#21
|
|||||
|
|||||
อ้างอิง:
อ้างอิง:
๔ ชุด สำหรับ ๔ ทิศนะคะ ถ้าจะเรียงสวย ๆ แบบที่วัดก็ทิศละ ๕ (ข้าวตอก ๕ กระทง ดอกไม้สีตามทิศอีก ๕ กระทง) ถ้าโต๊ะเล็กก็อย่างละกระทง อ้างอิง:
อ้างอิง:
ซื้อสีผสมอาหารแบบผง แล้วเอาผงมาละเลงบนไก่และหัวหมูให้แดงเถือกไปเลยค่ะ จะได้อานิสงส์กันวินาศภัยเพิ่มด้วย อ้างอิง:
ข้อ ๑๕ นี่ไม่เคยเห็นนะคะ ไม่ว่าสมัยหลวงปู่ฤๅษีฯหรือพระอาจารย์ ข้อ ๑๖ คิดว่าคงตั้งใจไหว้หลวงปู่ฤๅษีฯ ซึ่งพระอาจารย์ท่านใช้เฉพาะหมากพลูกับยานัตถุ์ ซึ่งเป็นของที่หลวงปู่ฯท่านขาดไม่ได้สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ จึงถือเสมือนเป็นสัญลักษณ์แทนองค์ นอกนั้นไม่ใช่ค่ะ โดยเฉพาะกระโถนนี่ไม่น่ามาอยู่บนโต๊ะบวงสรวงได้เลยนะคะ ถ้าจะเอาขนาดนั้นสงสัยอีกหน่อยคงต้องมีแว่นตา ไม้เท้า ฯลฯ กันบนโต๊ะบวงสรวงให้วุ่นไปหมด โอเลี้ยงกับสาลี่นั่นพี่ก็ชอบค่ะ ถ้าไม่รู้จะเอาไปไหนก็เอามาบ้านอนุสาวรีย์พร้อมปลาแป๊ะซะก็ได้ค่ะ...น้ำจิ้มแจ่วด้วยนะคะ...พี่จะรอนะคะ อย่าลืมแก้คำผิดด้วย ช่วยชาติกันนะคะ เราไม่รักชาติไทยแล้วใครจะรัก |
สมาชิก 108 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ นางมารร้าย ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#22
|
|||
|
|||
..........ต้องขอโทษด้วยนะครับที่ภาษาไทยไม่ค่อยแข็งแรงเท่าไร
..........พี่นางมารร้ายครับ เรื่องกระโถน พอดีผมจะนำไปวางไว้ข้างล่างนะครับ (ตรงบริเวณจุดตั้งรูปหลวงพ่อครับ) |
สมาชิก 93 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ล้อมเดช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#23
|
|||
|
|||
อ้างอิง:
บายศรีและการบวงสรวงเป็นของสูง ตัวบายศรีหลังบวงสรวงแล้ว ยังต้องนำไปลอยน้ำ...ไม่ใช่ทิ้งขยะ ของใช้ที่ใช้ในพิธีส่วนใหญ่ทางวัดจะแยกต่างหาก ไม่ปะปนกับของที่ใช้ปกติ แต่ถ้าเป็นตามบ้าน ก็อนุโลมได้ เพราะถ้วยชามส่วนใหญ่ก็ใช้บนโต๊ะกินข้าว...ไม่ใช่ของต่ำอะไร แต่กระโถนนี่สิ ตอนบวงสรวงก็ไม่ใช่ของจำเป็น ถ้าเข้าพิธีแล้วก็จะเอามาใช้ใส่ของต่ำ ๆ อย่างปกติก็ไม่ได้ แล้วจะเอาขึ้นหิ้งพระบูชาอย่างยานัตถุ์หมากพลูก็ไม่สมควร แล้วจะทำให้ชีวิตยุ่งยากไปทำไมละคะ เพิ่งสังเกตว่าวันเสาร์ที่ ๗ นั่นเป็นเสาร์ห้า (แม้จะข้างแรม) ครูบาอาจารย์บอกว่าวันนี้แรงเกินไปสำหรับงานอื่น ๆ เหมาะจะบวงสรวงเกี่ยวกับวัตถุมงคลและพุทธาภิเษกเท่านั้น ตกลงว่าน้องจะบวงสรวงขอสร้างวัตถุมงคลอย่างเจ๊สายฯหรือเปล่าคะ ถึงเลือกใช้วันนี้ ภาษาไทยไม่แข็งแรง ยิ่งต้องเข้าเว็บนี้มารับใบแดงบ่อย ๆ ค่ะ เดี๋ยวก็ด้าน..เอ๊ย..ดีเอง แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย นางมารร้าย : 22-10-2009 เมื่อ 09:23 |
สมาชิก 112 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ นางมารร้าย ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#24
|
|||
|
|||
แก้แล้วจ้ะ
อ้างอิง:
http://www.watthakhanun.com/webboard...read.php?t=948 มีใจความสำคัญระบุว่าต้องเป็นข้างขึ้นเท่านั้น ถาม : บวงสรวงทำไมเสาร์ห้า ? ตอบ : วันเสาร์ห้า ตามสายครูบาอาจารย์ท่านถือเป็นวันไหว้ครูประจำสายของเรา พิธีบวงสรวงก็คือว่า เหมือนกับรำลึกถึงครูบาอาจารย์ที่มีเมตตากรุณา สั่งสอนพวกเราสืบ ๆ กันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ลักษณะของงานบวงสรวงที่ทำก็ไหว้ตั้งแต่พระพุทธเจ้าลงมา เพราะพระพุทธเจ้าต้องเป็นครูใหญ่อยู่แล้ว ถาม : ทำไมต้องใช้เสาร์ห้านี้คืออะไร ? ตอบ : คือวันเสาร์ขึ้นห้าค่ำ ถ้าได้เดือนห้ายิ่งดี ถ้าไม่ได้เดือนห้าเดือนไหนก็ได้แต่ต้องเป็นข้างขึ้น คือ ตามสายครูบาอาจารย์เขากำหนดมาอย่างนั้น ก็เลยจำมาเช่นนี้เสมอ วันเสาร์ที่ ๗ กับวันที่ ๔ พฤศจิกายน ศกนี้ เป็นอมฤตโชคจ้ะ
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายท่าขนุน : 22-10-2009 เมื่อ 12:14 |
สมาชิก 108 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#25
|
|||
|
|||
..........พี่นางมารร้ายครับ ผมรบกวนสอบถามเรื่องน้ำมนต์ครับ หลังจากเสร็จพิธีบวงสรวงแล้ว เราต้องนำน้ำมนต์ไปใช้ทำอะไรหรือเปล่าครับ
|
สมาชิก 87 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ล้อมเดช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#26
|
||||
|
||||
มีครับ.. หลวงพ่อท่านบอกไว้แล้ว เมื่อวันงานกฐินครับ
__________________
ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง |
สมาชิก 88 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ตัวแสบจำเป็น ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#27
|
|||
|
|||
เวลาบวงสรวงเองที่บ้านพี่ไม่เคยตั้งขันน้ำมนต์ไว้ แต่ถ้าตั้งก็คงเอามากินหมด เพราะมีน้ำมนต์จากงานบวงสรวงใหญ่ของพระอาจารย์เก็บไว้ใช้เยอะแล้ว
|
สมาชิก 97 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ นางมารร้าย ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#28
|
|||
|
|||
ประสบการณ์การบวงสรวงที่บ้านตัวเอง
ตอนนางมารร้ายบวงสรวงเองที่บ้าน ไม่มีเวลาเย็บบายศรี เลยไปหาซื้อจากปากคลองตลาด สังเกตได้ว่าเวลาไปซื้อตอนดึก ๓ - ๔ ทุ่ม จะมีให้เลือกเยอะมาก (กลางวันมีขายอยู่แค่เจ้าสองเจ้า)
บายศรีใหญ่ ใหญ่แค่ใส่พานใหญ่ ๆ (รู้สึกจะเป็นพาน ๘ นิ้ว) ถ้ามีพานอยู่แล้วจะไม่เอาพาน...ก็ได้ลดราคาค่าพานไปอีก มักบอกราคาเป็นคู่ ตั้งแต่คู่ละ ๕๐๐ ถึงคู่ละเป็นพัน แต่เดี่ยว ๆ ก็ขายโดยไม่บวกราคา แม่ค้าจะถามว่าเอาแบบไหว้เทพ ไหว้พรหม หรือไหว้พระ นางมารร้ายก็เลยเอาไหว้พระทั้งคู่ พานหนึ่งไว้เป็นประธานบนโต๊ะบวงสรวง อีกพานไปตั้งบนโต๊ะหน้าศาลพระภูมิพร้อมปลาและถั่ว...(คงได้น่า...ทีบายศรีแบบล้านช้างยังมีตัวลูกเป็นสิบ ๆ เลย) บายศรีปากชาม ขนาดใส่ถ้วยข้าวต้มโฟม ตรงกลางเป็นกรวย ที่ตั้งขายเขามักประดับด้วยดาวเรือง ลองเดินดูมีบางเจ้าที่ประกอบไปขายไป ก็เลยไปขอซื้อแบบที่ยังไม่ประดับดอกไม้จากเขาเพื่อมาประดับดอกไม้เอง ก็ได้ลดราคาไปอีกคู่ละสิบบาท ประดับดอกไม้คู่ละ ๖๐ - ๗๐ ตอนเอาข้าวปากหม้อกรอกลงกรวย ก็ดึงเอาหนังยางที่รัดกรวยกับตัวบายศรีออก เอามาใส่ข้าวได้สักสองสามช้อน แล้วเอาตัวบายศรีประกบรัดหนังยางไว้เหมือนเดิม...ตามรอยเดิม เอาดอกไม้ใส่ไปรอบ ๆ แล้วเอาไม้เสียบลูกชิ้นยาว ๆ เหลาให้แหลมสองด้าน เสียบจากยอดกรวยลงไป เหลือพ้นยอดให้พอเสียบไข่ต้มอยู่ ใครไม่สะดวก..เอาที่ประดับเสร็จแล้วก็ได้นะคะ เพราะสมัยหลวงปู่ฤๅษีฯบวงสรวงนี่...บายศรีสี่ทิศประดับดอกไม้เหมือนกันเปี๊ยบ ต่างกันแค่ดอกไม้ใส่พานสี่ทิศเท่านั้นเองที่สีตามทิศ ที่บ้านโต๊ะเล็ก ใช้ไก่ ๑ ตัวกับหมูชิ้น ๓ ชิ้น อุตส่าห์ไปซื้อสันในอย่างดีมา น้องสาวบอกว่าต้องใช้หมูบวงสรวง เป็นสามชั้นแบบไม่ค่อยมีมัน (ไม่รู้เขาดูตำราจากไหน) ก็ไม่เป็นไร...สบายใจอย่างไรก็เอา ถึงเวลาก็รีบตั้งโต๊ะแต่เช้า เปิด MP3 เสียงหลวงปู่ฯบวงสรวง เสร็จสรรพทุกคนในบ้านก็เผ่นไปธุระกันหมดโดยไม่รอธูปดับ ในใจก็เป็นห่วงกลัวแมวมาทึ้งของบวงสรวง ก็ได้แต่กำหนดจิตบอกท่านเจ้าที่ว่าพวกหนูยุ่งจริง ๆ อยู่เฝ้ากันไม่ได้ ที่เหลือหลังจากนี้ก็สุดแท้แต่ท่านเถิดค่ะ เพราะของบวงสรวงทั้งหมดนี่หนูถวายท่านไปหมดแล้ว ปรากฏว่าแม่กลับมาบ้านคนแรกตอนเที่ยง บอกว่ากระดาษแดงรองไก่ไหม้เป็นวงอยู่แค่รอบตัวไก่ นอกนั้นไม่มีอะไรไหม้เลย ไม่รู้ไหม้และดับเองได้อย่างไร ธูปเทียนก็ไม่ล้ม แต่ที่แปลกที่สุดคือ แมวจรจัดแถวนั้นหายหัวไปไหนหมดไม่รู้ จะไก่จะหมูก็อยู่ครบ...อันนี้สิไม่ใช่เรื่องบังเอิญแน่นอน เพราะแมวแถวนั้นเยอะมาก เจอหน้ากันทุกวันวันละตัวสองตัว บวงสรวงคราวที่แล้วมันยังพากันมามองน้ำลายยืดอยู่รอบ ๆ เลย แต่วันที่บวงสรวงคราวนี้นี่มันหายไปอย่างไร้วี่แววทั้งวัน นางมารร้ายกลับมาตอนเย็นลองเดินหายังไม่เจอเลยค่ะ เจอโผล่มาอีกทีก็ค่ำแล้ว สรุปว่าหายไปเช้าจรดเย็นเลยค่ะ แสดงว่าที่ทำนี่ต้องมีผลแน่นอนค่ะ ถ้าเราจำเป็นจริง ๆ ท่านก็ช่วยได้แม้แต่ดับไฟและไล่แมว! แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย นางมารร้าย : 26-10-2009 เมื่อ 12:44 |
สมาชิก 122 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ นางมารร้าย ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#29
|
|||
|
|||
"บายศรี" ความหมายของ “บายศรี” นั้น สันนิษฐานว่าได้รัอิทธิพล มาจาก ลัทธิพราหมณ์ซึ่งเข้ามาทางเขมร ทั้งนี้เพราะคำว่า “ บาย ” ภาษาเขมรแปลว่า ข้าวสุก ภาษาถิ่นอีสาน แปลว่า จับต้อง,สัมผัส ส่วนคำว่า “ ศรี ” มาจากภาษาสันสกฤตตรงกับภาษาบาลีว่า “ สิริ ” แปลว่า มิ่งขวัญ ดังนั้นคำว่า “ บายศรี ” น่าจะแปลได้ว่า ข้าวขวัญ หรือ สิ่งที่น่าสัมผัสกับความดีงาม “ บายศรี ” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานแปลว่า ข้าวอันเป็นสิริ,ขวัญข้าว หรือภาชนะที่จัดตกแต่ง ให้สวยงามเป็นพิเศษด้วยใบตองและดอกไม้สด เพื่อเป็นสำรับใส่อาหารคาวหวาน ในพิธีสังเวยบูชาและพิธีทำขวัญต่าง ๆ สมัยโบราณมีการเรียกพิธีสู่ขวัญว่า “ บาศรี ” ทั้งนี้สืบเนื่องมาจาก เป็นพิธีสำหรับบุคคลชั้นเจ้านาย เพราะคำว่า “ บา ” เป็นภาษาโบราณอีสานใช้เป็นคำนำหน้าเรียกเจ้านาย เช่น บาท้าว,บาบ่าว,บาคราญ เป็นต้น ส่วนคำว่า “ ศรี ” หมายถึง ผู้หญิงและสิ่งที่เป็นสิริมงคล “ บาศรี ” จึงหมายถึง การทำพิธีที่เป็นสิริมงคล แต่ปัจจุบันนี้คำว่า บาศรี ไม่ค่อยนิยม เรียกกันแล้ว มักนิยมเรียกว่า “บายศรี” บายศรีจะเรียก เป็นองค์ มีหลายประเภท เช่น บายศรีเทพ บายศรีพรหม เป็นต้น ส่วนต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นบายศรี มีความหมายในทางดี เช่น -กรวยข้าวหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ -ใบชัยพฤกษ์หรือใบคูนหมายถึง อายุยืนยาว -ดอกดาวเรืองหมายถึงความเจริญรุ่งเรือง -ดอกรักหมายถึงความรักที่มั่นคง -ไข่ต้ม...ในกรณีบายศรีแต่งงาน จะมีสองฟอง เป็นของเสี่ยงทายแทนหัวใจฝ่ายชายฝ่ายหญิง ว่าจะรักกันมั่นคง ผ่าไข่ต้มเป็นสองซีกแล้วดูกันที่ไข่แดง ถ้าเอียงไปอยู่ข้างใด ทายว่าใจโลเล แต่ถ้าอยู่ตรงกลางแสดงว่าหัวใจรักมั่นคง ความหมายของชั้นบายศรีมิได้มีการกำหนดไว้ตายตัว หากแต่เป็นเพียงผู้ที่ประดิษฐ์บายศรีมีความเชื่อศรัทธาต่อสิ่งใดแล้ว ก็มักจะน้อมนำคำสอนหรือความเชื่อต่าง ๆ มาประดิษฐ์บายศรีเป็นชั้น ๆ และแปลความหมายตามนัยที่ตนประสงค์ต่อสิ่งศรัทธานั้น ๆ ตัวอย่างเช่น ๓ ชั้น เพื่อระลึกถึง พระรัตนตรัยมีองค์ ๓ ในศาสนาพุธ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือเทพเจ้า ๓ พระองค์ ในศาสนาฮินดู ได้แก่ พระศิวะ พระนารายณ์ และพระพรหม ๕ ชั้น เพื่อระลึกถึง ขันธ์ทั้ง ๕ หรือที่ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่าเบญจขันธ์ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๗ ชั้น เพื่อระลึกถึง โพชฌงค์ ๗ ซึ่งเป็นธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ได้แก่ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา (พจนานุกรมพุธศาสตร์ : ๒๓๙) ๙ ชั้น เชื่อเป็นมงคลสูงสุดในการดำเนินชีวิตจะได้ก้าวหน้ารุ่งเรือง ไม่ว่าจะทำการใด ๆ มักนิยมเลข ๙ มากกว่าเลขอื่น เพื่อระลึกถึงพุทธคุณ ๙ หรือคุณของพระพุทธเจ้า ๙ ประการที่เรียกว่า "นวารหาทิคุณ" "นวารหาทิคุณ" คือ พระพุทธคุณ ๙ ได้แก่ ๑ . อะระหัง คือ เป็นพระอรหันต์ คือ เป็นผู้บริสุทธิ์ไกลจากกิเลส ทำลายกำแพงแห่งสังสารจักรได้แล้ว เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ควรได้รับความเคารพบูชาเป็นต้น ๒.สัมมาสัมพุทโธ เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง ๓.วิชชาจะระณะสัมปันโน เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชา คือ ความรู้และจรณะ คือความประพฤติ ๔.สุคะโต เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว คือ ทรงดำเนินพระพุทธจริยาให้เป็นไปโดยสำเร็จผลด้วยดี พระองค์เองก็ได้ตรัสรู้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญพุทธกิจก็สำเร็จประโยชน์ยิ่งใหญ่แก่ชนทั้งหลายในที่ที่เสด็จไป และได้ประดิษฐ์พระศาสนาไว้ แม้ปรินิพพานแล้วก็เป็นประโยชน์แก่มหาชนสืบมา ๕.โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก คือ ทรงรู้แจ้งสภาวะอันเป็นคติธรรมดาแห่งโลกคือสังขารทั้งหลาย ทรงหยั่งทราบอัธยาศัยสันดานแห่งสัตว์โลกทั้งปวง ผู้เป็นไปตามอำนาจแห่งคติธรรมโดยถ่องแท้ เป็นเหตุให้ทรงดำเนินพระองค์เป็นอิสระ พ้นจากอำนาจครอบงำแห่งคติธรรมดานั้นและทรงเป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ทั้งหลายผู้ยังจมอยู่ในกระแสโลกได้ ๖.อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งไปกว่า คือ ทรงเป็นผู้ฝึกคนได้ดีเยี่ยมไม่มีผู้ใดเท่าเทียม ๗.สัตถา เทวะมะนุสสานัง เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ๘.พุทโธ เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว คือ ทรงตื่นเองจากความเชื่อถือและข้อปฏิบัติทั้งหลายที่ถือกันมาผิด ๆ ด้วย ทรงปลุกผู้อื่นให้พ้นจากความหลงงมงายด้วย อนึ่ง เพราะไม่ติด ไม่หลง ไม่ห่วงกังวลในสิ่งใด ๆ มีการคำนึงประโยชน์ส่วนตนเป็นต้น จึงมีพระทัยเบิกบาน บำเพ็ญพุทธกิจได้ถูกต้องบริบูรณ์โดยถือธรรมเป็นประมาณ การที่ทรงพระคุณสมบูรณ์เช่นนี้และทรงบำเพ็ญพุทธกิจได้เรียบร้อยบริบูรณ์เช่นนี้ ย่อมอาศัยเหตุคือความเป็นผู้ตื่นและย่อมให้เกิดผลคือทำให้เบิกบานด้วย ๙.ภควา ทรงเป็นผู้มีโชค คือจะทรงทำการใด ก็ลุล่วงปลอดภัยทุกประการหรือเป็นผู้จำแนกธรรม
__________________
สักวันหนึ่งสี่ชีวิตจะได้พบซึ่งกันและกันเมื่อทุกอย่างพร้อม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วาโยรัตนะ : 19-04-2010 เมื่อ 09:37 |
สมาชิก 89 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#30
|
|||
|
|||
การจัดทำ "บายศรี" นั้น เริ่มจากการนำใบตองที่ได้มาจากกล้วยตานี เย็บเป็นบายศรี ประดับด้วยดอกไม้มงคลต่าง ๆ ส่วนตัวบายศรี ยังแบ่งออกตามลักษณะการใช้งานในการบูชาที่แตกต่างออกไปเช่น
บายศรีปากชาม ลักษณะบายศรีปากชาม รองด้วยชามที่มีขนาดเหมาะสม ตัวแม่มี ๕ ลูก จำนวน ๓ ด้าน และมีลูก ๓ ลูก แซมอีก ๓ ด้าน จากนั้นจะมีแมงดาที่แม่บายศรีอีกทั้ง ๓ ด้าน ตรงกลางจะม้วนเป็นกรวยด้วยใบตองตานี ภายในใส่ข้าวสวยไว้ภายใน ยอดบายศรีจะใช้ไข่ต้มเสียบ ส่วนรอบๆ จะมีการประดับไปด้วย ดอกไม้มงคลต่างๆ บายศรีปากชาม เป็นบายศรีที่ใช้ในการสักการบูชา เทพยดา ครูบาอาจารย์ ในการบวงสรวงเทพยดาในทุก ๆ พิธีกรรมจะขาดบายศรีปากชามไม่ได้ บายศรีเทพ จะมีลักษณะ ตัวแม่ ๙ ลูก ตัวลูก ๕ ลูก ปัจจุบันจะไม่ใส่ข้าวภายในกรวยเหมือนบายศรีปากชาม แต่ก็อนุโลมให้ใช้ เรียกว่าบายศรีเทพเพื่อสักการะบูชาเทพยดา บายศรีพรหม จะใช้ตัวแม่ ๑๖ ลูก ตัวลูก ๙ ลูก ภายในกรวยที่อยู่ตรงกลาง จะบรรจุด้วย หญ้าแพรก ใบโพธิ์ ใบขนุน ดอกเข็ม ด้านนอก จะใช้หมาก,พลู,บุหรี่ ,ดอกไม้มงคลประดับ ใช้ในพิธีกรรมการบวงสรวงพระพรหม เช่น การตั้งศาล หรือพิธีกรรมบวงสรวงในงานไหว้ครู นอกจากนี้ บายศรีพรหมที่ทำเป็นพุ่ม ยังมีบายศรีพรหมประกาศิต ที่ใช้ในด้านการบวงสรวง ที่ให้ผลดีแก่สานุศิษย์ ทั้งผู้ชายผู้หญิง ก็สามารถสักการะได้ จะมีตัวลูกเรียงกัน ๑๖ ลูก ทั้ง ๒ ด้าน รวม ๓๒ ลูก มองดูเป็นรูป ใบพายใช้ ๔ ด้าน ใน ๑ พาน ตรงกลางจะมีใบไม้มงคลเหมือนบายศรีพรหมทั่วไป ซึ่งบรรจุอยู่ตรงกลางกรวย บายศรีหลัก ใช้บายศรีสลับกันไป เช่น ชั้นแรก ๓๒ ลูก หรือ ๑๖ ลูก ชั้นต่อไป ก็ลดลงตามแต่ผู้สั่งจะสั่งทำ บายศรีหลักมี ๙ ชั้น หรือ ๗ ชั้น หรือ ๕ ชั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในพิธีกรรมไหว้ครู ซึ่งให้ความหมาย ด้านการตั้งตัว มีหลักมีฐานที่มั่นคง บายศรีตอ ตำราโบราณจะใช้ต้นกล้วยเป็นแกนกลาง รัดด้วยบายศรีเป็นชั้นหนึ่งหรือสองชั้นก็มี ชั้นแรกด้านบนจะใช้บายศรีแม่ ตั้งขึ้น ๕ ลูกแล้วลง ๕ ลูก เป็น ๓ ด้าน ช่วงตรงกลางของช่องว่าง จะคั่นด้วยตัวลูกขึ้น ๓ ลูก ลง ๓ ลูก บนยอดจะใส่กระทง หมาก,พลู,บุหรี่,ของหวาน เช่น เม็ดขนุน ทองยอด แล้วปิดด้วยกรวย เป็นบายศรีซึ่งใช้ในทาง ขอขมาต่อเทพยดาครูบาอาจารย์พื้นล่าง บายศรีบัลลังก์ ซึ่งมีทั้ง บัลลังก์บรมครู,บัลลังก์ศิวะ,บัลลังก์นารายณ์ (ส่วนใหญ่จะทำเป็นรูปพระยานาค มี ๕ - ๗ เศียร) บางครั้ง ก็ทำบัลลังก์เป็นรูปพระยาครุฑ,บัลลังก์ธรรมจักรก็มี บัลลังก์พิฆเนศ,บัลลังก์จุฬามณี แล้วแต่เจ้าพิธีต่าง ๆ จะสั่งทำ ให้ผลด้านความมั่นคง และอุดมสมบูรณ์
__________________
สักวันหนึ่งสี่ชีวิตจะได้พบซึ่งกันและกันเมื่อทุกอย่างพร้อม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วาโยรัตนะ : 19-04-2010 เมื่อ 06:42 |
สมาชิก 89 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#31
|
|||
|
|||
ผมสงสัยเกี่ยวกับเครื่องบวงสรวงในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ครับ
๑. เรื่องบายศรีต้น ในการทำพิธีบวงสรวงที่บ้านควรใช้บายศรีลูกเก้า ๓ ชั้น ๕ ตัว หรือบายศรีลูกเก้า ๑ ชั้น ๕ ตัวครับ หรือสามารถใช้ได้ ๒ แบบ ๒.ยอดบายศรี ในกระทู้บอกว่าให้ประดับ ธูป เทียน ดอกไม้ จะประดับอย่างไรครับ หรือทางร้านทำบายศรีต้องทำให้อยู่แล้วครับ ๓. ข้าวตอกและถั่วเขียวคั่วเราะเปลือกสามารถหาซื้อได้ที่ใดครับ กรณีถ้า หาถั่วเขียวคั่วเราะเปลือกไม่ได้สามารถใช้ถั่วเขียวคั่วธรรมดาได้หรือไม่ครับ ๓.๑ ถ้าหากต้องการทำถั่วเขียวคั่วเราะเปลือก สามารถทำได้โดยเอาถั่วเขียวมาคั่วแล้วเราะเปลือกใช่หรือไม่ครับ ๔.ปลาช่อนนึ่งต้องนำขึ้นโต๊ะบวงสรวงหรือไม่ครับ กรณีถ้าต้องการไหว้ศาลพระภูมิแต่ศาลอยู่ไกลจากบริเวณบ้าน และควรวางไว้ตำแหน่งใดของโต๊ะบวงสรวงครับ |
สมาชิก 76 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลูกตาล ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#32
|
|||
|
|||
จากประสบการณ์ค่ะ
๑. ทั้ง ๒ แบบ ๒. สั่งร้านทำ ๓. ข้าวตอก เจอที่ร้านสังฆภัณฑ์ ถั่วทอง เจอที่ซุปเปอร์มาร์เก็ต หาถั่วทองไม่ได้ ก็เห็นเขานิยมใช้ถั่วเขียวคั่วกัน ๓.๑ ทำไม่เป็นค่ะ แต่คิดว่าน่าจะเราะเปลือกก่อนคั่ว เพราะคั่วแล้วดูท่าจะเราะยาก ๔. ที่บ้านใช้โต๊ะเล็กวางหน้าศาลพระภูมิแยกออกไป แต่ถ้าจำเป็นต้องวางรวมบนโต๊ะบวงสรวง ก็กะว่าจะวางตรงไหนก็ได้ที่มีที่ว่างค่ะ |
สมาชิก 76 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ นางมารร้าย ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#33
|
|||
|
|||
ขอเรียนถามอีกเรื่องครับ
ถ้าต้องการจะเย็บบายศรีเองจำเป็นต้องไหว้ครูก่อนหรือไม่ ถ้าจำเป็นการไหว้ครูควรทำอย่างไรเช่น ต้องใช้ของอะไรบ้าง |
สมาชิก 72 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลูกตาล ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#34
|
|||
|
|||
ไหว้ครูบายศรี ใช้เงิน ๑๒ บาท ใส่พานกับดอกไม้ วางถวายที่หิ้งพระ (แล้วเอาถวายพระภายหลัง) คราวใดลืมไหว้ จะทำออกมาเบี้ยว ๆ บูด ๆ บ้าง ทำช้าบ้าง เดี๋ยวแมวหมาตบตีกันให้รำคาญใจไร้อารมณ์ทำบ้าง ฯลฯ
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย นางมารร้าย : 12-05-2010 เมื่อ 09:36 |
สมาชิก 82 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ นางมารร้าย ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#35
|
|||
|
|||
ไปหาจากกูเกิ้ลค่ะ
ขนมต้มขาว ขนมต้มแดง ซึ่งทั้งสองอย่างมีขายตลอด ๒๔ ชั่วโมงที่ปากคลองตลาด (โซนขนมหวาน ค่อนไป ทางใกล้ ร.ร.ราชินี) ถั่วทอง ซื้อมาคั่วเองพอหอม ๆ |
สมาชิก 94 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ นางมารร้าย ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#36
|
|||
|
|||
คำถามเกี่ยวกับเวลาค่ะ
อยากทราบว่าเวลาในการบวงสรวง ควรที่จะเป็นตอนเช้า ไม่เกินเที่ยง หากแต่ถ้าอยู่ต่างประเทศ เราควรยึดเวลาในเมืองไทยหรีอเวลาของประเทศนั้น ๆ (ซึ่งอาจเป็นตอนกลางคืนของเมืองไทย) ดีคะ
รบกวนท่านผู้รู้ตอบด้วยค่ะ |
สมาชิก 74 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เสาวลักษณ์๐๗๑ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#37
|
||||
|
||||
ถ้ามีภาพบายศรีแต่ละประเภท ประกอบจะดีมากเลยครับ เช่น บายศรีปากชาม ลักษณะบายศรีปากชาม รองด้วยชามที่มีขนาดเหมาะสม ตัวแม่มี ๕ ลูก จำนวน ๓ ด้าน และมีลูก ๓ ลูก แซมอีก ๓ ด้าน จากนั้นจะมีแมงดาที่แม่บายศรีอีกทั้ง ๓ ด้าน
|
สมาชิก 75 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ภูวกร ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#38
|
||||
|
||||
สอบถามพี่นางมารร้ายครับว่า ศาลเก่าที่ตั้งอยู่ผิดทิศ จะย้ายศาลใหม่โดยไม่รื้อศาลเก่าจะได้หรือไม่ครับ? สาเหตุคือพ่อท่านไม่เห็นด้วย ถ้าทำได้ผมจะตั้งศาลใหม่โดยไม่ต้องรื้อศาลเก่า
|
สมาชิก 67 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ พรศักดิ์ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#39
|
||||
|
||||
แต่ถ้ามีคนทักให้คุณพ่อหรือคุณพรศักดิ์ไม่สบายใจ จะตามใจคนทักต่อไปเรื่อย ๆ ไหมครับ
|
สมาชิก 65 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คนเก่า ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#40
|
||||
|
||||
พ่อท่านว่าตั้งมาสามสิบปีแล้วไม่มีอะไร แล้วก็กี่คนต่อกี่คนก็ว่าดีแล้วถูกแล้ว ที่สำคัญก็คือ ผมไม่สามารถหาตำรามาหักล้างความเชื่อนั้นได้เสียด้วย
|
สมาชิก 68 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ พรศักดิ์ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|