|
กระทู้ธรรม รวมข้อธรรมะจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติ |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#1
|
||||
|
||||
โอวาทพระสุปฏิปันโน ๑๐๐ องค์ของไทย
อำนาจของกรรมใหญ่ยิ่งที่สุดในโลก ไม่มีอำนาจใดอาจมาทำลายได้
แม้อำนาจของกรรมดีก็ไม่อาจทำลายอำนาจของกรรมชั่ว และอำนาจของกรรมชั่วก็ไม่อาจทำลายอำนาจของกรรมดี อย่างมากที่สุดที่มีอยู่คืออำนาจของกรรมดี แม้ทำให้มากให้สม่ำเสมอในภพภูมินี้ ก็อาจจะทำให้อำนาจของกรรมชั่วที่ได้ทำมาแล้ว ตามมาถึงได้ยาก ธรรมสำคัญประการหนึ่งที่พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญคือ เมตตาธรรม ใครทั้งหลายก็สรรเสริญบรรดาผู้มีเมตตาธรรม ในขณะเดียวกันก็มีผู้ต้องเป็นทุกข์เพราะมีเมตตา ด้วยหลงเข้าใจว่า เมื่อมีเมตตา มีความสงสารก็ต้องมีใจไม่เป็นสุข ซึ่งที่จริงหาถูกต้องไม่ มีเมตตาต่อเขาผู้เป็นทุกข์นั้นดีนัก แต่อย่าลืมเมตตาตน ตนเองปล่อยให้ใจตัวเองเป็นทุกข์เพราะเมตตาเขา ไม่มีอำนาจใดจะไปสู้กับอำนาจธรรมของใครได้ เมื่อเชื่อในเรื่องอำนาจกรรมเช่นนี้ ใจที่มีเมตตาก็จะเป็นการมีเมตตาอย่างถูกต้อง อย่างมีปัญญา ไม่พาใจตนเองไปสู่ความเร่าร้อนด้วยความเมตตาที่ไม่ถูกต้อง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 144 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
||||
|
||||
พูดมาก เสียมาก
พูดน้อย เสียน้อย ไม่พูด ไม่เสีย นิ่งเสีย โพธิสัตว์ มนุษย์ผู้ใดเห็นแก่งานส่วนตัว มนุษย์ผู้นั้นจะไม่มีงานทำในไม่ช้า มนุษย์ผู้ใดเห็นแก่ทรัพย์ส่วนตัว มนุษย์ผู้นั้นจะไม่มีทรัพย์ครองในไม่ช้า มนุษย์ผู้ใดเห็นแก่นอนมาก มนุษย์ผู้นั้นจะไม่ได้นอนในไม่ช้า นะโมโพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา สมเด็จพระสังฆราชคุรูปาจารย์ หลวงปู่ทวด(เหยียบน้ำทะเลจืด) พระเถระสมัยกรุงศรีอยุธยา
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 142 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
|||
|
|||
พี่นุช ขอร่วมด้วยได้ไหมครับ จะช่วยหาธรรมดีดีที่น่าสนใจมาให้อ่านกันครับ
" ถ้าต้องพูดกับคนทุกคนแล้ว ..คงไม่มีเวลาปฏิบัติธรรมแน่.." " การเห็นเป็นเหตุแห่งการคิด การคิดเป็นเหตุแห่งการเห็น...ถ้าคิดดีก็เป็นทางเย็น ถ้าคิดไม่เป็นก็เย็นสบาย .." " ตายเป็นเหม็นเน่า เราเขาเหมือนกัน...อยู่ไปทุกวัน ใครได้ก็ดี ใครมีก็ได้ !" " พระนิพพาน..ความรู้พิเศษ.. พระนิพพานเปรียบเหมือนคุณของอากาศ..อธิบายว่า..อากาศมีคุณ ๑๐ ประการ ๑. ไม่รู้จักเกิด ๒. ไม่รู้จักแก่ ๓. ไม่รู้จักตาย ๔. ไม่กลับเกิดอีก ๕. ไม่จุติ ๖. ใครจะข่มเหงลอบลักเอาไปไม่ได้ ๗. เป็นของดำรงสภาพไว้ได้โดยไม่ต้องอาศัยอะไร ๘. สำหรับฝูงนกบินไปมา ๙. ไม่มีอะไรมากางกั้น..แล ๑๐. ที่สุดไม่ปรากฏ" หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ อ. เมือง จ. ลำปาง
__________________
คุณพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอันสูงสุด กำจัดทุกข์ได้จริง กำจัดภัยได้จริง แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย มิ่งเมือง : 02-08-2010 เมื่อ 23:14 |
สมาชิก 118 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ มิ่งเมือง ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#4
|
|||
|
|||
คติธรรมคำสอนของหลวงปู่ทวด ละได้ย่อมสงบ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ล้วนแต่เคลื่อนที่ไปสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุกอย่างในโลกนี้ เคลื่อนไปสู่การสลายตัวทั้งสิ้น ไม่ยึด ไม่ทุกข์ ไม่สุข ละได้ย่อมสงบ สันดาน ภูเขาถูกมนุษย์ทำลายลงมาได้ แต่สันดานของคนเราที่นอนนิ่งอยู่ในก้นบึ้ง ซึ่งไม่เหมือนกันย่อมขัดเกลาให้ดีเหมือนกันได้ยาก ชีวิตทุกข์
การเกิดมาเป็นมนุษย์ชาติหนึ่ง จะว่าประเสริฐก็ประเสริฐ จะว่าไม่ประเสริฐก็ไม่ประเสริฐ จะเห็นได้ว่า ตื่นเช้าก็มีความทุกข์เข้าครอบงำ จะต้องล้างหน้า ล้างปาก ล้างฟัน ล้างมือ เสร็จแล้วจะต้องกินต้องถ่าย นี่คือความทุกข์แห่งกายเนื้อ เมื่อเราจะออกจากบ้าน ก็จะประสบความทุกข์ในหมู่คณะ ในการงาน ในสัมมาอาชีวะ การเลี้ยงตนชอบ นี่คือ ความทุกข์ในการแสวงหาปัจจัย |
สมาชิก 102 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#5
|
|||
|
|||
คติธรรมคำสอนของหลวงปู่ทวด (ต่อ) บรรเทาทุกข์ การที่เราจะไม่ต้องทุกข์มากนั้น เราจะต้องรู้ว่า เรานี้จะต้องไม่เอาชีวิตไปฝากสังคม เราต้องเป็นตัวของเราเอง และเราจะต้องวินิจฉัยในเหตุการณ์ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับตัวเราว่า สิ่งใดเราควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ ยากกว่าการเกิด ในการที่เราเกิดมา ชีวิตแห่งการเกิดนั้นง่าย แต่ชีวิตแห่งการอยู่นั้นสิยาก เราจะทำอย่างไรให้อยู่ได้อย่างสุขสบาย ไม่สิ้นสุด
แม่น้ำทะเล และมหาสมุทร ไม่มีที่สิ้นสุดของน้ำ ฉันใด กิเลสตัณหาของมนุษย์ก็ย่อมไม่มีที่สิ้นสุด ฉันนั้น |
สมาชิก 90 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#6
|
|||
|
|||
คติธรรมคำสอนของหลวงปู่ทวด (ต่อ) ยึดจึงเดือดร้อน ทุกวันนี้ เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อน ก็เพราะมนุษย์ไปยึดนั่น ยึดนี่ ยึดพวกยึดพ้อง ยึดหมู่ยึดคณะ ยึดประเทศเป็นสรณะ โดยไม่คำนึงถึงธรรมสากล จักรวาลโลกมนุษยนี้ ทุกคนมีกรรมจึงเกิดมาเป็นสัตว์โลก สัตว์โลกทุกคนต้องใช้กรรมตามวาระ ตามกรรม ถ้าทุกคนยึดถือเป็นอารมณ์ ก็จะเกิดการเข่นฆ่ากัน เกิดการฆ่าฟันกัน เพราะอารมณ์แห่งการยึดถืออายตนะ ฉะนั้น ต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ว่า สิ่งใดทำแล้ว สัตว์โลกมีความสุข สิ่งนั้นควรทำ นี่คือ หลักความจริงของธรรมะ อยู่ให้สบาย
ในภาวะแห่งการที่จะอยู่อย่างสบายนั้น เราต้องอยู่กันอย่างไม่ยึด อยู่กันอย่างไม่ยินดี อยู่กันอย่างไม่ยินร้าย อยู่กันอย่างพยายามให้จิตวิญญาณของนามธรรมนั้นเหนืออารมณ์ เหนือคำสรรเสริญ เหนือนินทา เหนือความผิดหวัง เหนือความสำเร็จ เหนือรัก เหนือชัง แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 08-08-2010 เมื่อ 11:49 |
สมาชิก 86 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#7
|
||||
|
||||
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
(จันทร์ สิริจันโท) วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร ยศเส กรุงเทพมหานคร ควรพวกเราทั้งหลายคิดดูให้เห็นโทษและคุณแห่งความตายเสียให้ชัดใจ ผู้มีปัญญาไม่ควรประมาทความตาย ให้เห็นว่าเป็นสมบัติสำหรับตัวเรา เราจะต้องการในกาลอันสมควร คือความตายมาถึงเราสมัยใด สมัยนั้นแหละชื่อว่ากาลอันสมควร ไม่ควรจะเกลียด ไม่ควรจะกลัว สังขารทั้งหลาย คือสัตว์ที่เกิดมาในไตรภพ จะหลีกหลบให้พ้นจากความตาย ไม่มีเลย เมื่อมีความเกิดเป็นเบื้องต้นแล้ว ย่อมมีความตายเป็นเบื้องปลายทุกคน นัยหนึ่งให้เอาความเกิดความตายซึ่งมีประจำอยู่ทุกวันเป็นเครื่องหมาย เมื่อพิจารณาถึงความตาย ก็ต้องพิจารณาถึงความป่วยไข้ และความแก่ ความชรา เพราะเป็นเหตุ เป็นผลกัน ให้พิจารณาถึงพยาธิความป่วยไข้ว่า พยาธิ ธมฺโมมหิ พยาธิ อนตีโต เรามีความป่วยไข้เป็นธรรมดา จะข้ามล่วงพ้นไปจากความป่วยไข้หาได้ไม่ ถ้าแลพิจารณาเห็นความชราอันเป็นปัจจุบันได้ก็ยิ่งประเสริฐ ความระงับสังขารทั้งหลายนั้น ท่านมิได้หมายถึงความตาย ท่านหมายถึงวิปัสสนาญาณ และอาสวักขยญาณ คือปัญญารู้เท่าสังขาร รู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะ เป็นชื่อของ พระนิพพาน เป็นยอดแห่งความสุข
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 74 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#8
|
||||
|
||||
หลวงปู่ปาน โสนันโท (พระครูวิหารกิจจานุการ) วัดบางโคนม อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา “ในงานศพ…ที่มาไหว้ศพนั้น เขามาไหว้สัจจธรรมของพระพุทธเจ้านะ คือ ท่านตรัสว่าร่างกายของคนนั้นเป็นอนิจจัง…ไม่เที่ยง เวลาอยู่ก็เป็นทุกข์ ในที่สุดก็อนัตตาคือตาย ใครบังคับบัญชาไม่ได้ เวลากราบทีแรกเรานึกถึงพระพุทธเจ้าว่าทรงเทศน์ไว้ถูก เทศน์ไว้ตรง ข้าพระพุทธเจ้าขอยอมรับนับถือ เป็นมรณานุสติกรรมฐาน กราบครั้งที่ ๒ เรานึกถึงพระธรรมคำสอนของพระองค์จากพระโอษฐ์ เหมือนดอกมะลิแก้วแพรวพราวไปด้วยความจริงอันประเสริฐ ทำบุคคลทั้งหลายไม่ให้เมามัน และทำให้เข้าถึงความสุข กราบครั้งที่ ๓ นึกถึงพระสงฆ์ พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ที่ท่านร้อยกรองพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้แล้ว ไม่ปล่อยให้อันตรธานสูญไป รวบรวมเข้าไว้… นี่กราบความดีของพระ ๓ พระนะ เขาไม่ได้กราบผีกราบศพ !” “ถึงแม้เราจะมีคาถาอาคมของดีอะไรก็ตาม เราก็ต้องตาย… ก่อนตายควรเลือกทางเดินเอา อย่างน้อยที่สุดเราควรไปสวรรค์ชั้นกามาวจรให้ได้… ขอให้ทุกคน เวลาก่อนจะหลับ ให้นึกถึงความดีที่ตนเคยทำไว้ ทรัพย์สินที่เคยสละเป็นวิหารทาน ธรรมทาน สังฆทานเลี้ยงพระ นึกถึงศีลที่ตนเคยรักษา เทศน์ที่ตนเคยฟัง แล้วหมั่นภาวนาถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ พระพุทธโธ ธัมโม สังโฆ แล้วจะรู้ว่าฉันหวังดีกับลูกหลานเพียงใด คนไหนทำดีมากไม่ได้ก็ให้สร้างความดี ๒ อย่างที่ฉันต้องการ คือ ๑. อย่าดื่มสุราเมรัย ๒. อย่าลักขโมย อย่าเป็นโจร” เมื่อจะเจริญกรรมฐาน ให้ตั้งอยู่ในพรหมวิหาร ๔ ให้เป็นฌานสมาธิแน่วแน่ ให้แผ่เมตตาไปทั่วจักรวาล แล้วจึงพิจารณาตามอารมณ์วิปัสสนา หรือภาวนาตามแบบสมถะ… ทุกคนตายแล้วจงไปสวรรค์.. จงไปพรหมโลก.. จงไปพระนิพพาน”
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 10-08-2010 เมื่อ 03:35 |
สมาชิก 96 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#9
|
||||
|
||||
หลวงปู่เครื่อง ธัมมจาโร
วัดเทพสิงหาร ต.นายูง อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี จิตมนุษย์มีพลังมหาศาล จะทำอะไรก็มักสำเร็จ ก็เพราะมีดวงจิตที่เป็นกำลังสำคัญ จิตดวงเดียวสำคัญที่สุด จิตมันบอกลักษณะไม่ได้ แต่มันก็มีความรู้สึกอยู่ภายใน เว้นแต่ว่ามนุษย์เกิดมาแล้ว จะเอาดีหรือเอาชั่วเท่านั้น มันเป็นขั้นตอนอยู่ตรงนี้ ถ้าเอาดีก็ต้องได้ของดีมาประดับตัวแน่นอน มนุษย์ควรเจริญด้วยธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่ผู้มีปกติในข้อวัตรปฏิบัติธรรม คือ ความดีมีศีลธรรมนั้นเองจะช่วยได้
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 75 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#10
|
||||
|
||||
หลวงพ่อสด จนฺทสโร (พระมงคลเทพมุนี)
วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ว่าในด้านภาวนา… กายนี้มีซ้อนกันเป็นชั้น ๆ มีกายทิพย์ซ้อนอยู่ในกายมนุษย์ กายรูปพรหมซ้อนอยู่ในกายทิพย์ กายอรูปพรหมซ้อนอยู่ในกายรูปพรหม กายธรรมซ้อนอยู่ในกายอรูปพรหม… คนเราที่ว่าตายนั้นคือ กายทิพย์กับกายมนุษย์หลุดพรากออกจากกัน เหมือนมะขามกะเทาะล่อนจากเปลือกฉันนั้น กายทิพย์ก็หลุดจากกายมนุษย์ไป สุขในฌานอะไรจะไปสู้ ในภพนี่ไม่มีสุขเท่าถึงดอก สุขในฌานนะ…สุขลืมสมบัตินั่นแหละ สมบัติกษัตริย์ก็ไม่อยากได้ สุขในฌานนะ สุขนักหนาทีเดียว เต็มส่วนความสุขก็หนึ่ง เฉยวิเวกวังเวงเปลี่ยวเปล่า เรามาคนเดียวไปคนเดียวหมดทั้งสากลโลก คนทั้งหลายไปคนเดียวทั้งนั้น ไม่มีคู่สองเลย จะเห็นว่าลูกสักคนหนึ่งก็ไม่มี สามีสักคนหนึ่งก็ไม่มี ภรรยาสักคนหนึ่งไม่มี ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างเกิด เป็นอย่างนี้ ปล่อยหมด ไม่ว่าอะไรไม่ยึดถือทีเดียว เรือกสวนไร่นา ตึกร้านบ้านช่อง ก่อนเราเกิดเขาก็มีอยู่อย่างนี้ หญิงชายเขาก็มีกันอยู่อย่างนี้ เราเกิดแล้วก็มีอยู่อย่างนี้ เราตายไปแล้วมันก็มีอยู่อย่างนี้ เห็นดิ่งลงไปทีเดียว เข้าปฐมฌานเข้าไปแล้ว เห็นดิ่งลงไปเช่นนี้ การปฏิบัติ…ไม่หยุดไม่ถึงพระ…ตัวหยุดนี่แหละเป็นตัวสำเร็จ พระรัตนตรัยเป็นแก้วจริง ๆ หรือเปรียบด้วยแก้ว ถ้าเป็นทางปริยัติเข้าใจตามอักขระแล้ว เป็นอันเปรียบด้วยแก้ว ถ้าเป็นทางปฏิบัติแล้ว เป็นแก้วจริง ๆ ภาวนํ ตาเวติ ทำให้จริง ให้หยุด ให้นิ่ง ทำให้มี ให้เป็นขึ้น กี่ร้อย กี่พันคนก็นอนหลับสบาย กี่คน ๆ ก็สงบนิ่ง เมื่อสงบนิ่งแล้ว มีคนสักเท่าไร ก็ไม่รกหูรกตา ไม่รำคาญไม่เดือดร้อน เป็นสุขสำราญเบิกบานใจเป็นนิจ นี่เขาเรียกว่า ภาวนา ทำให้ใจหยุดสงบ ในการบำเพ็ญภาวนา ความเพียรเป็นข้อสำคัญยิ่ง ต้องทำเสมอ ทำเนือง ๆ ในทุกอิริยาบถไม่ว่า นั่ง นอน เดิน ยืน และทำเรื่อยไป อย่าหยุด อย่าละ อย่าทอดทิ้ง อย่าท้อแท้ มุ่งรุดหน้าเรื่อยไป ผลจะเกิดวันหนึ่ง ไม่ต้องสงสัย ผลเกิดอย่างไร ท่านรู้ได้ด้วยตัวของท่านเอง
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-08-2010 เมื่อ 03:06 |
สมาชิก 76 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#11
|
|||
|
|||
คติธรรมคำสอนของหลวงปู่ทวด (ต่อ) ธรรมารมณ์ การอยู่อย่างมีธรรมารมณ์ คือ การอยู่เหนือความรู้สึกทั้งปวง อยู่อย่างรู้หน้าที่การเป็นคน และรู้หน้าที่ในการงาน คือ รู้ว่าสิ่งที่เราทำนั้น เป็นสิ่งที่เราต้องทำ ไม่ใช่ทำเพื่อหวังผลตอบแทน เพราะถ้าเราทำงานเพื่อหวังผลตอบแทนต่าง ๆ แล้ว ถ้าสิ่งต่าง ๆ ไม่สัมฤทธิ์ผลตามความหวังนั้น เราย่อมเกิดความโทมนัส เสียใจ น้อยใจ เป็นทุกข์ กรรม ถ้าเรามีชีวิตอยู่อย่างที่ว่า เกิดเพราะกรรม อยู่เพื่อกรรม ทำเพราะกรรม ตายเพราะกรรมแล้ว ชีวิตการเป็นมนุษย์ย่อมมีความภิรมย์ มีความรื่นเริง มารยาทของผู้เป็นใหญ่
ผู้ใหญ่ไม่ใช่อยู่ที่เกิดก่อน ผู้ดีไม่ใช่อยู่ที่เรียนสูง มารยาทจรรยาของการเป็นผู้ใหญ่ ก็คือต้องสุขุมรอบคอบ และไม่ยึดติดเสียงเป็นหลัก คือ ต้องไม่หวั่นไหวกับคำนินทาและสรรเสริญ |
สมาชิก 65 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#12
|
|||
|
|||
คติธรรมคำสอนของหลวงปู่ทวด (ต่อ) โลกิยะ หรือ โลกุตระ
คนที่เดินทางโลกุตระ ย่อมไปดีทางโลกิยะไม่ได้ คนที่เดินทางโลกิยะ ย่อมสำเร็จทางโลกุตระได้ยาก เพราะอะไร ? ถ้าคนหนึ่งสำเร็จได้ทั้งโลกิยะ และโลกุตระง่ายแล้ว ทำไม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธโคดม ต้องสละราชบัลลังก์แห่งจักรพรรดิไปเป็นธรรมราชาเล่า ? ถ้าเป็นไปได้ พระองค์เป็นมหาจักรพรรดิพร้อมทั้งธรรมราชา ไม่ดีหรือ ? แต่มันเป็นไปไม่ได้ เพราะโลกของโลกิยะและโลกุตระเดินคู่ขนานกัน เราต้องตัดสินใจ ต้องมีความเด็ดเดี่ยวและกล้าหาญในการที่จะเลือกทางใดทางหนึ่ง |
สมาชิก 66 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#13
|
|||
|
|||
คติธรรมคำสอนของหลวงปู่ทวด (ต่อ) ศิษย์แท้ พิจารณากายในกาย พิจารณาธรรมในธรรม พิจารณาวิญญาณ ในวิญญาณ นั่นแหละ คือ สานุศิษย์อันแท้จริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รู้ซึ้ง ทุกอย่างจะต้องมีเหตุ เมื่อมีเหตุจึงจะมีผล ผลนั้นเกิดจากเหตุ เราได้วินิจฉัยข้อนี้แล้ว เราจึงรู้ซึ้งถึงพุทธศาสนา ใจสำคัญ
การทำบุญนั้น จะต้องทำด้วยจิตใจบริสุทธิ์ จะต้องทำด้วยความศรัทธา ผลสะท้อนมันจะเกิดขึ้นเกินความคาดหมาย |
สมาชิก 65 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#14
|
|||
|
|||
คติธรรมคำสอนของหลวงปู่ทวด (ต่อ) หยุดพิจารณา
คนเรานี้ ถ้าไม่มีอะไรทำอยู่ในที่วิเวกคนเดียว จิตมันจะฟุ้งซ่าน และถ้าภาวะนั้น ตนไม่ปล่อยให้จิตฟุ้งซ่านไปเรื่อย ๆ คือ หยุดพิจารณา แล้วค้นสัจจะของ ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมที่จะค้นหาสัจจะในธรรมะได้ บริจาค ทำบุญสังฆทานเป็นจาคะ จาคะเป็นการบริจาคโภคทรัพย์ภายนอก การสวดมนต์เป็นการภาวนา การภาวนาเป็นการบริจาคภายใน เพราะฉะนั้น ถ้านับในด้านทิพย์อำนาจ การบริจาคภายในย่อมได้กุศลมากกว่าการบริจาคภายนอก นี่คือเรื่องของนามธรรม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 19-02-2020 เมื่อ 18:09 |
สมาชิก 62 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#15
|
|||
|
|||
คติธรรมคำสอนของหลวงปู่ทวด (ต่อ)
ทำด้วยใจสงบ เราจะทำบุญก็ดี เราจะทำอะไรก็ดี จงทำด้วยความสงบ อย่าทำด้วยอารมณ์แห่งความร้อน เพราะการทำด้วยอารมณ์ร้อนนั้น มันจะพาเราไปสู่หายนะ เมื่อเกิดอารมณ์ร้อน เราจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จงอย่าทำ นั่งให้จิตใจมันสบายเสียก่อน เมื่อจิตใจสบายแล้ว ปัญญาก็เกิด เมื่อเกิดปัญญาแล้ว จะทำสิ่งใดก็เป็นไปโดยความสะดวก มีสติพร้อม จะทำสิ่งใดก็ตาม เราต้องมีสติพร้อม คือ อย่าให้มีโทสะ อย่าให้อารมณ์เข้ามาควบคุมสติ อย่าให้เรื่องส่วนตัวและขาดเหตุผล มาอยู่เหนือความจริง เตือนมนุษย์ มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่งานส่วนตัว มนุษย์ผู้นั้น จะไม่มีงานทำในไม่ช้า มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่ทรัพย์ส่วนตัว มนุษย์ผู้นั้น จะไม่มีทรัพย์ครองในไม่ช้า มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่นอนมาก มนุษย์ผู้นั้น จะไม่ได้นอนในไม่ช้า |
สมาชิก 60 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#16
|
|||
|
|||
คติธรรมคำสอนของหลวงปู่ทวด (ต่อ) พิจารณาตัวเอง คืนหนึ่งก็ดี วันหนึ่งก็ดี ควรให้มีเวลาว่างสัก ๕ นาที หรือ ๑๐ นาที ไม่ติดต่อกับใคร ? ให้นั่งเฉย ๆ คิดถึงเหตุการณ์ที่เราทำไปแต่ละวัน ๆ ว่า ที่เราทำไปนั้นเป็นอย่างไร ? คือให้ปลีกตัวมีเวลาเป็นของตัวเองบ้าง คิดเอาแต่เรื่องของตัว อย่าไปคิดเรื่องของคนอื่น เพราะมนุษย์เราส่วนมากทุกวันนี้ มักเอาแต่เรื่องของคนอื่นมาคิด ไม่ค่อยคิดเรื่องของตัวเอง หมายเหตุ...คัดลอกจากหนังสือ เรียนธรรมะบูชาพระสุปฏิปันโน ของหลวงปู่ทวด แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 25-08-2010 เมื่อ 07:13 |
สมาชิก 60 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#17
|
||||
|
||||
คติธรรมคำสอนพระราชวุฒาจารย์(พระอตุโล ดูลย์)
วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์ คัดเป็นบางตอนมาจากหนังสืออตุโลไม่มีใดเทียม พ.ศ.๒๕๓๙ และทางวัดป่าดานวิเวก จังหวัดหนองคายได้รวบรวมไว้ในหนังสือหลักธรรมชุดศิลาจารึก พ.ศ.๒๕๔๙ จิตนี้คือพุทโธ จิตนี้คือธรรมเป็นสภาวะพิเศษที่ไม่ไปไม่มาเป็นความบริสุทธิ์ล้วน ๆ จิตนี้เหนือความดีความชั่วทั้งปวงซึ่งไม่อาจจัดเป็นรูปหรือนามได้ จิตส่งออกไปเป็นสมุทัย ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอกเป็นทุกข์ จิตเห็นจิตเป็นมรรค ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตเป็นนิโรธ ไม่มีอะไรจะถึงและไม่มีอะไรจะไม่ถึง ผู้ปฏิบัติธรรมต้องปฏิบัติถึงสิ่งที่ไม่มีและอยู่กับสิ่งที่ไม่มี คนในโลกนี้ต้องมีสิ่งที่มีเพื่ออาศัยสิ่งนั้นเป็นอยู่ ในทางโลกมีสิ่งที่มี ส่วนในทางธรรมมีสิ่งที่ไม่มี คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงได้รู้ แต่ต้องอาศัยความคิดเห็นนั้นแหละจึงรู้ ทุกข์ต้องกำหนดรู้ เมื่อรู้แล้วให้ละเสีย ไปเก็บมันไว้ทำไม การไม่กังวลการไม่ยึดนั่นแหละ คือวิหารธรรมของนักปฏิบัติ จิตนี้คือพุทธโยนิอันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิดกระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งอันนี้เท่านั้นและไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดจากเราคิดผิดเท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 18-09-2010 เมื่อ 20:33 |
สมาชิก 54 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#18
|
||||
|
||||
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
จากบันทึกคติธรรมและธรรมเทศนา"หลวงปู่ฝากไว้" จับกับวาง นักศึกษาธรรมะหรือนักปฏิบัติธรรมะ มีสองประเภท ประเภทหนึ่ง ศึกษาปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความพ้นทุกข์อย่างแท้จริง ประเภทสอง ศึกษาปฏิบัติเพื่อจะอวดภูมิกัน ถกเถียงกันไปวันหนึ่ง ๆ เท่านั้น ใครจำตำราหรืออ้างครูบาอาจารย์ได้มาก ก็ถือว่าตนเป็นคนสำคัญ บางทีเข้าหาหลวงปู่ แทนที่จะถามธรรมะข้อปฏิบัติจากท่าน ก็กลับพ่นความรู้ความจำของตนให้ท่านฟังอย่างวิจิตรพิสดารก็เคยมีไม่น้อย แต่สำหรับหลวงปู่นั้นทนฟังได้เสมอ เมื่อเขาจบลงแล้วยังช่วยต่อให้หน่อยหนึ่งว่า ผู้ใดหลงใหลในตำราและอาจารย์ ผู้นั้นไม่อาจพ้นทุกข์ได้ แต่ผู้ที่จะพ้นทุกข์ได้ ต้องอาศัยตำราและอาจารย์เหมือนกัน
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 51 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#19
|
||||
|
||||
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
จากบันทึกคติธรรมและธรรมเทศนา"หลวงปู่ฝากไว้" ปัญญาภายนอกคือปัญญาสมมติ ไม่ทำให้จิตแจ้งในพระนิพพานได้ ต้องอาศัยปัญญาอริยมรรค จึงจะเข้าถึงพระนิพพานได้ ความรู้ของนักวิทยาศาสตร์เช่น ไอน์สไตน์ มีความรู้มาก มีความสามารถมาก แยกปรมาณูที่เล็กที่สุด จนเข้าถึงมิติที่ ๔ แล้ว แต่ไอน์สไตน์ไม่รู้จักพระนิพพาน จึงเข้าพระนิพพานไม่ได้ จิตที่แจ้งในอริยมรรคเท่านั้น จึงเป็นไปเพื่อการตรัสรู้จริง ตรัสรู้ยิ่ง ตรัสรู้พร้อม เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ เป็นไปเพื่อนิพพาน"
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 52 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#20
|
||||
|
||||
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
จากบันทึกคติธรรมและธรรมเทศนา"หลวงปู่ฝากไว้" เมื่อจิตกระทบเข้ากับอารมณ์ภายนอกอย่างไร ก็ให้หยุดอยู่แค่นั้น อย่าไปทะเลาะวิวาทโต้แย้ง อย่าไปเอออวยเห็นดีเห็นงามให้จิตได้โอกาส ก่อรูปก่อร่างเป็นตุเป็นตะเป็นเรื่องเป็นราวยืดยาวออกไป อย่าไปวิพากษ์วิจารณ์ต่อไป อย่าไปใส่ใจอีกต่อไป พอกันเพียงรู้อารมณ์เท่านี้เอง หยุดกันเพียงเท่านี้
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 48 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|