจำเป็นต้องลาไปปฏิบัติคนละแห่ง องค์หลวงตาก็เห็นดีด้วยทั้งหัวเราะทั้งพูดว่า
“ให้ออกไปทุ่งทางสกลนคร ให้ไปกางกลดกางมุ้งอยู่กลางทุ่ง เดินจงกรมภาวนาตากแดดอยู่ ชะรอยธาตุขันธ์มันจะชอบอากาศโปร่ง”
ถึงจุดนี้ หลวงปู่หล้าได้กล่าวถึงความลึกซึ้งขององค์หลวงตา ตั้งแต่ครั้งยังศึกษาอยู่กับหลวงปู่มั่นนั้น แม้เพียงคำปรารภก็เป็นคติแก่ผู้ฟัง ดังนี้
“...ดูคำเทศน์ขององค์ท่าน (พระอาจารย์มหาในครั้งนั้น) ขันมาก เป็นคติไปแบบลึก ๆ ชวนให้หวนคิดพิจารณาจับใจ จึงได้จำไว้ไม่ลืมเลย เพราะธรรมดาองค์ท่านปรารภอะไรเป็นอุบายให้ผู้ฟังมีคติทั้งนั้น ไม่ใช่พูดแบบคติโลกล้วน ๆ มีลีลานัยอยู่ในตัว (เช่น)
แบบหยิกแกมหยอกแบบนี้ ถ้าผู้ฟังล้อเข้าไปแบบเลียปาก จะถูกศอกกลับหลัง เข่าพร้อมนับสิบไม่ลุก
แบบบรรจงตรงไปตรงมานี้ก็แบบหนึ่ง แบบนี้จะฝืนกระเบียดหนึ่งไม่ได้ เพราะได้ทุ่มเทแบบบรรจงแล้ว
แบบขู่ทำท่าทำทาง แบบนี้ต้องนิ่งฟังโดยเคารพ จะอุทธรณ์หรือพูดแก้ตัวในขณะนั้นไม่ได้ ต้องแก้ความประพฤติของตัวลับหลัง ท่านหากสังเกตเองว่า ท่านเทศน์เผ็ด ๆ ร้อน ๆ แล้วมันได้ผลไหม ท่านต้องสังเกตอยู่หลายวัน แต่ผู้ใดโง่ก็เข้าใจว่าท่านไม่สังเกต
แบบปลอบโยนนิ่มนวล แบบนี้มี ๒ นัย นัยหนึ่งหมดหวังหมดวิชาแล้ว ถ้าไม่นิ่มนวลไว้มันจะเพ่งโทษมาก มันจะเป็นบาป แต่ตัดทิ้ง ไม่ยอมสอนอีกต่อไป นิ่มนวลแบบหนึ่งยังจะสอนต่อไปอีกอยู่
แบบทำกิริยาขึงอยู่เป็นนิจ แบบนี้เราต้องทำท่าไม่สนใจว่าท่านขึงใส่เรา เราทำดีเรื่อยไป หากแก้ตกอยู่ในตัว
แบบหนึ่งวางเฉยไม่พูดด้วย แต่ไม่ขึงไม่บึ้ง แบบนี้เราแก้เราไปก็หาย
ลัก...ยิ้ม
09-07-2013, 17:21
ผู้เขียนได้ยินกับหูที่หลวงปู่มั่นเทศน์ว่า “ลูกศิษย์ร้อยคนก็ต้องใช้อุบายร้อยนัย เพราะนิสัยต่างกัน...”
เหตุการณ์ต่อจากนั้น เมื่อได้เวลาท่านทั้งสองจะแยกย้ายไปวิเวกคนละแห่งแล้ว พอบิณฑบาตฉันเสร็จแล้ว องค์หลวงตาก็เขียนจดหมายฝากหลวงปู่หล้าพร้อมกับจ่าหน้าซองว่า “ส่งท่านมหาผ่าน บ้านโพนงาม วัดปริยัติธรรม” มีเนื้อความในจดหมายว่า
ท่านมหาผ่านที่นับถือ
พระองค์ที่ถวายจดหมายนี้ ออกจากสำนักหลวงปู่มั่นมาวิเวก ต้องการพักวิเวกอยู่ในเขตบ้านนี้บ้างตามสมัยเท่าที่จะเป็นไปได้ และก็มิหวังจะกลับเข้าสำนักเดิมแห่งหลวงปู่มั่นอยู่ ฉะนั้น จงกรุณาให้โยมทำที่พักให้ ช่วยเท่าที่เห็นสมควรว่าแห่งใดจะวิเวกพอ
ขอแสดงมาด้วยความนับถือ
บัว ป.
เมื่อรับจดหมายจากองค์หลวงตาแล้ว หลวงปู่หล้าก็กราบลาออกเดินทางต่อไป หลวงปู่หล้าเล่าถึงเหตุการณ์ในตอนนี้อีกว่า
“...ตอนจะออกจากพระอาจารย์มหาบัว ได้กราบวิงวอนองค์ท่านว่า
‘เมื่อพระอาจารย์กลับถึงหลวงปู่มั่นก่อนกระผม กรุณากราบเรียนหลวงปู่ว่า คุณหล้าได้ลาเกล้าฯ ไปที่อื่น ด้วยเกรงใจเกล้าฯ เพราะ ๔-๕ วันจับไข้ อีกอันหนึ่งจะลองดีตนว่า จะกล้าเป็นกล้าตายต่อพระศาสนาเพียงไรดังนี้ หรือพระอาจารย์เห็นดีอันใดเหมาะสมตามเป็นจริง ก็แล้วแต่จะกรุณากราบเรียนเทอญ’
พระอาจารย์มหาย้อนถามคืนว่า ‘คุณเห็นประโยชน์ 'ยังไง' จึงให้ผมกราบเรียนหลวงปู่มั่นอย่างนั้น’
เรียนพระอาจารย์มหาว่า ‘เพราะเกรงหลวงปู่จะเขกว่า คุณหล้าไปวิเวกกับคุณมหา แล้วแตกหนีจากคุณมหาเพราะไม่ลงคุณมหา.. ทิฐิมากเหลือเกิน เราจะไม่ให้คุณหล้าอยู่กับเราอีกต่อไปด้วย ดังนี้ก็อาจเป็นได้ครับ’
พระอาจารย์ยิ้มแล้วพูดว่า ‘เออ คุณพูดมีเหตุผลดี ผมจะกราบเรียนหลวงปู่ตามคำสัตย์ของคุณนั้นเอง’...”
ลัก...ยิ้ม
17-07-2013, 12:06
ลัดหมา
“...ท่านสมเป็นเพื่อนฝูงกันกับเรา นิสัยตรงไปตรงมา เคยกันมาตั้งแต่สมัยเป็นฆราวาส พอบวชมาก็ยังเคยกันอยู่ สนิทกันมาก องค์นี้แหละ.. องค์ที่เคยขู่เรา ... ท่านสมขู่เราจริง ๆ นะ คือทางจงกรม ท่านสมอยู่ทางนั้น ออกมาหาเรานี้ มันตรงแน่วนะ เราอยู่ที่นี่ ท่านสมอยู่ดูจะห่างขนาดนั้นละ ขนาดโรงไฟนั้นละ ทางนี้มันตรงแน่วกว้าง ๆ เราก็อยู่ทางนี้
ทีนี้ หมามันมาเที่ยวเพ่นพ่านกำลังค่ำมืด แถวนั้นก็มีเสือ แต่เราไม่คำนึงถึงเสือยิ่งกว่าการเล่นกับหมาเท่านั้น พอเห็นหมามาจุ้นจ้านค่ำ ๆ กำลังจะมืด ‘เอ๊ะ มันมา ‘ยังไง’ มันมาเที่ยว ?’
เราไปก็ด้อม ๆ ไปจับพุ่มไม้ หมามันอยู่ทางนี้ เราไปหัวจงกรมนี้ จับพุ่มไม้เขย่านี้ หมามันก็วิ่ง ‘สม ๆ ๆ ลัด ๆ***’
ท่านสมก็โดดออกมายืนจังก้าอยู่นั่น ‘ลัดอะไร ๆ’
หมามันก็วิ่งปั๊บ ๆ ๆ ไป วิ่งลอดรักแร้ท่านไป ท่านไม่สนใจกับหมา ยังเถ่ออยู่ เลยไม่ได้ดูหมา ว่าลัดอะไร ๆ ยืนเถ่ออ้าปากอยู่... หมามันก็วิ่งผ่านไปแล้วเราก็ยืนเฉย พอระลึกได้ว่า คงบอกให้ลัดหมาตัวนี้เลยว่า
‘หือ.. ลัดหมาตัวนี้นะเหรอ ?’
เราก็เฉย ท่านเลยว่า ‘อะไร ๆ ก็ไม่มีที่ต้องติท่านอาจารย์ แต่กับหมาไม่ทราบเป็น ‘ยังไง’ การประพฤติปฏิบัตินี้หาที่ต้องติไม่ได้เลย แต่กับหมาไม่ทราบว่าเป็น ‘ยังไง’ ท่านอาจารย์นี่’
ดุเรานะ ปุ๊บเข้าโน่นเลย เราก็เฉย ... ปุ๊บเข้าไปเลย คือโมโหให้เรา แต่เราก็เฉย.. เราไม่ได้โมโห ก็เราเป็นอย่างนั้นจริง ๆ นี่ พอตื่นเช้าขึ้นมาทำท่าลักษณะจะขู่เรานะ มีลักษณะยิ้ม ๆ เราก็เฉย ไปบิณฑบาตคนละบ้าน
ตอนนั้นเราเที่ยวลงมา มาพักที่นั่น เป็นร้านเก่าเขา เราก็มาพักที่นี่ ท่านก็พักที่นั่น ลงมาจากภูเขาว่าจะไปหนองผือนั่นแหละ หากยังไม่ได้ไป....
คงจะโมโหให้เรา เราเฉยไม่สนใจ ก็เรากับหมาเป็นเรื่องของเรา ท่านสมเป็นบ้าก็เป็นเรื่องของท่านสมซิ เราไม่ได้เป็นบ้ากับคน เราเป็นบ้ากับหมาต่างหาก ตอนเช้าบิณฑบาตกลับมา.. ดูลักษณะเหมือนจะขู่แล้วมียิ้ม ๆ นิดหนึ่ง เราก็รู้..หมานั่นแหละ นึกในใจ.. ขู่เรานะ เราก็เฉยอีกเหมือนกัน ก็เราเป็นอย่างนั้นจริง ๆ จะให้ ‘ว่าไง’ ท่านว่าก็ถูกของท่าน ขบขันดี...”
*** หมายเหตุ : แปลว่า ดัก , ขวาง หรือ สกัด
ลัก...ยิ้ม
23-07-2013, 12:24
ชีวิตพระกรรมฐาน
การหาสถานที่เที่ยวกรรมฐานของท่าน มักจะเสาะหาที่วิเวกที่ไม่ไกลจากหลวงปู่มั่นเท่าใดนัก เพื่อเข้าถึงได้เร็วหากมีปัญหาเกิดขึ้นจากการภาวนา การเที่ยวจึงอยู่ในแบบเทือกเขาภูพานเป็นส่วนมาก ดังนี้
“ภูพานนี้เที่ยวแหลกหมด ภูพานระหว่างสกลนครไปถึงกาฬสินธุ์ ภูเขาลูกนี้เราเที่ยวมากที่สุด เพราะพ่อแม่ครูอาจารย์อยู่ทางพรรณานิคม เราก็เที่ยวแถวนั้น อยู่สกลนคร บ้านโคกนามน เราก็เที่ยวแถวนั้น แล้วท่านมาอยู่ทางพรรณานี่ก็เที่ยว เที่ยวตลอดไปหมดเลย เที่ยวป่าเที่ยวเขา เรียกว่ารู้จักภูเขาลูกนี้ไปทั้งนั้นละเรา”
หากกล่าวถึงความทุกข์ ที่ท่านและพระกรรมฐานผู้มุ่งธรรมต้องประสบเสมออย่างหนึ่งก็คือ ทุกข์จากฤดูกาล โดยเฉพาะอากาศในหน้าหนาวทางอีสานนั้น แทบจะนอนไม่ได้เลยทีเดียว ดังนี้
“... อากาศหนาวจริง ๆ เวลาออกวิเวก เพราะไม่นำผ้าห่มติดไปด้วย ใช้แค่จีวรกับผ้าสังฆาฏิพับครึ่งแล้วห่มพอกันหนาวได้บ้าง แต่ถ้าคืนไหนหนาวมากจริง ๆ คืนนั้นนอนไม่ได้เลย ต้องลุกขึ้นนั่งสมาธิภาวนาสู้เอา ตามหน้าตามตา แขน ขา รวมถึงริมฝีปากเหล่านี้.. แตกหมด ตกกระหมด
การอาบน้ำ ต้องรีบอาบตอนกลางวันหลังปัดกวาดใบไม้แล้ว อาบในคลองบ้าง ตามซอกหินซอกผาบ้าง หรือในห้วยในคลอง ที่ไหนพออาบได้ก็อาบ ถ้ากะเวลาก็ประมาณบ่าย ๓ โมง เพราะอาบค่ำนักไม่ได้ อากาศหนาวมากจริง ๆ น้ำก็เย็นมาก ทั้ง ๆ ที่ตอนนั้นยังหนุ่มน้อยอยู่ แต่มันก็ยังหนาวถึงขนาดนั้น...”
สำหรับเรื่องกุฏิที่พักนั้น ท่านให้ชาวบ้านทำเพียงวันเดียวก็เสร็จแล้ว พอใช้หลบแดดหลบฝน ป้องกันชื้นหรือร้อนหนาวได้ก็เพียงพอแล้ว ลักษณะก็ทำเหมือนปะรำโดยเอาใบไม้มาวางทำเป็นร้าน เอาใบไม้วางข้างบน แล้วเอากลดแขวนข้างล่าง ท่านเคยเล่าถึงความหนาวเหน็บในระหว่างการวิเวกในป่าว่า
“...ช่วงหน้าหนาว แม้ว่าทำถึงอย่างนั้นก็ตาม.. น้ำค้างยังคงพัดปลิวเข้ามาถึงได้ เปียกเหมือนกับเราซักผ้านั่นแล เปียกทุกคืนทุกเช้า ดังนั้น พอฉันเช้าเสร็จถึงได้เอาออกไปตากแดด ถ้าตากเช้าไปแดดก็ยังไม่มี ต้องทิ้งไว้นั้นก่อน กางทิ้งไว้อย่างนั้น
พอฉันเสร็จแล้วก็เอามุ้งออกไปตากที่แดด แม้ตากอย่างนั้นทุกวัน ๆ มันก็ยังขึ้นราได้ เป็นจุดดำ ๆ ของรา มันเหมือนกับลายเสือดาวนั่นแหละ ทั้ง ๆ ที่มุ้งสะอาดอยู่ก็ขึ้นรา เนื่องจากมันไม่ได้แห้งตามเวล่ำเวลาของมัน...”
ลัก...ยิ้ม
29-07-2013, 12:13
สำหรับบริเวณใกล้เคียงที่พักนั้น จะมีทางจงกรมหลายสายอยู่ใต้ร่มไม้เพื่อเดินในเวลากลางวัน เพราะช่วงเช้าสายหรือเที่ยงบ่ายนั้น ต้นไม้จะให้แนวร่มต่างกันไป จึงต้องมีทางจงกรมไว้หลาย ๆ สาย สายไหนร่มในช่วงใดก็เดินจงกรมช่วงเวลานั้น
ส่วนในบางที่เป็นที่โล่ง ๆ แจ้ง ๆ ที่ไม่มีต้นไม้ มักใช้เป็นทางจงกรมไว้เดินตอนกลางคืน เผื่อว่าหากมีงู แมงป่อง หรือสัตว์มีพิษอื่น ๆ ผ่านมา ก็จะพอมองเห็นได้เป็นเงาดำ ๆ ท่านไม่ได้จุดไฟตอนเดินจงกรม เพราะในช่วงออกวิเวกนั้น ท่านพกเทียนไขไปนิดหน่อยเท่านั้น หากไม่จำเป็นที่จะต้องจุดจริง ๆ ท่านก็จะไม่จุด
เรื่องยารักษาโรค ท่านว่าไม่ต้องพูดถึง เพราะไม่เคยได้พกไปด้วยเลย ถึงแม้จะเจ็บไข้ได้ป่วย หรือเจ็บท้องปวดศีรษะก็ตาม ท่านมีแต่ใช้การทำภาวนาเท่านั้นเป็นยา เป็นธรรมโอสถอันเลิศ และแท้ที่จริงแล้วในยามปกติ ตอนที่อยู่ในวัดยังไม่ได้ออกวิเวก หากไม่จำเป็นจริง ๆ แล้วท่านก็ไม่นิยมใช้ยาใด ๆ ทั้งสิ้น ท่านเคยอธิบายเหตุผลว่า
“เราไม่ปฏิเสธเรื่องยา แต่สำหรับเรื่องความกังวลจนเกินเหตุเกินผลของสมณะนั้น ผิดทางของพระพุทธเจ้า ผิดทางของผู้จะฆ่ากิเลส ผิดทางของผู้เรียนเพื่อรู้สัจธรรม
เรื่องหยูกยาก็ให้นำมารักษากันไปได้อยู่ แต่ไม่ให้หลงจนเกิดความกังวล อันเป็นเรื่องของกิเลส ท่านไม่ได้มารักมาสงวนชีวิตจิตใจยิ่งกว่าธรรม”
ลัก...ยิ้ม
09-08-2013, 14:42
ท่านเล่าถึงบรรยากาศและสภาพความเป็นอยู่ระหว่างออกเที่ยวกรรมฐาน ดังนี้
“... เราออกเที่ยวกรรมฐานไม่เคยเว้นแต่ละปี พอออกพรรษาแล้วก็ออกไปเที่ยวอยู่ตามป่าเสียก่อน ระยะเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ ไม่ต้องแสวงหาที่มุงที่บังอยู่ตามเชิงเขา เพราะอากาศยังไม่ร้อน เที่ยวอยู่ตามร่มไม้
ถ้าเข้าหน้าร้อน เดือนมีนาคมจะก้าวถึงเดือนเมษายน ขึ้นเขาขึ้นถ้ำ ในถ้ำอากาศเย็น
บางทีเสือมากัดควายอยู่ข้าง ๆ มุ้งก็มีเสียงควายร้องเอิ้กอ๊าก ๆ เราก็เผิงผางออกไปจากมุ้ง ดูว่ามันมาทำอะไรกันอยู่ เสียงเราดังลั่นขึ้น มันก็เลยเงียบไป ลำน้ำอูนทางที่จะต่อเข้าไปหนองผือเป็นดง ฟังเสียงควายร้องข้าง ๆ ริมลำน้ำอูน เสือก็อยู่ทางนี้ ควายก็หากินอยู่ทางนี้ บ้านเขาอยู่ทางนั้น แล้วเราอยู่ฝั่งนี้ คือมันกัดกันใกล้บ้าน
กลางคืนพอฝนกระหน่ำลงมา เสือโคร่งเข้ามากัดควาย เราก็ร้องเวิ้กว้ากขึ้น ทีนี้ลูกควายมันวิ่งเข้าในบ้าน แม่มันถูกเสือกัด แล้วก็ตะเกียกตะกายลงไปริมน้ำอูน ไอ้เสือตัวนี้ก็ไม่กล้าจะตามลงไป
เจ้าของเขาเห็นท่าไม่ดี อ้าว!.. ลูกควายตัวนี้มันมา ‘ยังไง’ ไม่ใช่เสือกัดแม่มันหรือ ? เขาเลยรีบออกมา ออกมาก็พอดีมาเห็นเสือกัดอยู่ข้างนอกนี้ เขาก็เลยมาก่อไฟให้มัน ป้องกันไม่ให้เสือมากัดซ้ำอีก เพราะถ้าไม่มีไฟ เสือมันอาจมา ถ้ามีไฟก็แสดงถึงเครื่องหมายของคน มันก็ไม่มา
ลัก...ยิ้ม
21-08-2013, 09:20
เราอยู่ลำน้ำอูนฝั่งนี้ เสืออยู่ฝั่งโน้น เขาก่อไฟไว้ฝั่งโน้น เราไปพักอยู่บนยอดอูน จริง ๆ อยู่ภูเขาโน้น แม่น้ำอูนไหลออกไป เราไปอยู่ภูเขาเราก็ได้อาศัยน้ำทางน้ำอูน พอบ่ายสามโมงลงมาจากภูเขา มีกระบอกไม้ไผ่กับกาน้ำ กระบอกไม้ไผ่ใส่น้ำเขาเรียก “บั้งทิง”
กาน้ำก็กาไม่ใหญ่ แล้วกระบอกไม้ไผ่ก็ปล้องเดียว สะพายกระบอกน้ำ พอขึ้นไปถึงบนเขาก็ไปอาบเหงื่อเจ้าของนั่นแหละ ลงมาก็ไปอาบน้ำ.. ขึ้นไปก็อาบเหงื่อวันละหน ที่ไปอยู่นั้นเพราะทำเลภาวนาดี แต่น้ำสำคัญมาก ไปอยู่ที่ไหนก็ตามถ้าขาดน้ำอยู่ไม่ได้นะ สถานทำเลถึงจะดีขนาดไหนก็ตาม ถ้าไม่มีน้ำอยู่ไม่ได้ ตอนบ่ายลงไปอาบน้ำ แล้วสะพายกระบอกน้ำกับกาพอดีกับวันหนึ่ง ๆ
ไปอยู่ในที่เช่นนั้น จะว่าได้ชมนิสัยวาสนาบ้างก็น่าจะได้ชม ทุกข์ลำบากลำบนอยู่ในป่าในเขา ไม่มีผู้คน แทนที่จะมีความว้าเหว่กังวลเกี่ยวกับหมู่กับเพื่อน เงียบเลยนะ มีแต่สงัดกับธรรม ๆ นี่เราไปอยู่คนเดียว สงัดอยู่ด้วยธรรม ด้วยอารมณ์ของธรรม ไม่มีอารมณ์ของโลกมาเจือปนเลย มีแต่อารมณ์ของธรรม
กลางคืนเวลามันเงียบจริง ๆ อยู่บนหลังเขาสูง ๆ อากาศละเอียดมาก ร่างกายของเรามันอยู่ที่ละเอียด อากาศก็ละเอียดเหมือนกับว่าคลานเข้ามา มันซึมเข้ามาหาเรา
ลัก...ยิ้ม
29-08-2013, 10:13
เวลาภาวนาเงียบ ๆ เริ่มเข้าที่ภาวนา ได้ยินเสียงหัวใจทำงานตุบตับ ๆ ๆ ได้ยินชัดมาก พอจิตเริ่มเข้าที่ หัวใจทำงานก็หายเงียบไป.. จากนั้นแล้วกายก็หายเงียบไปเลย ยังเหลือแต่ความเวิ้งว้างหมด ร่างกายจะหายไปตาม ๆ กัน คือจิตมันหมดกังวลสิ่งเหล่านี้ มีแต่ความละเอียดของจิต ความละเอียดของจิตหาจุดหาหมายไม่ได้ ร่างกายเป็นส่วนหยาบพอจิตเข้าสู่ตัวเองโดยเฉพาะแล้ว ร่างกายหายเงียบ.. จิตก็เข้าละเอียดสุดขีด ไม่เกี่ยวกับเรื่องร่างกาย
นั่งภาวนากลางคืนหนาว ๆ เข้าสมาธิได้แล้ว.. ความหนาวไม่มีความหมาย ความหนาวหายหมด จนกระทั่งจิตมันได้เวล่ำเวลาของมัน เคลื่อนไหวออกมา พอเคลื่อนไหวออกมามันก็รับสิ่งภายนอกดินฟ้าอากาศ.. เริ่มหนาวอีก พอเริ่มหนาวแล้วจะนอนหนาวมันก็หนาวของมัน เราก็เริ่มนอน นอนไม่หลับสู้หนาวไม่ได้ แล้วกลับมานั่งอีก พอเข้าไปนั้นอีกก็หายเงียบเลย.. แล้วทั้งคืนมันจะตายคนเรา มันไม่ได้เดินมีแต่นั่ง กลางวันต้องกำหนดเวล่ำเวลาเหมือนมีโปรแกรมเชียว กลางวันเดินจงกรมมาก ๆ ...
ประการหนึ่ง คือว่าเราไม่มีผ้าห่ม มีเพียงจีวร สังฆาฏิ สังฆาฏิก็พับครึ่ง จีวรก็พับครึ่งห่มแล้วก็ผ้าอาบน้ำผืนหนึ่งสำหรับเช็ดบาตร มีเพียงเท่านั้น ... เวลาธุดงค์ น้ำท่าก็ไม่มี เจอวัดไหนก็เข้าไปซักผ้า เสร็จแล้วก็ออกมา
จะว่าขวนขวายน้อยหรือไม่ขวนขวายน้อยก็มีเท่านั้น อย่างเป็นของเหลือเฟือขึ้นไปก็มุ้ง กาน้ำ กลด มุ้งกับกลดเวลากางออกแล้วก็เป็นอันเดียวกัน บาตร สังฆาฏิ อะไร ๆ ใส่ในบาตร ไม้ขีดไฟใส่ในบาตรมีเท่านั้น เสร็จแล้วพอดีสะพายเลย...”
ความทุกข์ยากในชีวิตพระธุดงค์ ไม่เพียงต้องเผชิญกับสภาพอากาศและสัตว์ร้ายในป่าเท่านั้น มีไม่น้อยที่ปัญหาเกิดขึ้นจากเพศบรรพชิตด้วยกัน ดังนี้
“พูดถึงกรรมฐานนี้ไปไหนถูกไล่ตลอด พวกเจ้าคณะนี่ละ..ที่ไล่กรรมฐาน แต่เราไม่เคยโดนเลย เอาคำว่ามหาออกหน้า อย่างดีก็เฉียด ๆ ดู ถ้ากล้าก็เข้ามาสิ.. ว่าอย่างนั้นเลย ลองได้ขึ้นเวทีแล้วต้องเอาให้ตกเวที จะเอาธรรมวินัยข้อไหนมาไล่..?”
ลัก...ยิ้ม
03-09-2013, 09:03
เสือ : หมูป่า ต่อสู้ดุเดือด
ประสบการณ์ธุดงค์ทำให้เห็นการต่อสู้ระหว่างเสือกับหมูป่า ทั้งคู่นอนตายอยู่ในบริเวณใกล้ ๆ กัน สภาพหมูป่าตามตัวแหลกหมด ส่วนเสือก็พุงทะลุหมด ด้วยเหตุเพราะไปเจอกันอย่างจังในช่องเขาดังนี้
“... มันเป็นร่องลงมา ภูเขามันมีช่องลง ช่องแคบ ๆ นะ ทางโน้นเป็นหลังเขา ที่จากหลังเขามันก็เป็นช่องแคบลงมา ทีนี้พอดีไอ้หมูก็ขึ้นช่องนี้ หมูใหญ่นะ... มันเห็นกันชัด ๆ อย่างนั้นนะ ไอ้เสือก็ลงมาช่องนั้น พอดีมาพบกันตรงกลางนั้นเลย ฟัดกันเลย นั่นเห็นไหมล่ะ ตายทั้งสองนะ หมูตายอยู่กับที่ เสือเสือกคลานขึ้นไปตายข้างบน ตายทั้งสองเลย นั่นแหละอย่างนั้น กำลังวังชามันฟัดกัน นี่ไปถูกที่คับขันด้วยแล้ว ต่างคนต่างก็ไม่ถอยกัน สู้กันเลย
สุดท้ายก็ตายทั้งสองเลย หมูตายอยู่กับที่ ส่วนเสือตะเกียกตะกายขึ้นไปนั้นก็ตายอยู่ที่นั่น พุงทะลุหมดเลย ลำไส้นี่ปลิวออกมาทะลุหมด ส่วนหมูก็ตามเนื้อตามตัวแหลกหมด เสือกัด ไอ้เสือก็พุงทะลุหมด หมูดัน.. มันทำอย่างนี้นะ หมูมันทำอย่างนี้ สมมุติว่ามันดันอย่างนี้ ไม่ใช่ตกง่าย ๆ นะ มันขวิด ขวิดตลอดเลยนะ นี่ก็ตาย อย่างนั้นแหละ มันไม่ถอยกันง่าย ๆ
ที่เสือกัดมันได้เฉพาะเวลามันเผลอ ถ้าเป็นหมูใหญ่หมูโทนอย่างนั้น เวลามันผ่านไปผ่านมาเราถึงฟังเสียงรู้ หมูนี้รู้สึกว่าไม่ขยาดครั่นคร้ามต่ออะไร เสียงดังโครมคราม โครมคราม โครมครามมา ไม่ได้เก็บเสียงนะ พวกหมูป่าเป็นฝูง ก็มีเสียงดังเหมือนกัน...”
ลัก...ยิ้ม
06-09-2013, 13:09
อาหารป่า
ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพ้นจากทุกข์ให้ได้ ทำให้ท่านไม่เห็นแก่การกินการนอนยิ่งกว่าการทำความเพียร เพื่อรบกับกิเลสภายในจิตใจ จริตนิสัยของท่านในเรื่องภาวนาถูกกับการอดอาหาร เพราะทำให้ธาตุขันธ์ร่างกายเบาสบาย การตั้งสติทำสมาธิภาวนาก็ง่าย สติปัญญาในการแก้กิเลสมีความคล่องตัวกว่าการขบการฉันที่สมบูรณ์ ท่านจึงอดอาหารอยู่เป็นประจำจนร่างกายผ่ายผอม บ่อยครั้งในเวลาเดินบิณฑบาตหรือเดินจงกรมแทบจะก้าวขาไม่ออก แต่ผลการภาวนานั้นกลับเจริญขึ้น ๆ ท่านเคยพูดถึงสภาพจิตใจในระยะนั้นว่า
“จิตใจยิ่งเด่นเหมือนจะเหาะเหินเดินฟ้า ถ้าได้รับอาหารการกินดี มันก็มีแต่อยากนอน มันมีแต่ขี้เกียจขี้คร้าน การตั้งสติก็ยาก การพินิจพิจารณาทางด้านปัญญาก็ยาก...”
ลัก...ยิ้ม
13-09-2013, 09:29
สมัยปัจจุบัน หากท่านเห็นอาหารประเภทที่เคยขบฉันในสมัยหนุ่ม ซึ่งเคยต่อสู้กับกิเลสแบบสมบุกสมบันชนิดรอดเป็นรอดตายมา อาหารนั้น ๆ ก็ยังทำให้สะดุดกึ๊กในใจทุกทีไปเมื่อเห็นเข้า ด้วยรำลึกบุญรำลึกคุณนั่นเอง ดังคำกล่าวของท่านกับพระเณรว่า
“... พวกหน่อไม้ พวกผักอะไร ผักกระโดนกระเดน ผักเครื่องของป่านั่นแหละ มันสะดุด ๆ นะ มันเหมือนกับว่าเป็นคู่มิตรคู่สหาย คู่พึ่งเป็นพึ่งตายกันมาแต่ก่อน มันเป็น มันไม่ได้ชินนี่ ทุกวันนี้ก็ไม่ชิน ผักอะไร เขาเรียกโหระพาระเพอ อะไรหอม ๆ นั่น นั่นก็มีอยู่บนเขานะ มีอยู่ตามน้ำซับน้ำครำ พวกนี้มีแต่มันเป็นเถาวัลย์ มันไม่ใช่เป็นต้นนะ คือมันเป็นเถาเกิดอยู่ตามน้ำซับน้ำครำ... พระกรรมฐานไปอยู่ที่ไหนต้องมีน้ำ ไม่มีไม่ได้ แล้วก็ผักมันมีหลายชนิด
ผักชนิดต่าง ๆ มีเยอะนะในป่า องค์หนึ่งรู้อย่างหนึ่ง นั่นแหละที่ได้กินผักหลายต่อหลายชนิด ก็เพราะองค์หนึ่งรู้อย่างหนึ่ง ๆ เวลาเอามากินน่ะ เคยพบกับเพื่อนกับฝูงหลายจังหวัดต่อหลายจังหวัดนี่นะ องค์นั้นชำนาญกินผักอันนั้น องค์นี้ชำนาญผักอันนั้น ๆ ... หลายองค์ต่อหลายองค์พบกันหลายครั้งหลายหน มันก็จำได้ซิ มันก็กว้างขวางไปเอง...
ลัก...ยิ้ม
18-09-2013, 09:07
บ้านไหนคนนับถือมาก ๆ ยุ่งมาก อาหารการบริโภคมาก เขากวน..ไม่ได้ภาวนา ก็เราหาภาวนาอย่างเดียวนี่ เพราะฉะนั้น ที่เห็นว่าเป็นความสะดวกในการภาวนา เราจึงชอบที่นั่น ก็ที่คนไม่ยุ่งนั่นเอง เมื่อคนไม่ยุ่ง อาหารก็ไม่ค่อยมีแหละ
และนอกจากนั้น ยังไปหาบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ ๓ - ๔ หลังคาเรือนบ้าง ๙ หลัง ๑๐ หลังคาเรือนบ้างก็อยู่อย่างนั้น ถ้าเราไม่ฉันกี่วันนี้ก็ไม่ได้พบคนละ พบแต่เราคนเดียวนี่ เขาก็ไม่มา มาหากันอะไร เขาก็ไม่ใช่เป็นคนยุ่งกับพระด้วย เราก็ไปหาที่เช่นนั้นด้วย ก็อยู่สบาย...”
ลัก...ยิ้ม
02-10-2013, 10:21
กินแบบนักโทษ
ท่านเข้มงวดจริงจังมากกับการควบคุมเรื่องอาหารการขบฉัน เพื่อมิให้มาเป็นโทษ หรือเป็นพิษเป็นภัยต่อการภาวนา ถึงแม้จะทุกข์ยากเพียงใดท่านก็พยายามอดทน ดังนี้
“... ข้าวไม่กินภาวนาก็ยิ่งดี หลายวันกินทีหนึ่ง หลาย ๆ วันถึงกินทีหนึ่ง สมาธิก็แน่ว พอทางขั้นปัญญานี้ก็เหมือนกัน ปัญญาก็คล่องตัวถ้าอดอาหารนะ มันช่วยกันจริง ๆ นี่หมายถึงผมเอง จะว่านิสัยหยาบอะไรก็แล้วแต่เถอะ ... ถ้าฉันอิ่ม ๆ แล้ว โอ้โห .. ขี้เกียจมาก นอนก็เก่ง ราคะตัณหาก็มักเกิด ได้ระวังอันนี้ให้มากนะ
คือธาตุขันธ์เวลามันคึกคะนองมันเป็นของมันนะ เราไม่ได้ไปคึกคะนองกับมัน ไม่ได้ไปสนใจยินดีไยดีกับมันก็ตามนะ แต่เรื่อธาตุเรื่องขันธ์เป็นเครื่องเสริม มันแสดงออกมาเราก็รู้ อย่างอาหารดี ๆ ตามสมมุตินิยมนี้ด้วยแล้ว พวกผัด ๆ มัน ๆ โห..เก่งมากนะ ต้องระวัง..ผมไม่ได้กินแหละ ถึงจะไปในเมืองที่ไหนจำเป็นก็กินนิด ๆ ระวังขนาดนั้นนะ
ลัก...ยิ้ม
03-10-2013, 12:59
อาหารสัปปายะ.. อาหารเป็นที่สบาย ในธรรมที่ท่านสอนไว้ว่า ที่สบายในการภาวนาต่างหาก นี่.. ไม่ได้สบายเพื่อราคะตัณหา เกี่ยวกับธาตุขันธ์นี่นะ... กินแล้วธาตุขันธ์ก็ไม่กำเริบ การภาวนาก็สะดวกสบาย... ท่านหมายเอาอย่างนั้นต่างหาก จึงต้องได้ระมัดระวัง โอ๊ย..กินแบบนักโทษนั่นแหละ พูดง่าย ๆ ...จะเห็นแก่ลิ้นแก่ปากไม่ได้นะ มันต้องมองดูธรรมอยู่ตลอดเวลา อยากขนาดไหนก็ไม่เอา ถ้าเห็นว่ามันเป็นข้าศึกต่อธรรมแล้ว ต้องได้บังคับกันอยู่ตลอด...
นี่ พูดถึงเวลาฝึกทรมานเจ้าของ อาหารจะต้องมี แต่อาหารอย่างว่าละ เช่น ข้าวเปล่า ๆ ไม่ต้องพูดละ..ว่าจนชิน เรื่องฉันข้าวเปล่า ๆ อยู่ในป่าในเขา บางทีถ้าสมมุติว่า เขาตำน้ำพริกมาให้ เขาก็ใส่ปลาร้าเสีย ปลาร้าก็เป็นปลาร้าดิบ อย่างนี้มันก็ฉันไม่ได้..เสีย.. จะว่า ‘ยังไง’ เพราะไม่ได้มีใครตามมานี่ เขาจะตามมาอะไร เราก็ไม่ให้เขาตามนี่ เราไม่ต้องการยุ่ง บางทีเขาก็ตำน้ำพริกให้สักห่อหนึ่งมา น้ำพริกถ้ามีแต่พริกล้วน ๆ เราก็ฉันได้ แต่นี้มันมีปลาร้านั้น ปลาร้าดิบนี่ เขาไม่ใช่ทำปลาร้าสุก ๆ มันก็เลยกินไม่ได้ ...
การอยู่การกินใช้สอย ไม่ได้มีอะไรมาเป็นอุปสรรค พอได้ยังชีวิตให้เป็นไปวันหนึ่ง ๆ ไปบิณฑบาตในหมู่บ้านเขาอยู่ภูเขา ได้ข้าวเปล่า ๆ มาสองสามก้อน บ้านใหญ่ไม่อยู่ เพราะอาหารการกินสมบูรณ์.. ธรรมะจม ถ้าอาหารการกินบกพร่อง ๆ ธรรมะดีด ๆ เพราะเราไป... เราไปเพื่อธรรมะ เราไม่ได้ไปเพื่ออาหาร จึงต้องไปหาอยู่ที่ขาดแคลนกันดารในป่าในเขา เขาได้อะไรเขาก็ใส่ ส่วนมากมักจะมีแต่ข้าวเปล่า ๆ ได้กับก็กับอย่างว่าแหละ มีน้ำพริกบ้างอะไรบ้างนี้ดีหน่อย คือจิตมันไม่ได้อยู่กับอันนี้ อยู่กับมรรคผลนิพพาน ..
ลัก...ยิ้ม
08-10-2013, 10:17
ฉันข้าวเปล่า ๆ มันฉันได้มากแค่ไหน ๒ - ๓ คำมันก็อิ่มแล้ว ... ทีนี้เดินจงกรมตัวปลิวเลย นั่งภาวนานี่เป็นหัวตอ ไม่มีโงกมีง่วง มันก็บ่งให้เห็นได้ชัด ๆ ว่า เพราะอาหารนั่นเอง มันทำให้โงกให้ง่วง ... ถ้ามีกับดี ๆ ก็ฉันได้มาก ฉันได้มากก็นอนมาก ขี้เกียจมากนะซี.. โงกง่วง นั่งสัปหงกงกงันไปละ ก็เคยเป็นอยู่แล้ว รู้อยู่ ไปอยู่อย่างนั้นมันไม่นี่ ฉันอาหารอย่างที่ว่านี่นะ ... เพราะฉะนั้นจึงอดบ้าง อิ่มบ้าง อยู่ไป ขอให้ใจได้สะดวกสบาย ...
นี่ละ.. เวลาหาธรรมเป็นอย่างนั้นแหละ มีแต่ความทุกข์ ความลำบากทั้งนั้น.. หาธรรม จะได้สะดวกสบายดูจะไม่ค่อยมีละ อยู่ในป่าในเขา บางทีก็ไปอาศัยเขา ๓ - ๔ หลังคาเรือน เขาอยู่ในเขา เขาไม่มีไร่มีนาทำ เขาก็หาของป่า อะไรเอาไปแลกทางชาวบ้านเขาขึ้นมากิน เราก็ไปพักกับเขา ก็ไปอย่างว่า.. มันไม่มีอะไรแหละ องค์เดียว สององค์ไป อาศัยกินเขาบ้าง ไม่กินก็ได้นี่ ก็เราเคยมาแล้ว
อยู่ในสกลนครนี่ละมากที่สุด เราเที่ยวแหลกเลย ภูเขาลูกนี้ไปหมด ตั้งแต่สกลนครถึงกาฬสินธุ์ ปีนี้เข้าทางนี้ ปีนั้นขึ้นทางนั้น ลงทางนั้น ขึ้นไปตลอดเลย ... เรื่องการอยู่การกินนี้ ความอดอยากขาดแคลนเป็นประจำล่ะ แต่เราไม่ได้ห่วงอันนี้มากยิ่งกว่าธรรม...”
ลัก...ยิ้ม
09-10-2013, 10:40
สัตว์ป่าคุ้นกับพระกรรมฐาน
“...กลางคืนดึกสงัด ฟังเสียงนกยูงร้อง กลางวี่กลางวันไม่เคยเห็นตัวมันนะ เราเห็นสักครั้งสองครั้งเท่านั้น ‘มั้ง’ นกยูงนะ ไม่เจอมันบ่อยนักเหมือนสัตว์อื่น ๆ พวกหมู พวกอีเก้งนี้เจอบ่อย บางทีมันก็จุ้นจ้าน ๆ มาทางจงกรม มันไม่กลัวคน มันมาอาศัยคน มาอยู่รอบ ๆ คน เดินจงกรมอยู่มันก็มาหากิน พวกหมู พวกอีเก้งนี้คุ้นง่ายนะ คุ้นง่ายมากเทียว มันมาเหมือนสัตว์บ้านมาหาเรา หาขุดอะไรกิน ซู้ด ๆ ซี้ด ๆ มา เราก็เดินจงกรมเฉย ... เขาก็ไปของเขา ทั้ง ๆ ที่เขาก็เห็นเราอยู่ เขาไม่สนใจนะ นั่นเห็นไหม.. พระกับโยมผิดกัน ..
เรื่องลิง นี่เรายังไม่ลืมนะ เขาจะออกหากินเวลากลางคืน คือกลางวันคนทำลายเขา เขาไม่ออก กลางวันเงียบเลย กลางคืนเขาออกหากิน เราเดินจงกรมอยู่กลางคืนเงียบ ๆ เดือนหงาย ๆ เราไม่ได้จุดไฟนี่ เดือนหงาย ๆ ในดงนะ ดงหนาป่าทึบ ฟังเสียงเขามานี่ โถ!.. เสียงลั่นมาเลยเพราะเป็นฝูงใหญ่ ใหญ่มากนะ ลิง.. เขามีหัวหน้าพามา มันมีต้นไม้ต้นหนึ่งที่บนทางจงกรมเรานี่ ผลไม้มันสุกเต็มเลย เขามากินนี้ทุกคืน แต่ทุกคืนเราไม่ให้เขาเห็น
คืนนั้นเราลองแสดงตัวให้เขาเห็น ว่าเขาจะตาดีไหมในเวลากลางคืนนะ โอ๊ย !... ลิงนี่ตาดีนะ กลางคืนนะ ออกคืนวันที่เราจะแสดงตัวให้เขารู้ เรื่องของเขานั่น เรานิ่ง ๆ อยู่ข้างต้นไม้นี่วะ นิ่ง !.. เขามาเต็มไปหมด แต่เวลาเราจะกระดุกกระดิก พลิกอะไรนี่ ต้องกะว่าเขากินอิ่มก่อนนะ ไม่ ‘งั้น’ เดี๋ยวเขาเผ่นไม่ได้กินอิ่มล่ะ เราต้องกะระยะพอดีเขากิน พอมีตัวไปบ้างก็มี...
ที่นี้เราก็กระดุกกระดิกนี่ พอหัวหน้าร้อง ‘จิ๊ก’ ที่เดียวเท่านั้นนะ นอกนั้นเงียบหมดเลยนะ เงียบเหมือนไม่มีลิงสักตัวเดียวแหละ ลิงทั้งฝูงใหญ่ ๆ นะ นั่นนะเพราะมีหัวหน้า มีหัวหน้าเตือนเอา เราเลยนิ่งอีกละ จนกระทั่งนานแล้วก็มีเสียงหัวหน้า ‘ค็อก ๆ แค็ก ๆ’ แต่พอได้ยิน เสียงตัวหนึ่งดังขึ้น ตัวหนึ่งก็ดัง ที่นี้ออกนะ ออก..ต่างตัวต่างไปเลยนะ แสดงว่าเขาก็อิ่มแล้ว เพราะเราทำนั้น ทำเวลากะว่าเขาอิ่มแล้วเขาไป
เขามีหัวหน้าเหมือนกัน ลิง ฝูงลิงมีเยอะนะ กลางวันนี้ไม่เห็นแหละ เขาไม่ออก คือพวกมนุษย์นี้มันยักษ์นี่นะ ยักษ์หูสั้น มันกินดะไปเลย มนุษย์นี่.. ลิงก็ไม่เลือก นี่กลางวันเขาจะไม่ออกหากินนะ ตอนกลางคืนเงียบ ๆ ดึก ๆ เขาถึงจะออกนะ กลางวันไม่เห็นแหละ เขาไม่ออก ต้องสองทุ่มไปแล้วถึงจะออก...”
ลัก...ยิ้ม
16-10-2013, 10:23
ยอดนักรบ
หลวงปู่มั่นท่านเป็นแบบอย่างของพระธุดงค์กรรมฐานในทุก ๆ ด้าน ความสมบุกสมบันและความทุกข์ทรมานในการเสาะแสวงหาธรรมของหลวงปู่มั่นนั้น ไม่มีองค์ใดในสมัยปัจจุบันจะเทียบเทียมได้ ดังนี้
“...เรื่องความทรมานใครจะไปเกินหลวงปู่มั่น ความทรมานเรามาพูดนี้ขี้ปะติ๋วนะ เราจะไปเทียบกับหลวงปู่มั่นไม่ได้เลย มันคนละโลก ท่านทรมานมากยิ่งกว่าเรา ไปอยู่ในป่าในเขา ที่ไหนที่ลำบากลำบนท่านไปอยู่ทั้งนั้น อย่างเช่นนาหมีนายูง เป็นต้น
นาหมีนายูงเดินเข้าไปนั้นมันใกล้เมื่อไร ... มีแต่ดงแต่ป่า พวกสัตว์พวกเสือพวกเนื้อเต็มไปหมด ไปบิณฑบาตเอาไม้ลำเท่านี้ละ..เป็นไม้เท้า เขาวิตกวิจารณ์กลัวแทนท่าน ไปบิณฑบาตมาจากภูเขา ท่านก็ค่อยมาของท่านแหละ
ทีนี้พวกสัตว์ พวกเนื้อพวกเสือเต็ม หมีเต็ม เขาก็เลยทำไม้เท้าให้ สับแล้วให้ท่านเดินไป สับเท้าป๊อกแป๊ก ๆ แล้วเคาะนั้นเคาะนี้ไป กลัวจะไปเจอหมี ท่านว่างั้นนะ เขาบอกว่ากลัวจะเจอหมี หมีเจอคนมันมักจะทำลายคนเสียก่อน มาตบกัดแล้วไป ส่วนเสือไม่ได้พบ เพราะเสือสติดี ไม่พบมันง่าย ๆ ไม่วิตกวิจารณ์อะไรกับเสือ แต่กับหมีนี้เป็นได้
ลัก...ยิ้ม
17-10-2013, 16:26
หลวงปู่มั่นว่า เขาทำให้เราก็ถือไปอย่างนั้นแหละ ลำบากลำบนมาก ไปบิณฑบาตทีเป็นเดือน ฉันแต่ข้าวเปล่า ๆ ทั้งนั้น คือเขาว่ากรรมฐานนี้ท่านฉันถั่วฉันงา เขาไม่มีถั่วมีงา เขาก็ไม่ใส่บาตรให้ มีแต่ข้าวเปล่า ๆ เขาเอาข้าวเปล่า ๆ ใส่บาตรให้ เราก็ฉันแต่ข้าวเปล่า ๆ มันไม่มีถั่วมีงา ความคิดเห็นของเขาเป็นอย่างนั้น เขาว่าพระกรรมฐานท่านฉันแต่ถั่วแต่งา เขาไม่มีถั่วมีงาก็เอาข้าวเปล่า ๆ ให้เป็นเดือน ท่านว่านั่น..เห็นไหม ? ทรมานไหม ?
เรื่องความกลัวนี่ รู้สึกท่านจะไม่กลัวนะ ไปอยู่ได้หมดเลย ที่ไหนได้หมด มีแต่สถานที่เป็นภัยเกี่ยวกับเรื่องสัตว์ร้าย ท่านอยู่ทั้งนั้นแหละ
... แต่ก่อนกรรมฐานนี้เหมือนกับเป็นของแปลกของปลอม สัญจรมาจากที่ต่าง ๆ พวกเจ้าถิ่นก็คือประเพณีบ้านเมือง ที่ลูบคลำกันไป ไม่มีหลักมีเกณฑ์มีเหตุมีผลอะไร อันนี้เป็นหลักใหญ่ขึ้นมา กลายเป็นประเพณีบ้านเมือง ... พวกนี้ก็เห็นอันนั้นเป็นของปลอมไปเสีย ฟัดกันนะ...
ลัก...ยิ้ม
21-10-2013, 10:37
หลวงปู่มั่นสมบุกสมบันมากทีเดียว ถูกรบถูกรานทุกแบบทุกฉบับ ถูกขับถูกไล่หาว่าเป็นพระป่าพระรกมาจากทิศใดแดนใด ... มันขับไล่ ข้างนอกว่าเป็นของแปลกของปลอม ถูกขับถูกไล่ ... ทั้ง ๆ ที่ถือศาสนาพุทธ มันก็เป็นแบบกิเลสไปเสียทั้งหมด พุทธที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าไม่มี พุทธที่แท้จริงก็อย่างที่หลวงปู่มั่นเอาออกมา นั่นแท้จริง แต่ก็เป็นของปลอมไปในขั้นเริ่มแรก ครั้นต่อมาก็ค่อยเข้าอกเข้าใจ ก็ค่อยยอมรับกันไป ๆ ...
อำนาจของหลวงปู่มั่นของเล่นเมื่อไร ท่านทำประโยชน์ให้โลกอย่างเงียบ ๆ ตลอดมา สมท่านเป็นผู้สงบเงียบทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีเรื่องมีราวกับใคร หลวงปู่มั่นไม่มี ถูกขับถูกไล่ไปไหนก็ถูก แต่ท่านไม่มีกับใคร ท่านก็ไปของท่านสบาย ๆ อย่างนี้ ... ไปที่ไหนเขาเรียกเป็นพระจรจัดตลอด เสือเย็นนี้พวกป่าว่าให้ท่าน พวกบ้านว่าอีกแบบหนึ่งไล่ขับหนีนะ แม้ที่สุดพวกคณะเดียวกันก็ยังขนาบกันว่ากัน..หลงยศ ...
นี่ละท่าน สมบุกสมบันมากขนาดไหน เราอย่าเอามาพูดเลยเรื่องราวของเรา เมื่อเกี่ยวกับท่านแล้วล้มไปเลยเรื่องเรา ท่านเป็นประจำ แต่ก่อนท่านบุกเบิกกรรมฐาน ท่านเป็นองค์แรกไปเลย เราเดินตามท่าน ท่านเป็นกรรมฐานท่านเดินหน้า ทุกข์ยากลำบากทุกอย่างอยู่กับท่านหมดนั่นแหละ นั่นละได้ธรรมมาสอน...”
ลัก...ยิ้ม
22-10-2013, 10:23
ความอดทนพากเพียรเพื่อให้ได้ธรรมมาสอนศิษย์ของหลวงปู่มั่น จึงเป็นแบบอย่างและกำลังใจแก่พระกรรมฐานรุ่นต่อ ๆ ไปได้อย่างไม่มีวันจืดจาง ย้อนมากล่าวถึงความจริงจังในการปฏิบัติของท่านเอง แม้จะทุกข์แสนทุกข์ แม้จะลำบากแทบเป็นแทบตาย บางครั้งแทบจะเอาชีวิตไม่รอด แต่ความที่จิตมีความเจริญขึ้น ๆ ท่านจึงยอมอดยอมทน.. ได้ความทุกข์ยากหลังจากการออกวิเวก
ในคราวหนึ่งเมื่อลงมาจากเขา พอกลับมาถึงวัดป่าบ้านหนองผือก็เข้ากราบหลวงปู่มั่น รูปลักษณ์ของท่านตอนนั้น ปรากฏว่ามีเนื้อตัวซีดเหลืองเหมือนทาขมิ้น ปานผู้ป่วยเป็นโรคดีซ่าน ทั้งร่างกายก็ซูบผอมยังเหลือแต่หนังห่อกระดูก จากเดิมคนหนุ่มอายุ ๓๐ กว่ากลับดูเหมือนคนแก่คนเฒ่า
หลวงปู่มั่นมองเห็นลูกศิษย์ในคราวนี้ ถึงกับตกตะลึงขนาดอุทานว่า
“โฮ้!.. ทำไมเป็นอย่างนี้ล่ะ ?”
แต่ลูกศิษย์ก็ยังคงนิ่งอยู่ไม่ได้ตอบอะไร หลวงปู่มั่นเกรงศิษย์จะตกใจและเสียกำลังใจ ก็กลับพูดให้กำลังใจในทันทีนั้นว่า “มันต้องอย่างนี้ซิ จึงเรียกว่านักรบ”
ลัก...ยิ้ม
29-10-2013, 09:58
เราไม่ใช่.. พระเวสสันดรนะ !!!
คราวหนึ่งของการออกวิเวกในป่า ท่านไม่ออกฉันอาหารเป็นเวลาหลายต่อหลายวันเข้า จนเป็นที่ผิดสังเกตของชาวบ้าน ถึงขนาดหัวหน้าบ้านต้องตีเกราะประชุมลูกบ้านพากันไปดู ก็พบว่าท่านอยู่เป็นปกติ แต่ก็ดูซูบซีดผ่ายผอมมาก เหตุการณ์ตอนนี้ท่านเล่าว่า
“... กระทั่งชาวบ้านเขาแตกบ้านไปดู เรายังไม่รู้อีกว่าเจ้าของจะตาย แต่ชาวบ้านเขารู้ เขาตีเกราะประชุม เคาะก็อก ๆ พวกลูกบ้านก็พากันมาประชุม
‘ใคร ๆ ว่ายังไง ? ใครเห็นว่ายังไง พระองค์นี้ที่มาอยู่บ้านเราเวลานี้ มาได้หลายเดือนแล้วนะ พระองค์นี้มาอยู่ที่นี่ ตั้งแต่มาไม่ได้เห็นมาบิณฑบาต หกวันเจ็ดวัน.. ด้อม ๆ มาสักวันแล้วหายเงียบ หายมาอย่างนี้ตลอด
ท่านไม่ตายแล้วเหรอ ? พวกเรากินวันหนึ่งสามมือสี่มื้อยังทะเลาะกันได้ ทะเลาะเพราะไม่มีอาหารกิน มันกินข้าวเปล่า ๆ ไม่ได้ มันทะเลาะกัน แต่นี่ท่านไม่เห็นกินเลยนี่ ท่านไม่ตายแล้วเหรอ ?’
ผู้ใหญ่บ้านถามลูกบ้าน ‘ถ้าท่านไม่ตาย ท่านไม่โมโหโทโสอยู่เหรอ ? ไปดูซิ เราก็ไม่เคยเห็นตั้งแต่เกิดมา พระไม่กินข้าว’ เขาก็พูดขนาดนั้นละ
‘เราก็ไม่เคยเห็นพระไม่กินข้าว เพิ่งเห็นนี่แหละ ลองไปถามท่านดูซิ แต่มีข้อแม้อันหนึ่งนะ’ เขาก็ฉลาดพูดอยู่
ลัก...ยิ้ม
30-10-2013, 09:06
‘เวลาจะไปต้องระวังนะ พระองค์นี้ไม่ใช่พระธรรมดานะ พระองค์นี้เป็น.. มหานะ’ เขาว่า ‘แล้วไป..เดี๋ยวท่านจะเขกหน้าผากเอานะ ไปสู้ท่านไม่ได้ ท่านจะเขกหน้าผากเอานะ ให้ระวังนะ ถ้าเป็นพระธรรมดา เราก็พอจะพูดอะไรต่ออะไรกันได้ นี่ท่านเป็นมหาเสียด้วย ท่านทำอย่างนั้นนี่นะ เราไปว่าสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ได้นะ เดี๋ยวท่านจะตีหน้าผากเอา’ เขาเตือนลูกบ้านเขา
พอมาถึง เราก็เอาจริง ๆ หลั่งไหลกันมานี่ ‘โอ้โฮ.. นี่มาอะไรนี่ จะมาแห่พระเวสสันดรเข้าเมืองเหรอ ? อาตมาไม่ใช่พระเวสสันดรนะ’
‘ไม่ใช่ ๆ’
‘อย่างนั้นมาอะไร ?’
เขาก็มาเล่าตามเรื่องนี่แหละให้ฟัง มันก็มีอยู่สองจุด จุดหนึ่งว่า ‘ท่านไม่ตายแล้วเหรอ ? ถ้าท่านไม่ตาย ท่านไม่โมโหโทโส อยู่เหรอ ?’
พอเขาพูดจบลง เราก็มีอยู่สองจุด เราก็ถาม ‘แล้วเป็นยังไง ? ตายแล้วยังล่ะ ?’
‘เอ๊.. ก็ไม่เห็นตาย ท่านยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่ ไม่เห็นมีอะไรน่าตาย’
‘แล้วเป็นยังไง โมโหโทโสอยู่ไหม ?’
‘ก็ไม่เห็นท่านโมโหโทโส ท่านยิ้มแย้มอยู่ตลอดเวลา’
‘เอาละ ให้เข้าใจนะ การอดอาหารนี่.. อาตมาอดไม่ใช่เพื่อฆ่าตัวเองนะ อดเพื่อฆ่ากิเลส ซึ่งมันฆ่ายาก กิเลสนี่ มันอยู่ภายในหัวใจนี่ ต้องใช้การอดอาหารช่วย แล้วความโมโหโทโสก็เป็นกิเลส จะโมโหโทโสไปหาประโยชน์อะไร มีเท่านั้นเหรอ ?’
‘มีเท่านั้นแหละ’
‘ไป’ ไล่กลับ ยังไม่ถึงสิบนาทีนะ.. ไล่กลับ
ลัก...ยิ้ม
31-10-2013, 09:55
มีครั้งหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องการอดอาหาร ในระยะที่ท่านยังคงออกวิเวกบำเพ็ญเพียรอยู่ คือในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีอุบาสกมาพูดอวดภูมิต่อท่าน อุบาสกผู้นี้เคยบวชเรียนมาก่อนหลายพรรษา และมีความรู้จบนักธรรมตรี จึงมีความคุ้นเคยกับชีวิตพระพอสมควร
แกเห็นท่านอดอาหารมาหลายวันแล้ว รู้สึกคัดค้านอยู่ในใจว่าไม่เห็นประโยชน์อันใด นอกเสียจากจะทำให้ทุกข์ยากลำบาก และเสียเวลาโดยเปล่าเท่านั้นเอง วันหนึ่งแกเลยยกเรื่องในพุทธประวัติมาพูดกับท่านว่า
“ท่านจะอดทำไม ? ก็ทราบในพุทธประวัติว่า พระพุทธเจ้าอดข้าวตั้ง ๔๙ วันก็ยังไม่ได้ตรัสรู้เลย แล้วท่านมาอดอะไร มันจะได้ตรัสรู้หรือ ?”
ในเรื่องนี้ท่านก็เคยรู้เคยศึกษาในตำรามาก่อนแล้วว่า พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุอดอาหารเพื่อบำเพ็ญจิตตภาวนาได้ แต่หากเป็นไปเพื่อการโอ้อวด ท่านทรงปรับอาบัติทุกขณะการเคลื่อนไหว หรือการอดอย่างหาเหตุหาผลไม่ได้ คือสักแต่ว่าอดเพียงอย่างเดียวเท่านั้นโดยไม่ฝึกฝนด้านจิตตภาวนาเลย อย่างนี้ก็ไม่เกิดประโยชน์อันใด นอกเสียจากทำให้ทุกข์ยากลำบากเปล่าเท่านั้น
ลัก...ยิ้ม
07-11-2013, 09:01
การอดอาหารของท่าน มีความหมายตามตำราที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต ด้วยเหตุผลคือ ท่านสังเกตพบว่า จริตนิสัยของท่านนั้นถูกกับการอดอาหาร เพราะช่วยให้การบำเพ็ญจิตภาวนา เจริญขึ้นได้เร็วกว่าขณะที่ออกฉันตามปกติ
ท่านได้พิจารณาอย่างรอบคอบ และเห็นผลประจักษ์กับตนเองเป็นลำดับไปเช่นนี้ ทำให้ท่านจึงยังมั่นคงที่จะใช้อุบายวิธีนี้เพื่อการภาวนา และถึงแม้จะมีผู้มาพูดคัดค้านต้านทานอย่างไร ก็ไม่ทำให้ท่านลังเลใจคิดเปลี่ยนแปลงเป็นอื่นได้
ครั้นจะอธิบายเหตุผลให้เป็นที่เข้าใจ ก็ดูว่าเป็นเรื่องยืดยาวเสียเวลาโดยเปล่า เหตุนี้เอง ท่านจึงชอบที่จะตอบเป็นอุบายให้ได้นำไปคิดอ่าน สำหรับอุบาสกผู้นี้ก็เช่นกัน ท่านตอบกลับไปว่า
“แล้วโยมกินทุกวันหรือ ?”
“กินทุกวันนะซิ ผมไม่อดหรอก”
ว่าดังนั้นแล้วท่านก็พูดใส่ปัญหาแก่อุบาสก ผู้เข้าใจว่าตัวรู้เรื่องในตำราเป็นอย่างดีว่า
“.. แล้วโยมได้ตรัสรู้ไหม ???...”
ลัก...ยิ้ม
12-11-2013, 09:16
อินทรีย์ ๕ หรือพละ ๕
“... ธรรมทั้ง ๕ ข้อ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา คือหลักธรรมทางดำเนินเรียกว่า อินทรีย์ ๕ หรือพละ ๕ ก็ได้ อินทรีย์ความเป็นใหญ่ พละคือกำลัง ...
นักปฏิบัติจงพยายามบำรุงศรัทธาความเชื่อในธรรม และสมรรถภาพคือความสามารถของตนเอง วิริยะ เพียรให้พอ สมาธิ ความสงบจะปรากฏเป็นผลขึ้น และพยายามบำรุงสมาธิให้เพียงพอ สติกับปัญญาเป็นพี่เลี้ยง .. จงพยายามบำรุงเหตุที่ได้อธิบายมานี้ให้เพียงพอ ผลซึ่งจะเกิดขึ้นจากเหตุนั้นจะไม่มีอะไรบังคับไว้ได้
ลัก...ยิ้ม
15-11-2013, 12:02
บิณฑบาตได้ปลาร้าดิบ
“...เราได้พักอยู่ถ้ำอะไรลืมแล้วแหละ ตาคนหนึ่งเขาย้ายครอบครัวออกมาจากบ้านใหญ่มาอยู่ จะว่าตีนเขาก็ไม่ผิดละ ลงมาถึงที่นั่น ๓ กิโลกว่า บ้านใหญ่เขาจะ ๔ กิโลกว่าละ อันนี้มันติดของมันเองก็จำได้เอง
เขาว่า ‘ไหน..บิณฑบาตได้อะไรบ้างไหม ? ไหน..ขอดูบาตร’
พอเปิดดูบาตรขึ้นร้องก๊ากเลย ‘โอ๊ย ไม่มีอะไร เอ้า.. สูตำ’
เราขบขันจะตาย เขาก็ตำน้ำพริก แล้วก็เอาทัพพีไปตักเอาปลาร้าดิบในไหมาใส่ครก มีพริกมีอะไรใส่แล้วก็โขลก ‘ปุ๊บปั๊บ ๆ’ ‘เอา สูเร่ง’
เราก็ขบขันดีนะ ใส่ ‘ปิ๊งปั๊ง ๆ’ เสร็จแล้วก็ใส่ห่อ เอาใบตองมาห่อ พอห่อเสร็จแล้วก็มาใส่บาตร ก็เราเห็นอยู่นี่ ปลาร้าดิบจะฉันได้ ‘ยังไง’ เราไม่มีตาปะขาว ไม่มีเณร ไม่มีญาติโยมจะทำให้สุกได้ ‘ยังไง’ ก็รู้อยู่แต่เอาน้ำใจเขา ไม่ใช่อะไรนะ รออยู่นั้น
พอเสร็จแล้ว เขาก็เอามาใส่ ‘ปั้วะ’ ลงไป ‘เฮ้อ.. อย่างนี้ค่อยยังชั่วหน่อย’
เราไม่ลืมนะ เขาดีใจเขา เขาได้ใส่บาตร เขาไม่ได้คำนึงเรื่องของธรรมวินัยเรา แต่เรามีวินัย อะไรผิดวินัยก็รู้อยู่ แต่พูดก็จะเสียน้ำใจเขา เราเอาน้ำใจเขา มีอะไร ๆ ก็รับให้จะเป็นอะไรไป ใส่บาตร ‘ปุ๊บ’...
ปลาร้าที่แกตำใส่มามันเป็นปลาร้าดิบ เราก็อยู่คนเดียวในป่าจะทำสุกเองก็ไม่ได้ พระวินัยห้าม อันโตวุฏฐะ อันโตปักกะ สามปักกะ มีสาม คือท่านละเอียดลออ ไม่ให้นำอาหารไปเก็บไว้ภายใน เช่น ในกุฏิ อันโตวุฏะฐะ อันโตปักกะ สามปักกะ คือไม่ให้ทำสุกเอง ห้ามไม่ให้พระทำ เรื่องราวเป็นอย่างนั้น...”
ลัก...ยิ้ม
20-11-2013, 09:00
ให้มหาไปองค์เดียว ใครอย่าไปยุ่งนะ
หากพิจารณาถึงความสะดวกใจอย่างแท้จริงในการออกวิเวกแต่ละครั้ง ๆ ขององค์หลวงตานั้น ท่านปรารถนาจะหาที่สงบสงัดอยู่โดยลำพังเท่านั้น เพราะสะดวกต่อการภาวนามากกว่า เป็นความเพียรอยู่ตลอดเวลา ส่วนการไปวิเวก ๒ คนขึ้นไปนั้น ท่านเปรียบเสมือนน้ำไหลบ่า มันขัดมันข้องอยู่ในตัว เพราะต้องระมัดระวังกันและกัน ต้องคอยดู คอยห่วง คอยรับผิดชอบกันอยู่ในตัว ดังนี้
“...ไปที่ไหนไปแต่องค์เดียว เป็นความเพียรตลอดเวลา ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งถึงหลับ เดินจงกรมจากหมู่บ้านนี้ไปหมู่บ้านนั้น เดินจงกรมทั้งนั้นนะ เป็นความเพียรตลอดอยู่นั้น ก็เวลาไหนมันเผลอจากความเพียร พรากความเพียรนี้ที่ไหน นี่เป็นตามนิสัยของเจ้าของมันเป็นอย่างนั้น
ลัก...ยิ้ม
21-11-2013, 07:46
มาอยู่กับหมู่กับเพื่อนนี้เป็นความจำเป็นก็อยู่เสีย เช่นอย่างมาอยู่กับพ่อแม่ครูอาจารย์มั่นในพรรษา เราต้องดูแลหมู่เพื่อน ต้องกังวลวุ่นวายนั่นนี่เป็นธรรมดา ทั้งเพื่อการอบรมศึกษาของเราเองอีก แต่ก็ทนเอา ... ครั้นพอออกจากนั้นแล้วถึงได้ดีดผึงเลย เพราะฉะนั้นท่านถึงรู้นิสัยละซิ ว่าพอรู้ว่าเราจะไป ท่านก็ถาม
‘ไปกับใคร ?’
‘ไปองค์เดียวครับกระผม’
‘เออ ท่านมหาไปองค์เดียว ใครอย่าไปยุ่งท่านนะ’ ท่านรู้ทันทีนะ ‘ให้ท่านไปองค์เดียวนะ ท่านมหา’...”
ลัก...ยิ้ม
22-11-2013, 09:27
มีบางครั้งเหมือนกันที่หลวงปู่พูดหยอกเล่นกับท่าน เช่นในเวลาที่ท่านขอลาวิเวก ทั้ง ๆ ที่องค์ท่านก็ทราบดีว่านิสัยของท่านจริงจังขนาดไหน แต่เวลาจะไปจริง ๆ เข้าท่านก็พูดหยอกเล่นด้วยความเมตตาว่า
“เอาให้ดีนะ”
การเลือกสถานที่ภาวนาในเวลาท่านออกวิเวกนั้น เพื่อให้สะดวกต่อการบำเพ็ญเพียรท่านมักถือปฏิบัติดังนี้
“... มักเลือกสถานที่ภาวนาโดยสักเกตดูว่า หมู่บ้านไหนมีบ้านสัก ๓ - ๔ หลังคาเรือนบ้าง ๙ - ๑๐ หลังคาเรือนบ้าง จะได้ข้าวปลาอาหาร ขนมคาวหวานชนิดไหนมากน้อยเพียงใด ไม่เป็นเรื่องวิตกกังวลแต่อย่างใด การขบการฉันก็พอเป็นเครื่องยังชีพ ให้มีชีวิตเป็นไปเพื่อประพฤติพรหมจรรย์อยู่ได้ก็เอาแล้ว.. ก็เอาแล้ว ไม่เห็นแก่รสชาติ ไม่เห็นแก่ร้อนหรือเย็น ยิ่งกว่าความเจริญก้าวหน้าทางจิตใจ...
ลัก...ยิ้ม
29-11-2013, 09:25
ท่านสอนให้ไปอยู่ในป่าในเขาในที่ไหน ๆ ที่เปลี่ยว ๆ คนเราไม่มีที่พึ่งก็มาหวังพึ่งตัวเองละซี ทีนี้จิตก็ย้อนเข้ามา ก็อาศัยพ่อแม่ครูบาอาจารย์เรานี่ละเป็นหลัก ไปอยู่โน้นก็ออกเที่ยว ถ้าอยู่แถวใกล้เคียงประมาณสัก ๑๕ หรือ ๑๖ กิโลนี้ก็มากลับได้ ถ้าไปอยู่ไกลก็นาน ๆ ต้องเป็นเดือนหรือเดือนกว่า ๆ ถึงจะมาทีหนึ่ง... มันไกล
เช่นอย่างมาทางอำเภอวาริชภูมิกับหนองผือมันไกลนี่ เดินทางนี้ต้องค้างคืนหนึ่งกว่าจะไปถึง รถราไม่ต้องไปถามหามัน ไม่คิดถึงมันละ แต่ก่อนถ้ามาอย่างนี้แล้ว ต้องนาน ๆ ถึงจะได้กลับไปทีหนึ่ง เป็นเดือนสองเดือน ถ้าอยู่แถวใกล้เคียง ๑๔ - ๑๕ กิโลนี้ อยากมาวันไหนเวลาไหนก็มา เพราะข้อข้องใจเกิดขึ้นแล้วอยู่ไม่ได้แหละต้องมา พอฉันเสร็จแล้วก็ล้างบาตร เก็บบาตรแล้วก็บึ่งเลยคนเดียว
ไปถึงโน้นก็ประมาณสัก ๑๑ โมงเช้า พอตอนบ่ายโมงบ่ายสองโมง ท่านก็ออกจากที่แล้วขึ้นหาท่าน มีธุระอะไรก็ทำเสียก่อน อยากจะกลับไปที่พักเราเมื่อไรก็ช่าง บางทีจนกำลังมืดค่อยไป ก็ภาวนาไปนี่ ไปคนเดียว เสือก็เยอะนะ แต่มันไม่สนใจยิ่งกว่าการภาวนา สนใจกับการภาวนานี้ มันดงทั้งนั้นนี่หนองผือ แถวนั้นมีแต่ดงทั้งนั้น ดงเสือทั้งนั้น แต่แทนที่มันจะมาเป็นอารมณ์กับเสือ... ไม่ อยากไปเมื่อไรก็ไป กลางคืนไม่ได้จุดไฟนะ ไปที่พักเจ้าของ.. บุกไปอย่างนั้นละ เพราะทางแคบ ๆ พอไปได้ ภาวนาเรื่อยไป...”
การออกเที่ยวกรรมฐานของท่าน อาศัยเดินด้วยเท้าเปล่า เพราะแต่ก่อนรถยนต์ไม่มี ถนนหนทางไม่มี แบกกลดสะพายบาตรเข้าป่ารกชัฏ ถ้ำ เงื้อมผา เพื่อหาสถานที่สงบวิเวก ผ้าที่ท่านนำติดตัวไปก็มีเฉพาะผ้า ๓ ผืน คือ สบง จีวร สังฆาฏิ และผ้าอาบน้ำอีกผืนหนึ่ง เพื่อใช้ผลัดเปลี่ยนตอนสรงน้ำ หรือใช้เป็นผ้าห่อบาตรและเช็ดบาตรด้วยเท่านั้น
ลัก...ยิ้ม
03-12-2013, 13:45
พระเถระผู้ใหญ่มาศึกษาธรรม
เหตุการณ์วันหนึ่งในฤดูแล้งปี พ.ศ. ๒๔๙๐ หลวงปู่หล้ากล่าวว่า จะถือเป็นวันบังเอิญก็ว่าได้ ที่วันนั้นมีพระเถระผู้ใหญ่ที่มาจากต่างทิศต่างจังหวัด เข้าไปศึกษาหารือธรรมะกับหลวงปู่มั่นในสำนักพร้อมกันในวันเดียว อาทิ ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ อุดรธานี พระอาจารย์สิงห์ นครราชสีมา ท่านเจ้าคุณอริยเวที (เขียน ป.ธ. ๙) กาฬสินธุ์ หลวงปู่อ่อน อยู่วัดป่าหนองโดก อำเภอพรรณานิคม สกลนคร หลวงปู่ฝั้น อยู่ธาตุนาเวง อำเภอเมืองสกลนคร พระอาจารย์มหาทองสุก อยู่วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง สกลนคร มีพระอาจารย์กงมา วัดดอยธรรมเจดีย์ เป็นต้น
ด้วยเหตุที่มีครูบาอาจารย์หมุนเวียนเข้ามาศึกษาธรรมกับหลวงปู่มั่นเช่นนี้ วัดป่าบ้านหนองผือในยุคนั้นจึงถือเป็นชุมทาง หรือศูนย์กลางของพระเณรผู้ปฏิบัติเลยก็ว่าได้ และสำหรับการเทศนาธรรมของหลวงปู่มั่นในคืนสำคัญเช่นนี้ หลวงปู่หล้าได้บันทึกไว้ดังนี้
“...พอถึงหนึ่งทุ่มก็จุดตะเกียงเจ้าพายุ ตีระฆังลงไปรวมกันที่ศาลาอุโบสถ (ไม่ใช่ศาลาโรงฉันดอก เพราะมันคับแคบเกินไป) ครั้นกราบไหว้พร้อมกันเสร็จแล้ว ต่างก็นั่งพับเพียบเงียบสงัดอยู่ ๒ - ๓ นาที
หลวงปู่มั่นมีสันติวิธีปรารภขึ้นเย็น ๆ ว่า ‘เออ วันนี้เหมาะสม ผมจะได้ศึกษากับพวกท่านจะผิดถูกประการใด ขอให้พวกท่านปรารภได้ ไม่ให้เกรงใจ ผมได้ศึกษาน้อย เรียนน้อย’
ลัก...ยิ้ม
11-12-2013, 15:35
แล้วองค์ท่านเสนอว่า ‘พระบรมศาสดาบัญญัติอนุศาสน์ ๘ อย่างเป็นข้อเว้นเรื่องใหญ่ อันเป็นปู่ ย่า ตา ทวด ของความผิดคือ ปาราชิก ๔ แล้วอีก ๔ ประเภทในฝ่ายปัจจัย ให้ปฏิบัติจนถึงวันสิ้นลมปราณ เพราะเป็นปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิตเรียกนิสัย ก็มี ๔ อย่าง เที่ยวบิณฑบาตหนึ่ง อยู่โคนไม้หนึ่ง นุ่งห่มผ้าบังสุกุลหนึ่ง และก็ฉันเภสัชดองน้ำมูตรเน่าหนึ่ง
ลัก...ยิ้ม
13-12-2013, 14:46
ด้านบิณฑบาตพระองค์ใดทอดสะพานไว้แล้วจนสิ้นลมปราณ แต่พวกเราไม่ค่อยจะไปบิณฑบาตกัน กลับเห็นว่า มีลาภแล้วก็คอยให้เขาเอามาส่ง และบังสุกุลพวกเราก็ไม่อยากแสวงเสียเลย อยู่ที่สงัดกายวิเวก พวกเราก็ไม่อยากแสวงเลย สิ่งเหล่านี้พวกเราได้นึกคิดอย่างไรบ้าง พวกเราถูกตามอนุศาสน์แล้วหรือ หากว่าบกพร่องอยู่บ้าง’
ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ยิ้มอยู่โดยเคารพ มิใช่ยิ้มแย้ม ส่วนท่านเจ้าคุณอริยเวที ป.ธ. ๙ กราบเรียนว่า ‘ไม่มีสิ่งจะแซงพระอาจารย์ได้ดอก พวกกระผมจำได้ท่องได้เฉย ๆ ขอรับผม’ …
พระเถระในที่ประชุมทุก ๆ องค์ ตลอดพระภิกษุหนุ่มสามเณรน้อย ใช้มารยาทเคารพรักหลวงปู่มั่นเหมือนบิดามารดาบังเกิดเกล้า ไม่มีท่านองค์ใดจะจับผิดจับถูกในทางแง่ร้ายอันใดเลยแห่งหลวงปู่มั่น การประชุมถึงจิตถึงใจจึงจำได้ไม่ลืม คล้ายกับว่าเวลาร่างกายร้อนเข้าพักร่มไม้สูง ๆ โต ๆ มีกิ่งก้านสาขา อากาศโปร่ง ข้างล่างลมมาพัดพอเย็น ๆ ดีไม่ค่อยแรง เรียกว่าประชุมเย็น มิใช่ประชุมร้อน
ลัก...ยิ้ม
16-12-2013, 14:31
แล้วองค์หลวงปู่ก็ปรารภต่อไปอีกว่า ‘พระบรมศาสดาทรงพระมหากรุณา ทรงสั่งและทรงสอนเป็นชั้นที่หนึ่งคือภิกษุ จึงมีคำออกหน้าว่า ภิกขเว เกือบทุกวรรคทุกตอน ถ้าภิกขเวไม่ศึกษาปฏิบัติแล้วจะให้ใครปฏิบัติศึกษาเล่า ส่วนพระองค์ทรงพระกรุณา ทรงสั่งสอนอุบาสก อุบาสิกา เทวดา มาร พรหมก็ดี ว่าในพระบาลีน้อยกว่าภิกษุทั้งหลาย นางภิกษุณีก็ดี สามเณรก็ดี นางสิกขมานาก็ดี ในพระบาลีเห็นมีน้อยกว่าภิกษุ ผมผู้นั่งหลับตาได้ความอย่างนี้ ตามประสาผู้เฒ่า’...
องค์ท่านเปรียบเทียบอีก ‘สีมา พัทธสีมาที่คณะสงฆ์ทำกรรมถูกต้องไม่เป็นสีมาวิบัติ คณะสงฆ์ ๔ รูปขึ้นไปก็สวดถอนได้ แต่โลกุตรธรรมนี้ละเอียดไปกว่านั้น นับแต่พระโสดาบันขึ้นไปหาพระอรหันต์ แม้พระบรมศาสดาทุก ๆ พระองค์ อริยสงฆ์ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นทั้งหมด จะพร้อมกันมาสวดถอนจิตใจของพระโสดาบัน ให้เป็นปุถุชนคนหนาย่อมเป็นไปไม่ได้
ลัก...ยิ้ม
17-12-2013, 09:24
เหตุนั้นพระอริยเจ้าทั้งหลายจึงยอมเคารพธรรมอย่างแนบแน่นไม่จืดจาง ไม่ใช่ว่าพระอริยเจ้าทั้งหลายไม่ถือมั่นแล้วจะไม่เคารพธรรม ยิ่งเคารพมากกว่าปุถุชนคนหนาไม่มีประมาณได้ ไม่ใช่ว่าถอนอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นได้แล้วก็เลยเถิดไป.. ไม่มีข้อวัตรเคารพธรรม เรียกว่าพระอริยเจ้าเลยเขตแดน กลายเป็นพระอริยะของพระเทวทัต แต่ท่าน (พระเทวทัต) ก็เห็นความผิดของท่านแล้ว แต่เห็นความผิด รู้ตัวจวนค่ำเลยไม่มีเวลาขอขมาโทษพระองค์ ได้ขอแต่ลับหลัง.. เพียงไหล่ขึ้นมาหาคอหาหัวโดยน้อมถวาย ถึงกระนั้นก็ยังจะได้เป็นพระปัจเจกในอนาคต เพราะได้สร้างบารมีมาได้สองอสงไขยแล้ว ยังเหลือแสนมหากัปแต่ก็ยังเป็นโลกีย์อยู่ จึงสามารถประพฤติล่วงอนันตริยกรรมได้
หลวงปู่มั่นประชุมคณะสงฆ์วันนั้นถึงหกทุ่มนับทั้งปกิณกะสารพัด...”
ลัก...ยิ้ม
23-12-2013, 14:58
รับผิดชอบชีวิตหมู่เพื่อน
ในช่วงที่อยู่วัดป่าบ้านหนองผือนี้ มีเหตุการณ์ที่เป็นเหตุบังเอิญ หรืออุบัติเหตุที่ทำให้ท่านต้องคันคาย หรือเจ็บปวดตามร่างกายดังนี้
“... ท่านอาจารย์จันทร์โสม ท่านเป็นพระบ้าน ท่านอยู่บ้านนาสีดา ท่านออกประพฤติปฏิบัติกรรมฐานมานานแหละ คุ้นเคยกันกับเรา เรียกว่าท่านเป็นรุ่นน้องเรา เคยอยู่วัดหนองผือด้วยกัน ก็พอดีเรื่องมันไปสัมผัส ท่านทำกระติกน้ำด้วยไม้นะ เจาะคว้านข้างในออกหมด แล้วท่านก็ติดกาวหรืออะไรไม่รู้แหละ
ที่นี้ท่านก็เอาน้ำรัก เขาเรียกน้ำเกลี้ยง* ทาข้างนอก น้ำรักมันคันนะ น้ำเกลี้ยงมันคัน ครั้นทำแล้วท่านก็ไปขุดหลุมไว้ข้างทาง นี่เป็นทางจงกรมของเรา เราเข้าไปเดินจงกรมอยู่ในป่าผ่านไปผ่านมา หลุมนั้นอยู่ทางโน้นนะ ไกลกันอยู่
เราก็เดินผ่านไปผ่านมา ท่านขุดหลุมเอาไว้ แล้วท่านเอาน้ำรัก เอาน้ำเกลี้ยงที่มันคัน ๆ น่ะ ทากระติกเสร็จแล้วท่านเอาไปแขวนไว้ที่หลุม เพื่อให้มันได้รับอากาศรอบตัวมัน ท่านก็ไปแขวนไว้นู้น ที่นี้เราเข้าไปเดินจงกรมในป่า มันคันจะตายทีนี้ คันผิดปกติ พอดีไปเจอกับท่าน ตอนนั้นเราก็แน่ใจเฉย ๆ ละว่าไม่มีน้ำเกลี้ยงน้ำเกิ้งน้ำรักอะไรละ
‘ท่านโสม ผมเป็นอะไรไม่รู้นะ มันคันเหมือนน้ำเกลี้ยงนี่นะ มันคันหมดตัวเวลานี้ มันเป็นยังไง ดูซิน่ะ มันคันได้ยังไง มันคันเหมือนน้ำเกลี้ยงนะ’
‘โอ๋ย.. น้ำเกลี้ยงมีอยู่’
‘มียังไง ว่ามาซิ’
‘อู๊ย.. ผมเอามาทานี้เลย ผมไปทำเป็นหลุมตรงโน้น มีหลุม ๆ ที่ท่านทำไว้ ท่านเอาไปแขวนไว้นี่นะ ให้มันได้อากาศรอบตัวมันแห้งง่าย’
‘ไหนพาไปดูซิ’
พอไปดูก็เห็นแขวนอยู่ โอ้.. อันนี้เอง อย่างนั้นท่านยอมรับเลยนะ
ท่านโสมไปทำ เราเป็นคนคัน เราก็บอกว่าเราคัน เหมือนคันน้ำเกลี้ยงเราว่า มันเป็นยังไง น้ำเกลี้ยงที่ไหนจะมี มี ๆ ท่านว่างั้น ผมทำแล้ว.. ผมไปไว้ที่นั่น ไหนไปดู ดูก็มีจริง ๆ นี่วัดท่านโสมที่อยู่หนองผือด้วยกัน...”
================================================================
* น้ำเกลี้ยง มีน้ำยางที่เป็นพิษรุนแรง คนที่แพ้ หรือถูกน้ำยางจากต้น หรือละอองเกสร จะทำให้เกิดผื่นคัน.. ปวดแสบปวดร้อนมาก
ลัก...ยิ้ม
06-01-2014, 11:09
อีกคราวหนึ่ง เป็นเหตุการณ์ที่ท่านอดทนยอมเจ็บปวดคนเดียวแทนท่านพระอาจารย์แดง ท่านกล่าวว่า เป็นสัญชาตญาณของความรับผิดชอบชีวิตหมู่เพื่อน ดังนี้
“...ระลึกถึงตอนที่อยู่หนองผือกับพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น อันนั้นแตนทั้งรังเลย เขาเรียกแตนอะไร แตนเหลืองต่อยปวด ๆ น่ะ คือเอาต้นเสานี้ละ แบกสองคน เรา (องค์หลวงตา) กับท่านแดง
ท่านแดงยกนี่ขึ้น เราก็ยกนี่ขึ้น แตนมันออกมาฟาดเราเสียจนหมู่เพื่อน (ร้อง) ว่า
‘แตนต่อยท่านอาจารย์ ๆ’
เราเฉยเลย เพราะถ้าเรากระดุกกระดิก ทางนู่นคอหัก ทิ้งไม้คอหักใช่ไหมล่ะ จึงต้องเฉยเลย
‘มันไม่ต่อยครูอาจารย์บ้างเหรอ’
‘ไม่ต่อยยังไง’ แตนต่อยปวดเสียด้วย เป็นชนิดปวดมาก
นั่นละ สัญชาตญาณรับผิดชอบกัน มันจะต่อยเราทางไหนเอา ผู้นั้นหันหลังให้เราไม่รู้ สมมุติว่าเราปล่อยปุ๊บนี้ อันนี้ทับอันนั้นลง...
ลัก...ยิ้ม
08-01-2014, 15:33
https://public.blu.livefilestore.com/y2p-TIA8HubNVOWq-Ft84OOvRUS8HD5fz_RESfqrSHvMj5i57a-_9N-2q7W1pIyf_HQ11X14J5vzlE9Th6evZLjZA/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B23.jpg?psid=1
๕. สละชีวิต.. ต่อสู้กิเลส
การบำเพ็ญจิตตภาวนาขององค์หลวงตา มีความก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับด้วยอุบายธรรม อันลึกซึ้งแยบคายของหลวงปู่มั่น กำลังจิตใจขององค์หลวงตาพุ่งทะยานถึงขั้นที่ว่า
ถ้ากิเลสไม่ตาย เราก็ต้องตายเท่านั้น
ลัก...ยิ้ม
15-01-2014, 11:22
ก้าวเดินทางปัญญา
ติดสุขในสมาธิ ๕ ปี
ย้อนกลับมากล่าวถึง การโหมความพากเพียรในพรรษาที่ ๑๐ ขององค์หลวงตา จนทำให้ผลแห่งสมาธิของท่านในระยะนั้น มีความแน่นหนามั่นคงมาก ดังนี้
“...จิตมีความเจริญขึ้นเรื่อย ๆ สมาธิมีความแน่นหนามั่นคง ถึงขนาดที่ว่าจะให้แน่วอยู่ในสมาธินั้นสักกี่ชั่วโมงก็อยู่ได้ และเป็นความสุขอย่างยิ่งจากการที่จิตใจไม่ฟุ้งซ่านรำคาญ ไม่อยากจะออกยุ่งกับอะไรเลย
ตาก็ไม่อยากดู หูก็ไม่อยากฟัง เพราะมันเป็นการยุ่งกวน รบกวนจิตใจให้กระเพื่อมเปล่า ๆ แต่มีความพอใจยินดีอยู่กับการที่จิตหยั่งเข้าสู่ความรู้อันเดียวแน่วอยู่อย่างนั้น นี่ละ.. มันทำให้ติดได้อย่างนี้นี่เอง
จนขนาดที่ว่า สุดท้ายก็นึกว่าความรู้ที่เด่น ๆ อยู่นี้เองจะเป็นนิพพาน สุดท้ายมันก็เป็นสมาธิอยู่อย่างนั้นละ จนกระทั่งวันตายก็จะต้องเป็นสมาธิ และติดสมาธิจนกระทั่งวันตาย...”
ลัก...ยิ้ม
05-02-2014, 10:01
ท่านกล่าวว่า ท่านติดสมาธิอยู่เช่นนั้นถึง ๕ ปีเต็ม ยังไม่ยอมก้าวเข้าสู่ขั้นปัญญาเพื่อถอดถอนกิเลสออกให้สิ้นซาก ดังนี้
“…ความคิดทั้งหลายที่เราเพลินแต่ก่อนกลับเป็นพิษนะ เวลาความสงบมีมากเข้า คิดไม่อยากคิดมันกวนใจ นั่นเห็นไหม... เพียงแย็บเท่านั้นกวนใจแล้ว อันนี้แนวนี้ไม่มีอะไรกวนนี้ สบายกว่ามาก อันที่คิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ยิบ ๆ แย็บ ๆ นั่นกวนใจ นั่นเห็นไหม ที่นี่มันกลับตรงกันข้ามแล้วนะ แต่ก่อนความคิดนี้เป็นบ้าไปกับมันเลย แล้วกลับมาความคิดนี้กวนใจ ต่อจากนั้นไม่อยากคิด อยู่ทั้งวันแน่วอยู่ด้วยความสงบ จิตนี้เป็นอันเดียวเท่านั้นก็เหมือนวิเศษมากอยู่นะ เพียงความรู้อันเดียวนี้
"ทั้ง ๆ ที่กิเลสมันก็ฝังอยู่ในนั้น แต่กิเลสมันไม่ออก ความฟุ้งซ่านวุ่นวายอะไรไม่ออก มีแต่ความสงบ.. ตีหัวมันไว้ครอบหัวมันไว้มันก็สบาย เพราะฉะนั้น ผู้มีสมาธิจึงติด ติดสมาธิ มันไม่อยากคิดอยากปรุงอะไร.. มันสบาย อยู่ที่ไหนอยู่ได้หมด นั่งนี้ไม่ได้กำหนดเวล่ำเวลานะ คือความรู้ความสะดวกสบายมันอยู่กับเจ้าของตลอดเวลานี่ จะไปหากาลสถานที่เวล่ำเวลาอะไรมากวนมัน มันก็ ‘อยู่งั้น’
"...ฝึกทรมานให้จิตสงบนี้ก็เป็นกองทุกข์อันหนึ่งเหมือนกัน พอจิตสงบได้แล้วก็ขยับเข้าไปอีก แต่มันก็มาเพลินลืมตัวอยู่ ตอนที่จิตเป็นสมาธิแล้ว.. มันลืมตัวก็ยอมรับว่าลืมตัว ที่ว่าติดสมาธิอยู่ ๕ ปีน่ะ.. มันลืมตัว คือมันสบาย ไม่ยุ่งกับรูป กับเสียง กับกลิ่น กับรส กับอะไรเลย มีแต่ความสงบเย็น พอเข้าแน่วเลย เพราะมันอยากเข้าอยู่ตลอดเวลา ไม่อยากออก เข้าไปนั้นแล้วมันไม่มีอะไรนี่ เหลือแต่ความรู้อันเดียวแน่ว สุดท้ายก็ว่า นี่ละ จะเป็นนิพพาน ๆ ไปอย่างนั้น นั่นเรียกว่านอนใจ มีสบายบ้างก็ตรงนี้...
‘เราติดสมาธิอยู่ถึง ๕ ปี จิตสงบแน่ว ไม่หวั่นไหวดั่งภูผาหิน อยู่ที่ไหนสงบสบายหมด’...”
ลัก...ยิ้ม
12-02-2014, 09:28
หลวงปู่มั่นไล่ออกจากสมาธิ
คำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ผู้รู้จริง มีความสำคัญในทุกระยะของการต่อสู้กับกิเลส สำหรับองค์ท่านเองก็ได้กล่าวยืนยันในเรื่องนี้อย่างถึงใจว่า
“หากไม่มีท่านอาจารย์มั่นมาฉุดมาลากออกไป ก็จะติดสมาธิอยู่เช่นนี้กระทั่งวันตายเลยทีเดียว แม้กระนั้นก็ตาม ก็ยังไม่ยอมลงใจง่าย ๆ กลับมีข้อโต้แย้งหาเหตุหาผลกับท่านอาจารย์มั่นชนิดตาดำตาแดงทีเดียว จนถึงกับว่าพระทั้งวัดแตกฮือกันมาอยู่เต็มใต้ถุนกุฏิ เพื่อฟังการโต้กับท่านอาจารย์มั่น”
ท่านไม่ได้โต้ครูบาอาจารย์ด้วยทิฐิมานะ อวดรู้อวดฉลาด แต่เป็นการโต้ด้วยความที่ท่านมีความเข้าใจ และเชื่อมั่นว่าอันนี้ก็เป็นของจริงอันหนึ่งของท่าน ส่วนหลวงปู่มั่นก็จริงอันหนึ่งของท่านเช่นกัน จึงเป็นการโต้เพื่อหาเหตุหาผล หาหลักเกณฑ์จริง ๆ แต่สุดท้ายท่านก็ยอมหมอบราบต่อเหตุผล ต่อความแยบคายด้วยความรู้จริงเห็นแจ้งของครูบาอาจารย์
ลัก...ยิ้ม
13-02-2014, 11:23
การโต้หาความจริงในครั้งนั้นของท่าน เริ่มด้วยคำถามของหลวงปู่มั่นดังนี้
“...ท่านถามว่า ‘เป็นยังไงท่านมหา จิตสงบดีอยู่เหรอ ?’
เราก็บอก ‘สบายดีอยู่ สงบดีอยู่’
ท่านก็นิ่งไป สักเดี๋ยวท่านก็ถามขึ้นอีกว่า ‘เป็นยังไง..จิตสงบดีอยู่เหรอ ?’
เราก็ตอบว่า ‘สงบดีอยู่’ คือไม่ทราบว่า ท่านจะเอาแง่ไหน
พอถึงขั้นที่ท่านจะเอาแล้วก็ว่า ‘ท่านจะนอนตายอยู่นั่นเหรอ ? สมาธิมันเหมือนหมูขึ้นเขียง มันถอดถอนกิเลสตัณหาที่ตรงไหน ? สมาธิทั้งแท่งเป็นสมุทัยทั้งแท่ง ท่านรู้ไหม ? สุขในสมาธิเท่ากับเนื้อติดฟัน เนื้อติดฟันเรามันเป็นสุขที่ไหน ? ท่านรู้ไหม ? ๆ ๆ’ ท่านซัดเข้าไปอย่างหนัก ไล่ออกจากการติดสมาธิ
ทางเราก็งัดวิชาออกมาสู้ท่านว่า ‘ถ้าว่าสมาธิเป็นสมุทัยทั้งแท่ง แล้วสัมมาสมาธิจะให้เดินที่ไหนในมรรคแปด’
‘มันก็ไม่ใช่สมาธิตาย นอนตายอยู่อย่างนี้ซิ สมาธิของพระพุทธเจ้า.. ไม่ได้เป็นเหมือนสมาธิแบบหมูขึ้นเขียงอย่างท่านนี่นะ สมาธิของพระพุทธเจ้า .. สมาธิต้องรู้สมาธิ ปัญญาต้องรู้ปัญญา อันนี้มันเอาสมาธิเป็นนิพพานเลย มันบ้าสมาธินี่ สมาธินอนตายอยู่นี้เหรอ เป็นสัมมาสมาธิน่ะ เอ้า ๆ พูดออกมาซิ’
พอท่านซัดเอา เราก็หมอบ พอลงมาจากท่านแล้วก็มาตำหนิตัวเอง เราทำไมจึงไปซัดกับท่านอย่างนี้ เรามาหาท่านเพื่อหวังเป็นครูเป็นอาจารย์ มอบกายถวายตัวกับท่านแล้ว แล้วทำไมจึงต่อสู้กับท่านแบบนี้ล่ะ
ถ้าเราเก่งมาหาท่านทำไม ถ้าไม่เก่งไปเถียงท่านทำไม เรื่องทิฐิมานะมันไม่มี มีแต่สอดแทรกหาเหตุผลเท่านั้น...”
ลัก...ยิ้ม
26-02-2014, 10:44
สมาธิ ๓ ประเภท
“...สมาธิท่านบอกไว้หลายขั้นหลายภูมิ ขณิกสมาธิ.. รวมชั่วประเดี๋ยวประด๋าวแล้วถอนออกมาเสีย อุปจารสมาธิ.. รวมเฉียด ๆ ตามหลักปริยัติ ท่านแสดงไว้ว่ารวมเฉียด ๆ แล้วก็ถอดเสีย อัปปนาสมาธิ.. รวมอย่างแนบแน่น
แต่ในหลักปฏิบัติที่หากจะควรแทรกได้ เราก็อยากจะแทรกว่า อุปจารสมาธิ นั้นคือเป็นนิสัยของจิตที่ผาดโผนมาก ถ้าหากเราคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้ว นิสัยของผู้ไปอย่างสงบเรียบร้อยนั้นมีจำนวนถึง ๙๕% นิสัยที่ผาดโผนโจนทะยานนี้มีประมาณสัก ๕% นี่ละประเภท ๕% นี้แหละ เป็นประเภทที่จะแสดงตัวในอุปจารสมาธิ คือรวมลงไปแล้วไม่อยู่กับที่ ถึงที่ก็จริง ถึงกึ๊กแล้วถอยปุ๊บออกมา ออกรู้สิ่งนั้นออกรู้สิ่งนี้ตามจริตนิสัยวาสนาของ ๕% นั้นแล
นี่ท่านเรียกว่า อุปจาระ คือเข้าไปแล้วถอยออกมาและรู้สิ่งต่าง ๆ นานา ไม่ว่าเปรต ว่าผี เทวบุตร เทวดา เหตุการณ์ต่าง ๆ สามารถรู้ได้ ทีแรกก็รู้ผิด ๆ พลาด ๆ ไปเสียก่อน เพราะยังไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็น ปฏิบัติก็ยังไม่ถูกต้อง เมื่อหลายครั้งหลายหนผิดก็เป็นครู ถูกก็เป็นครู หลายครั้งหลายหน จิตก็มีความเชี่ยวชาญ มีความชำนิชำนาญ พอแย็บออกมาผิดก็รู้ถูกก็รู้ทันที ๆ นี่ใช้งานได้มาก สำหรับนิสัยของ ๕% นี้ใช้ในเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี นี่เรียกว่าสมาธิ ๓ ประเภท เป็นอยู่ภายในจิตใจของผู้บำเพ็ญจิตภาวนาทั้งหลาย...”
ลัก...ยิ้ม
04-03-2014, 14:29
ตำหนิสมาธิ
ผลแห่งการฝึกสมาธิที่แน่นหนามั่นคงพอตัวแล้ว ท่านเปรียบไว้ว่า ถ้าเป็นประเภทอาหารก็มีทั้งผัก ทั้งเนื้อ ปลา เครื่องปรุงอะไรต่าง ๆ ครบหมดแล้ว จะทำเป็นแกงก็ได้ หุงต้มก็ได้ ทอดก็ได้ เป็นแต่เพียงว่าเอามาแช่ไว้เฉย ๆ ยังไม่ยอมแกง ยังไม่นำมาประกอบให้เป็นอาหารประเภทนั้น ๆ มันก็ทิ้งเกลื่อนอยู่อย่างนั้น สุดท้ายก็เน่าเฟะได้ ท่านว่าเพราะมัวแต่มากินสมาธิว่าเป็นมรรคผลนิพพาน มัวมากินผักกินหญ้าด้วยเข้าใจว่าเป็นแกง ต่อเมื่อออกก้าวเดินทางด้านปัญญาจึงเห็นผลอย่างรวดเร็ว เพราะเท่ากับเอาอาหารประเภทต่าง ๆ เหล่านั้นมาแกงกิน ทำให้เริ่มรู้สึกตำหนิสมาธิว่าไม่เป็นประโยชน์เท่าใด ดังนี้
“...พอออกจากสมาธิ ด้วยอำนาจธรรมอันเผ็ดร้อนของท่านอาจารย์มั่นเข่นเอาอย่างหนัก จึงออกพิจารณา พอพิจารณาทางด้านปัญญา ก็ไปได้อย่างคล่องตัวรวดเร็ว เพราะสมาธิพร้อมแล้ว เหมือนกับเครื่องทัพสัมภาระที่จะมาปลูกบ้านสร้างเรือนนี้มีพร้อมแล้ว เป็นแต่เราไม่ประกอบให้เป็นบ้านเป็นเรือนเท่านั้น มันก็เป็นเศษไม้อยู่เปล่า ๆ ไม่เกิดประโยชน์อะไร นี่สมาธิก็เป็นสมาธิอยู่อย่างนั้น เมื่อไม่นำมาประกอบให้เป็นสติปัญญา.. มันก็หนุนอะไรไม่ได้ จึงต้องพิจารณาตามอย่างที่ท่านอาจารย์มั่นท่านเข่นเอา พอท่านเข่นเท่านั้น.. มันก็ออก...
ลัก...ยิ้ม
12-03-2014, 11:34
ต่อจากนั้นก็ออกทางด้านปัญญา นี่ที่แปลก ตอนมันจะเปิดโลกธาตุแหละ เพียงสมาธินี้ รู้ขนาดไหนก็รู้ ไม่ได้กว้างขวางอะไร.. เต็มภูมิของสมาธิ เหมือนน้ำเต็มแก้วอยู่แค่นั้น จะทำ ยังไง ก็ไม่เลยน้ำเต็มแก้ว เอาน้ำมหาสมุทรทะเลมันก็ล้นออกหมด ๆ ไม่เลยไปได้แหละ อันนี้ภูมิสมาธินี้แน่นขนาดไหนก็แค่นั้น น้ำเต็มแก้ว ๆ ให้เลยนั้นไม่ได้นะ
พอออกทางด้านปัญญา มันไม่ได้เป็นอย่างนั้นสิ ทีแรกความคิดทางด้านปัญญามันก็ไม่อยากคิด กวนใจ แน่ะ... จะคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้มันเป็นการกวนใจ สู้อยู่แน่วไม่ได้ แต่ทีนี้คำสอนท่านสอนว่าอย่างนั้น ครูบาอาจารย์ท่านสอนอย่างนั้น ให้คิดให้พิจารณาทางด้านปัญญา มันก็ฝืนออกไป ฝืนออกไปทั้งที่ไม่อยากออกแหละ บืนออกไปพิจารณา ๆ เรื่องปัญญา เรื่องธาตุ เรื่องขันธ์ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ นี้เป็นทางเดินของปัญญา แต่ก่อนเป็นทางเดินของความสงบเสียก่อน เช่น เกสา โลมา อันเดียวก็ตามสงบได้ในขั้นสมาธิ เอานี้เป็นอารมณ์แห่งสมาธิ ทีนี้พออันนี้พอสมควรแล้ว แยกอันนี้ออกไปเป็นวิปัสสนาเป็นปัญญา
ผมเป็น ยังไง ที่เกิดที่อยู่ของมัน ยังไง ขน เล็บ ฟัน หนัง ไล่กันไป ๆ ทีนี้มันกระจายออก ๆ มันก็เริ่มเห็นโทษของมันเรื่อย ๆ ๆ พอเห็นแล้ว ทีนี้ผลปรากฏขึ้นมาแล้ว ความสว่างกระจ่างแจ้ง ภูมิสมาธิไม่เป็นอย่างนั้น ภูมิปัญญาเป็นอย่างนี้
โอ๋ย.. มันต่างกันนี่น่ะ เหมือนกับมองเมฆ มองหมอก มองเห็นนั่นเห็นนี่เข้าไป อยู่สมาธิเหมือนกับอยู่ในไหเอาฝาปิดไว้ มันก็สบายอยู่ในไหนั่นซิ มันไม่ได้ออกจากไหจากตุ่มไปละซิ พอออกทางด้านปัญญา เปิดฝาไหฝาหม้อเข้าแล้ว มันก็เริ่มมองเห็นอันนี้ ทีนี้มันก็โดดออกจากหม้อล่ะซิ มันเห็นไม่ถนัดเข้าใจไหม โดดออกจากหม้อนี้ ฟาดนี้เตลิดเปิดเปิง อ้าว.. เราเป็นนี่นะ..
ลัก...ยิ้ม
26-03-2014, 11:17
พอมันออก ทีนี้ปัญญามันไม่เหมือนสมาธิ สมาธิรู้อันเดียว ปัญญานี้แย็บออกตรงไหนรู้ตรงนั้น ๆ ทั้งโทษทั้งคุณรู้ไปพร้อม ๆ กัน ควรละอันไหน เห็นโทษอันไหน มันเห็นประจักษ์ ๆ ไม่ต้องถามใครนะ มันหากเป็นในจิต ทีนี้เราก็ เอ๊ะ ๆ .. ชอบกล ๆ ที่นี่นะ มันจะเริ่มละนะ ที่นี่นะ เอ๊ะ .. ชอบกล ๆ คิดไปแง่ไหนมันรู้แปลก ๆ ภูมิสมาธิมันรู้อันเดียวเท่านั้น มันไม่มีอะไรเป็นแง่ให้สัมผัส สัมพันธ์ให้ได้ข้อคิด ให้มีความเข้าอกเข้าใจในสิ่งเหล่านั้น
ที่นี้พอออกทางด้านปัญญา แย็บไปตรงไหน เช่นอย่างมองไปนี้ ‘ปั๊บ’ .. เห็นหมา มองไปนี้มันเห็นนี้ มองไปนั้นเห็นนั้น มันแปลกต่างกันไปเรื่อย ๆ ทีนี้เห็นอะไรทั้งเป็นโทษเป็นคุณ มันก็แยกก็แยะ จากนั้นมันก็เข้าใจ ๆ ทีนี้ดื่มละ ที่นี่.. เรื่องสมาธินี้จางไปแล้วไม่อยากเข้า ชักเพลินทางด้านปัญญา มันเข้าใจ ๆ ที่นี้แก้กิเลสมันก็แก้ด้วยปัญญา มันชัดอย่างนั้นนะ
‘โห แก้กิเลสมันแก้ด้วยปัญญา ไม่ได้แก้ด้วยสมาธิ สมาธิเราเป็นมานานเท่าไร ไม่เห็นกิเลสเหล่านี้หลุดลอยไปเลย แต่เวลาออกทางด้านปัญญากิเลสนี้เห็นประจักษ์ มันหลุดไป ลอยไปมากน้อยเพียงไรมันรู้ ๆ อ๋อ.. แก้กิเลสนี่ แก้ด้วยปัญญาต่างหาก’
นี่ละ.. เราเรียกว่าไม่พอดี คำว่าไม่พอดีคืออะไร ? ถ้าไปด้านปัญญามันก็เห็นคุณของปัญญา แล้วมาเห็นโทษของสมาธิ เสียอย่างเดียวมันไม่พอดีกัน ถ้าพอดีกันแล้วก็คือว่า เวลาออกทำงานเพื่อผลประโยชน์ทางด้านปัญญาก็ให้ออก ครั้นเวลาเข้ามาพักสมาธิเพื่อเอากำลังก็ให้พัก เข้าใจไหม เรียกว่าเหมาะสม มันเหมาะสมอย่างนั้น แต่ทีนี้มันไม่ออกอย่างนั้น.. เวลาออกมันเพลินเลยไม่สนใจกับสมาธินะ
ลัก...ยิ้ม
18-04-2014, 11:51
ออกทางด้านปัญญามันไม่ได้สนใจกับสมาธิ ออกเท่าไรมันยิ่งรู้ยิ่งเห็นกระจายออกไปเรื่อย ๆ มันยิ่งเพลินนะซิ ฆ่ากิเลสก็ฆ่าไปด้วยกัน เห็นโทษเห็นคุณมันไป เห็นคุณของธรรมเห็นไปด้วยกัน ฆ่ากิเลสปั๊บแล้วมันเห็นคุณขึ้นมา ธรรมเด่นขึ้นมา ๆ ที่ตรงไหนมันไม่เห็นคุณ คือกิเลสปิดไว้ ๆ ตามเข้าไป แก้เข้าไปตรงไหน กิเลสพังลงไปมากน้อยเพียงไร ธรรมก็แสดงขึ้นมา ๆ เรื่อย ๆ ทีนี้มันก็เพลินล่ะซิ เพลินจนขนาดที่ว่า
‘โธ่.. สมาธินี่มันนอนตายเฉย ๆ ลงขนาดนั้นนะ ไม่ได้แก้กิเลสตัวใดได้เลย แก้ด้วยปัญญาต่างหาก สมาธินี่มันนอนตายเฉย ๆ มากี่ปีกี่เดือนแล้ว ไม่เห็นได้เรื่องได้ราวอะไร’
เมื่อลงถึงขั้นสมาธิ.. นอนตายมันก็ไม่สนใจกับสมาธิใช่ไหมล่ะ! มันก็ฟัดทางด้านปัญญาไปเลย.. คราวนี้ก็เร่งทางปัญญาใหญ่ หมุนติ้วทั้งกลางวันกลางคืนไม่มีห้ามล้อบ้างเลย แต่เรามันนิสัยโลดโผนน่ะ ถ้าไปแง่ไหนมันไปแง่เดียว พอดำเนินทางปัญญาแล้ว มันก็มาตำหนิสมาธิว่า ‘มานอนตายอยู่เปล่า ๆ’
ความจริงสมาธิก็เป็นเครื่องพักจิต ถ้าพอดีจริง ๆ ก็เป็นอย่างนั้น นี่มันกลับมาตำหนิสมาธิว่า มานอนตายอยู่เปล่า ๆ กี่ปี ไม่เห็นเกิดปัญญา...”
ลัก...ยิ้ม
29-04-2014, 14:05
สุขของโลกกับสุขของสมาธิธรรม
“...คำว่า “สมาธิ” คือ ความแน่นหนามั่นคงของใจ ไม่วอกแวก คลอนแคลน จิตใจอิ่มอารมณ์ คืออารมณ์ที่จิตใจหิวกระหายอยู่ตลอดเวลานั้น ได้แก่หิวอยากดู อยากรู้ อยากเห็น ทางรูป ทางเสียง ทางกลิ่น ทางรส เครื่องสัมผัสต่าง ๆ มีความหิวโหยอยากสัมผัสสัมพันธ์อยู่ตลอดเวลา นี่คือความหิวโหยของใจ ถ้าปล่อยให้คิดอย่างนี้จะหิวโหยตลอดไป และสร้างผลคือความทุกข์ร้อนมาสู่จิตใจของเรา ไม่มีเวลาสงบเย็นใจได้เลย นี่คือจิตหิวโหยอารมณ์
พอจิตมีความสงบเย็น และก้าวเข้าสู่สมาธิเป็นลำดับ จนกลายเป็นสมาธิที่แน่นหนามั่นคงเต็มที่แล้ว อารมณ์เหล่านี้ไม่เข้ามากวนใจ จิตไม่อยากคิดปรุงเรื่องอารมณ์ทั้งหลายที่เคยหิวโหยมา อยู่ด้วยความสงบเย็นใจเป็นเอกัคคตาจิต เอกัคคตารมณ์ประจำใจของผู้มีสมาธิ นั่งที่ไหนมีแต่ความรู้ที่เด่นดวงอยู่ภายในใจ อารมณ์อื่นใดที่เคยรบกวนไม่เข้ามารบกวน จิตอยู่เย็นเป็นสุขในอิริยาบถทั้งสี่คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ด้วยความมั่นคงของใจที่มีสมาธิ และอิ่มอารมณ์ตลอด
เวลาจิตมีสมาธิเต็มที่แล้วนั้น ไม่อยากคิดอยากปรุงเรื่องอะไร เพราะเป็นเรื่องก่อกวน แต่ก่อนเราหิวโหยกับอารมณ์นั้น ๆ ถ้าไม่ได้คิดได้ปรุงไม่ได้ ดิ้นรนกระวนกระวาย อยากคิดอยากปรุงไม่แล้วไม่เลิกกันสักที สร้างแต่กองทุกข์มาให้ตัวเอง ทีนี้เมื่อเวลาจิตเป็นสมาธิแล้ว จะอิ่มอารมณ์ความคิดปรุงแต่งทั้งหลาย หมุนตัวอยู่กับความเย็น ความแน่นหนามั่นคงของใจเป็นเอกัคคตาจิต.. เอกัคคตารมณ์ประจำใจ ความรู้เพียงจิตได้ดิ่งลงสู่สมาธินี้เท่านั้น ก็ปรากฏว่าเป็นที่ภาคภูมิใจ ไม่มีคำว่าอิ่มพอ มีแต่ความดูดดื่ม อยู่ด้วยความเย็นใจ สบายใจตลอดเวลา
เพราะเหตุนี้เอง สมาธิจึงทำให้ผู้บำเพ็ญหลงได้ ติดได้ ถ้าไม่มีผู้มาแนะนำในทางปัญญา จะติดสมาธิโดยไม่อาจสงสัย เพราะสมาธิมีรสชาติพอที่จะให้นักบำเพ็ญทั้งหลายติดได้ไม่สงสัย เพราะเป็นรสชาติแห่งธรรม ผิดกันกับรสชาติของโลกเป็นไหน ๆ เรื่องของโลกเป็นรสชาติของกิเลสผลิตขึ้นมา กินแล้วมีเบื่อหน่าย อันนี้อยาก อันนี้กิน อันนี้ดื่ม เบื่อหน่ายอันนั้น มาดื่มอันนี้ คิดเรื่องนั้น เบื่อหน่ายอันนั้น มาคิดเรื่องนี้ นี่เรื่องของอารมณ์ของกิเลส ถ้ารสก็เป็นรสของกิเลส มีความรื่นเริงเสียชั่วครู่ชั่วยาม แล้วก็เอาไฟเข้ามาเผาในฉากหลังนั้นแล นี่คืออารมณ์ของกิเลส
แต่อารมณ์ของธรรมอยู่ด้วยความดูดดื่มแห่งความสงบ เย็นใจ อยู่ที่ไหน ๆ สบายหมด ดังท่านผู้ทรงสมาธิธรรมด้วยการภาวนาของตน...”
ลัก...ยิ้ม
14-05-2014, 15:13
วิธีพิจารณากรรมฐาน ๕
กายคตาสติ
ทางก้าวเดินออกทางด้านปัญญานี้ท่านว่า มีความกว้างขวางมากไม่เหมือนสมาธิ สมาธิจะให้มีความแน่นหนามั่นคงเท่าไรก็เต็มภูมิของสมาธิ เหมือนกับน้ำเต็มแก้ว น้ำเต็มโอ่ง มีมากเท่าไรจะเอามาเทเพิ่มเติมน้ำเต็มแก้วก็รับไม่ได้ จะให้เลยจากภูมิสมาธิที่เต็มตัวแล้วไปไม่ได้ นี่เป็นขั้นของสมาธิ
สำหรับทางเดินด้านปัญญานั้น เทศนาอบรมพระของท่านตอนหนึ่งกล่าวถึงวิธีการพิจารณาไว้ ดังนี้
“...ตามทางของศาสดาที่ประทานให้แล้ว ซึ่งเรารับมาตั้งแต่วันบวช ท่านสอนว่า เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ... เกสาคือผม ผมเป็นยังไง ผมคนเรา ทั้งหญิงทั้งชาย ตลอดถึงผมหมู ผมหมา ผมเป็ด ผมไก่ ผมวัว ผมควาย เรียกว่าขนไปเฉย ๆ มันก็ผม เวลาเป็นผมเป็นไปได้หมดทั้งนั้น ดูไปหมด ผมเขาผมเรา ผมบุคคลหญิงชาย ผมสัตว์อะไรดูให้ทั่วถึง ผมเหล่านี้เป็นยังไง มันสะอาดสะอ้านอะไรบ้างพิจารณาซิ ชะล้างทุกวัน ๆ ผมอันนี้แหละตัวสกปรกใหญ่โต จึงต้องชะล้างทุกวัน ไม่ชะล้างไม่ได้ นี่เอามาพิจารณา ถ้าเป็นของดิบของดีจะชะล้างกันหาอะไร อยู่ที่ไหนก็ดิบก็ดีสะอาดสะอ้านตลอดเวลา ควรที่จะแน่ใจตายใจได้กับผม แต่นี้ตายใจไม่ได้
ขนก็เหมือนกัน แบบเดียวกัน เอามาเทียบกันได้ทุกสัดทุกส่วน นี่วิธีการพิจารณาทางด้านปัญญา ขอให้เริ่มก้าวเดินออกอันนี้ เอาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง กรรมฐาน ๕ เป็นพื้นฐานแห่งการก้าวเดินของปัญญาเรา ผม ขน เล็บเป็น 'ยังไง' ให้ดู แล้วเล็บคนกับเล็บหมาก็ไม่เห็นมีอะไรผิดกัน มันสะอาดสะอ้าน มันสวยงามที่ตรงไหน จึงต้องไปติดไปพันกับมัน ดีไม่ดีย้อมเล็บย้อมเลิบ ตัดเล็บย้อมเล็บให้สวยงาม มันจะสวยอะไรประสาเล็บ ถ้าไม่เป็นบ้าแล้วจะไปตกแต่งมันอะไรนักหนา ชะล้างให้มันพออยู่ได้ ไปได้ทั้งเขาทั้งเราเท่านั้นก็พอ จำเป็นอะไรจะต้องมาตกแต่ง มาชะมาล้าง หรือมาประดับประดาประสาเล็บ นั่นปัญญา ให้พิจารณาอย่างนั้น
ฟัน เอาฟันมาพิจารณาซิ ฟันเป็น 'ยังไง' นี่ผมขน เล็บ ฟัน หนัง ท่านแสดงไว้ในกรรมฐาน ๕ ฟันนี้เป็น 'ยังไง' ฟันเขา ฟันเรา ฟันหญิง ฟันชาย ฟันสัตว์ ฟันบุคคล มันก็คือกระดูกอันเดียวกัน อยู่ในร่างกายอันนี้เรียกว่าฟัน ความจริงแล้วก็คือกระดูกนั้นแล มันวิเศษวิโสอะไรฟันอันนี้ กระดูกอันนี้ กระดูกเรากับกระดูกสัตว์ต่างกันอย่างไรบ้าง กระดูกหญิง กระดูกชาย กระดูกสัตว์ กระดูกเรา กระดูกเขา เอามาดูซิ กระดูกเป็นของสวยของงามที่ไหน ฟังแต่ว่ากระดูก ๆ เท่านั้นเอง
นี้เรามาบอกว่าเป็นฟันเฉย ๆ ความจริงก็คือกระดูกส่วนหนึ่ง ที่มาใช้งานในการบดเคี้ยวอาหารเท่านั้น อย่างอื่นเขาบดเคี้ยวไม่ได้ จึงให้ชื่อว่ากระดูกข้อมือ กระดูกข้อเท้าว่าไปตามธรรมดา แต่กระดูกนี้เรียกว่ากระดูกฟัน เอามาบดเคี้ยวอาหาร มันก็คือกระดูกนั้นเอง นี่ให้พิจารณา ทีนี้กระดูกมันสกปรกหรือมันสะอาด ดูซิ.. ตื่นขึ้นมาแล้วล้างปากล้างฟัน ล้างเสียจนกระทั่งเลยเถิดเลยแดน มีอะไรเอามาเป็นความสะอาดล้างปากล้างฟัน ยาถูฟัน น้ำยาน้ำอะไรมาชะมาล้าง ให้มันสดสวยงดงามไปแบบกิเลสไปเสีย มันก็กลายเป็นกิเลสไปได้ ทั้ง ๆ ที่กระดูก ทั้ง ๆ ที่ฟันมีอยู่ด้วยกันหมด มันไม่ได้ติดใคร แต่คนที่ว่าตัวนักรู้คือใจนี้แหละ.. ไปหลงเขา
พิจารณาจากฟันแล้วก็หนัง นี่วางพื้นฐานย่อ ๆ ... หนังคนเราทั้งหญิงทั้งชาย หนังสัตว์ หนังบุคคล คนเราที่ติดกันนี้ติดเพราะหนังมาตกแต่ง ผิวมันเพียงบาง ๆ เท่านั้น ไม่ได้หนาเท่าใบลานเลย คนทั้งคนนี้มีเครื่องหลอกตาให้หลงได้ถนัดชัดเจนก็คือ ผิวหนังนี่เท่านั้น จึงประดับประดาตกแต่งทุกอย่างที่จะทำให้หลงหนักเข้าไป ทีนี้เราพิจารณาทางด้านปัญญาเรื่องหนัง พิจารณาหนังภายนอกเป็นผิวบาง ๆ หลอกคน พลิกเข้าไปภายใน ดูหนังภายใน
จากนั้นก็ดูเนื้อ ดูเอ็น ดูกระดูก ตับ ไต ไส้ พุง ในร่างกายของเรานี้มันคืออะไร นี่คือปัญญา จะพิจารณาเพื่อถอดถอนความยึดมั่นถือมั่น สำคัญผิดว่าเป็นของสวยของงามให้ลงสู่ความจริง ความจริงก็คือว่า หนังก็สักแต่ว่าเครื่องหุ้มห่อหอปราสาทราชมณเฑียรอะไร หุ้มห่อซากผีดิบไว้ให้พอดูได้ด้วยกัน ที่เป็นสัตว์ เป็นมนุษย์ อยู่ร่วมกันเท่านั้น จึงมีหนังหุ้มห่อเอาไว้แล้วชะล้าง ถึงชะล้างขนาดนั้น หนังก็ไม่พ้นที่จะแสดงออกมา.. ขี้เหงื่อ ขี้ไคล ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นของสกปรกโสมมเต็มผิวหนังของเรานี้ ต้องชะต้องล้าง ไม่ชะไม่ล้างไม่ได้ สกปรกเลอะเทอะ อยู่ไม่ได้
อะไรที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับหนังและร่างกายของเรานี้ จะสะอาดสะอ้านขนาดไหนก็ต้องชะต้องล้าง ต้องเช็ดต้องถู อย่างที่หลับที่นอนก็สวยงาม สะอาดสะอ้าน ราคาแพง ๆ ทั้งนั้น บ้านเรือนแต่ละหลัง ๆ สร้างขึ้นมากี่ห้องกี่หับก็ว่าเป็นของสวยของงาม ของสะอาดสะอ้านพอคนเข้าไปอยู่ที่ใด นำสิ่งเหล่านี้เข้ามาคละเคล้ากับคน เสื้อผ้าเครื่องนุ่งเครื่องห่มมาคละเคล้ากับคน ก็กลายเป็นของสกปรกไปตาม ๆ กันหมด แม้สิ่งเหล่านั้นจะสะอาดก็เพราะว่าร่างกายนี้ หาความสะอาดไม่ได้ ต้องชะต้องล้างอยู่เสมอ ไปอยู่ในบ้านในเรือนก็ต้องชะต้องล้าง ทำความสะอาดในบ้านในเรือน
มันขึ้นกับอะไร มันถึงได้ชะได้ล้างตลอดเวลา ก็ขึ้นอยู่กับร่างกายตัวสกปรกนี้เอง มันไปอยู่ที่ไหนก็เลอะเทอะไปหมด คือร่างกายตัวสกปรกนี้เอง นี่การพิจารณาทางด้านปัญญาให้แยกแยะอย่างนี้
ลัก...ยิ้ม
26-05-2014, 11:10
ดูเข้าไป ดูหนัง แล้วก็ดูเนื้อ เนื้อคน เนื้อสัตว์ มันมีคุณค่ามีราคาและสวยงามที่ตรงไหน หนังเวลาถลกออกมาแล้วมาปูไว้เป็นอย่างไร น่าเกลียดมากไหม ดูเข้าไปในเนื้อ.. เนื้อเป็นอย่างไร ดูเข้าไป เนื้อนี่มันสกปรกหรือสะอาด เอ็นกระดูก.. ยิ่งดูเข้าไปในกระดูกนี้ ทำไมมันถึงติดถึงพันนักจิตใจอันนี้ แกะไม่ออก ดึงไม่ออก มิหนำซ้ำยังส่งเสริมให้ติดแน่นเข้าไปอีก หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก แล้วดูเข้าไปในตับ ไต ไส้ พุงของคนแต่ละคน มีแต่ส้วมแต่ถานเต็มพุงด้วยกันทั้งนั้นแหละ เราดูกันได้เวลานี้ก็เพราะเอาสิ่งที่พอดูได้มาปิดบังไว้นี้ หุ้มห่อแล้วปกปิดกำบังไว้ด้วยการนุ่งการห่มซักฟอกไว้เรียบร้อย มาพบกันเข้าก็พอน่าดูน่าชมว่าเป็นหญิง เป็นชาย เป็นเขา เป็นเราเท่านั้นเอง หลักความจริงคือ ธรรมชาติเดิมของมันนั้นหาความสะอาดสะอ้านไม่ได้.. นี่คือปัญญา พิจารณาแยกแยะอย่างนี้ พิจารณาในเรื่องนี้จนกระทั่งถึงตับ ไต ไส้ พุง อาหารเก่า อาหารใหม่ ถึงส้วมถึงถานในพุงของเรา
ดูแล้วทบทวนหลายครั้งหลายหน เพ่งเล็งด้วยสติด้วยปัญญาหลายครั้งหลายหน จนกระทั่งสติปัญญามีความคล่องแคล่วแกล้วกล้า ดูอวัยวะของตัวนั้นเอง ทีแรกก็เหมือนกันกับเราฝึกหัดเขียนหนังสือ ทั้งเขียนทั้งลบระเกะระกะ เขียนแล้วเขียนเล่า ลบแล้วลบเล่า เพราะเขียนไม่ชำนาญ มันก็ไม่ถูกตัวแล้วเลอะเทอะ ทีนี้เวลาฝึกหัดเขียนไปหลายครั้งหลายหน มันก็ค่อยเป็นตนเป็นตัวขึ้นมา อ่านก็ง่ายขึ้น ๆ เวลามีความชำนาญในการขีดเขียนแล้ว พอมองดูพับเท่านี้มันก็รู้ เขียนก็หวัดไปเลย เพราะความชำนาญของการเขียน อ่านก็แบบเดียวกัน อ่านหวัดไปเลย นี่คือความชำนาญ
การพิจารณาทางด้านปัญญาทีแรกก็ถูไถไปมา ล้มลุกคลุกคลาน เห็นชัดบ้างไม่ชัดบ้างในสิ่งที่กล่าวมาเหล่านี้ซึ่งเป็นหินลับปัญญา.. ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ทุกอย่างเป็นหินลับปัญญา ปัญญาจะคมกล้าขึ้นด้วยการพิจารณาสิ่งเหล่านี้ซ้ำ ๆ ซาก ๆ จิตใจก็มีความสว่างไสวและคล่องตัวขึ้นมาเป็นลำดับ นี่แหละ หลักฐานเบื้องต้น ที่จะเปิดทางเพื่อมรรคผลนิพพานให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น ก็คือส่วนร่างกายนี้แหละ ที่มันปกปิดกำบังภูเขาทั้งลูก.. ไม่ได้หนาแน่นยิ่งกว่าอวัยวะภายในตัวของเรา ทั้งเขา ทั้งเรา ทั้งหญิง ทั้งชาย มันปกปิดกำบังไว้หมด
หญิงเห็นชายก็หลง ชายเห็นหญิงก็หลง นี่แหละ.. มันหนายิ่งกว่าภูเขาทั้งลูก จึงเปิดทำลายภูเขาลูกนี้ คือภูเขาภูเรานี้ออกด้วยปัญญาให้เห็นอย่างแจ่มแจ้งชัดเจน จนกระทั่งสติปัญญาคล่องแคล่วแกล้วกล้า.. แยกธาตุ แยกขันธ์ออกไปเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ แยกลงไปเป็นอนิจจัง.. แปรสภาพทุกขัง.. บีบบี้สีไฟตลอดเวลา อนัตตา.. หาความเป็นสัตว์เป็นบุคคลของผู้หนึ่งผู้ใดไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่โลกยึดถือกันตลอดมา เขาก็ไม่ได้เป็นอะไร เป็นของใคร แยกออกเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วพิจารณาซ้ำ ๆ ซาก ๆ ด้วยการดำเนินปัญญา...”
ลัก...ยิ้ม
13-06-2014, 08:45
ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕
“...ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ส่วนที่แข็งภายในร่างกายของเรา เช่นเนื้อ เช่นหนัง อย่างนี้เป็นต้น ท่านเรียกว่าธาตุดิน ส่วนน้ำที่ซึมซาบอยู่ทั่วสรรพางค์ร่างกายเรียกว่าธาตุน้ำ ลม มีลมหายใจ เป็นต้น เรียกธาตุลม ไฟ คือความอบอุ่นในร่างกายของเรานี้เรียกว่า ธาตุไฟ ทั้งสี่อย่างนี้รวมตัวอยู่ มีจิตเข้าไปแทรกสิง เป็นเจ้าตัวการหรือเป็นเจ้าของอยู่ในนั้น ..
ขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูป..ได้แก่ร่างกายนี้ เวทนา.. ความสุข ความทุกข์ เฉย ๆ เวทนามีสอง อยู่ภายในจิตก็มี ในขันธ์ก็มี สัญญา.. ความจำได้หมายรู้ จำที่นั้นที่นี่ จำชื่อจำเสียง อย่างเราเรียนหนังสือจำได้ เรียกว่าสัญญา สังขารขันธ์.. เป็นสี่ ความคิดความปรุงอะไร ๆ วิญญาณขันธ์.. เป็นห้า ตากระทบรูป ความรู้เกิดขึ้นจากสิ่งสัมผัสนั้น นี่เรียกว่าวิญญาณ...”
ลัก...ยิ้ม
17-06-2014, 08:35
โสดา สกิทา อนาคา อรหันต์..
อย่าคาด ให้ถือหลักปัจจุบันธรรม
เทศนาตอนหนึ่งขององค์หลวงตากล่าวถึง การระงับความกลัวในขั้นปัญญามีความแตกต่างจากขั้นสมาธิ และเตือนนักปฏิบัติให้ถือหลักปัจจุบันธรรม ดังนี้
“...พอก้าวเข้าสู่ปัญญาเกี่ยวกับการระงับความกลัวเป็นอีกแบบหนึ่ง เพราะปัญญากับสมาธินั้นผิดกันในคน ๆ เดียวกันนั่นแหละ เราเองเคยปฏิบัติมาอย่างนั้น ไม่มีใครบอกมัน หากรู้วิธีปฏิบัติต่อตัวเองเช่น เมื่อจิตอยู่ในขั้นสมาธิ ก็เอาสมาธิเข้าบังคับจิตให้สงบจากความกลัว ไม่ให้ส่งไปหาอารมณ์ที่กลัว ว่าเสือ ว่าช้าง ว่างู ว่าอะไร ว่าอันตรายต่าง ๆ ก็ไม่มี เรื่องกวนตัวเอง เพราะจิตไม่ออกไปวาดภาพหลอก
พอจิตก้าวเข้าวิปัสสนา พอจิตปรุงแย็บเรื่องเสือ มันก็รู้ทันแล้วนี่นะ เพียงแย็บปรุงถึงภาพเสือ.. สติปัญญาก็ทันแล้วว่า นี่.. มันปรุงภาพเสือ เอ๊า.. แม้จะทันก็ให้มันปรุง ให้เป็นเสือเข้ามาแล้วแยกธาตุเสือ ที่ว่าแยกธาตุเสือเพราะอะไร เพราะเราดำเนินปัญญาในการคลี่คลายแยกแยะอยู่แล้วนี่ จะเอามาใช้ระงับแบบสมาธิ มันไม่เห็นด้วย จิตมันไม่ถนัด ถนัดในการแยก
‘เอ้า.. เสือหรือ ? กลัวมันอะไร ? กลัวตรงไหน ?’
คือตั้งเป็นภาพเสือให้มันเห็นอยู่อย่างนั้นแล ไม่ให้มันดับ เพราะเรารู้อยู่แล้วว่า ภาพของเราออกไปหลอกเจ้าของนี่ เอาตั้งไว้ภาพนี้ ‘เอ้า.. กลัวอะไร’ สติปัญญามันทันความเคลื่อนไหวของจิต มันทันเองนะ เมื่อมันแก่กล้าเข้าไป มันทันเองอย่างนี้ นี่คือความจริงที่พูดให้หมู่เพื่อนฟังนี้ วิธีการฝึกจิตตัวเอง.. เมื่อมันรวดเร็วแล้วมันทิ้ง ภาพปรุงขึ้นเรื่องอะไรปั๊บ.. มันรู้ว่านี้แย็บออกไปแสดงทันที พอรู้ปั๊บดับพร้อม อันนี้เรายังไม่ให้ดับ เราจะแยกมัน เพราะเป็นอุบายของปัญญา และเป็นเครื่องหนุนจิตใจให้ละเอียดเข้าไปอีก
พอแยกธาตุ.. กำหนดดูเสือ ‘กลัวอะไรมัน’ ‘เอ๊า’ ไล่เบี้ยกันไป ‘กลัวตามันรึ’ ‘ตาเราก็มี..ไม่เห็นกลัว’ นั่นมันแก้กัน ‘กลัวเล็บมันรึ’ ‘เล็บเราก็มี..ไม่เห็นกลัว’ ‘กลัวขนมันรึ’ ‘ขนเราก็มี..ไม่เห็นกลัว ถ้ากลัวขนมันก็กลัวขนเราซิ ขนเราขนมันธาตุอันเดียวกัน’ ‘กลัวเขี้ยวมันรึ’ ‘เขี้ยวเราก็มี..กลัวอะไร’ ไล่หากันจนไม่มีทางไปกระทั่งถึงหาง บทเวลาไล่ถึงหาง นึกว่ามันจะจน.. มันก็ไม่จนนะ ความจริงก็เราไม่มีหางนี่ ‘กลัวหางมันเหรอ’ ‘แม้แต่ตัวมันเองยังไม่กลัว แล้วเราจะไปกลัวหางมันหาประโยชน์อะไร’ ‘แน่ะ’.. มันแก้กันทันนะ
ลัก...ยิ้ม
07-07-2014, 09:07
ต่อจากนั้นก็กำหนดทำลายให้แตกกระจายละทีนี้ การกำหนดปัญญามันรวดเร็วนี่.. กำหนดให้แตกกระจายไปหมด อันนั้นก็แตกกระจายลงไปถึงความเป็นธาตุต่าง ๆ ความปรุงของจิตออกไปก็รู้คือกำหนดไว้ เมื่อเวลามันปรุงออกไปเป็นภาพเสือ ให้มันเป็นภาพเสือเสียก่อน จนพิจารณาไล่ไปทีละอาการ ๆ อย่างนั้นแล้ว ที่นี้กำหนดให้มันกระจายไปเลย การกำหนดกระจายนี่ จิตก็แย็บปรุงเพราะเป็นภาพของจิตเองนี่ สติปัญญามันทันเอง มันทำลายกันเองโดยสมมุติว่าเสือ เพราะสถานที่เหล่านั้นมันมีเสือ มันกลัวเสือ กำหนดภาพเสือให้มันดูเสียก่อน กำหนดกระจายลงไป มันก็หมด พอปรุงขึ้นปั๊บ ภาพอะไรมันก็ดับไปพร้อม ๆ ที่นี้จะกลัวอะไร เพราะไม่มีอะไรหลอกนี่ เป็นภาพของตัวเองไปหลอกตัวเองต่างหาก
ไม่ว่าเสือ ว่าช้าง ว่างูอะไร เวลาเจอจริง ๆ มันก็เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง เราก็เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง แน่ะ.. มันคิดไปอย่างนั้นเสีย นั่นก็ธาตุ นี่ก็ธาตุ มันพิจารณาไปอย่างนั้นเสีย จิตมันพลิกตามอุบายปัญญาไปเสีย ไม่พลิกไปทางให้มันกลัวก็ไม่กลัว
จนกระทั่งจิตว่างไปหมด เมื่อมันว่างไปหมด อะไรแย็บขึ้นมามันก็เหมือนแสงหิ่งห้อย มันเป็นของมันเอง แย็บขึ้นมาดับพร้อม ๆ กัน มีแต่ความว่างไปหมดแล้วจะกลัวอะไร มีแต่จิตมันครอบร่างกายนื้ ทำให้ว่างไปหมดและครอบโลกธาตุเสียด้วย แล้วจะกลัวอะไร อุบายระงับจิตเป็นอย่างนั้น ระงับความกลัว มันไม่กลัว ต้องใช้อุบายวิธีตามขั้นของจิต ของสมาธิและปัญญา
สติปัญญาให้นำออกใช้ อย่านั่งเฝ้าอยู่เฉย ๆ คอยให้เกิดปัญญา.. ไม่เกิดนะ อย่าว่าไม่บอก บอกมาหลายครั้งหลายหนแล้ว สมาธิแค่ไหน.. ปัญญาก็จะต้องใช้ไปตามขั้นภูมิ กำหนดพิจารณาหาอุบาย ค้นหาอุบายคิดพินิจพิจารณา จนเกิดปัญญาขึ้นมาเอง พอเกิดขึ้นมาแล้วก็ทำให้เข้าใจ ๆ ที่นี้ก็เห็นคุณค่าของปัญญา จากนั้นก็เดินปัญญาเรื่อย ๆ ไปตามแต่กรณี
ลัก...ยิ้ม
15-07-2014, 17:33
ปัญญาเป็นเครื่องแก้กิเลส สมาธิแต่เพียงไล่กิเลสเข้ามารวมตัวให้ใจสงบ ไม่ยุ่งเหยิง วุ่นวายหรือไม่ฟุ้งซ่าน จิตรวมตัว ปัญญาเป็นผู้คลี่คลายเพื่อเหตุเพื่อผลในการแก้กิเลส.. เหตุผลพร้อมที่ตรงไหน กิเลสก็หลุดลอยไปเรื่อย ๆ ใจจักเกิดความสะดวกสบาย เห็นคุณค่าของปัญญา สติปัญญาเริ่มหมุนตัวเรื่อย ๆ ความเพียรก็กล้าแข็ง
ถ้าลงความเพียรออกก้าวเดินแล้ว ความขี้เกียจขี้คร้านหายหน้าไปหมด ไปอยู่ไหนอยู่ได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในป่า ในเขา ไม่ว่าอยู่สถานที่เช่นไร น่ากลัว ไม่น่ากลัว จิตไม่ไปสำคัญ ไม่สนใจเลย สนใจแต่กิเลสตัวยุ่งกวนนี่เท่านั้น
กลัวก็คือ กิเลสเป็นผู้พาให้กลัว เป็นผู้หลอกให้กลัวนั่นเอง มันไม่ได้ว่าเสือเป็นสัตว์น่ากลัว เสือเป็นอันตรายนะ กิเลสต่างหากเป็นสิ่งน่ากลัว ทำให้กลัวและเป็นอันตราย จิตย้อนเข้ามานี่.. ว่ากลัวเสือ ความกลัวเป็นกิเลสตัวเขย่าต่างหาก เสือนั้นอยู่กับมันต่างหาก ถ้าเราไม่ปรุงขึ้นว่าเสือ ไม่ปรุงขึ้นว่าอันตราย ก็ไม่เห็นอะไรมาเขย่าจิตใจได้ ก็คือความปรุงความแต่ง ความเสกสรรของจิตนี้เอง มันเขย่าตัวเองให้ได้รับความทุกข์ ความลำบาก เพราะฉะนั้น จิตจึงแน่ใจและปักใจว่าอันนี้เป็นภัย มันเอาตรงนี้ว่าเป็นภัย ไม่เห็นว่าภายนอกเป็นภัย
เมื่อเข้าถึงขึ้นความจริงแล้ว มีแต่กิเลส ๆ เป็นภัยอยู่ภายในนี้ มันรู้อยู่นี้ เห็นอยู่นี้ แสดงขึ้นมาที่นี่ มันจะไปตะครุบเงาอยู่นอก ๆ โน้นทำไม ปัญญาพอถึงขั้นนี้แล้ว มันหมุนติ้ว ๆ อยู่นี้ รู้อยู่นี้ เห็นอยู่นี้ อะไรกระดิกพลิกแพลงขึ้นในจิต ก็รู้ว่าเป็นเรื่องของกิเลสทั้งเพ ขึ้นชื่อว่าเป็นเรื่องของกิเลสมันทันกัน ๆ เรื่อย ๆ นี่.. การปฏิบัติธรรมะ
ลัก...ยิ้ม
29-07-2014, 17:06
ผู้ใดชอบคิด ชอบพินิจพิจารณา ผู้นั้นแหละจะเข้าใจได้ดี เราจะว่าเรามีสมาธิ ไม่มีสมาธิ ถึงเวลาที่ควรจะพิจารณา ให้พิจารณาความสงบก็เพื่อจิตสบาย การพิจารณาก็เพื่อถอดถอนกิเลสภายในจิต เพื่อความสบายหายห่วงของจิต จิตปล่อยกังวลได้เป็นลำดับ อย่าไปคาดว่าเราไม่มีภูมิสมาธิ หรือเราได้ภูมิสมาธิเพียงแค่นี้เป็นปัญญาไปไม่ได้ พิจารณาปัญญาไปไม่ได้.. อย่าหาคาดหมาย
กิเลสมันมีขั้นที่ไหน มันเกิดกิเลสขั้นไหนบ้าง มันไม่เห็นมาบอกเรา กิเลสแสดงขึ้นมาที่ไหนก็เป็นกิเลส และเสียดแทงหัวใจเราได้ทุกประเภทของกิเลส ทุกอาการของกิเลสที่มันแสดง เราต้องคิดเทียบอย่างนั้นซิ กิเลสไม่เห็นว่ามีชั้นไหนภูมิใด ทำไมมันเป็นกิเลส ทุกระยะที่มันแสดงตัวออกมา
เวลามีธรรมเงื่อนใดที่เราจะพิจารณา ทำไมจะไม่เป็นธรรม ถึงวาระที่จะพิจารณา.. เราต้องพิจารณา เพราะการพิจารณาก็เพื่อแก้กิเลส ทำไมจะไม่เป็นธรรม ปัญญาต้องหมุนกันอย่างนั้นซิ ปัญญาต้องดักหน้าดักหลังร้อยสันพันคม ไม่งั้นไม่ทันนะ
ได้ยินแต่ท่านว่ามหาสติฯ มหาปัญญา เป็นยังไง ? มหาสติมหาปัญญาท่านกล่าวไว้แล้วนั้น จิตมันคาดมันหมายนะ ท่านว่าพระโสดาฯ พระสกิทาคาฯ พระอนาคาฯ พระอรหัตฯ บรรลุโสดาฯ บรรลุสกิทาคาฯ บรรลุอนาคาฯ บรรลุอรหัตอรหันต์ มันก็คาดหมายไปตามความบรรลุ เราจะบรรลุอย่างนั้น เราจะบรรลุอย่างนี้มันคาดไป แต่ความคาดหมายเหล่านี้กับความจริงที่เราปฏิบัติไปรู้ไปเห็น.. มันเป็นคนละโลก ไม่ใช่อันเดียวกัน ห่างกันคนละโลก เหมือนเราวาดภาพเมืองอเมริกา เป็นต้น เราไม่เคยเห็นอเมริกา เช่น กรุงวอชิงตัน เป็นต้น หรือเรื่องอะไรก็ตาม มันจะวาดภาพขึ้นมาทันที เราก็เชื่อว่ามันเป็นอย่างนั้น ๆ พอไปเห็นเข้าเท่านั้น ภาพที่วาดไว้นั้นกับความจริง มันเป็นคนละโลกเลย
แต่เราก็ไม่ยอมเห็นโทษ ว่าภาพที่เราวาดไว้แต่ก่อนนั้นคือเครื่องหลอกเรา เคยหลอกมาตั้งแต่ไหนแต่ไร พูดถึงเรื่องอะไรมันก็วาดภาพนั้นขึ้นมา พูดเรื่องอะไร เรื่องคน เรื่องสัตว์ เรื่องอะไรก็ตาม มันต้องมีภาพขึ้นมาประกอบทุกสิ่งทุกอย่างทุกครั้ง แต่เวลาไปถึงความจริงแล้ว ภาพที่วาดเอาไว้นั้นไม่ตรงกับความจริงนั้นเลย ควรจะเห็นโทษ.. แต่เราก็ไม่ยอมเห็น
เพราะฉะนั้น จึงว่ากิเลสกล่อมคนให้หลับสนิทได้ง่ายนิดเดียว วาดภาพมรรคผลนิพพานก็เหมือนกัน สำเร็จพระโสดาฯ เห็นจะเป็นอย่างนั้น สำเร็จพระสกิทาคาฯ สำเร็จพระอนาคาฯ เป็นอย่างนั้น มันวาดภาพของมันไว้อย่างพร้อมมูล และเป็นเครื่องหลอกอันหนึ่ง ๆ ฉะนั้น จึงไม่ต้องไปคาดไปหมาย ให้เดินตามปฏิปทาเครื่องดำเนิน ปัจจุบันธรรมเป็นหลักที่จะยังมรรคผลนิพพานให้เกิดภายในใจไม่สงสัย...”
ลัก...ยิ้ม
01-08-2014, 13:47
หลักเกณฑ์อันใหญ่หลวง
ระหว่างอยู่ศึกษากับหลวงปู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือ จังหวัดสกลนคร ขณะกำลังนั่งภาวนา พิจารณาด้านปัญญา ในคืนหนึ่งก็เกิดผลอัศจรรย์ขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ดังนี้
“...พิจารณาร่างกายนี้แหละ พิจารณาลงไป ๆ ลึก ๆ นะ พิจารณาลงไป ๆ ร่างกายมันเป็นของมันเอง เวลามันจะเป็นขึ้นมา มันแปลกนะ ไม่มีใครช่วย ไม่มีใครตกใครแต่ง มันหากเป็นของมันเอง
พอจิตจ่อลงไปจุดเดียวเท่านั้น ร่างกายจะทำงานของมันเอง ผุพังแตกสลาย สลาย ๆ ลงไป พังลงไป ก็ยิ่งสนใจ ยิ่งดูความเป็นของมัน นั่นละ.. ธรรมท่านแสดง อันหนึ่งเหมือนผู้ดู อันหนึ่งเหมือนธรรมแสดงลวดลายต่าง ๆ สุดท้ายร่างกายนี้ก็พังลงไป ๆ หมด ยังเหลือแต่กองกระดูก พิจารณากองกระดูก กระดูกเหล่านี้.. มันก็เป็นดินเหมือนกัน เหล่านั้นก็เป็นดิน ส่วนที่ละเอียดมันก็ลงไปก่อนแล้ว อันนี้ส่วนหยาบมันก็จะลงเป็นแผ่นดินอันเดียวกันนี้แหละ พอว่าอย่างนั้น.. พรึบเลย นั่นเห็นไหมล่ะ ลงก็พรึบหมดเลย โลกธาตุดับหมด
‘โอ้โห.. อัศจรรย์!!! ลงเป็นชั่วโมง ๆ นะ’
ลัก...ยิ้ม
06-08-2014, 16:36
เงียบเลย แต่ธรรมชาติที่รู้ไม่ได้เงียบตัวเอง สว่างจ้าเลย มันเงียบสิ่งที่มาเกี่ยวข้องต่างหาก ว่างไปหมดเลย โลกธาตุนี่ว่างเปล่าไปหมด โอ้โห.. อัศจรรย์ ! เป็นชั่วโมง ๆ จิตถึงค่อยถอนขึ้นมา พอถอนขึ้นมาแล้วกำหนดดูต้นไม้ ภูเขา กำหนดดูกุฏิศาลาไม่เห็นเลย ว่างไปหมด ตานี่เห็นพอเป็นร่าง ๆ เงา ๆ นะ ส่วนใหญ่ของจิตมันทะลุไปหมด ว่างไปหมดเลย.. อัศจรรย์ ! ขึ้นไปเล่าให้ท่านฟัง ท่านก็ขึ้นทันทีเลย
‘เอ้อ ได้หลักพยานแล้ว อย่างนี้ละผมเป็น ผมเป็นที่ถ้ำสาริกา เป็นอย่างท่านมหาฯ นี่ละ เอาเลย..ได้การ’
ขึ้นเลยนะ ขึงขัง นั่นเห็นไหมธรรมเข้าดลใจท่าน.. ก๊อกน้ำที่ใสสะอาด ท่านก็ผางออกมาเลย เราก็ฟังอย่าเคลิ้มเทียว ใครบอก มันเป็นขึ้นมาเอง มันจึงไปพูดให้ท่านฟังได้อย่างอาจหาญ เอาความจริงไปพูด
ท่านก็รับขึ้นเลยทันที ‘เอ้อ..เอาละ..ที่นี้ได้การ ผมเป็นอย่างนี้แหละ ที่ถ้ำสาริกา เอ้า.. ทีนี้ได้การ ๆ’ ผึงผังตึงตังเลย สองต่อสองนะ เสียงลั่นอยู่ในห้อง เรากับท่านไม่มีอะไรกัน มันเหมือนพ่อกับลูกนั่นแหละ จะเข้าหาท่านเมื่อไร ท่านไม่เคยห้ามนะ กับเรานะ องค์อื่นไปยุ่งไม่ได้นะ ใครจะไปยุ่งท่านไม่ได้นะ
แม้ท่านป่วยก็เหมือนกัน ถ้าเราขึ้นเมื่อไรท่านไม่เคยว่าอะไรเลย ไม่เคยนะกับเรา ท่านนอนอยู่ เราไปปั๊บ เข้าไปถึงเท้าท่าน เพราะเราก็หมุนติ้วของเรา.. ธรรมะของเรา ไปกราบเรียนเรื่องธรรมะ ท่านก็อธิบายให้ฟังปุ๊บปั๊บ ๆ เราก็ลงปุ๊บไปเลย
ท่านไม่เคยห้ามเรานะ นี่..ที่แปลกอยู่ ไม่เคยได้ยินเลยว่าห้ามหรือมาทำไม.. ไม่เคยมี ทั้ง ๆ ที่พระเณรเข้าใกล้ไม่ได้ เราไปเมื่อไรได้ทั้งนั้น ไม่ว่ากลางค่ำกลางคืน เวลาไหนได้ทั้งนั้นเลย ก็มีแปลกอันหนึ่ง ไม่ใช่ยกตัวนะ เราพูดตามเรื่อง ท่านเมตตา...”
ลัก...ยิ้ม
18-08-2014, 17:26
จากนั้นหลวงปู่มั่นเมตตาเล่าถึงความอัศจรรย์ของจิตที่เกิดขึ้นที่ถ้ำสาริกา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ให้ท่านฟังภายในกุฏิที่วัดป่าบ้านหนองผือ ดังนี้
“...ท่านอยู่ถ้ำสาริกา นั่นเวลาท่านได้รับความทุกข์นะ นี่ละ.. คนเราเวลาจนตรอกจนมุมจริง ๆ ช่วยตัวเองได้นะ ปัญญามาเอง ของท่านก็เหมือนกัน
ท่านเป็นโรคท้อง ยานี้ก็เคยบำบัดกันได้เป็นระยะ ๆ ไปท่านว่า แล้วไปอยู่ในถ้ำสาริกา ก็เป็นยาสมุนไพรมีอยู่ตามที่ท่านพัก เขาก็บอกแล้วก่อนที่ท่านจะขึ้นไปว่า
‘พระตาย ๔ องค์แล้วถ้ำนี้’
เขาจึงถามว่า ‘นี่ท่านจะตายองค์ที่ ๕ เหรอ ?’ เขาบอกท่านไม่ฟัง ท่านบอกให้เขาพาไปส่งขึ้นถ้ำสาริกา ‘นี่ท่านจะตายองค์ที่ ๕ เหรอ ?’ เขาว่าอย่างนั้น
‘โอ๊ย ที่ไหนก็ไม่ว่าแหละ’ ท่านว่าอย่างนั้น ‘ขอไปดู ควรอยู่ก็อยู่’ นั่นฟังซิ ท่านพูดถ่อมตนของท่าน ‘ควรอยู่ก็อยู่ ควรลงก็ลง ให้ไปดูเสียก่อน’ ทางจิตท่านไม่ได้เป็นอย่างนั้น ท่านเล่าให้ฟัง ‘ที่ไหนมันไม่ตายนะ’ ท่านว่าอย่างนั้นทีเดียวนะ
‘ถ้ำหรือไม่ถ้ำ มันก็ตายทั้งนั้นนี่นะ ป่าช้ามีอยู่ทั่วไป’ นั่นในใจของท่าน แต่เวลาพูดออกมา ‘เข้าไปดูเสียก่อน มันควรอยู่ก็อยู่ ไม่ควรอยู่ก็ลงเสีย’ ท่านว่าอย่างนั้น
ลัก...ยิ้ม
21-08-2014, 08:25
พอขึ้นไปแล้วโรคกำเริบใหญ่เลย ‘นี่..เรานี่จะเป็นองค์ที่ ๕ จริง ๆ หรือ ?’ ท่านก็ว่าอย่างนั้น ‘เอ้า.. ห้าก็ห้า’ ท่านไม่ได้ถอย ‘เอ้า..ห้าก็ห้า’ ‘ว่างั้น’ เลยเอายาอะไรมาฉันก็ไม่มีน้ำยาเลยแหละ สุดท้ายท่านบอกว่ายากำอยู่นี้.. ปาเข้าป่า
‘มันเป็นอะไร เอ้า! เป็นก็เป็น ตายก็ตาย’
ยาที่กำนี้เอามาต้มแล้วปาเข้าป่าเลย ทิ้งหมด เข้าในถ้ำเลย ถ้ำเล็ก ๆ เราไปดูหมดแหละ ที่ท่านบอกตรงไหนไปดู ทีนี้เวลามันเอาจริง ๆ มันก็หนักจริง ๆ หนักก็ฟัดกันเลย... ทุกขเวทนาเอากันเต็มเหนี่ยว
‘เอ้า..เป็นก็เป็น ตายก็ตาย เอาสนามรบนี่เป็นป่าช้า สนามรบกับความทุกข์ความทรมาน กับกิเลสตัณหาที่เกิดความฟุ้งซ่านวุ่นวายต่าง ๆ ขึ้นในนั้น ฟัดกันในนั้นเลย เอ้า.. เป็นก็เป็น ตายก็ตาย’
พอได้ที่มันก็พรึบเลย พอลงได้จังหวะแล้วพรึบทันที ดับหมดเลยโลกธาตุ สว่างจ้าไปหมดเลย ไม่มีอะไรปิดบังลี้ลับ สว่างจ้าไปหมดเลย
ลัก...ยิ้ม
28-08-2014, 09:34
ที่เราพูดถึงเรื่องผีใหญ่ที่มันจะมาตีท่าน อย่างนั้นแล้วเห็นไหมล่ะ แบกเหมือนท่อนเหล็กจะมาตีท่าน ดังที่เขียนในหนังสือประวัติท่านพระอาจารย์มั่น..นี่ละความจริง ปีพรรษา ๒๒ ท่านได้หลักเกณฑ์ไม่หวั่นไหวตรงนั้นละ ทั้ง ๆ ที่กิเลสมีอยู่นะ แต่ว่าหลักธรรมนี้เข้าสู่ใจแล้วไม่หวั่นไหวเลย เชื่อแน่ต่อมรรคผลนิพพาน กล้าหาญตั้งแต่นั้นมา ไปได้หลักเกณฑ์อันใหญ่หลวงที่ถ้ำสาริกา...”
เมื่อได้เล่าผลภาวนาในคืนนี้ถวายหลวงปู่มั่นแล้ว ท่านรู้สึกว่าจิตใจพองขึ้น และเมื่อหลวงปู่มั่นเมตตาเล่าเรื่องของท่านเองดังกล่าว เป็นสักขีพยานอันเป็นเอกด้วยแล้ว ใจของท่านก็ยิ่งพองขึ้นด้วยความปีติยินดี
จากนั้นจึงเร่งภาวนาอย่างเต็มที่ ด้วยตั้งใจจะให้ได้ผลอัศจรรย์ดังเดิม หลังจากภาวนาอย่างหนักอยู่ ๒ – ๓ วัน ก็ไม่ปรากฏผลว่าจะเป็นเช่นเดิมแต่อย่างใด จึงได้ขึ้นกราบเรียนถามหลวงปู่มั่นอีกครั้งหนึ่ง ไปหาท่านโดยเฉพาะตอนกลางคืน ไปหาสองต่อสอง ท่านเลยขนาบเอาเสียอย่างหนัก
ท่านกล่าวว่า การภาวนาครั้งอื่นก็เป็นธรรมดา แต่ครั้งนี้ต่างจากทุกครั้งเป็นแบบสะเทือนโลก จึงต้องขึ้นกราบหลวงปู่มั่นจนถูกขู่เอา ดังนี้
“... วันหลังก็เอาจะให้เป็นอย่างนั้นอีกมันไม่เป็น ต่อไปมันก็ไม่เป็น มันก็ลงของมันเฉพาะ ๆ เสีย ไม่จ้าเหมือนอย่างนั้น คราวนี้จะให้เป็นอย่างนั้นอีกจึงไปกราบเรียนท่าน ท่านขนาบทันทีว่า
‘มันจะเป็นบ้านะท่าน ผมไม่ได้สอนให้คนเป็นบ้า ก็มันไม่เป็นอย่างเก่า จะให้มันเป็นอะไรอีก มันเป็น.. มันก็เป็นหนเดียวเท่านั้น ผมก็เป็นหนเดียวเท่านั้นแหละ ไม่เคยเป็นอีกเลย ผมก็ไม่สงสัย ผมไม่เห็นเป็นบ้า นี่มาเป็นบ้าอะไรอีก จะเป็นบ้าสองชั้นหรือนี่ เวลามันสว่างก็เป็นบ้าแบบหนึ่ง เวลามันไม่สว่างก็บ้าแบบหนึ่ง ไม่ได้สอนคนให้เป็นบ้านี่นะ นี่.. มาเป็นบ้างมเงาอะไรอีก มันเป็นแล้วก็ผ่านไปแล้วไปยุ่งกับมันทำไม พิจารณาในหลักปัจจุบันซิ มันจะเป็นอะไรก็ให้เป็นขึ้นในหลักปัจจุบัน ท่านรู้นั้น ท่านรู้ในหลักปัจจุบันใช่ไหม นี่ไปคว้าหาที่ไหนอีก’
ขู่ใหญ่เลยนะ โอ๊ย..ตาย นึกว่าจะไปหาคะแนน ที่ไหนได้ถูกตัดเสียขาดสะบั้นเลย มันยังไงกันนี่ คำว่าบ้าสว่างคือ หมายความว่าอยู่ในขั้นนั้นมันกำลังดำเนิน ไม่ใช่สว่างแบบตายตัวว่างั้นเถอะ สว่างด้วยจิตที่บริสุทธิ์เป็นอย่างหนึ่ง สว่างที่จิตไม่บริสุทธิ์เป็นอย่างหนึ่ง จึงว่าเป็นบ้าได้ในขั้นนี้ ถ้าเป็นขั้นสุดท้ายหมดทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว มันก็ไม่มีคำว่าบ้าแหละ เพราะจากนั้นหมดคำว่าเสื่อมว่าเจริญ
อันนี้มันมีเสื่อมมีเจริญนี่นะ เมื่อมันสว่างอย่างนี้ วันหลังมันไม่สว่างอย่างนั้นก็เหมือนเรามันเสื่อม ทีนี้ท่านก็ว่า ‘เป็นบ้าหรือ’ เราไม่ลืมนะ
ลัก...ยิ้ม
12-09-2014, 13:48
‘มันเป็นไปแล้วก็เป็นไปแล้ว การดำเนินจะผ่านจะเห็นจะรู้อะไร ๆ มันก็ผ่านไป เหมือนเราเดินผ่านไปตรงนี้เห็นตรงนี้ ๆ มันไปตรงไหนเห็นตรงไหน เห็นไปแล้วก็เดินผ่านไป จะให้เห็นเหมือนเก่าได้อย่างไร เวลาท่านอธิบายไป ...
เราก็ โห.. ขบขันดี ก็ไม่เป็นอีกนะ เป็นหนเดียวเท่านั้น เป็นแบบนั้นนะ แบบอื่นมันก็เป็นของมันจิปาถะ แล้วแต่มันจะเป็น แต่ที่เด่น ๆ เด็ด ๆ มาก ๆ สะดุดใจอย่างมาก อย่างไม่เคยเป็น
เราก็เล่าให้ฟังอย่างที่ขึ้นไปเล่าถวายท่าน อย่างอื่นมันก็เป็นอยู่แต่ธรรมดา ๆ แต่วันนั้นมันเป็นแบบสะเทือนโลก ไปเล่าให้ท่านฟัง
ท่านก็คึกคักขึ้นเลย ‘เออ ถูกต้องแล้ว เหมาะแล้วได้หลักได้เกณฑ์แล้ว ผมเคยเป็นมาแล้วตั้งแต่อยู่ถ้ำสาริกา’ ท่านก็เลยรื้อมาเล่าให้ฟัง
‘โห.. โลกธาตุดับหมดเลย เหมือนกันกับท่านมหาแหละ’ พูดตรงกันเป๋งเลย
‘เอาละที่นี้ได้หลักใหญ่แล้ว’
ท่านว่า หลักใหญ่คือมันครอบไปหมด เกี่ยวกับเรื่องมรรคผลนิพพาน เกี่ยวกับความรู้แปลกประหลาดอะไร มันครอบไปหมด ก็เป็นหนเดียวเท่านั้นละ จนกระทั่งป่านนี้ไม่เคยเป็นอย่างนั้นอีก...”
ลัก...ยิ้ม
19-09-2014, 08:30
https://public.blu.livefilestore.com/y2pV6tg_RisyEI-Mns2oxnN1CccL7ONxLaSaElQK25OSj7CUaLVlcPxF2VTzdYsTajYrcM665bAjuAWzh_ifpPQ8w/%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2.jpg?psid=1
ธรรมหลวงปู่มั่นในถ้ำสาริกา
ในหนังสือ “ประวัติท่านพระอาจารย์มั่น กล่าวถึงผลแห่งธรรมที่ปรากฏแก่หลวงปู่มั่นในถ้ำสาริกา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ว่า
“... ท่านพักอยู่ที่ถ้ำนั้น มีพระอรหันต์หลายองค์มาเยี่ยม และแสดงธรรมให้ฟังเสมอในวาระต่าง ๆ กัน ซึ่งผิดกับที่อื่น ๆ ทั้งหลายอยู่มากในชีวิตที่ผ่านมา ธรรมเป็นที่แน่ใจได้ปรากฏขึ้นแก่ท่านในถ้ำนั้น ธรรมนั้นคือพระอนาคามีผล ธรรมนี้ในพระปริยัติท่านกล่าวไว้ว่า ละสังโยชน์ได้ ๕ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะ ปฏิฆะ ท่านผู้บรรลุธรรมขั้นนี้เป็นผู้แน่นอนในการไม่กลับมาอุบัติเกิดเป็นมนุษย์และสัตว์ ที่มีธาตุสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นเรือนร่างอีกต่อไป
หากยังไม่เลื่อนขั้นขึ้นถึงพระอรหัตภูมิในอัตภาพนั้น เวลาตายแล้วก็ไปอุบัติเกิดในพรหมโลก ๕ ชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่ง ตามภูมิธรรมที่ผู้นั้นได้บรรลุในพรหมโลก ๕ ชั้นคือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี และอกนิฏฐา ซึ่งเป็นที่สถิตอยู่ของพระอนาคามีบุคคล ตามลำดับแห่งภูมิธรรมที่มีส่วนละเอียดต่างกัน ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าเป็นการภายในว่า ท่านได้บรรลุอนาคามีธรรมในถ้ำนั้น...”
ลัก...ยิ้ม
25-09-2014, 09:07
วิธีการทดสอบความจริง เรื่องกามราคะ
พระธรรมเทศนาอบรมพระขององค์หลวงตา ในตอนหนึ่งอธิบายถึงลำดับวิธีการพิจารณาทางด้านปัญญา เมื่อเริ่มมีความชำนิชำนาญมากยิ่งขึ้น จากการพิจารณาแยกธาตุ แยกขันธ์ แยกออกเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และกล่าวถึงวิธีการทดสอบหาความจริงเรื่องกามราคะ ดังนี้
“...เรื่องของจิตใจของเราจะมีความเบาบาง ๆ แพรวพราวขึ้นเป็นลำดับ เพราะสิ่งเหล่านี้ปกปิดมันแต่ก่อน พอปัญญาเปิดออก ๆ จิตจะมีความสว่างไสว เบาเนื้อเบากายด้วย ไม่แค่แต่เบาใจนะ เบาเนื้อเบากายคือ ที่จิตมายึดเรื่องกายมันก็หนัก ทีนี้จิตใจค่อยถอนออกไป ๆ อะไรก็กลายเป็นเบา ร่างกายไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรก็กลายเป็นเบา เนื่องจากเจ้าของเป็นผู้ยึด... เรื่องร่างกายนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก ...
ลัก...ยิ้ม
26-09-2014, 09:41
https://public.bl3302.livefilestore.com/y2pDEmwKwRQdwZAW5ZfhrJ8Ehixfv1OzaUjuZYDAyzA5-JxXDfRalF8hoC1Hr2W1F23O4PxEVHlWtXyEVQ-zwwSbQ/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87.jpg?psid=1
ใครพิจารณาร่างกายนี้ช่ำชองเท่าไร.. ผู้นั้นจะมีความแกล้วกล้าสามารถ ค่อยละกิเลสเป็นลำดับลำดาไป จิตใจจะแตกฉานทางอรรถทางธรรมไปด้วยนะ การพิจารณากายคตาสตินี้ เป็นการเบิกความรู้ให้กระจ่างแจ้งออกไปในทุกทิศทุกทาง การพูดการจา การโต้การตอบทุกสิ่งทุกอย่างจะเปิดออกด้วยกัน เพราะอำนาจแห่งกายคตาสตินี้ สำคัญมากนะ..การพิจารณาร่างกายนี้ เมื่อถึงขั้นมีความละเอียดเข้าไป ทางด้านปัญญาคล่องแคล่วเข้าไปแล้ว พิจารณาอันนี้จะรวดเร็วมากทีเดียว มองเห็นสภาพทั้งเขาทั้งเราจะรวดเร็ว
ถ้าว่าเป็นอสุภะ* พรึบเดียวเป็นอสุภะหมดทั้งร่าง ทั้งเขาทั้งเรา พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนเป็นที่พอใจแล้ว จิตใจของเรามีความแน่นหนามั่นคง เอาทดสอบดู การพิจารณาอสุภะอสุภังนี้ เป็นพื้นฐานควรแก่การที่จะถอดถอนกามกิเลสได้ แล้วด้วยการพิจารณาร่างกายนี้ช่ำชองแล้ว ให้กำหนดอสุภะอสุภังที่เราพิจารณาอย่างช่ำชอง คือให้แตกให้กลับเร็วก็ได้ ให้ช้าก็ได้ ให้ตั้งอยู่เป็นที่เป็นฐานไม่ทำลายก็ได้ เมื่อถึงขั้นนี้แล้วเรียกว่าเราทำได้ตามต้องการ
----------------------------------------------------------
* กรรมฐานที่ยึดเอาซากศพเป็นอารมณ์ เพื่อพิจารณาให้เห็นความไม่งาม ความไม่เที่ยงของสังขาร
ลัก...ยิ้ม
29-09-2014, 10:58
ทีนี้เอาความคล่องแคล่วของจิตใจเราที่ทำอย่างนี้นั้น กำหนดอสุภะอสุภัง เอามาตั้งที่หน้าของเราที่นั่งภาวนาอยู่นี้แล เอามาตั้งดู เอาอสุภะอันนี้กำหนดขึ้นให้เป็นอสุภะ จะเป็นท่านั่งก็ได้ ท่านอนก็ได้ ให้เป็นภาพอสุภะปรากฏอยู่ต่อหน้าต่อตาเรา จิตใจเราเพ่ง ปัญญาจ่อเข้าไปตรงนั้นแต่ไม่ให้ทำลาย เอาสติจดจ่อไว้ไม่ให้ภาพนี้มันเคลื่อนย้ายไปที่ไหน มันจะไปตรงไหนมาที่ไหน ถ้ามันยังไม่พอ กำหนดดูอยู่..มันจะไม่เคลื่อนไหวไปที่ไหน ถ้าการพิจารณาอสุภะอสุภังยังไม่พอ ปัญญายังไม่พอที่จะปล่อยวางมันได้ กำหนดอสุภะอสุภังให้อยู่ที่ไหน.. มันก็อยู่ที่นั่น กำหนดนานเท่าไรมันก็อยู่ที่นั่นนาน นี่แสดงว่ายังไม่พอกับความต้องการ
ทีนี้ขยายออกอีก พิจารณาอย่างเก่านั่นแหละ ให้มีความชำนิชำนาญเข้าไป เอามาตั้งอีก นี่เป็นการทดสอบตัวเอง เพื่อเอาความสัตย์ความจริงตัดสินตนเองในเรื่องกิเลสตัณหา คือกามราคะนั้นแหละเป็นตัวสำคัญ เพราะตัวนี้มันพิลึกพิลั่น ทั้งหญิงทั้งชาย สัตว์ บุคคลทั่วโลก ติดอันนี้กันทั้งนั้น เพราะไม่มีใครมาบอกมาสอน
แม้แต่พระ.. เรายิ่งติดมากยิ่งกว่าฆราวาสก็มีเยอะ เพราะไม่สนใจในธรรม หมุนติ้วไปกับกิเลสตัณหา ก็กลายเป็นความพะรุงพะรัง สร้างแต่ความชั่วช้าขึ้นมาในหัวใจของตนนั้นแล
vBulletin® v3.8.11, Copyright ©2000-2025, vBulletin Solutions Inc.