ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 15-09-2010, 08:20
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,833 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๕. ทรงตรัสว่า “ดี ในเมื่อไม่เข้าใจในธรรม ก็พึงจักไต่ถามหาความกระจ่างในธรรมนั้นเป็นการถูกต้อง ดีกว่าจักไปสงสัยในธรรมแล้วเดา ตีความหมายเอาเองตามอารมณ์จิตของตนเอง อย่างนั้นไม่สมควร การปฏิบัติจักผิดพลาดได้ง่าย เพราะไม่รู้จริง”

๖. “การใคร่ครวญสมาธิคือ จิตมีโอกาสพักอยู่ในสมถภาวนา แต่ในบางขณะบุคคลที่มีอารมณ์เผลอ มักจักปล่อยอารมณ์ของจิตให้เคว้งคว้างขาดสติ อย่างกับคนใจลอยเดินข้ามถนนจนถูกรถชนตาย เป็นต้น จักว่ามีอารมณ์คิดก็ไม่ใช่ จักว่ามีอารมณ์พักก็ไม่เชิง จิตมันเหม่อลอยจนเพลินไป เพราะฉะนั้น ในบุคคลที่เป็นนักปฏิบัติจักต้องรู้ว่า เวลานี้จิตต้องการพัก ก็จักใคร่ครวญ คือ ตรวจสอบดูว่าอารมณ์จิตนั้นจับอยู่ในสมถภาวนาหรือไม่ หรือว่าเผลอเรอ ปล่อยสมาธิที่กำหนดรู้สมถภาวนานั้นไปจากจิต

๗. “คนฉลาดเขาจักต้องรู้และทำการศึกษา ใคร่ครวญ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้อยู่ในจิตเสมอ ๆ เยี่ยงนี้แหละเจ้า เข้าใจไหม อย่าทิ้งความเพียรในการกำหนดรู้ศีล สมาธิ ปัญญาในจิตนี้ ทำบ่อย ๆ ใจเย็น ๆ ทำไปเรื่อย ๆ ในที่สุดจิตจักชิน ศีล สมาธิ ปัญญาก็จักอยู่ในจิตได้ตลอดเวลา

๘. “ในเมื่อเข้าใจแล้ว ก็จงหมั่นนำไปปฏิบัติด้วย แต่อย่าสร้างอารมณ์หนักใจให้เกิด พยายามรักษาอารมณ์จิตให้เบา ๆ แต่เต็มไปด้วยความพร้อมที่จักปฏิบัติเข้าไว้ให้ทุกเมื่อ ด้วยอารมณ์มัชฌิมาปฏิปทา มรรคผลก็จักเกิดขึ้นได้โดยง่าย

๙. “หากความหนักใจในอารมณ์เกิดขึ้น ก็จงกำหนดรู้ว่า อารมณ์นี้ไม่ถูกต้องเสียแล้ว เพราะเป็นอารมณ์ของความทุกข์ จักต้องหมั่นหาทางแก้ไขอารมณ์นั้นทิ้งไป”

๑๐. “การเจริญพระกรรมฐาน มุ่งหวังให้จิตเป็นสุข สงบเยือกเย็น ไม่ว่าจักเป็นทางด้านสมถะหรือวิปัสสนา ต้องหมั่นดูผลที่ได้เยี่ยงนี้อยู่ตลอดเวลา เป็นการตรวจสอบอารมณ์ของจิต อย่าให้เดินมรรคได้ผลผิด ๆ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 16-09-2010 เมื่อ 14:01
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 74 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา