กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > กระทู้ธรรม > ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 23-06-2011, 11:19
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,889 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default กลัวทุกชนิดล้วนเป็นสักกายทิฏฺฐิทั้งสิ้น

กลัวทุกชนิดล้วนเป็นสักกายทิฏฺฐิทั้งสิ้น

สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญดังนี้

๑. “ขึ้นชื่อว่ากลัว เช่น กลัวอด ก็คือกลัวตาย กลัวเจ็บ ก็คือกลัวตาย กลัวหนาว กลัวร้อน ก็คือกลัวตาย

๒. “ความกลัวทุกสิ่งทุกอย่างก็ลงที่สักกายทิฏฐิตัวเดียว ในเวลาหิว ในเวลาป่วย ในเวลาหนาว ในเวลาร้อน อะไรมันหิว มันป่วย มันร้อน มันหนาว เป็นเรื่องของกายทั้งสิ้น ไม่ใช่เรื่องของจิต(กายกับเวทนาเป็นเรื่องทุกข์ของกาย หาใช่เรา หาใช่ของเราไม่)

๓. “ต้นเหตุเพราะจิตของเจ้าไปติดในกาย เกาะความรู้สึกว่ากายนี้มีในเรา เรามีในกาย เมื่อกายเป็นอะไรก็ทนไม่ไหว จิตเกาะทุกข์จนลืมกำหนดรู้ว่า กายนี้ไม่ใช่เรา เราไม่มีในกาย แล้วพิจารณาโดยอริยสัจ รู้เห็นตามความเป็นจริงของร่างกาย”

๔. “การมีขันธ์ ๕ ทรงอยู่นั้นเป็นทุกข์ เพราะเราฝืนบังคับมันไม่ได้ดังใจนึก ถ้าจะเปรียบเป็นการเจริญกรรมฐาน การยืนนาน เดินนาน นั่งนาน นอนนาน ก็เป็นอัตตกิลมถานุโยค มันทำให้เกิดทุกข์เกิดโทษมากกว่าเป็นคุณ” (ล้วนเป็นอารมณ์หลงหรือโมหะทั้งสิ้น)

๕. "การล่วงรู้อิริยาบถบรรพในมหาสติปัฏฐานสูตร ก็เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับจุดนี้ การมีสติกำหนดรู้อิริยาบถบรรพ เพื่อจักได้รู้หลักมัชฌิมาปฏิปทาของร่างกายที่เคลื่อนไหวไปในทุก ๆ สถาน ทุก ๆ เวลา รู้ความเหมาะสม ความพอดีของอิริยาบถของร่างกาย มีความยืน เดิน นั่ง นอน อย่างไม่เบียดเบียน ไม่เป็นอัตตกิลมถานุโยค ไม่เป็นที่เบียดเบียนตนเอง และไม่เป็นที่เบียดเบียนผู้อื่น ตัวอย่าง บางคนนั่งนานอัมพาตกิน นี่เบียดเบียนตนเอง และทำให้คนข้างเคียงหรือคนใกล้กันจักต้องมาคอยปฐมพยาบาล นี่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น อย่างนี้ก็ไม่เป็นการสมควรเพราะเกินพอดีไป"(ก็สงสัยว่า หลวงพ่อทรมานสังขารไปนั่งรับแขกนาน ๆ ที่ซอยสายลม เป็นอัตตกิลมถานุโยคหรือเปล่า)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 67 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 24-06-2011, 10:44
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,889 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

(ก็สงสัยว่า หลวงพ่อทรมานสังขารไปนั่งรับแขกนาน ๆ ที่ซอยสายลม เป็นอัตตกิลมถานุโยคหรือเปล่า)

สมเด็จพุทธกัสสป ทรงตรัสว่า

๑. “ไม่เป็น เพราะพระอรหันต์ผู้จบกิจแล้ว มีจิตเหนือกาย มีจิตแยกกาย เวทนา จิต ธรรมออกแล้วได้อย่างชัดเจนตลอดเวลา

๒. “ท่านมีสติกำหนดรู้ว่าทุกข์ของร่างกาย และร่างกายไม่มีในท่าน ท่านไม่มีในร่างกาย

๓. “การทรงชีวิตอยู่ของขันธ์ ๕ ก็เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์อันใหญ่หลวงแก่บรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย มีความปรารถนาสูงสุดที่จักดึงสานุศิษย์ทั้งหลาย ให้มีจิตรักผูกพันอยู่ในพระกรรมฐาน เพื่อจักนำอารมณ์ให้ทุกคนได้เข้าถึงพระนิพพานอย่างเช่นท่าน”

สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสว่า

๑. “ผู้จบกิจแล้วทุกท่านต่างมีความรู้สึกเหมือน ๆ กันว่า ร่างกายนี้ไม่มีความหมาย กิจที่จักทำเพื่อร่างกายนั้นหมดสิ้นแล้ว นอกจากเลี้ยงดูให้ใช้ได้ กินตามปกติ

๒. “นอกจากนั้นก็เป็นการอยู่เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาสงเคราะห์บุคคลอื่นให้ได้ข้ามพ้นวัฏสงสาร

๓. “พวกเจ้าจงหมั่นศึกษาอิริยาบถบรรพกันให้ดี ๆ”


ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๘
รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-06-2011 เมื่อ 10:46
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 45 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 08:49



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว